วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 21:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2013, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

ขอบคุณครับ คุณโฮฮับ

:b8:

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2013, 04:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับเข้าใจธรรมะว่าอยู่นอกโลก พ้นจากเรื่องของคน (หรือชีวิต) พูดไปเรื่อยเปื่อย ที่จริงธรรมะ (พูดโดยภาษาสมมติ) มันเรื่องของคนล้วนๆ เรื่องของชีวิตนี้แท้ๆ แต่เราไปหลงภาษาของเขา พูดได้แต่ไม่เข้าใจว่าเขาสื่อถึงอะไร นี้เรื่องใหญ่สำหรับผู้ศึกษาธรรมะบ้านเรา

อวิชาล้วนๆ! จะบอกให้เรื่องนอกโลกในโลก ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของคน
กรัชกายเป็นคนประเภทใด กรัชกายก็จะเหมาสรุปว่า คนประเภทเดียวกันคือคน
แลัวก็จะมองสิ่งผิดแผกแตกต่างจากตนว่า ไม่ใช่คน

พูดไปแล้วมันก็ไม่ผิดที่จะคิดแบบนั้น เพราะพระพุทธเจ้าก็ยังแบ่งธรรมออกเป็น๒ประเภท
นั้นก็คือ.....โลกียะและโลกุตตระ หรือปุถุชนและอริยชน

จากคำพูดที่ยกมา ทำให้รู้ได้ว่า คำพูดไหนเป็นคำพูดของปุถุชนผู้ที่สังวนเวียนในสังสารวัฏ
ถูกครอบและบ่งการด้วยโลกียะ


กรัชกาย เขียน:
ดูนะธรรมะเรื่องของชีวิตยังไง แล้วท่านจำแนกออกไปมากมายยังไง ตามภาษาบาลีเค้า

ชีวิต=> นามรูป => ขันธ์ 5 => อายตนะ 12 => ธาตุ 18 => อินทรีย์ 22

คัมภีร์อภิธรรมจำแนกชีวิตออกเป็น จิต เจตสิก รูป เทียบกับที่ท่านจำแนกโดยความเป็นขันธ์ (กอง) ที่เราท่องติดปากว่าขันธ์ 5

-รูป = รูป - รูปคำภีร์อภิธรรมยังจำแนกออกอีกมากมายจารไนไม่หวาดไหว

-เวทนา

-สัญญา

-สัีงขาร - เวทนา สัญญา สังขาร = เจตสิก เจตสิก ท่านก็จำแนกออกไปอีกมากมาย

-วิญญาณ = จิต จิต ท่านก็จำแนกออกไปอีกมากมาย

เราไปหลงไปติดอยู่ที่ท่านจำแนกโดยภาษาของเขานี่แหละ หรือใครจะเถียง



ที่กรัชกายยกเอามาเป็นตัวอย่าง แล้วบอกว่า "เราหลงไปติดภาษาของเขา"
พูดแบบนี้ มันเป็นลักษณะของ โมฆะบุุรุษ พูดด้วยอวิชา

นี่เป็นเพราะติดที่จำแต่ภาษาคำศัพท์ เขาให้มองลงที่ธรรม นี่ดันมองแต่คำศัพท์
ที่คัมภีร์อภิธรรมแยกแยะชีวิตออกไปก็เพื่อให้รู้ลักษณะของคน นั้นคือ อริยชนและปุถุชน
ท่านกล่าวลงในคนที่เป็นปุถุชนว่ามีอะไรบ้าง เหตุใดจึงยังไม่ได้เป็นอริยชน


ผู้ที่ลงมือปฏิบัติจริงๆ บุคคลนั้นจะต้องยึดเอาแต่พุทธพจน์มาเป็นปริยัติ
ไม่ใช่ไปเอาตำราเรียนพุทธศาสตร์มาแบบแผน ตำราหรือบทเรียนพุทธศาสตร์
เป็นการสอนพุทธศาสตร์ในลักษณะของโลกียะ เข้าใจมั้ย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2013, 04:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์
ทั้งที่ความเป็นอนิจจัง ทุกข์ และอนัตตานี้เป็นลักษณะสามัญของสิ่งทั้งหลาย เป็นความจริงที่แสดงตัวของมันเองอยู่ตามธรรมดาตลอดทุกเวลา แต่คนทั่วไปก็มองไม่เห็น ทั้งนี้เพราะเป็นเหมือนมีสิ่งปิดบังคอยซ่อนคลุมไว้ ถ้าไม่มนสิการคือไม่ใส่ใจพิจารณาอย่างถูกต้อง ก็มองไม่เห็น สิ่งที่เป็นเหมือนเครื่องปิดบังซ่อนคลุมเหล่านี้ คือ

1. สันตติ บังอนิจจลักษณะ

2. อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ

3. ฆนะ บังอนัตตลักษณะ


อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ลักษณะสามัญของธรรมที่เรียกว่าสังขาร

อนิจจลักษณะ.....ไม่ใช่อนิจจัง
ทุกขลักษณะ.......ไม่ใช่ทุกขัง
อนัตตลักษณะ......ไม่ใช่อนัตตา

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ล้วนเป็นสังขาร หมายความว่า
อนิจจังมีสาเหตุมาจาก....การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของธรรมนั้น
ทุกขังมีสาเหตุมาจาก......การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของธรรมนั้น
อนัตตามีสาเหตุมาจาก....การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของธรรมนั้น

สรุป อนิจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะ...ก็คือ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2013, 04:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:

การไม่รู้ในไตรลักษณ์ ทำให้ไม่รู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ของสิ่งที่เรียกว่า
รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญานด้วย

ความสำคัญมันอยู่ตรงนี้ครับ ไม่รู้ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาน มันเกิดแล้วก็ดับ
เหตุนี้จึงทำให้เกิดอุปาทานขึ้นที่จิต และไปยึดรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาน


อ้างคำพูด:
การไม่รู้ในไตรลักษณ์ ทำให้ไม่รู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ของสิ่งที่เรียกว่า
รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญานด้วย


ต้องพูดใหม่เพ่โฮ ความไม่รู้เห็นการเกิดดับของนามรูป (เรียกสั้นๆ) ก็จึงไม่เห็นไตรลักษณ์ด้วย เพราะไตรลักษณ์ ก็คือสภาพเกิดๆดับๆ ของนามรูป :b1:

สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์ ก็คือ สันตติ อิริยาบถ ฆนะ


ไตรลักษณ์เป็นลักษณะของอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา
การรู้ไตรลักษณ์ แบบนี้เป็นไปตามบัญญัติของผู้ที่บัญญัติ คือหมายถึงลักษณะ
แต่แต่เอาตามพุทธพจน์ ไม่ได้หมายถึงลักษณะ แต่เป็นตัวธรรมแท้ๆ
พูดให้เข้าใจ บัญญัติ"ไตรลักษณ์"ของครูบาอาจารย์ หมายถึงเหตุ
แต่พุทธพจน์ หมายถึงผล


ถ้าเราจะเอาความหมายตามครูบาอาจารย์ที่บัญญัติ "ไตรลักษณ์"
ท่านหมายถึง ลักษณะของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันไม่หมายถึงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปัญญา
ส่วน ไตรลักษณ์(ลักษณะของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) เป็น...ญานรู้

ความต่างของปัญญาและญานรู้ ก็คือ ปัญญาเป็นสภาพธรรมที่เราเข้าไปรู้เห็นตามความเป็นจริง
แต่ญานรู้เป็นธรรมที่รู้โดยอาศัยปัญญามาหาเหตุของธรรม เรียกว่า...โยนิโสฯ


ในความเป็นจริง
สภาพที่ไปรู้เห็นตามความเป็นจริงคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ไม่ใช่เห็นไตรลักษณ์

ถ้าไตรลักษณ์ตามความหมายว่า ลักษณะ เราไม่สามารถมองเห็นตามความเป็นจริง
เพราะว่า มันถูกบดบังด้วย สันตติ..อิริยาบท..ฆนะ
เหตุนี้จึงต้องอาศัยปัญญา(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ไปโยนิโสฯธรรม
ก็จะเกิดญานรู้ การเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปของธรรมนั้น

จำไว้ว่า.....ปัญญาคือการรู้เห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริง
ส่วนญานคือ ความรู้อันเกิดจากการใช้ปัญญาไปโยนิโสฯธรรมเพื่อให้รู้เหตุของธรรมตัวนั้น
หรือรู้ธรรมที่ดับไปแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2013, 05:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามพี่โฮสั้นๆ ไม่มีคำศัพท์ ชีวิตนี้คือที่เรียกกันคนหมดทั้งตัวเนี่ย เป็นธรรมะมั้ย เอาชัดๆ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2013, 04:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ถามพี่โฮสั้นๆ ไม่มีคำศัพท์ ชีวิตนี้คือที่เรียกกันคนหมดทั้งตัวเนี่ย เป็นธรรมะมั้ย เอาชัดๆ :b1:


ปัญหาที่กรัชกายกำลังเป็นอยู่ก็คือ เอาบัญญัติที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดขึ้น
ไปผสมปนเปกับคำศัพท์ที่คนรุ่นหลังสร้างขึ้นมาใหม่ แบบนี้เมื่อไรจะเห็นธรรม

การจะศึกษาคำใหม่ๆจากครูบาอาจารย์รุ่นหลัง มันไม่ผิดอะไรหรอก
แต่เราต้องแยกแยะด้วยว่า อย่างไหนเป็นพุทธพจน์ อย่างไหนเป็นคำของคนรุ่นหลัง

การไม่พิจารณาจะทำให้ หลงไปยึดติดกับคำศัพย์หรือการอธิบายความเหล่านั้น
พุทธพจน์หรือพุทธวจน เป็นบัญญัติเพื่อละ เพื่อการปล่อยวาง

แต่กรัชกายกลับทำตรงกันข้าม เอาพุทธมาขยายความ
ตีความหมายของพุทธพจน์เป็นไปในทางสร้างกิเลส

กับคำว่า"ชีวิต"ที่ยกขึ้นมาถามนี่ก็เหมือนกัน ดันเอาพุทธพจน์ไปสร้างคำใหม่
แล้วอธิบายความออกมา ผลก็คือมันย้อนแย้งสวนทางกับสิ่งที่พุทธเจ้ากำหนดไว้
คำว่า"ชีวิต" ที่เป็นคำใหม่นั้นน่ะ แท้จริงแล้วมันเป็นการไปดัดแปลงพุทธพจน์ที่กล่าว....

.."ทุกข์" ความหมายที่เป็นพุทธพจน์แท้ๆก็คือ...การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนเป็นทุกข์

ดังนั้นถ้าจะเอาพุทธพจน์ไปสร้างคำใหม่ จะต้องให้ความหมายเป็นอย่างเดียว
กับที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้ นั้นก็คือ...ชีวิตคือทุกข์


ไม่ใช่ไปกำหนดเอาเองว่า ..........
ชีวิต=> นามรูป => ขันธ์ 5 => อายตนะ 12 => ธาตุ 18 => อินทรีย์ 22

ที่บอกมา เป็นอาการของการปรุงแต่ง.....มันคือเหตุแห่งทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2013, 05:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ถามพี่โฮสั้นๆ ไม่มีคำศัพท์ ชีวิตนี้คือที่เรียกกันคนหมดทั้งตัวเนี่ย เป็นธรรมะมั้ย เอาชัดๆ :b1:


ปัญหาที่กรัชกายกำลังเป็นอยู่ก็คือ เอาบัญญัติที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดขึ้น
ไปผสมปนเปกับคำศัพท์ที่คนรุ่นหลังสร้างขึ้นมาใหม่ แบบนี้เมื่อไรจะเห็นธรรม

การจะศึกษาคำใหม่ๆจากครูบาอาจารย์รุ่นหลัง มันไม่ผิดอะไรหรอก
แต่เราต้องแยกแยะด้วยว่า อย่างไหนเป็นพุทธพจน์ อย่างไหนเป็นคำของคนรุ่นหลัง

การไม่พิจารณาจะทำให้ หลงไปยึดติดกับคำศัพย์หรือการอธิบายความเหล่านั้น
พุทธพจน์หรือพุทธวจน เป็นบัญญัติเพื่อละ เพื่อการปล่อยวาง

แต่กรัชกายกลับทำตรงกันข้าม เอาพุทธมาขยายความ
ตีความหมายของพุทธพจน์เป็นไปในทางสร้างกิเลส

กับคำว่า"ชีวิต"ที่ยกขึ้นมาถามนี่ก็เหมือนกัน ดันเอาพุทธพจน์ไปสร้างคำใหม่
แล้วอธิบายความออกมา ผลก็คือมันย้อนแย้งสวนทางกับสิ่งที่พุทธเจ้ากำหนดไว้
คำว่า"ชีวิต" ที่เป็นคำใหม่นั้นน่ะ แท้จริงแล้วมันเป็นการไปดัดแปลงพุทธพจน์ที่กล่าว....

.."ทุกข์" ความหมายที่เป็นพุทธพจน์แท้ๆก็คือ...การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนเป็นทุกข์

ดังนั้นถ้าจะเอาพุทธพจน์ไปสร้างคำใหม่ จะต้องให้ความหมายเป็นอย่างเดียว
กับที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้ นั้นก็คือ...ชีวิตคือทุกข์


ไม่ใช่ไปกำหนดเอาเองว่า ..........
ชีวิต=> นามรูป => ขันธ์ 5 => อายตนะ 12 => ธาตุ 18 => อินทรีย์ 22

ที่บอกมา เป็นอาการของการปรุงแต่ง.....มันคือเหตุแห่งทุกข์


อ้างคำพูด:
ไม่ใช่ไปกำหนดเอาเองว่า ..........
ชีวิต=> นามรูป => ขันธ์ 5 => อายตนะ 12 => ธาตุ 18 => อินทรีย์ 22

ที่บอกมา เป็นอาการของการปรุงแต่ง.....มันคือเหตุแห่งทุกข์




ก็เห็นพี่โฮ พูดอยู่บ่อยครั้งว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (=ขันธ์ 5) นี่ไม่ใช่การปรุงแต่งหรือขอรับ



สรุปสั้นๆ ถ้าใครมองธรรมะอยู่นอกโลก คือมองชีวิตนี้ที่ดำเนินไปอยู่นี้ เป็นอื่น ไม่ใช่เรื่องของธรรมะ (ธรรมชาติ) ที่พระพุทธเจ้า ทรงค้นพบความจริง ว่าทุกข์เกิดที่นี่ ถ้าจะดับก็ต้องดับที่นี่แล้วละก็ ผู้นั้นกำลังหลงอย่างใหญ่หลวง ควรได้รับการแก้ไข

อย่างพี่โฮหลุดออกนอกโลกของความเป็นจริงไปแล้ว จินตนาการธรรมะแล้วขอรับ บ่งตงตง คิกๆ

อ้อ บัญญัติ พูดบ่อยๆ ยกตัวอย่างสิครับ บัญญัติที่พูดนะเป็นไง มิใช่พูดบัญญัติๆๆๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2013, 10:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ถามพี่โฮสั้นๆ ไม่มีคำศัพท์ ชีวิตนี้คือที่เรียกกันคนหมดทั้งตัวเนี่ย เป็นธรรมะมั้ย เอาชัดๆ :b1:


ปัญหาที่กรัชกายกำลังเป็นอยู่ก็คือ เอาบัญญัติที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดขึ้น
ไปผสมปนเปกับคำศัพท์ที่คนรุ่นหลังสร้างขึ้นมาใหม่ แบบนี้เมื่อไรจะเห็นธรรม

การจะศึกษาคำใหม่ๆจากครูบาอาจารย์รุ่นหลัง มันไม่ผิดอะไรหรอก
แต่เราต้องแยกแยะด้วยว่า อย่างไหนเป็นพุทธพจน์ อย่างไหนเป็นคำของคนรุ่นหลัง

การไม่พิจารณาจะทำให้ หลงไปยึดติดกับคำศัพย์หรือการอธิบายความเหล่านั้น
พุทธพจน์หรือพุทธวจน เป็นบัญญัติเพื่อละ เพื่อการปล่อยวาง

แต่กรัชกายกลับทำตรงกันข้าม เอาพุทธมาขยายความ
ตีความหมายของพุทธพจน์เป็นไปในทางสร้างกิเลส

กับคำว่า"ชีวิต"ที่ยกขึ้นมาถามนี่ก็เหมือนกัน ดันเอาพุทธพจน์ไปสร้างคำใหม่
แล้วอธิบายความออกมา ผลก็คือมันย้อนแย้งสวนทางกับสิ่งที่พุทธเจ้ากำหนดไว้
คำว่า"ชีวิต" ที่เป็นคำใหม่นั้นน่ะ แท้จริงแล้วมันเป็นการไปดัดแปลงพุทธพจน์ที่กล่าว....

.."ทุกข์" ความหมายที่เป็นพุทธพจน์แท้ๆก็คือ...การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนเป็นทุกข์

ดังนั้นถ้าจะเอาพุทธพจน์ไปสร้างคำใหม่ จะต้องให้ความหมายเป็นอย่างเดียว
กับที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้ นั้นก็คือ...ชีวิตคือทุกข์


ไม่ใช่ไปกำหนดเอาเองว่า ..........
ชีวิต=> นามรูป => ขันธ์ 5 => อายตนะ 12 => ธาตุ 18 => อินทรีย์ 22

ที่บอกมา เป็นอาการของการปรุงแต่ง.....มันคือเหตุแห่งทุกข์


อ้างคำพูด:
ไม่ใช่ไปกำหนดเอาเองว่า ..........
ชีวิต=> นามรูป => ขันธ์ 5 => อายตนะ 12 => ธาตุ 18 => อินทรีย์ 22

ที่บอกมา เป็นอาการของการปรุงแต่ง.....มันคือเหตุแห่งทุกข์




ก็เห็นพี่โฮ พูดอยู่บ่อยครั้งว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (=ขันธ์ 5) นี่ไม่ใช่การปรุงแต่งหรือขอรับ



สรุปสั้นๆ ถ้าใครมองธรรมะอยู่นอกโลก คือมองชีวิตนี้ที่ดำเนินไปอยู่นี้ เป็นอื่น ไม่ใช่เรื่องของธรรมะ (ธรรมชาติ) ที่พระพุทธเจ้า ทรงค้นพบความจริง ว่าทุกข์เกิดที่นี่ ถ้าจะดับก็ต้องดับที่นี่แล้วละก็ ผู้นั้นกำลังหลงอย่างใหญ่หลวง ควรได้รับการแก้ไข

อย่างพี่โฮหลุดออกนอกโลกของความเป็นจริงไปแล้ว จินตนาการธรรมะแล้วขอรับ บ่งตงตง คิกๆ

อ้อ บัญญัติ พูดบ่อยๆ ยกตัวอย่างสิครับ บัญญัติที่พูดนะเป็นไง มิใช่พูดบัญญัติๆๆๆๆ

ขี้เกียจอธิบายย้อน กลับไปอ่านใหม่เอาเอง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร