วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 21:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 58 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2012, 02:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
:b29: :b8:

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว ไว้ว่า เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามกาย ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต
อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต และอุเทศ นั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อในรูปกายจะพึง
ปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ การบัญญัติรูปกาย ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ
เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสโดยการกระทบ จะพึง ปรากฏในนามกายได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามกายก็ดี รูปกายก็ดี ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อ ก็ดี การสัมผัสโดยการกระทบ
ก็ดี จะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามรูปต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ
เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี ผัสสะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
:b8: :b8: :b8:

:b9: จะโพสทำไม ถ้าโพสแล้วไม่เข้าใจความหมาย นามกายเอย รูปกายเอยที่โพสมา
ทำให้สับสนตัวเองเปล่าๆ บอกแล้วอย่าเอาพุทธพจน์มาโพสซี่ซั่ว :b32:


ขอความกรุณาท่าน โฮฮับ อธิบายความหมายให้ฟังหน่อยครับ ว่า นามกาย หมายถึงขันธ์ 5 ที่รวมรูปขันธ์ อยู่ด้วยหรือครับ แล้วรูปกาย คือ อะไรครับ

ขอบคุณครับ :b8:

ขันธ์ห้าทั้งหมดรวมเรียกว่า.....นามกาย
ที่บอกแบบนี้เพราะ นามธรรมที่เกิดภายในกายใจของเรา ลัวนมีเหตุปัจจัยมาจาก...กาย
แล้วที่ว่ามีกายเป็นเหตุอย่างไร นั้นก็คือ อารมณ์หรือขันธ์ห้าจะเกิดได้ ต้องมีการกระทบกัน
ระหว่างอายตนะภายในและภายนอก ความสำคัญมันอยู่ที่อายตนะภายใน อายตนะภายในได้แก่
หู ตา ลิ้น จมูก กาย ใจ ทวารทั้งหกนี้ก็คือกายหรือส่วนประกอบของร่างกาย อารมณ์ขันธ์ห้าเกิดจาก
ทวารทั้งหกหรือส่วนของกาย ดังนั้นกายจึงเป็นประธาน สิ่งที่เกิดจากกายเป็นเหตุปัจจัย
จึงได้ชื่อว่า นามของกายหรือนามกาย ศัพท์ที่จขกทเอามาถาม คำแต่ละคำเป็นเป็นการ
อธิบายถึงนามอันเกิดจากกายให้เข้าใจถึงที่มาที่ไปตามเหตุปัจจัย

ส่วน...รูปกาย หมายถึงกายหรือร่างกายของเรา ที่ท่านเรียกว่ารูปกาย
ความสำคัญมันอยู่ที่ กายที่จะเป็นรูปได้กายนั้นจะต้องมีจิตครอง มันจึงจะเกิด
สิ่งที่จขกทถามนั้นก็คือ อาการ เพศ นิมิต อุเทศ ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ รูปกายก็จะ
ไม่เรียกว่ารูปกาย จะเรียกว่าหรือธาตุสี่(ยกเว้นพระอรหันต์)

ปล.การจะพิจารณาขันธ์ห้า จะต้องให้สติและสมาธิอยู่ที่กายใจเรา
อย่าไปเพ่งพิจารณาสิ่งนอกกายใจ ไม่งั้นจะเกิดความสับสน อย่างเรื่องนี้ก็เหมือนกัน
อย่าไปเพ่งพิจารณา กายผู้อื่น ให้พิจารณาแต่กายของเรา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2012, 04:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
:b29: :b8:

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว ไว้ว่า เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามกาย ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต
อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต และอุเทศ นั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อในรูปกายจะพึง
ปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ การบัญญัติรูปกาย ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ
เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสโดยการกระทบ จะพึง ปรากฏในนามกายได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามกายก็ดี รูปกายก็ดี ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อ ก็ดี การสัมผัสโดยการกระทบ
ก็ดี จะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามรูปต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ
เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี ผัสสะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
:b8: :b8: :b8:

:b9: จะโพสทำไม ถ้าโพสแล้วไม่เข้าใจความหมาย นามกายเอย รูปกายเอยที่โพสมา
ทำให้สับสนตัวเองเปล่าๆ บอกแล้วอย่าเอาพุทธพจน์มาโพสซี่ซั่ว :b32:


ขอความกรุณาท่าน โฮฮับ อธิบายความหมายให้ฟังหน่อยครับ ว่า นามกาย หมายถึงขันธ์ 5 ที่รวมรูปขันธ์ อยู่ด้วยหรือครับ แล้วรูปกาย คือ อะไรครับ

ขอบคุณครับ :b8:

ขันธ์ห้าทั้งหมดรวมเรียกว่า.....นามกาย
ที่บอกแบบนี้เพราะ นามธรรมที่เกิดภายในกายใจของเรา ลัวนมีเหตุปัจจัยมาจาก...กาย
แล้วที่ว่ามีกายเป็นเหตุอย่างไร นั้นก็คือ อารมณ์หรือขันธ์ห้าจะเกิดได้ ต้องมีการกระทบกัน
ระหว่างอายตนะภายในและภายนอก ความสำคัญมันอยู่ที่อายตนะภายใน อายตนะภายในได้แก่
หู ตา ลิ้น จมูก กาย ใจ ทวารทั้งหกนี้ก็คือกายหรือส่วนประกอบของร่างกาย อารมณ์ขันธ์ห้าเกิดจาก
ทวารทั้งหกหรือส่วนของกาย ดังนั้นกายจึงเป็นประธาน สิ่งที่เกิดจากกายเป็นเหตุปัจจัย
จึงได้ชื่อว่า นามของกายหรือนามกาย ศัพท์ที่จขกทเอามาถาม คำแต่ละคำเป็นเป็นการ
อธิบายถึงนามอันเกิดจากกายให้เข้าใจถึงที่มาที่ไปตามเหตุปัจจัย

ส่วน...รูปกาย หมายถึงกายหรือร่างกายของเรา ที่ท่านเรียกว่ารูปกาย
ความสำคัญมันอยู่ที่ กายที่จะเป็นรูปได้กายนั้นจะต้องมีจิตครอง มันจึงจะเกิด
สิ่งที่จขกทถามนั้นก็คือ อาการ เพศ นิมิต อุเทศ ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ รูปกายก็จะ
ไม่เรียกว่ารูปกาย จะเรียกว่าหรือธาตุสี่(ยกเว้นพระอรหันต์)

ปล.การจะพิจารณาขันธ์ห้า จะต้องให้สติและสมาธิอยู่ที่กายใจเรา
อย่าไปเพ่งพิจารณาสิ่งนอกกายใจ ไม่งั้นจะเกิดความสับสน อย่างเรื่องนี้ก็เหมือนกัน
อย่าไปเพ่งพิจารณา กายผู้อื่น ให้พิจารณาแต่กายของเรา



งั้น พุจนานุกรม พุทธศาสนา แปลว่าอย่างนี้ก็คงจะผิดเนาะ

นามกาย กองแห่งนามธรรม หมายถึงเจตสิกทั้งหลาย - ประยุทธ ปยุตโต


และ
[๔๐๓] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้าอย่างไร ฯ
กาย ในคำว่า กาโย มี ๒ คือ นามกาย ๑ รูปกาย ๑ นามกาย
เป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นนามด้วย เป็นนาม
กายด้วย และท่านกล่าวจิตสังขารว่า นี้เป็นนามกาย รูปกายเป็นไฉน มหาภูต
รูป ๔ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ลมอัสสาสะปัสสาสะ นิมิตร และท่านกล่าวว่ากายสังขารที่เนื่องกัน นี้เป็นรูปกาย ฯ :b8:

ท่านใดได้มาอ่าน ก็ควร พิจารณาเอาเอง นะครับ เพื่อประโยชน์ในการ ศึกษาต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2012, 10:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
งั้น พุจนานุกรม พุทธศาสนา แปลว่าอย่างนี้ก็คงจะผิดเนาะ

นามกาย กองแห่งนามธรรม หมายถึงเจตสิกทั้งหลาย - ประยุทธ ปยุตโต

พุทโธ่เอ้ย บอกหลายหนแล้ว การศึกษาพระสุตรหรือพุทธพจน์ ไม่ใช่มานั่งแปลคำศัพท์
การจะเข้าใจพุทธพจน์ต้องอาศัยหลักการพิจารณาธรรม
โดยยึดหลักของปรมัตถ์ธรรม ไม่ใช่สมมุติบัญญัติ พูดเท่าไรก็ไม่เชื่อ ผลก็คือยังหลง
ถึงขนาดไปถอดพจนานุกรม ผมตอบสิ่งที่คุณอยากรู้ไป แต่คุณดันเอาสิ่งที่มันคนละเรื่องมาแย้ง
แบบนี้เขาเรียกไปไหนมาสามวาสองศอก

ไหนลองตอบผมหน่อยซิ เอาพจนานุกรมมาอ้าง ถามจริงเข้าใจหรือเปล่า
แบบนี้ผมไม่อยากว่าเป็นนกแก้วนกขุนทองหรอกนะ
ที่บอกว่า...นามกาย กองแห่งนามธรรม หมายถึงเจตสิกทั้งหลาย

ถ้าคุณบอกแบบนี้ผมถามหน่อย เจตสิกเป็นนามธรรมอย่างเดียวหรือ
แล้วจิตล่ะเป็นอะไร จิตไม่ใช่นามธรรมหรือ แล้วนิพพานอีกล่ะ
คุณฝึกจิตนี้ยิ่งพูดยิ่งไกล ยิ่งพูดยิ่งหลงธรรมนะครับ

สิ่งที่คุณต้องรู้ก็คือ กองแห่งนามธรรมมันมีอะไรบ้าง
แล้วก็ไล่ย้อนหาเหตุที่มาของนามธรรมนั้นว่าเกิดได้อย่างไร

ส่วนที่ผมอธิบายก่อนหน้า มันเป็นการอธิบายความถึงที่มาของ....นามธรรม
ที่มาของนามธรรมทั้งปวงมันมาจากกาย จึงเรียกนามธรรมทั้งปวงนั้นว่า...นามกาย

สืบเนื่องจากกระทู้ของคุณ กับคำศัพท์ที่คุณยกขึ้นมาถามเช่น อาการ เพศ นิมิต อุเทศ
คำต่างๆเหล่านี้เป็นการอธิบายการเกิด ดับของ...นามธรรมเหล่านั้น


นามธรรมก็คือผลอันเกิดจาก กาย จึงเรียกผลที่เกิดนั้นว่า...นามกาย
ฝึกจิต เขียน:
[๔๐๓] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้าอย่างไร ฯ
กาย ในคำว่า กาโย มี ๒ คือ นามกาย ๑ รูปกาย ๑ นามกาย
เป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นนามด้วย เป็นนาม
กายด้วย และท่านกล่าวจิตสังขารว่า นี้เป็นนามกาย รูปกายเป็นไฉน มหาภูต
รูป ๔ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ลมอัสสาสะปัสสาสะ นิมิตร และท่านกล่าวว่ากายสังขารที่เนื่องกัน นี้เป็นรูปกาย ฯ :b8:
ท่านใดได้มาอ่าน ก็ควร พิจารณาเอาเอง นะครับ เพื่อประโยชน์ในการ ศึกษาต่อไป

ถึงได้บอกว่าอย่าโพสพระสูตรซีซั่ว เอาเรื่องรูปธรรม นามธรรม
มาปนกับรูปกาย นามกายซะเละตุ้มเป๊ะ

ยกเอาพระสูตรมาอ้างถามหน่อย มันผิดจากที่ผมอธิบายก่อนหน้าตรงไหน
ผมอธิบายไว้ก่อนหน้าว่า.....
ส่วน...รูปกาย หมายถึงกายหรือร่างกายของเรา ที่ท่านเรียกว่ารูปกาย
ความสำคัญมันอยู่ที่ กายที่จะเป็นรูปได้กายนั้นจะต้องมีจิตครอง มันจึงจะเกิด
สิ่งที่จขกทถามนั้นก็คือ อาการ เพศ นิมิต อุเทศ ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ รูปกายก็จะ
ไม่เรียกว่ารูปกาย จะเรียกว่าหรือธาตุสี่(ยกเว้นพระอรหันต์)


"ผมบอกว่ากายจะเป็นรูปได้ต้องมีจิตครอง"

พระสูตรบอกว่า ลมหายใจเป็นกายสังขารเป็น......รูปกาย

ผมถามคุณไอ้กายสังขารเนี่ย มันไม่ใช่เกิดจากจิตไปปรุงแต่งกายหรอกหรือ
กายจะทำอะไรได้มันต้องมีจิต


ปล. ผมก็ไม่รู้คุณจะเข้าใจหรือเปล่า แต่ผมว่าคุณไม่เข้าใจหรอก
เพราะผมพิจารณาสิ่งที่คุณแย้งมาแล้ว มันเป็นคนละเรื่อง
คุณไม่เข้าใจแม้กระทั้งการตั้งกระทู้ คือคุณไม่เข้าใจว่า จะให้ประเด็นในการ
ตั้งกระทู้อย่างไร

ผมจะสอนให้นะครับ รักจะตั้งกระทู้ยิ่งเป็นกระทู้ที่เกี่ยวกับการสนทนาธรรม
มันจะต้องมีเรื่องราวอะไรมาเป็นประเด็นเสียก่อน
ไม่ใช่การโพสพระสูตรแบบไม่มีปี่มีขลุย แล้วเรื่องถามคำศัพท์นี่ก็เหมือนกัน
ตัวเองก็รู้ว่าจะหาคำแปลได้ที่ไหน อยากลองภูมิเขาไม่ถามคำศัพท์กันหรอก
ตลกมั้ยล่ะ มาถามคำศัพท์ พอมีปัญหากลับยกเอาพจนานุกรมมาอ้าง
เหมือนเด็กลองภูมิเด็ก :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2012, 11:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เกิน คาด แถๆๆ ถลอกปอกเปิก อิอิ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2012, 13:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
งั้น พุจนานุกรม พุทธศาสนา แปลว่าอย่างนี้ก็คงจะผิดเนาะ
นามกาย กองแห่งนามธรรม หมายถึงเจตสิกทั้งหลาย - ประยุทธ ปยุตโต


โฮฮับ เขียน:
ถ้าคุณบอกแบบนี้ผมถามหน่อย เจตสิกเป็นนามธรรมอย่างเดียวหรือ
แล้วจิตล่ะเป็นอะไร จิตไม่ใช่นามธรรมหรือ แล้วนิพพานอีกล่ะ


ฝึกจิต เขียน:
ไม่เกิน คาด แถๆๆ ถลอกปอกเปิก อิอิ :b32:


ฝึกจิตว่าอย่างนั้นหรือจ๊ะ ฮา..ฮา..ฮา :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2012, 13:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
งั้น พุจนานุกรม พุทธศาสนา แปลว่าอย่างนี้ก็คงจะผิดเนาะ
นามกาย กองแห่งนามธรรม หมายถึงเจตสิกทั้งหลาย - ประยุทธ ปยุตโต


โฮฮับ เขียน:
ถ้าคุณบอกแบบนี้ผมถามหน่อย เจตสิกเป็นนามธรรมอย่างเดียวหรือ
แล้วจิตล่ะเป็นอะไร จิตไม่ใช่นามธรรมหรือ แล้วนิพพานอีกล่ะ


ฝึกจิต เขียน:
ไม่เกิน คาด แถๆๆ ถลอกปอกเปิก อิอิ :b32:


ฝึกจิตว่าอย่างนั้นหรือจ๊ะ ฮา..ฮา..ฮา :b32:



ครับ เพราะท่านว่า ขันธ์ห้าทั้งหมดรวมเรียกว่า.....นามกาย
:b29:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2012, 00:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
งั้น พุจนานุกรม พุทธศาสนา แปลว่าอย่างนี้ก็คงจะผิดเนาะ
นามกาย กองแห่งนามธรรม หมายถึงเจตสิกทั้งหลาย - ประยุทธ ปยุตโต


โฮฮับ เขียน:
ถ้าคุณบอกแบบนี้ผมถามหน่อย เจตสิกเป็นนามธรรมอย่างเดียวหรือ
แล้วจิตล่ะเป็นอะไร จิตไม่ใช่นามธรรมหรือ แล้วนิพพานอีกล่ะ


ฝึกจิต เขียน:
ไม่เกิน คาด แถๆๆ ถลอกปอกเปิก อิอิ :b32:


ฝึกจิตว่าอย่างนั้นหรือจ๊ะ ฮา..ฮา..ฮา :b32:



ครับ เพราะท่านว่า ขันธ์ห้าทั้งหมดรวมเรียกว่า.....นามกาย
:b29:

เหรอ! ถ้างั้นคุณฝึกจิต คุณดูบัญญัติสี่ตัวนี้แล้วค่อยตอบผม
*รูปกาย
*นามกาย
*รูปธรรม
*นามธรรม

ผมถามคุณครับ "รูปขันธ์ " มันเป็นอะไรในสี่ตัวนี้ :b13:

ถ้าจะให้ดีอ่านพระสูตรตามไปด้วยว่า พระพุทธองค์ทำไมบัญญัติคำว่า "รูปกาย"กับ"นามกาย"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2012, 06:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
งั้น พุจนานุกรม พุทธศาสนา แปลว่าอย่างนี้ก็คงจะผิดเนาะ
นามกาย กองแห่งนามธรรม หมายถึงเจตสิกทั้งหลาย - ประยุทธ ปยุตโต


โฮฮับ เขียน:
ถ้าคุณบอกแบบนี้ผมถามหน่อย เจตสิกเป็นนามธรรมอย่างเดียวหรือ
แล้วจิตล่ะเป็นอะไร จิตไม่ใช่นามธรรมหรือ แล้วนิพพานอีกล่ะ


ฝึกจิต เขียน:
ไม่เกิน คาด แถๆๆ ถลอกปอกเปิก อิอิ :b32:


ฝึกจิตว่าอย่างนั้นหรือจ๊ะ ฮา..ฮา..ฮา :b32:



ครับ เพราะท่านว่า ขันธ์ห้าทั้งหมดรวมเรียกว่า.....นามกาย
:b29:

เหรอ! ถ้างั้นคุณฝึกจิต คุณดูบัญญัติสี่ตัวนี้แล้วค่อยตอบผม
*รูปกาย
*นามกาย
*รูปธรรม
*นามธรรม

ผมถามคุณครับ "รูปขันธ์ " มันเป็นอะไรในสี่ตัวนี้ :b13:

ถ้าจะให้ดีอ่านพระสูตรตามไปด้วยว่า พระพุทธองค์ทำไมบัญญัติคำว่า "รูปกาย"กับ"นามกาย"


เอามาให้แล้วครับ จากพระไตรปิฏก ครับ

[๘๔๔] บรรดาธรรมเหล่านั้น นามธรรม เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ และอสังขตธาตุ นี้เรียกว่า
นามธรรม.
รูปธรรม เป็นไฉน?
มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นั้น นี้เรียกว่า รูปธรรม.

[๔๐๓] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้าอย่างไร ฯ
กาย ในคำว่า กาโย มี ๒ คือ นามกาย ๑ รูปกาย ๑ นามกายเป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นนามด้วย เป็นนาม
กายด้วย และท่านกล่าวจิตสังขารว่า นี้เป็นนามกาย
รูปกายเป็นไฉน
มหาภูตรูป ๔ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ลมอัสสาสะปัสสาสะ นิมิตร และท่านกล่าวว่ากายสังขารที่เนื่องกัน นี้เป็นรูปกาย ฯ

ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามกายก็ดี รูปกายก็ดี ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศเมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อ ก็ดี การสัมผัสโดยการกระทบ
ก็ดี จะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามรูปต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ
เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี ผัสสะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
:b8:

อันนี้ความเห็น
อาการ เพศ นิมิต อุเทศ มันก็คือ ส่วนที่เรียกว่า สันตติ ระหว่างรูปและนาม
ส่วนรูปขันธ์และนามขันธ์ เป็น ฆนะ กันอยู่

และปฏิกิริยา หรือสันตติ ระหว่างรูปและนาม จึงใช้คำว่ารูปกาย และนามกาย เช่น เสวยสุขด้วย
นามกาย ไม่ใช่เสวยสุขด้วยนามขันธ์ หรือกล่าวอีกในคือ รูปกายและนามกาย คือรูปขันธ์และนามขันธ์ ที่กำลังเกิด สันตติ กันอยู่

ดังเช่น คำว่าไฟ และเปลวไฟ พูดถึงไฟ ก็คือรูปขันธ์ พูดถึงเปลวไฟ ก็คือ รูปกาย

ใช่หรือมั้ย ก็แล้วแต่จะพิจารณา นะครับ

หากยึดมั่นก็โง่อีกแล้ว :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2012, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
งั้น พุจนานุกรม พุทธศาสนา แปลว่าอย่างนี้ก็คงจะผิดเนาะ
นามกาย กองแห่งนามธรรม หมายถึงเจตสิกทั้งหลาย - ประยุทธ ปยุตโต

โฮฮับ เขียน:
ถ้าคุณบอกแบบนี้ผมถามหน่อย เจตสิกเป็นนามธรรมอย่างเดียวหรือ
แล้วจิตล่ะเป็นอะไร จิตไม่ใช่นามธรรมหรือ แล้วนิพพานอีกล่ะ

ฝึกจิต เขียน:
ไม่เกิน คาด แถๆๆ ถลอกปอกเปิก อิอิ :b32:

ฝึกจิตว่าอย่างนั้นหรือจ๊ะ ฮา..ฮา..ฮา :b32:

ครับ เพราะท่านว่า ขันธ์ห้าทั้งหมดรวมเรียกว่า.....นามกาย
:b29:

เหรอ! ถ้างั้นคุณฝึกจิต คุณดูบัญญัติสี่ตัวนี้แล้วค่อยตอบผม
*รูปกาย
*นามกาย
*รูปธรรม
*นามธรรม
ผมถามคุณครับ "รูปขันธ์ " มันเป็นอะไรในสี่ตัวนี้ :b13:
ถ้าจะให้ดีอ่านพระสูตรตามไปด้วยว่า พระพุทธองค์ทำไมบัญญัติคำว่า "รูปกาย"กับ"นามกาย"

เอามาให้แล้วครับ จากพระไตรปิฏก ครับ
.[๘๔๔] บรรดาธรรมเหล่านั้น นามธรรม เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ และอสังขตธาตุ นี้เรียกว่า
นามธรรม.


ไหนตอนแรกบอกว่า กองนามธรรม เป็นเจตสิกอย่างเดียวไง
วิญญาณขันธ์กับอสังขตธาตุ เป็นเจตสิกด้วยหรือ
นี่แหล่ะคือผลของ การศึกษาพระธรรมด้วยการท่องคำศัพท์ :b32:

ฝึกจิต เขียน:
บุคคลย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้าอย่างไร ฯ
กาย ในคำว่า กาโย มี ๒ คือ นามกาย ๑ รูปกาย ๑ นามกายเป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นนามด้วย เป็นนามกายด้วย และท่านกล่าวจิตสังขารว่า นี้เป็นนามกาย

รูปกายเป็นไฉน
มหาภูตรูป ๔ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ลมอัสสาสะปัสสาสะ นิมิตร และท่านกล่าวว่ากายสังขารที่เนื่องกัน นี้เป็นรูปกาย ฯ


แล้วไหนล่ะ...รูปขันธ์ ประเด็นมันอยู่ที่รูปขันธ์
ฝีกจิตถามหน่อยคุณรู้เรื่องมั้ยเนี่ย ชอบโพสพระไตรปิฏกซี่ซั่ว จะอ้างพระไตรปิฏก
มันต้องเข้าใจพระไตรปิฏกนั้นเสียก่อน เพราะการอ้างพระไตรปิฏกมันจะต้อง
อธิบายความในพระไตรปิฏกประกอบด้วย
เอาผมถามอีกที่ว่า...รูปขันธ์มันหายไปไหน ไม่เห็นอธิบายเลย

แนะนำนะครับ ที่คุณบอกผัสสะเป็นนามกาย ใช่ครับ แต่คุณเข้าใจหรือเปล่าว่า..
อะไรคือผัสสะ คุณลองไปตั้งสติดีๆแล้วจะเข้าใจความหมายครับ

แล้วอีกเรื่อง มหาภูติรูปสี่ ถ้าเราเอาธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ มาผสมกันเฉยๆ มันจะรูปกายมั้ยครับ
ถ้าธาตุสี่มากองรวมกันเฉยๆเรียกว่า ...รูปธรรม

แต่ถ้าธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาประชุมกัน ในลักษณะ รูปธรรม+นามธรรมหรือ กาย+จิต
นั้นแหล่ะจึงจะเรียกมหาภูติรูปสี่

รูป+นามหรือกาย+จิตนี่น่ะ มันจะมีตัวสังขาร(การปรุงแต่งอยู่)
ตัวที่เกิดจากการปรุงแต่งนี่แหล่ะเขาเรียก รูปขันธ์
รูปขันธ์เป็นสังขาร เพราะมันเกิดจากการปรุงแต่ง
ผมถามคุณครับว่า...
สังขารมันเป็น รูปธรรมหรือนามธรรมครับ


ฝึกจิต เขียน:
อันนี้ความเห็น
อาการ เพศ นิมิต อุเทศ มันก็คือ ส่วนที่เรียกว่า สันตติ ระหว่างรูปและนาม
ส่วนรูปขันธ์และนามขันธ์ เป็น ฆนะ กันอยู่


เละแล้วครับฝึกจิต เป็นคนไปหยิบเอาบัญญัติมาเอง แล้วก็งงซะเอง
อาการ เพศ นิมิต อุเทศ มันเป็นกระบวนการของรูปกาย

รูปกายมี อาการ เพศ นิมิต อุเทศ จนมาเป็น นามกายขึ้น
ในกระบวนการนั้นจะเกิดสันตติอยู่ตลอดเวลา เริ่มตั้งแต่รูปกาย
รูปกายที่ว่าก็คือ อายตนะภายในทั้งหก

แล้วที่อธิบายเรื่อง สันตติกับฆนะมันใช่อย่างที่คุณว่าซะที่ไหน

สันตติคือการเกิดดับอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง
ส่วนฆนะคือ เป็นก้อน เป็นแท่ง

อธิบายให้ฟัง จากรูปกายมาเป็นนามกายหรือขันธ์ห้า มันจะเป็นลักษณะของ...
สันตติฆนะ ความหมายก็คือ มันเกิดดับอย่างรวดเร็วจนเราเข้าใจว่า ไม่มีอะไรเกิดดับ

อย่างเช่นเรื่องรูปขันธ์ก็เช่นกัน กายในส่วนที่เรียกว่า ใจ(หทัยวัตถุ)ไปกระทบกับธัมมารมณ์
จนเกิดกระบวนการขันธ์ห้าขึ้น เราไม่เห็นการเกิดดับของผัสสะ ตลอดจนกระบวนการขันธ์
เพราะสันตติฆนะ เราจึงคิดว่า นามหรือขันธ์ห้า เป็นหนื่งเดียวกับรูป(กาย)
ลักษณะนี้เขาเรียกว่า......รูปขันธ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2012, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กทม. วัดมหาธาตุฯ วัดโพธิ์ วัดระฆัง เขาเปิดสอนอภิธรรม ใครอยู่ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น ไปเรียนเสียให้เป็นเรื่องเป็นราวเถอะ จะได้เข้าใจ ดีกว่ามานั่งเดา มิจฉาทิฐิกินสมองเปล่าๆ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2012, 14:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านโฮ ไม่ลองอ่านมาตั้งแต่ต้นละครับ --ทั้งหมดทั้งสิ้นความคิดเห็นของกระผมมีแค่
อันนี้ความเห็น
อาการ เพศ นิมิต อุเทศ มันก็คือ ส่วนที่เรียกว่า สันตติ ระหว่างรูปและนาม
ส่วนรูปขันธ์และนามขันธ์ เป็น ฆนะ กันอยู่

และปฏิกิริยา หรือสันตติ ระหว่างรูปและนาม จึงใช้คำว่ารูปกาย และนามกาย เช่น เสวยสุขด้วย
นามกาย ไม่ใช่เสวยสุขด้วยนามขันธ์ หรือกล่าวอีกในคือ รูปกายและนามกาย คือรูปขันธ์และนามขันธ์ ที่กำลังเกิด สันตติ กันอยู่

ดังเช่น คำว่าไฟ และเปลวไฟ พูดถึงไฟ ก็คือรูปขันธ์ พูดถึงเปลวไฟ ก็คือ รูปกาย

ใช่หรือมั้ย ก็แล้วแต่จะพิจารณา นะครับ


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2012, 14:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กทม. วัดมหาธาตุฯ วัดโพธิ์ วัดระฆัง เขาเปิดสอนอภิธรรม ใครอยู่ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น ไปเรียนเสียให้เป็นเรื่องเป็นราวเถอะ จะได้เข้าใจ ดีกว่ามานั่งเดา มิจฉาทิฐิกินสมองเปล่าๆ :b1:



มันเป็นส่วนที่จะทำให้เข้าใจเรื่องหรือกระบวนการ ดับผัสสะ ครับ ซึ่งไอ้ที่ถาม มันเป็นส่วน ของกระบวนการ นมสิการ ซึ่งประกอบด้วย วิตก วิจารณ์ หรือ จิต อุเทศ แล้ว นิมิต แล้ว เพศ แล้ว อาการ

จะได้เข้าใจที่พุทธองค์กล่าวว่า ดับ อาตยนะ อ่ะครับ
ครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2012, 16:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กทม. วัดมหาธาตุฯ วัดโพธิ์ วัดระฆัง เขาเปิดสอนอภิธรรม ใครอยู่ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น ไปเรียนเสียให้เป็นเรื่องเป็นราวเถอะ จะได้เข้าใจ ดีกว่ามานั่งเดา มิจฉาทิฐิกินสมองเปล่าๆ :b1:



มันเป็นส่วนที่จะทำให้เข้าใจเรื่องหรือกระบวนการ ดับผัสสะ ครับ ซึ่งไอ้ที่ถาม มันเป็นส่วน ของกระบวนการ นมสิการ ซึ่งประกอบด้วย วิตก วิจารณ์ หรือ จิต อุเทศ แล้ว นิมิต แล้ว เพศ แล้ว อาการ

จะได้เข้าใจที่พุทธองค์กล่าวว่า ดับ อาตยนะ อ่ะครับ
ครับ :b8:


คุณฝึกจิตจะดับผัสสะ ดับ อายตนะ คุณรู้จักผัสสะ รู้จักอาตยนะแล้วหรือครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2012, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามความเข้าใจของคุนน้องผัสสะมันดับไม่ได้นะเจ้าค่ะ ผัสสะคืออะไรสิ่งที่เข้ามากระทบ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ใช่หรือ เราไม่สามารถดับผัสสะได้นะเจ้าค่ะ เราสามารถทำได้เพียง ตัดกระแสวงจรสายเกิดของ ปฏิจสุปปบาทไม่ให้เกิดเป็นเวทนา ตามด้วยตัณหา จนเกิดอุปทานขึ้น ซึ่งถ้าเราจะไปตัดวงจรปฏิจฯตอนที่ตัณหาเกิดนั้น จิตปุถุชนย่อมทำได้ยากถ้าไม่ได้ฝึกสติมา เราต้องฝึกลงสนามจริงเราจะได้รู้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2012, 02:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
ท่านโฮ ไม่ลองอ่านมาตั้งแต่ต้นละครับ --ทั้งหมดทั้งสิ้นความคิดเห็นของกระผมมีแค่
:

คุณฝึกจิตครับ ผมอ่านความเห็นตั้งแต่ต้น อ่านทุกๆความเห็นในกระทู้นี้
เพราะผมอ่านทุกความเห็น ผมจึงรู้จักแยกประเด็นของทุกคนที่แสดงความเห็น
ผมเป็นแบบนี้ แต่ไม่รู้คุณฝึกจิตเป็นเหมือนผมหรือเปล่า

คุณลองตั้งสติให้ดีนะครับ แล้วมาพิจารณาความเห็นระหว่างคุณกับผม

ผมบอกคุณว่า...."ขันธ์ห้าเป็นนามกาย"
คุณแย้งว่า....รูปขันธ์ไม่ใช่นามกาย แถมยังว่าผมแถ
ผมก็เลยถามคุณว่า รูปขันธ์มันเป็นอะไรระหว่าง *นามกาย *รูปกาย*นามธรรม*รูปธรรม

คำตอบของคุณคือคุณไปเอาพระไตรปิฎกมาอ้าง ทั้งๆที่ไม่มีเนื้อหาที่ผมถามคุณไปเรื่องรูปขันธ์
จนผมอดรนทนไม่ได้ ต้องอธิบายในสิ่งที่ผมถามแทนคุณ
ที่คุณเอาพระไตรปิฎกมาโพส แล้วไม่รู้จักอธิบายความเป็นเพราะ
คุณสนใจแต่คำศัพท์สมมุติบัญญัติ เห็นพระไตรปิฎกบทใน มีคำศัพท์ที่คุณต้องการ
คุณก็รีบเอามาอ้าง ทั้งๆที่บางครั้งมันเป็นคนละเรื่อง


เรื่องอาการ เพศ นิมิต อุเทศนี่ก็เช่นกัน การที่พระพุทธองค์ทรงกล่าว
เพื่อจะบอก สภาวะที่เกิดดับตามเหตุปัจจัยในแต่ละขณะ เพื่อที่จะได้รู้ว่า
อะไรเป็นตันเหตุของสิ่งเหล่านั้น

พระพุทธองค์ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคำเหล่านั้น เพราะคำเหล่านั้นเป็นคำที่
พุทธสาวกเข้าใจกันดี เพราะมันเป็นภาษาที่สื่อสารกัน

ถ้าเราเข้าใจอารมณ์ปรมัตถ์แล้ว การพิจารณาธรรมก็ไม่เป็นเรื่องยาก
คำศัพท์หรือสมมุติบัญญัติต่างๆ มันไม่ได้มีความหมาย
เพราะภาษาดั้งเดิมที่พระพุทธองค์ทรงใช้สอนพุทธสาวก เป็นภาษากลางหรือภาษาทิพย์


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 58 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร