วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 20:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2019, 07:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นแกนนำแห่งกระบวนการของการศึกษานั้น จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัย ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ ประการ

ดังนั้น ในการดำเนินงานที่เกี่ยวกับการศึกษา จุดสนใจที่ควรเน้นเป็นพิเศษ คือ เรื่องปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิที่เป็นจุดเริ่มต้น เป็นแหล่ง เป็นที่มาของการศึกษา
คำที่พูดกันว่า “ให้การศึกษา” ก็อยู่ที่ปัจจัย ๒ ประการนี้เอง
ส่วนกระบวนการของการศึกษา ที่เรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา นั่น เพียงแต่รู้เข้าใจไว้ เพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้เกื้อกูล และคอยเสริมคุมกระตุ้นเร้าให้เนื้อหาของการศึกษาหันเบนดำเนินไปตามกระบวนนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2019, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อทำความเข้าใจอย่างนี้แล้ว ก็จะมองเห็นรูปร่างของกระบวนการแห่งการศึกษา ซึ่งเขียนให้ดูได้ ดังนี้

@ จุดเริ่มต้น หรือ แหล่งที่มาของของการศึกษา

๑.ปรโตโฆสะที่ดี (เสียงจากผู้อื่น อิทธิพลภายนอก)
๒.โยนิโสมนสิการ (รู้จักคิด คิดถูกวิธี ปัจจัยภายใน)

@กระบวนการของการศึกษา

๑. อธิสีลสิกขา (ความประพฤติ วินัย สุจริตกาย วาจา และอาชีวะ)
๒. อธิจิตตสิกขา (คุณธรรม คุณภาพ สุขภาพ และสมรรถภาพของจิต)
๓.อธิปัญญาสิกขา (ความเชื่อ ค่านิยม ความรู้ ความคิดถูกต้องดีงามตรงตามจริง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2019, 09:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ค. ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของการศึกษา

เมื่อได้ทำความเข้าใจคร่าวๆเกี่ยวกับกระบวนการของการศึกษา พอเห็นตำแหน่งแห่งที่ หรือฐานะของความคิดในกระบวนแห่งการศึกษานั้นแล้ว ก็จะได้กล่าวถึงเรื่องความคิดโดยเฉพาะต่อไป

อย่างไรก็ดี โดยที่ความคิดเป็นอย่างหนึ่งในบรรดาจุดเริ่ม หรือแห่งที่มา ๒ ประการ ของการศึกษา เมื่อจะพูดถึงความคิดที่เป็นจุดเริ่มอย่างหนึ่ง ก็ควรรู้จุดเริ่มอื่นอีกอย่างหนึ่งนั้นด้วย เพื่อจะได้ขอบเขตความเข้าใจที่กว้างขวางชัดเจนยิ่งขึ้น

ก่อนอื่น พึงพิจารณาพุทธพจน์ ดังนี้

"ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒ ประการ ดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ" * (องฺ.ทุก.20/371/110)

"โดยกำหนดว่าเป็นองค์ประกอบภาย นอก เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายนอกอื่น แม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เหมือนความมีกัลยาณมิตรเลย"

"โดยกำหนดว่าเป็นองค์ประกอบภายใน เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบอื่น แม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย" (องฺ.เอก.20/108,112/22)

ที่อ้างอิง
* ปรโตโฆสะ ในที่นี้ หมายถึง ปรโตโฆสะที่ดี -ปรโตโฆสะ คือ ปัจจัยทางสังคมภายนอก ซึ่งมีทั้งดี และไม่ดี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2019, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ นั้น ได้แสดงความหมายในที่นี้ว่า เป็นจุดเริ่ม หรือ แหล่งที่มาของการศึกษา หรือ อาจจะเรียกว่า บุพภาคของการ ศึกษา เพราะเป็นบ่อเกิดของสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นแกนนำ เป็นต้นทาง และเป็นตัวยืนของกระบวนการแห่งการศึกษาทั้งหมด ที่ตรัสว่า มี ๒ อย่าง คือ

๑. ปรโตโฆสะ แปลว่า เสียงจากผู้อื่น หรือ การกระตุ้นชักจูงจากภายนอก ได้แก่ การสั่งสอน แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา ข่าวสาร คำชี้แจงอธิบายจาก ผู้อื่น ตลอดจนการเรียนรู้ เลียนแบบ จากแหล่งต่างๆภายนอก หรือ อิทธิพลจากภายนอก

แหล่งสำคัญของการเรียนรู้ประเภท นี้ เช่น พ่อ แม่ ครู อาจารย์ เพื่อน คนแวดล้อมใกล้ชิด ผู้ร่วมงาน ผู้บังคับ บัญชา และผู้ไต้บังคับบัญชา บุคคลมีชื่อเสียง คนโด่งดัง คนผู้ได้ รับความนิยมในด้านต่างๆ หนังสือ สื่อมวลชนทั้งหลาย สถาบันทางศาสนา และวัฒนธรรม เป็นต้น ในที่นี้หมายถึงเฉพาะที่แนะนำในทางถูกต้องดีงาม ให้ความรู้ความ เข้าใจที่ถูกต้อง โดยเฉพาะสามารถช่วยนำไปสู่ปัจจัยที่ ๒ ได้

ปัจจัยข้อนี้ จัดเป็นองค์ประกอบภายนอก หรือ อาจเรียกว่า ปัจจัยทางสังคม

บุคคลผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถทำหน้าที่ปรโตโฆสะที่ดี มีคุณภาพสูง มีคำเรียกเฉพาะว่า กัลยาณมิตร ตามปกติกัลยาณมิตร จะทำหน้าเป็นผลดี ประสบความสำเร็จแห่งปรโตโฆสะได้ ต้องสามารถสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นแก่ผู้ เล่าเรียน หรือ ผู้รับการฝึกสอนอบรม จึงเรียกวิธีเรียนรู้ในข้อนี้ว่า วิธีการแห่งศรัทธา

ถ้าผู้มีหน้าที่ให้ปรโตโฆสะ เช่น ครู อาจารย์ พ่อแม่ ไม่สามารถทำให้เกิดศรัทธาได้ และผู้เล่าเรียน เช่น เด็กๆ เกิดเมื่อศรัทธาต่อแหล่งความรู้ ความคิดอื่นมากกว่า เช่น ดาราในสื่อมวลชน เป็นต้น และถ้าแหล่งเหล่านั้นให้ปรโตโฆสะที่ชั่วร้าย ผิดพลาด อันตรายย่อมเกิดขึ้นในกระบวนการแห่งการศึกษา อาจเกิดการศึกษาที่ ผิด หรือ ความไร้การศึกษา


๒. โยนิโสมนสิการ แปลว่า การทำในใจโดยแยบคาย หรือ คิดถูกวิธี แปลง่ายๆ ว่า ความรู้จักคิด หรือ คิดเป็น หมายถึง การคิดอย่างระเบียบ หรือ คิดตามแนว ทางของปัญญา คือ การรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลายตาม สภาวะ เช่น ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน โดยวิธีคิดหาเหตุปัจจัย สืบค้นถึงต้นเค้า สืบสาวให้ตลอดสาย แยกแยะสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ ออกให้เห็นตามสภาวะ และความคิดสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย โดยไม่เอา ความรู้สึกด้วยตัณหา อุปาทานของตนเข้าจับ หรือ เคลือบคลุม ทำให้เกิดความดีงาม และแก้ปัญหาได้

ข้อนี้เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายใน หรือ ปัจจัยภายในตัวบุคคล และอาจเรียกตามองค์ธรรมที่ใช้งาน ว่า วิธีการแห่งปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2019, 18:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมเก่า คือ ตา (จักขุ) หู (โสตะ) จมูก (ฆานะ) ลิ้น (ชิวหา) กาย (กายะ) ใจ (มโน)* (สํ.สฬ.18/217/166) เป็นเจ้าบทบาทเดิม

จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และ โยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"

ทำความเข้าใจ ปรโตโฆสะ กับ โยนิโสมนสิการ ให้ชัด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2019, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บรรดาปัจจัย ๒ อย่างนี้ ปัจจัยข้อที่ ๒ คือ โยนิโสมนสิการ เป็นแกนกลาง หรือ ส่วนที่ขาดไม่ได้
การศึกษาจะสำเร็จผลแท้จริง บรรลุจุดมุ่งหมายได้ ก็เพราะปัจจัยข้อที่ ๒ นี้

ปัจจัยข้อที่ ๒ อาจให้เกิดการศึกษา ได้ โดยไม่มีข้อที่ ๑

แต่ปัจจัยข้อที่ ๑ จะต้องนำไปสู่ปัจจัยข้อที่ ๒ ด้วย จึงจะสัมฤทธิ์ผลของการศึกษาที่แท้
การค้นพบต่างๆ ความคิดริเริ่ม ความก้าวหน้าทางปัญญาที่สำคัญๆ และการตรัสรู้สัจธรรมก็สำเร็จด้วย โยนิโสมนสิการ

อย่างไรก็ตาม แม้ความจริงจะเป็นเช่นนี้ ก็ไม่พึงดูแคลนความสำเร็จของปัจจัยข้อแรก คือ ปรโตโฆสะ เพราะตามปกติ คนที่จะไม่ต้องอาศัยปรโตโฆสะเลย ใช้แต่โยนิโสมนสิการอย่างเดียว ก็มีแต่อัจฉริยบุคคลยอดเยี่ยม เช่น พระพุทธเจ้า เป็นต้น ซึ่งมีน้อยท่านอย่างยิ่ง
ส่วนคนทั่วไปที่เป็นส่วนใหญ่ หรือ คนแทบทั้งหมดในโลก ต้องอาศัยปรโตโฆสะ เป็นที่ชักนำชี้ช่องทางให้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2019, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กิจกรรมทางการศึกษาที่จัดกันอยู่ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน ซึ่งดำเนินการกันเป็นระบบ เป็นงานเป็นการ
การถ่ายทอดความรู้ และศิลปะวิทยาการต่างๆ ที่เป็นของสุตะ ก็ล้วนเป็นเรื่องของปรโตโฆสะทั้งสิ้น
การสร้างปรโตโฆสะที่ดีงามโดยกัลยาณมิตร จึงเป็นเรื่องที่ควรได้รับความเอาใจใส่ตั้งใจจัดเป็นอย่างยิ่ง

จุดที่พึงย้ำเกี่ยว กับ โยนิโสมนสิการ ก็คือ เมื่อดำเนินกิจการในทางการศึกษา อำนวยปรโตโฆสะที่ดีอยู่ นั้น กัลยาณมิตร พึงระลึกอยู่เสมอว่า ปรโตโฆสะที่จัดสรรอำนวยให้นั้น จะต้องเป็นเครื่องปลูกเร้าโยนิโสมนสิการให้เกิดขึ้นแก่ผู้เล่าเรียนรับการศึกษา

เมื่อทำความเข้าใจเบื้องต้นอย่างนี้แล้ว ก็หันมาพูดจำกัดเฉพาะเรื่องความคิดต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2019, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 05:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ง) ความคิดที่ไม่เป็นการศึกษา และความคิดที่เป็นการศึกษา

การคิดพ่วงต่อจากกระบวนการรับรู้ กระบวนการรับรู้นั้น เริ่มต้นด้วยการที่อายตนะประสบกับอารมณ์ * และเกิดวิญญาณ คือ ความรู้ต่ออารมณ์นั้น เช่น เห็น ได้ยิน ตลอดถึงรู้ต่อเรื่องในใจ เมื่อเกิดความเป็นไปอย่างนี้แล้ว ก็เรียกว่า มีการรับรู้ หรือ ภาษาบาลี เรียกว่า ผัสสะ

เมื่อมีการรับรู้ ก็จะมีความรู้สึกต่ออารมณ์ นั้น เช่น สุข สบาย ทุกข์ ไม่สบาย หรือเฉยๆ เรียก ว่า เวทนา พร้อมกันนั้น ก็จะมีการหมายรู้อารมณ์ ว่า เป็นนั่นเป็น นี่ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ชื่อนั้นชื่อนี้ เรียกว่า สัญญา จากนั้นจึงเกิดความคิด ความดำริตริตรึกต่างๆ เรียกว่า วิตักกะ

กระบวนการรับรู้เป็นไปอย่างนี้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการประสบอารมณ์ โดยได้รับประสบการณ์ภายนอก หรือ การนึกถึงยกเอาเรื่องราวต่างๆขึ้นมาพิจารณาในใจ


ที่อ้างอ้าง *

*อารมณ์ในที่นี้ = sense-object ไม่ใช่ emotion สมัยปัจจุบัน เรียกบางส่วนของอารมณ์ ว่า สิ่งเร้า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 05:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เขียนให้ดูง่ายๆโดยยกความรู้ทางตาเป็นตัวอย่าง

- - - - ตา + + รูป + + + + เห็น = การรับรู้=>รู้สึกทุกข์=>จำได้หมายรู้ => คิด

(อายตนะ) (อารมณ์) (จักขุวิญญาณ) (ผัสสะ) - - - (เวทนา) - -(สัญญา) - - - (วิตักกะ)


ขั้นตอนของการคิด (วิตักกะ) มีความสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดบุคลิกภาพ และวิถีชีวิตของบุคคล ตลอดจนถึงสังคม จึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการศึกษา
แต่ความคิดนั้น จะเป็นอย่างไร ย่อมต้องอาศัยปัจจัยที่กำหนด หรือ ปรุงแต่งความคิดนั้น อีกต่อหนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 08:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อความคิด ได้แก่ ความรู้สึก สุข ทุกข์ (เวทนา)

ตามปกติสำหรับคนทั่วไป เมื่อมีการรับรู้ และเกิดเวทนาแล้ว ถ้าไม่มีปัจจัยอย่างอื่นเข้ามาแปร หรือ ตัดตอน เวทนาก็จะเป็นตัวกำหนดวิถีของความคิด คือ

- ถ้ารู้สึกสบาย ก็ชอบใจ อยากได้ อยากเสพ อยากเอา (ตัณหาฝ่ายบวก)

- ถ้ารู้สึกไม่สบาย ก็บีบคั้น เป็นทุกข์ ก็ขัดใจ อยากเลี่ยงพ้น หรือ อยากทำลาย (ตัณหาฝ่ายลบ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ให้ดูตัวอย่างเวทนา เบาๆ เทียบ คคห.บน

อ้างคำพูด:
เริ่มสงบจะมีอาการคันคอ

เวลานั่งสมาธิกำหนดคำภาวนา พร้อมไปกับลมหายใจ นั่งทำสมาธิไปสักพัก จะต้องเริ่มมีอาการคันคอ ทุกครั้ง พยามยามฝืนไม่สนใจ แต่จะคันคอจนต้องไอออกมาทุกครั้ง
บางครั้ง น้ำลายกระเด็นออกมาเลอะปาก พร้อมน้ำตาไหล พอไอออกมาสักครั้ง สองครั้ง แล้วจะหายไป แล้วไม่คันคออีกเลย
อยากรบกวนสอบถามถึงอาการที่เกิด และทำอย่างไร ถึงจะไม่ให้เกิดอาการคันคอได้ เพราะตอนนั่งพอจะเริ่มสงบนิ่ง จะเป็นทุกครั้ง ทำให้เกิดความรำคาญ


ครั้นประสบกับทุกขเวทนา ก็ขัดใจ อยากเลี่ยงหนี อยากพ้นไปเสีย

ครั้นประสบกับสุขเวทนา ก็ติดใจ อยากเสพซ้ำๆ ไม่อยากพรากไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่าง เมื่อประสบกับสุขเวทนาบ้าง

ฯลฯ เวลานี้รู้สึกว่า มีแต่ความสุขไปหมด

จากนั้น ผมก็คิดขึ้นมาว่า "มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วย หรือ ความสุขนี้ ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด
โอ ความสุขนี้ แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆ เพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย
ความสุขนี้ ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คนในโลกกลับไม่รู้"

จากนั้น ผมก็สังเกตลมหายใจ ก็รู้สึกว่าลมหายใจตอนนี้ มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจ คำว่า ลมหายใจหยาบลมหายใจละเอียด ว่า เป็นยังไง
ก่อนหน้านี้ เข้าใจ ว่า คือลมหายใจแรงๆ เบาๆ ซะอีก :)

ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ปีติอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้น
แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือ มีความรู้พร้อมอยู่
จากนั้น ผมก็รู้สึกยินดี กับ สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคิดไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌาน หรือ เปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเรา หรือ"
จนจิต เริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน
หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น

http://larndham.org/index.php?/topic/27 ... ntry393770

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เข้าเรื่องต่อ


ต่อจากนั้น ความคิดปรุงแต่งต่างๆ ก็จะกำหนดเน้น หรือ เพ่งไปที่อารมณ์ คือ สิ่งที่เป็นที่มาของเวทนานั้น เอาสิ่งนั้นเป็นที่จับของความคิด พร้อมด้วยความจำได้หมายรู้ ว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ (สัญญา) แล้วความคิดปรงุแต่งก็ดำเนินไปตามวิถีทางของความชอบใจ ไม่ชอบใจนั้น เครื่องปรุงแต่งความคิด ก็คือ ความโน้มเอียง ความเคยชิน กิเลส จิตนิสัยต่างๆ ที่จิตได้สั่งสมไว้ (สังขาร) และคิดอยู่ในกรอบ ในขอบเขต ในแนวทางของสังขารนั้น จากความคิด ก็อาจแสดงออกมาเป็นการทำ การพูด การแสดงบทบาทต่างๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าไม่ถึงขั้นแสดงออกภายนอก อย่างน้อยก็มีผลกระทบต่างๆ อยู่ภายในจิตใจ เป็นผลในทางผูกมัดจำกัดตัว ทำให้จิตคับแคบบ้าง เกิดความกระทบ กระทั่ง วุ่นวาย เร่าร้อน ขุ่นมัว เศร้าหมอง บีบคั้นใจ บ้าง หรือ ถ้าเป็นการพิจารณาเรื่องราว คิดการต่างๆ ก็ทำให้เอนเอียง ไม่มองเห็นตามเป็นจริง อาจเคลือบแฝงด้วยความอยากได้ อยากเอา หรือ ความคิดมุ่งทำลาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร