วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 21:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2013, 10:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
asoka เขียน:
ถ้าผู้ฝึกอบรมได้เจริญสติและปัญญามาอย่างถูกต้อง ตามวิธีมาตรฐาน เมื่อขึ้นวั้นที่ 4 สติ ปัญญา สมาธิ จะมีกำลังมากขึ้น จนสามารถ แยกรูป แยกนาม ออกจากกันได้เป็น สองส่วน แต่จะเห็นหรือรู้เวทนาที่ที่รูป หรือ กาย ค่อนข้างมากกว่าเวทนาที่จิตแล้วจะพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆทุกำวันๆ จนรู้เวทนาที่จิตชัดกว่าเวทนาที่กาย

เป็นเพราะจขกทยังขาดความเข้าใจ เลยบอกว่า รู้เวทนาที่รูป
สิ่งที่เกิดขึ้นที่รูปไม่ใช่เวทนา เขาเรียกผัสสะ

เวทนามันเกิดที่จิตมันเป็นนาม การที่จขกทเข้าใจไปว่าเวทนาเกิดที่รูปเป็นเพราะ
รูปกับนามไม่ได้แยกจากกัน ทำให้หลงไปว่า ผัสสะเป็นเวทนา

นี่ขนาดอธิบายเรื่องหรือวิธีปฏิบัติ ยังไม่เข้าใจยังผิดพลาด
ถ้าลงมือปฏิบัติมิไปกันใหญ่หรือ


อโศกะ........
Onion_L
เฉพาะท่อนนี้ ก็แสดงให้เห็นว่าคุณโฮฮับ ไม่ได้ผ่านการปฏิบัติจริงมา จึงวิจารณ์ผิดพลาด

ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา ใช่ไหม?

เวทนาที่เกิดกับกาย ท่านเรียกว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา เวทนาที่เกิดกับจิต ท่านเรียกว่า โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา อทุกขมสุขเวทนา

โดยธรรมนั้น ความรู้เวทนานั้นรู้ที่จิต แต่ผู้ปฏิบัติเมื่อเริ่มแรกจิตยังหยาบ สมาธิยังไม่เพียงพอ ความคมของสติปัญญายังไม่มากพอ เาขาจะรับรู้และรู้สึกชัดได้เฉพาะเวทนา หรือความรู้สึกที่ร่างกาย คือจะรู้ เห็น เป็นแข้งเจ็บ ขา เจ็บ ปวดหลัง คันไหล่ ร้อนตัว ฯลฯ เขาจะไมรู้ว่าเป็นเวทนาของจิต เมื่อเจริญภาวนา 3 - 5 วัน ขึ้นไป สมาธิมีกำลังมากขึ้น สติ ปัญญา คมกล้าขึ้น ความสังเกตดีขึ้น เขาจึงจะรู้ว่า เมื่อมีความทุกข์เจ็บปวดที่กาย ผู้ที่เดือดร้อนไม่ใช่กายแต่เป็นจิต หรือ นามธรรมเป็นผู้เดือดร้อนดิ้นรน


asoka เขียน:
งานของผู้เจริญวิปัสสนาภาวนาในช่วง 4 วันหลังนั้น จะเป็นช่วงของการเจริญปัญญา โดยมีสติและสมาธิเป็นกองหนุน ให้เข้าไปค้นคว้าในกายและจิต ไปตามหลักของอริยสัจ 4

ทุกขสภาวะ อันเป็นอริยสัจ ข้อที่ 1 จะชัดเจนมากขึ้น จิต หรือสติ ปัญญาจะไปกำหนดรู้ทุกข์และเห็นความปรวนแปรไปของสภาวทุกข์ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ จากทุกข์ หรือความเจ็บปวดที่กาย จะเป็นเงื่อนไขให้สติและปัญญาสืบค้นเข้าไปได้ ถึงทุกข์ ที่เกิดขึ้นกับจิต

จขกทเข้าใจผิดเรื่อง ทุกข์สภาวะกับทุกข์อริยสัจจ์ข้อที่๑ จขกทเข้าไปว่าเป็นตัวเดียวกัน....ผิด

อ้างคำพูด:
ทุกข์สภาวะอันมีเหตุมาจากความไม่สบายกายไม่สบายใจ มันเป็นสังขารเป็น... ทุกข์สมุทัย

อโศกะ.........
Onion_L
ตรงนี้ก็เช่นกัน คุณโฮฮับ ติดยึดอยู่แต่เรื่องสังขาร จนไม่รู้ว่า สังขารนั่นแหละคือก้อนทุกข์ กองทุกข์ ความเจ็บ ปวด ที่เกิดกับกาย คุณโฮฮับบอกว่าเป็น สังขาร ไม่ใช่ทุกขสัจจะ นี้ก็เป็นความผิดเพี้ยนของความเห็น .....

คุณโฮฮับลองไปถามคนธรรมดาๆ ข้างเคียงตัวคุณโฮฮับดูด้วยคำถามง่ายๆ ว่า ไอ้ที่เรากำลังเจ็บกำลังปวดอยู่ในร่างกายนี้ เป็นความทุกข์ หรือ ความสุข หรือ เป็นสังขาร?

ชาวบ้านธรรมดาๆที่มีจิตใจเป็นปกติสามัญเขาก็จะตอบว่า เจ็บๆปวดๆ นี่เป็น ทุกข์ ไม่ใช่สุข หรือสังขาร อะไรอย่างที่คุณโฮฮับว่าหรอกครับ นั่นมันเป็นความรู้ในตำรา


asoka เขียน:
เมื่อสภาวทุกข์ที่จิตชัดเจนมากขึ้นแล้ว ถ้าผู้ปฏิบัติ มีความสังเกตดี มีสติปัญญาคมกล้ามากเพียงพอ เขาจะได้พบกับ สมุทัย หรือตัวเหตุทุกข์ คือ อัตตา และตัณหาอันเกิดขึ้นจากการตอบโต้ผัสสะ เวทนา ของอัตตา หรือสักกายทิฏฐิ....เมื่อถึงตรงนี้ สติปัญญารู้ชัดถึงตัวเหตุทุกข์ดังที่ว่านี้ สติ ปัญญาาจะคิดค้นหาช่องทางหรือวิธีที่จะ ละ วาง หรือ ทำลายเหตุทุกข์ฟโดยธรรมชาติ จนได้พบวิธีการที่ถูกต้องด้วยตนเองว่า


อ้างคำพูด:
ผมเห็นจขกทพูดถึงสติปัญญาบ่อยๆ สงสัยว่ารู้จักคำว่าปัญญาหรือไม่ ปัญญาไม่ความคิดความจำ
ปัญญาไม่ได้เกิดมาพร้อมกับบุคคล ปัญญาจะมีได้ต้องปฏิบัติให้ได้มา
กรุณาอย่าพูดปัญญาพร่ำเพรื่อ มันจะทำให้คนอื่นสับสนกับคำศัพท์

ประโยคความเห็นของคุณที่ผมเอามาอ้างอิง
ต้องขอโทษที่จะต้องบอกว่า มันไม่ได้มีแก่นสารอะไรเลยครับ
เอาศัพท์คำโน้นมาผสมคำนี้ ดูแล้วมันยุ่งเหยิง สาระของการปฏิบัติไม่รู้มันอยู่ตรงไหน


Onion_L
ตรงนี้อีกก็เช่นกัน คุณโฮฮับ สงสัยว่ารู้จักคำว่าปัญญาหรือไม่

ที่คุณโฮฮับสาธยายต่อมานั้น ก็แสดงว่าคุณโฮฮับ ไม่ได้รู้รายละเอียดเรื่องปัญญา ตามลำดับที่พระบรมศาสดาทรงสอนไว้ แต่ไปมีความเห็นความยึดที่สุดโต่ง แต่เพียงว่า ปัญญาต้องได้มาจากการปฏิบัติเท่านั้น เพราะคิดสุดโต่งจึงขวางโลก


พระบรมศาสดาทรงสอนไว้ว่า ปัญญา มี 3 ระดับ คือ
1.สุตตมยปัญญา
2.จินตมยปัญญา
3.ภาวนามยปัญญา

คุณโฮฮับ ก็ไม่สมควรพูดถึงเรื่องปัญญาแบบมั่วๆและสุดโต่งอย่างที่ทำ เพราะอาจทำให้ผู้ไม่รู้เชื่อตามคุณโฮฮับ หลงผิด หลงทางไปได้

และคุณโฮฮับก็ยังไม่รู้เลยว่า ตอนที่ปัญญามรรค 2 ตัวทำงานไปร่วมกับ สติ นั้นเขาทำงานกันอย่างไร เลยพูดแต่ สติ ๆ ๆ โดยไม่คำนึงถึง ปัญญาอันเป็นหัวใจสำคัญของการค้นพบสมุทัย และทำลายกิเลส ตัณหา อัตตา


asoka เขียน:
สมุทัย เหตุทุกข์ อันได้แก่ อัตตา ตัณหา และกิเลสอันเป็นลูกหลานของอัตตาทั้งหลายนั้นวิธีการที่จะเอาออกมีอยู่วิธีเดียว คือ


อ้างคำพูด:
นี่ก็เหมือนกัน จะพูดธรรมอย่าพยายามเอาคำที่มันไม่เกี่ยวข้องมาใส่
มันจะเพิ่มความหลงความสับสนให้ตัวเอง มิหน่ำซ้ำจะทำให้ผู้รู้ไม่สามารถแนะนำให้ได้
เพราะไม่รู้ว่า คุณติดข้องในเรื่องใด สาเหตุเพราะการพูดที่จับใจความไม่ได้


อโศกะ....

ความท่อนนี้ก็เช่นกัน คุณโฮฮับ ไม่รู้ ไม่เข้าใจขั้นตอนสำคัญของการเอากิเลส ตัณหา อัตตา ออกจากใจ ดังอธิบาย เลยพาลพาโล ชักใบให้เรือเสีย มันจะหลงสับสนได้อย่างไรถ้าตั้งใจอ่านและสังเกตพิจารณาให้ดีมาแต่ต้น เพราะข้อความทั้งหมดได้จัดเรียงไว้ตามลำดับแห่งธรรมแล้ว คุณโฮฮับไม่เข้าใจเอง ลองไปพยายามศึกษา ไตร่ตรองดูใหม่โดยละเอียดถี่ถ้วนนะครับ

Kiss

asoka เขียน:
นิ่งรู้ นิ่งสังเกต ปฏิกิริยาของความดิ้นรนของอัตตา ไปโดยไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้อื่นใด (คือละความยินดียินร้ายที่จะเกิดขึ้น กับ กาย เวทนา จิต ธรรมได้ทั้งหมด)...จนความดิ้นรนนั้นๆ ดับไปต่อหน้าต่อตา ด้วยกฎแห่ง ทุกขัง...อนิจจัง...อนัตตา......ผู้ปฏิบัติทำได้เช่นนี้บ่อยๆกับทุกอารมณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้น ความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู ก็จะถอยไป เบาบางไป จนดับเย็นได้ในที่สุด

นิ่งรู้ นิ่งสังเกตุอัตตา ถามหน่อยคุณรู้แล้วหรือว่าอัตตาเป็นอย่างไร สภาวะอัตตาคุณเข้าถึงแล้วหรือ

อ้างคำพูด:
บอกว่านิ่งรู้ นิ่งสังเกตุการดิ้นรนของอัตตา จะบอกให้ครับเพราะมันไม่นิ่ง ไม่สังเกตุ มันจึงเกิดอัตตา
ถ้านิ่งรู้นิ่งสังเกตุมันก็ไม่มีอัตตาเกิดขึ้นหรอกครับ


อโศกะ....

ท่อนสั้นๆนี้ก็ด้วยๆความไม่รู้ของคุณโฮฮับ จึงวิจารณ์มาผิดๆ

นิ่งรู้ นิ่งสังเกต มันจึงจะเห็น อัตตา ความเห็นผิดที่ฝังลึกในจิตใจของปุถุชนทุกคน

อ้างคำพูด:
ถ้านิ่งรู้นิ่งสังเกตไม่เกิดอัตตา .....


[b]คำพูดของคุณโฮฮับท่อนนี้ก็ผิดธรรม แสดงว่าคุณโฮฮับยังไม่เคยได้สำรวมกายใจมานิ่งรู้นิ่งสังเกตเข้าไปในกายและจิตจริงๆ จึงไม่ได้สัมผัสกับความเห็นผิด ว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู อันนี้ ทั้งๆที่มันเกิดขึ้นมาตอบโต้ มีปฏิกิริยา กับทุกสัมผัส ทุกอารมณ์ของ ปุถุชน


:b34:
อ้างคำพูด:
คุณแนะนำให้เขาปฏิบัติที่คุณว่าบ่อยๆ อย่าให้เขาปฏิบัติเลยครับ อย่างแรกเลย
ผมว่า คุณทำความเข้าใจกับคำศัพท์ที่คุณใช้ เอาคำที่มันรกรุงรังออก
แล้วเรียงลำดับเอาเหตุไปหาผล คำพูดของคุณมันจะได้แก่นได้สาระน่าเชื่อถือนะครับ


อโศกะ......
:b7:
ท่อนสุดท้ายนี้ ขอคืนกลับมาให้คุณโฮฮับรับไว้พิจารณาตัวเองให้ดีๆเสียก่อนนะครับ
:b11:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2013, 10:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
asoka เขียน:
คุณโฮฮับ กำลังชักใบให้เรือเสีย กำลังจะทำให้เรื่องราวที่ดีๆ กลายเป็นมั่วและสับสนไปเสียแล้วนะครับ

พูดอะไรอย่างนั้นครับ ผมพายเรือของผม คุณก็พายเรือของคุณ มันเกี่ยวกันตรงไหน
ต่างคนก็ต่างอธิบายธรรมตัวเองไป คุณมีประสบการณ์อย่างไรก็สาธยายมา
เลิกเถอะครับ! ขอร้องไอ้ประเภทว่ากล่าวคนแบบไร้เหตุผลแบบนี้อย่าเลยครับ
เพราะมันเป็นการชักใบให้เรือเสียตามที่คุณบอกนั้นแหล่ะครับ
asoka เขียน:
การพูดธรรมะภาคปฏิบัตินั้น ต้องพิจารณาให่ดีเพราะเป็นการนำเอาการสัมผัสกับสภาวธรรมจริงมาพูดเล่าสู่กันฟัง การใช้บัญญัติศัพท์แสงอาจเป็นภาษาพูดผสมกับภาษาเขียน ต้องตีความให้ถูกต้อง ถ้าตีความผิดก็จะแตกห่างจากประเด็นไปไกล้เลยทีเดียว

ก็นั้นแหล่ะ คุณมั่นใจว่า เรื่องที่คุณเล่าเป็นเป็นสภาวะธรรมจริง คุณจะต้องไปเดือดร้อนหวาดระแวงอะไร
ถ้าคุณเห็นว่าคำพูดไหนของผม ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นสภาวะธรรม คุณก็หยิบยกมาวิจารณ์ได้ครับ
แต่เท่าที่เห็นมา มีแต่ออกมาตีโพยตีพาย หาว่าผมชักใบให้เรือเสีย ก่อกวนบ้าง เอาปืนจี้หัวบ้าง
มันไม่มีสาระเลยครับ การแสดงอาการแบบนี้ยิ่งทำให้ความเห็นของตนหมดความน่าเชื่อถือมากกว่าเดิม
asoka เขียน:
คำพูดที่คุณโฮฮับพยายามจะมาชี้ว่านี่ถูก นี่ผิดนั้น บางทีอาจทำให้เกิดความพลาดใหญ่ก็ได้ เพราะความถูกความผิดนั้นอยู่ที่สัจจธรรมที่จะเกิดขึ้นกับใจของผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่การตัดสินของ นาย ก. นาย ข. ต้องพิสูจน์ธรรมเสียก่อน แล้วจึงค่อยตัดสิน

คุณก็รู้นี่ครับว่า ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติ ผมหรือคุณไปบังคับใครเขาไม่ได้
แบบนี้คุณจะมาเดือดร้อนกับความเห็นผมทำไมครับ พูดจาไม่มีเหตุผลเลยครับ


:b12: :b12: :b12: :b13: :b13: :b13:
น่าหัวเราะกับข้อความแก้ตัวท่อนนี้ของคุณโฮฮับ
ลองกลับไปไตร่ตรองพิจารณาดูให้ดีๆนะครับ ว่าใคร มายุ่งกับเรือของใคร

ธรรมดาของบัณฑิตที่จะมาวิตกวิจารณ์ธรรม สนทนาธรรม ย่อมจะต้องมีใจเปี่ยมด้วยคุณธรรมและมรรยาท ไม่ใช่มาชี้ผิดชี้ถูกความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างที่คุณโฮฮับได้ทำในกระทู้นี้ และแทบทุกกระทู้ที่คุณโฮฮับเข้าไปแสดงความเห็น จนเป็นที่รู้จักกันดีทั่วทั่งลานธรรม

ผมแสดงธรรมไปตามเนื้อแห่งธรรมและตามลำดับแห่งธรรม เมื่อมีผู้จะมาชักใบให้เรือเสีย คือทำให้เกิดความไขว้เขวในธรรมก็จึงต้องแก้ไข ไม่ใช่ร้อนตัว แต่กลัวผู้ไม่รู้ความจริงจะหลงผิด จึงต้องพูดจา

คุณโฮฮับ ก็เช่นกัน ถ้าสิ่งที่คุณคุณโฮฮับเห็นและยึดถือ คิดว่าใช่ ก็แสดงต่อไป แต่อย่าขวางโลก คงมีผู้ศรัทธาติดตามงานของคุณโฮฮับเองนะครับ ไม่ต้องร้อนตัว ร้อนใจด้วยเช่นกัน ทางใครทางมัน น่าจะดีที่สุดครับ

Kiss Kiss s004 s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2013, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
เมื่อจิตรวมและนิ่ง ในระดับ ขณิกะสมาธิและอุปจาระสมาธิ วิตกวิจารณ์ จะยังสามารถทำงาน วิเคราะห์วิจัยธรรม ค้นหาเหตุหาผลได้อยู่ ไม่ใช่ไปเข้าเอกัคตารมณ์ อย่างที่คุณโฮฮับด่วนตัดสิน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ความรู้เรื่องระดับสมาธิของคุณโฮฮับ เป็นรู้แบบสุดโต่งเกินไป แล้วเอาสมาธิมาใช้ไม่เป็น

บอกผมเองว่า......................
asoka เขียน:
การพูดธรรมะภาคปฏิบัตินั้น ต้องพิจารณาให่ดีเพราะเป็นการนำเอาการสัมผัสกับสภาวธรรมจริงมาพูดเล่าสู่กันฟัง การใช้บัญญัติศัพท์แสงอาจเป็นภาษาพูดผสมกับภาษาเขียน ต้องตีความให้ถูกต้อง ถ้าตีความผิดก็จะแตกห่างจากประเด็นไปไกล้เลยทีเดียว

พูดเป็นในทำนองว่าต้องเอาสภาวะธรรมจริงมาพูด แล้วที่บอกว่า จิตรวม
ถ้าจิตรวมไม่ใช่เอกัตคตา แล้วจะหมายถึงอะไร

มันเป็นเพราะคุณไม่เคยเห็นสภาวะธรรม ปฏิบัติด้วยการอ่าน
เลยหลง....เอาจิตรวม กับจิตนิ่งมาผสมปนเปกันให้มั่วไปหมด
ในสภาวะธรรม จิตรวมหมายถึง จิตอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่มีการรับอายตนะอื่นใดอีก
ซึ่งลักษณะของจิตรวมก็คือจิตรวมเป็นหนึ่ง จิตหรืออารมณ์ที่เป็นหนึ่งมีลักษณะว่างๆ
อารมณ์ว่างๆ ท่านเรียกว่า เอกัตคตาจิต

ส่วนจิตนิ่งก็คือ จิตมีสติคอยกำกับเพื่อคอยดับนิวรณ์ที่มารบกวนจิต ในการทำวิปัสสนา
พูดง่ายๆจิตนิ่งก็คือจิตที่ปราศจากนิวรณ์ ตั้งมั่นมีสัมปชัญญะคอยตามรู้อารมณ์อันเกิดจาก
การกระทบของผัสสะ

ส่วนวิตกวิจารณ์ เป็นวิหารธรรม ที่จิตใช้เป็นเครื่องมือในการดับนิวรณ์
ฉะนั้น วิตกวิจารณ์ก็คือสตินั้นเอง


asoka เขียน:
อนึ่งการแสดงตัวแยกตัวของ รูป กับ นาม หรือ กาย กับ จิต นั้น เขาจะแยกตัวออกมาเองโดยธรรมชาติ เมื่อจิตสงบได้ที่ หรือได้ระดับ.....ดูจากแผ่นภาพหรือไดอะแกรมที่แนบมา

มันมีด้วยหรือรูปกับนามหรือกายกับจิต แยกตัวเองออกโดยธรรมชาติ
อย่าจินตนาการธรรมแบบนั้นซิครับ

โดยธรรมชาติรูปกับนาม กายกับจิต จิตจะไปยึดกายไว้หรือนามจะไปยึดรูป
เป็นลักษณะของ สักกายทิฐิ เรียกอีกอย่างว่า รูปขันธ์


การแยกรูปแยกนาม ไม่ได้หมายถึงจิตกับกายจะแยกตัวออกมา
แต่มันหมายถึง เกิดปัญญารู้ว่า ขันธ์ห้า(นาม) มีเหตุปัจจัยมาจากอายตนะภายนอก
มากระทบกับอายตนะภายใน(รูป) เมื่อไม่มีการกระทบก็ย่อมไม่มีการเกิดอารมณ์หรือนาม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2013, 10:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


wink
อ้างคำพูด:
พูดเป็นในทำนองว่าต้องเอาสภาวะธรรมจริงมาพูด แล้วที่บอกว่า จิตรวม
ถ้าจิตรวมไม่ใช่เอกัตคตา แล้วจะหมายถึงอะไร

s004
อโศกะ.....

นี่แสดงว่ามองกันคนละมุม

จิตจะรวมเข้ามานั้น มีขั้นตอนถึง 4 ขั้นตอน หรือ 8 ขั้นตอน
การรวมจิตที่ฟุ้งกระจายให้มาอยู่เป็นกลุ่มก้อนจนกว่าจะเป็นหนึ่งเดียวนั้น มี 4 ขั้นตอนพื้นฐาน

ผู้ปฏิบัติต้องใช้งานเพียงขั้นตอนที่ 1 และก่อนจะถึงขั้นตอนที่ 1

onion onion

อ้างคำพูด:
มันมีด้วยหรือรูปกับนามหรือกายกับจิต แยกตัวเองออกโดยธรรมชาติ
อย่าจินตนาการธรรมแบบนั้นซิครับ

โดยธรรมชาติรูปกับนาม กายกับจิต จิตจะไปยึดกายไว้หรือนามจะไปยึดรูป
เป็นลักษณะของ สักกายทิฐิ เรียกอีกอย่างว่า รูปขันธ์

การแยกรูปแยกนาม ไม่ได้หมายถึงจิตกับกายจะแยกตัวออกมา
แต่มันหมายถึง เกิดปัญญารู้ว่า ขันธ์ห้า(นาม) มีเหตุปัจจัยมาจากอายตนะภายนอก
มากระทบกับอายตนะภายใน(รูป) เมื่อไม่มีการกระทบก็ย่อมไม่มีการเกิดอารมณ์หรือนาม


อโศกะ.....

ส่วนของท่อนนี้ ถามแค่ว่า ....ใครเป็นผู้ไปรู้การรวมและการแยก ของรูป นาม?

อะไร บังรูป นาม ไว้ ทำให้มองไม่เห็นว่า รูป กับ นาม เป็นคนละส่วนกัน

อุปมา รูป กับ นาม เป็นดาว กับเดือน ที่อยู่บนท้องฟ้า
เมื่อมีกลุ่มเมฆหนามาบังทั้ง 2 สิ่งไว้ จึงไม่รู้ว่าใดคือแสงดาว (รูป) ใดคือแสงเดือน(นาม) ต่อเมื่อเมฆหมอกเคลื่อนคล้อยผ่านไป จึงประจักษ์แก่ตาและใจตนเองว่า นั่นคือ ดาว นี่คือ เดือน

แยกตัวออกให้รู้เองโดยธรรมมชาติ เป็นอย่างนี้

:b12: :b12: :b12:
onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2013, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
น่าหัวเราะกับข้อความแก้ตัวท่อนนี้ของคุณโฮฮับ
ลองกลับไปไตร่ตรองพิจารณาดูให้ดีๆนะครับ ว่าใคร มายุ่งกับเรือของใคร

จขกทชวนหาเรื่องทะเลาะแล้วครับ แบบนี้แหละชักใบให้เรือเสีย

มีสติหน่อยซิครับว่า คุณอยู่ที่ไหน อยู่ในเว็บบอร์ดที่เขาเอาไว้ถกธรรมกันใช่มั้ย
และการถกธรรมนั้นจะต้องมีความเห็นที่หลากหลายใช่มั้ย และที่สำคัญที่สุด
เมื่อเราไม่เห็นด้วยกับใครเราสามารถแย้งไม่เห็นด้วยกับความเห็นนั้นใช่หรือไม่
ไม่งั้นทางเว็บเขาคงไม่มีส่วนที่อ้างอิงเอาไว้

เพราะความเห็นเราไม่เหมือนกัน เราจึงอยู่เรือคนล่ะลำ
ส่วนการชักใบให้เรือเสียหมายถึง ที่นี้เป็นที่ถกธรรม ต้องพูดธรรมด้วยเหตุผลของธรรม
การพูดจาแบบไม่พอใจชวนทะเลาะแบบคุณนั้นแหล่ะ เขาเรียกชักใบให้เรือเสีย

asoka เขียน:
ธรรมดาของบัณฑิตที่จะมาวิตกวิจารณ์ธรรม สนทนาธรรม ย่อมจะต้องมีใจเปี่ยมด้วยคุณธรรมและมรรยาท ไม่ใช่มาชี้ผิดชี้ถูกความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างที่คุณโฮฮับได้ทำในกระทู้นี้ และแทบทุกกระทู้ที่คุณโฮฮับเข้าไปแสดงความเห็น จนเป็นที่รู้จักกันดีทั่วทั่งลานธรรม

ที่คุณคิดแบบนี้เป็นเพราะคุณ เอากิเลสในใจคุณมาตัดสินผม
ความรู้สึกทุกอย่างที่คุณกล่าวมา มันเกิดขึ้นที่ใจคุณไม่ใช่ผม
คุณเห็นผมเป็นอย่างไร มันก็เป็นการปรุงแต่งของใจคุณเอง

อยากจะเตือนครับ อย่าหลงยึดกับวาจาปรุงแต่งเลยครับ ไม่งั้นจะหลงทาง
ตัวอย่างก็มีให้เห็น พวกที่พูดจาเพราะๆเอาใจเก่ง กำลังมีเรื่องมีราวลงหน้าหนึ่งน.ส.พ.
ไม่เอามาเป็นอุทาหรณ์บ้างเลยหรือ

asoka เขียน:
ผมแสดงธรรมไปตามเนื้อแห่งธรรมและตามลำดับแห่งธรรม เมื่อมีผู้จะมาชักใบให้เรือเสีย คือทำให้เกิดความไขว้เขวในธรรมก็จึงต้องแก้ไข ไม่ใช่ร้อนตัว แต่กลัวผู้ไม่รู้ความจริงจะหลงผิด จึงต้องพูดจา

ผมถามคุณหน่อย ผมไปแก้ข้อความที่คุณแสดงความเห็นหรือ ความเห็นของคุณเป็นอย่างไร
มันก็ยังอยู่แบบนั้น ถ้าผมมีอำนาจเข้าไปแก้ข้อความคุณก็ว่าไปอย่าง

มันก็แค่ผมแสดงความเห็นในส่วนของผม คุณจะต้องไปเดือดร้อนอะไร
นี่เป็นเพราะคุณก็ไม่เชื่อมั่นในความเห็นคุณเอง หรือเป็นเพราะตัวเองก็ไม่เข้าใจความเห็นตัวเอง
เลยไม่อยากให้ใครเขามาแย้ง ไม่รู้จะหาเหตุผลอะไรมาแกต่าง
asoka เขียน:
คุณโฮฮับ ก็เช่นกัน ถ้าสิ่งที่คุณคุณโฮฮับเห็นและยึดถือ คิดว่าใช่ ก็แสดงต่อไป แต่อย่าขวางโลก คงมีผู้ศรัทธาติดตามงานของคุณโฮฮับเองนะครับ ไม่ต้องร้อนตัว ร้อนใจด้วยเช่นกัน ทางใครทางมัน น่าจะดีที่สุดครับ

เข้าใจผิดแล้วที่ว่าผมขวางโลก ผมแสดงความเห็นด้วยสุจริตใจ
คุณพูดเข้าข้างตัวเองว่าผมขวางโลก มันเพราะผมไปแย้งความเห็นคุณนะซิ
ที่ตอนผมเข้าไปช่วยแสดงความเห็นสนับสนุน ตอนที่คุณกำลังโดนคุณกะลาไล่ต้อนไม่เห็นพูด :b9:

แล้วเรื่องติดตามงานอะไรนั้น คผมว่าคุณเพ้อเจ้อครับ ผมเคยแสดงตัวแบบคุณหรือเปล่า
ผมเคยชักชวนใครไปวิปัสสนากับสำนักตัวเองมั้ย มีสติดูตัวเองก่อนที่จะกล่าวหาคนอื่นครับ

เรื่องทางใครทางมัน ถ้าเป็นในห้องสนทนาธรรมแห่งนี้ผมทำไม่ได้ครับ
แต่ถ้าวันใด ผมเข้าไปในสำนักของคุณ พวกคุณรุมประชาทัณฑ์ผมได้เลยครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2013, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
wink
อ้างคำพูด:
พูดเป็นในทำนองว่าต้องเอาสภาวะธรรมจริงมาพูด แล้วที่บอกว่า จิตรวม
ถ้าจิตรวมไม่ใช่เอกัตคตา แล้วจะหมายถึงอะไร

s004
อโศกะ.....

นี่แสดงว่ามองกันคนละมุม

จิตจะรวมเข้ามานั้น มีขั้นตอนถึง 4 ขั้นตอน หรือ 8 ขั้นตอน
การรวมจิตที่ฟุ้งกระจายให้มาอยู่เป็นกลุ่มก้อนจนกว่าจะเป็นหนึ่งเดียวนั้น มี 4 ขั้นตอนพื้นฐาน

ผู้ปฏิบัติต้องใช้งานเพียงขั้นตอนที่ 1 และก่อนจะถึงขั้นตอนที่ 1

ตลกดีครับ! พูดเองว่า ทางใครทางมันเมื่อกี้ ลืมซะแล้ว
ดูแล้วเหมือนปลาทอง ความจำสั้น :b32:


มันจะมองคนละมุมอะไรครับ สภาวะธรรมไม่มีคนละมุม อย่าดิ้นเลยครับ
บอกเองว่า ต้องคุยกันด้วยสภาวะธรรม

แล้วที่บอกว่า ขั้นตอนอะไรนั้นน่ะ มันก็เป็นเรื่องของคนที่ไม่เคยเห็นสภาวะธรรม
เลยต้องเมคเรื่องว่า ขั้นตอนอย่างโน้นอย่างนี้

สภาวะธรรมมันมีขั้นตอนให้คุณดูหรือครับ สภาวะธรรมหนึ่งมันเร็วไม่ถึงวินาที
อย่างขันธ์ห้าเป็นต้น มันแป็บเดียวออกปากด่าเขาซะแล้ว ลืมดูกิเลสตัวเอง

asoka เขียน:
wink

อ้างคำพูด:
มันมีด้วยหรือรูปกับนามหรือกายกับจิต แยกตัวเองออกโดยธรรมชาติ
อย่าจินตนาการธรรมแบบนั้นซิครับ

โดยธรรมชาติรูปกับนาม กายกับจิต จิตจะไปยึดกายไว้หรือนามจะไปยึดรูป
เป็นลักษณะของ สักกายทิฐิ เรียกอีกอย่างว่า รูปขันธ์

การแยกรูปแยกนาม ไม่ได้หมายถึงจิตกับกายจะแยกตัวออกมา
แต่มันหมายถึง เกิดปัญญารู้ว่า ขันธ์ห้า(นาม) มีเหตุปัจจัยมาจากอายตนะภายนอก
มากระทบกับอายตนะภายใน(รูป) เมื่อไม่มีการกระทบก็ย่อมไม่มีการเกิดอารมณ์หรือนาม


อโศกะ.....

ส่วนของท่อนนี้ ถามแค่ว่า ....ใครเป็นผู้ไปรู้การรวมและการแยก ของรูป นาม?

อะไร บังรูป นาม ไว้ ทำให้มองไม่เห็นว่า รูป กับ นาม เป็นคนละส่วนกัน

อุปมา รูป กับ นาม เป็นดาว กับเดือน ที่อยู่บนท้องฟ้า
เมื่อมีกลุ่มเมฆหนามาบังทั้ง 2 สิ่งไว้ จึงไม่รู้ว่าใดคือแสงดาว (รูป) ใดคือแสงเดือน(นาม) ต่อเมื่อเมฆหมอกเคลื่อนคล้อยผ่านไป จึงประจักษ์แก่ตาและใจตนเองว่า นั่นคือ ดาว นี่คือ เดือน

แยกตัวออกให้รู้เองโดยธรรมมชาติ เป็นอย่างนี้

:b12: :b12: :b12:
onion onion

นี่หรือเรียกว่า การอธิบายธรรม ทั้งหมดล้วนเป็นการจินตนาการ
เหมือนนิยายน้ำเน่า มีดาว มีเดือน เมฆ ไปกันใหญ่แล้ว

ไอ้ที่ฉอดๆว่าเขาเรื่องสภาวะธรรมไม่มีเลยซักกะตัว เฮ่อ! :b6:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร