วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 04:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2016, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อัตตา ตัวตน, อาตมัน, ปุถุชนย่อมยึดมั่นมองเห็นขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่ามีอัตตาเนื่องด้วยขันธ์ ๕ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เทียบ อนัตตา

เจตภูต สภาพเป็นผู้คิดอ่าน, ตามที่เข้าใจกัน หมายถึงดวงวิญญาณหรือดวงชีพอันเที่ยงแท้ที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่า ออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ และเป็นตัวไปเกิดใหม่เมื่อกายนี้แตกทำลาย เป็นคำที่ไทยเราใช้เรียกแทนคำว่า อาตมันหรืออัตตา ของลัทธิพราหมณ์ และเป็นความเชื่อนอกพระพุทธศาสนา


ปรมาตมัน อาตมันสูงสุด หรืออัตตาสูงสุด (บรมอาตมัน หรือบรมอัตตา) เป็นสภาวะแท้จริง และเป็นจุดหมายสูงสุดตามหลักความเชื่อของศาสนาฮินดู (ศาสนาพราหมณ์เดิม) ซึ่งถือว่า ในบุคคลแต่ละคนนี้ มีอาตมันคืออัตตา หรือตัวตน สิงสู่อยู่ครอง เป็นสภาวะเที่ยงแท้ถาวร เป็นผู้คิดผู้นึก ผู้เสวยเวทนา เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่แบ่งภาคออกมาจากปรมาตมันนั้นเอง เมื่อคนตาย อาตมันนี้ ออกจากร่างไปสิงอยู่ร่างอื่นต่อไป เหมือนออกจากเรือนเก่าไปอยู่ในเรือนใหม่ ได้เสวยสุขหรือทุกข์ เป็นต้น สุดแต่กรรมที่ได้ทำไว้ เวียนว่ายตายเกิดเรื่อยไป จนกว่าจะตระหนักรู้ว่าตนเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปรมาตมัน และเข้าถึงความบริสุทธิ์จากบาปโดยสิ้นเชิง จึงจะได้กลับเข้ารวมกับปรมาตมันดังเดิม ไม่เวียนตายเวียนเกิดอีกต่อไป ปรมาตมันนี้ ก็คือ พรหม หรือพรหมัน นั่นเอง

...............

ความเชื่อของคนทุกยุคทุกสมัยแม้แต่ในปัจจุบัน ออกแนวๆนั้น แต่เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้และประกาศศาสนาแล้ว คำสอนของพระองค์ฉีกตัวออกจากความเชื่อนี้ จึงเหมือนขัดความรู้คนทั่วๆไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 มิ.ย. 2016, 18:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2016, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำอธิบายไตรลักษณ์ตามหลักวิชาในคัมภีร์

ขอยกเอาหลักธรรมที่แสดงไตรลักษณ์ หรือสามัญลักษณะ ๓ อย่าง มาตั้งเป็นหัวข้ออีกครั้งหนึ่ง เพื่ออธิบายให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป ตามแนวหลักวิชาที่มีหลักฐานอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ ดังนี้

๑. สังขาร ทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง

๒. สังขาร ทั้งหลายทั้งปวง เป็นทุกข์

๓. ธรรม ทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา


สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เรียกตามคำบาลีว่า เป็นอนิจจ์หรืออนิจจะ แต่ในภาษาไทยนิยมใช้คำว่าอนิจจัง ความไม่เที่ยง ความเป็นสิ่งไม่เที่ยง หรือภาวะที่เป็นอนิจจ์ หรืออนิจจังนั้น เรียกเป็นคำศัพท์ตามบาลีว่า อนิจจตา ลักษณะที่แสดงถึงความไม่เที่ยง เรียกเป็นคำศัพท์ว่า อนิจจลักษณะ

สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ ในภาษาไทย บางทีใช้อย่างภาษาพูดว่า ทุกขัง ความเป็นทุกข์ ความเป็นของคงทนอยู่มิได้ ความเป็นสภาวะมีความบีบคั้นขัดแย้ง หรือภาวะเป็นทุกข์นั้น เรียกเป็นคำศัพท์ตามบาลีว่า ทุกขตา ลักษณะที่แสดงถึงความเป็นทุกข์ เรียกเป็นศัพท์ว่า ทุกขลักษณะ

ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา ความเป็นอนัตตา ความเป็นของมิใช่ตัวตน หรือภาวะที่เป็นอนัตตานั้น เรียกเป็นคำศัพท์ตามบาลีว่า อนัตตตา ลักษณะที่แสดงถึงความเป็นอนัตตา เรียกเป็นคำศัพท์ว่า อนัตตลักษณะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2016, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อัตตา ตัวตน, อาตมัน, ปุถุชนย่อมยึดมั่นมองเห็นขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่ามีอัตตาเนื่องด้วยขันธ์ ๕ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เทียบ อนัตตา

อนัตตา มิใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวใช่ตน ดู อนัตตลักษณะ

อนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน โดยอรรถต่างๆ เช่น
๑. เป็นของสูญ คือ ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ (ในแง่สังขตธรรม คือสังขาร ก็เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย)

๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง

๓. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ

๔. เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่หรือเป็นไปตามธรรมดาของมัน (ในแง่สังขตธรรม คือ สังขาร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ)

๕. โดยสภาวะของมันเองก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา (ดู ทุกขลักษณะ,อนิจจลักษณะ)


ทุกข์ ๑. สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง ๒. อาการแห่งทุกข์ที่ปรากฏขึ้นหรืออาจปรากฏขึ้น ได้แก่ คน (ได้ในคำว่า ทุกขสัจจะ หรือทุกขอริยสัจจ์ ซึ่งเป็นข้อที่ ๑ ในอริยสัจจ์ ๔) ๓. สภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ ทุกขเวทนา, ถ้ามาคู่กับโทมนัส (ในเวทนา ๕) ทุกข์หมายถึงความไม่สบายกาย คือ ทุกข์กาย (โทมนัสคือไม่สบายใจ) ถ้ามาลำพัง (ในเวทนา ๓) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายไม่สบายใจ คือทั้งทุกข์กาย และทุกข์ใจ


ทุกขลักษณะ เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่จัดว่า เป็นทุกข์, ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นทุกข์ คือ
๑. ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา

๒. ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

๓. เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์

๔. แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข


ทุกขสัญญา ความหมายรู้ว่าเป็นทุกข์, การกำหนดหมายให้มองเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์

ทุกขเวทนา ความรู้สึกลำบาก, ความรู้สึกเจ็บปวด ความรู้สึกเป็นทุกข์, การเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย

ทุกขสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ หมายถึงตัณหาสาม คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง, ภาวะที่สังขารทั้งปวงเป็นสิ่งไม่เที่ยงไม่คงที่

อนิจจลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนิจจะ, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ได้แก่
๑. เป็นไปโดยการเกิดขึ้นและสลายไป คือ เกิดดับๆ มีแล้วก็ไม่มี

๒. เป็นของแปรปรวน คือ เปลี่ยนแปลงแปรสภาพไปเรื่อยๆ

๓. เป็นของชั่วคราว อยู่ได้ชั่วขณะๆ

๔. แย้งต่อความเที่ยง คือ โดยสภาวะของมันเองก็ปฏิเสธความเที่ยงอยู่ในตัว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 09:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อัตตา ตัวตน, อาตมัน, ปุถุชนย่อมยึดมั่นมองเห็นขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่ามีอัตตาเนื่องด้วยขันธ์ ๕ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เทียบ อนัตตา

อนัตตา มิใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวใช่ตน ดู อนัตตลักษณะ

อนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน โดยอรรถต่างๆ เช่น
๑. เป็นของสูญ คือ ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ (ในแง่สังขตธรรม คือสังขาร ก็เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย)

๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง

๓. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ

๔. เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่หรือเป็นไปตามธรรมดาของมัน (ในแง่สังขตธรรม คือ สังขาร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ)

๕. โดยสภาวะของมันเองก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา (ดู ทุกขลักษณะ,อนิจจลักษณะ)


ทุกข์ ๑. สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง ๒. อาการแห่งทุกข์ที่ปรากฏขึ้นหรืออาจปรากฏขึ้น ได้แก่ คน (ได้ในคำว่า ทุกขสัจจะ หรือทุกขอริยสัจจ์ ซึ่งเป็นข้อที่ ๑ ในอริยสัจจ์ ๔) ๓. สภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ ทุกขเวทนา, ถ้ามาคู่กับโทมนัส (ในเวทนา ๕) ทุกข์หมายถึงความไม่สบายกาย คือ ทุกข์กาย (โทมนัสคือไม่สบายใจ) ถ้ามาลำพัง (ในเวทนา ๓) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายไม่สบายใจ คือทั้งทุกข์กาย และทุกข์ใจ


ทุกขลักษณะ เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่จัดว่า เป็นทุกข์, ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นทุกข์ คือ
๑. ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา

๒. ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

๓. เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์

๔. แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข


ทุกขสัญญา ความหมายรู้ว่าเป็นทุกข์, การกำหนดหมายให้มองเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์

ทุกขเวทนา ความรู้สึกลำบาก, ความรู้สึกเจ็บปวด ความรู้สึกเป็นทุกข์, การเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย

ทุกขสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ หมายถึงตัณหาสาม คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง, ภาวะที่สังขารทั้งปวงเป็นสิ่งไม่เที่ยงไม่คงที่

อนิจจลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนิจจะ, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ได้แก่
๑. เป็นไปโดยการเกิดขึ้นและสลายไป คือ เกิดดับๆ มีแล้วก็ไม่มี

๒. เป็นของแปรปรวน คือ เปลี่ยนแปลงแปรสภาพไปเรื่อยๆ

๓. เป็นของชั่วคราว อยู่ได้ชั่วขณะๆ

๔. แย้งต่อความเที่ยง คือ โดยสภาวะของมันเองก็ปฏิเสธความเที่ยงอยู่ในตัว

tongue
:b12:
เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปเป็นธรรมดา
จากไม่มี แล้วมี แล้วก็ไม่มี
คือจิตเกิดดับสืบต่อ
ทีละ1ขณะ
:b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อัตตา ตัวตน, อาตมัน, ปุถุชนย่อมยึดมั่นมองเห็นขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่ามีอัตตาเนื่องด้วยขันธ์ ๕ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เทียบ อนัตตา

อนัตตา มิใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวใช่ตน ดู อนัตตลักษณะ

อนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน โดยอรรถต่างๆ เช่น
๑. เป็นของสูญ คือ ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ (ในแง่สังขตธรรม คือสังขาร ก็เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย)

๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง

๓. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ

๔. เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่หรือเป็นไปตามธรรมดาของมัน (ในแง่สังขตธรรม คือ สังขาร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ)

๕. โดยสภาวะของมันเองก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา (ดู ทุกขลักษณะ,อนิจจลักษณะ)


ทุกข์ ๑. สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง ๒. อาการแห่งทุกข์ที่ปรากฏขึ้นหรืออาจปรากฏขึ้น ได้แก่ คน (ได้ในคำว่า ทุกขสัจจะ หรือทุกขอริยสัจจ์ ซึ่งเป็นข้อที่ ๑ ในอริยสัจจ์ ๔) ๓. สภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ ทุกขเวทนา, ถ้ามาคู่กับโทมนัส (ในเวทนา ๕) ทุกข์หมายถึงความไม่สบายกาย คือ ทุกข์กาย (โทมนัสคือไม่สบายใจ) ถ้ามาลำพัง (ในเวทนา ๓) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายไม่สบายใจ คือทั้งทุกข์กาย และทุกข์ใจ


ทุกขลักษณะ เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่จัดว่า เป็นทุกข์, ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นทุกข์ คือ
๑. ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา

๒. ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

๓. เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์

๔. แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข


ทุกขสัญญา ความหมายรู้ว่าเป็นทุกข์, การกำหนดหมายให้มองเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์

ทุกขเวทนา ความรู้สึกลำบาก, ความรู้สึกเจ็บปวด ความรู้สึกเป็นทุกข์, การเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย

ทุกขสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ หมายถึงตัณหาสาม คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง, ภาวะที่สังขารทั้งปวงเป็นสิ่งไม่เที่ยงไม่คงที่

อนิจจลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนิจจะ, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ได้แก่
๑. เป็นไปโดยการเกิดขึ้นและสลายไป คือ เกิดดับๆ มีแล้วก็ไม่มี

๒. เป็นของแปรปรวน คือ เปลี่ยนแปลงแปรสภาพไปเรื่อยๆ

๓. เป็นของชั่วคราว อยู่ได้ชั่วขณะๆ

๔. แย้งต่อความเที่ยง คือ โดยสภาวะของมันเองก็ปฏิเสธความเที่ยงอยู่ในตัว

tongue
:b12:
เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปเป็นธรรมดา
จากไม่มี แล้วมี แล้วก็ไม่มี
คือจิตเกิดดับสืบต่อ
ทีละ1ขณะ



อ้างคำพูด:
จิตเกิดดับสืบต่อ
ทีละ1ขณะ


รู้จำมาแต่ไหน หรือเห็นเอง ตอบ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 10:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เข้าเรื่อง ต่อ :b12:


ในหลักไตรลักษณ์ คือ อนิจจตา ทุกขตา และอนัตตตา นั้น มีข้อที่ควรทำความเข้าใจ และอธิบายเพิ่มเติม ดังนี้

- ความเข้าใจเกี่ยวกับศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

๑.สังขารทั้งปวง กับ ธรรมทั้งปวง

ผู้ศึกษาจะสังเกตเห็นว่า ในข้อ ๑ และข้อ ๒ ท่านกล่าวถึงสังขารทั้งปวงว่า ไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ แต่ในข้อ ๓ ท่านกล่าวถึงธรรมทั้งปวงว่า เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัว หรือมิใช่ตน การใช้คำที่ต่างกันเช่นนี้ แสดงว่ามีความแตกต่างกันบางอย่างระหว่างหลักที่ ๑ และที่ ๒ คือ อนิจจตา และทุกขตา กับหลักที่ ๓ คือ อนัตตตา และความแตกต่างกันนี้จะเห็นได้ชัด ต่อเมื่อเข้าใจความหมายคำว่า สังขาร และคำว่า ธรรม


ธรรม เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่สุด กินความครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างบรรดามี ทั้งที่มีได้และได้มี ตลอดจนกระทั่งความไม่มี ที่เป็นคู่กับความมีนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่ใครก็ตามกล่าวถึง คิดถึง หรือรู้ถึง ทั้งเรื่องทางวัตถุและทางจิตใจ ทั้งที่ดี และที่ชั่ว ทั้งที่เป็นสามัญวิสัยและเหนือสามัญวิสัย รวมอยู่ในคำว่าธรรมทั้งสิ้น


ถ้าจะให้ ธรรม มีความหมายแคบเข้า หรือจำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เติมคำขยายประกอบลงไป เพื่อจำกัดความให้อยู่ในขอบเขตที่ต้องการ หรือจำแนกแยกธรรมนั้นแบ่งประเภทออกไป แล้วเลือกเอาส่วน หรือแง่ด้านแห่งความหมายที่ต้องการ
หรือมิฉะนั้น
ก็ใช้คำว่าธรรมคำเดียวโดดเต็มรูปของมันตามเดิมนั่นแหละ แต่ตกลงหรือหมายรู้ร่วมกันไว้ว่า เมื่อใช้ในลักษณะนั้นๆ ในกรณีนั้น หรือในความแวดล้อมอย่างนั้นๆ จะให้มีความหมายเฉพาะในแนวความ หรือในขอบเขตว่าอย่างนั้น
เช่น
เมื่อคู่กับอธรรม หรือใช้เกี่ยวกับความประพฤติที่ดี ที่ชั่วของบุคคล หมายถึง บุญ หรือคุณธรรมคือความดี
เมื่อมากับคำว่า อัตถะ หรืออรรถ หมายถึงตัวหลัก หลักการ หรือเหตุ เมื่อใช้สำหรับการเล่าเรียน หมายถึง ปริยัติ พุทธพจน์ หรือคำสั่งสอน ดังนี้เป็นต้น

ธรรม ที่กล่าวถึงในหลักอนัตตา แห่งไตรลักษณ์นี้ ท่านใช้ในความหมายที่กว้างที่สุดเต็มที่ ่ สุดขอบเขตของศัพท์
คือ
หมายถึง สภาวะหรือสภาพทุกอย่าง ไม่มีขีดขั้นจำกัด ธรรมในความหมายเช่นนี้ จะเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อแยกแยะแจกแจงประเภทออกไป เช่น
จำแนกเป็นรูปธรรม และนามธรรม บ้าง โลกิยธรรม และโลกุตรธรรม บ้าง สังขตธรรม และอสังขตธรรม บ้าง กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากฤตธรรม (สภาวะที่เป็นกลางๆ) บ้าง ธรรมที่จำแนกเป็นชุดเหล่านี้ แต่ละชุดครอบคลุมความหมายของธรรมได้หมดสิ้นทั้งนั้น แต่ชุดที่ตรงกับแง่ที่ศึกษาในที่นี้คือ ชุด สังขตธรรม และอสังขตธรรม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวง แยกประเภทได้เป็น ๒ อย่าง คือ

๑. สังขตธรรม ธรรมที่ถูกปรุงแต่ง ได้แก่ ธรรมที่มีปัจจัย สภาวะที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่งขึ้น สภาวะที่ปัจจัยทั้งหลายมาร่วมกันแต่งสรรค์ขึ้น สิ่งที่ปัจจัยประกอบเข้า หรือ สิ่งที่ปรากฏและเป็นไปตามเงือนไขของปัจจัย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขาร ซึ่งมีรากศัพท์และคำแปลเหมือนกัน หมายถึง สภาวะทุกอย่าง ทั้งทางวัตถุและทางจิตใจ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ ทั้งที่ดี ที่ชั่ว และที่เป็นกลางๆ ทั้งหมด เว้นแต่นิพพาน

๒. อสังขตธรรม ธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่ง ได้แก่ ธรรมที่ไม่มีปัจจัย หรือสภาวะที่ไม่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของปัจจัย เรียกอีกนัยหนึ่งว่า วิสังขาร ซึ่งแปลงว่า สภาวะปลอดสังขาร หรือสภาวะที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง หมายถึง นิพพาน


โดยนัยนี้ จะเห็นว่า สังขาร คือสังขตธรรม เป็นเพียงส่วนหนึ่งของธรรม แต่ธรรมกินความหมายกว้างกว่า มีทั้งสังขาร และนอกเหนือจากสังขาร คือทั้งสังขตธรรม และอสังขตธรรม ทั้งสังขารและวิสังขาร หรือทั้งสังขารและนิพพาน
เมื่อ
นำเอาหลักนี้มาช่วยในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับไตรลักษณ์ จึงสามารถมองเห็นขอบเขตความหมายในหลักสองข้อต้นคือ อนิจจตาและทุกขตา ว่าต่างจากข้อสุดท้ายคืออนัตตตาอย่างไร โดยสรุปได้ ดังนี้

สังขาร คือ สังขตธรรมทั้งปวง ไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ ตามหลักข้อ ๑ และข้อ ๒ แห่งไตรลักษณ์ (และเป็นอนัตตาด้วยตามหลักข้อ ๓) แต่อสังขตธรรม หรือวิสังขาร คือนิพพาน ไม่ขึ้นต่อภาวะเช่นนี้

ธรรมทั้งปวง คือ ทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรม ทั้งสังขารและมิใช่สังขาร คือสภาวะทุกอย่างทั้งหมดทั้งสิ้น รวมทั้งนิพพาน เป็นอนัตตา คือไร้ตัว มิใช่ตน

อนัตตตาเท่านั้น เป็นลักษณะร่วมที่มีทั้งในสังขตธรรม และอสังขตธรรม
ส่วน
อนิจจตา และทุกขตา เป็นลักษณะที่มีเฉพาะในสังขตธรรม ซึ่งทำให้ต่างจากอสังขตธรรม
ในพระบาลีบางแห่งจึงมีพุทธพจน์แสดงลักษณะของสังขตธรรม และอสังขตธรรมไว้ เรียกว่า สังขตลักษณะ และอสังขตลักษณะ ใจความว่า (องฺ.ติก.20/486-7/192)

สังขตลักษณะ คือ เครื่องหมายที่ทำให้กำหนดรู้ หรือเครื่องกำหนดหมายให้รู้ว่าเป็นสังขตะ (ว่าเป็นสภาวะที่มีปัจจัยทั้งหลายมาร่วมกันแต่งสรรค์ขึ้น) ของสังขตธรรม มี ๓ อย่าง คือ

๑. ความเกิดขึ้น ปรากฏ
๒. ความแตกดับหรือความสลาย ปรากฏ
๓. เมื่อดำรงอยู่ ความผันแปร ปรากฏ

ส่วนอสังขตลักษณะ คือ เครื่องหมายที่ทำให้กำหนดรู้ หรือเครื่องกำหนดหมายให้รู้ว่า เป็นอสังขตะ ((ว่ามิใช่สภาวะที่มีปัจจัยทั้งหลายมาร่วมกันทำขึ้นแต่งขึ้น) ของอสังขตธรรม มี ๓ อย่าง คือ

๑. ไม่ปรากฏความเกิด
๒. ไม่ปรากฏความสลาย
๓. เมื่อดำรงอยู่ ไม่ปรากฏความผันแปร


รวมความย้ำอีกครั้งหนึ่งให้ชัดขึ้นอีกว่า อสังขตธรรม หรือวิสังขาร คือนิพพาน พ้นจากภาวะไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ แต่ก็เป็นอนัตตา ไร้ตัว มิใช่ตน
ส่วนธรรมอื่นนอกจากนั้น คือสังขารหรือสังขนธรรมทั้งหมด ทั้งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ดังความในบาลีแห่งวินัยปิฎกผูกเป็นคาถายืนยันไว้ว่า

"สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขตธรรม ทั้งปวงเป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติเป็นอนัตตา วินิจฉัยมีอยู่ดังนี้" (วินย.8/826/224)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 มิ.ย. 2016, 10:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 10:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อัตตา ตัวตน, อาตมัน, ปุถุชนย่อมยึดมั่นมองเห็นขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่ามีอัตตาเนื่องด้วยขันธ์ ๕ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เทียบ อนัตตา

อนัตตา มิใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวใช่ตน ดู อนัตตลักษณะ

อนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน โดยอรรถต่างๆ เช่น
๑. เป็นของสูญ คือ ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ (ในแง่สังขตธรรม คือสังขาร ก็เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย)

๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง

๓. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ

๔. เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่หรือเป็นไปตามธรรมดาของมัน (ในแง่สังขตธรรม คือ สังขาร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ)

๕. โดยสภาวะของมันเองก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา (ดู ทุกขลักษณะ,อนิจจลักษณะ)


ทุกข์ ๑. สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง ๒. อาการแห่งทุกข์ที่ปรากฏขึ้นหรืออาจปรากฏขึ้น ได้แก่ คน (ได้ในคำว่า ทุกขสัจจะ หรือทุกขอริยสัจจ์ ซึ่งเป็นข้อที่ ๑ ในอริยสัจจ์ ๔) ๓. สภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ ทุกขเวทนา, ถ้ามาคู่กับโทมนัส (ในเวทนา ๕) ทุกข์หมายถึงความไม่สบายกาย คือ ทุกข์กาย (โทมนัสคือไม่สบายใจ) ถ้ามาลำพัง (ในเวทนา ๓) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายไม่สบายใจ คือทั้งทุกข์กาย และทุกข์ใจ


ทุกขลักษณะ เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่จัดว่า เป็นทุกข์, ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นทุกข์ คือ
๑. ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา

๒. ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

๓. เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์

๔. แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข


ทุกขสัญญา ความหมายรู้ว่าเป็นทุกข์, การกำหนดหมายให้มองเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์

ทุกขเวทนา ความรู้สึกลำบาก, ความรู้สึกเจ็บปวด ความรู้สึกเป็นทุกข์, การเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย

ทุกขสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ หมายถึงตัณหาสาม คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง, ภาวะที่สังขารทั้งปวงเป็นสิ่งไม่เที่ยงไม่คงที่

อนิจจลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนิจจะ, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ได้แก่
๑. เป็นไปโดยการเกิดขึ้นและสลายไป คือ เกิดดับๆ มีแล้วก็ไม่มี

๒. เป็นของแปรปรวน คือ เปลี่ยนแปลงแปรสภาพไปเรื่อยๆ

๓. เป็นของชั่วคราว อยู่ได้ชั่วขณะๆ

๔. แย้งต่อความเที่ยง คือ โดยสภาวะของมันเองก็ปฏิเสธความเที่ยงอยู่ในตัว

tongue
:b12:
เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปเป็นธรรมดา
จากไม่มี แล้วมี แล้วก็ไม่มี
คือจิตเกิดดับสืบต่อ
ทีละ1ขณะ



อ้างคำพูด:
จิตเกิดดับสืบต่อ
ทีละ1ขณะ


รู้จำมาแต่ไหน หรือเห็นเอง ตอบ :b1:

:b12:
เห็นเองก็คงจะได้เจอกันชาติสุดท้าย
ความรู้ค่ะจากการฟังพระพุทธพจน์
ในคลิปรายการบ้านธัมมะจร้า
:b55: :b55: :b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 10:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อัตตา ตัวตน, อาตมัน, ปุถุชนย่อมยึดมั่นมองเห็นขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่ามีอัตตาเนื่องด้วยขันธ์ ๕ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เทียบ อนัตตา

อนัตตา มิใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวใช่ตน ดู อนัตตลักษณะ

อนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน โดยอรรถต่างๆ เช่น
๑. เป็นของสูญ คือ ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ (ในแง่สังขตธรรม คือสังขาร ก็เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย)

๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง

๓. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ

๔. เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่หรือเป็นไปตามธรรมดาของมัน (ในแง่สังขตธรรม คือ สังขาร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ)

๕. โดยสภาวะของมันเองก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา (ดู ทุกขลักษณะ,อนิจจลักษณะ)


ทุกข์ ๑. สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง ๒. อาการแห่งทุกข์ที่ปรากฏขึ้นหรืออาจปรากฏขึ้น ได้แก่ คน (ได้ในคำว่า ทุกขสัจจะ หรือทุกขอริยสัจจ์ ซึ่งเป็นข้อที่ ๑ ในอริยสัจจ์ ๔) ๓. สภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ ทุกขเวทนา, ถ้ามาคู่กับโทมนัส (ในเวทนา ๕) ทุกข์หมายถึงความไม่สบายกาย คือ ทุกข์กาย (โทมนัสคือไม่สบายใจ) ถ้ามาลำพัง (ในเวทนา ๓) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายไม่สบายใจ คือทั้งทุกข์กาย และทุกข์ใจ


ทุกขลักษณะ เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่จัดว่า เป็นทุกข์, ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นทุกข์ คือ
๑. ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา

๒. ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

๓. เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์

๔. แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข


ทุกขสัญญา ความหมายรู้ว่าเป็นทุกข์, การกำหนดหมายให้มองเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์

ทุกขเวทนา ความรู้สึกลำบาก, ความรู้สึกเจ็บปวด ความรู้สึกเป็นทุกข์, การเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย

ทุกขสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ หมายถึงตัณหาสาม คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง, ภาวะที่สังขารทั้งปวงเป็นสิ่งไม่เที่ยงไม่คงที่

อนิจจลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนิจจะ, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ได้แก่
๑. เป็นไปโดยการเกิดขึ้นและสลายไป คือ เกิดดับๆ มีแล้วก็ไม่มี

๒. เป็นของแปรปรวน คือ เปลี่ยนแปลงแปรสภาพไปเรื่อยๆ

๓. เป็นของชั่วคราว อยู่ได้ชั่วขณะๆ

๔. แย้งต่อความเที่ยง คือ โดยสภาวะของมันเองก็ปฏิเสธความเที่ยงอยู่ในตัว

tongue
:b12:
เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปเป็นธรรมดา
จากไม่มี แล้วมี แล้วก็ไม่มี
คือจิตเกิดดับสืบต่อ
ทีละ1ขณะ



อ้างคำพูด:
จิตเกิดดับสืบต่อ
ทีละ1ขณะ


รู้จำมาแต่ไหน หรือเห็นเอง ตอบ :b1:

:b12:
เห็นเองก็คงจะได้เจอกันชาติสุดท้าย
ความรู้ค่ะจากการฟังพระพุทธพจน์
ในคลิปรายการบ้านธัมมะจร้า


อ้างคำพูด:
ความรู้ค่ะ จากการฟังพระพุทธพจน์
ในคลิปรายการบ้านธัมมะจร้า


คิกๆๆๆ ไปถามคนบ้านธัมมะสิ รู้เห็นเองหรือจำมาจากไหนตำราเล่มใด

ตอบดักไว้ก่อน (รอคำตอบไม่ไหว) ก็ฟังต่อๆกันมาบ้าง อ่านจากตำราอภิธรรมบ้าง เพียงกระพริบตา (ปิ๊ปๆ) จิตเกิดดับแสนโกฏิขณะ
ก็บอกแล้วว่าไปเรียนอภิธรรมชั้นจูฬ-ตรีก็รู้อย่างที่คุณโรสรู้แล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ติดลมจนลืมที่อ้างอิง คิกๆๆ เอาสะหน่อย

อ้างอิงที่ *
- สังขตธรรม มีคำจำกัดความแบบอภิธรรมนัยหนึ่ง ได้แก่ กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งปวง

* ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา พึงอ้างหลักฐานเช่น "อมตบท (นิพพาน) ว่างจากอัตตา" อตฺตสุญญมตปทํ "นิพพานธรรมชื่อว่าว่างจากอัตตา เพราะไม่มีตัวตนนั่นเอง (นิพฺพานธมฺโม อตฺตสฺเสว อภาวโต อตฺตสุญฺโญ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 10:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อัตตา ตัวตน, อาตมัน, ปุถุชนย่อมยึดมั่นมองเห็นขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่ามีอัตตาเนื่องด้วยขันธ์ ๕ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เทียบ อนัตตา

อนัตตา มิใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวใช่ตน ดู อนัตตลักษณะ

อนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน โดยอรรถต่างๆ เช่น
๑. เป็นของสูญ คือ ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ (ในแง่สังขตธรรม คือสังขาร ก็เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย)

๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง

๓. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ

๔. เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่หรือเป็นไปตามธรรมดาของมัน (ในแง่สังขตธรรม คือ สังขาร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ)

๕. โดยสภาวะของมันเองก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา (ดู ทุกขลักษณะ,อนิจจลักษณะ)


ทุกข์ ๑. สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง ๒. อาการแห่งทุกข์ที่ปรากฏขึ้นหรืออาจปรากฏขึ้น ได้แก่ คน (ได้ในคำว่า ทุกขสัจจะ หรือทุกขอริยสัจจ์ ซึ่งเป็นข้อที่ ๑ ในอริยสัจจ์ ๔) ๓. สภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ ทุกขเวทนา, ถ้ามาคู่กับโทมนัส (ในเวทนา ๕) ทุกข์หมายถึงความไม่สบายกาย คือ ทุกข์กาย (โทมนัสคือไม่สบายใจ) ถ้ามาลำพัง (ในเวทนา ๓) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายไม่สบายใจ คือทั้งทุกข์กาย และทุกข์ใจ


ทุกขลักษณะ เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่จัดว่า เป็นทุกข์, ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นทุกข์ คือ
๑. ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา

๒. ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

๓. เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์

๔. แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข


ทุกขสัญญา ความหมายรู้ว่าเป็นทุกข์, การกำหนดหมายให้มองเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์

ทุกขเวทนา ความรู้สึกลำบาก, ความรู้สึกเจ็บปวด ความรู้สึกเป็นทุกข์, การเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย

ทุกขสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ หมายถึงตัณหาสาม คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง, ภาวะที่สังขารทั้งปวงเป็นสิ่งไม่เที่ยงไม่คงที่

อนิจจลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนิจจะ, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ได้แก่
๑. เป็นไปโดยการเกิดขึ้นและสลายไป คือ เกิดดับๆ มีแล้วก็ไม่มี

๒. เป็นของแปรปรวน คือ เปลี่ยนแปลงแปรสภาพไปเรื่อยๆ

๓. เป็นของชั่วคราว อยู่ได้ชั่วขณะๆ

๔. แย้งต่อความเที่ยง คือ โดยสภาวะของมันเองก็ปฏิเสธความเที่ยงอยู่ในตัว

tongue
:b12:
เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปเป็นธรรมดา
จากไม่มี แล้วมี แล้วก็ไม่มี
คือจิตเกิดดับสืบต่อ
ทีละ1ขณะ



อ้างคำพูด:
จิตเกิดดับสืบต่อ
ทีละ1ขณะ


รู้จำมาแต่ไหน หรือเห็นเอง ตอบ :b1:

:b12:
เห็นเองก็คงจะได้เจอกันชาติสุดท้าย
ความรู้ค่ะจากการฟังพระพุทธพจน์
ในคลิปรายการบ้านธัมมะจร้า


อ้างคำพูด:
ความรู้ค่ะ จากการฟังพระพุทธพจน์
ในคลิปรายการบ้านธัมมะจร้า


คิกๆๆๆ ไปถามคนบ้านธัมมะสิ รู้เห็นเองหรือจำมาจากไหนตำราเล่มใด

ตอบดักไว้ก่อน (รอคำตอบไม่ไหว) ก็ฟังต่อๆกันมาบ้าง อ่านจากตำราอภิธรรมบ้าง เพียงกระพริบตา (ปิ๊ปๆ) จิตเกิดดับแสนโกฏิขณะ
ก็บอกแล้วว่าไปเรียนอภิธรรมชั้นจูฬ-ตรีก็รู้อย่างที่คุณโรสรู้แล้ว

Kiss
:b12:
ความรู้น่ะค่ะเกิดจาการฟังเข้าใจมีความเห็นถูกต้องตามคำสอน
ฟังเข้าใจทีละ1ขณะจิตสะสมแล้วซึ่งปัญญาเจตสิก+มีมรรคถึง5
คือสัมมาทิฐิ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
การจดจำทั้งตำรากับเข้าใจและรู้การสะสมที่จิตตนกำลังมีต่างกันน๊า
ปัญญาเจตสิกสะสมข้ามภพชาติแต่สัญญาตายแล้วลืมตายแน่นอนค่ะ
อ่านจบทั้ง3ปิฏกแล้วก็ไม่สามารถบรรลุธรรมได้เพราะสัญญาไม่ใช่ปัญญา
onion onion onion


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 30 มิ.ย. 2016, 10:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโรสที่กรัชกายทำอยู่นี่ลงบทความอยู่นี่ บทความจากตำราศาสนานะ ความรู้เบื้องต้น เรียกตามศัพท์ว่า ปริยัติ แต่ก็สำคัญนะ ปริยัติก็สำคัญ ไม่ใช่มองข้ามหรือเห็นไม่สำคัญ ถ้ารู้จำไว้ถูกต้อง ขั้นการปฏิบัติก็พอประคองตัว (แต่ที่สำคัญยิ่งคือผู้รู้เข้าใจภาคปฏิบัตินำทาง) ไม่ใช่ปริยัติก็ไม่รู้ รู้ก็รู้ผิดๆงูๆปลาๆ แล้วไปปฏิบัติ เดี๋ยวเถอะศรีธัญญา บอกไม่เชื่อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 10:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:


ความรู้น่ะค่ะเกิดจาการฟังเข้าใจมีความเห็นถูกต้องตามคำสอน
ฟังเข้าใจทีละ1ขณะจิตสะสมแล้วซึ่งปัญญาเจตสิก+มีมรรคถึง5
คือสัมมาทิฐิ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิ สัมมากัมมันตะ
การจดจำทั้งตำรากับเข้าใจและรู้การสะสมที่จิตตนกำลังมีต่างกันน๊า
ปัญญาเจตสิกสะสมข้ามภพชาติ แต่สัญญาตายแล้วลืมตายแน่นอนค่ะ
อ่านจบทั้ง3ปิฏกแล้วก็ไม่สามารถบรรลุธรรมได้เพราะสัญญาไม่ใช่ปัญญา


อ้างคำพูด:
ความรู้น่ะค่ะเกิดจาการฟัง


คุณโรสก็ยึดมั่นแต่ฟังคลิป อ.สุจินต์ อย่างเดียว

จึงมองข้ามปัญญาจากการอ่าน การคิดพิจารณา ปัญญาโด่เด่คนเดียว ขาดสัญญา ไม่อาศัยสัญญา ปัญญาจะเอาข้อมูลวัตถุดิบมาแต่ไหน ตอบสิ ถ้าจำไม่ได้ เป็นโรคแอมไซเมอร์ ปัญญาเกิดไหม แม้แต่ขี้เต็มกางเกงตัวเองยังว่าขี้คนอื่นไม่ใช่ขี้ตัวเองเลย คิกๆๆ


อ้างคำพูด:
ปัญญาเจตสิกสะสมข้ามภพชาติ แต่สัญญาตายแล้วลืมตายแน่นอนค่ะ
อ่านจบทั้ง3ปิฏกแล้วก็ไม่สามารถบรรลุธรรมได้เพราะสัญญาไม่ใช่ปัญญา


อ้างคำพูด:
ปัญญาเจตสิกสะสมข้ามภพชาติ แต่สัญญาตายแล้วลืมตายแน่นอน


เป็นสัสสตทิฏฐิแล้ว แล้วก็อย่างว่า คุณโรสคิดเหมือนคนยืนถ่างขาคร่อมสองโลก ขาหนึ่งอยู่อีกภพหนึ่งภูมิหนึ่ง อีกขาหนึ่งยืนอยู่ตรงนี้เดียวนี้ภพนี้

ดังนั้น ความคิดคุณโรสจึงตีกันมั่ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 10:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คุณโรสที่กรัชกายทำอยู่นี่ลงบทความอยู่นี่ บทความจากตำราศาสนานะ ความรู้เบื้องต้น เรียกตามศัพท์ว่า ปริยัติ แต่ก็สำคัญนะ ปริยัติก็สำคัญ ไม่ใช่มองข้ามหรือเห็นไม่สำคัญ ถ้ารู้จำไว้ถูกต้อง ขั้นการปฏิบัติก็พอประคองตัว (แต่ที่สำคัญยิ่งคือผู้รู้เข้าใจภาคปฏิบัตินำทาง) ไม่ใช่ปริยัติก็ไม่รู้ รู้ก็รู้ผิดๆงูๆปลาๆ แล้วไปปฏิบัติ เดี๋ยวเถอะศรีธัญญา บอกไม่เชื่อ

:b1:
แล้วข้าพเจ้าบอกว่าคุณกรัชกายทำผิดหรือไงคะ
ก็บอกว่าให้สนใจในการศึกษาจากการฟังเพิ่ม
เพราะอ่านแล้วไม่เข้าใจคิดและสงสัย
ถกเถียงไปตามความเห็นของตน
มันไม่ตรงคำสอนตรงปัญญา
ปัญญา3ระดับ1สุตมยปัญญา
2จินตามยปัญญา3ภาวนามยปัญญา
ปัญญาเป็นสัมมาทิฐิความเห็นตรงถูกต้อง
ขณะที่สะสมความเห็นถูกจากการฟังทีละ1ขณะ
กำลังเข้าใจปัญญาเจตสิก+โสภณเจตสิกอื่นสะสม
1ขณะที่กำลังเข้าใจไม่ใช่ตัวตนพอเลิกฟังลืมธัมมะแล้ว
:b13:
:b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คุณโรสที่กรัชกายทำอยู่นี่ลงบทความอยู่นี่ บทความจากตำราศาสนานะ ความรู้เบื้องต้น เรียกตามศัพท์ว่า ปริยัติ แต่ก็สำคัญนะ ปริยัติก็สำคัญ ไม่ใช่มองข้ามหรือเห็นไม่สำคัญ ถ้ารู้จำไว้ถูกต้อง ขั้นการปฏิบัติก็พอประคองตัว (แต่ที่สำคัญยิ่งคือผู้รู้เข้าใจภาคปฏิบัตินำทาง) ไม่ใช่ปริยัติก็ไม่รู้ รู้ก็รู้ผิดๆงูๆปลาๆ แล้วไปปฏิบัติ เดี๋ยวเถอะศรีธัญญา บอกไม่เชื่อ

:b1:
แล้วข้าพเจ้าบอกว่าคุณกรัชกายทำผิดหรือไงคะ
ก็บอกว่าให้สนใจในการศึกษาจากการฟังเพิ่ม
เพราะอ่านแล้วไม่เข้าใจคิดและสงสัย
ถกเถียงไปตามความเห็นของตน
มันไม่ตรงคำสอนตรงปัญญา
ปัญญา3ระดับ1สุตมยปัญญา
2จินตามยปัญญา3ภาวนามยปัญญา
ปัญญาเป็นสัมมาทิฐิความเห็นตรงถูกต้อง
ขณะที่สะสมความเห็นถูกจากการฟังทีละ1ขณะ
กำลังเข้าใจปัญญาเจตสิก+โสภณเจตสิกอื่นสะสม
1ขณะที่กำลังเข้าใจไม่ใช่ตัวตน พอเลิกฟังลืมธัมมะแล้ว


อ้างคำพูด:
พอเลิกฟังลืมธัมมะแล้ว


ที่ลืมเพราะไม่จำ จำไม่ได้ใช่มั้ย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 10:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:


ความรู้น่ะค่ะเกิดจาการฟังเข้าใจมีความเห็นถูกต้องตามคำสอน
ฟังเข้าใจทีละ1ขณะจิตสะสมแล้วซึ่งปัญญาเจตสิก+มีมรรคถึง5
คือสัมมาทิฐิ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
การจดจำทั้งตำรากับเข้าใจและรู้การสะสมที่จิตตนกำลังมีต่างกันน๊า
ปัญญาเจตสิกสะสมข้ามภพชาติ แต่สัญญาตายแล้วลืมตายแน่นอนค่ะ
อ่านจบทั้ง3ปิฏกแล้วก็ไม่สามารถบรรลุธรรมได้เพราะสัญญาไม่ใช่ปัญญา


อ้างคำพูด:
ความรู้น่ะค่ะเกิดจาการฟัง


คุณโรสก็ยึดมั่นแต่ฟังคลิป อ.สุจินต์ อย่างเดียว

จึงมองข้ามปัญญาจากการอ่าน การคิดพิจารณา ปัญญาโด่เด่คนเดียว ขาดสัญญา ไม่อาศัยสัญญา ปัญญาจะเอาข้อมูลวัตถุดิบมาแต่ไหน ตอบสิ ถ้าจำไม่ได้ เป็นโรคแอมไซเมอร์ ปัญญาเกิดไหม แม้แต่ขี้เต็มกางเกงตัวเองยังว่าขี้คนอื่นไม่ใช่ขี้ตัวเองเลย คิกๆๆ


อ้างคำพูด:
ปัญญาเจตสิกสะสมข้ามภพชาติ แต่สัญญาตายแล้วลืมตายแน่นอนค่ะ
อ่านจบทั้ง3ปิฏกแล้วก็ไม่สามารถบรรลุธรรมได้เพราะสัญญาไม่ใช่ปัญญา


อ้างคำพูด:
ปัญญาเจตสิกสะสมข้ามภพชาติ แต่สัญญาตายแล้วลืมตายแน่นอน


เป็นสัสสตทิฏฐิแล้ว แล้วก็อย่างว่า คุณโรสคิดเหมือนคนยืนถ่างขาคร่อมสองโลก ขาหนึ่งอยู่อีกภพหนึ่งภูมิหนึ่ง อีกขาหนึ่งยืนอยู่ตรงนี้เดียวนี้ภพนี้

ดังนั้น ความคิดคุณโรสจึงตีกันมั่ว

Kiss
อ้างคำพูด:
คือสัมมาทิฐิ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ

:b12:
สัมมาสมาธิเขียนซ้ำ 2 ทีแก้แล้วค่ะ
:b1:
สัมมาทิฐิ ความเห็นถูกตรงตามคำสอนตอนกำลังฟังทันที
สัมมาสติ ระลึกตามคำที่ได้ยินตรงตามเป็นจริงกับสิ่งที่กำลังมีทันที
สัมมาสมาธิ ขณิกสมาธิเกิดขณะเข้าใจทีละขณะและต่อเนื่องถ้าตั้งใจฟัง
สัมมาวาจา คิดไตร่ตรองตามคำที่ได้ยินพูดไว้ในใจจำไว้ๆๆๆสอนจิตทันทีที่เข้าใจ
สัมมากัมมันตะ การกระทำที่ถูกต้องคือตั้งใจฟังรู้แต่ละขณะสะสมกุศลหรืออกุศลทันที
:b4: :b4:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 30 มิ.ย. 2016, 10:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร