วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 07:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2017, 22:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:

เป็นเรื่อง กิจ ๔ อย่าง
เป็นคนละสภาวะ คนละเรื่องกับโยนิโสมนสิการ


แม้กระทั่งลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น แตกต่างกันอย่างโดยสิ้นเชิง
แต่ทั้งสองเรื่อง เกี่ยวเนื่องกัน


เหตุปัจจัยจาก เมื่อมีโยนิโสมนสิการ(การกำหนดรู้)
สภาพธรรมของ ผัสสะ(สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต) ตามความเป็นจริง


รู้ทั้งรู้ว่า เป็นคนละสภาวะ คนละเรื่องกัน แต่เกี่ยวเนื่องกัน
การให้ความหมาย ก็ยังใส่ห้อยท้ายเช่นเคยคือ โยนิโสมนสิการ(การกำหนดรู้)

เออ เอาเถิดป้าวลัยพร พูดเองก็เออกันไปเอง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2017, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โยนิโสมนสิการ(การกำหนดรู้)

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

สิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด


โยนิโส ได้แก่ ดูตามความเป็นของสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ)
รู้ตามความเป็นจริงของความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น

มนสิการ ได้แก่ กระทำไว้ในใจ
ไม่สร้างเหตุออกไปตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น


โยนิโสมนสิการ หมายถึง การกำหนดรู้สภาพธรรมของสิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ) ตามความเป็นจริง
สิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด(เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ)



ความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้นจากผัสสะเป็นปัจจัย
ห้ามความรู้สึกนึกคิดไม่ให้เกิด ห้ามไม่ได้ แต่สามารถกำหนดรู้ได้
แต่ห้ามการกระทำที่เกิดจากความรู้สึกนึกคิดได้

โดยกำหนดรู้ตามความเป็นจริงของความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกมาทางกาย วาจา
ที่กำลังจะเป็นการทำกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้น


เหตุไม่มี ผลย่อมไม่มี
ที่ยังมีผลให้ได้รับอยู่ ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่ยังมีอยู่(กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม)


===============

เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน







พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น
เพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน







พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจาก การกระทำทางใจแล้ว
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน






พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน





ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมบรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

ฟังเสียงด้วยหู…

สูดกลิ่นด้วยจมูก…

ลิ้มรสด้วยลิ้น…

ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย…

รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว

ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น

ดูกรวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้
ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน
ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ
เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลมและแดด

ครั้นผึ่งลมและแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า
โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ
เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้นั้น
มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน
ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด

ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมได้บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

ฟังเสียงด้วยหู…

สูดกลิ่นด้วยจมูก…

ลิ้มรสด้วยลิ้น…

ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย…

รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น ฯ

จบมหาวรรคที่ ๕
จบจตุตถปัณณาสก์



=========================

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 25 ม.ค. 2017, 09:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2017, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โยนิโสมนสิการ(การกำหนดรู้)

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

สิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด


โยนิโส ได้แก่ ดูตามความเป็นของสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ)
รู้ตามความเป็นจริงของความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น

มนสิการ ได้แก่ กระทำไว้ในใจ
ไม่สร้างเหตุออกไปตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น


โยนิโสมนสิการ หมายถึง การกำหนดรู้สภาพธรรมของสิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ) ตามความเป็นจริง
สิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด(เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ)



ความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้นจากผัสสะเป็นปัจจัย
ห้ามความรู้สึกนึกคิดไม่ให้เกิด ห้ามไม่ได้ แต่สามารถกำหนดรู้ได้
แต่ห้ามการกระทำที่เกิดจากความรู้สึกนึกคิดได้

โดยกำหนดรู้ตามความเป็นจริงของความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกมาทางกาย วาจา
ที่กำลังจะเป็นการทำกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้น


เมื่อกำหนดรู้เนืองๆ ในสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ)
สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
(เวทนา ตัณหา อุปทา นภพ)

สภาพธรรม อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ย่อมมีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง



=================

ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

คือข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในรูปอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในเวทนาอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในสัญญาอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในวิญญาณอยู่เป็นประจำ ;


ภิกษุนั้นเมื่อตามเห็นความไม่เที่ยงในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.
เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,

ย่อมพ้นได้จากความเกิดความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก
ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ;

เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.
– ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๔.





ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ

ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป อยู่เป็นประจำ
เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในเวทนา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสัญญา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสังขารอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ;

ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,

ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย
ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ;

เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.
– ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๕.







ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ

ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในรูป อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในเวทนา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในสัญญา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตาในสังขาร อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ;

ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นอนัตตา ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,

ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนาจากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,
ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก
ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ;

เราตถาคต กล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.


– ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๕.

=====================

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2017, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โยนิโสมนสิการ(การกำหนดรู้)

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

สิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด


โยนิโส ได้แก่ ดูตามความเป็นของสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ)
รู้ตามความเป็นจริงของความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น

มนสิการ ได้แก่ กระทำไว้ในใจ
ไม่สร้างเหตุออกไปตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น


โยนิโสมนสิการ หมายถึง การกำหนดรู้สภาพธรรมของสิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ) ตามความเป็นจริง
สิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด(เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ)



ความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้นจากผัสสะเป็นปัจจัย
ห้ามความรู้สึกนึกคิดไม่ให้เกิด ห้ามไม่ได้ แต่สามารถกำหนดรู้ได้
แต่ห้ามการกระทำที่เกิดจากความรู้สึกนึกคิดได้

โดยกำหนดรู้ตามความเป็นจริงของความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกมาทางกาย วาจา
ที่กำลังจะเป็นการทำกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้น


เมื่อกำหนดรู้เนืองๆ ในสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ)
สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
(เวทนา ตัณหา อุปทา นภพ)

สภาพธรรม อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ย่อมมีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง



อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่มีเกิดขึ้นเนืองๆ
เป็นเหตุปัจจัยให้ จิตเกิดการปล่อยวางตามความเป็นจริง
จาก ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ที่กำลังมีเกิดขึ้น
เป็นเหตุปัจจัยให้ เป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึกเบื่อหน่าย
ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ


==============================


ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม.

ธรรมนั้นคือข้อที่ภิกษุ เป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูป,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในเวทนา,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในสัญญา,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในสังขาร,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในวิญญาณ;

ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ,
ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ ;

เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป เวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว,
ย่อมหลุดพ้นจากรูปจากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,

ย่อมพ้นได้จาก ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย
ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กายทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ;

เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.
– ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๐/๘๓.


==========================






เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 25 ม.ค. 2017, 09:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2017, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ




อุปวาณสูตร

[๗๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับฯลฯ
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่ตรัสว่า ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ดังนี้

ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระธรรมจึงชื่อว่าอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน พระเจ้าข้า ฯ





[๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุปวาณะ
ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน

อาการที่ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน อย่างนี้แล

เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ






[๘๐] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ ภิกษุลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ



[๘๑] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ
ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน

อาการที่ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล

เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ





[๘๒] ดูกรอุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายใน

อาการที่ภิกษุเป็นผู้เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้เสวยรูป
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายในอย่างนี้แล

เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ




[๘๓] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุฟังเสียงด้วยหู สูดกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ



[๘๔] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุรู้ซึ่งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน

อาการที่ภิกษุรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล

เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ



======================

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2017, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


[๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่ควรกำหนดรู้คืออะไร
คือ ตา รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง ฯ




หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะฯลฯ
ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง ฯ




[๕๘] รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ ฯลฯ ชราและมรณะ ฯลฯ
นิพพานที่หยั่งลงในอมตะด้วยความว่าเป็นที่สุด ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง



บุคคลผู้พยายามเพื่อจะได้ธรรมใดๆ เป็นอันได้ธรรมนั้นๆ แล้ว ธรรมเหล่านั้น
เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ


[๕๙] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้เนกขัมมะ เป็นอันได้เนกขัมมะแล้ว
ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้
แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ

บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความไม่พยาบาท
เป็นอันได้ความไม่พยาบาทแล้ว

บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อาโลกสัญญา
เป็นอันได้อาโลกสัญญาแล้ว

บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นอันได้ความไม่ฟุ้งซ่านแล้ว

บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้การกำหนดธรรม
เป็นอันได้การกำหนดธรรมแล้ว

บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ญาณ
เป็นอันได้ญาณแล้ว

บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความปราโมทย์
เป็นอันได้ความปราโมทย์แล้ว

ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว
และพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2017, 09:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปโยนิโสมนสิการ(การกำหนดรู้)


ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

สิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด


โยนิโส ได้แก่ ดูตามความเป็นของสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ)
รู้ตามความเป็นจริงของความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น

มนสิการ ได้แก่ กระทำไว้ในใจ
ไม่สร้างเหตุออกไปตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น


โยนิโสมนสิการ หมายถึง การกำหนดรู้สภาพธรรมของสิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ) ตามความเป็นจริง
สิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด(เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ)



ความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้นจากผัสสะเป็นปัจจัย
ห้ามความรู้สึกนึกคิดไม่ให้เกิด ห้ามไม่ได้ แต่สามารถกำหนดรู้ได้
แต่ห้ามการกระทำที่เกิดจากความรู้สึกนึกคิดได้

โดยกำหนดรู้ตามความเป็นจริงของความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกมาทางกาย วาจา
ที่กำลังจะเป็นการทำกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2017, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เกี่ยวกับการอธิบายโยนิโสมนสิการ


วลัยพรจะนำมาอธิบายเฉพาะสิ่งที่ตนรู้
ฉะนั้น เมื่อใครอธิบายสิ่งใดว่าอย่างไรนั้น
เป็นเรื่องปกติของความรู้เห็นของผู้นั้น


การที่กล่าวทำนองว่า นั่นถูก นี่ผิด
ต้องเรียกอย่างงั้น อย่างงี้

ล้วนเกิดจาก ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ
ที่มีเกิดขึ้นของผู้นั้น

ผู้ที่รู้ไม่ทันในผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ที่มีเกิดขึ้น
ย่อมปล่อยให้ก้าวล่วงออกมาทางกาย วาจา
กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้น(วจีกรรม กายกรรม)

จึงสนทนาแค่พอประมาณ
หากมีเรื่องถูก ผิด ต้องอย่างงั้นอย่างงี้
จะไม่คุยด้วย

ที่ไม่คุยด้วยเพราะเห็นแต่เหตุแห่งทุกข์
ไม่ใช่การกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์

หากอีกฝ่ายยังไม่ยอมหยุด
นั่นเป็นเรื่องของเหตุปัจจัยของผู้นั้น

ผู้ใดกระทำกรรมเช่นไร
ย่อมได้รับผลตามความเป็นจริง
ไม่ใช่ตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้นของผู้กระทำและของใครๆ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 25 ม.ค. 2017, 10:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2017, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การอธิบายความเรื่อง โยนิโสมนสิการ(การกำหนดรู้) จบแต่เพียงเท่านี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2017, 13:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


โยนิโสมนสิการ การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย

คือคำๆนี้ก็สงสัยมานานเหลือเกินว่าคืออะไร
มนสิการะ อย่างไรจึงจึงแยบคาย พอศึกษาไปจนเข้าใจมากขึ้นจึงอยากมาแชร์

มนสิการะ แปลตรงๆว่า กระทำไว้ในใจ แค่นี้ก็งุนงงละแปลเป็นไทยแบบนี้ แต่ถ้าแปลว่าคือ ความใส่ใจ อันนี้จะเข้าใจได้ดีกว่า มนสิการ คือ ความใส่ใจ ใส่ใจในอะไร ก็ใส่ใจในอารมณ์ต่างๆ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธัมมารมณ์ หรือแม้แต่ที่เป็นบัญญัติ มนสิการเกิดกับจิตทุกขณะ ดังนั้นก็มีความใส่ใจทั้งที่เป็น กุศล อกุศล วิบาก และกิริยา

มาดูโยนิโสมนสิการ พอมีโยนิโสเข้ามาเกี่ยวข้อง คือมีความแยบคาย แยบคายอย่างไร ตอนแรกนั้นงุนงงมาก กับคำว่าแยบคาย เพราะเป็นศัพท์ที่ไม่ค่อยได้ใช้ในปัจจุบันดูโบราณ แยบคายนั้นก็คือ อย่างดี ด้วยดี อย่างถูกต้องตามความจริง เป็นคำขยาย ดังนั้น มนสิการ ที่เป็นโยนิโสมนสิการ ก็ต้องไม่ใช่มนสิการที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปเพราะ คนเราใส่ใจกันมากมายหลายเรื่องทุกขณะ กุศลบ้าง อกุศลบ้าง แต่มนสิการที่เป็นโยนิโสมนสิการนั้นต้องเป็น ความใส่ใจที่ประกอบด้วยปัญญา ไม่ใช่ใส่ใจโดยทั่วไป ขณะใดที่มีปัญญา ขณะนั้นใส่ใจโดยแยบคาย แต่โยนิโสมนสิการก็มีหลายระดับ ตามระดับของปัญญา เช่นขณะฟังพระธรรม แล้วขณะนั้นมีความเข้าใจเป็นสุตมยปัญญา ขณะนั้นก็มีความใส่ใจที่แยบคายในพระธรรมที่ได้ฟัง ขณะที่เจริญความสงบของจิต ขณะนั้นก็มีปัญญาขั้นสมถะ สามารถอบรมจิตให้สงบจากกิเลสได้ เป็นฌาณขึ้นต่างๆ ขณะนั้นก็มีความใส่ใจอย่างแยบคายในอารมณ์ เป็นโยนิโสมนสิการ หรือขณะที่เป็นวิปัสสนาญาณ ขณะนั้นก็มีโยนิโสมนสิการเกิดด้วย คือมีความใส่ใจอย่างดีในอารมณ์ของวิปัสสนาญาณนั้น หรือในระดับโลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล ก็มีโยนิโสมนสิการร่วมด้วย ร่วมกับโลกุตตรปัญญา

และก็ไม่ควรสับสนกับความใคร่ครวญในเรื่องทางโลก เช่น การคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ เพราะ ขณะนั้นไม่ใช่โยนิโสมนสิการะ ไม่ใช่เรื่องของปัญญา แต่เป็นความฉลาดในเรื่องทางโลก เท่านั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2017, 19:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


โยนิโสมนสิการ คือ..การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย

:b1: :b1: :b1:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร