วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 01:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2013, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


[๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิ
ว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการพวกที่มีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง
บางอย่างไม่เที่ยง ... พวกที่มีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ... พวกที่มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว ...
พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ... พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต ... พวกที่มีทิฏฐิว่า
อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ... พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มี
สัญญา ... พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ...
พวกที่มีทิฏฐิว่าขาดสูญ ... พวกที่มีทิฏฐิว่านิพพานในปัจจุบัน ... พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต ...
พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วน
อนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วน
อนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ ๖๒ ประการ

สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวก
ถูกต้องๆ แล้วด้วย
ผัสสายตนะทั้ง ๖ ย่อมเสวยเวทนา เพราะเวทนาของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นปัจจัยจึงเกิด
ตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิด
ภพเพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ
โทมนัส อุปายาส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด
ความดับคุณและโทษ แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากผัสสายตนะเหล่านั้น
เมื่อนั้น ภิกษุนี้ย่อมรู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือ
พราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์
ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์
ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
ถูกทิฏฐิ ๖๒ อย่างเหล่านี้แหละเป็นดุจข่ายปกคลุมไว้ อยู่ในข่ายนี้เอง เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้
ติดอยู่ในข่ายนี้ถูกข่ายปกคลุมไว้ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้



เปรียบเหมือนชาวประมงหรือลูกมือ
ชาวประมงผู้ฉลาด ใช้แหตาถี่ทอดลงยังหนองน้ำอันเล็ก เขาคิดอย่างนี้ว่า บรรดาสัตว์ตัวใหญ่ๆ
ในหนองนี้ทั้งหมด ถูกแหครอบไว้ อยู่ในแห เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ติดอยู่ในแห ถูกแหครอบไว้
เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย. สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้น
ที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
ก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ถูกทิฏฐิ ๖๒ เหล่านี้แหละเป็น
ดุจข่ายปกคลุมไว้ อยู่ในข่ายนี้เอง เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ ติดอยู่ในข่ายนี้ ถูกข่ายปกคลุมไว้
เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้.
---------------------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
๑. พรหมชาลสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=09&A=0&Z=1071


.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2013, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การจะกล่าวถึงทิฐิเราต้องยึดตามหลักของ.....มหาจัตตารีสักสูตร
พระพุทธองค์ทรงกล่าวแบ่ง ทิฐิของเป็นสามสถานะ

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ถ้าเราเอาพระธรรมหรือพุทธพจน์เป็นสรณะแล้ว
เราต้องเอาพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวมาเป็นหลักในการปฏิบัติ

ดังนั้นการปฏิบัติเราไม่ควรไปสนใจในสิ่งที่ไม่ใช่มรรค หรือหนทางแห่งปัญญาทางพ้นทุกข์
การปฏิบัติหรือสนใจแต่มรรคที่พระพุทธองค์ทรงสอน จะนำทางให้เรารู้เองว่า อย่างในถูก
อย่างไหนผิด

ทิฐิเบื้องต้นที่พระพุทธองค์ทรงสอนนั้นก็คือ ......ทิฐิของปุถุชนมี
มิจฉาและสัมมาทิฐิ สัมมาทิฐิที่ว่าก็คือ สัมมาทิฐิเป็นสาสวะ
ดังนั้นการเป็นมิจฉาทิฐิ นั้นก็คือ การมีความเห็นที่แตกต่างจาก สัมมาทิฐิที่เป็นสาสวะ

สรุปก็คือการเป็นมิจฉาหรือสัมมาทิฐิ จะต้องเทียบกันระหว่าง
มิจฉาทิฐิกับสัมมาทิฐิที่เป็นสาสวะ

ไม่ใช่เอามิจฉาทิฐิหรือเอาคำสอนของศาสนาอื่น มาเปรียบเทียบกับ...สัมมาทิฐิที่เป็นอนาสวะ


สัมมาทิฐิที่เป็นสาสวะเป็นหลักการปฏิเบื้องต้น หรือเป็นมรรคของสัมมาทิฐิที่เป็นอนาสวะ
ดังนั้นถ้าผู้ใดปฏิบัติตามพระพุทธองค์ในเรื่อง สัมมาทิฐิที่เป็นสาสวะบุคคลนั้นย่อมเป็นผู้มีสัมมาทิฐิ

ผู้มีมิจฉาทิฐิหรือคนที่อยู่นอกศาสนาพุทธ จะมีสัมมาทิฐิที่เป็นอนาสวะได้
จะต้องทำความเห็นหรือทิฐิของตนให้เป็นสัมมาทิฐิที่เป็นสาสวะเสียก่อน
เพราะสัมมาทิฐิสาสวะเป็นมรรคของสัมมาทิฐิอนาสวะ


มีผู้อาวุโสบางท่าน เอาพระสูตรที่เกี่ยวกับทิฐิของพราหมฌ์มาเปรียบกับทิฐิที่พระพุทธองค์ทรงสอน
แล้วสรุปเอาเองว่า ทิฐิที่พระพุทธองค์ทรงสอนเป็นมิจฉาทิฐิแบบเดียวกับทิฐิของพราหมณ์
ผมขอบอกว่า....มันไม่ใช่ครับมันคนล่ะเรื่อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2013, 11:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเอาอุจเฉททิฐิ มาเปรียบเทียบกับสัสสตทิฐิแล้วบอกว่า ทั้งคู่เป็น มิจฉาทิฐิ
แบบนี้ผมไม่เห็นด้วยครับ อุจเฉททิฐิ มีความหมายว่าตายแล้วสูญ อันนี้เห็นด้วย
ที่ว่าเป็นมิจฉาทิฐิ เพราะพระพุทธองค์ได้กล่าวไว้ว่า ...การเห็นว่าตายแล้วสูญเป็นมิจฉา

แต่การมาบอกว่าเรี่องสัสสตทิฐิ เป็นมิจฉาทิฐิแบบนื้ไม่เห็นด้วยครับ
พระพุทธองค์ทรงกล่าวเรี่องสัสสทิฐิว่า เป็นเรื่องของกิเลส ซึ่งปุถุชนที่ยังไม่เกิดปัญญา
ย่อมต้องมีทิฐิที่ว่า นั้นหมายความว่า...ผู้มีสัมมาทิฐิที่เป็นสาสวะ ย่อมต้องมีกิเลสตัวที่ว่า
การทำให้กิเลสตัวนี้หมดไปก็ด้วยการปฏิบัติ

ดังนั้นสัสสตทิฐิคือกิเลส ที่มาบดบังการเกิดปัญญาของผู้มี สัมมาทิฐิสาสวะ
การทำให้เกิดสัมมาทิฐิให้เป็นปัญญาหรือสัมมาทิฐิอนาสวะ ก็คือดับกิเลสตัวนั้นเสีย

สัสสตทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยความเห็นว่าโลกเที่ยง
[๔๓๓] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะถือมั่น
อะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิขึ้น
อย่างนี้ว่า โลกเที่ยง. เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่
เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง.
[๔๓๔] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง บ้างไหม?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง บ้างไหม?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
พ. สิ่งใดที่ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ได้ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว ค้นคว้าแล้ว
ด้วยใจ แม้สิ่งนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง บ้างไหม?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ เหล่านี้ ชื่อว่า
เป็นอันละความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ในทุกขสมุทัย แม้ในทุกขนิโรธ แม้ในทุกขนิโรธคามินี-
*ปฏิปทา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น อริยสาวกผู้นี้ เราเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่
ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 7&item=433


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2018, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขอบคุณทุกความเห็นครับ :b8:
เราคงพอจะกล่าวได้ว่าถ้าหากว่ายังมีเหตุปัจจัย คือกิเลสและกรรมอยู่
สัตว์ตายแล้วจะไม่ขาดสูญ จะต้องมีอีก คือต้องเกิดอีก
ถ้าหากว่าได้เจริญภาวนาจนสามารถทำเหตุปัจจัย
คือกิเลสและกรรมให้สิ้นไป ตายแล้วก็ไม่มีอีก ไม่เกิดอีก

เราคงพอจะสรุปความเป็นหลักการเกี่ยวกับความเห็นผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ
และความถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ เรื่องนี้ได้ดังนี้
- ความเห็นว่าตายแล้วก็ขาดสูญกันไป ไม่มีอีก ไม่เกิดอีก สังสาวัฏฏ์ไม่มี
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประเภทอุจเฉททิฏฐิ
- แม้ความเห็นว่าตายแล้วไม่ขาดสูญ ทว่าจักมีอีก จักเกิดอีก สังสาวัฏฏ์มีอยู่
ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ว่าเป็นอีกประเภทหนึ่ง คือ สัสสตทิฏฐิ
- ส่วนความเห็นว่า ถ้ามีเหตุมีปัจจัยคือกิเลสและกรรมอยู่ ตายแล้วก็จะมีอีก จะเกิดอีก
แต่ถ้าไม่มีปัจจัย ตายแล้วก็จะไม่มีอีกไม่เกิดอีก เป็นสัมมาทิฏฐิ
ผู้ที่มีกิเลสย่อมปฏิสนธิอีก ผู้ไม่มีกิเลสย่อมไม่ปฏิสนธิ ดังนี้ แล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร