วันเวลาปัจจุบัน 25 ก.ค. 2025, 09:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 53 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 08:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุทธจิตโต เขียน:
จะตัวความว่างตัวไปดูความว่างปล่อยทิ้งไปเลย หากเอาจิตไปเกาะอยู่ตรงไหนความหนักความตึงจะเกิดหรือสภาวะทุกข์นั้นเอง ปล่อยให้ธาตุขันธ์ทำงานของมันไปอย่างอิสระไร้การเข้าไปผูกมัดจากตัวเรา ( อุปทาน ) องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ เราท่านทั้งหลายจึงไม่ควรเข้าไปเจริญขันธ 5 ด้วยวิธีการใดๆ ขอเจริญพร ....



การที่จะปล่อยทิ้งความว่าง และปล่อยวางตัวที่เข้าไปรู้ความว่าง นั้น
ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลยนะครับ

เพราะการที่เราพากันปฏิบัตินั้น
ก็เพื่อต้องการความว่างสงบ เพื่อต้องความสงบรำงับ

และโดยนิสัยแล้ว ความรู้สึกว่าเราเป็นผู้รู้ เราเป็นผู้ดู เราเป็นผู้ปฏิบัติ นั้น ยังคงมีอยู่
ตรงนี้นั้นอยากให้พระคุณเจ้าช่วยแนะนำว่า ควรที่จะพิจารณาอย่างไรครับ :b45:

และความว่างอันเป็นผลที่เกิดจากการปล่อยผุ้รู้ วางผู้ดู ได้แล้วนี้
ความว่างที่ว่านี้ สมควรที่จะพิจารณาอย่างไรต่อไป ครับ :b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 10:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 09:20
โพสต์: 16


 ข้อมูลส่วนตัว


การที่จะปล่อยทิ้งความว่าง และปล่อยวางตัวที่เข้าไปรู้ความว่าง นั้น
ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลยนะครับ
เพราะการที่เราพากันปฏิบัตินั้น
ก็เพื่อต้องการความว่างสงบ เพื่อต้องความสงบรำงับ
และโดยนิสัยแล้ว ความรู้สึกว่าเราเป็นผู้รู้ เราเป็นผู้ดู เราเป็นผู้ปฏิบัติ นั้น ยังคงมีอยู่
ตรงนี้นั้นอยากให้พระคุณเจ้าช่วยแนะนำว่า ควรที่จะพิจารณาอย่างไรครับ
และความว่างอันเป็นผลที่เกิดจากการปล่อยผุ้รู้ วางผู้ดู ได้แล้วนี้
ความว่างที่ว่านี้ สมควรที่จะพิจารณาอย่างไรต่อไป ครับ


เจริญพรโยม... การปล่อยวางนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับความง่ายหรือความยาก ความยากง่ายนั้นเกิดจากตัวเข้าไปทำเข้าไปเจริญซ้อนธาตุซ้อนขันธ์ เพราะเหตุเข้าไปทำเลยมีง่ายมียากการปล่อยวางจึงไม่อยู่ในสถานะง่ายหรือว่ายาก ส่วนคำถามว่าโยมเจริญความเป็นผู้ดูผู้รู้จนเป็นนิสัยแล้วจะต้องทำอย่างไร ? โยมก็ไม่ต้องไปสนใจเลยจะทำมามากมาน้อย นิสัยตลอดจนความเคยชินต่างๆก็อยู่ในกฏอนิจจังคือความไม่เที่ยงสามารถลบได้แก้ไขได้แต่อนุสัยความเคยชินที่ทำมานานเน้นมานานย้ำกับมันมานานมันจะมีอานุภาพมากกว่าอนุสัยที่เพิ่งสร้างเท่านั้นแต่โยมก็ไม่ต้องไปสนใจ ให้คลายไปเรื่องทั้งตัวดูทั้งตัวถูกดูอนุสันความเคยชินต่างๆจะคล่อยๆคายลงๆเกิดความเบากายสบายจิตตามมา โยมเคยสังเกตุมั้้ยว่าขณะใดจิตโยมปล่อยวางจริงๆไม่สนอะไรแล้วเมื่อนั้นโยมจะสบายมากๆ ส่วนผลจากความว่างที่ปล่อยวางผู้ดูผุ้รู้แล้วนั้น นั้นเป็นอนาคตผลที่จะเกิดเองเมื่อโยมปล่อยวางถึงระดับ ผลตรงนี้โยมก็ไม่ต้องไปพิจรณาอะไรเพราะนั่นเป็นเรื่องของปัญญาเค้าจะทำงานของเค้าเองเมื่อสภาวะถึง หากโยมไปพิจรณาก็จะเป็นการเข้าไปซ้อนการทำงานของสภาวะธรรม หากเป็นเช่นนั้นแล้วก็จะหลงกลอุปาทานในตัวปัญญาอีกรอบนึง เพราะไม่หลงซ้อนในตัวปัญญาจึงเป็นปัญญญาแท้ สรุปคือไม่ว่า จะดู รู้เห็น นึกคิด อะไร ไม่ว่าสภาวะธรรมใดก็อย่าไปซ้อนดู ซ้อนรู้กับมัน เพราะหาไม่แล้วจะเป็นการซ้อนตัวซ้อนตนในการทำงานของสภาวะธรรมทั้งสิ้น และเมื่อถึงที่สุดแล้วหากจิตโยมนอกเหนือทุกสภาพการรับรู้ ทุกการนึกคิดปรุงแต่ง คือการที่ไม่มีตัวโยมเข้าไปซ้อนในทุกสภาวะธรรม เมื่อนั้นโยมก็จะรับรู้ได้ด้วยตัวโยมเองเช่นกัน ขอเจริญพร ....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 13:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาติครับ
ผมจะขอถามไปเรื่อยๆละกันนะครับ
เรียกหลวงพี่ละกันนะครับ เอาตรงนี้ครับ

+จะดู รู้เห็น นึกคิด อะไร ไม่ว่าสภาวะธรรมใดก็อย่าไปซ้อนดู ซ้อนรู้กับมัน
เพราะหาไม่แล้วจะเป็นการซ้อนตัวซ้อนตนในการทำงานของสภาวะธรรมทั้งสิ้น+

การซ้อนรู้ที่ท่านว่าไว้ ท่านว่าการซ้อนรู้อันนี้ เกิดขึ้นเพราะเหตุใด
และการซ้อนรู้อันนี้ จะไม่เกิดขึ้น เพราะเหตุใด
แล้วการซ้อนรู้นี้ เป็นตัวรู้ หรือ เป็นสิ่งที่ถูกรู้ หรืออย่างไร

3 ข้อครับ ลองอธิบายตามแนวทางของหลวงพี่ ให้ฟังหน่อยครับ ขอบคุรครับ

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 15:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




.jpg
.jpg [ 74.42 KiB | เปิดดู 4260 ครั้ง ]
จูฬสุญญตสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=4714&Z=4845&pagebreak=0

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 28 ก.ย. 2010, 15:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 16:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:


อิ อิ ท่านเช่นนั้นเป็นไข้แน่ ๆ เลย...
...



แบบว่าไม่ค่อยได้เห็นลีลาเช่นนี้ของพี่เช่นนั้น...อิ อิ... :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วความสุข...อยู่ไหนกันเล่า...ท่านเช่นนั้น...
...


:b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 16:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุญญตสัญญา สุญญตวิโมกข์
ความหลุดพ้นโดยอาศัยสัญญาว่าว่าง
ผู้ปฏิบัติ อย่าเพิ่งเล็งเอาที่ผลสุดท้าย เป็นความสนใจในการเจริญสุญญตสมาธิ
เช่นนั้น ...มีความเห็นอย่างนี้ว่า

ให้เจริญไปตามลำดับ เช่นในการตรัสสอนของพระพุทธองค์แสดงแก่ ท่านอานนท์ เหมือนค่อยๆ ตักน้ำออกจากตุ่ม การใส่ใจในความว่าง ก็จะประจักษ์ขึ้นมา

เพราะเหตุใด
เพราะโดยธรรมชาติธรรมดาของปุถุชน จิตนั้นแล่นไปในกุศลบ้าง อกุศลบ้าง บางขณะก็ไม่ได้แล่นไปแม้ในกุศลและอกุศล ซึ่งปุถุชนย่อมไม่อาจแยกแยะได้เลย

การเจริญสุญญตสมาธิ เป็นการปัดกวาด ทำให้ชัดเจนแยกแยะ ภาวะต่างๆ เหล่านั้นให้ประจักษ์ขึ้นมา
และทำให้จิตที่ ไม่ได้แล่นไปแม้ในกุศลและอกุศลนั้น ชัดเจนขึ้นมา ซึ่งก็หมายความว่า เป็นการทำนิพพานให้แจ้งนั่นเอง

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 16:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
แล้วความสุข...อยู่ไหนกันเล่า...ท่านเช่นนั้น...
...


:b1: :b1:

ความสุข อยู่ไหน....
อยู่ที่ความไม่กระวนกระวายอีกต่อไปไง จิ้งจกน้อย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผัสสะที่ไม่มีเราไม่มีเขาอีกต่อไป...

สิ่งกีดขวาง
สิ่งเบี่ยงเบน
หายไป...

เหมือนน้ำจากเหยือกไหลลงสู่แก้ว...

มองให้พ้นกรอบแห่งภาชนะ...

จะเห็นความเป็น...หนึ่ง

:b1:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 28 ก.ย. 2010, 16:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตรบทหนึ่งที่...กล่าวถึงตอนที่ท่าน
อัญญาโกณฑัญญะ ... เกิดดวงตาเห็นธรรม...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุทธจิตโต เขียน:
การที่จะปล่อยทิ้งความว่าง และปล่อยวางตัวที่เข้าไปรู้ความว่าง นั้น
ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลยนะครับ
เพราะการที่เราพากันปฏิบัตินั้น
ก็เพื่อต้องการความว่างสงบ เพื่อต้องความสงบรำงับ
และโดยนิสัยแล้ว ความรู้สึกว่าเราเป็นผู้รู้ เราเป็นผู้ดู เราเป็นผู้ปฏิบัติ นั้น ยังคงมีอยู่
ตรงนี้นั้นอยากให้พระคุณเจ้าช่วยแนะนำว่า ควรที่จะพิจารณาอย่างไรครับ
และความว่างอันเป็นผลที่เกิดจากการปล่อยผุ้รู้ วางผู้ดู ได้แล้วนี้
ความว่างที่ว่านี้ สมควรที่จะพิจารณาอย่างไรต่อไป ครับ


เจริญพรโยม...
การปล่อยวางนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับความง่ายหรือความยาก
ความยากง่ายนั้น เกิดจากตัวเข้าไปทำ เข้าไปเจริญซ้อนธาตุซ้อนขันธ์

เพราะเหตุเข้าไปทำ เลยมีง่ายมียาก
การปล่อยวางจึงไม่อยู่ในสถานะง่ายหรือว่ายาก

ส่วนคำถามว่า โยมเจริญความเป็นผู้ดูผู้รู้จนเป็นนิสัยแล้วจะต้องทำอย่างไร ?
โยมก็ไม่ต้องไปสนใจเลยจะทำมามากมาน้อย
นิสัยตลอดจนความเคยชินต่างๆก็อยู่ในกฏอนิจจังคือความไม่เที่ยง สามารถลบได้ แก้ไขได้
แต่อนุสัยความเคยชินที่ทำมานาน เน้นมานาน ย้ำกับมันมานาน
มันจะมีอานุภาพมากกว่าอนุสัยที่เพิ่งสร้างเท่านั้น แต่โยมก็ไม่ต้องไปสนใจ
ให้คลายไปเรื่องทั้งตัวดู ทั้งตัวถูกดู

อนุสันความเคยชินต่างๆจะคล่อยๆคายลงๆ เกิดความเบากายสบายจิตตามมา
โยมเคยสังเกตุมั้้ยว่าขณะใดจิตโยมปล่อยวางจริงๆ
ไม่สนอะไรแล้ว เมื่อนั้นโยมจะสบายมากๆ

ส่วนผลจากความว่างที่ปล่อยวางผู้ดูผุ้รู้แล้วนั้น
นั้นเป็นอนาคตผลที่จะเกิดเองเมื่อโยมปล่อยวางถึงระดับ
ผลตรงนี้โยมก็ไม่ต้องไปพิจรณาอะไร
เพราะนั่นเป็นเรื่องของปัญญาเค้าจะทำงานของเค้าเองเมื่อสภาวะถึง

หากโยมไปพิจรณาก็จะเป็นการเข้าไปซ้อนการทำงานของสภาวะธรรม
หากเป็นเช่นนั้นแล้วก็จะหลงกลอุปาทานในตัวปัญญาอีกรอบนึง

เพราะไม่หลงซ้อนในตัวปัญญาจึงเป็นปัญญญาแท้
สรุปคือไม่ว่า จะดู รู้เห็น นึกคิด อะไร ไม่ว่าสภาวะธรรมใดก็อย่าไปซ้อนดู ซ้อนรู้กับมัน
เพราะหาไม่แล้วจะเป็นการซ้อนตัวซ้อนตนในการทำงานของสภาวะธรรมทั้งสิ้น

และเมื่อถึงที่สุดแล้วหากจิตโยมนอกเหนือทุกสภาพการรับรู้ ทุกการนึกคิดปรุงแต่ง
คือการที่ไม่มีตัวโยมเข้าไปซ้อนในทุกสภาวะธรรม
เมื่อนั้นโยมก็จะรับรู้ได้ด้วยตัวโยมเองเช่นกัน ขอเจริญพร ....



ผมกำลังเข้าใจว่า พระคุณเจ้าแนะนำการปฏิบัติ
โดยการที่ไม่ต้องเข้าไปกำหนดรู้ ดูสภาวะธรรม ใดๆทั้งสิ้น
การปฏิบัติตามแนวทางของพระคุณเจ้านี้
หากจะเทียบเปรียบให้เข้ากับการเจริญสติปัฏฐานสี่ จะเทียบเปรียบเข้ากันได้อย่างใดครับ
การพิจารณา กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม
จะดำเนินในช่วงตอนใดครับ

หรือแนวทางปฏิบัติของพระคุณเจ้านี้
ไม่เกี่ยวข้องกับการเจริญสติปัฏฐาน๔
ไม่เกี่ยวข้องกับการเจริญอานาปานสติ แต่อย่างใด

แล้วแนวทางปฏิบัติที่พระคุณเจ้าแนะนำนี้นั้น
อยู่ในมรรคตัวไหน ในมรรคทั้งแปดครับ :b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 17:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b13: :b13: :b13:
ติดตามกระทู้นี้อยู่ตลอดนะครับ

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2010, 10:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 09:20
โพสต์: 16


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาติครับ
ผมจะขอถามไปเรื่อยๆละกันนะครับ
เรียกหลวงพี่ละกันนะครับ เอาตรงนี้ครับ

+จะดู รู้เห็น นึกคิด อะไร ไม่ว่าสภาวะธรรมใดก็อย่าไปซ้อนดู ซ้อนรู้กับมัน
เพราะหาไม่แล้วจะเป็นการซ้อนตัวซ้อนตนในการทำงานของสภาวะธรรมทั้งสิ้น+

การซ้อนรู้ที่ท่านว่าไว้ ท่านว่าการซ้อนรู้อันนี้ เกิดขึ้นเพราะเหตุใด
และการซ้อนรู้อันนี้ จะไม่เกิดขึ้น เพราะเหตุใด
แล้วการซ้อนรู้นี้ เป็นตัวรู้ หรือ เป็นสิ่งที่ถูกรู้ หรืออย่างไร

3 ข้อครับ ลองอธิบายตามแนวทางของหลวงพี่ ให้ฟังหน่อยครับ ขอบคุรครับ

การซ้อนรู้ที่ท่านว่าท่านว่าการซ้อนรู้อันนี้ เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ?
เจริญพร .. การซ้อนรู้นี้เกิดขึ้นเพราะจิตมีโมหะ อวิชชาหลงไม่รู้เห็นตามสัจธรรมความเป็นจริง หลงยึดว่ามีตัวมีตน เมื่อมีตัวมีตนเมื่อเจออารมณ์ทุกอารมณ์จึงมียึดว่านี่ของเรา เมื่อยึดว่าอารมณ์ทุกความรู้สึกนึกคิดเป็นเรา ความอยากให้อารมณ์นั้นอยู่นานๆหรือไม่อยากให้อยู่เลย อยากให้หมดไปจึงเกิด และความดึงเข้าหรือผลักออกของอารมณ์นั้นก็คือ การเอาตัณหา อุปทานไปซ้อนในอารมณ์ต่างๆนั่นเอง


การซ้อนรู้อันนี้จะไม่เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ?
การที่จะไม่ซ้อนรู้นี้จะไม่เกิด ขึ้นเพราะการปล่อยวางเมื่อเจออารมณ์มากระทบจิต หากเราไม่ไปฝืนมันไปไหลตามมันก็จะเป็นการไปไม่เติมเชื้อให้กิเลส หลายครั้งๆเข้ากิเลสเมื่อไม่มีการเติมเชื้อย่อมคลายลงได้ คือการไม่เข้าไปเติมเชื้อตัณหาหรืออุปทานนั่นเอง

แล้วการซ้อนรู้นี้ เป็นตัวรู้ หรือ เป็นสิ่งที่ถูกรู้ หรืออย่างไร ?
การซ้อนรู้นี้เป็นการเอาตัวรู้ไปซ้อนตัวรู้ ในสิ่งที่วิญญาณขันธ์ 1 ในขันธ์ 5 รับเข้ามา โดยการซ้อนรู้นี้จึงทำให้เกิดความเป็นตัวเป็นตนขึ้น มีตัวเรา ตัวเขาขึ้น เพราะฉะนั้นหากไม่ซ้อนรู้ได้อย่างหมดจดจะสามารถรู้สักแต่ว่ารู้ เห็นสักแต่ว่าเห็น ไร้ความปรุงแต่งในกองสังขารแต่อย่างใด ไร้ความเป็นตัวเป็นตนซ้อนในทุกสรรพสิ่งที่วิญญาณขันธ์เข้าไปรับรู้ได้อย่างสิ้นเชิง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2010, 14:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 09:20
โพสต์: 16


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมกำลังเข้าใจว่า พระคุณเจ้าแนะนำการปฏิบัติ
โดยการที่ไม่ต้องเข้าไปกำหนดรู้ ดูสภาวะธรรม ใดๆทั้งสิ้น
การปฏิบัติตามแนวทางของพระคุณเจ้านี้
หากจะเทียบเปรียบให้เข้ากับการเจริญสติปัฏฐานสี่ จะเทียบเปรียบเข้ากันได้อย่างใดครับ
การพิจารณา กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม
จะดำเนินในช่วงตอนใดครับ
หรือแนวทางปฏิบัติของพระคุณเจ้านี้
ไม่เกี่ยวข้องกับการเจริญสติปัฏฐาน๔
ไม่เกี่ยวข้องกับการเจริญอานาปานสติ แต่อย่างใด
แล้วแนวทางปฏิบัติที่พระคุณเจ้าแนะนำนี้นั้น
อยู่ในมรรคตัวไหน ในมรรคทั้งแปดครับ


เจริญพรโยม สติปัฏฐาน หมายถึง สติที่ดำรงไว้เพียงเพื่อรู้ เพียงเพื่ออาศัยระลึก
ดังนั้นสติจะเป็นสติที่บริสุทธิ์ได้จะต้องไม่มีการซ้อนตัวซ้อนตนในสตินั้น จึงรู้สักแต่ว่ารู้ เห็นสักแต่ว่าเห็นที่แท้จริงดังนั้นการไม่ซ้อนดูซ้อนรู้ปล่อยวางจึงทำให้สติเป็นสติที่แท้ จึงไม่ได้ขัดกับหลักสติปัฏฐาน 4 แต่อย่างใด
เพราะเมื่อวิญญาณขันธ์รับรู้มาแล้ว เราไม่ได้ซ้อนอะไรลงไปไม่ได้ซ้อนตัวซ้อนตนลงไป จึงเป็นรู้สักแต่ว่ารู้ที่แท้จริง หากเราเข้าไปกดข่มหรือผลักไสในวิญญาณขันธ์จะเรียกว่ารู้สักแต่ว่ารู้ไม่ซ้อนตัณหาได้อย่างไร และเพราะไม่ได้ซ้อนตัวซ้อนตนลงในสภาวะธรรมต่างๆความเห็นถูก(สัมมาทิฏฐิ)หนึ่งในอริยมรรคที่เห็นว่าเป็นตัวเป็นตนสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นตัวเป็นตนจึงเริ่มลดลง เมื่อมีความเห็นถูกแล้วอริยมรรคข้อที่เหลือจึงตามมา ขอเจริญพร..

หมายเหตุ ถ้าโยมเกิดความสงสัยหรืออยากรู้ธรรมมะเพิ่มเติม ให้เข้ามาฟังธรรมมะจากหลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโตซึ่งท่านเป็นอาจารย์ของอาตมาได้โดยตรงที่http://www.rombodhidharma.com/ หรือมาฟังธรรมท่านที่วัด ร่มโพธิ์ธิธรรม ต.หนองหิน อ. หนองหิน จ.เลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2010, 14:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะขอถามต่อละครับ

+ที่ท่านว่า เพราะปล่อยวางเมื่อเจออารมณ์มากระทบจิต +
หากเมื่อไม่มีอารมณ์มากระทบจิต
จิตนี้มีสภาพอย่างไร มีอะไรเป็นที่ตั้งอยู่ หรือไม่มีที่ตั้งอยู่ หรืออย่างไร


+ การที่จะไม่ซ้อนรู้นี้จะไม่เกิดขึ้น เพราะการปล่อยวางเมื่อเจออารมณ์มากระทบจิต +
การปล่อยวางนี้ ปล่อยวางอย่างไร อย่างใดเล่าจึงเรียกว่า ปล่อยวางแล้ว
อธิบายให้ชัด ในทางของท่าน ด้วยนะครับ

+รู้สักแต่ว่ารู้ เห็นสักแต่ว่าเห็น ไร้ความปรุงแต่ง+
ในทางของท่าน รู้อย่างไร เห็นอย่างไร จึงชื่อว่ารู้สักแต่ว่ารู้ เห็นสักแต่ว่าเห็น
ตรงนี้ขอชัดๆนะครับ

ตอบตามแนวทางของท่านเหมือนเดิม ขอบคุณครับ

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 53 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร