วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 06:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 47 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2013, 09:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ผมมีความสงสัยเรื่องวิญญาณขันธ์อยู่ตอนนี้ว่า พอวิญญาณขันธ์เกิดที่ใดที่หนึ่ง หากมีสติก็ชัด หากสติไม่แข็งแรงก็ตามดูยาก พอ ดูอยู่ที่ใดที่หนึ่งนานๆก็เหมือนเจอทางตันเหมือนจิต(คุมสติไม่อยู่)จะเหวี่ยงหรือดีดออกไปเอง


:b1:

:b17: :b17: :b17:

นี่คืออุปนิสัยของนักปฏิบัติที่ขี้สงสัย

เขาจะรู้จักทุกอย่างก่อนที่เขาจะรู้ด้วยซ้ำว่าเขาเจออะไร สิ่งนั้นคืออะไร
สิ่งนั้นเรียกว่าอะไร สิ่งนั้นเป็นอาการของอะไร

เป็นอุปนิสัยเหมือนนักวิทยาศาสตร์ที่เข้าไปค้นคว้าหาความเป็นจริงทางจิต

:b17: :b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2013, 09:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้บริโภค......ก็รอนักประดิษย์คิดค้นนี้แหละ....

:b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2013, 10:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ผมมีความสงสัยเรื่องวิญญาณขันธ์อยู่ตอนนี้ว่า พอวิญญาณขันธ์เกิดที่ใดที่หนึ่ง หากมีสติก็ชัด หากสติไม่แข็งแรงก็ตามดูยาก พอ ดูอยู่ที่ใดที่หนึ่งนานๆก็เหมือนเจอทางตันเหมือนจิต(คุมสติไม่อยู่)จะเหวี่ยงหรือดีดออกไปเอง

สติมีสองอย่าง อย่างหนึ่งเกิดจากการกำหนดรู้ เพื่อไม่ให้เกิดอาการปรุงแต่ง ทางกายและวาจา
แบบนี้เรียกว่า............สติรู้ทันอารมณ์

สติอีกอย่าง เป็นสติของพระอริยบุคคล เป็นการกำหนดรู้เช่นกัน แต่เป็นการกำหนดรู้ปัญญา
ปัญญาที่ว่าก็คือ ไตรลักษณ์ ลักษณะของการกำหนดรู้ ต้องเป็นการกำหนดรู้เพี่อพิจารณาธรรม
หมายความว่า ตัองหมั่นใช้สติระลึกรู้ปัญญาสัมมาทิฐิ(ไตรลักษณ์) นำหน้าเพื่อทำการพิจารณาธรรมที่เกิดขึ้นที่กายใจตนเอง
แบบนี้เรียกการทำวิปัสนากรรมฐาน ใช้สำหรับดับกิเลส สังโยชน์


คุณนักศึกษาครับ เป็นเพราะคุณไม่หมั่นเจริญสติ ในชีวิตประจำวัน
มัวแต่คิดว่า ปัญญามัันจะเกิดจากการนั่งดูขันธ์ห้า คุณคิดว่าจะเห็นการเกิดดับของขันธ์
คุณไม่มีทางเห็นหรอกครับ คุณกำลังหลงครับ

ต่อให้พระอรหันต์ก็ไม่เห็นการเกิดดับของขันธ์ห้า เรื่องขันธ์ห้าเป็นสมมุติบัญญัติ
ท่านสมมุติขึ้น เพื่ออธิบายเพื่อสนับสนุนสภาวะหรืออารมณ์ ให้เข้าใจคุณสมบัติของมันครับ
และที่สำคัญผู้ที่จะเข้าใจเรื่องนี้ได้ จะต้องเห็นสภาวะไตรลักษณ์มาแล้วครับ
การเห็นไตรลักษณ์ก็คือ การมองเห็นสภาวะธรรมตามความเป็นจริง

การไปตั้งหน้าตั้งตามองหาขันธ์ห้า มันไม่มีอยู่จริง มันเป็นบัญญัติ
ที่เขาเอามาเปรียบเทียบสภาวะธรรม จุดประสงค์ก็คือ เพื่อให้ผู้ที่เห็นไตรลักษณ์แล้ว
สามารถเอาไปปฏิบัติเพื่อธรรมที่สูงขึ้นไปอีกครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2013, 12:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ผู้บริโภค......ก็รอนักประดิษย์คิดค้นนี้แหละ....

:b12: :b12:


:b1:

แล้วรู้ป่าวว่าคุณ Student กำลังเห็นอะไร
และจะนำไปสู่อะไร

:b17: :b17:

ลองไกด์ไลน์สักหน่อยสิ่ อ๊บบบซ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2013, 12:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตคุมสติไม่อยู่ หรือ สติคุมจิตไม่อยู่

ยังไงกันแน่นะ

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2013, 12:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
ผู้บริโภค......ก็รอนักประดิษย์คิดค้นนี้แหละ....

:b12: :b12:


:b1:

แล้วรู้ป่าวว่าคุณ Student กำลังเห็นอะไร
และจะนำไปสู่อะไร

:b17: :b17:

ลองไกด์ไลน์สักหน่อยสิ่ อ๊บบบซ์


ม่ายรู้คับ....
รู้แต่ว่ากำลังเป็นนักเรียน...
:b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2013, 13:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ผมมีความสงสัยเรื่องวิญญาณขันธ์อยู่ตอนนี้ว่า พอวิญญาณขันธ์เกิดที่ใดที่หนึ่ง หากมีสติก็ชัด หากสติไม่แข็งแรงก็ตามดูยาก พอ ดูอยู่ที่ใดที่หนึ่งนานๆก็เหมือนเจอทางตันเหมือนจิต(คุมสติไม่อยู่)จะเหวี่ยงหรือดีดออกไปเอง


จิตมันไม่นิ่งเป็นธรรมดา ความรู้สึกย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ดูการเปลี่ยนแปลงนั้นตามที่มันเป็นจริง

สติตั้งมั่นเป็นผู้ดูที่ดี เมื่อว่างเว้นจากการดูก็กำหนดรู้อิริยาบถกาย เพื่อฝึกกำลังสติ :b11:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2013, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"สติ" เกิดขึ้นได้ด้วยเหตุ 16 ประการ
สติ อันเป็นยอดแห่งธรรมทั้งหลาย

สติเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุ 16 ประการ โดย.พระนาคเสน

1.สติเกิดจากตัวผู้รู้ เช่น การระลึกชาติ

2.สติเกิดจากมีการกระตุ้นเตือน เช่น ผู้หลงลืมมีผู้อื่นเตือนก็ระลึกได้

3.สติเกิดจากอาศัยนิมิตที่สำคัญ เช่น ประสบเหตุอันยิ่งใหญ่ในชีวิต

4.สติเกิดจากประทับใจในสุข

5.สติเกิดจากประทับใจในทุกข์

6.สติเกิดจากการใด้เห็นสิ่งคล้ายกัน เช่นเห็นประกายแก้วแพรวพราวก็ระลึกถึงองค์พระ

7.สติเกิดจากการใด้เห็นสิ่งแตกต่างกัน เช่น เห็นสีแดงตัดกับสีดำ

8.สติเกิดจากคำตักเตือน การรู้ สำผัส เห็นได้ยิน ซ้ำ ๆ

9.สติเกิดจากเครื่องเตือน หรือ เห็นซ้ำ ๆก็จำได้

10.สติเกิดจากการสังเกตของตนเอง

11.สติเกิดจากการท่อง คำนวน การนับ

12.สติเกิดจากวินัยหรือหลักวิชา เช่น รู้ศีล 5 เห็นคนตบยุงก็เกิดสติจำได้

13.สติเกิดจากการพัฒนาจิตตามหลักภาวนา เช่นกรรมฐาน 40 กอง

14.สติเกิดจากการอ้างตำรา เช่น เปิดตำราก็จำได้ว่าเคยได้อ่าน

15.สติเกิดโยงใยเหตุการณ์ ก็เป็นเหตุให้เกิดสติ

16.สติเกิดจากความทรงจำ เช่น เห็นบุคลก็จำได้

สติ 4 ขั้น
1.จูฬสติ สติเบื่องต้นตามธรรมชาติ มีในคนและสัตว์
2.อนุสติ (สติเกิดบ่อยๆจึงมีชื่อว่าอนุสติ)สติขั้นการเจริญสติ เช่น อนุสติ 10 อสุภะ 10 กสิน 10 อรูปฌาณ 4
3.มัชฌิมสติ สติขั้นกลางคือการพัฒนาสติ
4.มหาสติ สติระดับมรรค-ผล ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป
สติ2ระดับ
1.สติระดับสัญชาติญาณ สามารถควบคุมการกระทำทางกายให้เป็นไปตามอำนาจของตน ซึ่งทุกคนมีตามธรรมชาติมากน้อยต่างกัน
2.สติระดับการฝึกฝนเรียนรู้ เป็นสติของผู้ฝึกสมถะ วิปัสนา แบ่งเป็น สติโลกียะ และสติโลกุตระ
สติจำแนกตามกาล
1.ในอดีต สติ หมายถึง การจำ การระลึกได้
2.ในประจุบัน สติ หมายถึง การรู้ตลอดสายในกายและจิตตามจริงเป็นประจุบัน
3.ในอนาคต สติ หมายถึง เจตนา ตั้งใจ ประสงค์จะกระทำ
สติ ย่อมมีปัญญาประกอบ3ประการ
1.ปัญญาในการเรียนรู้ จากการฟังคิด อ่าน เขียน
2.ปัญญาการไตร่ตรอง หาเหตุผล แก้ปัญหา
3.ปัญญา แห่งสัจจะธรรมของ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา

สติตามคำพระบรมครู
พุทธองค์ทรงตรัสว่า
"สติเป็นสิ่งที่ยืนหยัดตั้งมั่น เพื่อขจัดทุกข์ทั้งมวลที่เวียนว่ายตายเกิดกันอยู่ให้หลุดพ้นออกไป"
พระไตรปิฏก
สติตั่งมั่นในไม่ฟั้นเฟือนในฌาณ1 มีสติสัมปชัญญะในฌาณ2 มีสติตั้งอยู่เป็นสุขในฌาณ3 มีสติบริสุทธิในฌาณ 4 ม.มู 12/47/29
พระธรรมปิฎก
สติ คือ ความระลึกได้ นึกได้ ความไม่เผลอการควบคุมใจไว้กับกิจหรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้องจำการที่ทำคำที่พูดไว้เนิ่นนานได้
สติสัมปชัญญะ รู้ตัวรู้การกระทำในขณะนั้น ๆ ส่งผลให้พฤติกรรมเป็นไปด้วยปัญญา และเหตุผลที่บริสุทธฺ


หลวงปู่มั่น "สติ สำคัญสำหรับทำความเพียรและสติคือความเพียร"

หลวงตามหาบัว "ขาดสติการใดการนั้นเรียกขาดความเพียร"

หลวงพ่อชา สุภัทโธ "การปฏิบัติตนเป็นปรกติตามธรรมชาติมีสติระลึกรู้อยุ่เสมอปัญญาเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติจากการมีสติทุกอิริยาบท"

หลวงพ่อจรัล วัดอัมพวัน "สติมีการทำงานอยู่ 3 ระยะ 1.สติตัวต้นระลึกก่อน 2.สติตัวกลางรู้ตัวกำหนดสติสัมปชัญญะ 3.สติตัวปลายคือปัญญา"

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย "ทำจิตให้มีสิ่งรู้สิ่งระลึก จิตนึกถึงสิ่งใดให้มีสติกำกับเข้าไปเมื่อจิตมีสิ่งรู้สิ่งระลึกเขาจะมีพลังงานเพิ่มขึ้น"

หลวงพ่อเปลี่ยน ปัญญาธีโป "เราฝึกสมาธิไม่ได้ก็คือ สติเรามันอ่อนมันไม่รวดเร็วมันระลึกไม่เร็วรู้ไม่เร็วไม่เท่าทันจิต"

หลวงปู่เทสก์ เทสรังษี "สติคุมจิตให้อยู่ในอำนาจของบริกรรม พุทโธ..สิ่งไม่ถูกกำหนดหายไปสิ้น ตั้งสติให้แน่วแน่ในอารมณ์เดียวจนจิตรวมเป็นหนึ่ง"

หลวงพ่อลี วัดอโสการาม "รอบคอบด้วยสติ มั่นคงด้วยสมาธิเกิดปัญญารู้แจ้งถูกผิด"

หลวงปู่ขาว อนาลโย "สติทำอะไรไม่ผิดพลาดกุศลธรรมทั้งหลาย คุณความดีทั้งหลาย เกิดขึ้นได้เพราะบุคคลมีสติอย่างเดียว"

หลวงปู่หลุย "เอาสติรักษาจิตให้มั่นจะเกิดอัศจรรย์ในจิต สิ่งที่ไม่รู้ก็รู้ขึ้นมา"

หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ "สติ มาจากรากศัพย์บาลี แปลว่า แล่น ๆขนส่งความรู้ความจำ"

หลวงพ่อพระราชพรหมญาณ "ขอเพียงให้ กำหนดรู้ลมเข้า กับรู้ลมออก คือ เอาสติเข้าไปคุมไว้ คำว่าสติเป็นภาษาบาลี ถ้าฟังแล้วรู้สึกอึดอัด เราก็จะใช้ว่ารู้ ๆ แค่นี้ จะสบายกว่า ตัวรู้นี่ก็คือตัวสติพระพุทธเจ้าทรงให้ฝึกเฉพาะสติก่อนเท่านั้น ยังไม่เข้าถึงสัมปชัญญะ ซึ่งก็อยู่ในกายานุปัสสนามหาสติปัฏฐานเหมือนกัน แต่ให้ทำตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนก็แล้วกัน

สายาดอ อูบัณฑิต "สติ หมายถึง พลังแห่งการเฝ้าสังเกต"
http://board.palungjit.com/f10/%E0%B8%A ... 27503.html
rolleyes


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2013, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา ก็รวมอยู่ที่ธรรมชาติคือชีวิต หรือกายใจ หรือนามรูปนี่ก็จริง แต่มิใช่จะเห็นมันง่ายๆ เพราะมีสิ่งปิดบังซ่อนคลุมไว้ โดยเฉพาะความเป็นอนัตตาเห็นยากกว่าอนิจจตา กับทุกขตา :b1:


http://youtu.be/wbtUhEjpwQ8?t=2s


คลิปไม่ขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2013, 16:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะจิต เขียน:
s002 ขออนุญาต รีเทิร์นกระทู้เกี่ยวกับอนัตตาอีกสักครั้ง เพื่อเป็นการใคร่ครวญธรรม

เพื่อความเจริญแห่งสติปัญญา ยิ่งขึ้นไป(พอดีหายไปไม่ทันตั้งตัว จขกท. ก็ไม่ทราบสาเหตุ)

ว่าอนัตตาเป็นอย่างไร ทำไมทำให้ถึงความสิ้นทุกข์ และจะถึงได้อย่างไร


ตามที่ค้างไว้ขอทราบอนัตตา ตามความเห็นของท่านกบ :b20: และทุกๆท่านต่อไป :b9:

ขณะจิต...
อนัตตา เป็น ความจริงของลักษณะของธรรมทั้งหลาย
ดังนั้น อนัตตาไม่ถูกเกี่ยวข้องด้วยเหตุปัจจัย
จึงไม่อาจปฏิบัติเพื่อให้บรรลุอนัตตาได้

ทุกข์ มีเพราะชาติเป็นปัจจัย
ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย
ภพมีเพราะ อุปาทานเป็นปัจจัย
อุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น....
ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 คืออุปาทานขันธ์
อุปาทานขันธ์ คือสิ่งที่เรียกว่า อัตตา

อัตตา เพราะความยึดถือสิ่งต่างๆ ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
อัตตาจึงเป็นนับในสังขารขันธ์

การละอัตตา จึงละได้โดย การเจริญมรรคภาวนา

คือเริ่มตั้งแต่ ระดับโลกียะ คือทาน ศีล ภาวนา ไปจนถึงระดับโลกุตตร คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
ซึ่ง
การเจริญมรรคภาวนา โดยใช้อนัตตสัญญา คืออาศัยความรู้ ในความจริงของลักษณะแห่งธรรมนั้นเป็นเครื่องช่วยพิจารณา เพื่อเกิดความละวาง สละคืน ความยึดมั่นถือมั่น
อัตตาก็จะถูกละวาง ดับได้ถึงที่สุดก็โดย อรหัตมรรค ปหานกิเลสทั้งมวลจนหมดสิ้น บรรลุอรหัตผลในที่สุด

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2013, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


มาตอบเยอะแยะเลย ขอบคุณครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2013, 19:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
จิตคุมสติไม่อยู่ หรือ สติคุมจิตไม่อยู่

ยังไงกันแน่นะ

:b1:

ไม่แน่ใจครับ ผมว่าอาจจะเกี่ยวกับพักผ่อนน้อยช่วงนี้ เพราะเดินทางไกล

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2013, 06:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะจิต เขียน:
student เขียน:
ผมมีความสงสัยเรื่องวิญญาณขันธ์อยู่ตอนนี้ว่า พอวิญญาณขันธ์เกิดที่ใดที่หนึ่ง หากมีสติก็ชัด หากสติไม่แข็งแรงก็ตามดูยาก พอ ดูอยู่ที่ใดที่หนึ่งนานๆก็เหมือนเจอทางตันเหมือนจิต(คุมสติไม่อยู่)จะเหวี่ยงหรือดีดออกไปเอง


จิตมันไม่นิ่งเป็นธรรมดา ความรู้สึกย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ดูการเปลี่ยนแปลงนั้นตามที่มันเป็นจริง

สติตั้งมั่นเป็นผู้ดูที่ดี เมื่อว่างเว้นจากการดูก็กำหนดรู้อิริยาบถกาย เพื่อฝึกกำลังสติ :b11:


ลองมาทบทวนอีกครั้ง (นั่งสมาธิก่อนนอน)เพราะว่าส่วนตัวพยายามคุมจุดสังเกตุเอาไว้จึงเป็นการสร้างภาพต่อจากความเป็นจริง หมายถึงเพราะความเป็นจริงนั้นคือทุกข์ แต่พยายามสร้างทุกข์ให้เป็นนิ้วมือบ้าง แขนบ้าง ด้วย สัญญาขันธ์บ้าง เวทนาขันธ์บ้าง ทกข์เลยกลายเป็นตัวเรา ทั้งๆที่ตัวเราไม่มี แต่การประชุมกันของธาตุ4จึงเป็นขันธ์5(สังขารที่มีใจครอง)

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2013, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย "ทำจิตให้มีสิ่งรู้สิ่งระลึก จิตนึกถึงสิ่งใดให้มีสติกำกับเข้าไปเมื่อจิตมีสิ่งรู้สิ่งระลึกเขาจะมีพลังงานเพิ่มขึ้น


อนุโมทนาครับ ไขปัญหากับผมว่า สติก็คือสติ จิตก็คือจิต

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2013, 06:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


ทิ้งขันต์3ขันต์สัญญา สังขาร เวทนา วิญญาณรู้อยู่กับลมหายใจตลอดซึ่งเ็ป็นกายหนึ่งเมื่อที่สุดแล้ววิญญาณแยกจากลม ลมอัสสาสะ และปัสสาสะจะดับไป เพราะวิญญาณไม่มีที่เกาะในขันต์ ความจริงคือความเป็นอนัตตาซึ่งว่าด้วยความหมายสูญญตาก็จะปรากฎ วิชชาและวิมุติญาณทัศนะก็ปรากฎ ทำให้สัตตานัง(สัตว์ผู้มีอวิชา)คลายการยึดมั่นถือมั่นได้ตามลำดับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 47 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร