วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 06:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18 ... 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2018, 13:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
มากระทู้นี้ดีกว่าครับท่านเอกอน ท่านกบ ท่าน sssboun มีความสุขกว่าเยอะ
คนที่ยึดมันจะรู้ว่าตนเองยึดได้ที่ไหน ตราบใดที่จิตยังไม่คลายอุปาทานนั้น :b32: :b32: :b32: เพราะเห็นจริงจึงจะคลายได้ แต่ถ้าเห็นด้วยความอนุมานเอา ศรัทธามีมาก มันก็หลงไปนั่นแหละ พระพุทธเจ้าจึงสอนศรัทธาด้วยปัญญา กาลามสูตรพระพุทธเจ้าตรัสสอนตรงนี้ ไม่ใช่เพ้อแบบโน้น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ ความรู้ความเจข้าใจถูกต้องตามจริง :b32: :b32: :b32: พูดไป 2 ไพรเบี้ย นิ่งเสียมาเล่นกระทู้เราดีกว่าครับสนุกกว่าเยอะ อุตส่าห์มาโพสท์ต่อเรื่องศีล ตอนที่ 1 การน้อมไปในศีล แล้วนะ ตอนที่ 2 จะเป็นศีลในตน ตอนที่ 3 ศีลต่อผู้อื่น แต่ตอนที่ 2 กับ 3 อาจรวบรวมกันเพราะมันอาศัยกันเกิดขึ้น


:b27: :b27: :b27:

มาแย๊ววววว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2018, 13:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
พรหมวิหาร ๔ ไปสู่ศีลของพระพุทธเจ้า

ขั้นที่ ๑ เมตตาตนเองได้ ใจก็เกิดน้อมใน ศีล


อ้างคำพูด:

เมตตา คือ ใจกว้าง
กรุณา คือ น้ำใจ
มุทิตา คือ อิ่มใจ
อุเบกขา คือ ไม่ติดใจข้องแวะ



**หมายเหตุ ผมใช้คำสั่ง TD ไม่ได้เพื่อทำตาราง จึงใช้ Quote แทน มันจึงขึ้นว่าอ้างอิงคำพูด**


ศีล คือ ความปรกติ ไม่ใช่ว่าร่างกายปรกติสมบูรณ์ ไม่ใช่ไม่กระทำทางกายและวาจาในความเบียดเบียนนั้นแปลว่าปรกติ แต่ศีล คือ ใจเรานี้แหละปรกติ เย็นใจเป็นที่สบาย ไม่เร่าร้อน ไม่ติดใจข้องแวะเบียดเบียน คือ ไม่มีกิเลสนั่นเอง ศีงจึงเป็นธรรมเครื่องกุศลหลุดพ้นทุกข์ ไม่มีศีลจะพ้นทุกข์ไม่ได้เลย แม้จะทรงฌาณอย่างไรก็ตาม ตามพระพุทธศาสดาตรัสสอนไว้ใน สัลเลขสูตร

ดังนี้..การเจริญศีล ให้บริบูรณ์จากพรหมวิหาร ๔ นี้ ต้องรู้จักเมตตาตนเองก่อน เพื่อน้อมให้ศีลลงใจ ศีลจะไม่ร้อนในตน และจะบริบูรณ์งดงามได้ เพราะความปรกติ มีที่ใจตนแล้ว ดังนี้เมื่อพระศาสดาเสด็จไปที่ใดจึงตรัสสอนให้เห็นโทษและทุกข์อันเป็นวิบากกรรมของการไม่มีศีลก่อน เพราะให้ผู้สดับฟังธรรมเห็นโทษและทุกข์ของการไม่มีศีล เกิดความละอายเกรงกลัวต่อบาปอกุศล น้อมใจเข้าหลุดพ้นจากโทษและทุกข์นั้นเพื่อประโยชน์และความสุขของตน นี่เรียกว่าแสดงธรรมแท้เพื่อให้เขาเกรงกลัวและละอายต่อบาป อยากหลีกหนีบาปอกุศล มีใจเมตตาสงสารตนเองน้อมลงในศีลแน่วแน่นั่นเอง เพราะการให้ความเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขาต่อผู้อื่นนี้..มันยากกว่าการให้ความเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขาต่อตนเอง ก็เมื่อพรหมวิหาร ๔ นี้เกิดมีแก่ตนได้ เราจึงสามารถมีต่อผู้อื่นได้นั่นเอง เมื่อจิตตนเองเป็นศีลแล้ว ความตั้งมั่นในศีลมีแล้ว เราก็จึงจะสามารถแผ่ศีลไปสู่ผู้อื่นได้โดยปราศจากความเร่าร้อน (โดยมากผู้อ่านพะไตรจะเข้าเสพย์เรื่องราวในพระไตรจนลืมดูพุทธลีลา พุทธวิธีที่แสดงธรรมลงใจแก่สัตว์ แต่หากรู้สาเหตุว่าทำไมพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาโลกจึงแสดงธรรมอย่างนั้น เราจะเห็นวิธีทำไว้ในใจทันที ผมจึงอธิบายสัทธรรมโดยย่อไว้ดังนี้)


อ้างคำพูด:

มีพรหมวิหาร ๔ แก่ตนเอง ใจก็น้อมไปในศีลโดยไม่ร้อนเองอัตโนมัติ

ก. เมตตาตนเอง คือ มีใจกว้างเปิดออก ปล่อยให้ความเร่าร้อนเป็นไฟสุมใจตนเองอยู่นั้น อันได้แก่ ราคัคคิ..ไฟ คือราคะ, โทสัคคิ..ไฟ คือโทสะ, โมหัคคิ..ไฟ คือโมหะ..ให้มันลอยผ่านพ้นไป. ไม่กักขัง-ยึดเหนี่ยว-เกี่ยวยึดมันเอามากอดไว้เป็นเครื่องอยู่ของจิต อันเป็นสมมติความรู้สึกของปลอม ที่กิเลสมันวางไว้เป็นเหยื่อล่อใจเราทางสฬายตนะ ให้เราคิด เรากระทำในสิ่งที่จะส่งผลร้ายแก่ทั้งตนเองและผู้อื่นตามมา
__ดังนี้..หากเราเมตตาปารถนาดีแก่ตนเอง เราก็ปล่อยให้ความรู้สึกนึกคิดสมมติกิเลสของปลอมนี้ผ่านพ้นไป..เพื่อให้ตนเป็นสุขพ้นจากทุกข์อันเร่าร้อนแผดเผากายใจตนนั่นเอง

---------------------------------------------------

ข. กรุณาตนเอง คือ มีน้ำใจให้ตนเอง เห็นใจสงสารตนเอง เห็นว่าตนกำลังเร่าร้อนกระวนกระวายกายใจ ระส่ำระสาย มีกายใจอยู่โดยไม่เป็นปรกติด้วยไฟกิเลสแผดเผา สงสารตนเองที่กอดยึดไฟกิเลสไว้
__ดังนี้..หากเราเห็นใจสงสารตนเอง เราก็สงเคราะห์เกื้อกูลแบ่งปันสุขให้ตนเองด้วยการสละคืนไฟกิเลสทั้งปวงทิ้งไป เพื่อเป็นการสงเคราะห์ให้ตนหลุดพ้นทุกข์ที่เร่าร้อน เอาน้ำกรุณารดใจตนเองให้ชุ่มฉ่ำเป็นสุข ว่างพ้นไปจากทุกข์

---------------------------------------------------

ค. มุทิตาตนเอง คือ อิ่มใจในตนเอง เมื่อตนเองประสบสุขสำเร็จละเสียได้ซึ่งสมมติความรู้สึกนึกคิดกิเลสอันเร่าร้อนเป็นไฟสุมไม้กายใจตน ดำรงชีพอยู่โดยปราศจากความเร่าร้อนแผดเผากายใจตนให้เป็นทุกข์ สุขที่ตนสามารถคงไว้ซึ่งความปรกติแห่งกายใจอยู่ได้ ยินดีที่ตนเองเป็นสุขรอดพ้นจากกิเลสทุกข์เครื่องร้อยรัดอันเร่าร้อนทั้งปวง
__ดังนี้..หากเราอิ่มใจในตนเอง เราก็รู้สึกได้ถึงความสุขที่เรามีปรกติไม่เร่าร้อน ไปอยู่ที่ใดเย็นใจ เบาสบายสุข ไม่เร่าร้อนเพราะความกระสันอยากได้ใคร่เสพย์หิวกระหาย ไม่มีวิตก ไม่มีกังวง ไม่โกรธแค้น ไม่ชิงชัง ไม่มีสิ่งใดมาทำให้ใจมัวหมองได้ คงความเป็นสุขสบายกายใจตนโดยโดยปราศจากกิเลสความเร่าร้อน

---------------------------------------------------

ง. อุเบกขาตนเอง คือ ไม่ติดใจข้องแวะสมมติกิเลสเครื่องเร่าร้อนทั้งปวงที่เกิดมีขึ้นแก่กายใจตน แค่รู้แล้วก็ปล่อยมันผ่านไป ไม่ติดข้องต่อสมมติความรู้สึกคิดที่เกิดขึ้นมีแก่กายใจตนให้เร่าร้อนนั้น เพราะทุกอย่างมันล้วนเป็นสมมติทั้งหมด ที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกให้จิตหลงตามทางสฬายตนะ

__อุเบกขาแก่ตนเอง ประการที่ ๑..หากเราไม่ติดใจข้องแวะความรู้สึกคิดสมมติกิเลสของปลอมที่เกิดขึ้นภายในกายใจตนแล้ว เราก็ปล่อย ละ สละ วาง เลือกธัมมารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่ควรเสพย์
- สิ่งใดเสพย์แล้วเร่าร้อน ทั้งความสุขที่ทำให้ติดหลงเคลิ้มไหลให้ไม่รู้ตัว ทั้งความทุกข์ระทมให้ขุ่นข้องหมองใจ ขัดใจ โกรธแค้นไม่รู้ตัว นี้เป็นความวางเฉยต่อสติความรู้ตัว ความว่างจากสติสัมปะชัญญะ สิ่งนี้เป็นธัมมารมณ์ที่ไม่ควรเสพย์ ให้สละคืนทิ้งไปมันเป็นเพียงสมมติไม่ใช่ของจริง
- สิ่งใดที่เสพย์แล้วจิตมีความรู้ตัวทั่วพร้อมดำรงตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอ่อนแอไปกับสมมติความรู้สึกคิดอันยังความเร่าร้อนแผดเผากายใจให้เกิดมีแก่ตน มีใจวางไว้กลางๆวางเฉยนิ่งอยู่ยังกายใจให้ว่างพ้นจากความรู้สึกนึกคิดอันเร่าร้อน สิ่งนั้นควรเสพย์
__ดังนี้..ธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์ คือ ความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบัน ปักหลักใจไว้ให้หนักแน่นแน่วแน่ วางเฉยนิ่งอยู่ไม่จับ ไม่เสพย์ ไม่กระทำใดๆตอบโต้ต่อความรู้สึกนึกคิดไรๆทั้งปวง
- ทั้งที่เป็นความสุขที่ทำให้เคลิ้มหลงติดตามไม่รู้ตัว(สุขจากคำสรรเสริญเยินยอ หรือได้เสพย์สมใจกระหายให้หลงไปไม่รู้ตัวเป็นต้น)
- ทั้งที่เป็นความทุกข์ที่ทำให้กระวนกระวาย ขุ่นข้องขัดเคืองใจ คับแค้น อัดอั้นกายใจให้ทนอยู่ได้ยาก จนแตกปะทุไม่รู้ตัว(ความโกรธ เกลียด ชัง ประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่เจริญใจ ส่วนความพรัดพรากนี้มีรู้ได้ชัดเจนในเรื่องกรรมและไตรลักษณ์ฺจะเด่นชัดสิ่งนี้มาก)

__อุเบกขาแก่ตนเอง ประการที่ ๒..เพราะจิตรู้แต่สมมติความรู้สึกนึกคิดกิเลสของปลอมจึงเร่าร้อนตามทั้งสุขและทุกข์ การรู้ของจริงจึงไม่มีทุกข์
__ดังนี้..รู้ของจริงมี "ลมหายใจ" เป็นต้นนี้คือของจริง เป็นวาโยธาตุ เป็นกายสังขารที่กอปรรวมขึ้น และคงความเป็นร่างกายของเราไว้อยู่ได้ สิ่งนี้เป็นของจริง (คนที่จิตไม่ตั้งมั่นไม่มีกำลังมากพอ ไม่เคยอบรมจิต จะตามรู้มันได้จนสมมติความรู้สึกนึกคิดนั้นจนดับไป ให้เกิดรู้สัมผัสรับรู้ได้ถึงในปิติสุขที่ขึ้นกายใจเมื่อปราศจากกิเลสได้ ก็ต้องละสมมติจับรู้ของจริงในปัจจุบันอาศัยลมหายใจดังนี้เป็นต้น)

---------------------------------------------------


**หมายเหตุ ผมใช้คำสั่ง TD ไม่ได้เพื่อทำตาราง จึงใช้ Quote แทน มันจึงขึ้นว่าอ้างอิงคำพูด**


ในที่นี้ เรื่องกรรมอื่นใดข้ามภพข้ามชาติเป็นเรื่องอจินไตยพสูจน์ได้ยาก ผมไม่อาจะแสดงได้ตรงหรือดีพอให้คนเห็นตามได้เพราะผมยังไม่ถึง คงมีแต่พระศาสดาและพระอริยะสงฆ์เท่านั้นที่จะกล่าวให้เห็นตามจริงได้ ผมจึงจักกล่าวเอากรรมที่เป็นปัจจุบันและผลสืบต่อให้ได้รับผลในปัจจุบันหรือเวลาอันใกล้นี้เท่านั้น

คนที่จะเจริญศีลของพระพุทธเจ้าได้บริบูรณ์นั้น จุดเริ่มต้นในศีลนั้นเราจะต้องเมตตสงสารตนเองก่อนอย่างไร ให้เราพึงระลึกถึงอยู่เนืองๆดังนี้ว่า..

1. ขณะที่เรามีอยากได้ต้องการต่อบุคลคลใด สัตว์ใด สิ่งใด หรือ..มีความโกรธ เกลียด ชิงชัง เจ็บแค้นอาฆาตต่อบุคลคลใด สัตว์ใด สิ่งใด ขณะนั้นใจเราไม่เป็นปรกติ มันร้อนรุ่มร้อนรนในกายและใจตนอยู่โดยไม่เป็นสุข ไฟมันสุมในใจพลุ่งพล่านร้อนปะทุขึ้นในใจ ไม่ว่าจะเป็นความโหยหิวกระหายอยากได้ หรือขุ่นข้อง แค้นเคือง อัดอั้น คับแค้นกายใจ อยากให้มันฉิบหายไปให้พ้นๆ ทุกอย่างก็ล้วนเป็นไฟสุมใจตนทั้งนั้น ..เราสงสารตนเองไหม ความเร่าร้อนนั้นมันเป็นสุขหรือทุกข์เล่า
- หากคิดว่ามันเป็นสุข แล้วความเร่าร้อนกระวนกระวายเร่าๆอยู่นั้น มันทำให้กายใจเรามันเป็นปรกติหรือไม่ ต่างกับคนอื่นที่เขาสนุกสนานเฮฮาเป็นสุขไม่เร่าร้อนไหม หรือ..อาการความรู้สึกนึกคิดนั้นมีแต่ความไม่รู้ตัว ไหลพล่านไปเรื่อยในภายนอกที่ทำให้ใจเราระส่ำ ไม่รู้ตัว ไม่รู้ปัจจุบัน จิตถูกตรึงไว้กับอารมณ์ความรู้สึกที่มากระทบให้กระเส่าเร่าร้อน ทนอยู่ได้ยาก เหมือนอกจะแตกตายนั้นเล่า ..ก็ถ้าหากเราไม่เร่าร้อนกระวนกระวายกายใจ มันไม่มีความอกสั่นขวัญแขวน จะอยู่ที่ใดก็รู้ตัว ทำกิจการงานต่างๆได้ดี ไม่ต้องรู้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสกายใดด้วยความเร่าร้อน กระหาย หวาดกลัว ระแวง หลีกเร้น อัดอั้นคับแค้นกายใจ โศกเศร้า ร่ำไร รำพัน ไม่สบายกายใจทั้งหลาย ดังนี้ความเร่าร้อนกับความไม่เร่าร้อนสิ่งใดมันเป็นสุขกว่ากันเล่า ..นี่แสดงว่าความเร่าร้อนเป็นทุกข์ใช่ไหม่
- ก็เมื่อรู้ว่ามันเป็นทุกข์แล้ว เราจะยึดกอดมันเอาไว้เป็นเครื่องอยู่ เป็นที่ตั้งแห่งจิตให้เผากายใจเราจนหมองไหม้อยู่อีกหรือ เรามันดูอนาถาต่ำต้อยน่าสงสารแค่ไหนที่ต้องหมองไหม้ด้วยไฟกิเลส ราคัคคิ โทสัคคิ โมหัคคิ ดังนี้แล้วเราควรจะทำในสิ่งที่ไม่ทำให้กายใจเร่าเร่าร้อนใช่หรือไม่

2. ถ้าเราสงสารตนเอง ก็พึงละเสียซี่งความอยากได้จากคนอื่น หรือความผลักไสนั้น การกระทำของใจเหล่าใดที่เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไปกับคนอื่น สัตว์อื่น สิ่งอื่นมันล้วนเป็นทุกข์ทั้งสิ้น ผลจากการกรทำนั้นของใจมันนำความเร่าร้อนเป็นทุกข์มาให้ มันเกิดไฟสุมใจไม่สิ้นสุดร้อนยิ่งกระวนกระวายดั่งไฟนรกสุมใจ แต่หากเมื่อเราไม่ผูกเอาความสุขสำเร็จของตนขึ้นไว้กับผู้อื่น สัตว์อื่น สิ่งอื่นใด ความเร่าร้อนเป็นไฟนรกสุมใจไม่เป็นทุกข์นั้น ก็ย่อมไม่เกิดมีแก่กายใจเรา ไม่ว่าใครจะทำอะไร เราจะเห็นสิ่งใด เราก็ไม่มีไฟสุมใจร้อนรนตาม มันเย็นกายสบายใจดีนัก

3. หากเราเมตตาและสงสารตนเอง..ก็อย่าเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่นหรือสิ่งใดทั้งปวง โดยสำเนียกในใจเสมอๆอย่างนี้ว่า..

.๓.๑ ..เราไม่ควรสำคัญมั่นหมายไว้ในใจด้วยเห็นว่าหากได้พบเจอรับรู้ในสิ่งนี้ๆ(สิ่งที่เจริญใจ สิ่งที่ตนสำราญใจ รักใคร่ สำเร็จ ได้สมปารถนา ต้องการ ถวิลหา โหยหา กระหาย ใคร่เสพย์)
..หรือ..ได้รับรู้-ได้กระทำในสิ่งใดที่สมใจตนแต่เป็นสิ่งที่เบียดเบียน ทำร้าย ฉกชิง ช่วงชิง หมายพราก ยังความเสื่อมสูญ สูญเสียฉิบหายให้แก่ผู้อื่น..ซึ่ง ชีวิต, บุคคล, สิ่งของอันเป็นที่รัก ที่มีค่า ที่หวงแหนยิ่งของใครได้ อย่างนี้จึงเป็นสุขของตน
..ให้พึงสำเนียกไว้ในใจว่า.. การเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับการได้รับรู้สัมผัสรับฟังซึ่งสิ่งที่เจริญใจนั้น..มันทำให้เราหลงลืมตัว ตั้งอยู่ในความประมาทไม่สอดส่องดูข้อบกพร่องตน ไม่รู้ความผิดพลาดตน ทำให้เกิดความละเลย เหลาะแหละ หย่อนยานในตน ความเคลิ้มไปมีแต่โทษ และทุกข์ ..และ.. ความสุขสำเร็จเหล่าใดของตนที่เอาใจไปผูกขึ้นไว้กับการได้เอาชนะผู้อื่น เบียดเบียน ทำร้าย ช่วงชิง พรากเอา ซึ่ง.ชีวิต บุคคล สิ่งของอันเป็นที่รัก ที่หวงแหน มีค่าของผู้อื่น มันไม่ใช่สุขโดยแท้จริง ย่อมประกอบไปด้วยทุกข์ในภายหลัง จากการปกปิด หลบหนี หวาดกลัวถูกจับได้ หรือเขามาเอาคืน ต้องอยู่อย่างพะวงหน้าพะวงหลังอยู่ตลอดเวลา หาสุขใดๆไม่ได้เลย จะนอนก็กลัว จะตื่นก็กลัว แม้ไม่ต้องเกรงกลัวความผิดใดแต่มันอิ่มไม่เป็น พอไม่เป็นก็ยังเร่าร้อนด้วยการแสวงหาให้ได้มากอีกไม่สิ้นสุด
..ดังนี้การไม่เอาความสุขสำเร็จสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่นนั้นเป็นสุขอย่างแท้จริง

.๓.๒ ..เราไม่ควรสำคัญมั่นหมายไว้ในใจด้วยเห็นว่าหากได้พบเจอรับรู้ในสิ่งนี้ๆ(สิ่งไม่เจริญใจทั้งปวง สิ่งที่ตนไม่ชอบ ไม่สมปารถนา เกลียด กลัว ชัง ไม่สำเร็จ ผิดพลาด เสื่อมเสีย เสื่อมสูญ สูญเสีย พรัดพราก)
..หรือ..ได้รับรู้-ได้กระทำในสิ่งใดที่ไม่อาจจะมี ไม่อาจจะได้ ไม่อาจจะเป็น ไม่อาจจะทำร้ายเบียดเบียน ไม่อาจจะเอาคืน ไม่อาจจะช่วงชิง-ฉุดคร่า-พรากเอา-ได้ครอบครอง ยังความสูญเพียงฉิบหายให้แก่ผู้อื่น..ซึ่ง ชีวิต, บุคคล, สิ่งของอันเป็นที่รัก ที่มีค่า ที่หวงแหนยิ่งของใครได้ดั่งใจต้องการ อย่างนี้จึงเป็นทุกข์ของตน
..ให้พึงสำเนียกไว้ในใจว่า.. การเอาความไม่ประสบสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับการได้รับรู้สัมผัสรับฟังซึ่งสิ่งที่ไม่เจริญใจนั้น..มันทำให้เราคลายความเพียร ตั้งอยู่ในความท้อแท้ เหนื่อยหน่าย สิ้นหวัง เกลียดชัง ล้มเหลว ล้มเลิก หลีกหนี ความผลักไสมีแต่โทษ และทุกข์ ..และ.. ความไม่ประสบสุขสำเร็จเหล่าใดของตนที่เอาใจไปผูกขึ้นไว้กับการได้พ่ายแพ้ผู้อื่น ทำให้รู้สึกเหมือนว่าตนเองถูกเบียดเบียน ถูกทำร้าย ถูกช่วงชิง ถูกพรากเอา หรืออีกประการ คือ ตนเองไมอาจจะทำร้าย เบียดเบียน ต่อสู้ ช่วงชืง พรากเอาซึ่ง.ชีวิต บุคคล สิ่งของอันเป็นที่รัก ที่หวงแหน มีค่าของผู้อื่นมาครอบครองได้ ย่องยังความโศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน อัดอั้น คับแค้นกายใจให้เกิดมีขึ้นแก่เรา ก่อเกิดความผูกโกรธ ผูกพยายาบาท ทำความเร่าร้อนเผาไหม้กายใจตนไม่สิ้นสุด
..ดังนี้การไม่เอาความสุขสำเร็จสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่นนั้นเป็นสุขอย่างแท้จริง

- เมื่อเราไม่สำคัญมั่นหมายไว้ในใจทั้ง ๒ ส่วนนี้ ความเร่าร้อนเพราะรักก็ดี เพราะชังก็ดี จะไม่มีแก่เราได้ ก็การละซึ่ง ๒ ส่วนนั้น มีแต่ศีลของพระพุทธเจ้าที่ทรงตรัสสอนไว้ดีแล้วนี้เท่านั้น อันเป็นเครื่องละเว้นสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์, โทษ, ภัยในปัจจุบันและภายหลังให้แก่เรา ที่ยังกายใจเราให้เข้าถึงความสุขกายสบายใจ เย็นใจ มีปรกติไม่เร่าร้อน ไม่มีทุกข์นั้น ศ๊ลของพระพุทธเจ้ามีคุณมากเป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ ดังนี้หากเราเมตตาสงสารตนเอง อยากให้ตนเองเป็นสุข ยินดีที่ตนเองเป็นสุข ก็ควรแล้วที่จะน้อมเอาศีลของพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดามาเจริญสู่กาย วาจา และใจของตนดังนี้


:b16: :b16: :b16:

อ่านแล้วก็เป็นได้ชื่นใจ

:b27: :b27: :b27:

มีผู้ที่เรียบเรียงสภาวะธรรมได้เก่งอย่างนี้ นับว่าเป็นเนื้อนาบุญของพุทธศาสนาท่านหนึ่งเลยล่ะ

:b1:

เอกอนอ่านตาม มองเห็นภาพตามได้เลย

เพียงแต่เอกอนเป็นผู้ที่ไม่ถนัดในการบรรยายอะไรๆออกมาให้เป็นลำดับอย่างนี้ได้เลย

:b8: :b8: :b8:

อ่านแล้วก็พลอยสุขใจ

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2018, 14:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หูยๆๆๆ ผมยังไม่ถึง สะสมอยู่ปฏิบัติบ่อยๆซ้ำๆจนลงใจ เข้าไปดูโดยสมาธิและภาวนาบ่อยๆ ของผมมันโลกียะ มีเสื่อมได้ทุกวัน แต่มันเสื่อมมันก็กลับมาได้ เพราะเหตุเก่ามันมีแค่เราทำสะสมไปเรื่อยมันก็เกิดเอง

ของผมของปลอมมีเยอะเพราะแค่ปุถุชน ทุกท่านและท่านผู้รู้ต้องพิจารณาเอาอีกครั้งครับ แต่เอาไปใช้เป็นข้อคิดแนวทางในการกรรมฐานเจริญปฏิบัติได้อยู่ครับ เพียยงแค่ต้องแยกแยะถูกผิด

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2018, 17:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



คำถามที่ ๖. ศีลในพระพุทธศาสนา คือ ผลของพรหมวิหาร ๔ ใช่หรือไม่ เพราะเหตุใด


ข้อนี้เมตตาในตนเพื่อให้ศีลเกิดที่ตน ผมได้กล่าวคร่าวๆไปแล้วในกระทู้ข้างบนครับ ซึ่งยังเป็นการทำไว้ในใจเบื้องต้นเท่านั้น

ถามต่อนะครับว่า

1. ก็ถ้าที่ผมกล่าวไว้นี้ ว่าพรหมวิหาร ๔ มีผลเป็นศีล แล้วศ๊ลจะเกิดขึ้นแก่กายใจเรายังไงครับ

ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ผิดกาม ไม่พูดปด ไม่เสพย์สิ่งที่ขาดสติ มันจะเกิดขึ้นกับใจเราในทิศทางใด แบบไหนบ้าง มาแบ่งปันกันครับ

2. ศีลเป็นไปเพื่อใจกระทำอย่างไรกับความเป็นที่รัก ที่ชัง


:b32: :b32: :b32: มาเล่นกระทู้เรากันครับ

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2018, 18:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2018, 19:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

แค่อากาศ เขียน:
พรหมวิหาร ๔ ไปสู่ศีลของพระพุทธเจ้า

ขั้นที่ ๑ เมตตาตนเองได้ ใจก็เกิดน้อมใน ศีล


อ้างคำพูด:

เมตตา คือ ใจกว้าง
กรุณา คือ น้ำใจ
มุทิตา คือ อิ่มใจ
อุเบกขา คือ ไม่ติดใจข้องแวะ



**หมายเหตุ ผมใช้คำสั่ง TD ไม่ได้เพื่อทำตาราง จึงใช้ Quote แทน มันจึงขึ้นว่าอ้างอิงคำพูด**


ศีล คือ ความปรกติ ไม่ใช่ว่าร่างกายปรกติสมบูรณ์ ไม่ใช่ไม่กระทำทางกายและวาจาในความเบียดเบียนนั้นแปลว่าปรกติ แต่ศีล คือ ใจเรานี้แหละปรกติ เย็นใจเป็นที่สบาย ไม่เร่าร้อน ไม่ติดใจข้องแวะเบียดเบียน คือ ไม่มีกิเลสนั่นเอง ศีงจึงเป็นธรรมเครื่องกุศลหลุดพ้นทุกข์ ไม่มีศีลจะพ้นทุกข์ไม่ได้เลย แม้จะทรงฌาณอย่างไรก็ตาม ตามพระพุทธศาสดาตรัสสอนไว้ใน สัลเลขสูตร

ดังนี้..การเจริญศีล ให้บริบูรณ์จากพรหมวิหาร ๔ นี้ ต้องรู้จักเมตตาตนเองก่อน เพื่อน้อมให้ศีลลงใจ ศีลจะไม่ร้อนในตน และจะบริบูรณ์งดงามได้ เพราะความปรกติ มีที่ใจตนแล้ว ดังนี้เมื่อพระศาสดาเสด็จไปที่ใดจึงตรัสสอนให้เห็นโทษและทุกข์อันเป็นวิบากกรรมของการไม่มีศีลก่อน เพราะให้ผู้สดับฟังธรรมเห็นโทษและทุกข์ของการไม่มีศีล เกิดความละอายเกรงกลัวต่อบาปอกุศล น้อมใจเข้าหลุดพ้นจากโทษและทุกข์นั้นเพื่อประโยชน์และความสุขของตน นี่เรียกว่าแสดงธรรมแท้เพื่อให้เขาเกรงกลัวและละอายต่อบาป อยากหลีกหนีบาปอกุศล มีใจเมตตาสงสารตนเองน้อมลงในศีลแน่วแน่นั่นเอง เพราะการให้ความเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขาต่อผู้อื่นนี้..มันยากกว่าการให้ความเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขาต่อตนเอง ก็เมื่อพรหมวิหาร ๔ นี้เกิดมีแก่ตนได้ เราจึงสามารถมีต่อผู้อื่นได้นั่นเอง เมื่อจิตตนเองเป็นศีลแล้ว ความตั้งมั่นในศีลมีแล้ว เราก็จึงจะสามารถแผ่ศีลไปสู่ผู้อื่นได้โดยปราศจากความเร่าร้อน (โดยมากผู้อ่านพะไตรจะเข้าเสพย์เรื่องราวในพระไตรจนลืมดูพุทธลีลา พุทธวิธีที่แสดงธรรมลงใจแก่สัตว์ แต่หากรู้สาเหตุว่าทำไมพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาโลกจึงแสดงธรรมอย่างนั้น เราจะเห็นวิธีทำไว้ในใจทันที ผมจึงอธิบายสัทธรรมโดยย่อไว้ดังนี้)


อ้างคำพูด:

มีพรหมวิหาร ๔ แก่ตนเอง ใจก็น้อมไปในศีลโดยไม่ร้อนเองอัตโนมัติ

ก. เมตตาตนเอง คือ มีใจกว้างเปิดออก ปล่อยให้ความเร่าร้อนเป็นไฟสุมใจตนเองอยู่นั้น อันได้แก่ ราคัคคิ..ไฟ คือราคะ, โทสัคคิ..ไฟ คือโทสะ, โมหัคคิ..ไฟ คือโมหะ..ให้มันลอยผ่านพ้นไป. ไม่กักขัง-ยึดเหนี่ยว-เกี่ยวยึดมันเอามากอดไว้เป็นเครื่องอยู่ของจิต อันเป็นสมมติความรู้สึกของปลอม ที่กิเลสมันวางไว้เป็นเหยื่อล่อใจเราทางสฬายตนะ ให้เราคิด เรากระทำในสิ่งที่จะส่งผลร้ายแก่ทั้งตนเองและผู้อื่นตามมา
__ดังนี้..หากเราเมตตาปารถนาดีแก่ตนเอง เราก็ปล่อยให้ความรู้สึกนึกคิดสมมติกิเลสของปลอมนี้ผ่านพ้นไป..เพื่อให้ตนเป็นสุขพ้นจากทุกข์อันเร่าร้อนแผดเผากายใจตนนั่นเอง

---------------------------------------------------

ข. กรุณาตนเอง คือ มีน้ำใจให้ตนเอง เห็นใจสงสารตนเอง เห็นว่าตนกำลังเร่าร้อนกระวนกระวายกายใจ ระส่ำระสาย มีกายใจอยู่โดยไม่เป็นปรกติด้วยไฟกิเลสแผดเผา สงสารตนเองที่กอดยึดไฟกิเลสไว้
__ดังนี้..หากเราเห็นใจสงสารตนเอง เราก็สงเคราะห์เกื้อกูลแบ่งปันสุขให้ตนเองด้วยการสละคืนไฟกิเลสทั้งปวงทิ้งไป เพื่อเป็นการสงเคราะห์ให้ตนหลุดพ้นทุกข์ที่เร่าร้อน เอาน้ำกรุณารดใจตนเองให้ชุ่มฉ่ำเป็นสุข ว่างพ้นไปจากทุกข์

---------------------------------------------------

ค. มุทิตาตนเอง คือ อิ่มใจในตนเอง เมื่อตนเองประสบสุขสำเร็จละเสียได้ซึ่งสมมติความรู้สึกนึกคิดกิเลสอันเร่าร้อนเป็นไฟสุมไม้กายใจตน ดำรงชีพอยู่โดยปราศจากความเร่าร้อนแผดเผากายใจตนให้เป็นทุกข์ สุขที่ตนสามารถคงไว้ซึ่งความปรกติแห่งกายใจอยู่ได้ ยินดีที่ตนเองเป็นสุขรอดพ้นจากกิเลสทุกข์เครื่องร้อยรัดอันเร่าร้อนทั้งปวง
__ดังนี้..หากเราอิ่มใจในตนเอง เราก็รู้สึกได้ถึงความสุขที่เรามีปรกติไม่เร่าร้อน ไปอยู่ที่ใดเย็นใจ เบาสบายสุข ไม่เร่าร้อนเพราะความกระสันอยากได้ใคร่เสพย์หิวกระหาย ไม่มีวิตก ไม่มีกังวง ไม่โกรธแค้น ไม่ชิงชัง ไม่มีสิ่งใดมาทำให้ใจมัวหมองได้ คงความเป็นสุขสบายกายใจตนโดยโดยปราศจากกิเลสความเร่าร้อน

---------------------------------------------------

ง. อุเบกขาตนเอง คือ ไม่ติดใจข้องแวะสมมติกิเลสเครื่องเร่าร้อนทั้งปวงที่เกิดมีขึ้นแก่กายใจตน แค่รู้แล้วก็ปล่อยมันผ่านไป ไม่ติดข้องต่อสมมติความรู้สึกคิดที่เกิดขึ้นมีแก่กายใจตนให้เร่าร้อนนั้น เพราะทุกอย่างมันล้วนเป็นสมมติทั้งหมด ที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกให้จิตหลงตามทางสฬายตนะ

__อุเบกขาแก่ตนเอง ประการที่ ๑..หากเราไม่ติดใจข้องแวะความรู้สึกคิดสมมติกิเลสของปลอมที่เกิดขึ้นภายในกายใจตนแล้ว เราก็ปล่อย ละ สละ วาง เลือกธัมมารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่ควรเสพย์
- สิ่งใดเสพย์แล้วเร่าร้อน ทั้งความสุขที่ทำให้ติดหลงเคลิ้มไหลให้ไม่รู้ตัว ทั้งความทุกข์ระทมให้ขุ่นข้องหมองใจ ขัดใจ โกรธแค้นไม่รู้ตัว นี้เป็นความวางเฉยต่อสติความรู้ตัว ความว่างจากสติสัมปะชัญญะ สิ่งนี้เป็นธัมมารมณ์ที่ไม่ควรเสพย์ ให้สละคืนทิ้งไปมันเป็นเพียงสมมติไม่ใช่ของจริง
- สิ่งใดที่เสพย์แล้วจิตมีความรู้ตัวทั่วพร้อมดำรงตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอ่อนแอไปกับสมมติความรู้สึกคิดอันยังความเร่าร้อนแผดเผากายใจให้เกิดมีแก่ตน มีใจวางไว้กลางๆวางเฉยนิ่งอยู่ยังกายใจให้ว่างพ้นจากความรู้สึกนึกคิดอันเร่าร้อน สิ่งนั้นควรเสพย์
__ดังนี้..ธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์ คือ ความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบัน ปักหลักใจไว้ให้หนักแน่นแน่วแน่ วางเฉยนิ่งอยู่ไม่จับ ไม่เสพย์ ไม่กระทำใดๆตอบโต้ต่อความรู้สึกนึกคิดไรๆทั้งปวง
- ทั้งที่เป็นความสุขที่ทำให้เคลิ้มหลงติดตามไม่รู้ตัว(สุขจากคำสรรเสริญเยินยอ หรือได้เสพย์สมใจกระหายให้หลงไปไม่รู้ตัวเป็นต้น)
- ทั้งที่เป็นความทุกข์ที่ทำให้กระวนกระวาย ขุ่นข้องขัดเคืองใจ คับแค้น อัดอั้นกายใจให้ทนอยู่ได้ยาก จนแตกปะทุไม่รู้ตัว(ความโกรธ เกลียด ชัง ประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่เจริญใจ ส่วนความพรัดพรากนี้มีรู้ได้ชัดเจนในเรื่องกรรมและไตรลักษณ์ฺจะเด่นชัดสิ่งนี้มาก)

__อุเบกขาแก่ตนเอง ประการที่ ๒..เพราะจิตรู้แต่สมมติความรู้สึกนึกคิดกิเลสของปลอมจึงเร่าร้อนตามทั้งสุขและทุกข์ การรู้ของจริงจึงไม่มีทุกข์
__ดังนี้..รู้ของจริงมี "ลมหายใจ" เป็นต้นนี้คือของจริง เป็นวาโยธาตุ เป็นกายสังขารที่กอปรรวมขึ้น และคงความเป็นร่างกายของเราไว้อยู่ได้ สิ่งนี้เป็นของจริง (คนที่จิตไม่ตั้งมั่นไม่มีกำลังมากพอ ไม่เคยอบรมจิต จะตามรู้มันได้จนสมมติความรู้สึกนึกคิดนั้นจนดับไป ให้เกิดรู้สัมผัสรับรู้ได้ถึงในปิติสุขที่ขึ้นกายใจเมื่อปราศจากกิเลสได้ ก็ต้องละสมมติจับรู้ของจริงในปัจจุบันอาศัยลมหายใจดังนี้เป็นต้น)

---------------------------------------------------


**หมายเหตุ ผมใช้คำสั่ง TD ไม่ได้เพื่อทำตาราง จึงใช้ Quote แทน มันจึงขึ้นว่าอ้างอิงคำพูด**


ในที่นี้ เรื่องกรรมอื่นใดข้ามภพข้ามชาติเป็นเรื่องอจินไตยพสูจน์ได้ยาก ผมไม่อาจะแสดงได้ตรงหรือดีพอให้คนเห็นตามได้เพราะผมยังไม่ถึง คงมีแต่พระศาสดาและพระอริยะสงฆ์เท่านั้นที่จะกล่าวให้เห็นตามจริงได้ ผมจึงจักกล่าวเอากรรมที่เป็นปัจจุบันและผลสืบต่อให้ได้รับผลในปัจจุบันหรือเวลาอันใกล้นี้เท่านั้น

คนที่จะเจริญศีลของพระพุทธเจ้าได้บริบูรณ์นั้น จุดเริ่มต้นในศีลนั้นเราจะต้องเมตตสงสารตนเองก่อนอย่างไร ให้เราพึงระลึกถึงอยู่เนืองๆดังนี้ว่า..

1. ขณะที่เรามีอยากได้ต้องการต่อบุคลคลใด สัตว์ใด สิ่งใด หรือ..มีความโกรธ เกลียด ชิงชัง เจ็บแค้นอาฆาตต่อบุคลคลใด สัตว์ใด สิ่งใด ขณะนั้นใจเราไม่เป็นปรกติ มันร้อนรุ่มร้อนรนในกายและใจตนอยู่โดยไม่เป็นสุข ไฟมันสุมในใจพลุ่งพล่านร้อนปะทุขึ้นในใจ ไม่ว่าจะเป็นความโหยหิวกระหายอยากได้ หรือขุ่นข้อง แค้นเคือง อัดอั้น คับแค้นกายใจ อยากให้มันฉิบหายไปให้พ้นๆ ทุกอย่างก็ล้วนเป็นไฟสุมใจตนทั้งนั้น ..เราสงสารตนเองไหม ความเร่าร้อนนั้นมันเป็นสุขหรือทุกข์เล่า
- หากคิดว่ามันเป็นสุข แล้วความเร่าร้อนกระวนกระวายเร่าๆอยู่นั้น มันทำให้กายใจเรามันเป็นปรกติหรือไม่ ต่างกับคนอื่นที่เขาสนุกสนานเฮฮาเป็นสุขไม่เร่าร้อนไหม หรือ..อาการความรู้สึกนึกคิดนั้นมีแต่ความไม่รู้ตัว ไหลพล่านไปเรื่อยในภายนอกที่ทำให้ใจเราระส่ำ ไม่รู้ตัว ไม่รู้ปัจจุบัน จิตถูกตรึงไว้กับอารมณ์ความรู้สึกที่มากระทบให้กระเส่าเร่าร้อน ทนอยู่ได้ยาก เหมือนอกจะแตกตายนั้นเล่า ..ก็ถ้าหากเราไม่เร่าร้อนกระวนกระวายกายใจ มันไม่มีความอกสั่นขวัญแขวน จะอยู่ที่ใดก็รู้ตัว ทำกิจการงานต่างๆได้ดี ไม่ต้องรู้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสกายใดด้วยความเร่าร้อน กระหาย หวาดกลัว ระแวง หลีกเร้น อัดอั้นคับแค้นกายใจ โศกเศร้า ร่ำไร รำพัน ไม่สบายกายใจทั้งหลาย ดังนี้ความเร่าร้อนกับความไม่เร่าร้อนสิ่งใดมันเป็นสุขกว่ากันเล่า ..นี่แสดงว่าความเร่าร้อนเป็นทุกข์ใช่ไหม่
- ก็เมื่อรู้ว่ามันเป็นทุกข์แล้ว เราจะยึดกอดมันเอาไว้เป็นเครื่องอยู่ เป็นที่ตั้งแห่งจิตให้เผากายใจเราจนหมองไหม้อยู่อีกหรือ เรามันดูอนาถาต่ำต้อยน่าสงสารแค่ไหนที่ต้องหมองไหม้ด้วยไฟกิเลส ราคัคคิ โทสัคคิ โมหัคคิ ดังนี้แล้วเราควรจะทำในสิ่งที่ไม่ทำให้กายใจเร่าเร่าร้อนใช่หรือไม่

2. ถ้าเราสงสารตนเอง ก็พึงละเสียซี่งความอยากได้จากคนอื่น หรือความผลักไสนั้น การกระทำของใจเหล่าใดที่เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไปกับคนอื่น สัตว์อื่น สิ่งอื่นมันล้วนเป็นทุกข์ทั้งสิ้น ผลจากการกรทำนั้นของใจมันนำความเร่าร้อนเป็นทุกข์มาให้ มันเกิดไฟสุมใจไม่สิ้นสุดร้อนยิ่งกระวนกระวายดั่งไฟนรกสุมใจ แต่หากเมื่อเราไม่ผูกเอาความสุขสำเร็จของตนขึ้นไว้กับผู้อื่น สัตว์อื่น สิ่งอื่นใด ความเร่าร้อนเป็นไฟนรกสุมใจไม่เป็นทุกข์นั้น ก็ย่อมไม่เกิดมีแก่กายใจเรา ไม่ว่าใครจะทำอะไร เราจะเห็นสิ่งใด เราก็ไม่มีไฟสุมใจร้อนรนตาม มันเย็นกายสบายใจดีนัก

3. หากเราเมตตาและสงสารตนเอง..ก็อย่าเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่นหรือสิ่งใดทั้งปวง โดยสำเนียกในใจเสมอๆอย่างนี้ว่า..

.๓.๑ ..เราไม่ควรสำคัญมั่นหมายไว้ในใจด้วยเห็นว่าหากได้พบเจอรับรู้ในสิ่งนี้ๆ(สิ่งที่เจริญใจ สิ่งที่ตนสำราญใจ รักใคร่ สำเร็จ ได้สมปารถนา ต้องการ ถวิลหา โหยหา กระหาย ใคร่เสพย์)
..หรือ..ได้รับรู้-ได้กระทำในสิ่งใดที่สมใจตนแต่เป็นสิ่งที่เบียดเบียน ทำร้าย ฉกชิง ช่วงชิง หมายพราก ยังความเสื่อมสูญ สูญเสียฉิบหายให้แก่ผู้อื่น..ซึ่ง ชีวิต, บุคคล, สิ่งของอันเป็นที่รัก ที่มีค่า ที่หวงแหนยิ่งของใครได้ อย่างนี้จึงเป็นสุขของตน
..ให้พึงสำเนียกไว้ในใจว่า.. การเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับการได้รับรู้สัมผัสรับฟังซึ่งสิ่งที่เจริญใจนั้น..มันทำให้เราหลงลืมตัว ตั้งอยู่ในความประมาทไม่สอดส่องดูข้อบกพร่องตน ไม่รู้ความผิดพลาดตน ทำให้เกิดความละเลย เหลาะแหละ หย่อนยานในตน ความเคลิ้มไปมีแต่โทษ และทุกข์ ..และ.. ความสุขสำเร็จเหล่าใดของตนที่เอาใจไปผูกขึ้นไว้กับการได้เอาชนะผู้อื่น เบียดเบียน ทำร้าย ช่วงชิง พรากเอา ซึ่ง.ชีวิต บุคคล สิ่งของอันเป็นที่รัก ที่หวงแหน มีค่าของผู้อื่น มันไม่ใช่สุขโดยแท้จริง ย่อมประกอบไปด้วยทุกข์ในภายหลัง จากการปกปิด หลบหนี หวาดกลัวถูกจับได้ หรือเขามาเอาคืน ต้องอยู่อย่างพะวงหน้าพะวงหลังอยู่ตลอดเวลา หาสุขใดๆไม่ได้เลย จะนอนก็กลัว จะตื่นก็กลัว แม้ไม่ต้องเกรงกลัวความผิดใดแต่มันอิ่มไม่เป็น พอไม่เป็นก็ยังเร่าร้อนด้วยการแสวงหาให้ได้มากอีกไม่สิ้นสุด
..ดังนี้การไม่เอาความสุขสำเร็จสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่นนั้นเป็นสุขอย่างแท้จริง

.๓.๒ ..เราไม่ควรสำคัญมั่นหมายไว้ในใจด้วยเห็นว่าหากได้พบเจอรับรู้ในสิ่งนี้ๆ(สิ่งไม่เจริญใจทั้งปวง สิ่งที่ตนไม่ชอบ ไม่สมปารถนา เกลียด กลัว ชัง ไม่สำเร็จ ผิดพลาด เสื่อมเสีย เสื่อมสูญ สูญเสีย พรัดพราก)
..หรือ..ได้รับรู้-ได้กระทำในสิ่งใดที่ไม่อาจจะมี ไม่อาจจะได้ ไม่อาจจะเป็น ไม่อาจจะทำร้ายเบียดเบียน ไม่อาจจะเอาคืน ไม่อาจจะช่วงชิง-ฉุดคร่า-พรากเอา-ได้ครอบครอง ยังความสูญเพียงฉิบหายให้แก่ผู้อื่น..ซึ่ง ชีวิต, บุคคล, สิ่งของอันเป็นที่รัก ที่มีค่า ที่หวงแหนยิ่งของใครได้ดั่งใจต้องการ อย่างนี้จึงเป็นทุกข์ของตน
..ให้พึงสำเนียกไว้ในใจว่า.. การเอาความไม่ประสบสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับการได้รับรู้สัมผัสรับฟังซึ่งสิ่งที่ไม่เจริญใจนั้น..มันทำให้เราคลายความเพียร ตั้งอยู่ในความท้อแท้ เหนื่อยหน่าย สิ้นหวัง เกลียดชัง ล้มเหลว ล้มเลิก หลีกหนี ความผลักไสมีแต่โทษ และทุกข์ ..และ.. ความไม่ประสบสุขสำเร็จเหล่าใดของตนที่เอาใจไปผูกขึ้นไว้กับการได้พ่ายแพ้ผู้อื่น ทำให้รู้สึกเหมือนว่าตนเองถูกเบียดเบียน ถูกทำร้าย ถูกช่วงชิง ถูกพรากเอา หรืออีกประการ คือ ตนเองไมอาจจะทำร้าย เบียดเบียน ต่อสู้ ช่วงชืง พรากเอาซึ่ง.ชีวิต บุคคล สิ่งของอันเป็นที่รัก ที่หวงแหน มีค่าของผู้อื่นมาครอบครองได้ ย่องยังความโศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน อัดอั้น คับแค้นกายใจให้เกิดมีขึ้นแก่เรา ก่อเกิดความผูกโกรธ ผูกพยายาบาท ทำความเร่าร้อนเผาไหม้กายใจตนไม่สิ้นสุด
..ดังนี้การไม่เอาความสุขสำเร็จสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่นนั้นเป็นสุขอย่างแท้จริง

- เมื่อเราไม่สำคัญมั่นหมายไว้ในใจทั้ง ๒ ส่วนนี้ ความเร่าร้อนเพราะรักก็ดี เพราะชังก็ดี จะไม่มีแก่เราได้ ก็การละซึ่ง ๒ ส่วนนั้น มีแต่ศีลของพระพุทธเจ้าที่ทรงตรัสสอนไว้ดีแล้วนี้เท่านั้น อันเป็นเครื่องละเว้นสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์, โทษ, ภัยในปัจจุบันและภายหลังให้แก่เรา ที่ยังกายใจเราให้เข้าถึงความสุขกายสบายใจ เย็นใจ มีปรกติไม่เร่าร้อน ไม่มีทุกข์นั้น ศ๊ลของพระพุทธเจ้ามีคุณมากเป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ ดังนี้หากเราเมตตาสงสารตนเอง อยากให้ตนเองเป็นสุข ยินดีที่ตนเองเป็นสุข ก็ควรแล้วที่จะน้อมเอาศีลของพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดามาเจริญสู่กาย วาจา และใจของตนดังนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2018, 20:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss Kiss Kiss ขอบคุณครับ

มาเล่นต่อกระทู้กันครับท่านอ๊บ ท่านเอกอน

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2018, 03:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
หากคิดว่ามันเป็นสุข แล้วความเร่าร้อนกระวนกระวายเร่าๆอยู่นั้น มันทำให้กายใจเรามันเป็นปรกติหรือไม่ ต่างกับคนอื่นที่เขาสนุกสนานเฮฮาเป็นสุขไม่เร่าร้อนไหม หรือ..อาการความรู้สึกนึกคิดนั้นมีแต่ความไม่รู้ตัว ไหลพล่านไปเรื่อยในภายนอกที่ทำให้ใจเราระส่ำ ไม่รู้ตัว ไม่รู้ปัจจุบัน จิตถูกตรึงไว้กับอารมณ์ความรู้สึกที่มากระทบให้กระเส่าเร่าร้อน ทนอยู่ได้ยาก เหมือนอกจะแตกตายนั้นเล่า ..ก็ถ้าหากเราไม่เร่าร้อนกระวนกระวายกายใจ มันไม่มีความอกสั่นขวัญแขวน จะอยู่ที่ใดก็รู้ตัว ทำกิจการงานต่างๆได้ดี ไม่ต้องรู้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสกายใดด้วยความเร่าร้อน กระหาย หวาดกลัว ระแวง หลีกเร้น อัดอั้นคับแค้นกายใจ โศกเศร้า ร่ำไร รำพัน ไม่สบายกายใจทั้งหลาย ดังนี้ความเร่าร้อนกับความไม่เร่าร้อนสิ่งใดมันเป็นสุขกว่ากันเล่า ..นี่แสดงว่าความเร่าร้อนเป็นทุกข์ใช่ไหม่


เมื่อกลางวัน..มีเพื่อนแวะมาคุยด้วย....เป็นประเภทคล้ายๆกับเอกอน.. :b32: :b32:

พูดถึง...การเปิดพัดลม...เขาไม่เข้าใจภรรยาเขาว่าทำไมเปิดพัดลมแต่ก็ห่มผ้าเพราะหนาว.. :b12: :b12:

ฟังแล้วเราก็อมยิ้ม... :b9: ...ก็ว่า นี้แหละ..ไม่ค่อยได้ฝึกสติ

คนเราจะตอบสนองความรู้สึก..ต่างๆ..เร็วเกินไป..จนขาดการทำความรู้จักที่มาของความรู้สึกนั้นๆ
อย่าง..ความรู้สึกร้อน..ก็ไม่รู้ว่าความรู้สึกว่าร้อนนั้น..มาจากอากาศภายนอกร้อน..หรือ กายภายในร้อน...


และ..หลายๆครั้ง....คนเราจะทำตามความเคยชิน..มากไป..จนขาดการมีเหตุผล..ตรงกับความจริง..ในขณะนั้นนั้น...
:b1: :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2018, 12:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
หากคิดว่ามันเป็นสุข แล้วความเร่าร้อนกระวนกระวายเร่าๆอยู่นั้น มันทำให้กายใจเรามันเป็นปรกติหรือไม่ ต่างกับคนอื่นที่เขาสนุกสนานเฮฮาเป็นสุขไม่เร่าร้อนไหม หรือ..อาการความรู้สึกนึกคิดนั้นมีแต่ความไม่รู้ตัว ไหลพล่านไปเรื่อยในภายนอกที่ทำให้ใจเราระส่ำ ไม่รู้ตัว ไม่รู้ปัจจุบัน จิตถูกตรึงไว้กับอารมณ์ความรู้สึกที่มากระทบให้กระเส่าเร่าร้อน ทนอยู่ได้ยาก เหมือนอกจะแตกตายนั้นเล่า ..ก็ถ้าหากเราไม่เร่าร้อนกระวนกระวายกายใจ มันไม่มีความอกสั่นขวัญแขวน จะอยู่ที่ใดก็รู้ตัว ทำกิจการงานต่างๆได้ดี ไม่ต้องรู้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสกายใดด้วยความเร่าร้อน กระหาย หวาดกลัว ระแวง หลีกเร้น อัดอั้นคับแค้นกายใจ โศกเศร้า ร่ำไร รำพัน ไม่สบายกายใจทั้งหลาย ดังนี้ความเร่าร้อนกับความไม่เร่าร้อนสิ่งใดมันเป็นสุขกว่ากันเล่า ..นี่แสดงว่าความเร่าร้อนเป็นทุกข์ใช่ไหม่


เมื่อกลางวัน..มีเพื่อนแวะมาคุยด้วย....เป็นประเภทคล้ายๆกับเอกอน.. :b32: :b32:

พูดถึง...การเปิดพัดลม...เขาไม่เข้าใจภรรยาเขาว่าทำไมเปิดพัดลมแต่ก็ห่มผ้าเพราะหนาว.. :b12: :b12:

ฟังแล้วเราก็อมยิ้ม... :b9: ...ก็ว่า นี้แหละ..ไม่ค่อยได้ฝึกสติ

คนเราจะตอบสนองความรู้สึก..ต่างๆ..เร็วเกินไป..จนขาดการทำความรู้จักที่มาของความรู้สึกนั้นๆ
อย่าง..ความรู้สึกร้อน..ก็ไม่รู้ว่าความรู้สึกว่าร้อนนั้น..มาจากอากาศภายนอกร้อน..หรือ กายภายในร้อน...


และ..หลายๆครั้ง....คนเราจะทำตามความเคยชิน..มากไป..จนขาดการมีเหตุผล..ตรงกับความจริง..ในขณะนั้นนั้น...
:b1: :b1: :b1:


:b32: :b32: :b32:

อ๊บซ์มีเพื่อนเป็นตัวประหลาดเยอะเน๊อะ

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2018, 12:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:

คำถามที่ ๖. ศีลในพระพุทธศาสนา คือ ผลของพรหมวิหาร ๔ ใช่หรือไม่ เพราะเหตุใด


ข้อนี้เมตตาในตนเพื่อให้ศีลเกิดที่ตน ผมได้กล่าวคร่าวๆไปแล้วในกระทู้ข้างบนครับ ซึ่งยังเป็นการทำไว้ในใจเบื้องต้นเท่านั้น

ถามต่อนะครับว่า

1. ก็ถ้าที่ผมกล่าวไว้นี้ ว่าพรหมวิหาร ๔ มีผลเป็นศีล แล้วศ๊ลจะเกิดขึ้นแก่กายใจเรายังไงครับ

ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ผิดกาม ไม่พูดปด ไม่เสพย์สิ่งที่ขาดสติ มันจะเกิดขึ้นกับใจเราในทิศทางใด แบบไหนบ้าง มาแบ่งปันกันครับ

2. ศีลเป็นไปเพื่อใจกระทำอย่างไรกับความเป็นที่รัก ที่ชัง


:b32: :b32: :b32: มาเล่นกระทู้เรากันครับ


ขอเวลาทบทวนกับคำถามอย่างดี ๆ นิ๊สสส์นุง
เพราะ แต่ละคำถามของ ผักกาด คงต้องพยายามพิจารณาคำตอบที่จะตอบอย่างรอบคอบรอบจัด :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2018, 14:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
หากคิดว่ามันเป็นสุข แล้วความเร่าร้อนกระวนกระวายเร่าๆอยู่นั้น มันทำให้กายใจเรามันเป็นปรกติหรือไม่ ต่างกับคนอื่นที่เขาสนุกสนานเฮฮาเป็นสุขไม่เร่าร้อนไหม หรือ..อาการความรู้สึกนึกคิดนั้นมีแต่ความไม่รู้ตัว ไหลพล่านไปเรื่อยในภายนอกที่ทำให้ใจเราระส่ำ ไม่รู้ตัว ไม่รู้ปัจจุบัน จิตถูกตรึงไว้กับอารมณ์ความรู้สึกที่มากระทบให้กระเส่าเร่าร้อน ทนอยู่ได้ยาก เหมือนอกจะแตกตายนั้นเล่า ..ก็ถ้าหากเราไม่เร่าร้อนกระวนกระวายกายใจ มันไม่มีความอกสั่นขวัญแขวน จะอยู่ที่ใดก็รู้ตัว ทำกิจการงานต่างๆได้ดี ไม่ต้องรู้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสกายใดด้วยความเร่าร้อน กระหาย หวาดกลัว ระแวง หลีกเร้น อัดอั้นคับแค้นกายใจ โศกเศร้า ร่ำไร รำพัน ไม่สบายกายใจทั้งหลาย ดังนี้ความเร่าร้อนกับความไม่เร่าร้อนสิ่งใดมันเป็นสุขกว่ากันเล่า ..นี่แสดงว่าความเร่าร้อนเป็นทุกข์ใช่ไหม่


เมื่อกลางวัน..มีเพื่อนแวะมาคุยด้วย....เป็นประเภทคล้ายๆกับเอกอน.. :b32: :b32:

พูดถึง...การเปิดพัดลม...เขาไม่เข้าใจภรรยาเขาว่าทำไมเปิดพัดลมแต่ก็ห่มผ้าเพราะหนาว.. :b12: :b12:

ฟังแล้วเราก็อมยิ้ม... :b9: ...ก็ว่า นี้แหละ..ไม่ค่อยได้ฝึกสติ

คนเราจะตอบสนองความรู้สึก..ต่างๆ..เร็วเกินไป..จนขาดการทำความรู้จักที่มาของความรู้สึกนั้นๆ
อย่าง..ความรู้สึกร้อน..ก็ไม่รู้ว่าความรู้สึกว่าร้อนนั้น..มาจากอากาศภายนอกร้อน..หรือ กายภายในร้อน...


และ..หลายๆครั้ง....คนเราจะทำตามความเคยชิน..มากไป..จนขาดการมีเหตุผล..ตรงกับความจริง..ในขณะนั้นนั้น...
:b1: :b1: :b1:


:b32: :b32: :b32:

อ๊บซ์มีเพื่อนเป็นตัวประหลาดเยอะเน๊อะ

:b32: :b32: :b32:


ทั้งเพื่อน..ทั้งพี่..ทั้งน้อง...ทั้งหลาน...
:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2018, 14:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
แค่อากาศ เขียน:

คำถามที่ ๖. ศีลในพระพุทธศาสนา คือ ผลของพรหมวิหาร ๔ ใช่หรือไม่ เพราะเหตุใด


ข้อนี้เมตตาในตนเพื่อให้ศีลเกิดที่ตน ผมได้กล่าวคร่าวๆไปแล้วในกระทู้ข้างบนครับ ซึ่งยังเป็นการทำไว้ในใจเบื้องต้นเท่านั้น

ถามต่อนะครับว่า

1. ก็ถ้าที่ผมกล่าวไว้นี้ ว่าพรหมวิหาร ๔ มีผลเป็นศีล แล้วศ๊ลจะเกิดขึ้นแก่กายใจเรายังไงครับ

ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ผิดกาม ไม่พูดปด ไม่เสพย์สิ่งที่ขาดสติ มันจะเกิดขึ้นกับใจเราในทิศทางใด แบบไหนบ้าง มาแบ่งปันกันครับ

2. ศีลเป็นไปเพื่อใจกระทำอย่างไรกับความเป็นที่รัก ที่ชัง


:b32: :b32: :b32: มาเล่นกระทู้เรากันครับ


ขอเวลาทบทวนกับคำถามอย่างดี ๆ นิ๊สสส์นุง
เพราะ แต่ละคำถามของ ผักกาด คงต้องพยายามพิจารณาคำตอบที่จะตอบอย่างรอบคอบรอบจัด :b32:


ช่าย...คำถามอากาศ...ต้องทบทวนดีดีเลย..กว่าจะตอบได้..นี้
:b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2018, 13:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงว่าคำถามผมกำกวมใช่ปะ. อิอิ รออ่านคำตอบอยู่นะครับทุกท่านอิอิ แต่ละคนมีวิธีเข้าถึงต่างๆกันไป คือยกสิ่งใดตั้งก่อนหรือหลังเท่านั้นเอง แต่จุดที่เอาจับเพื่อเข้าถึงมันเหมือนกัน วิธีมนสิการเดียวกันอาจจะมนสิการต่างกันที่สภาวะธรรม แต่.. หลักยึดเพื่อที่จะทำให้เกิดมีขึ้นเหมือนกัน ถือว่าแบ่งปันกันครับ

ที่จริงคำถามผมง่ายนะพูดถึงผลเป็นคำถาม คำตอบก็คือเหตุให้เข้าถึง พูดถึงผลตั้งเป็นคำถามแล้วคำตอบก็คือวิธีคงมันไว้หรือทรงอารมณ์ หรือทำให้มันเกิดขึ้นบ่อยๆเท่านั้นเองครับ อิอิ

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2018, 15:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


grin grin grin

วันนี้ที่ทำงานจัดงานปีใหม่
เอกอนรับผิดชอบดูแลเรื่องการจับรางวัล

:b32: ... งานที่ดูเหมือนจะง่าย ๆ เน๊อะ
แต่กว่าจะจัดระเบียบเสร็จก็ grin

เพราะเอกอนอยากให้มันมีความเป็น Moment ความสุขแห่งเทศกาลเข้าไปอยู่ในการจับรางวัล
ก็เลยคิดทำ สติกเกอร์น่ารัก ๆ สำหรับผู้เข้างาน บัตรจับน่ารัก ๆ กล่องใส่สอยดาวต้นคริสมาสน่ารัก ๆ
555 เขาเรียกว่าใส่ใจในทุกรายละเอียดมากเกินไป
ก็เลย grin :b32: :b32: :b32:

แต่เชื่อว่าทุกคนที่เข้ามาร่วมงานต้องรู้สึกมีความสุขไปกับลูกเล่นของเอกอนแน่นอน :b16:

แค่อากาศ เขียน:
แสดงว่าคำถามผมกำกวมใช่ปะ. อิอิ รออ่านคำตอบอยู่นะครับทุกท่านอิอิ แต่ละคนมีวิธีเข้าถึงต่างๆกันไป คือยกสิ่งใดตั้งก่อนหรือหลังเท่านั้นเอง แต่จุดที่เอาจับเพื่อเข้าถึงมันเหมือนกัน วิธีมนสิการเดียวกันอาจจะมนสิการต่างกันที่สภาวะธรรม แต่.. หลักยึดเพื่อที่จะทำให้เกิดมีขึ้นเหมือนกัน ถือว่าแบ่งปันกันครับ

ที่จริงคำถามผมง่ายนะพูดถึงผลเป็นคำถาม คำตอบก็คือเหตุให้เข้าถึง พูดถึงผลตั้งเป็นคำถามแล้วคำตอบก็คือวิธีคงมันไว้หรือทรงอารมณ์ หรือทำให้มันเกิดขึ้นบ่อยๆเท่านั้นเองครับ อิอิ


:b32: อิอิ เพราะกำลังมองคำถามแบบทิศทางก้าวหน้าอยู่ :b9:

เพราะ เริ่มจาก พรหมวิหาร แล้วไปสู่ศีล ซึ่งตรงนี้ก็นับว่า อือหือ แล้ว :b9:
แล้วอย่างนี้ยังมีการส่งต่อจากศีลไปสู่ กาย-ใจ

เอกอนก็พาลมองเตลิดเปิดเปิงไปในทิศ อิทธิศีลสิกขา อิทธิปัญญาสิกขา อิทธิจิตสิกขา เลยง่ะ

555 โหยยยย เป็นคำถามที่ยากมั๊ยล่ะ ตะเองง่ะ

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2018, 15:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
grin grin grin

วันนี้ที่ทำงานจัดงานปีใหม่
เอกอนรับผิดชอบดูแลเรื่องการจับรางวัล

:b32: ... งานที่ดูเหมือนจะง่าย ๆ เน๊อะ
แต่กว่าจะจัดระเบียบเสร็จก็ grin

เพราะเอกอนอยากให้มันมีความเป็น Moment ความสุขแห่งเทศกาลเข้าไปอยู่ในการจับรางวัล
ก็เลยคิดทำ สติกเกอร์น่ารัก ๆ สำหรับผู้เข้างาน บัตรจับน่ารัก ๆ กล่องใส่สอยดาวต้นคริสมาสน่ารัก ๆ
555 เขาเรียกว่าใส่ใจในทุกรายละเอียดมากเกินไป
ก็เลย grin :b32: :b32: :b32:

แต่เชื่อว่าทุกคนที่เข้ามาร่วมงานต้องรู้สึกมีความสุขไปกับลูกเล่นของเอกอนแน่นอน :b16:




:b20: :b20: :b20: :b17: :b17: :b17:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18 ... 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร