วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 16:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 110 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 10:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
สิ่งแรกที่เรารู้ได้จากเรื่องนี้ก็คือ นิพพานทั้ง๒มีลักษณะเป็นธาตุ
นี่ก็แสดงให้รู้ว่าจะเป็น สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ หรือ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ยังมีชีวิต



ถ้าผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาพอมีพื้นฐานทางภาษาของเขาบ้างแล้วพอแยกแยะรากศัพท์เองได้พอสมควร โดยเอาทั้ง "สอุปาทิเสส" กับ "อนุปาทิเสส" มาวางดู ว่าทั้งคู่มีความหมายอย่างไรแยกออกมา ถ้าอ่านแต่พระสูตรไปอย่างงั้น อ่านแล้วอาจตีคลุ่มตีความคลุมไปเองแยกแยะอะไรไม่ออกเลย :b1: พี่โฮว่าที่กรัชกายพูดเนีย ถูกหรือผิดครับ

พูดไม่รู้ฟังอีกแล้วไง บาลีไม่ใช่ราชาศัพท์ ถึงจะต้องรู้รากศัพท์
บาลีเป็นพุทธพจน์ที่พระพุทธทรงกล่าว เพื่อให้สาวกเข้าใจในสภาวะที่เป็นปรมัตถ์
จุดประสงค์ของพุทธองค์คือ ต้องการให้สาวกเอาบัติญัติที่พระองค์กล่าว ไปทำให้แจ้ง
นั้นหมายความว่า......ไปทำบัญญัติให้เป็นสภาวะธรรมในกายใจตนเอง

อันที่จริงแล้ว บัญญัติที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดขึ้นนับเป็นสากล
รากศัพท์จริงๆมันไม่ใช่บัญญัติ แต่มันเป็นสิ่งที่เกิดในกายใจของทุกคน
การจะแปลหรือตีความต้องดูไปที่กายใจตัวเอง

สิ่งที่พอช่วยได้ก็คือ คำอธิบายความเปรียบเทียบ ไม่ใช่บอกว่าไอ้นี้แปลว่าไอ้นั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 10:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้อ ถ้ายังงั้นก็เห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ)

มั่วได้ใจจริงๆ :b1: "ดับสัญญาในเวทนา" :b9: จับแพะชนแกะประจำ :b1:

รู้ความหมายของศัพท์เหล่านี้ไหม "สอุปาทิเสส" "อนุปาทิเสส"


จะยกตัวอย่างให้ดูจะได้รู้ว่า บัญญัติแต่ล่ะคำต้องหาเหตุที่มา
ไม่ใช่ไปหารากศัพท์.....ที่มาของบัญญัติ

สอุปาทิเสสสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชกบางพวก
โง่เขลา ไม่ฉลาด อย่างไรจักรู้ผู้ที่เป็นสอุปาทิเสสะว่า เป็นสอุปาทิเสสะ หรือ
จักรู้ผู้ที่เป็นอนุปาทิเสสะว่า เป็นอนุปาทิเสสะ ดูกรสารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้
ที่เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ๙ จำพวกเป็นไฉน ฯ
ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอันตราปรินิพพายี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๑ ผู้เป็น
สอุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจาก
เปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอุปหัจจปรินิพพายี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๒ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๓ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสสังขารปรินิพพายี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๔ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๕ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์
๓ สิ้นไป เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง กลับมายังโลกนี้เพียงคราวเดียว
จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๖ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นเอกพีชี เพราะสังโยชน์
สิ้นไป บังเกิดยังภพมนุษย์นี้ครั้งเดียว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูกรสารีบุตร
นี้บุคคลจำพวกที่ ๗ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นโกลังโกละ เพราะ
สังโยชน์ ๓ สิ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ ๒-๓ ตระกูล แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๘ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมโสดา
เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ยังเทวดาและมนุษย์ ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง
แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๙ ผู้เป็นสอุปาทิเสสะ
กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย
พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ดูกรสารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชกบางพวก
โง่เขลา ไม่ฉลาด อย่างไรจักรู้บุคคลผู้เป็นสอุปาทิเสสะว่า เป็นสอุปาทิเสสะ
หรือจักรู้บุคคลผู้เป็นอนุปาทิเสสะว่า เป็นอนุปาทิเสสะ ดูกรสารีบุตร บุคคล
๙ จำพวกนี้แล เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติและวินิบาต ฯ
ดูกรสารีบุตร ธรรมปริยายนี้ ยังไม่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกาก่อน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ฟังธรรมปริยายที่เรากล่าวด้วยความ
อธิบายปัญหานี้แล้ว อย่าถึงความประมาท ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 018&Z=8096


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ควรเข้าใจไว้ก่อนว่า ตามภาวะที่แท้จริง นิพพานมีอย่างเดียวเท่านั้น แต่ที่แยกประเภทออกไป ก็เพื่อแสดงอาการของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับนิพพานบ้าง พูดถึงนิพพานโดยปริยาย คือความหมายบางแง่บางด้านบ้าง*

การแบ่งประเภทนิพพานที่รู้จักกันทั่วไป คือ ที่แบ่งเป็น นิพพานธาตุ ๒ ตามคัมภีร์อิติวุตตกะ ได้แก่

๑. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุมีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานยังมีเชื้อเหลือ

๒. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุไม่มีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานไม่มีเชื้อเหลือ


สิ่งที่เป็นเกณฑ์แบ่งประเภทในที่นี้คือ "อุปาทิ" ซึ่งอรรถกถาอธิบายว่า ได้แก่ สภาพที่ถูกกรรมกิเลสถือครอง หรือสภาพที่ถูกอุปาทานยึดไว้มั่น หมายถึงเบญจขันธ์ (ขันธ์ ๕) เมื่อถือความตามคำอธิบายนี้ จึงได้ความหมายว่า

๑. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ นิพพานยังมีเบญจขันธ์เหลือ หรือ นิพพานที่ยังเกี่ยวข้อง กับ เบญจขันธ์

๒. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ นิพพานไม่มีเบญจขันธ์เหลือ หรือ นิพพานที่ไม่เกี่ยวข้อง กับ เบญจขันธ์


นิพพานอย่างแรก แปลความหมายกันต่อไปอีกว่า หมายถึงดับกิเลส แต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่ ตรงกับคำที่คิดขึ้นใช้ในรุ่นอรรถกถาว่า กิเลสปรินิพพาน (ดับกิเลสสิ้นเชิง)

ส่วนนิพพานอย่างที่สอง ก็แปลความหมายกันต่อไปว่า ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์ เหลือ ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์เมื่อสิ้นชีวิต ตรงกับคำที่คิดขึ้นใช้ในรุ่นอรรถกถาว่า ขันธปรินิพพาน (ดับขันธ์ ๕ สิ้นเชิง)


๑. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ แปลว่า ภาวะของนิพพานที่เป็นไปกับด้วยอุปาทิเสสเหลืออยู่ หรือนิพพานที่ยังเกี่ยวข้องกับขันธ์ ๕ ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ ในเวลาที่เสวยอารมณ์ต่างๆ รับรู้สุขทุกข์ทางอินทรีย์ทั้ง ๕ หรือนิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเกี่ยวข้องกับขันธ์ ๕ ในกระบวนการรับรู้เสวยอารมณ์ พูดอีกอย่างหนึ่งว่า นิพพานท่ามกลางกระบวนการรับรู้ทางประสาททั้ง ๕ ซึ่งเกี่ยวข้องกับขันธ์ ๕ โดยฐานเป็นอารมณ์หรือสิ่งที่ถูกรับรู้


นิพพานในข้อนี้ เป็นด้านที่เพ่งถึงผลซึ่งปรากฏออกมาในการรับรู้ หรือการเกี่ยวข้องกับโลกคือ สิ่งแวดล้อม ในการดำเนินชีวิตตามปกติของพระอรหันต์ ดังนั้น จึงเล็งไปที่ความหมายในแง่ของความสิ้นราคะ โทสะ และโมหะ ซึ่งทำให้การรับรู้หรือเสวยอารมณ์ต่างๆ เป็นไปด้วยจิตใจที่เป็นอิสระ

ขยายความออกไปว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ ภาวะจิตของพระอรหันต์ ซึงปลอดโปร่งเป็นอิสระ ไม่ถูกปรุงแต่งบังคับด้วยราคะ โทสะ และโมหะ ทำให้พระอรหันต์นั้น ผู้ยังมีอินทรีย์สำหรับรับรู้อารมณ์ต่างๆ บริบูรณ์ดีอยู่ตามปกติ เสวยอารมณ์ทั้งหลายด้วยจิตใจที่เป็นอิสระ ด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันธรรมชาติของมัน การเสวยอารมณ์หรือเวทนานั้น ไม่ถูกกิเลสครอบงำหรือชักจูง จึงไม่ทำให้เกิดตัณหาทั้งในทางบวกและทางลบ (ยินดี - ยินร้าย ชอบ-ชัง ติดใจ-ขัดใจ) พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ไม่มีตัณหาที่จะปรุงแต่งภพหรือชักนำไปสู่ภพ (ภวเนตติ)

ภาวะนี้มีลักษณะที่มองได้ ๒ ด้าน ด้านหนึ่งคือ การเสวยอารมณ์นั้นเป็นเวทนาอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ในตัว เพราะไม่มีสิ่งกังวลติดข้องค้างใจหรือเงื่อนปมใดๆ ภายใน ที่จะมารบกวน และอีกด้านหนึ่ง เป็นการเสวยอารมณ์อย่างไม่สยบ ไม่อภินันท์ ไม่ถูกครอบงำหรือผูกมัดตัว ไม่ทำให้เกิดอาการยึดติด หรือมัวเมาเป็นเงื่อนงำต่อไปอีก

ภาวะเช่นนี้ ย่อมเป็นไปอยู่ตลอดเวลาในการดำเนินชีวิตตามปกติของพระอรหันต์ เป็นเรื่องปัจจุบันเฉพาะหน้า แต่ละเวลาแต่ละขณะที่รับรู้อารมณ์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเรียกว่า ทิฏฐธรรม (แปลว่า อย่างที่เห็นๆกัน หรือทันตาเห็นในเวลานั้นๆ)

ตามความหมายดังที่กล่าวมานี้ นิพพานธาตุอย่างที่หนึ่ง จึงต้องเป็นภาวะของพระอรหันต์ที่ยังทรงชีพและดำเนินชีวิตเกี่ยวข้องกบโลก ภายนอกอยู่ตามปกติ อย่างที่เห็นๆกัน และทันตาเห็น เป็นปัจจุบัน

๒. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แปลว่า ภาวะของนิพพานที่ไม่มีอุปาทิเสสเหลืออยู่ หรือนิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับขันธ์ ๕ ได้แก่ นิพพานของพระ อรหันต์พ้นจากเวลาที่เสวยอารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๕ หรือนิพพานของพระอรหันต์ที่นอกเหนือจากความเกี่ยวของกับขันธ์ ๕ ในกระบวนการรับรู้เสวยอารมณ์




พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ภาวะของนิพพานเองล้วนๆแท้ๆ ซึ่งประจักษ์แก่พระอรหันต์ในเมื่อประสบการณ์ ในกระบวนการรับรู้ทางประสาท ทั้ง ๕ สิ้นสุดลง หรือในเมื่อไม่มีการรับรู้ หรือในเมื่อไม่เกี่ยวข้องกับการรับรู้อารมณ์ทางประสาททั้ง ๕ เหล่านั้น (รวมทั้งอารมณ์ผ่านทางประสาททั้ง ๕ นั้น ที่ยังค้างอยู่ในใจ)

ขยายความออกไปว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ ภาวะนิพพานที่พระอรหันต์ประสบ อันเป็นส่วนที่ลึกซึ้งลงไป หรือ ล้ำเลยออกไปกว่าที่มองเห็นกันได้ พ้นจากเวลาที่เสวยอารมณ์ หรือรับรู้ประสบการณ์ทางอินทรีย์ทั้ง ๕ แล้ว กล่าวคือ หลังจากรับรู้ประสบการณ์ หรือเสวยอารมณ์ โดยไม่อภินันท์ด้วยตัณหา ไม่เสริมแต่งคลอเคลีย หรือกริ่มกรุ่นด้วยกิเลส คือราคะ โทสะ และโมหะ (อภินันทิตะ) แล้ว อารมณ์หรือประสบการณ์เหล่านั้น ก็ไม่ค้างคาที่จะมีอำนาจครอบงำชักจูงหรือรบกวนต่อไปอีก จึงกลายเป็นของเย็น (สีติภวิสสนฺติ) คือสงบราบคาบหมดพิษสงไป ไม่อาจก่อชาติก่อภพขึ้นได้อีก พูดเป็นสำนวนว่า พระอรหันต์มีความสามารถพิเศษที่จะทำให้อารมณ์หรือประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามา มีสภาพเป็นกลาง ปราศจากอำนาจครอบงำหน่วงเหนี่ยว กลายเป็นของสงบเย็นอยู่ใต้อำนาจของท่าน พระอรหันต์จึงได้ชื่อที่เป็นคุณลักษณะอย่างหนึ่งว่า สีติภูต หรือ สีตะ แปลว่า เป็นผู้เย็นแล้ว


ภาวะที่ประจักษ์ โดยปราศจากประสบการณ์เสริมแต่งค้างคาอยู่ หรือภาวะที่ประสบในเมื่อไม่มีอารมณ์ภายนอกคั่งค้างครองใจหรือคอบรบกวนอยู่ เช่นนี้ นับว่าเป็นภาวะชั้นใน ซึ่งอยู่นอกเหนือจากการติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกภายนอก ล้ำเลยไปกว่าระดับการรับรู้ทางอินทรีย์ ๕ พ้นจากกระบวนการรับรู้เสวยอารมณ์ที่พัวพันอยู่กับขันธ์ ๕ เรียกได้ว่า เป็นการเข้าถึงภาวะที่ปราศจากภพ หรือไม่มีภพใหม่


ในภาวะเช่นนี้ คือ เมื่อไมมีขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ ท่านผู้บรรลุนิพพานแล้ว ก็จึงมีนิพพานเป็นอารมณ์ คือ ประจักษ์หรือประสบนิพพานในฐานะที่เป็นธัมมายตนะ


นิพพานในข้อที่สองนี้ เป็นด้านที่เพ่งถึงภาวะของนิพพานเองแท้ๆ ที่ประจักษ์แก่พระอรหันต์พ้นจากกระบวนการรับรู้เสวยอารมณ์ภายนอก นอกเหนือจากการดำเนินชีวิตตามปกติ เป็นภาวะที่พูดถึงหรือบรรยายได้เพียงแค่ลักษณะของการเกี่ยวข้องกับนิพพาน นั้น ถึงจุดที่ประสบการณ์อย่างที่รู้ที่เข้าใจกัน ซึ่งไม่ใช่นิพพาน ได้สิ้นสุดลง ส่วนภาวะนิพพานเองแท้ๆ ซึ่งลึกเลยไปกว่านั้น เป็นเรื่องของผู้ประสบและประจักษ์เองจะรู้และเข้าใจ คือเป็นสันทิฏฐิกะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกายอ่านพระสูตรที่พี่โฮเอามาอ้างอิง ก็จะรู้ที่มาของคำว่า...สอุปาทิเสส
พิจารณาให้ดีก็จะรู้ว่า สอุปาทิเสส คือบุคคลผู้ละกิเลส เรียกอีกอย่างว่า...เสขะบุคคล


เอาคำว่า "สอุปาทิเสสนิพพาน"มาแล้วลองหารากศัพท์
ถามหน่อย มันจะรู้เรื่องมั้ย มันจะเป็นหัวมังกุท้ายมังกรหรือเปล่า

สอุปาทิเสสเป็นแค่อริยบุคคลในระดับเสขะ
แต่นิพพานเป็นสภาวะของพระอเสขะหรือพระอรหันต์

ถามอีกครั้งถ้าแปลตามรากศัพท์แบบที่กรัชกายพร่ำจ้อ
มันได้เรื่องได้ราวมั้ย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 10:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


เปรียบเทียบด้วยอปมา





ถ้าจะอุปมา เปรียบมนุษย์ปุถุชนทั้งหลาย เหมือนคนที่ว่ายน้ำฝ่ากระแสคลื่นลมอยู่ในทะเลใหญ่ ผู้บรรลุนิพพาน ก็เหมือนคนที่ขึ้นฝั่งได้แล้ว


ภาวะที่อยู่บนฝั่งแล้ว ซึ่งเป็นภาวะเต็มอิ่มสมบูรณ์ในตัวของมันเอง มีความปลอดโปร่งโล่งสบาย ซึ่งบุคคลผู้นั้นประสบอยู่ภายใน ประจักษ์แก่ตนเองโดยเฉพาะ เปรียบได้กับอนุปาทิเสสนิพพาน ส่วนภาวะที่ไม่ถูกบีบคั้นคุกคาม ไม่ติดขัดจำกัดตัวอยู่ในเกลียวคลื่น ไม่ถูกซัดไปซัดมา ไม่เป็นผู้ตกอยู่ใต้อำนาจของคลื่นลม สามารถเกี่ยวข้องกับสิ่งที่อยู่รอบตัวอย่างเป็นอิสระและได้ผลดี ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้ตามปรารถนา เปรียบได้กับสอุปาทิเสสนิพพาน


ถ้าจะอุปมาให้ใกล้ตัวมากกว่านั้น เปรียบมนุษย์ปุถุชนทั้งหลายเหมือนคนเจ็บไข้ ผู้บรรลุนิพพานก็เหมือนคนที่หายป่วยแล้ว หรือคนที่สุขภาพดี ไม่มีโรค


ความไม่มีโรค หรือความแข็งแรงมีสุขภาพดีนั้น เป็นภาวะที่สมบูรณ์ในตัวของมันเอง ซึ่งบุคคลผู้นั้นจะประสบประจักษ์อยู่ภายในตนเองโดยเฉพาะ ภาวะนี้จะอิ่มเอิบชื่นบาน ปลอดโปร่ง โล่งสบาย คล่องเบาอย่างไร เป็นประสบการณ์เฉพาะตัวของผู้นั้น คนอื่นอาจจะคาดหมายตามอาการและเหตุผล แต่ก็ไม่สามารถประสบเสวยได้ ภาวะนี้เปรียบได้กับอนุปาทิเสสนิพพาน ส่วนภาวะอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเนื่องอยู่ด้วยกันนั่นเอง และอาจแสดงออกได้ หรือมีผลต่อการแสดงออกในการดำเนินชีวิต หรือติดต่อเกี่ยวข้องกันสภาพแวดล้อมต่างๆ คือ ความไม่ถูกโรคบีบคั้น ไม่อึดอัด ไม่อ่อนแอ ไม่ถูกขัดขวาง ถ่วง หรือชะงักงันด้วยความเจ็บปวดและอ่อนเปลี้ย เป็นต้น สามารถขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวทำอะไรต่างๆ ได้ตามต้องการ ภาวะนี้ เทียบได้กับอนุปาทิเสสนิพพาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 10:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


สรุปความว่า นิพพานมีอย่างเดียว แต่แบ่งมองเป็น ๒ ด้าน ด้านที่หนึ่ง คือ นิพพานในแง่ของความสิ้นกิเลส ซึ่งมีผลต่อการติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกภายนอก หรือต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ด้านที่สอง คือ นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะจำเพาะล้วนๆ แท้ๆ ซึ่งเป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้บรรลุ ไม่อาจหยั่งถึงด้วยประสบการณ์ทางอินทรีย์ ๕ เป็นเรื่องนอกเหนือจากประสบการณ์ที่เนื่องด้วยขันธ์ ๕ ทั้งหมด


อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานตามความหมายของนิพพานเองแท้ๆ ล้วนๆ (ไม่เกี่ยวข้องกับขันธ์ ๕ ) สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานตามความหมายในทางปฏิบัติเมื่อสัมพันธ์กับ การดำเนินชีวิตประจำวัน



พูดอีกอย่างหนึ่งว่า อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานในความหมายที่พระอรหันต์มีนิพพานเป็น อารมณ์ สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานในความหมายที่พระอรหันต์มีขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกายอ่านพระสูตรที่พี่โฮเอามาอ้างอิง ก็จะรู้ที่มาของคำว่า...สอุปาทิเสส
พิจารณาให้ดีก็จะรู้ว่า สอุปาทิเสส คือบุคคลผู้ละกิเลส เรียกอีกอย่างว่า...เสขะบุคคล


เอาคำว่า "สอุปาทิเสสนิพพาน"มาแล้วลองหารากศัพท์
ถามหน่อย มันจะรู้เรื่องมั้ย มันจะเป็นหัวมังกุท้ายมังกรหรือเปล่า

สอุปาทิเสสเป็นแค่อริยบุคคลในระดับเสขะ
แต่นิพพานเป็นสภาวะของพระอเสขะหรือพระอรหันต์

ถามอีกครั้งถ้าแปลตามรากศัพท์แบบที่กรัชกายพร่ำจ้อ
มันได้เรื่องได้ราวมั้ย




โฮฮับ สรุปพระสูตรดิ เอาเฉพาะประเด็น สอุปาทิเสสนิพพาน กับ อนุปาทิเสสนิพพาน มาแบให้เห็น ตามความเข้าใจของโฮฮับดิเอ้า :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 11:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ต่อ


สรุปความว่า นิพพานมีอย่างเดียว แต่แบ่งมองเป็น ๒ ด้าน ด้านที่หนึ่ง คือ นิพพานในแง่ของความสิ้นกิเลส ซึ่งมีผลต่อการติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกภายนอก หรือต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ด้านที่สอง คือ นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะจำเพาะล้วนๆ แท้ๆ ซึ่งเป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้บรรลุ ไม่อาจหยั่งถึงด้วยประสบการณ์ทางอินทรีย์ ๕ เป็นเรื่องนอกเหนือจากประสบการณ์ที่เนื่องด้วยขันธ์ ๕ ทั้งหมด


อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานตามความหมายของนิพพานเองแท้ๆ ล้วนๆ (ไม่เกี่ยวข้องกับขันธ์ ๕ ) สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานตามความหมายในทางปฏิบัติเมื่อสัมพันธ์กับ การดำเนินชีวิตประจำวัน



พูดอีกอย่างหนึ่งว่า อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานในความหมายที่พระอรหันต์มีนิพพานเป็น อารมณ์ สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานในความหมายที่พระอรหันต์มีขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์

ถามหน่อย รู้จักแห่งธรรมชาติ ที่เรียกว่า ธรรมฐิติ ธรรมนิยามมั้ย
สัญญาในเวทนา ไม่ใช่ขันธ์ มันเป็นเป็นธรรมฐิติ

สัญญาที่ว่าคือความจำได้หมายรู้ นั้นคือความจำ ความคิดอันเป็นธรรมชาติของสมอง
ส่วนเวทนา คือการรับรู้การกระทบของประสาทสสัมผัส
สัญญาในเวทนา หมายถึงการจำได้ถึงลักษณะของการกระทบ
สิ่งเหล่านี้ไม่ทำให้เกิดขันธ์ห้าในพระอรหันต์แล้ว

สัญญาในเวทนาเป็นธรรมฐิติ เวทนาขันธ์และสัญญาขันธ์เป็นธรรมนิยาม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 11:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ต่อ


สรุปความว่า นิพพานมีอย่างเดียว แต่แบ่งมองเป็น ๒ ด้าน ด้านที่หนึ่ง คือ นิพพานในแง่ของความสิ้นกิเลส ซึ่งมีผลต่อการติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกภายนอก หรือต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ด้านที่สอง คือ นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะจำเพาะล้วนๆ แท้ๆ ซึ่งเป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้บรรลุ ไม่อาจหยั่งถึงด้วยประสบการณ์ทางอินทรีย์ ๕ เป็นเรื่องนอกเหนือจากประสบการณ์ที่เนื่องด้วยขันธ์ ๕ ทั้งหมด


อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานตามความหมายของนิพพานเองแท้ๆ ล้วนๆ (ไม่เกี่ยวข้องกับขันธ์ ๕ ) สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานตามความหมายในทางปฏิบัติเมื่อสัมพันธ์กับ การดำเนินชีวิตประจำวัน



พูดอีกอย่างหนึ่งว่า อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานในความหมายที่พระอรหันต์มีนิพพานเป็น อารมณ์ สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานในความหมายที่พระอรหันต์มีขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์


ถามหน่อย รู้จักแห่งธรรมชาติ ที่เรียกว่า ธรรมฐิติ ธรรมนิยามมั้ย
สัญญาในเวทนา ไม่ใช่ขันธ์ มันเป็นเป็นธรรมฐิติ

สัญญาที่ว่าคือความจำได้หมายรู้ นั้นคือความจำ ความคิดอันเป็นธรรมชาติของสมอง
ส่วนเวทนา คือการรับรู้การกระทบของประสาทสสัมผัส
สัญญาในเวทนา หมายถึงการจำได้ถึงลักษณะของการกระทบ
สิ่งเหล่านี้ไม่ทำให้เกิดขันธ์ห้าในพระอรหันต์แล้ว

สัญญาในเวทนาเป็นธรรมฐิติ เวทนาขันธ์และสัญญาขันธ์เป็นธรรมนิยาม


Quote Tipitaka:
ถามหน่อย รู้จักแห่งธรรมชาติ ที่เรียกว่า ธรรมฐิติ ธรรมนิยามมั้ย
สัญญาในเวทนา ไม่ใช่ขันธ์ มันเป็นเป็นธรรมฐิติ




ไปเอาความคิดนี้มาแต่ไหนพ่อมหาจำเริญ คิกๆๆ สัญญาก็สัญญาขันธ์ เวทนาก็เวทนาขันธ์

(เดี๋ยวก็ถามสะอีกนิ ธรรมฐิติ ที่ว่าเนี่ยมันอะไร )

ถ้าจะอ้างธรรมนิยามนะ มันเป็นนิยามทั้งหมดแ้หละ ไม่ต้องแยกนั่นแยกนี่แล้วมันมัว รู้มั้ย :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 11:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกายอ่านพระสูตรที่พี่โฮเอามาอ้างอิง ก็จะรู้ที่มาของคำว่า...สอุปาทิเสส
พิจารณาให้ดีก็จะรู้ว่า สอุปาทิเสส คือบุคคลผู้ละกิเลส เรียกอีกอย่างว่า...เสขะบุคคล


เอาคำว่า "สอุปาทิเสสนิพพาน"มาแล้วลองหารากศัพท์
ถามหน่อย มันจะรู้เรื่องมั้ย มันจะเป็นหัวมังกุท้ายมังกรหรือเปล่า

สอุปาทิเสสเป็นแค่อริยบุคคลในระดับเสขะ
แต่นิพพานเป็นสภาวะของพระอเสขะหรือพระอรหันต์

ถามอีกครั้งถ้าแปลตามรากศัพท์แบบที่กรัชกายพร่ำจ้อ
มันได้เรื่องได้ราวมั้ย




โฮฮับ สรุปพระสูตรดิ เอาเฉพาะประเด็น สอุปาทิเสสนิพพาน กับ อนุปาทิเสสนิพพาน มาแบให้เห็น ตามความเข้าใจของโฮฮับดิเอ้า :b1:



ยอมรับอยู่ว่า โฮฮับขยันอ่านพระสูตร แต่อ่านแล้วนิ บ้า :b1: ควรมีผู้แนะนำ

เทียบรายการโทรทัศน์ รายการต่อไปนี้ รับชมได้ทุกเพศทุกวัย ... นี่แสดงว่าเด็ดดูได้ผู้ใหญ่ดูดี

แต่มีบางรายการ จะมีคำเตือนว่า รายการต่อไปนี้เหมาะกับผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้น อายุต่ำกว่านี้ ควรมีผู้ปกครองคอยแนะนำ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 12:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
แต่นิพพานเป็นสภาวะของพระอเสขะหรือพระอรหันต์


ช่วยหาพระสูตรหรือพุทธวจนะ มาแนบในการอธิบายจะได้ไหม


ตามพระสูตรนี้ พระองค์ก็ไม่มีการเจาะจงลงไปว่า หมายถึงพระอรหันต์เท่านั้น

มีแต่ ที่ทรงตรัสไว้ ประเภทของ สอุปาทิเสส และอนุปาทิเสส


ถ้าหมายถึง พระขีณาสพ ต้องเหมือนพระสูตรอื่นๆ
ที่พระองค์ทรงตรัสเรียกว่า ลักษณะแบบนี้ คือ พระขีณาสพ โดยตรง


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0


นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้

พระตถาคต ผู้มีจักษุผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว


อันนิพพานธาตุอย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่า สอุปาทิเสส
เพราะสิ้นตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพ


ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง) เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง
อันมีในเบื้องหน้าชื่อว่า อนุปาทิเสส

ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้
มีจิตหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ

ชนเหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลส
เพราะบรรลุธรรม อันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด ฯ



หมายเหตุ:


สอุปาทิเสส หมายถึง เพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ

อนุปาทิเสส หมายถึง เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด


สอุปาทิเสส มีเจาะจงชี้ไว้ชัด ภพยังละไม่ได้ทั้งหมด
ถ้าละภพได้ทั้งหมด ต้องมีเจาะจงไว้ เหมือนอนุปาทิเสส

อนุปาทิเสส มีเจาะจงชี้ไว้ชัด เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด


ในคำกล่าวนี้ พระผู้มีพระภาค ทรงประกาศ เกี่ยวกับ นิพพานธาตุว่า มีสองประเภท

ชื่อก็บอกตรงๆว่า เป็น สอุปาทิเสสและอนุปาทิเสส


เมื่อต้องการรู้ว่า สอุปาทิเสส คืออะไร ก็มีปรากฏอยู่ในพระสูตร
ที่เหลือ อนุปาทิเสส ก็ไม่จำเป็นต้องหา
เพราะไม่มีเกี่ยวข้องใน สอุปาทิเสส นั่นคือ พระขีณาสพ




โฮฮับ เขียน:

สอุปาทิเสสสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชกบางพวก
โง่เขลา ไม่ฉลาด อย่างไรจักรู้ผู้ที่เป็นสอุปาทิเสสะว่า เป็นสอุปาทิเสสะ หรือ
จักรู้ผู้ที่เป็นอนุปาทิเสสะว่า เป็นอนุปาทิเสสะ ดูกรสารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้
ที่เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ๙ จำพวกเป็นไฉน ฯ
ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอันตราปรินิพพายี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๑ ผู้เป็น
สอุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจาก
เปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอุปหัจจปรินิพพายี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๒ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๓ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสสังขารปรินิพพายี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๔ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๕ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์
๓ สิ้นไป เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง กลับมายังโลกนี้เพียงคราวเดียว
จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๖ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นเอกพีชี เพราะสังโยชน์
สิ้นไป บังเกิดยังภพมนุษย์นี้ครั้งเดียว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูกรสารีบุตร
นี้บุคคลจำพวกที่ ๗ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นโกลังโกละ เพราะ
สังโยชน์ ๓ สิ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ ๒-๓ ตระกูล แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๘ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมโสดา
เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ยังเทวดาและมนุษย์ ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง
แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๙ ผู้เป็นสอุปาทิเสสะ
กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย
พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ดูกรสารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชกบางพวก
โง่เขลา ไม่ฉลาด อย่างไรจักรู้บุคคลผู้เป็นสอุปาทิเสสะว่า เป็นสอุปาทิเสสะ
หรือจักรู้บุคคลผู้เป็นอนุปาทิเสสะว่า เป็นอนุปาทิเสสะ ดูกรสารีบุตร บุคคล
๙ จำพวกนี้แล เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติและวินิบาต ฯ
ดูกรสารีบุตร ธรรมปริยายนี้ ยังไม่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกาก่อน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ฟังธรรมปริยายที่เรากล่าวด้วยความ
อธิบายปัญหานี้แล้ว อย่าถึงความประมาท ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 018&Z=8096

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
โฮฮับ เขียน:
แต่นิพพานเป็นสภาวะของพระอเสขะหรือพระอรหันต์


ช่วยหาพระสูตรหรือพุทธวจนะ มาแนบในการอธิบายจะได้ไหม


ตามพระสูตรนี้ พระองค์ก็ไม่มีการเจาะจงลงไปว่า หมายถึงพระอรหันต์เท่านั้น

มีแต่ ที่ทรงตรัสไว้ ประเภทของ สอุปาทิเสส และอนุปาทิเสส


ถ้าหมายถึง พระขีณาสพ ต้องเหมือนพระสูตรอื่นๆ
ที่พระองค์ทรงตรัสเรียกว่า ลักษณะแบบนี้ คือ พระขีณาสพ โดยตรง


ใน...ธาตุสูตรที่ผมเอามาให้ดูก็เพื่อจะชี้ให้เห็นว่า จะเป็นสอุปาทิเสสนิพพานหรืออนุปาทิสเสสนิพพาน
ทั้งหมดล้วนเป็น พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิต
เพราะบางคนบอกว่า สอุปาทิเสสนิพพานเป็นอรหันตที่ยังมีชีวิตมีขันธ์ห้า
อนุปาทิเสสนิพพานเป็นอรหันต์ที่ตายแล้วและไม่มีขันธ์ห้า
ผมเลยยกเอาเรื่องธาตุสูตรขึ้นมา เพื่อให้รู้ว่าทั้งสองล้วนมีชีวิต

*นี่เป็นกรณีหนึ่ง
*************************************************

ส่วนพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่อง......สอุปาทิเสสสูตร เป็นเพื่ออ้างให้นายกรัชกายรู้ว่า
การรู้ธรรมไม่ใช่ไปท่องคำศัพท์ ไม่ใช่เอาคำศัพท์มาแปล เพราะความหมายมันไม่เหมือนกันโดยสภาวะ

********************************************************

พระสูตรที่คุณให้ผมอ้างอิง ไม่รู้ว่าผมเข้าใจถูกหรือเปล่าว่า
คุณต้องการหลักฐานที่ว่า......
ผู้มีสภาวะสอุปาทิเสสนิพพานและอนุปาทิเสสนิพพาน เป็น อรหันต์ ขีณาสพด้วยกันทั้งสอง

ถ้าผมเข้าถูก พระสูตรที่ว่าก็คือ...........

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต


ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน
คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มี
สังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมเสวย
อารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕
เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่ง
โมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของ
ตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมี
ตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรา
เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการ
นี้แล ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี
พระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ พระตถาคต ผู้มีจักษุผู้อันตัณหา
และทิฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว อันนิพพานธาตุ
อย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสส เพราะสิ้นตัณหา
เครื่องนำไปสู่ภพ ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง) เป็นที่
ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง อันมีในเบื้องหน้า
ชื่อว่าอนุปาทิเสส ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้
มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ ชน
เหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลสเพราะบรรลุธรรม
อันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... E%BE%D2%B9


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... E%BE%D2%B9

อย่าไปนำบทความตัดสอนมาสิ ต้องนำฉบับเต็มมา


บทแรก เป็นเรื่องเล่าจาก พระอานนท์ ว่าพระผู้มีพระภาค ทรงตรัสไว้เช่นนี้
"เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า"

และอีกบท เป็นส่วนที่พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสไว้โดยตรง
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี
พระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ พระตถาคต ผู้มีจักษุผู้อันตัณหา
และทิฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว อันนิพพานธาตุ
อย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสส เพราะสิ้นตัณหา
เครื่องนำไปสู่ภพ

ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง) เป็นที่
ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง อันมีในเบื้องหน้า
ชื่อว่าอนุปาทิเสส ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้
มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ ชน
เหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลสเพราะบรรลุธรรม
อันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0




ในคำกล่าวนี้ พระผู้มีพระภาค ทรงประกาศ เกี่ยวกับ นิพพานธาตุว่า มีสองประเภท

ชื่อก็บอกตรงๆว่า เป็น สอุปาทิเสสและอนุปาทิเสส


เมื่อต้องการรู้ว่า สอุปาทิเสส คืออะไร ก็มีปรากฏอยู่ในพระสูตร
ที่เหลือ อนุปาทิเสส ก็ไม่จำเป็นต้องหา
เพราะไม่มีเกี่ยวข้องใน สอุปาทิเสส นั่นคือ พระขีณาสพ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กำหนดภูมินัยที่ ๒ ด้วยสามารถเสขบุคคล
[๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใดเป็นเสขบุคคล ยังไม่บรรลุพระอรหัตผล เมื่อ
ปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอยู่ แม้ภิกษุนั้นรู้ธาตุดินโดยความ
เป็นธาตุดิน ครั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว อย่าสำคัญธาตุดิน อย่าสำคัญในธาตุดิน
อย่าสำคัญโดยความเป็นธาตุดิน อย่าสำคัญธาตุดินว่า ของเรา อย่ายินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุ
อะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาควรกำหนดรู้.
ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ...
สุภกิณพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญ-
*จายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ
... วิญญาณ ที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะ
ทั้งปวง ...
ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน
แล้ว อย่าสำคัญพระนิพพาน อย่าสำคัญในพระนิพพาน อย่าสำคัญโดยความเป็นพระนิพพาน
อย่าสำคัญพระนิพพานว่า ของเรา อย่ายินดีพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า
เพราะเขาควรกำหนดรู้.
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้าที่ ๖.

กำหนดภูมินัยที่ ๒ ด้วยสามารถเสขบุคคล.



กำหนดภูมินัยที่ ๓ ด้วยสามารถพระขีณาสพ
[๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลส เครื่องประกอบสัตว์
ไว้ในภพแล้ว
หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นรู้
ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สำคัญธาตุดิน ไม่สำคัญในธาตุดิน ไม่สำคัญโดยความ
เป็นธาตุดิน ไม่สำคัญธาตุดินว่าของเรา ไม่ยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า
เพราะเธอกำหนดรู้แล้ว.
ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม
... สุภกิณพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตน-
*พรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ...
อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะ-
*ต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...
ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน
แล้ว ย่อมไม่สำคัญพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญในพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญโดยความเป็น
พระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมไม่ยินดีพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เรากล่าวว่า เพราะเธอกำหนดรู้แล้ว.
กำหนดภูมินัยที่ ๓ ด้วยสามารถพระขีณาสพ.


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=1

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 15:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับคำท้วงติง ที่มีมา

เป็นเหตุให้ ย้อนกลับไปดูข้อความทั้งหมดอีกครั้ง

จึงเห็นว่า อ่านไม่หมด โดยเฉพาะประโยคท่อนสุดท้าย คือ
1. สอุปาทิเสสบุคคล = พระเสขะ
2. อนุปาทิเสสบุคคล = พระอเสขะ


............................................................................

หมายเหตุ: ตามคำอธิบายนัยหนึ่งว่า
1. = ดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ( = กิเลสปรินิพพาน - extinction of the defilements)
2. = ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ( = ขันธปรินิพพาน - extinction of the Aggregates)
หรือ
1. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ 5 รับรู้สุขทุกข์อยู่
2. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว

It.38. ขุ.อิติ. 25/222/258.

อีกนัยหนึ่งกล่าวถึงบุคคลว่า

1. สอุปาทิเสสบุคคล = พระเสขะ
2. อนุปาทิเสสบุคคล = พระอเสขะ

http://www.84000.org/heart.html


.........................................


สำหรับการสนทนา


ใครจะหาหลักฐานมาอ้างอิงยังไงกัน
ก็หามาแนบไว้ เพื่อนำมาแสดงในทิฏฐิของตน


ผู้ใดเห็นไม่ตรงกัน หรืออาจจะเห็นเหมือนกัน เพียงมีข้อปลีกย่อยออกไปอีก
ทุกคนสามารถแสดงข้อคิดเห็น ตามทิฏฐิของตนได้ เหมือนกันหมด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 110 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร