วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 18:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 70 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2012, 08:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


พี่อโศกะเร็วๆๆ :b12: ใจร้อนๆ :b19: อยากรู้อยากไปนิพพานไวๆๆ :b34: :b34: :b34:

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2012, 07:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




buddha2_resize.gif
buddha2_resize.gif [ 37.14 KiB | เปิดดู 5621 ครั้ง ]
tongue
ธรรมคุณข้อที่ 5 โอปนยิโก

สำนวนสวนโมกข์แปลว่า.......เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว ......

อธิบาย.....ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ทั้งจากในคัมภีร์(ไตรปิฎก) ทั้งจากการถ่ายทอดต่อของผู้รู้ ครูบาอาจารย์ นั้นเป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

วิจารณ์......นี่เป็นการแปลโดยยึดเอาบัญญัติ ปริยัติเป็นหลัก จึงให้หาธรรมะจากนอกตัวเข้ามาใส่ในตัว เหมือนกับว่าธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้นมีอยู่นอกตัว ในตัวไม่มี อาจเพราะเห็นว่าต้องไปศึกษาหามาจากข้างนอกเท่านั้น


สำนวนใหม่แปลว่า.......ความเห็นธรรม(เห็นอนัตตา)นั้นเป็นสิ่งที่ควรพอกพูนให้เกิดในตัวยิ่งๆขึ้นไป(เพราะเมื่อพอกพูนได้ถึงที่แล้วจะส่งให้เกิดมรรค ผล และ เข้าถึงนิพพาน)

อธิบาย....[/b][b]ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น คือความจริงหรือสิ่งที่มีอยู่ปรากฏอยู่ในกายในจิตของมนุษย์ทุกคน ที่เราจะต้องค้นหาให้พบเหตุ ปัจจัย และผล ที่ทำให้เกิดความทุกข์ เวียนว่ายตายเกิด แล้วเอาเหตุนั้นออกเสียให้ได้เพื่อให้ถึงสุขโดยถาวร คือพระนิพพาน

ความจริงที่แสดงอยู่ตลอดเวลา คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งอนิจจังและทุกขังก็ล้วนไปรวมลงที่ "อนัตตา"ดังพุทธดำรัสสรุปไว้ว่า

"สัพเพธัมมา อนัตตา"

แต่ ในจิตปุถุชนทุกคนมีโมหะ อวิชชา มาบดบังทำให้เกิดความเห็นผิด มิจฉาทิฏฐิ เกิดสักกายทิฏฐิ เห็นว่าเป็นอัตตาตัวตน เรา เขา เกิดมานะทิฏฐิ สำคัญว่าเป็นตนเป็นเรา จึงไม่ยอมรับความจริงเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดิ้นรนที่จะทำให้เกิด
นิจจัง ....สุขขัง....อัตตา ด้วยอำนาจของตัณหาและกิเลสทั้งหลาย

ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันของ "สันทิฏฐิโก" .....ความเห็นธรรม คือเห็นอนัตตา กับ "โอปนยิโก"....การน้อมให้เกิดความเห็นธรรมคือเห็นอนัตตาให้เพิ่มมากขึ้น ๆ นั้น จะนำไปสู่เป้าหมายสูงสุด คือทำลาย อัตตา สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิด และมานะทิฏฐิ ความยึดผิด อันเป็นตัวเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดกิเลส ตัณหา วัฏฏะสงสารที่ไม่รู้จบ ให้ดับขาด สิ้นสุด ยุติ หมดไปจากกมลสันดานโดยสิ้นเชิง


วิจารณ์......ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเป็นเรื่องของสัจจธรรม ปรมัตถธรรม เป็นเรื่องของรูป นาม กาย ใจ มีปรากฏแสดงอยู่ในกายใจ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องไปน้อมจากนอกตัวเข้ามาใส่ในตัว แต่ความเห็นความจริงในตัว คือเห็นธรรมหรือเห็นอนัตตานั้น เป็นสิ่งที่จะต้องเกิดในตัวในใจ ถ้าน้อม (โอปนยิโก)ให้เกิดในตัวในใจมากขึ้นๆแล้ว ย่อมจะส่งให้ถึง มรรค ผล นิพพานโดยกฏของกรรมหรือกฏของเหตุและผลอย่างแน่นอน
:b51:

นี่คือการแปลความหมายของธรรมคุณ โดยอิงธรรม อิงปรมัตถสัจจะ ซึ่งสามารถจะทดสอบพิสูจน์ได้ทันทีจากการปฏิบัติจริง
:b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2012, 08:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
tongue
ธรรมคุณข้อที่ 5 โอปนยิโก

สำนวนสวนโมกข์แปลว่า.......เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว ......

อธิบาย.....ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ทั้งจากในคัมภีร์(ไตรปิฎก) ทั้งจากการถ่ายทอดต่อของผู้รู้ ครูบาอาจารย์ นั้นเป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

วิจารณ์......นี่เป็นการแปลโดยยึดเอาบัญญัติ ปริยัติเป็นหลัก จึงให้หาธรรมะจากนอกตัวเข้ามาใส่ในตัว เหมือนกับว่าธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้นมีอยู่นอกตัว ในตัวไม่มี อาจเพราะเห็นว่าต้องไปศึกษาหามาจากข้างนอกเท่านั้น


สำนวนใหม่แปลว่า.......ความเห็นธรรม(เห็นอนัตตา)นั้นเป็นสิ่งที่ควรพอกพูนให้เกิดในตัวยิ่งๆขึ้นไป(เพราะเมื่อพอกพูนได้ถึงที่แล้วจะส่งให้เกิดมรรค ผล และ เข้าถึงนิพพาน)

อธิบาย....[/b][b]ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น คือความจริงหรือสิ่งที่มีอยู่ปรากฏอยู่ในกายในจิตของมนุษย์ทุกคน ที่เราจะต้องค้นหาให้พบเหตุ ปัจจัย และผล ที่ทำให้เกิดความทุกข์ เวียนว่ายตายเกิด แล้วเอาเหตุนั้นออกเสียให้ได้เพื่อให้ถึงสุขโดยถาวร คือพระนิพพาน

ความจริงที่แสดงอยู่ตลอดเวลา คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งอนิจจังและทุกขังก็ล้วนไปรวมลงที่ "อนัตตา"ดังพุทธดำรัสสรุปไว้ว่า

"สัพเพธัมมา อนัตตา"

แต่ ในจิตปุถุชนทุกคนมีโมหะ อวิชชา มาบดบังทำให้เกิดความเห็นผิด มิจฉาทิฏฐิ เกิดสักกายทิฏฐิ เห็นว่าเป็นอัตตาตัวตน เรา เขา เกิดมานะทิฏฐิ สำคัญว่าเป็นตนเป็นเรา จึงไม่ยอมรับความจริงเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดิ้นรนที่จะทำให้เกิด
นิจจัง ....สุขขัง....อัตตา ด้วยอำนาจของตัณหาและกิเลสทั้งหลาย

ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันของ "สันทิฏฐิโก" .....ความเห็นธรรม คือเห็นอนัตตา กับ "โอปนยิโก"....การน้อมให้เกิดความเห็นธรรมคือเห็นอนัตตาให้เพิ่มมากขึ้น ๆ นั้น จะนำไปสู่เป้าหมายสูงสุด คือทำลาย อัตตา สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิด และมานะทิฏฐิ ความยึดผิด อันเป็นตัวเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดกิเลส ตัณหา วัฏฏะสงสารที่ไม่รู้จบ ให้ดับขาด สิ้นสุด ยุติ หมดไปจากกมลสันดานโดยสิ้นเชิง


วิจารณ์......ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเป็นเรื่องของสัจจธรรม ปรมัตถธรรม เป็นเรื่องของรูป นาม กาย ใจ มีปรากฏแสดงอยู่ในกายใจ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องไปน้อมจากนอกตัวเข้ามาใส่ในตัว แต่ความเห็นความจริงในตัว คือเห็นธรรมหรือเห็นอนัตตานั้น เป็นสิ่งที่จะต้องเกิดในตัวในใจ ถ้าน้อม (โอปนยิโก)ให้เกิดในตัวในใจมากขึ้นๆแล้ว ย่อมจะส่งให้ถึง มรรค ผล นิพพานโดยกฏของกรรมหรือกฏของเหตุและผลอย่างแน่นอน
:b51:

นี่คือการแปลความหมายของธรรมคุณ โดยอิงธรรม อิงปรมัตถสัจจะ ซึ่งสามารถจะทดสอบพิสูจน์ได้ทันทีจากการปฏิบัติจริง
:b8:
ต่อๆๆๆ อยากรู้ๆๆสำนวนใหม่ ใครแปลๆ :b13:

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2012, 09:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนจะรู้ว่าใครแปล....วิจารณ์ก่อนได้..ป้ะ...
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2012, 09:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
tongue
ธรรมคุณข้อที่ 5 โอปนยิโก

สำนวนสวนโมกข์แปลว่า.......เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว ......

อธิบาย.....ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ทั้งจากในคัมภีร์(ไตรปิฎก) ทั้งจากการถ่ายทอดต่อของผู้รู้ ครูบาอาจารย์ นั้นเป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

วิจารณ์......นี่เป็นการแปลโดยยึดเอาบัญญัติ ปริยัติเป็นหลัก จึงให้หาธรรมะจากนอกตัวเข้ามาใส่ในตัว เหมือนกับว่าธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้นมีอยู่นอกตัว ในตัวไม่มี อาจเพราะเห็นว่าต้องไปศึกษาหามาจากข้างนอกเท่านั้น..


ว่าแต่เขาว่าแปลโดยยึดบัญญัติ....แต่...ตัวเองก็ยังไปตีความคำแปลของเขาแบบบัญญัติตรง ๆ ...ซะเนี้ย....

อิอิ....ยุติธรรมดี๊เน๊าะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2012, 11:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ก่อนจะรู้ว่าใครแปล....วิจารณ์ก่อนได้..ป้ะ...
:b32: :b32:
ข้าน้อย :b8: ภาษาไทยยังไม่ค่อยกระดิกหู ไม่อาจแปลบาลีหรอกครับพี่กบ... :b13:

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2012, 11:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
วิจารณ์........ ย่อมจะส่งให้ถึง มรรค ผล นิพพานโดยกฏของกรรมหรือกฏของเหตุและผลอย่างแน่นอน
:b51:
ทำไมในประวัติ ท่านองคุลีมาล จึงไม่เป็นไปตามกฏแห่งกรรม
หนีไปนิพพานโดยไม่ชดใช้กรรม

หลวงปู่ชาฯ ท่านกล่าวไว้เรื่องการปฎิบัติเพื่อพระนิพพาน ..

.. ในทางพุทธศาสนาให้ทำเพื่อไม่ต้องการอะไร ถ้ามีเพื่ออะไรมันไม่หมด
ทางโลกทำอะไรเรียกว่า "มันมีเหตุผล"


พระพุทธองค์ท่านทรงสอนว่า ให้ "นอกเหตุเหนือผล" ไม่ว่าจะทำอะไร ปัญญาของท่านให้
"นอกเหตุเหนือผล" ให้นอกเกิดเหนือตาย นอกสุขเหนือทุกข์ ..

http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... cha_05.htm

นิพพานนั้น เหนือเหตุเหนือผล เหนือกฏแห่งกรรม.. :b8:

:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2012, 05:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
asoka เขียน:
tongue
ธรรมคุณข้อที่ 5 โอปนยิโก

สำนวนสวนโมกข์แปลว่า.......เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว ......

อธิบาย.....ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ทั้งจากในคัมภีร์(ไตรปิฎก) ทั้งจากการถ่ายทอดต่อของผู้รู้ ครูบาอาจารย์ นั้นเป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

วิจารณ์......นี่เป็นการแปลโดยยึดเอาบัญญัติ ปริยัติเป็นหลัก จึงให้หาธรรมะจากนอกตัวเข้ามาใส่ในตัว เหมือนกับว่าธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้นมีอยู่นอกตัว ในตัวไม่มี อาจเพราะเห็นว่าต้องไปศึกษาหามาจากข้างนอกเท่านั้น


สำนวนใหม่แปลว่า.......ความเห็นธรรม(เห็นอนัตตา)นั้นเป็นสิ่งที่ควรพอกพูนให้เกิดในตัวยิ่งๆขึ้นไป(เพราะเมื่อพอกพูนได้ถึงที่แล้วจะส่งให้เกิดมรรค ผล และ เข้าถึงนิพพาน)

อธิบาย....[/b][b]ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น คือความจริงหรือสิ่งที่มีอยู่ปรากฏอยู่ในกายในจิตของมนุษย์ทุกคน ที่เราจะต้องค้นหาให้พบเหตุ ปัจจัย และผล ที่ทำให้เกิดความทุกข์ เวียนว่ายตายเกิด แล้วเอาเหตุนั้นออกเสียให้ได้เพื่อให้ถึงสุขโดยถาวร คือพระนิพพาน

ความจริงที่แสดงอยู่ตลอดเวลา คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งอนิจจังและทุกขังก็ล้วนไปรวมลงที่ "อนัตตา"ดังพุทธดำรัสสรุปไว้ว่า

"สัพเพธัมมา อนัตตา"

แต่ ในจิตปุถุชนทุกคนมีโมหะ อวิชชา มาบดบังทำให้เกิดความเห็นผิด มิจฉาทิฏฐิ เกิดสักกายทิฏฐิ เห็นว่าเป็นอัตตาตัวตน เรา เขา เกิดมานะทิฏฐิ สำคัญว่าเป็นตนเป็นเรา จึงไม่ยอมรับความจริงเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดิ้นรนที่จะทำให้เกิด
นิจจัง ....สุขขัง....อัตตา ด้วยอำนาจของตัณหาและกิเลสทั้งหลาย

ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันของ "สันทิฏฐิโก" .....ความเห็นธรรม คือเห็นอนัตตา กับ "โอปนยิโก"....การน้อมให้เกิดความเห็นธรรมคือเห็นอนัตตาให้เพิ่มมากขึ้น ๆ นั้น จะนำไปสู่เป้าหมายสูงสุด คือทำลาย อัตตา สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิด และมานะทิฏฐิ ความยึดผิด อันเป็นตัวเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดกิเลส ตัณหา วัฏฏะสงสารที่ไม่รู้จบ ให้ดับขาด สิ้นสุด ยุติ หมดไปจากกมลสันดานโดยสิ้นเชิง


วิจารณ์......ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเป็นเรื่องของสัจจธรรม ปรมัตถธรรม เป็นเรื่องของรูป นาม กาย ใจ มีปรากฏแสดงอยู่ในกายใจ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องไปน้อมจากนอกตัวเข้ามาใส่ในตัว แต่ความเห็นความจริงในตัว คือเห็นธรรมหรือเห็นอนัตตานั้น เป็นสิ่งที่จะต้องเกิดในตัวในใจ ถ้าน้อม (โอปนยิโก)ให้เกิดในตัวในใจมากขึ้นๆแล้ว ย่อมจะส่งให้ถึง มรรค ผล นิพพานโดยกฏของกรรมหรือกฏของเหตุและผลอย่างแน่นอน
:b51:

นี่คือการแปลความหมายของธรรมคุณ โดยอิงธรรม อิงปรมัตถสัจจะ ซึ่งสามารถจะทดสอบพิสูจน์ได้ทันทีจากการปฏิบัติจริง

:b8
:
ต่อๆๆๆ อยากรู้ๆๆสำนวนใหม่ ใครแปลๆ :b13:

:b11:

ทำไมไปอยากรู้แค่ว่าใครแปล?

ทำไมไม่อยากรู้ว่า เมื่อนั่งสงบนิ่งเฉย หลับตาเนื้อเปิดตาใน เอาสติ ปัญญา ส่องเข้าดู รู้ สังเกต พิจารณาเข้าไปข้างใน กายและจิต คำว่า สันทิฏฐิโก....อะกาลิโก...เอหิปัสสิโก...โอปนยิโก .....มันจะเป็นไปตามสำนวนแปลใหม่ ที่ว่าเป็นไปตามธรรมนี้ไหม แล้วลงลงมือทำจริง พิสูจน์ความจริงให้เห็นชัดเสียก่อน เมื่อชัดในธรรมสภาวะแล้ว ก็จะรู้จักคนแปลเอง และอาจไม่จำเป็นต้องถามหาชื่อคนแปล เพราะถ้ารู้ชื่อคนแปลเสียก่อนอาจเกิด Bias ความเบี่ยงเบนไปจากธรรมเพราะชื่อคนแปลก็เป็นได้ เพราะนี้เป็นวิสัยของคนยุคนี้
:b7:
:b4:



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2012, 06:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ก่อนจะรู้ว่าใครแปล....วิจารณ์ก่อนได้..ป้ะ...
:b32: :b32:

:b12: :b2:
:b14:

:b32:
"กระทู้นี้ตั้งขึ้นมาเพื่อให้วิตกวิจารณ์กันมากๆอยู่แล้วนะครับคุณกบ"

ทั้งนี้เพื่อจะให้รู้ว่าการแปลโดยอิงบัญญัติ กับการแปลโดยอิงปรมัติ จะมีสำนวนและความหมายต่างกันไปได้เพียงไร?

อย่างไรจะเป็นไปตามธรรม มีประโยชน์ต่อการประพฤติปฏิบัติธรรมให้เป็นไปตรงทางที่พระบรมศาสดาทรงประพฤตินำและทรงมีเมตตา กรุณาจะให้สัตว์โลกเจริญรอยตามมากที่สุด

cool
:b31:
:b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2012, 06:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
asoka เขียน:
tongue
ธรรมคุณข้อที่ 5 โอปนยิโก

สำนวนสวนโมกข์แปลว่า.......เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว ......

อธิบาย.....ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ทั้งจากในคัมภีร์(ไตรปิฎก) ทั้งจากการถ่ายทอดต่อของผู้รู้ ครูบาอาจารย์ นั้นเป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

วิจารณ์......นี่เป็นการแปลโดยยึดเอาบัญญัติ ปริยัติเป็นหลัก จึงให้หาธรรมะจากนอกตัวเข้ามาใส่ในตัว เหมือนกับว่าธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้นมีอยู่นอกตัว ในตัวไม่มี อาจเพราะเห็นว่าต้องไปศึกษาหามาจากข้างนอกเท่านั้น..


ว่าแต่เขาว่าแปลโดยยึดบัญญัติ....แต่...ตัวเองก็ยังไปตีความคำแปลของเขาแบบบัญญัติตรง ๆ ...ซะเนี้ย....

อิอิ....ยุติธรรมดี๊เน๊าะ

cool
คุณกบเข้าใจเรื่องการแปลโดยยึดบัญญัติที่ว่า ไม่ลึกซึ้งพอเสียแล้วนะครับ

การแปลโดยยึดความรู้ในตำราหรือหลักทฤษฎีที่ได้เรียนรู้จดจำมา กับการแปลโดยนึกเทียบเอากับสภาวธรรมที่พึงเกิดขึ้นเป็นไปจริงๆในกายในจิต มันจะมีคุณค่าและความหมายที่แตกต่างกันมาก

:b53: :b51: :b45:

คิดเอาไม่รู้.....หยุดคิดแล้วลงมือพิสูจน์จากความจริง ถึงจะรู้......เมื่อพิสูจน์ความจริงเห็นสภาวจริงๆชัดเจนจนใจยอมรับแล้ว จะให้แตกฉานในความรู้ จึงค่อยกลับมาใช้ความคิดทฤษฎีถึงจะรู้
:b37:
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2012, 06:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าบอกว่า...การแปล....มันก็ต้องยึดเอาบัญญัติ...มาเป้นเกณท์..ก่อน...หาไม่แล้ว...ก็จะแปลตามใจไปเรื่อย...นาน ๆ ไป..คนร่นหลังอ่านแล้วก็จะ..งง..
นี้แหละ....มันถึงแตกเป็นนิกายเถรวาท...กับ..อาจารวาท...

แต่เมื่อแปลตามหลักภาษาแล้ว...ก็มีอรรถาธิบาย...มาอธิบายให้เข้าใจให้ตรงอรรถตรงธรรม..

ดังนั้น...การแปล..ให้ตรงหลักภาษา...ก็ต้องคงใว้..

.การอธิบายให้นำมาปฏิบัติได้...(ตามประสบการณ์ตน)...ก็ควรมี..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2012, 06:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
asoka เขียน:
วิจารณ์........ ย่อมจะส่งให้ถึง มรรค ผล นิพพานโดยกฏของกรรมหรือกฏของเหตุและผลอย่างแน่นอน
:b51:
ทำไมในประวัติ ท่านองคุลีมาล จึงไม่เป็นไปตามกฏแห่งกรรม
หนีไปนิพพานโดยไม่ชดใช้กรรม

หลวงปู่ชาฯ ท่านกล่าวไว้เรื่องการปฎิบัติเพื่อพระนิพพาน ..

.. ในทางพุทธศาสนาให้ทำเพื่อไม่ต้องการอะไร ถ้ามีเพื่ออะไรมันไม่หมด
ทางโลกทำอะไรเรียกว่า "มันมีเหตุผล"


พระพุทธองค์ท่านทรงสอนว่า ให้ "นอกเหตุเหนือผล" ไม่ว่าจะทำอะไร ปัญญาของท่านให้
"นอกเหตุเหนือผล" ให้นอกเกิดเหนือตาย นอกสุขเหนือทุกข์ ..

http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... cha_05.htm

นิพพานนั้น เหนือเหตุเหนือผล เหนือกฏแห่งกรรม.. :b8:

:b1:


cool
คุณวิริยะ ยังคงไม่เข้าใจถึงความละเอียดอ่อนของกฏแห่งกรรม หรือกฏของเหตุและผลเพียงพอ และอาจไม่เคยเรียนวิชากลศาสตร์มาก่อน จึงไม่เข้าใจธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงมวลสาร
เอาเฉพาะเรื่องน้ำหนักก่อน กรรมฆ่าคนนับพัน กับ กรรมที่ทำอรหัตมรรคให้เกิดจนเข้าถึงอรหัตผล ด้วยสติปัญญาอันคมกล้า อันไหนหนักและให้ผลรุนแรงมากกว่ากัน?ลองพิจารณา และอันไหนน่าจะให้ผลก่อน เมื่อให้ผลแล้ว ผลพลอยได้ที่ตามมาจะมีอะไรเกิดขึ้น

ความเป็นอโหสิกรรม คือหยุดเลิกแล้วต่อกันนั้นมีได้ด้วยหลายสาเหตุและปัจจัย .......
กรณีของท่านองคุลีมาลนั้น ผลกรรมที่ฆ่าคนนับพัน ตามไม่ทันผลกรรมที่ทำอรหัตมรรคให้เกิดขึ้น จึงเกิดอโหสิกรรม คุณวิริยะเคยรู้และเข้าใจเรื่องเช่นนี้บ้างไหม?

:b11:
ถ้ายังไม่เข้าใจให้ลองนึกเทียบอุปมาดูจากเรื่องหนี้ MPL หรือนี้ที่คาดว่าจะสูญของธนาคารทั้งหลาย ซึ่งอาจเป็นเพราะลูกค้าหลบหนีหายไปจากเมืองไทย ทราบคร่าวๆว่าหนีไปอยู่แคนาดา แต่ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน ถ้าจะตามไปฟ้องร้องเอาหนี้คืนก็ไม่รู้ว่าจะคุ้มค่าเครื่องบิน ค่าสายสืบและทนายหรือไม่ เลยจำใจขอมมติที่ประชุมบอร์ดให้ยกเป็นหนี้สูญ ดังนี้เป็นต้น

พอจะเข้าใจไหมครับคุณวิริยะ

แล้วอันที่ว่า
อ้างคำพูด:
"ในทางพุทธศาสนาให้ทำเพื่อไม่ต้องการอะไร ถ้ามีเพื่ออะไรมันไม่หมด
ทางโลกทำอะไรเรียกว่า "มันมีเหตุผล"


คุณศึกษาและประพฤติธรรมอยู่ทุกวันนี้ ...."ด้วยไม่ต้องการอะไร? .....ไม่มีวัตถุประสงค์อะไร?"......
จริงหรือเปล่าครับ พระพุทธเจ้าทรงสอนอย่างนั้นจริงๆหรือ?หรือคุณจำมาอ้างผิด

"นิพพานนั้น เหนือเหตุเหนือผล เหนือกฏแห่งกรรม" นี่เป็นพุทธวัจจนะจริงหรือ

คุณไม่ทำกรรมเจริญวิปัสสนาภาวนา สติปัฏฐาน 4 มรรค 8 แล้วจะให้เกิดมรรคเกิดผลถึงนิพพานได้ จริงๆหรือ ทำได้ยังไงเอามาเล่าสู่กันฟังหน่อยนะครับ


:b10:

:b10:
:b31:
:b4:
เจริญสุขเจริญธรรมกันทุกท่านนะครับ สาธุ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2012, 06:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


การแปลว่า...ควรน้อมเข้ามาใส่ตน...

ว่ากันโดยการปฏิบัติ...ก็ทำได้...ไม่ผิด...แต่ก็มีหลวงปู่หลวงตา..บอกว่า..ยังไม่ถึงใจ...

จะให้ถึงใจท่านว่า...ควรจะเป็น....ควรน้อมเข้าไปในใจ...


นี้..กระผมฟังแล้วก็...ว่า..ใช่...ถึงใจดี..

แต่...การไปตีความว่า....ต้องเอาธรรมนอกมาใส่ตัว...นั้น....เถรตรงเกินไป..และก็ผิดซะด้วย

ธรรมะ..เป็นนามธรรม...จะเอาไปวางตรงนั้นตรงนี้...มันทำได้หรอ? ...มันทำไม่ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2012, 06:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


การไปแปลว่า....ควรทำให้พอกพูนในใจ...

นี้ยิ่งไปใหญ่....อย่าลืม..ว่านี้เป็นการประพันธ์ถึงคุณของพระธรรม...ไม่ใช่การบอกถึงมรรค

การทำให้พอกพูน..นั้น...มันเป็น...สัมมาวายามะ...ความเพียรชอบ...ข้อที่ว่า..ภาวนาปทาน....อนุรักขาปทาน...นั้นแล้วครับ

บอกใว้ที่มรรค 8 แล้ว...

ดังนั้น....การทำให้พอกพูนขึ้นในใจ....เป็นการทำตามมรรค..ซึ่งก็ดีอยู่แล้ว...แต่มันผิดที่เอามาเป็นความหมายของคำว่า...โอปนยิโก...

เรียกว่า...ดีผิดที่..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2012, 06:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ถ้าบอกว่า...การแปล....มันก็ต้องยึดเอาบัญญัติ...มาเป้นเกณท์..ก่อน...หาไม่แล้ว...ก็จะแปลตามใจไปเรื่อย...นาน ๆ ไป..คนร่นหลังอ่านแล้วก็จะ..งง..
นี้แหละ....มันถึงแตกเป็นนิกายเถรวาท...กับ..อาจารวาท...

แต่เมื่อแปลตามหลักภาษาแล้ว...ก็มีอรรถาธิบาย...มาอธิบายให้เข้าใจให้ตรงอรรถตรงธรรม..

ดังนั้น...การแปล..ให้ตรงหลักภาษา...ก็ต้องคงใว้..

.การอธิบายให้นำมาปฏิบัติได้...(ตามประสบการณ์ตน)...ก็ควรมี..

:b12:
แล้วคุณกบลองพิจารณาดูให้ดีๆหรือยังว่า

ธรรมคุณ 6 ประการหรือแม้แต่สวดมนต์แปลบทอื่นๆ ท่่านแปลตรงจากบาลีแต่ละคำเป๊ะๆเลยหรือเปล่า
หรือเป็นการแปลประกอบอธิบายขยายความนิดๆ

ตัวอย่าง

สันทิฏฐิโก.....เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษา.......และปฏิบัติ....พึงเห็นได้ด้วยตนเอง.....

บาลีตัวไหนทึ่แปลว่า
ผู้ศึกษา ....บาลีตัวไหนทึ่แปลว่า....ผู้ปฏิบัติ......บาลีตัวไหนทึ่แปลว่า.......พึงเห็นได้.....บาลีตัวไหนทึ่แปลว่า....ด้วยตนเอง

โปรดอรรถาธิบาย

:b4: :b4:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 70 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร