วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับเรื่องเหนือสามัญวิสัยเหล่านี้ พระพุทธศาสนาก็ได้วางหลักการในทางปฏิบัติไว้อย่าง

ชัดเจนว่า เมื่อสิ่งเหล่านั้นมีจริง มนุษย์ควรวางตัวหรือปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างไร

และที่วางตัวหรือปฏิบัติอย่างนั้นๆ ด้วยเหตุผลอะไร เหมือนดังพูดว่า ท่านจะเชื่อหรือไม่เชื่อ

ก็ตาม แต่ท่านควรปฏิบัติต่อสิ่งนั้นให้ถูกต้อง ผู้ที่เชื่อก็ตาม ไม่เชื่อก็ตาม สามารถและ

สมควรทำตามหลักปฏิบัติที่พระพุทธศาสนาแนะนำไว้นี้ได้ เพราะตามหลักการปฏิบัตินี้

ทั้งผู้เชื่อและผู้ไม่เชื่อจะประพฤติตนต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างแทบไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย

จะผิดแปลกกันบ้าง ก็เพียงในสิ่งหยุมหยิมเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนั้นยังเป็นวิธีปฏิบัติที่ทำ

ให้เกิดผลดีแก่ทุกฝ่าย โดยที่ทั้งผู้เชื่อและไม่เชื่อต่างก็มีความเอื้อเฟื้อเอื้อเอ็นดูต่อกัน

ผู้ที่เชื่อก็ปฏิบัติไปโดยไม่เกิดผลเสียแก่ชีวิตและสังคม

ผู้ไม่เชื่อ ก็สามารถปฏิบัติต่อผู้ที่เชื่อได้ถูกต้องและสามารถแนะนำผู้ที่เชื่อให้ปฏิบัติต่อสิ่ง

ที่เขาเชื่อในทางที่จะเป็นประโยชน์ ทั้งสองฝ่ายต่างมีเมตตาเคารพซึ่งกันและกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 12:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


-ต่อ


หลักการในทางปฏิบัติหรือความเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัตินี้แหละที่เป็นคุณพิเศษ

ของพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธศาสนาได้ริเริ่มขึ้นใหม่ อันทำให้ต่างจากศาสนาปรัชญา

ทั้งหลายอื่น ตลอดจนลัทธินิยมอุดมการณ์ทั้งหลายแม้ในสมัยปัจจุบัน

หลักการจำเพาะในกรณีนี้ คือ สำหรับสิ่งที่ไม่อาจพิสูจน์และมิใช่ธรรมสำหรับเข้าถึง

ให้ใช้การวางท่าทีหรือวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง เมื่อคนทั้งหลายปฏิบัติตามหลักการที่

พระพุทธศาสนาและนำไว้แล้วอย่างนี้

ถ้ายังมีคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดสนใจที่จะค้นคว้าพิสูจน์ความมีจริงเป็นจริงของสิ่งเหล่านี้ต่อไป

ก็นับว่าเป็นงานอดิเรกของคนเหล่านั้น ซึ่งคนทั่วไปอาจวางใจเป็นกลาง และปล่อยให้เขาทำ

ไปเท่าที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียใดๆ แก่สังคม เปรียบได้กับนักค้นคว้าวิจัยในวิชาการสาขาต่างๆ

อย่างอื่นๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 12:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


-ต่อ



เท่าที่กล่าวมา เห็นได้ชัดอยู่แล้วว่า เหตุผลในข้อแรกมุ่งที่ประโยชน์ในทางปฏิบัติของมนุษย์

ทั้งหลาย

อย่างไรก็ตาม การที่พระพุทธศาสนาไม่สนใจปัญหาเกี่ยวกับความมีอยู่จริง หรือไม่ของ

ฤทธิ์ปาฏิหาริย์และเทพเจ้าทั้งหลาย จนถึงขั้นที่ว่าเมื่อวางท่าทีและปฏิบัติตนถูกต้องแล้ว

ใครจะสนใจค้นคว้าพิสูจน์เรื่องนี้ต่อไป ก็ปล่อยเขาไปตามเรื่องนั้น

ท่าทีเช่นนี้ย่อมเกี่ยวเนื่องถึงเหตุผลประการที่สอง ซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับหลักการขั้นพื้นฐาน

ของพระพุทธศาสนาด้วย กล่าวคือ ความมีอยู่จริงหรือไม่ของสิ่งเหล่านี้ ไม่กระทบต่อหลักการ

สำคัญของพระพุทธศาสนา หมายความว่า

ถึงแม้ว่าอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์และเทพเจ้าจะมีจริง แต่การปฏิบัติตามหลักการและการเข้าถึง

จุดหมายของพระพุทธศาสนาย่อมเป็นไปได้ โดยไม่ต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งเหนือสามัญวิสัย

ทั้งสองประเภทนั้นแต่ประการใดเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 12:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ พึงอ้างพุทธพจน์ว่า


พระพุทธเจ้า: นี่แน่ะ สุนักขัตต์ เธอเข้าใจว่าอย่างไร ? เมื่อเราทำอิทธิปาฏิหาริย์ซึ่งเป็น

ธรรมของมนุษย์ยิ่งยวดก็ตาม ไม่ทำก็ตาม ธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อประโยชน์มุ่งหมายใด

จะนำออกไปเพื่อ (ประโยชน์ที่มุ่งหมายนั้น คือ) ความหมดสิ้นทุกข์โดยชอบได้หรือไม่ ?



สุนักขัตต์: พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์ทรงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ที่เป็นธรรม

ของมนุษย์ที่ยิ่งยวด ก็ตาม ไม่กระทำก็ตาม ธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วเพื่อ

ประโยชน์มุ่งหมายใด ก็ย่อมจะนำออกไปเพื่อ (ประโยชน์ที่มุ่งหมายนั้น คือ) ความหมดสิ้น

ทุกข์โดยชอบได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 12:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้า : นี่แน่ะ สุนักขัตต์ เธอเข้าใจว่าอย่างไร ?

เมื่อเราบัญญัติสิ่งที่ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของโลกก็ตาม ไม่บัญญัติก็ตาม ธรรมที่เราได้แสดงไว้แล้ว

เพื่อประโยชน์ที่มุ่งหมายใด จะนำออกไปเพื่อ- (เพื่อประโยชน์ที่มุ่งหมายนั้น) ความหมดสิ้นทุกข์

โดยชอบ ได้หรือไม่ ?


สุนักขัตต์: พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์บัญญัติสิ่งที่ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของโลกก็ตาม ไม่บัญญัติ

ก็ตาม ธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วเพื่อประโยชน์ที่มุ่งหมายใด ก็จะนำออกไปเพื่อ

(เพื่อประโยชน์ที่มุ่งหมายนั้น) ความหมดสิ้นทุกข์โดยชอบ ได้

(ที.ปา. 11/2-3/3-4)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 12:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนเรื่องเทพเจ้าจะได้พิจารณาเหตุผลเป็นแง่ๆต่อไป เฉพาะในเบื้องต้น พึงพิจารณาพุทธภาษิตว่า


“การไม่กินปลาไม่กินเนื้อก็ดี การประพฤติเป็นชีเปลือยก็ดี ความมีศีรษะโล้นก็ดี

การมุ่นมวยผมเป็นชฎาก็ดี การอยู่คลุกฝุ่นธุลีก็ดี การนุ่งห่มหนังเสือหยาบกร้านก็ดี

การบูชาไฟก็ดี การบำเพ็ญพรตหมายจะเป็นเทวดาก็ดี การบำเพ็ญตบะต่างๆ มากมายในโลกก็ดี

พระเวทก็ดี การบวงสรวงสังเวยก็ดี การบูชายัญก็ดี การจำพรตตามฤดูก็ดี จะชำระสัตว์

ผู้ยังข้ามไม่พ้นความสงสัยให้บริสุทธิ์ได้ ก็หาไม่” (ขุ.สุ. 25/315/374)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 12:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่กล่าวมานี้ เป็นหลักการทั่วไปที่ควรทราบไว้ก่อน ต่อจากนี้

ถ้ายอมรับว่าอิทธิปาฏิหาริย์และเทวดามีจริง ก็พึงทราบฐานะของสิ่งเหล่า

นั้นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ พร้อมทั้งวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องต่อสิ่งเหล่านั้น ดังต่อไปนี้



อิทธิปาฏิหาริย์

อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นอภิญญา คือความรู้ความสามารถพิเศษยวดยิ่ง

อย่างหนึ่ง มีชื่อเฉพาะว่า อิทธิวิธิ หรือ อิทธิวิธา (การแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ)

แต่เป็นโลกียอภิญญา คือ อภิญญาระดับโลกีย์ ซึ่งพัวพันเกี่ยวเนื่องอยู่ใน

โลก เป็นวิสัยของปุถุชน ยังอยู่ในอำนาจของกิเลส เช่นเดียวกับ

โลกียอภิญญาอื่นๆ ทั้งหลาย คือ หูทิพย์ ตาทิพย์ การรู้ใจคนอื่น และระลึก

ชาติได้ โลกียอภิญญาทั้ง 5 อย่างนี้ มีคนทำได้ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล

ไม่เกี่ยวกับการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา คือ พระพุทธศาสนาจะเกิดขึ้น

หรือไม่ก็ตาม โลกียอภิญญาเหล่านี้ก็เกิดมีได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 12:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พูดอีกอย่างหนึ่งว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ตัวแท้ของพระพุทธศาสนา และไม่จำเป็นสำหรับ

การเข้าถึงพระพุทธศาสนา สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยการเกิดของพระพุทธศาสนา และเป็น

ตัวพระพุทธศาสนา คือ ความรู้ที่ทำให้ดับกิเลสดับทุกข์ได้ เรียกชื่ออย่างหนึ่งว่า

อาสวักขยญาณ แปลว่า ญาณที่ทำให้อาสวะให้สิ้นไป จัดเข้าเป็นอภิญญาข้อสุดท้าย

เป็นโลกุตรอภิญญา ซึ่งทำให้มีจิตใจเป็นอิสระปลอดโปร่งผ่องใส พ้นจากอำนาจครอบงำ

ของเรื่องโลกๆ หรือ สิ่งที่เป็นวิสัยโลก ทำให้ปุถุชนกลายเป็นอริยะชนโดยสมบูรณ์

โลกียอภิญญาทั้งหลายเสื่อมถอยได้ แต่โลกุตรอภิญญาไม่กลับกลาย ได้โลกุตรอภิญญา

อย่างเดียว ประเสริฐกว่าได้โลกียอภิญญาทั้ง 5 อย่างรวมกัน

แต่ถ้าได้โลกุตรอภิญญา โดยได้โลกียอภิญญาด้วย ก็เป็นคุณสมบัติส่วนพิเศษเสริมให้ดีพร้อม

ยิ่งขึ้น

โลกุตรอภิญญาเท่านั้น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตที่ดีงามของมนุษย์ซึ่งทุกคนควรได้ควรถึง

ส่วนโลกียอภิญญาทั้งหลาย มิใช่สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตที่ดีงาม เป็นเพียงเครื่องประกอบเสริม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อิทธิปาฏิหาริย์ พระพุทธเจ้าทรงจัดเป็นปาฏิหาริย์อย่างหนึ่งใน 3 อย่างคือ



1. อิทธิปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือ การแสดงฤทธิ์ต่างๆ

2. อาเทศนาปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือ การทายใจคนอื่นได้

3. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือ คำสอนที่เป็นจริง สอนให้เห็นจริง

และนำไปปฏิบัติได้ผลสมจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายตามบาลีดังนี้


1. อิทธิปาฏิหาริย์ : “บางท่าน ประกอบฤทธิ์ต่างๆ ได้มากมายหลายอย่าง คนเดียวเป็นหลายคน

ก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา

กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือน

ในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ใช้มือจับ

ต้องลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีกำลังฤทธิ์เดชมากมายถึงเพียงนี้ก็ได้ ใช้อำนาจทางกาย

จนถึงพรหมโลกก็ได้”


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


2. อาเทศนาปาฏิหาริย์ “...ย่อมทายใจ ทายความรู้สึกในใจ ทายความนึกคิด ทายความ

ไตร่ตรองของสัตว์อื่น บุคคลอื่นได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นไปโดยอาการนี้

จิตของท่านเป็นดังนี้” อย่างนี้ว่าตามเกวัฏฏสูตรในทีฆนิกาย

แต่ใน ที.ปา. 11/78/112 ฯลฯ ให้ความหมายละเอียดออกไปอีกว่า “บางท่านทายใจได้ด้วย

สิ่งที่กำหนดเป็นเครื่องหมาย (นิมิต) ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นโดยอาการอย่างนี้

จิตของท่านเป็นดังนี้ ถึงหากเธอจะทายเป็นอันมาก ก็ตรงอย่างนั้น ไม่พลาดเป็นอื่น

บางท่าน ไม่ทายสิ่งที่กำหนดเป็นเครื่องหมายเลย แต่พอได้ฟังเสียงของมนุษย์ อมนุษย์

หรือเทวดาแล้ว ก็ทายใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้...; บางท่านไม่ทายด้วยนิมิต ไม่

ฟังเสียง...แล้วจึงทาย แต่ฟังเสียงวิตกวิจารของคนที่กำลังตรึกกำลังตรองอยู่ ก็ทายใจได้

ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้...; บางท่านไม่ทายด้วยนิมิต ไม่ฟังเสียง...แล้วจึงทาย

แต่ใช้จิตกำหนดใจของคนที่เข้าสมาธิซึ่งไม่มีวิตกไม่มีวิจารแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ท่านผู้นี้

ไม่มีสังขาร (ความคิดปรุงแต่งในใจ) ไว้อย่างไร ต่อจากความคิดนี้แล้ว ก็จะคิดความ

คิดโน้น ถึงหากเธอจะทายมากมาย ก็ตรงอย่างนั้น ไม่พลาดเป็นอื่น”



อาเทศนาปาฏิหาริย์นี้ ดูคล้ายเจโตปริยญาณ หรือปรจิตตวิชานน์ คิดการหยั่งรู้ใจผู้อื่น แต่ไม่

ตรงกันทีเดียวเพราะอยู่ในขั้นทาย ยังไม่เป็นญาณ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


3. อนุสาสนีปฏิหาริย์ “บางท่าน ย่อมพร่ำสอนอย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้

อย่ามนสิการอย่างนี้ จงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่เถิด”


(เฉพาะในเกวัฏฏสูตร ในทีฆนิกาย อธิบายเพิ่มเติมโดยแยกเอาการที่พระพุทธเจ้าอุบัติในโลกแล้ว

ทรงสั่งสอนธรรม ทำให้คนมีศรัทธาออกบวชบำเพ็ญศีล สำรวมอินทรีย์ มีสติสัมปชัญญะ

สันโดษ เจริญฌาน บรรลุอภิญญาทั้ง 6 ซึ่งจบลงด้วยอาสวักขัยเป็นพระอรหันต์ ว่าการสอน

ได้สำเร็จผลอย่างอย่างนั้นๆ ล้วนเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ในสมัยพุทธกาล เคยมีบุตรคฤหบดีผู้หนึ่งทูลให้พระพุทธเจ้าแสดงอิทธิปาฏิหาริย์

เขากราบทูลว่า


“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมืองนาลันทานี้เจริญรุ่งเรือง มีประชาชนมาก มีผู้คนกระจายอยู่ทั่ว

ต่างเลื่อมใสนักในองค์พระผู้มีพระภาค ขออัญเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรด

ทรงรับสั่งพระภิกษุไว้สักรูปหนึ่งที่จะกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมเหนือมนุษย์

โดยการกระทำเช่นนี้ ชาวเมืองนาลันทานี้ก็จักเลื่อมใสยิ่งนักในองค์พระผู้มีพระภาคเจ้า

สุดที่จะประมาณ”


พระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบบุตรคฤหบดีผู้นั้นว่า


“นี่แน่ะเกวัฏฏ์ เรามิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอจงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมเหนือมนุษย์ แก่คนนุ่งขาวชาวคฤหัสถ์”


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พระองค์ได้ตรัสแสดงเหตุผลต่อไปว่า ในบรรดาปาฏิหาริย์ 3 อย่างนั้น ทรงรังเกียจ ไม่โปรด

ไม่โปร่ง พระทัยต่ออิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทศนาปาฏิหาริย์ เพราะทรงเห็นโทษว่า คนที่เชื่อ

ก็เห็นจริงตามไป

ส่วนคนที่ไม่เชื่อได้ฟังแล้วก็หาช่องขัดแย้งคัดค้านเอาได้ว่า ภิกษุที่ทำปาฏิหาริย์นั้น

คงใช้คันธารีวิทยา และมณิกาวิทยา ทำให้คนมัวทุ่มเถียงทะเลาะกัน

และได้ทรงชี้แจงความหมายและคุณค่าของอนุสาสนีปาฏิหาริย์ไห้เห็นว่า เอามาใช้ปฏิบัติ

เป็นประโยชน์ประจักษ์ได้ภายในตนเองจนบรรลุถึงอาสวักขัยอันเป็นจุดหมายของ

พระพุทธศาสนา


นอกจากนั้นยังได้ทรงยกตัวอย่าง ภิกษุรูปหนึ่งมีฤทธิ์มาก อยากจะรู้ความจริงเกี่ยวกับจุดดับสิ้น

ของโลกวัตถุธาตุ จึงเหาะเที่ยวไปในสวรรค์ ดั้นด้นไปแสวงหาคำตอบจนถึงพระพรหม ก็หาคำเฉลยที่

ถูกต้องไมได้

ในที่สุดต้องเหาะกลับลงมาแล้วเดินดินไปทูลพระพุทธองค์เพื่อความรู้จักโลกตามความเป็นจริง

แสดงถึงความที่อิทธิปฏิหาริย์มีขอบเขตจำกัด อับจนและมิใช่แก่นธรรม


(เกวัฏฏสูตร, ที.สี.9/338-350/273-283)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกคราวหนึ่ง เมื่อสังคารวพราหมณ์ กราบทูลถึงเรื่องแทรก ซึ่งที่ประชุมราชบริษัท ได้ยกขึ้นมา

สนทนากันในราชสำนักว่า “สมัยก่อนมีพระภิกษุจำนวนน้อยกว่า แต่มีภิกษุแสดงอิทธิปาฏิหาริย์

ซึ่งเป็นธรรมเหนือมนุษย์ได้มากกว่า สมัยนี้ มีพระภิกษุจำนวนมากกว่า แต่ภิกษุผู้แสดง

อิทธิปาฏิหาริย์ซึ่งเป็นธรรมเหนือมนุษย์กลับมีน้อยกว่า”

พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่าปาฏิหาริย์มี 3 อย่างคือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์และ

อนุสาสนีปาฏิหาริย์ แล้วทรงแสดงความหมายของปาฏิหาริย์ทั้งสามอย่างนั้น

ในที่สุดได้ตรัสถามพราหมณ์ว่า ชอบใจปาฏิหาริย์อย่างไหน ปาฏิหาริย์ใดดีกว่า ประณีตกว่า

พราหมณ์ได้ทูลตอบว่า อิทธิปาฏิหาริย์และอาเทศนาปาฏิหาริย์ คนใดทำ คนนั้นจึงรู้เรื่อง คนใดทำ

ก็เป็นของคนนั้นเท่านั้น มองดูเหมือนเป็นมายากล อนุสาสนีปาฏิหาริย์จึงจะดีกว่า ประณีตกว่า-

องฺ.ติก.20/500/217-220

(คนอื่นพิจารณารู้เข้าใจ มองเห็นความจริงด้วยและนำไปปฏิบัติได้ แก้ทุกข์แก้ปัญหาได้)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร