วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 04:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2012, 12:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับพี่ เช่นนั้น :b8:
**ขอบคุณมากครับและขออนุโมทนาด้วยนะครับ....ผมใคร่ขออนุญาตถามเพิ่มเติมสักนิดครับว่า..เจตสิกย่อมดับไปโดยปริยายโดยความดับแห่งจิตใช่มั้ยครับ หมายความว่าถ้าเราสามารถดับอวิชชาในใจเราได้แล้วเจตสิกนี้ย่อมหมดไปใช่มั้ยครับ
ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2012, 15:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
เจตสิกย่อมดับไปโดยปริยายโดยความดับแห่งจิตใช่มั้ยครับ หมายความว่าถ้าเราสามารถดับอวิชชาในใจเราได้แล้วเจตสิกนี้ย่อมหมดไปใช่มั้ยครับ

สวัสดี "ลูกพระป่า"...
ความดับแห่งจิต จากอารมณ์หนึ่งไปสู่อารมณ์หนึ่ง
หรือความดับแห่งจิต เมื่อจิตผละจากอารมณ์เข้าสู่ภวังค์
เจตสิกที่เกิดร่วมเกิดพร้อมย่อมดับตามไปด้วย แต่ไม่ได้หมายความว่า ดับเพราะสิ้นเหตุปัจจัย
เพราะความยังไม่สิ้นเหตุปัจจัย จิตก็น้อมให้เจตสิกมาเกิดกับจิตใหม่ได้อีกเช่นกันจ้ะ
ลักษณะนี้ก็เป็นการดับโดยปริยายอย่างหนึ่งจ้ะ

แต่ถ้าดับอวิชชา โดยสอุปาทิเสสนิพพานแล้ว เจตสิกที่มีเหตุอันเป็นอกุศล ย่อมหมดไปดับไปโดยปริยายจ้ะ ก็ยังคงมีเจตสิกธรรมอุบัติร่วมกับจิตอยู่จ้ะ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2012, 18:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณมากครับพี่เช่นนั้น :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2012, 04:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
เจตสิกบางกลุ่มเกิดพร้อมกันได้ โดยสหชาติปัจจัย ซึ่งหมายความว่าเกิดขึ้นพร้อมกันในขณะจิตเดียวกัน
เช่น เมื่อ รูปโกรธ (หมายความว่า มีอาการหน้าแดง ขบฟัน ตาขวาง ฯลฯ) ให้ปรากฏทางกาย เราเรียกว่ารูปโกรธ) เกิดขึ้น เจตสิกธรรม ที่ประกอบกับจิตโดยสหชาติปัจจัย ก็มีเจตสิกพวกที่มีโทสะมูล ราคะมูล มีทุกขเวทนา มีสัญญา เจตนา เป็นต้น เป็นเจตสิกธรรม เกิดพร้อมจิตขณะนั้น โดยสหชาติปัจจัย
ส่วนคำว่าสันตตินั้น ในเรื่องเหตุปัจจัย กล่าวว่า จิตเกิดหรือดับโดยไม่มีระหว่างคั่นนั้น โดยอัตถิปัจจัย โดยนัตถิปัจจัย
ในขณะที่ผัสสะ จิตขณะที่ผัสสะหากยังประกอบด้วยอวิชชา ก็ยังมีเจตสิกธรรมหลายประการประกอบกับจิตที่ขณะผัสสะได้เช่นกัน เพราะปัจจัยที่เป็นที่ดับแห่งอวิชชายังไม่มี
...ผัสสะ เป็นปัจจัยแก่เวทนา โดยสหชาติปัจจัยก็ได้ หรือ โดยปุเรชาติปัจจัยก็ได้

ขณะเกิดรูป จะใช้เวลาประมาณ17ขณะจิต(เวลาไม่แน่ใจ) นี่แค่ช่วงเวลารู้รูปเพียงอย่างเดียว

ถ้าเรายึดเอาวิญาณขันธ์เป็นจิตและคุณสมบัติของจิตเป็นตัวรู้
สมมุติว่าเกิดผัสสะทางกาย เกิดจิตตัวรู้ เมื่อรู้แล้ว เกิดเวทนา
และจิตเข้าไปรู้เวทนา สัญญา สังขาร ทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการ
ขันธ์ห้า แสดงให้เห็นการเกิดดับของจิต

เจตสิกที่อาศัยจิตก็เช่นกัน จิตตัวรู้สามารถรู้ได้ที่ละตัวและการรู้
รู้ตามหลัง ก็คือจิตหรือเจตสิกตัวนั้นได้ดับไปแล้ว เกิดตัวรู้ขึ้นแทน

บางคนมีความเห็นว่า เจตสิกบางครั้งเกิดพร้อมกันเป็นกลุ่ม
ก็เพราะไม่มีจิตผู้รู้ ไปรู้ทันการเกิดดับของขันธ์ห้า


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
อันนี้ก็เช่นกันครับ ความหมายของมรรคสมังคี ไม่ได้หมายถึง การเกิดมรรคขึ้น
พร้อมกันทั้งแปดมรรค มรรคในแต่ละตัวเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยเหตุปัจจัยที่เรียกว่า
ธรรมที่เป็นองค์ประกอบมรรค เมื่อได้มรรคครบหนึ่งองค์ ทั้งธรรมประกอบมรรค
และตัวมรรคเองได้ดับไปตามลำดับ การดับไปที่ว่าไม่ได้หายไปไหนแต่ กลายเป็น
สัญญาไปแล้วครับ มรรคที่สอง สาม สี่ฯ ก็เป็นลักษณะนี้
การเกิดมรรคสมังคีครบแปด คือการดึงเอาสัญญามรรคทั้งเจ็ดไล่เรียงกัน
มาจนเป็นสมาธิเป็นมรรคที่แปด

มรรคสมังคี คือการเกิดร่วมเกิดพร้อมของเจตสิกธรรมแห่งองค์มรรค โดยมรรคปัจจัย ที่องค์แห่งมรรคมาสัมปยุตต์กัน โดยสัมปยุตปัจจัย

[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
จึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสติ
สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาญาณะ
สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้
ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐

สัมมาทิฐิเกิดแล้ว อริยมรรคตัวอื่นยังไม่เกิดก็ได้
เสขะยังต้องศึกษายังต้องปฏิบัติ ปฏิบัต้แล้วรู้แล้วก็จำก็เก็บไว้
ส่วนที่เก็บไว้เรียกสัญญา


การสัมปยุตต์กัน ไม่ได้หมายความว่า เกิดที่เดียวทั้งแปด
แต่หมายถึงการเกิดดับตามๆกันมาโดยไม่มีอะไรมาขว้าง (เหตุปัจจัย)
กระบวนการที่ว่าต้องอาศัยสัญญาเป็นหลัก ที่เป็นตัวอย่างสนับสนุนก็คือ
ระดับของอริยบุคคลและสังโยขน์

มรรคสมังคีหรืออริยมรรคทั้งแปดองค์ เป็นสัญญาของสัมมาญาณะ


การเกิดสภาวะธรรมที่เป็นปัจจุบันต้องเกิดที่ละสภาวะ
แต่การดึงเอาสัญญาหลายสภาวะมาเป็นหนึ่ง ต้องอาศัยธัมวิจยสัมโพชฌงค์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2012, 11:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดี คุณโฮฮับ
เช่นนั้น ใช้ พระอภิธรรม 7 คัมภีร์ จึงใช้มหาปัฏฐาน 24 ปัจจัย ไม่ได้ใช้ อภิธรรมมัตถสังคหะในการแสดงความเห็น ถ้าให้อ้างถึงอภิธรรมมัตถสังคหะ ก็คงสนทนากันไม่อาจเข้าใจได้คงต้องขอยุติความเห็นในกระทู้นี้

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2012, 12:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
สวัสดี คุณโฮฮับ
เช่นนั้น ใช้ พระอภิธรรม 7 คัมภีร์ จึงใช้มหาปัฏฐาน 28 ปัจจัย ไม่ได้ใช้ อภิธรรมมัตถสังคหะในการแสดงความเห็น ถ้าให้อ้างถึงอภิธรรมมัตถสังคหะ ก็คงสนทนากันไม่อาจเข้าใจได้คงต้องขอยุติความเห็นในกระทู้นี้เจริญธรรม

อย่าไปโทษพระอภิธรรมมัตถสังคหะเลยครับ
ที่ผมพูดมาในเป็นความเห็นความเข้าใจของผมเอง

เรื่องจิตเรื่องเจตสิก ผมยึดเอากฎไตรลักษณ์เป็นหลักครับ
บางทีไปตรงกับตำราบ้าง เป็นเพราะท่านเอาบัญญัติมาโดยไม่
อธิบายความ

ดีแล้วล่ะครับตอนแรกนึกว่า แสดงความเห็นตามความเข้าใจ
ถ้าลองใช้ตำรามาถกกันผมว่า เสียเวลาเปล่าครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2012, 14:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
eragon_joe เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เจตสิก บางกลุ่ม เกิดร่วมเกิดพร้อมกันได้
เจตสิก กลุ่มเดียวกันนั้นนั่นเอง ก็ทยอยกันประกอบกับจิตในแต่ละขณะได้
เจตสิก บางเจตสิกไม่อาจเกิดพร้อมกันได้
...
การที่จิตเกิดดับเร็วมาก...จึงไม่ได้ดูเฉพาะเจตสิกเกิดดับ แต่ดูจิตทั้งดวง...คุณสมบัติต่างๆที่ประกอบกับจิตอันเป็นจิตสังขาร เกิดดับพร้อมกันไปด้วย

เจริญธรรม


:b1: อาศัยปัจจัยใด จึงเกิด

มังกรน้อย มหาปัฏฐานปกรณ์ อธิบายละเอียดกว่า แต่ยากเรียนรู้ได้จบหมดสิ้น
มังกรน้อยถามสั้นๆ แต่คำตอบต้องใช้มหาปัฏฐานปกรณ์ทั้งหมดตอบ อิอิ จึงตอบไม่ได้จ้ะ


:b1: :b12:

6 ภาค


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2012, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 11:11
โพสต์: 94


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณทุกความเห็นครับ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร