วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 05:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2012, 10:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 17:04
โพสต์: 133


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปบาททุกอาการมีลักษณะแห่งความเป็นอริยสัจสี่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ชรามรณะ,
รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ, รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ,
รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ;
ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ชาติ, รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ, รู้ทั่วถึงซึ่ง ความ
ดับไม่เหลือแห่งชาติ, รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ;
ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ภพ, รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งภพ, รู้ทั่วถึงซึ่ง ความ
ดับไม่เหลือแห่งภพ, รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ;
ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง อุปาทาน, รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปาทาน, รู้ทั่ว
ถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน, รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ
ไม่เหลือแห่งอุปาทาน;

ว่าด้วยปฏิจจ ฯ คือเรื่องอริยสัจสมบูรณ์แบบ ๘๕
ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ตัณหา, รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งตัณหา, รู้ทั่วถึงซึ่ง
ความดับไม่หลือแห่งตัณหา, รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งตัณหา;
ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง เวทนา, รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา, รู้ทั่วถึงซึ่ง
ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา, รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา;
ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ผัสสะ, รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะ, รู้ทั่วถึงซึ่ง
ความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ, รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ;
ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง สฬายตนะ, รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ,
รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ, รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ;
ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง นามรูป, รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งนามรูป, รู้ทั่วถึงซึ่ง
ความดับไม่เหลือแห่งนามรูป, รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งนามรูป;
ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง วิญญาณ, รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ, รู้ทั่วถึงซึ่ง
ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ, รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ
แห่งวิญญาณ;


ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง สังขาร ทั้งหลาย, รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร,
รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร, รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความ
ดับไม่เหลือแห่งสังขาร;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า? ความแก่ ความ
คร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้นไปแห่งอายุ
ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ :
นี้ เรียกว่า ชรา. การจุติ ความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตาย
การทำกาละ การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิต
จากสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ : นี้ เรียกว่า มรณะ. ชรานี้ด้วย
มรณะนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ดังนี้; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า ชรามรณะ. ความ
ก่อขึ้นพร้อมแห่งชรามรณะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งชาติ; ความดับไม่เหลือ
แห่งชรามรณะ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งชาติ; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด
อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ, ได้แก่สิ่งเหล่านี้
คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีพชอบ
ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ชาติ เป็นอย่างไรเล่า? การเกิด การกำเนิด การ
ก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฎของขันธ์ทั้งหลาย การที่
สัตว์ได้ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ : ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า ชาติ. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งชาติ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้น
พร้อมแห่งภพ; ความดับไม่เหลือแห่งชาติ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งภพ;
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือ
แห่งชาติ, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำ
การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภพ เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
ภพทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
นี้ เรียกว่า ภพ. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทาน;
ความดับไม่เหลือแห่งภพ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน; มรรคอันประกอบ
ด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ, ได้แก่
สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ
การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
อุปาทานทั้งหลาย ๔ อย่างเหล่านี้ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน อัตตวาทุ-
ปาทาน: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า อุปาทาน. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทาน
ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งตัณหา; ความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน ย่อมมี
เพราะความดับไม่เหลือแห่งตัณหา; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐ
นั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็น
ชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความ
พากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
หมู่ตัณหาทั้งหลาย ๖ อย่างเหล่านี้ คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า ตัณหา.

ความก่อขึ้นพร้อมแห่งตัณหา ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งเวทนา; ความดับไม่เหลือ
แห่งตัณหา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งเวทนา; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด
อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งตัณหา, ได้แก่สิ่งเหล่านี้
คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ
ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เวทนา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
หมู่แห่งเวทนาทั้งหลาย ๖ อย่างเหล่านี้ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา
ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชา-
เวทนา: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า เวทนา. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งเวทนา
ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งผัสสะ; ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะ
ความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็น
ปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความ
ดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ
ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
หมู่แห่งผัสสะทั้งหลาย ๖ อย่างเหล่านี้ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส
กายสัมผัส มโนสัมผัส: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า ผัสสะ. ความก่อขึ้นพร้อม
แห่งผัสสะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งสฬายตนะ; ความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ
ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด
อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ
ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า? จักขวายตนะ
โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ มนายตนะ : ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
นี้ เรียกว่า สฬายตนะ ความก่อขึ้นพร้อมแห่งสฬายตนะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้น
พร้อมแห่งนามรูป; ความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือ
แห่งนามรูป; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้
ถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ
การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึก
ชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นามรูป เป็นอย่างไรเล่า? เวทนา สัญญา เจตนา
ผัสสะ มนสิการ: นี้เรียกว่านาม, มหาภูตทั้งสี่ด้วย รูปที่อาศัยมหาภูตทั้งสี่ด้วย:
นี้เรียกว่า รูป, นามนี้ด้วย รูปนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ดังนี้; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า
นามรูป. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งนามรูป ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งวิญญาณ;
ความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ; มรรค
อันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐ นั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง
นามรูป, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำ
การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจ
มั่นชอบ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
หมู่แห่งวิญญาณทั้งหลาย ๖ อย่างเหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า วิญญาณ;.
ความก่อขึ้นพร้อมแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งสังขาร;

ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งสังขาร; มรรคอันประกอบ
ด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ
การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย! สังขารทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร:
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า สังขารทั้งหลาย. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งสังขาร
ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอวิชชา; ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะ
ความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง
เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็น
ชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความ
พากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในกาลใดแล ภิกษุ ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ชรามรณะ;
มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งชรา-
มรณะ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ;
ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ .
ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ชาติ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ; มารู้
ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งชาติ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง
ความดับไม่เหลือแห่งชาติ; ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ.


ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ภพ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งภพ; มารู้ทั่ว
ถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งภพ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง
ความดับไม่เหลือแห่งภพ; ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ.
ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง อุปาทาน; มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปาทาน;
มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์
ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน; ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ.
ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ตัณหา; มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งตัณหา;
มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งตัณหา; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้
ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งตัณหา; ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ.
ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง เวทนา; มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา;
มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้
ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา; ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ.
ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ผัสสะ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะ; มารู้
ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง
ความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ; ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ.
ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง สฬายตนะ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ;
มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์
ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ; ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ.


ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง นามรูป; มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งนามรูป;
มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งนามรูป; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์
ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งนามรูป; ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ.
ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง วิญญาณ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ;
มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้
ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ; ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ.
ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง สังขารทั้งหลาย; มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่ง
สังขาร; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่อง
ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร; ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในกาลนั้น เราเรียกภิกษุนั้น ว่า :-
"ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐฺ (ทิฏฺฐิสมฺปนฺโน)", ดังนี้บ้าง;
"ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะ (ทสฺสนสมฺปนฺโน)", ดังนี้บ้าง;
"ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว (อาคโต อิมํ สทฺธมฺมํ)" ดังนี้บ้าง;
"ย่อมเห็นซึ่งพระสัทธรรมนี้ (ปสฺสติ อิมํ สทฺธมฺมํ)" ดังนี้บ้าง;
"ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ (เสกฺเขน ญาเณน สมนฺนาคโต)" ดังนี้บ้าง;
"ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ (เสกฺขาย วิชฺชาย สมนฺนาคโต)" ดังนี้บ้าง;
"ผู้ถึงแล้วซึ่งกระแสแห่งธรรม (ธมฺมโสตํ สมาปนฺโน)" ดังนี้บ้าง;
"ผู้ประเสริฐมีปัญญชำแรกกิเลส (อริโย นิพฺเพธิกปญฺโญ)" ดังนี้บ้าง;
"ยืนอยู่จดประตูแห่งอมตะ (อมตทวารํ อาหจฺจ ติฏฺฐติ)" ดังนี้บ้าง.

และทำให้เกิดทุกข์ได้อย่างไร ถึง ๑๑ ระยะ คือสายแห่งปฏิจจสมุปบาทฝ่ายสมุทยวาร สาย
หนึ่ง; แทนที่จะกล่าวสั้น ๆ ลุ่น ๆ ว่า ทุกขนิโรธ คือการดับตัณหาเสีย ก็ตรัสอย่างละเอียด
ถึง ๑๑ ระยะ อย่างเดียวกัน เป็นปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร; ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า การ
ตรัสอย่างนี้ เป็นอริยสัจโดยสมบูรณ์. เราควรเรียกอริยสัจที่แสดงด้วยปฏิจจสุมปบาท ว่า
"อริยสัจใหญ่", และเรียกอริยสัจที่รู้กันอยู่ทั่ว ๆ ไปว่า "อริยสัจเล็ก" กันแล้วกระมัง.

ทั้งหมดนี้ รวมกันแล้ว เป็นเครื่องแสดงให้เห็นชัดยิ่งขึ้นไปอีก ว่า เรื่องปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็น
เรื่องอริยสัจทั้งเนื้อทั้งตัว. ขอให้กำหนดไว้เป็นพิเศษ ตลอดเวลา.
(แม้คำ ของพระมหาเถระ คือ พระสารีบุตร ก็ได้กล่าวถึงปฏิจจสมุทบาท โดย
หลักแห่งอริยสัจสี่ อย่างเดียวกันกับพุทธภาษิตข้างบนนี้ แต่กล่าวในฐานะเป็นวัตถุแห่ง
สัมมาทิฏฐิ คือ การรู้ชัดซึ่งอาการทุกอาการของปฏิจจสมุทบาท โดยนัยแห่งอริยสัจสี่
ว่าเป็นสัมมาทิฏฐิอย่างหนึ่ง ๆ ทุกอาการ รวมอยู่กับเรื่องอื่น ๆ คือเรื่องอกุศล กุศล
พร้อมทั้งมูลเหตุ, เรื่องอาหารสี่ โดยนัยแห่งอริยสัจสี่, เรื่องทุกข์โดยนัยแห่งอริยสัจสี่,
และเรื่องอาสวะ โดยนัยแห่งอริยสัจสี่, ซึ่งล้วนแต่เป็นวัตถุแห่งสัมมาทิฏฐิด้วยกันทั้งนั้น.
สำหรับเรื่องปฏิจจสมุทบาทนั้น มีข้อความดังที่ยกมาไว้เป็นส่วนผนวกของพระพุทธภาษิต
ข้างบนนี้ ดังต่อไปนี้:-)
"ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก ที่จะทำอริยสาวก
ให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีทิฏฐิดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบพร้อมแล้วด้วย
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในธรรม, มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ปริยายนั้นคือ ในกาลใด อริยสาวก ย่อมรู้
ทั่วถึงซึ่ง ชรามรณะ ด้วย, ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะด้วย, ซึ่งความดับ
ไม่เหลือแห่งชรามรณะด้วย, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่ง
ชรามรณะด้วย; ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อริยสาวกนั้น


ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีทิฏฐิดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบพร้อมแล้วด้วยความ
เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ในกาลนั้น.
…ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก... ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ชาติ ด้วย, ซึ่งเหตุ
ให้เกิดขึ้นแห่งชาติด้วย, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติด้วย, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่อง
ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติด้วย;..ฯลฯ...ในกาลนั้น
...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก...ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ภพ ด้วย, ซึ่งเหตุให้เกิด
ขึ้นแห่งภพด้วย, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งภพด้วย, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุ
ถึงความดับไม่เหลือแห่งภพด้วย;..ฯลฯ...ในกาลนั้น
...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก... ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง อุปาทาน ด้วย, ซึ่งเหตุ
ให้เกิดขึ้นแห่งอุปาทานด้วย, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอุปาทานด้วย, ซึ่งข้อปฏิบัติ
เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งอุปาทานด้วย;...ฯลฯ...ในกาลนั้น.
...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก... ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ตัณหา ด้วย, ซึ่งเหตุ
ให้เกิดขึ้นแห่งตัณหาด้วย, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งตัณหาด้วย, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่อง
ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งตัณหาด้วย;...ฯลฯ...ในกาลนั้น.
...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก...ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง เวทนา ด้วย, ซึ่งเหตุ
ให้เกิดขึ้นแห่งเวทนาด้วย, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนาด้วย, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่อง
ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนาด้วย;...ฯลฯ...ในกาลนั้น.


...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก...ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ผัสสะ ด้วย, ซึ่งเหตุให้
เกิดขึ้นแห่งผัสสะด้วย, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งผัสสะด้วย, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่อง
ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งผัสสะด้วย;...ฯลฯ...ในกาลนั้น.
...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก... ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง สฬายตนะ ด้วย, ซึ่ง
เหตุให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะด้วย, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะด้วย, ซึ่ง
ข้อปฏิบัติเครื่องทำ สัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะด้วย;...ฯลฯ...
ในกาลนั้น.
...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก...ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง นามรูป ด้วย, ซึ่งเหตุ
ให้เกิดขึ้นแห่งนามรูปด้วย, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งนามรูปด้วย, ซึ่งข้อปฏิบัติ
เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งนามรูปด้วย;...ฯลฯ...ในกาลนั้น.
...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก...ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง วิญญาณ ด้วย, ซึ่งเหตุ
ให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณด้วย, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณด้วย, ซึ่งข้อปฏิบัติ
เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณด้วย;...ฯลฯ...ในกาลนั้น.
...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก...ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง สังขาร ด้วย, ซึ่งเหตุ
ให้เกิดขึ้นแห่งสังขารด้วย, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขารด้วย, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่อง
ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขารด้วย;...ฯลฯ...ในกาลนั้น.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก ที่จะทำอริยสาวกให้
ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบพร้อมแล้วด้วย
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในธรรม, มาสู่พระสัทธรรมนี้


ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ปริยายนั้นคือ ในกาลใด อริยสาวก ย่อม
รู้ทั่วถึงซึ่ง อวิชชาด้วย, ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งอวิชชาด้วย, ซึ่งความดับไม่เหลือ
แห่งอวิชชาด้วย, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งอวิชชาด้วย;
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อริยสาวกนั้น. ชื่อว่าเป็นผู้มี
สัมมาทิฏฐิ มีทิฏฐิดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบพร้อมแล้วด้วยความเลื่อมใสอันไม่
หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ในกาลนั้น…..

______________________________________________
สูตรที่ ๘ ทสพลวรรค นิทานสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๕๑/๙๑, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.

หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตุให้เห็นว่า อาการแห่งปฏิจจสมุปบาท
แต่ละอาการก็ยังจำแนกออกไปเป็นอริยสัจสี่อีกชั้นหนึ่ง; เช่นเดียวกับตัวปฏิจจสมุปบาท
ทั้งสาย, ดังที่กล่าวมาแล้ว โดยหัวข้อว่า “เรื่องปฏิจจสมุปบาท คือ เรื่องอริยสัจ”.

(ต่อไปนี้ พระสารีบุตรได้กล่าวถึงเรื่องอาสวะ โดนัยแห่งอริยสัจสี่ ไปจนจบสูตรชื่อสัมมาทิฏฐิ
สูตร มู.ม. ๑๒/๙๐/๑๑๗)


หมายเหตุผู้รวบรวม : ในพุทธภาษิตในตอนต้นของเรื่องนี้ ตรัสลักษณะของ
อริยสัจสี่ ในอาการของปฏิจจสมุปบาท ไม่ขึ้นไปถึงอวิชชา ดังในสูตรนี้ซึ่งกล่าวขึ้นไปถึง
อวิชชา. การรู้ปฏิจจสมุปบาท แต่ละอาการ โดยละอาการ โดยนัยอริยสัจสี่ เป็นลักษณะของการบรรลุ
ความเป็นโสดาบัน เป็นอย่างน้อย. ความข้อนี้ มีตรงกัน ทั้งที่เป็นพุทธภาษิต และสาวก-
ภาษิตเช่นนี้ แล.

http://www.pobbuddha.com/tripitaka/uplo ... index.html
http://truthoflife.fix.gs/index.php?topic=7534.0


ทุกขสัจนิทเทส
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... =814&Z=882

สมุทยสัจนิทเทส
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... =883&Z=897

นิโรธสัจนิทเทส
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... =898&Z=905

มัคคสัจนิทเทส
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... =906&Z=950


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2012, 18:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


s002 ท่านละครน้ำเน่าเล่นเอามาหมดแล้ว กระผมจะเอาอะไรมาลงได้อีกมั้ยละเนี่ย

แต่ก็ขอบคุณคับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2012, 21:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เอิ๊ก...เอิ๊ก.... :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2012, 10:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 17:04
โพสต์: 133


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: ผมเพียงแต่ยกหนังสือมากองไว้เท่านั้นเองครับ เพื่อผู้มาใหม่

เพื่อผู้ใหม่ ที่ยังไม่สามารถมองภาพรวมได้ อาจเข้าใจผิดเป็นเครื่องกั้นการเข้าถึงธรรมได้
และไม่ทราบว่าจะสืบค้นอย่างไร (เพราะผมเคยเป็นทั้งเปิ่นทั้งฮามากครับไม่เล่าดีกว่า :b32: )

ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมที่เข้าใจยากถึงแม้ว่าจะมีใครหยิบยกมาสาธยายไว้มากมายแล้ว ก็ตาม
ดังนั้น :b8: ก็เชิญท่านฝึกจิตหยิบยกธรรมดังกล่าวมาสาธยายธรรมต่อไปเถอะครับ :b8:

:b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2012, 23:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


อิทธิบาทสี่ ฐานสู่ความสำเร็จ

ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ มีความสงสัยเกิดขึ้นว่า อะไรหนอ เป็นหนทาง เป็นข้อปฏิบัติ* เพื่อความเจริญแห่งอิทธิบาท?

ภิกษุ ท.! ความรู้ข้อนี้เกิดขึ้นแก่เราว่า ภิกษุ** นั้นๆ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยฉันทะเป็นปธานกิจ ว่า ด้วยอาการอย่างนี้ ฉันทะของเราย่อมมีในลักษณะที่จักไม่ย่อหย่อน, ที่จักไม่เข้มงวดเกิน, ที่จักไม่สยบอยู่ในภายใน, ที่จักไม่ส่ายไปในภายนอก; และเราเป็นผู้มีความรู้สึกทั้งในกาลก่อนและกาลเบื้องหน้าอยู่ด้วย : ก่อนนี้เป็นเช่นใด

ต่อไปก็เช่นนั้น, ต่อไปเป็นเช่นใด ก่อนนี้ก็เช่นนั้น, เบื้องล่างเช่นใด เบื้องบนก็เช่นนั้น, เบื้องบนเช่นใดเบื้องล่างก็เช่นนั้น, กลางคืนเหมือนกลางวัน, กลางวันเหมือนกลางคืน : เธอย่อมอบรมจิตอันมีแสงสว่างด้วยทั้งจิตอันเปิดแล้ว ไม่มีอะไรพัวพัน ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้.

(ข้อต่อไปอีก ๓ ข้อก็เหมือนกัน แปลกแต่ชื่อแห่งอิทธิบาท เป็น วิริยะ จิตตะ วิมังสา, เท่านั้นพระองค์ทรงพบการเจริญอิทธิบาท ด้วยวิธีคิดค้นอย่างนี้).

:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร