วันเวลาปัจจุบัน 25 ก.ค. 2025, 06:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2016, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บัญญัติ การตั้งขึ้น, ข้อที่ตั้งขึ้น, การกำหนดเรียก, การตั้งชื่อ, การวางเป็นกฎไว้, ข้อบังคับ


บ่วงแห่งมาร ได้แก่ วัตถุกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่ารักใคร น่าพอใจ


บรม อย่างยิ่ง, ที่สุด


บรมศาสดา ศาสดาที่ยอดเยี่ยม, พระผู้เป็นครูที่สูงสุด, พระบรมครู หมายถึงพระพุทธเจ้า


บรมสุข สุขอย่างยิ่ง ได้แก่ พระนิพพาน


บรรพชา การบวช (แปลว่า เว้นความชั่ว ทุกอย่าง) หมายถึง การบวชทั่วไป, การบวชอันเป็นบุรพประโยคแห่งอุปสมบท, การบวชอันเป็นสามเณร (เดิมทีเดียว คำว่า บรรพชา หมายความว่า บวชเป็นภิกษุ เช่น เสด็จออกบรรพชา อัครสาวกบรรพชา เป็นต้น ในสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ คำว่า บรรพชา หมายถึงการบวชเป็นสามเณร ถ้าบวชเป็นภิกษุ ใช้คำว่า อุปสมบท โดยเฉพาะเมื่อใช้ควบกันว่า บรรพชาอุปสมบท


บรรพชิต ผู้บวช, นักบวช เช่น ภิกษุ สมณะ ดาบส ฤษี เป็นต้น แต่เฉพาะในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ภิกษุและสามเณร (และภิกษุณี สิกขมานา สามเณรี) มักใช้คู่กับ คฤหัสถ์ (ในภาษาไทยปัจจุบันให้ใช้หมายเฉพาะนักบวชในพระพุทธศาสนา ไม่ว่าในฝ่ายเถรวาท หรือฝ่ายมหายาน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 ก.พ. 2017, 15:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2016, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บริโภค กิน, ใช้สอย, เสพ, ในประโยคว่า “ภิกษุรู้อยู่ บริโภคน้ำมีตัวสัตว์ เป็นปาจิตติยะ” หมายถึง ดื่ม อาบ และใช้สอยอย่างอื่น

บัณฑิต ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์ ผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา


บัลลังก์ ในคำว่า "นั่งขัดบัลลังก์" หรือ "นั่งคู้บัลลังก์" คือ นั่งขัดสมาธิ, ความหมายทั่วไปว่า แท่น, พระแท่น, ที่นั่งผู้พิพากษาเมื่อพิจารณาคดีในศาล, ส่วนของสถูปเจดีย์บางแบบ มีรูปเป็นแท่นเหนือคอระฆัง


บาลีประเทศ ข้อความตอนหนึ่งแห่งบาลี, ข้อความจากพระไตรปิฎก


บาลีพุทธอุทาน คำอุทานที่พระพุทธเจ้า ทรงเปล่งเป็นบาลี เช่นที่ว่า

ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา

อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส

อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา

ฯลฯ

(ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้เพียรเพ่งพิจารณา ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไป...)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2016, 07:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุพนิมิต เครื่องหมายให้รู้ล่วงหน้า, สิ่งที่ปรากฏให้เห็นก่อนเป็นเครื่องหมายว่า จะมีเรื่องดีหรือร้ายบางอย่างเกิดขึ้น, ลาง, บุรพนิมิตต์ ก็เขียน


บุพพนิมิตแห่งมรรค เครื่องหมายที่บอกล่วงหน้าว่ามรรคจะเกิดขึ้น, ธรรม ๗ ประการ ซึ่งแต่ละอย่างเป็นเครื่องหมายบ่งบอกล่วงหน้าว่าอริยอัฏฐังคิกมรรคจะเกิด ขึ้นแก่ผู้นั้น ดุจแสงอรุณเป็นบุพนิมิตของดวงอาทิตย์ที่จะอุทัย, แสงเงินแสงทองของชีวิตที่ดีงาม, รุ่งอรุณของการศึกษา ๗ อย่าง คือ

๑. กัลยาณมิตตตา ความมีกัลยาณมิตร

๒. สีลสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศีล

๓. ฉันทสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยฉันทะ

๔. อัตตสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยตนที่ฝึกไว้ดี

๕. ทิฏฐิสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (มีหลักความคิดความเชื่อที่ถูกต้อง)

๖. อัปปมาทสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท

๗. โยนิโสมนสิการสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ


บุพประโยค อาการหรือการทำความพยายามเบื้องต้น, การกระทำทีแรก


บุพเพนิวาส ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในก่อน, ภพก่อน, ชาติก่อน, ปุพเพนิวาส ก็เขียน


บุพเพสันนิวาส การเคยอยู่ร่วมกันในกาลก่อน เช่น เคยเป็นพ่อแม่ลูกพี่น้องเพื่อนผัวเมียกันในภพอดีต (ดูชาดกที่ ๖๘ และ ๒๓๗ เป็นต้น)


เบญจกัลยาณี หญิงมีลักษณะงาม ๕ อย่าง คือ ผมงาม เนื้องาม (คือเหงือกและริมฝีปากแดงงาม) ฟันงาม, ผิวงาม วัยงาม (คือดูงามทุกวัย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2017, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บรรพ ข้อ, เล่ม, หมวด, ตอน, กัณฑ์ ดังคำว่า กายานุปัสสนา พิจารณาเห็นซึ่งกาย โดยบรรพ ๑๔ ข้อมี อานาปานบรรพ ข้อที่ว่าด้วยการกำหนดลมหายใจเข้า-ออก เป็นต้น

บวช การเว้นทั่ว คือเว้นความชั่วทุกอย่าง (ออกมาจากคำว่า ป+วช) หมายถึงการถือเพศเป็นนักพรตทั่วไป, บวชพระคือบวชเป็นภิกษุ เรียกว่า อุปสมบท, บวชเณรคือบวชเป็นสามเณร เรียกว่า บรรพชา

บิณฑบาต อาหารที่ใส่ลงในบาตรพระ, อาหารถวายพระ, ในภาษาไทยใช้ในความหมายว่า รับของใส่บาตร เช่นที่ว่า พระไปบิณฑบาต คือ ไปรับอาหารที่เขาจะใส่ลงในบาตร

บริขาลโจล ท่อนผ้าให้เป็นบริขาร เช่น ผ้ากรองน้ำ ถุงบาตร ย่าม ผ้าห่อของ

บริษัท หมู่เหล่า, ที่ประชุม, คนรวมกัน, กลุ่มชน

บริษัท ๔ ชุมชนชาวพุทธ ๔ พวก คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสกา

บริสุทธิ์, บริสุทธ์ สะอาด, หมดจด, ปราศจากมลทิน, ผุดผ่อง, ครบถ้วน, ถูกต้องตามระเบียบอย่างบริบูรณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2017, 17:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตันติ ๑. แบบแผน เช่น ตันติธรรม (ธรรมที่เป็นแบบแผน) ตันติประเพณี (แนวทางที่ยึดถือปฏิบัติสืบกันมาเป็นแบบแผน) เช่น ภิกษุทั้งหลายควรสืบต่อตันติประเพณีแห่งการเล่าเรียนพระธรรมวินัย และเที่ยวจาริกไปแสดงธรรม โดยดำรงอิริยาบถอันน่าเลื่อมใส ๒. เส้น, สาย เช่น สายพิณ

ตันติภาษา ภาษาที่มีแบบแผน คือมีหลักภาษา มีไวยากรณ์ เป็นระเบียบ เป็นมาตรฐาน, เมื่อพระพุทธโฆษาจารย์แปลอรรถกถาจากภาษาสิงหล ท่านกล่าวว่า ยกขึ้นสู่ตันติภาษา คำว่า “ตันติภาษา” ในที่นี้หมายถึง ภาษาบาลี (บาลี ตนฺติภาสา)

บาลี ๑. “ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพุทธพจน์” ภาษาที่ใช้ทรงจำและจารึกรักษาพุทธพจน์แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือกันว่าได้แก่ ภาษามคธ ๒. พระพุทธวจนะ ซึ่งพระสังคีติกาจารย์รวบรวมไว้ คือ พระธรรมวินัยที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ประชุมกันรวบรวมจัดสรรให้เป็นหมวดหมู่ในคราวปฐมสังคายนา และรักษาไว้ด้วยภาษาบาลี สืบต่อกันมาในรูปที่เรียกว่า พระไตรปิฎก อันเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาต้นเดิม ที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาท, พุทธพจน์, ข้อความที่มาในพระไตรปิฎก,

ในการศึกษาพระพุทธศาสนา มีประเพณีที่ปฏิบัติกันมาในเมืองไทย ให้แยกคำว่า “บาลี”


ในความหมาย ๒ อย่างนี้ ด้วยการเรียกให้ต่างกัน คือ ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ ๑. ให้ใช้คำว่า ภาษาบาลี (หรือ ศัพท์บาลี คำบาลีหรือบาลี) แต่ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ ๒. ให้ใช้คำว่า พระบาลี

มคธภาษา ภาษาของชนชาวมคธ, ภาษาของชนผู้อยู่ในแคว้นมคธ

มคธ ๑. ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล ตั้งอยู่ฝั่งใต้ของแม่น้ำคงคาตอนกลาง เป็นแคว้นที่มีอำนาจมากแข่งกันกับแคว้นโกศล และเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล มคธมีนครหลวงชื่อ ราชคฤห์ ราชาผู้ปกครองพระนามว่า พิมพิสาร


ตอนปลายพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสารถูกพระโอรสชื่อ อชาตศัตรู ปลงพระชนม์ และขึ้นครองราชย์สืบแทน

ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาลาโศก หรือก่อนนั้น เมืองหลวงของมคธ ย้ายไปตั้งที่เมืองปาฏลีบุตร บนฝั่งแม่น้ำคงคา เหนือเมืองราชคฤห์ขึ้นไป มคธรุ่งเรืองถึงที่สุดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งแคว้นใหญ่อื่นทั้งหมดได้รวมเข้าอยู่ภายในมหาอาณาจักรของพระองค์ทั้งหมดแล้ว

บัดนี้ บริเวณที่เคยเป็นแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล เรียกว่า แคว้นพิหาร ๒. เรียกภาษาที่ใช้พูดในแคว้นมคธ หรือภาษาของชาวแคว้นมคธว่า ภาษามคธ และถือกันว่าภาษาบาลีที่ใช้รักษาพระพุทธพจน์สืบมาจนบัดนี้ คือ ภาษามคธ


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2017, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุญฤทธิ์ ความสำเร็จด้วยบุญ อำนาจบุญ


บุญราศี กองบุญ

บุญเขต เนื้อนาบุญ


บุญนิธิ ขุมทรัพย์คือบุญ


บริหาร ดูแล, รักษา, ปกครอง


บริหารคณะ ปกครองหมู่, ดูแลหมู่


บ่วงแห่งมาร ได้แก่ วัตถุกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่ารักใคร่น่าพอใจ


บุพเปตพลี การบำเพ็ญบุญอุทิศแก่ญาติที่ล่วงลับไปก่อน, การทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตาย, เขียนเต็มเป็นบุพพเปตพลี หรือปุพพเปตพลี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2017, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุญกิริยาวัตถุ สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำบุญ, ทางทำความดี

หมวด ๓ คือ ๑. ทานมัย ทำบุญด้วยการให้ ๒. สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีล และประพฤติดี ๓. ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา

หมวด ๑๐ คือ ๑. ทานมัย ๒. สีลมัย ๓. ภาวนามัย

๔. อปจายนมัย ด้วยการประพฤติอ่อนน้อม

๕. เวยยาวัจจมัย ด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้

๖. ปัตติทานมัย ด้วยการเฉลี่ยส่วนความดีให้ผู้อื่น

๗. ปัตตานุโมทนามัย ด้วยความยินดีความดีของผู้อื่น

๘. ธัมมัสสวนมัย ด้วยการฟังธรรม

๙. ธัมมเทสนามัย ด้วยการสั่งสอนธรรม

๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ ด้วยการทำความเห็นให้ตรง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2017, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคลาธิษฐาน มีบุคคลเป็นที่ตั้ง, เทศนายกบุคลขึ้นตั้ง คือ วิธีแสดงธรรมโดยยกบุคคลขึ้นอ้าง, คู่กับ ธรรมาธิษฐาน


ธรรมาธิษฐาน มีธรรมเป็นที่ตั้ง คือ เทศนายกธรรมขึ้นแสดง เช่นว่า ศรัทธา ศีล คืออย่างนี้ ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ดังนี้เป็นต้น


เบญจกามคุณ สิ่งที่ปรารถนาน่าใคร่ ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย)


เบญจขันธ์ ขันธ์ ๕, กองหรือหมวดทั้ง ๕ แห่งรูปธรรมและนามธรรมที่ประกอบเข้าเป็นชีวิต ได้แก่


๑. รูปขันธ์ กองรูป

๒. เวทนขันธ์ กองเวทนา

๓. สัญญาขันธ์ กองสัญญา

๔. สังขารขันธ์ กองสังขาร

๕. วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ



เบญจธรรม ธรรม ๕ ประการ, ความดี ๕ อย่างที่ควรประพฤติคู่กันไปกับการรักษาเบญจศีลตามลำดับข้อ ดังนี้

๑. เมตตากรุณา ๒. สัมมาอาชีวะ ๓. กามสังวร (สำรวมในกาม) ๔. สัจจะ ๕ สติสัมปชัญญะ บางตำราว่าแปลกไปบางข้อ คือ ๒. ทาน ๓. สทารสันโดษ = พอใจเฉพาะภรรยาของตน ๕ อัปปมาทะ = ไม่ประมาท เบญจกัลยาณธรรมก็เรียก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2017, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บูชา นำดอกไม้ ของหอม อาหาร ทรัพย์สินเงินทอง หรือของมีค่า มามอบให้เพื่อแสดงความซาบซึ้งพระคุณ มองเห็นความดีงาม เคารพนับถือ ชื่นชม เชิดชู หรือนำมาประกอบกิริยาอาการในการแสดงความยอมรับนับถือ ตลอดจนจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อแสดงความเคารพนับถือเช่นนั้น, แสดงความเคารพเทิดทูน, เชิดชูคุณความดี, ยกย่องให้ปรากฎความสำคัญ, บูชา มี ๒ (องฺ.ทุก. 20/401/117) คือ

อามิสบูชา (บูชาด้วยอามิส คือ ด้วยวัตถุสิ่งของ) และ ธรรมบูชา (บูชาด้วยธรรม คือด้วยการปฏิบัติให้บรรลุจุดหมายที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมไว้)

ในอรรถกถาแห่งมงคลสูตร (ขุทฺทก.อ.113 ฯลฯ) ท่านกล่าวถึงบูชา ๒ อย่าง เป็นอามิสบูชา และ ปฏิบัติบูชา (บูชาด้วยการปฏิบัติ คือ บูชาพระพุทธเจ้าด้วยสรณคมน์ การรับสิกขาบทมารักษาเพื่อให้เป็นผู้มีศีล การถืออุโบสถ และคุณความดีต่างๆ ของตน มีปาริสุทธิศีล ๔ เป็นต้น ตลอดจนการเคารพดูแลมารดาบิดา และบูชาปูชนียบุคคลทั้งหลาย) โดยเฉพาะปฏิบัติบูชานั้น ท่านอ้างพุทธพจน์ในมหาปรินิพพานสูตร (ที.ม.10/124/160) ที่ตรัสว่า

"ดูกรอานนท์ ผู้ใดแล จะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติธรรมอยู่ ผู้นั้น ชื่อว่า สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ตถาคตด้วยการบูชาอย่างยิ่ง" กล่าวย่อ ปฏิบัติบูชา ได้แก่ ธรรมานุธรรมปฏิบัติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2017, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุรพบุรุษ คนก่อนๆ, คนรุ่นก่อน, คนเก่าก่อน, คนผู้เป็นต้นวงศ์ตระกูล, บรรพบุรุษ, คำว่า บุรุษ ในที่นี้ หมายรวมทั้งชายและหญิง


บูชามยบุญราศี กองบุญที่สำเร็จด้วยการบูชา


บูชายัญ พิธีเซ่นสรวงเทพเจ้าของพราหมณ์, การเซ่นสรวงเทพเจ้าด้วยวิธีฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา, ในภาษาบาลี ไม่ใช้คำว่า “บูชา” กับคำว่า “ยัญ” ที่พูดกันว่า “บูชายัญ” นั้น แปลจากคำบาลีว่า “ยัญญยชนะ”


ใบปวารณา ใบแจ้งแก่พระว่าให้ขอได้ ตัวอย่าง “ข้าพเจ้าขอถวายจตุปัจจัยอันควรแก่สมณบริโภค แด่พระคุณเจ้าเป็นมูลค่า....บาท....สต. หากพระคุณเจ้าเต้องประสงค์สิ่งใดอันควรแก่สมณบริโภคแล้ว ขอได้โปรดเรียกร้องจากกัปปิยการก ผู้ปฏิบัติของพระคุณเจ้า เทอญ.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2017, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บำเพ็ญ ทำ, ทำด้วยความตั้งใจ, ปฏิบัติ, ทำให้เต็ม, ทำให้มีขึ้น, ทำให้สำเร็จผล (ใช้แก่สิ่งทีดีงามเป็นบุญกุศล)


บริกรรม 1. (ในคำว่า ถ้าผ้ากฐินนั้นมีบริกรรมสำเร็จดีอยู่) การตระเตรียม, การทำความเรียบร้อยเบื้องต้น เช่น ซัก ย้อม กะ ตัด เย็บ เสร็จแล้ว 2. สถานที่เขาลาดปูน ปู ไม้ ขัดเงา หรือชักเงา โบกปูน ทาสี เขียนสี แต่งอย่างอื่น เรียกว่า ที่ทำบริกรรม ห้ามภิกษุถ่มน้ำลาย หรือนั่งพิง 3. การนวดฟั้น ประคบ หรือถูตัว 4 . การกระทำขั้นต้นในการเจริญสมถกรรมฐาน คือ กำหนดในใจโดยเพ่งวัตถุ หรือนึกถึงอารมณ์ที่กำหนดนั้น ว่า ซ้ำๆ อยู่ในใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อทำให้ใจสงบ 5. เลือนมาเป็นความหมายในภาษาไทย หมายถึง ท่องบ่น, เสกเป่า


บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นต้น หรือขั้นตระเตรียม คือ กำหนดใจ โดยเพ่งดูวัตถุ หรือนึกว่าพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เป็นต้น ซ้ำๆ อยู่ใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร