วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 04:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็อ่านที่ดิฉันโพสท์ตอบคุณก็แล้วกันค่ะว่า ดิฉันพูดว่าอย่างไร
ถ้าจะมาเอาคำอธิบาย มันก็คุยกันคนละประเด็นกันแล้วค่ะ
ขอตัวนะคะ จะว่าดิฉันไม่มีความสามารถก็ได้นะคะ ไม่เป็นไรค่ะ ยินดีค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 09:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่คุยก็ไม่เป็นไร....ขอบคุณครับ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 09:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อยากฝากเพื่อน ๆ...นะครับ...มีปัญญาจริง..ต้องฆ่ากิเลสได้....ฆ่าไม่ได้อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่า..ตัวรู้แล้ว

จะได้ลดอาการหลงตัวเองให้น้อยลง...


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 25 ก.ย. 2013, 09:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 09:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว




---_1_~2.JPG
---_1_~2.JPG [ 156.38 KiB | เปิดดู 3305 ครั้ง ]
กบนอกกะลา เขียน:
อยากฝากเพื่อน ๆ...นะครับ...มีปัญญาจริง..ต้องฆ่ากิเลสได้....ฆ่าไม่ได้อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่า..ตัวรู้แล้ว

ปัญญาในขั้นโลกียะฆ่ากิเลสไม่ได้นะครับ
ต้องใช้ปัญญาในขั้นโลกุตรมรรคเท่านั้นแหละครับจึงจะฆ่ากิเลสได้
ถ้าจะเอาอย่างนั้นจริงๆก็ต้องไปคุยกับพระโสดาบันแล้วหละ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



"เหตุผล" คือ "ปัญญา"
ผู้มีเหตุผล ก็คือ ผู้มีปัญญา

บางครั้ง "เหตุผลของเรา" ก็ไม่ต้องด้วย "เหตุผลของผู้อื่น" แม้จะเป็นเรื่องเดียวกัน
เพราะแต่ละคน ก็มีเหตุผลของตนแตกต่างกันออกไป ..

ซึ่งเป็นเรื่อง "ธรรมดา" ..

ขอบคุณทุกท่านนะครับ :b8:

:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 15:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ปัญญาในขั้นโลกียะฆ่ากิเลสไม่ได้นะครับ
ต้องใช้ปัญญาในขั้นโลกุตรมรรคเท่านั้นแหละครับจึงจะฆ่ากิเลสได้
ถ้าจะเอาอย่างนั้นจริงๆก็ต้องไปคุยกับพระโสดาบันแล้วหละ


ผมเข้าใจนะ...ที่ จขกท...เสนอว่า..ปัญญามากไปก็ไม่ดี....
ผมก็แค่เล่นมุกย้อนศร..ว่า...ปัญญามากนะดี...แต่ต้องเป็นปัญญาจริง ๆ นะ
คุณซามัวส่า...ก็ถาม...ปัญญาจริง ๆ..เป็นยังงัย? แถมให้บอกสภาวะด้วย
ผมก็บอกว่า..เป็นปัญญารู้ที่ฆ่ากิเลสได้...

เท่านั้นแหละ...วิปัสสนาญาณ16 โพธิปักขิยธรรม37 ก็โผล่มา...แล้วก็ให้คะแนนผมทั้งที่ไม่ได้ขอ...สอบตกเลยเรา..555
พอขอคำชี้แนะเพิ่ม.....ก็เปิดแหน่บไปซะแล้ว

:b2: :b2:

ที่จริง....เราๆนับถือพระพุทธเจ้า....หากไม่หวังหมดทุกข์...ก็ไม่น่าจะเรียบว่านับถือจริง...ว่ามั้ยครับลุงหมาน

เมื่อเราหวังฆ่ากิเลสให้พ้นจากทุกข์....ศากยบุตรพุทธชิโนรสควรจะเรียกรู้ที่ฆ่ากิเลสไม่ได้ว่าปัญญามั้ย?

ชื่อที่ว่า..โลกียปัญญา...ก็ถือว่ายอมสุด ๆ แล้วละ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 16:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:

"เหตุผล" คือ "ปัญญา"
ผู้มีเหตุผล ก็คือ ผู้มีปัญญา

บางครั้ง "เหตุผลของเรา" ก็ไม่ต้องด้วย "เหตุผลของผู้อื่น" แม้จะเป็นเรื่องเดียวกัน
เพราะแต่ละคน ก็มีเหตุผลของตนแตกต่างกันออกไป ..

ซึ่งเป็นเรื่อง "ธรรมดา" ..

ขอบคุณทุกท่านนะครับ :b8:

:b1:


เอ.... ไม่น่าใช่นะคะ ดิฉันว่าเหตุผลเป็นสัญญานะคะ

ถ้าเหตุผลคือปัญญา งั้น โจรขโมยของเขาก็มีเหตุผลนะคะ
ไม่มีเงินรักษาลูกที่ป่วย ตกงานมาหลายเดือน ฯลฯ

ผู้ร้ายฆ่าคนตาย....ไม่ชอบหน้า เขามารังแกเราก่อน
ส่งเสียงดังรบกวนเตือนไม่ฟังไม่รู้จักเกรงใจ ฯลฯ

มันจะถูกหรือผิดมันก็คือเหตุผล ดิฉันจึงว่า เหตุผล
เป็นเพียงสัญญา ยังไม่ใช่ปัญญา หรือคุณวิริยะว่าไงคะ

มาสนทนากันค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:

"ปัญญา" แบ่งได้สาม คือ ..

สุตมยปัญญา ๑
จินตามยปัญญา ๑
ภาวนามยปัญญา ๑


อันนี้ดิฉันเห็นด้วยค่ะ ถูกต้องแล้ว

วิริยะ เขียน:
"สุตมยปัญญาและจินตามยปัญา" เป็นปัญญาในระดับ "โลกียะปัญญา"
ปัญญาขั้นนี้ มักหยิ่งทะนงตน มีอัตตามานะทิฏฐิสูง ชอบข่มผู้อื่น ..

"ภาวนามยปัญญาหรือวิปัสสนาปัญญา" เป็นปัญญาในระดับ "โลกุตระปัญญา"
ปัญญาขั้นนี้ สามารถ ละ วาง กิเลสตัณหา ละอัตตามานะทิฏฐิให้น้อยลงได้ ..

วิริยะ เขียน:
ศรัทธา มากเกินไปขาดปัญญา ก็กลายเป็นคนงมงาย
ปัญญา มากเกินไปขาดศรัทธา ก็กลายเป็นทิฏฐิมานะ

ปัญญาส่วนนี้ หมายถึง "โลกียะปัญญา" ..

ส่วน "ปัญญาจริง ๆ " ของท่าน โอ๊บ
น่าจะหมายถึง "โลกุตระปัญญา" .. แม่นบ่อฮึ :b11: :b13:



แต่อันนี้ไม่เห็นด้วยนะคะ ค่อนข้างจะเข้าใจผิดนะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 16:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


สุตมยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการได้ฟังพูด อ่าน เขียน การเรียนรู้

จินตามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจาก การนำเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้มาฝึกฝน
จนสามารถมีความชำนาญในระดับนึง สามารถคิดอย่างมีหลัก นำสิ่งที่ได้
จากการเรียนรู้ในขั้นแรกมาประมวลผล คิดอย่างมีตรรกะ สามารถอธิบาย
ความรู้ใหม่ๆได้โดยการอาศัยพื้นฐานจากสุตมยปัญญาที่ได้สั่งสมเรียนรู้
มาได้

ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติ จนรู้แจ้งเห็นจริงด้วย
ตนเอง นั่นคือ สามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้สั่งสมและฝึกฝนมาไปใช้งาน
ได้จริง ปฏิบัติได้จริง

ยกตัวอย่าง
เราฟังเขามาว่า ต้มน้ำให้เดือดแล้วใส่ไข่ลงไปในน้ำเดือดนั้น 3 นาที
จะได้ไข่ยางมะตูม(สุตมยปัญญา) เราจึงลองทำดูบ้างตามที่เขาบอกมา
(จินตมยปัญญา)ปรากฏว่าเป็นจริงตามนั้น ครั้งต่อไปเราก็จะต้มไข่
ยางมะตูมเป็นแล้วสามารถบอกคนอื่นต่อไปไดด้วยเพราะลองทำมา
แล้วจนแน่ใจ(ภาวนามยปัญญา)

หลักๆแล้วมีแค่นี้เองค่ะ หรือใครมีต่อคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 17:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


ลองอ่านบทความของอาจารย์โกเอ็นก้าดูนะคะ ท่านสรุปให้ฟังง่ายๆไม่ซับซ้อนอะไร เข้าใจง่ายค่ะ

การพัฒนาปัญญา มีอยู่ ๓ ขั้นตอนด้วยกันคือ

ขั้นแรก เรียกว่า สุตมยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการได้ฟังและการได้อ่านซึ่งเป็นการเรียน
รู้เรื่องราวจากผู้อื่น โดยความรู้ที่ได้ จะเป็นประโยชน์มากในการนำมากำหนดแนวคิดของเรา
เอง อย่างไรก็ตาม สุตมยปัญญาก็ไม่อาจช่วยให้เราหลุดพ้นไปได้ เพราะเรื่องที่เราเรียนรู้มา
จากผู้อื่น จนเกิดความเชื่อขึ้นมา ว่าเป็นความจริงนั้น บางทีอาจจะเป็นความเชื่อที่งมงายหรือ
เป็นการเชื่อเพราะ ความกลัว เช่นกลัวว่าหากไม่เชื่อ แล้วจะตกนรกหรือบางครั้งก็เชื่ออย่างมี
อุปาทาน โดยหวังว่าหากเชื่อแล้ว จะได้ขึ้นสวรรค์ซึ่งความเชื่อดังกล่าว เป็นเพราะได้เรียนรู้มา
จากผู้อื่น หาได้เป็นความคิดเห็นอันเกิดจากปัญญาของตนเองไม่

ขั้นที่สอง เรียกว่า จินตามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจาก การนำเอาปัญญาในขั้นตอนแรก คือ
สุตมยปัญญา หรือปัญญาจากการได้ฟังและการได้อ่าน มาพินิจพิจารณา หาว่ามีเหตุผลที่
สมควรเชื่อถือได้หรือไม่ และสามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ในทางพ้นทุกข์ได้หรือไม่ ถ้า
ได้ จึงจะยอมรับในการพัฒนาปัญญานั้น เมื่อมาถึงขั้นจินตามยปัญญาแล้ว หากหยุด ไม่พัฒนา
ต่อไป ก็อาจจะทำให้คิดว่า ตนเองเป็นคนมีปัญญาแล้ว ซึ่งการมีความคิดเช่นนั้น ก็เท่ากับไปเพิ่ม
อัตตาให้กับตนเอง และในส่วนนี้ แท้จริงแล้ว ตนเองนั้นยังห่างไกลจากการพ้นทุกข์อยู่อีกมาก
จึงจำเป็นต้องพิจารณาให้ก้าวหน้าต่อไปในขั้นที่สาม

ขั้นที่สาม เรียกว่า ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติ จนรู้แจ้งเห็นจริงด้วย
ตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นปัญญาที่แท้จริง การพัฒนาปัญญาที่เริ่มจากขั้นแรก คือ สุตมยปัญญา ซึ่ง
ได้แก่ การได้ฟังและได้อ่าน จากนั้นจะนำไปสู่การพัฒนาในขั้นที่สอง คือ จินตามยปัญญา ซึ่ง
ได้แก่ การใช้ความคิด พิจารณาหาเหตุผลในสิ่งที่ได้เรียนรู้มา ปัญญาทั้งสองนี้จะเป็นประโยชน์
มาก หากใช้เป็นแรงดลใจ และเป็นแนวทางให้ก้าวมาสู่ปัญญาขั้นที่สาม นั่นคือ ภาวนามยปัญญา
อย่างไรก็ตามการจะพัฒนาภาวนามยปัญญาขึ้นมาได้ ก็โดยการปฏิบัติเท่านั้น เพราะ

ภาวนา--มยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดกับตนเอง โดยการปฏิบัติด้วยตนเอง ปัญญา ๓ ขั้นตอน
ที่ได้อธิบาย ไว้ขั้นต้นนี้ แต่ละขั้น จะมีความแตกต่างกัน แต่เรื่องราวจะต่อเนื่องกัน เพื่อชี้ให้เห็น
ได้เด่นชัด ถึงความแตกต่างของปัญญาทั้ง ๓ ขั้นนี้ จะขอยกตัวอย่างให้เห็นดังนี้ ผู้ป่วยรายหนึ่ง
ได้ไปหาแพทย์ เพื่อตรวจรักษาเมื่อแพทย์ได้ทำการตรวจร่างกายเสร็จ ก็ได้ออกใบสั่งยา เมื่อ
ผู้ป่วยได้รับใบสั่งยาแล้ว ก็จะจดจำเฉพาะแต่ชื่อยา โดยที่ไม่ได้สนใจสอบถามแพทย์ ถึงสาเหตุ
ของการเจ็บป่วย และไม่ได้สนใจขอทราบคุณสมบัติของยา ตลอดจนเหตุผลที่แพทย์ได้สั่งให้
ตนใช้ยาชนิดนี้รับประทาน ผู้ป่วยเป็นแต่เพียงมีความเชื่อถือ และศรัทธาในตัวแพทย์ผู้ให้การ
ตรวจรักษา จึงเชื่อถือตัวยาที่แพทย์ออกใบสั่งให้ไปด้วย......ความคิดและความเชื่อในขั้นนี้
เรียกว่า สุตมยปัญญา เมื่อผู้ป่วยรับประทานยาตามใบสั่งแพทย์แล้ว ไม่หายจึงได้ไปหาแพทย์
อีก เมื่อแพทย์ทำการตรวจ ผู้ป่วยก็จะขอทราบสาเหตุของการเจ็บป่วย รวม ทั้งวิธีการป้องกัน
และเมื่อแพทย์ออกใบสั่งยาให้ ผู้ป่วยก็ขอคำอธิบายถึง คุณสมบัติของยา รวมทั้งจะขอทราบถึง
เหตุผล และความจำเป็น ที่ได้เลือกยาประเภทนี้ใช้รักษาตน.... ความคิดและการใช้ปัญญาใน
การพินิจพิจารณาถึงเหตุและผลในขั้นนี้ เรียกว่า จินตามยปัญญา และเมื่อผู้ป่วยเข้าใจตลอด
ถึงเหตุและผลของอาการเจ็บป่วยและการใช้ยาแล้ว ก็ได้กลับมารับประทานยา และปฏิบัติตน
ตามที่แพทย์แนะนำ จนกระทั่งหายจากอาการเจ็บป่วยนั้น

การปฏิบัติเช่นนี้ เป็นการใช้ปัญญาในขั้นที่สาม ซึ่งเป็นปัญญาในระดับที่พัฒนาความสามารถ
ควบคุมให้ตนเองกระทำการไปด้วยเหตุ ด้วยผลจนบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเรียกปัญญาขั้นนี้ว่า
ภาวนามย-ปัญญา

ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"สัญญา" คือการเรียนรู้ การจดจำ ทั้งที่ดีและไม่ดี
"เหตุผล" คือ การคิดพิจารณา เพื่อทำให้ "สัญญา" เป็นจริง

ทางที่ดี เรียกว่า เหตุผล (สัมมาปัญญา)
ทางที่ชั่ว เรียกว่า คำแก้ตัว (มิจฉาปัญญา)


หญิงไทย เขียน:
ถ้าเหตุผลคือปัญญา งั้น โจรขโมยของเขาก็มีเตุผลนะคะ
ไม่มีเงินรักษาลูกที่ป่วย ตกงานมาหลายเดือน ฯลฯ


เรื่องนี่เขาคิดมาก่อนแล้ว(คำแก้ตัว)ว่า ถ้าถูกจับต้องพูดอย่างนี้ หรืออาจเพิ่มเติมให้น่าสงสาร
เข้าไปอีก เช่น หาเงินรักษาแม่ที่ป่วย หาค่าเทอมให้น้อง ๆ นักศึกษา ฯลฯ เป็นต้น ..


หญิงไทย เขียน:
ผู้ร้ายฆ่าคนตาย....ไม่ชอบหน้า เขามารังแกเราก่อน
ส่งเสียงดังรบกวนเตือนไม่ฟังไม่รู้จักเกรงใจ ฯลฯ


อันนี้น่าจะขาดเหตุผล คือไม่มีเหตุผล เกิดจากความโกรธหรือโทสะมากกว่า ..

หญิงไทย เขียน:
การปฏิบัติเช่นนี้ เป็นการใช้ปัญญาในขั้นที่สาม ซึ่งเป็นปัญญาในระดับที่พัฒนาความสามารถ ควบคุมให้ตนเองกระทำการไปด้วยเหตุ ด้วยผลจนบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเรียกปัญญาขั้นนี้ว่า
ภาวนามย-ปัญญา


"ภาวนามยปัญญา" มีสองอย่างเหมือนกัน คือ
เป็นได้ทั้งโลกียะปัญญาและโลกุตระปัญญา ..

อย่างที่คุณยกตัวอย่างมา ทั้งการต้มไข่ หรือ การคิดค้นทฤษฏีสัมพัทธภาพของไอสไตส์
การคิดค้นทางการแพทย์ การคิดค้นทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ เป็นต้น

ถ้าเป็นการคิดพิจารณาทางธรรม ก็จะเป็นโลกุตระปัญญา ปัญญาที่ก็ทำให้ปุถุชนคนธรรมดา
กลายเป็นพระอริยะบุคคล บุคคลอันเยี่ยมในพระพุทธศาสนา ..

++

ถาม คุณหญิงไทยว่า ทำไมเราจึงควร ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ..


:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
"สัญญา" คือการเรียนรู้ การจดจำ ทั้งที่ดีและไม่ดี
"เหตุผล" คือ การคิดพิจารณา เพื่อทำให้ "สัญญา" เป็นจริง

ทางที่ดี เรียกว่า เหตุผล (สัมมาปัญญา)
ทางที่ชั่ว เรียกว่า คำแก้ตัว (มิจฉาปัญญา)


เหตุผลมีทั้งถูกและผิด เพราะฉนั้นจึงเป็นแค่สัญญา เพราะยังอยู่ในขั้นสุตมยปัญญา

วิริยะ เขียน:
หญิงไทย เขียน:
ผู้ร้ายฆ่าคนตาย....ไม่ชอบหน้า เขามารังแกเราก่อน
ส่งเสียงดังรบกวนเตือนไม่ฟังไม่รู้จักเกรงใจ ฯลฯ

อันนี้น่าจะขาดเหตุผล คือไม่มีเหตุผล เกิดจากความโกรธหรือโทสะมากกว่า ..


ทุกอย่ามีเหตุมีผลเสมอค่ะ ไม่ว่าจะเหตุผลน่าสงสารหรือประกอบด้วยโทสะ
นั่นก็คือเหตุผล ดิฉันไม่เคยเห็นใครสอนว่าเหตุผลต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอ
เคยได้ยินแต่เขาสอนว่าเหตุผลมีทั้งถูกและผิด เพราะฉนั้นจึงเป็นแค่สัญญาเท่านั้น

วิริยะ เขียน:
"ภาวนามยปัญญา" มีสองอย่างเหมือนกัน คือ
เป็นได้ทั้งโลกียะปัญญาและโลกุตระปัญญา ..

อย่างที่คุณยกตัวอย่างมา ทั้งการต้มไข่ หรือ การคิดค้นทฤษฏีสัมพัทธภาพของไอสไตส์
การคิดค้นทางการแพทย์ การคิดค้นทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ เป็นต้น

ถ้าเป็นการคิดพิจารณาทางธรรม ก็จะเป็นโลกุตระปัญญา ปัญญาที่ก็ทำให้ปุถุชนคนธรรมดา
กลายเป็นพระอริยะบุคคล บุคคลอันเยี่ยมในพระพุทธศาสนา ..


เดี๋ยวค่ะ หยุดค่ะ สต๊อบเลย ดิฉันยกตัวอย่างแค่การต้มไข่อย่างเดียวค่ะ
ส่วนการคิดค้นทฤษฏีสัมพัทธภาพของไอสไตส์ การคิดค้นทางการแพทย์
การคิดค้นทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ อะไรนั่น ดิฉันคัดลอกบทความของท่าน
อาจารย์โกเซนก้ามาให้อ่านเล่นๆ อย่าเอามาเหมารวมว่าเป็นของดิฉันสิ่คะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:

ถาม คุณหญิงไทยว่า ทำไมเราจึงควร ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ..


:b1:

เรานี่หมายถึงดิฉันใช่มั้ยคะ สำหรับดิฉันเหรอคะ

ให้ทาน ลดความตระหนี่ แบ่งปัน ปล่อยวาง
รักษาศีล เจริญภาวนา เจริญสติ เจริญปัญญา แผ่เมตตา

ก็เท่านี้เองค่ะ

แล้วคุณวิริยะ ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ไปทำไมคะ
ตอบมานะ ไม่งั้นคราวหลังดิฉันไม่ตอบคำถามคุณนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หญิงไทย เขียน:
เดี๋ยวค่ะ หยุดค่ะ สต๊อบเลย ดิฉันยกตัวอย่างแค่การต้มไข่อย่างเดียวค่ะ

"ปัญญา" ไม่เกิดจากภาวนาอย่างเดียว เกิดได้ทั้งจากประสบการณ์จริง จากการลองผิดลองถูก เช่น
เด็ก ๆ ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ถูกมีดบาด หรือ การต้มไข่ การเจี้ยวไข่ หุ่งข้าวอย่างไรถึงไหม้
การขี่จักรยาน ขับรถยนต์ ฯลฯ เป็นต้น ..

การให้ทาน คือแบ่งปัน ละความโลภ
รักษาศีล คือ การให้อภัย ละโกรธ
เจริญภาวนา คือ ทำจิตใจให้ผ่องใส่ ละโมหะ

เช่น ผู้ที่สามารถรักษาศีลได้ ต้องมีปัญญา คือเหตุผล เห็นคุณเห็นโทษ
จึงจะรักษาศีลได้ ตลอดรอดฝั่ง ..

ถาม คุณหญิงไทยว่า ทำไมบางคนบวชเรียนตั้งหลายพรรษา รักษาศีล ๒๒๗ ข้อ
สึกออกมาจึงเมาหย่ำเป ศีล ๕ ก็รู้จัก ทำไมรักษาไม่ได้ ..

:b1:


.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 19:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:

การให้ทาน คือแบ่งปัน ละความโลภ
รักษาศีล คือ การให้อภัย ละโกรธ
เจริญภาวนา คือ ทำจิตใจให้ผ่องใส่ ละโมหะ


ดิฉันไม่ได้ถามถึงความหมายค่ะ ดิฉันถามคุณว่าคุณ ให้ทาน
รักษาศีล เจริญภาวนาทำไม หมายถึงคุณวิริยะทำสิ่งเหล่านั้น
ไปทำไม ดิฉันไม่ต้องการทราบความหมายค่ะ ถ้าดิฉันอยาก
ทราบความหมาย ดิฉันหาใน google หรือเปิดหนังสืออ่าน
เองได้ค่ะ ไม่ได้ยียวนนะคะ แต่คุณตอบไม่ตรงคำถาม

วิริยะ เขียน:

เช่น ผู้ที่สามารถรักษาศีลได้ ต้องมีปัญญา คือเหตุผล เห็นคุณเห็นโทษ
จึงจะรักษาศีลได้ ตลอดรอดฝั่ง ..

ถาม คุณหญิงไทยว่า ทำไมบางคนบวชเรียนตั้งหลายพรรษา รักษาศีล ๒๒๗ ข้อ
สึกออกมาจึงเมาหย่ำเป ศีล ๕ ก็รู้จัก ทำไมรักษาไม่ได้ ..

:b1:



กรุณาตอบคำถามดิฉันก่อนนะคะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron