วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 01:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2011, 15:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


halem1982 เขียน:
ขอบคุณทุกความเห็นครับ

กล่าวโดยสรุปคือ ไม่บาป

แต่ผมก็ยังสงสัยต่อไปอีกว่า ทำไมเราต้องแสวงหาพระแท้แล้วไปทำบุญกับท่านครับ

ไม่ใช่เพราะว่าเรามั่นใจว่าท่านจะเอาเงิน(ขอแทนด้วยเงินละกันครับ ในที่นี้อาจหมายรวมไปถึงสิ่งอื่นๆด้วยที่นำไปถวาย)
ของเราไปใช้ในทางที่ดีหรือครับ ซึ่งทำให้เราได้บุญมาก หรือเต็มเม็ดเต็มหน่วย
เช่น ต้องรีบทำบุญกับพระบวชใหม่ ศีลยังครบอยู่ ตอนผมบวชเสร็จก็ได้มาเต็มย่ามเลย
หรือ ต้องฝ่าฟันเบียดเสียดกันไปหาหลวงพ่อคูณ เพื่อถวายเงินท่าน และเกจิอีกหลายรูป

หรือว่านี่เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะจริงๆแล้วทำบุญกับพระวัดข้างบ้านก็ได้บุญเท่ากันครับ

ขอบคุณครับ


:b10: :b5:

ขออภัยค่ะ บวชอยู่กี่วันคะ? เหตุผลที่บวช?
เพิ่งเคยได้ยินนี่แหละทำบุญกับพระบวชใหม่จะได้บุญมาก (ของเต็มย่ามเลย)
ด้านบนนี่เป็นความคิดของคุณเมื่อทำบุญหรือคะ
ถ้าศึกษาหนังสือขององค์สมเด็จพระสังฆราชแล้วคุณยังไม่สามารถหยุดสงสัย
คงต้องหาคำตอบไปจนตลอดชีวิตแล้วค่ะ

ถามตัวเองว่าทำบุญเพื่ออะไร ตอบ(ในใจได้) ก็จบ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2011, 06:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


halem1982 เขียน:
ทักษา เขียน:
halem1982 เขียน:
ไม่ใช่เพราะว่าเรามั่นใจว่าท่านจะเอาเงินของเราไปใช้ในทางที่ดีหรือครับ ซึ่งทำให้เราได้บุญมาก หรือเต็มเม็ดเต็มหน่วย


การทำบุญสำหรับผม ไม่ได้หวังว่าจะได้บุญ ผมทำบุญเพราะว่าผมอยากจะทำ เพราะทำแล้วสบายใจ
ความสบายใจนั่นแหละครับที่ผมเรียกว่า "บุญ" ...


แสดงว่าถ้าผมไปดูหนัง แล้วสบายใจ หรือ ไปเที่ยวแล้วสบายใจ

ผมก็ได้บุญ ในความหมายนี้สิครับ ใช่ป่าว

สิ่งที่ทำให้เราเกิดความสับสนนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการไม่แยกแยะปัญหา
เอาเหตุเอาผลของประเด็นอื่นมาเหมารวมกันแล้วตีความครับ

น้องจขกทครับ ก่อนอื่นน้องต้องเข้าใจก่อนว่า ความหมายของการทำบุญคืออะไร
ผลที่เกิดจากการทำบุญคืออะไร และอะไรที่เรียกว่าบุญครับ

......บุญคือผลที่เกิดขึ้นที่ใจ จากการกระทำที่เป็นกุศลครับ และสิ่งที่เกิดต้องเป็นกุศลด้วย
ก่อนอื่นน้องต้องเข้าใจก่อนว่า
การกระทำที่เป็นกุศลก็หมายถึง การกระทำใดๆที่ไม่เดือดร้อนตัวเอง
และผู้อื่น
ส่วนความหมายของ ใจที่เป็นกุศลคือ ความสบายใจ สุขใจ

ส่วนในประเด็นที่น้องถามมา ที่ว่าไปเที่ยวหรือดูหนังแล้วสบายใจ
ถ้าความหมายของคำว่าสบายใจของน้องเป็นกุศล ผมว่านั้นแหล่ะครับบุญ

การกระทำของเรา บ้างครั้งต้องเกื่ยวข้องกับคนอื่น
หรือบ้างครั้งเราทำโดยตัวของเราไม่เกี่ยวข้องกับใคร
ถ้าผลออกมาเป็นกุศล เป็นความสุขใจสบายใจ นั้นก็คือบุญเหมือนกันครับ


มีบ้างท่านเข้าใจไปว่า การทำบุญจะต้องเป็นการช่วยเหลือผู้อื่น
ให้ผู้อื่น และจะต้องทำต่อผู้อื่นเสมอ
สิ่งที่ว่าทำให้คิดไปว่า ผู้ที่กระทำอะไรที่ให้เกิด
ประโยชน์หรือกุศลต่อตัวเอง ไม่ดีเป็นอกุศลไป
และที่ควรคำนึงที่สุดคือการใช้บัญญัติ เพราะจะทำให้มุมมองของผลที่เกิดเปลี่ยนไป
จากสิ่งที่เป็นกุศลอาจกลับกลายเป็นอกุศลไป

การนำบัญญัติที่ใช้กับการกระทำของทางโลก มาใช้กับการกระทำที่เป็นทางธรรม
มันทำให้ผู้ที่ได้รับรู้จะมุ่งตรงไปที่เหตุอย่างเดียวไม่ไปดู จุดสิ้นสุดก็คือผลครับ


สิ่งที่เป็นเครื่องยืนยันว่า การทำบุญไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ให้
หรือไปยุ่งเกี่ยวกับใครนั้นก็คือ การทำกรรมฐาน ทำสมาธิวิปัสสนาไงครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2011, 06:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


halem1982 เขียน:
ขอบคุณทุกความเห็นครับ

กล่าวโดยสรุปคือ ไม่บาป

แต่ผมก็ยังสงสัยต่อไปอีกว่า ทำไมเราต้องแสวงหาพระแท้แล้วไปทำบุญกับท่านครับ

ไม่ใช่เพราะว่าเรามั่นใจว่าท่านจะเอาเงิน(ขอแทนด้วยเงินละกันครับ ในที่นี้อาจหมายรวมไปถึงสิ่งอื่นๆด้วยที่นำไปถวาย)
ของเราไปใช้ในทางที่ดีหรือครับ ซึ่งทำให้เราได้บุญมาก หรือเต็มเม็ดเต็มหน่วย
เช่น ต้องรีบทำบุญกับพระบวชใหม่ ศีลยังครบอยู่ ตอนผมบวชเสร็จก็ได้มาเต็มย่ามเลย
หรือ ต้องฝ่าฟันเบียดเสียดกันไปหาหลวงพ่อคูณ เพื่อถวายเงินท่าน และเกจิอีกหลายรูป

หรือว่านี่เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะจริงๆแล้วทำบุญกับพระวัดข้างบ้านก็ได้บุญเท่ากันครับ
ขอบคุณครับ

ว่ากันตามจริงแล้ว มันผิดตั้งแต่เริ่มแล้วล่ะครับ
ที่ว่าผิดคือความไม่เข้าใจของฆราวาสเอง ไม่เข้าใจว่า พระต้องอยู่ในสถานะใด
ไม่เข้าใจถึงพระวินัยที่พระสงฆ์พึงปฏิบัติ
เราควรปฏิบัติต่อพระสงฆ์อย่างไร จึงจะเรียกว่าพอเหมาะพอควร ที่จะไม่ทำให้
พระต้องตกกระไดพลอยโจนไปกับการกระทำของโยม ต้องจำใจผิดพระวินัยทำไปโดย
รู้อยู่เต็มอกว่าผิดพระวินัย

ฉะนั้นฆราวาสหรือพวกโยมๆทั้งหลาย ควรคำนึงที่สุดก็คือ สิ่งที่กำลังทำอยู่มันเป็นกิเลส
หรือว่าบุญ มันเป็นความอยากหรือความปราถนาดีต่อพระสงฆ์

ส่วนในประเด็นความเห็นนี้ ที่ว่าต้องแสวงหาพระแท้อันที่จริงคือ
การแสวงหาครูบาอาจารย์ที่จะสอนธรรมที่ถูกต้อง ไม่ใช่แสวงหาพระแท้ที่จะทำบุญครับ

การทำบุญกับพระสงฆ์แค่ใส่บาตรข้าวสัพพีแกงสักถุงก็เป็นบุญแล้ว
ส่วนเรื่องเงินทอง ผมว่าไปบริจาคสร้างโรงพยาบาลหรือโรงเรียนจะเหมาะกว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2011, 11:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2010, 10:13
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทักษา เขียน:
halem1982 เขียน:
แสดงว่าถ้าผมไปดูหนัง แล้วสบายใจ หรือ ไปเที่ยวแล้วสบายใจ

ผมก็ได้บุญ ในความหมายนี้สิครับ ใช่ป่าว


ถ้าคุณถามแบบนี้ ผมขอบอกเลยว่า ชาตินี้ทั้งชาติคุณไม่มีวันหาคำตอบเจอหรอกครับ
เพราะคุณจะถามต่อไปไม่มีจบสิ้น คุณต้องรู้จักแยกแยะก่อนนะครับ ไม่ใช่เอาเรื่องทุกเรื่อง
มาปนเปผสมกันไปหมด มันจะทำไห้คุณสับสน เรื่องทำบุญกับเรื่องบันเทิงเริงรมย์
คุณเอามาปนกันได้ยังไง ผมไม่เข้าใจ

ความสุข ความสบายใจ จากเรื่องการทำบุญ ก็อีกเรื่อง
ความสุขจากเรื่องบันเทิงเริงรมย์ ก็เป็นอีกเรื่อง

มันเป็นความสุขเหมือนกัน แต่มันก็ต่างกัน คุณควรแยกแยะให้ออกนะครับ โตๆแล้วนะ



อ้าว ก็คุณบอกเองว่า "ความสบายใจนั่นแหละครับที่ผมเรียกว่า "บุญ""
แปลความตามตัวหนังสือ คือ ทำอะไรก็ได้ที่สบายใจ จะได้บุญ

"ความสุข ความสบายใจ จากเรื่องการทำบุญ ก็อีกเรื่อง
ความสุขจากเรื่องบันเทิงเริงรมย์ ก็เป็นอีกเรื่อง"
อะไรเป็นตัวแบ่งครับ ว่าอันนี้เรียกความสุขในการทำบุญ อันนี้เป็นความสุขจากเรื่องบันเทิงเริงรมย์
ผมไม่ทราบจริงๆนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2011, 11:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2010, 10:13
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
halem1982 เขียน:
ขอบคุณทุกความเห็นครับ

กล่าวโดยสรุปคือ ไม่บาป

แต่ผมก็ยังสงสัยต่อไปอีกว่า ทำไมเราต้องแสวงหาพระแท้แล้วไปทำบุญกับท่านครับ

ไม่ใช่เพราะว่าเรามั่นใจว่าท่านจะเอาเงิน(ขอแทนด้วยเงินละกันครับ ในที่นี้อาจหมายรวมไปถึงสิ่งอื่นๆด้วยที่นำไปถวาย)
ของเราไปใช้ในทางที่ดีหรือครับ ซึ่งทำให้เราได้บุญมาก หรือเต็มเม็ดเต็มหน่วย
เช่น ต้องรีบทำบุญกับพระบวชใหม่ ศีลยังครบอยู่ ตอนผมบวชเสร็จก็ได้มาเต็มย่ามเลย
หรือ ต้องฝ่าฟันเบียดเสียดกันไปหาหลวงพ่อคูณ เพื่อถวายเงินท่าน และเกจิอีกหลายรูป

หรือว่านี่เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะจริงๆแล้วทำบุญกับพระวัดข้างบ้านก็ได้บุญเท่ากันครับ
ขอบคุณครับ

ว่ากันตามจริงแล้ว มันผิดตั้งแต่เริ่มแล้วล่ะครับ
ที่ว่าผิดคือความไม่เข้าใจของฆราวาสเอง ไม่เข้าใจว่า พระต้องอยู่ในสถานะใด
ไม่เข้าใจถึงพระวินัยที่พระสงฆ์พึงปฏิบัติ
เราควรปฏิบัติต่อพระสงฆ์อย่างไร จึงจะเรียกว่าพอเหมาะพอควร ที่จะไม่ทำให้
พระต้องตกกระไดพลอยโจนไปกับการกระทำของโยม ต้องจำใจผิดพระวินัยทำไปโดย
รู้อยู่เต็มอกว่าผิดพระวินัย

ฉะนั้นฆราวาสหรือพวกโยมๆทั้งหลาย ควรคำนึงที่สุดก็คือ สิ่งที่กำลังทำอยู่มันเป็นกิเลส
หรือว่าบุญ มันเป็นความอยากหรือความปราถนาดีต่อพระสงฆ์

ส่วนในประเด็นความเห็นนี้ ที่ว่าต้องแสวงหาพระแท้อันที่จริงคือ
การแสวงหาครูบาอาจารย์ที่จะสอนธรรมที่ถูกต้อง ไม่ใช่แสวงหาพระแท้ที่จะทำบุญครับ

การทำบุญกับพระสงฆ์แค่ใส่บาตรข้าวสัพพีแกงสักถุงก็เป็นบุญแล้ว
ส่วนเรื่องเงินทอง ผมว่าไปบริจาคสร้างโรงพยาบาลหรือโรงเรียนจะเหมาะกว่า


"ส่วนในประเด็นความเห็นนี้ ที่ว่าต้องแสวงหาพระแท้อันที่จริงคือ
การแสวงหาครูบาอาจารย์ที่จะสอนธรรมที่ถูกต้อง ไม่ใช่แสวงหาพระแท้ที่จะทำบุญครับ"

อันนี้ผมไม่เห็นว่าคนส่วนใหญ่เป็นงั้นนะครับ ดูง่ายๆจากหลวงพ่อคูณท่านเดียวก็พอ
เทียบสัดส่วนคนที่ไปหาท่านเพื่อบริจาคเงินให้ท่านเคาะหัว ต่อคนไปแสวงหาธรรมะจากท่าน ตัวเลขน่าจะต่างกันมากๆ

ยกเว้นถ้าคุณบอกว่า คนพวกไปถวายเงินท่านเพราะเชื่อว่าได้บุญมากนี้ เชื่อแบบผิดๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2011, 11:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2010, 10:13
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
halem1982 เขียน:
ทักษา เขียน:
halem1982 เขียน:
ไม่ใช่เพราะว่าเรามั่นใจว่าท่านจะเอาเงินของเราไปใช้ในทางที่ดีหรือครับ ซึ่งทำให้เราได้บุญมาก หรือเต็มเม็ดเต็มหน่วย


การทำบุญสำหรับผม ไม่ได้หวังว่าจะได้บุญ ผมทำบุญเพราะว่าผมอยากจะทำ เพราะทำแล้วสบายใจ
ความสบายใจนั่นแหละครับที่ผมเรียกว่า "บุญ" ...


แสดงว่าถ้าผมไปดูหนัง แล้วสบายใจ หรือ ไปเที่ยวแล้วสบายใจ

ผมก็ได้บุญ ในความหมายนี้สิครับ ใช่ป่าว

สิ่งที่ทำให้เราเกิดความสับสนนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการไม่แยกแยะปัญหา
เอาเหตุเอาผลของประเด็นอื่นมาเหมารวมกันแล้วตีความครับ

น้องจขกทครับ ก่อนอื่นน้องต้องเข้าใจก่อนว่า ความหมายของการทำบุญคืออะไร
ผลที่เกิดจากการทำบุญคืออะไร และอะไรที่เรียกว่าบุญครับ

......บุญคือผลที่เกิดขึ้นที่ใจ จากการกระทำที่เป็นกุศลครับ และสิ่งที่เกิดต้องเป็นกุศลด้วย
ก่อนอื่นน้องต้องเข้าใจก่อนว่า
การกระทำที่เป็นกุศลก็หมายถึง การกระทำใดๆที่ไม่เดือดร้อนตัวเอง
และผู้อื่น
ส่วนความหมายของ ใจที่เป็นกุศลคือ ความสบายใจ สุขใจ

ส่วนในประเด็นที่น้องถามมา ที่ว่าไปเที่ยวหรือดูหนังแล้วสบายใจ
ถ้าความหมายของคำว่าสบายใจของน้องเป็นกุศล ผมว่านั้นแหล่ะครับบุญ

การกระทำของเรา บ้างครั้งต้องเกื่ยวข้องกับคนอื่น
หรือบ้างครั้งเราทำโดยตัวของเราไม่เกี่ยวข้องกับใคร
ถ้าผลออกมาเป็นกุศล เป็นความสุขใจสบายใจ นั้นก็คือบุญเหมือนกันครับ


มีบ้างท่านเข้าใจไปว่า การทำบุญจะต้องเป็นการช่วยเหลือผู้อื่น
ให้ผู้อื่น และจะต้องทำต่อผู้อื่นเสมอ
สิ่งที่ว่าทำให้คิดไปว่า ผู้ที่กระทำอะไรที่ให้เกิด
ประโยชน์หรือกุศลต่อตัวเอง ไม่ดีเป็นอกุศลไป
และที่ควรคำนึงที่สุดคือการใช้บัญญัติ เพราะจะทำให้มุมมองของผลที่เกิดเปลี่ยนไป
จากสิ่งที่เป็นกุศลอาจกลับกลายเป็นอกุศลไป

การนำบัญญัติที่ใช้กับการกระทำของทางโลก มาใช้กับการกระทำที่เป็นทางธรรม
มันทำให้ผู้ที่ได้รับรู้จะมุ่งตรงไปที่เหตุอย่างเดียวไม่ไปดู จุดสิ้นสุดก็คือผลครับ


สิ่งที่เป็นเครื่องยืนยันว่า การทำบุญไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ให้
หรือไปยุ่งเกี่ยวกับใครนั้นก็คือ การทำกรรมฐาน ทำสมาธิวิปัสสนาไงครับ


เห็นด้วยครับ

แต่ผมก็ยังอยากรู้ว่าเส้นแบ่งระหว่างทำบุญแล้วสบายใจ กับทำอย่างอื่นแล้วสบายใจ มันอยู่ตรงไหนตามที่ได้ตั้งถามไปในความเห็นก่อนหน้า
ขออนุญาตถามท่านอีกคนนึงครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2011, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2010, 10:13
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Bwitch เขียน:
halem1982 เขียน:
ขอบคุณทุกความเห็นครับ

กล่าวโดยสรุปคือ ไม่บาป

แต่ผมก็ยังสงสัยต่อไปอีกว่า ทำไมเราต้องแสวงหาพระแท้แล้วไปทำบุญกับท่านครับ

ไม่ใช่เพราะว่าเรามั่นใจว่าท่านจะเอาเงิน(ขอแทนด้วยเงินละกันครับ ในที่นี้อาจหมายรวมไปถึงสิ่งอื่นๆด้วยที่นำไปถวาย)
ของเราไปใช้ในทางที่ดีหรือครับ ซึ่งทำให้เราได้บุญมาก หรือเต็มเม็ดเต็มหน่วย
เช่น ต้องรีบทำบุญกับพระบวชใหม่ ศีลยังครบอยู่ ตอนผมบวชเสร็จก็ได้มาเต็มย่ามเลย
หรือ ต้องฝ่าฟันเบียดเสียดกันไปหาหลวงพ่อคูณ เพื่อถวายเงินท่าน และเกจิอีกหลายรูป

หรือว่านี่เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะจริงๆแล้วทำบุญกับพระวัดข้างบ้านก็ได้บุญเท่ากันครับ

ขอบคุณครับ


:b10: :b5:

ขออภัยค่ะ บวชอยู่กี่วันคะ? เหตุผลที่บวช?
เพิ่งเคยได้ยินนี่แหละทำบุญกับพระบวชใหม่จะได้บุญมาก (ของเต็มย่ามเลย)
ด้านบนนี่เป็นความคิดของคุณเมื่อทำบุญหรือคะ
ถ้าศึกษาหนังสือขององค์สมเด็จพระสังฆราชแล้วคุณยังไม่สามารถหยุดสงสัย
คงต้องหาคำตอบไปจนตลอดชีวิตแล้วค่ะ

ถามตัวเองว่าทำบุญเพื่ออะไร ตอบ(ในใจได้) ก็จบ


"เพิ่งเคยได้ยินนี่แหละทำบุญกับพระบวชใหม่จะได้บุญมาก (ของเต็มย่ามเลย)
ด้านบนนี่เป็นความคิดของคุณเมื่อทำบุญหรือคะ"
ผมได้ยินแบบนั้นจริงๆครับ คนแถวบ้านผมเชื่อแบบนั้นกันหมดเลย
เขาบอกว่าพระบวชใหม่ ศีลยังครบอยู่ ทำบุญด้วยแล้ว ได้บุญมาก ผมเองก็ยังไม่เชื่อหรอก
เงินจำนวนนั้นผมก็เอาไปทยอยทำบุญจนหมด ไม่ได้ใช้ส่วนตัวเลยครับ


"ถ้าศึกษาหนังสือขององค์สมเด็จพระสังฆราชแล้วคุณยังไม่สามารถหยุดสงสัย
คงต้องหาคำตอบไปจนตลอดชีวิตแล้วค่ะ"
อ้าว ทำไมด่วนสรุปจัง
อ่านอันนี้ไม่เข้าใจ ผมอาจไปอ่านอันอื่นเข้าใจก็ได้นะครับคุณ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2011, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2010, 10:13
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Bwitch เขียน:
วิธีสร้างบุญบารมี

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙
วัดบวรนิเวศวิหาร

บุญ ความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ของพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) กล่าวว่า บุญ คือ เครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุข ความประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจ กุศลธรรม

บารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง



วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนามีอยู่ ๓ ขั้นตอน คือการให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา ที่นิยมเรียกกันว่า "ทาน ศีล ภาวนา" ซึ่งการให้ทานหรือการทำทานนั้น เป็นการสร้างบุญที่ต่ำที่สุด ได้บุญน้อยที่สุด ไม่ว่าจะทำมากอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากไปกว่าการถือศีลไปได้ การถือศีลนั้นแม้จะมากอย่างไร ก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากเกินไปกว่าการเจริญภาวนาไปได้ ฉะนั้น การเจริญภาวนานั้น จึงเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด ได้มากที่สุด ในทุกวันนี้เรารู้จักกันแต่การให้ทานอย่างเดียว เช่นการทำบุญตักบาตร ทอดกฐินผ้าป่า สละทรัพย์สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ส่วนการถือศีล แม้จะได้บุญมากกว่าการทำทาน ก็ยังมีการทำกันเป็นส่วนน้อย เพื่อความเข้าใจอันดี จึงขอชี้แจงการสร้างบุญบารมี อย่างไรจึงจะเป็นการลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้บุญบารมีมากที่สุดดังนี้คือ......

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้ คือ....

ศึกษาต่อที่นี่ค่ะ
viewtopic.php?f=6&t=24533

กรณีนี้
เมื่อศึกษาแล้ว สามารถวางใจได้ หมดสิ้นความกังวล สงสัย นาทีนั้น ใจคุณก็เป็นบุญแล้วค่ะ
(เปล่าประโยชน์ที่จะมัวกังวลใจในสิ่งที่ผ่านมาแล้ว หรือกระวนกระวายใจในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง)
ให้ไปตั้งนานแล้ว ก็น่าจะปล่อยวางได้แล้ว
เจริญในธรรม รูปภาพ


ผมลองสรุปดูนะครับว่า

ถ้ากระทำการอย่างอื่นที่ไม่ใช่ "ทาน ศีล ภาวนา" ถือว่าไม่ใช่ บุญบารมีในทางพระพุทธศาสนา ใช่หรือไม่ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2011, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


halem1982 เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ที่ว่าต้องแสวงหาพระแท้อันที่จริงคือ
การแสวงหาครูบาอาจารย์ที่จะสอนธรรมที่ถูกต้อง ไม่ใช่แสวงหาพระแท้ที่จะทำบุญครับ

การทำบุญกับพระสงฆ์แค่ใส่บาตรข้าวสัพพีแกงสักถุงก็เป็นบุญแล้ว
ส่วนเรื่องเงินทอง ผมว่าไปบริจาคสร้างโรงพยาบาลหรือโรงเรียนจะเหมาะกว่า[/color][/b]


"ส่วนในประเด็นความเห็นนี้ ที่ว่าต้องแสวงหาพระแท้อันที่จริงคือ
การแสวงหาครูบาอาจารย์ที่จะสอนธรรมที่ถูกต้อง ไม่ใช่แสวงหาพระแท้ที่จะทำบุญครับ"

อันนี้ผมไม่เห็นว่าคนส่วนใหญ่เป็นงั้นนะครับ ดูง่ายๆจากหลวงพ่อคูณท่านเดียวก็พอ
เทียบสัดส่วนคนที่ไปหาท่านเพื่อบริจาคเงินให้ท่านเคาะหัว ต่อคนไปแสวงหาธรรมะจากท่าน ตัวเลขน่าจะต่างกันมากๆ

ยกเว้นถ้าคุณบอกว่า คนพวกไปถวายเงินท่านเพราะเชื่อว่าได้บุญมากนี้ เชื่อแบบผิดๆ

ครับตามความเห็นผม ที่คนส่วนใหญ่ทำแบบนั้น เป็นการเชื่อแบบผิดๆครับ
ผมถึงได้บอกว่า การทำบุญกับพระสงฆ์ แค่ใส่บารตก็พอแล้ว
ส่วนเรื่องความศรัทธาต้องเอาพระธรรมคำสอนของท่านเป็นหลักครับ
ไม่ใช่การเอาเงินไปทำบุญ แล้วได้วัตถุมงคลกลับมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2011, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


halem1982 เขียน:
โฮฮับ เขียน:
halem1982 เขียน:
ทักษา เขียน:
halem1982 เขียน:
ไม่ใช่เพราะว่าเรามั่นใจว่าท่านจะเอาเงินของเราไปใช้ในทางที่ดีหรือครับ ซึ่งทำให้เราได้บุญมาก หรือเต็มเม็ดเต็มหน่วย


การทำบุญสำหรับผม ไม่ได้หวังว่าจะได้บุญ ผมทำบุญเพราะว่าผมอยากจะทำ เพราะทำแล้วสบายใจ
ความสบายใจนั่นแหละครับที่ผมเรียกว่า "บุญ" ...


แสดงว่าถ้าผมไปดูหนัง แล้วสบายใจ หรือ ไปเที่ยวแล้วสบายใจ

ผมก็ได้บุญ ในความหมายนี้สิครับ ใช่ป่าว

สิ่งที่ทำให้เราเกิดความสับสนนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการไม่แยกแยะปัญหา
เอาเหตุเอาผลของประเด็นอื่นมาเหมารวมกันแล้วตีความครับ

น้องจขกทครับ ก่อนอื่นน้องต้องเข้าใจก่อนว่า ความหมายของการทำบุญคืออะไร
ผลที่เกิดจากการทำบุญคืออะไร และอะไรที่เรียกว่าบุญครับ

......บุญคือผลที่เกิดขึ้นที่ใจ จากการกระทำที่เป็นกุศลครับ และสิ่งที่เกิดต้องเป็นกุศลด้วย
ก่อนอื่นน้องต้องเข้าใจก่อนว่า
การกระทำที่เป็นกุศลก็หมายถึง การกระทำใดๆที่ไม่เดือดร้อนตัวเอง
และผู้อื่น
ส่วนความหมายของ ใจที่เป็นกุศลคือ ความสบายใจ สุขใจ

ส่วนในประเด็นที่น้องถามมา ที่ว่าไปเที่ยวหรือดูหนังแล้วสบายใจ
ถ้าความหมายของคำว่าสบายใจของน้องเป็นกุศล ผมว่านั้นแหล่ะครับบุญ

การกระทำของเรา บ้างครั้งต้องเกื่ยวข้องกับคนอื่น
หรือบ้างครั้งเราทำโดยตัวของเราไม่เกี่ยวข้องกับใคร
ถ้าผลออกมาเป็นกุศล เป็นความสุขใจสบายใจ นั้นก็คือบุญเหมือนกันครับ


มีบ้างท่านเข้าใจไปว่า การทำบุญจะต้องเป็นการช่วยเหลือผู้อื่น
ให้ผู้อื่น และจะต้องทำต่อผู้อื่นเสมอ
สิ่งที่ว่าทำให้คิดไปว่า ผู้ที่กระทำอะไรที่ให้เกิด
ประโยชน์หรือกุศลต่อตัวเอง ไม่ดีเป็นอกุศลไป
และที่ควรคำนึงที่สุดคือการใช้บัญญัติ เพราะจะทำให้มุมมองของผลที่เกิดเปลี่ยนไป
จากสิ่งที่เป็นกุศลอาจกลับกลายเป็นอกุศลไป

การนำบัญญัติที่ใช้กับการกระทำของทางโลก มาใช้กับการกระทำที่เป็นทางธรรม
มันทำให้ผู้ที่ได้รับรู้จะมุ่งตรงไปที่เหตุอย่างเดียวไม่ไปดู จุดสิ้นสุดก็คือผลครับ


สิ่งที่เป็นเครื่องยืนยันว่า การทำบุญไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ให้
หรือไปยุ่งเกี่ยวกับใครนั้นก็คือ การทำกรรมฐาน ทำสมาธิวิปัสสนาไงครับ


เห็นด้วยครับ

แต่ผมก็ยังอยากรู้ว่าเส้นแบ่งระหว่างทำบุญแล้วสบายใจ กับทำอย่างอื่นแล้วสบายใจ มันอยู่ตรงไหนตามที่ได้ตั้งถามไปในความเห็นก่อนหน้า
ขออนุญาตถามท่านอีกคนนึงครับ

ถ้าเราจะยึดหลักว่า ความสบายใจเป็นบุญเป็นกุศลตามที่คุณคุยกับ ท่านทักษาแต่แรก
เราต้องเข้าใจเสียก่อนว่า อะไรเป็นเหตุให้เราเกิดความทุกข์ความไม่สบายใจ
ต้นเหตุแห่งทุกข์ก็คือ ตัวกิเลสที่เรียกว่า ความโลภ โกรธและหลง
ในที่นี้เราจะคุยถึงเรื่องกิเลสตัวโลภ เมื่อใครมีกิเลสตัวนี้ย่อมต้องทุกข์ไม่สบายใจ
มีความอยากได้แบบไม่สิ้นสุด

การทำบุญเป็นวิธีการที่ จะทำให้จิตใจรู้จักการให้เมื่อทำได้บ่อยๆจิตใจย่อมต้องคล้อยตาม
ไปในทางเสียสละ จนหมดกิเลสตัวโลภ ความทุกข์ในเรื่องความอยากได้ไคร้ดีย่อมหมดไป
หรือแต่ความสบายใจ อันนี้เป็นวิธีการเบื้องต้นของการละความโลภ

ส่วนวิธีการอื่นที่คุณบอกทำแล้วสบายใจ เช่นกัน มันอาจจะทำในกรณีละกิเลสตัวอื่น
อย่างเช่น ความโกรธ ความหลง เหมือนกับที่คุณบอกว่า ไปเที่ยวไปดูหนัง
ถ้าสิ่งที่ทำนี้ทำให้หายโกรธ หรือหายคิดถึงใครบ้างคน เราย่อมต้องเกิดความสบายใจ
เพราะความโกรธความหลงหายไปจากการกระทำดังว่า

เส้นแบ่งที่คุณว่า ผมว่ามันไม่มีหรอกครับ เพราะผลที่ได้คือความสบายใจเหมือนกัน
มันต่างกันที่วิธีการ เพราะกิเลสมันต่างกันครับ

อย่าลืมนะครับในกรณีนี้เป็นกรณีที่ว่า บุญคือความสบายใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร