วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 08:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 261 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 14, 15, 16, 17, 18  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2012, 11:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


[quote="walaiporn]
เมื่อพูดถึง วัฏฏสงสาร จะกล่าวเป็นวงกลม
[/quote]

สงสัยอันนี้ อ่ะครับ ว่าพระพุทธองค์ทรงกล่าวตรัส เป็นวงกลม ไว้ด้วยหรือครับ หาข้อมุลไม่เจอ

แล้ว มรณะ แล้ว เหลือ อะไรครับ


ใครทราบช่วยแนะกระผมหน่อยครับ
ขอบคุณที่ให้ความรู้ครับ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2012, 12:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
[quote="walaiporn]
เมื่อพูดถึง วัฏฏสงสาร จะกล่าวเป็นวงกลม [/quote]


สงสัยอันนี้ อ่ะครับ ว่าพระพุทธองค์ทรงกล่าวตรัส เป็นวงกลม ไว้ด้วยหรือครับ หาข้อมุลไม่เจอ

แล้ว มรณะ แล้ว เหลือ อะไรครับ [/quote][/quote][/quote]




คุณเป็นคนที่ไม่ค่อยใส่ใจ สักแต่ว่าอ่าน สิ่งที่คุณนำมาถาม เคยโพสไว้ก่อนหน้านี้แล้ว


เมื่ออวิชชายังครอบงำหรือยังมีอยู่ ก่อนชีวิตจะดับสิ้น(มรณะ) ก่อนที่จิตจะละจากเปลือกหรืออัตภาพร่างกายนี้(จุติ) จิตยึดติดอยู่กับสิ่งใด สิ่งหนึ่งอยู่ ย่อมปรุงแต่ง ได้แก่ สังขาร

เหตุมี ผลย่อมมี จิตย่อม ดำเนินไปตามเหตุปัจจัยนั้นๆ (วิญญาณปฏิสนธิ)

วัฏฏสงสาร จึงเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้ เหตุจาก ความไม่รู้แจ้ง ในอุปทานขันธ์ ๕ หรืออวิชชาที่มีอยู่

ปฏิจจสมุปปบาท จึงเริ่มต้นที่อวิชชา เพราะเหตุนี้

อวิชชา-วิญญาณ -นามรูป-สฬายตนะ-ผัสสะ-เวทนา-ตัณหา-อุปทาน-ภพ-ชาติ-ชรามรณะ(โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสฯลฯ)-อวิชชา-วิญญาณ-นามรูป-สฬายตนะ-ผัสสะ-เวทนา-ตัณหา-อุปทาน-ภพ-ชาติ-ชรามรณะ(โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสฯลฯ)ฯลฯ


ตราบใดที่ยังไม่หยุดสร้างเหตุนอกตัว ที่เกิดจากความรู้สึกยินดี ยินร้าย ที่มีผัสสะ เป็นเหตุปัจจัยอยู่

ปฏิจจสมุปบาท จะดำเนินไปตามเหตุปัจจัยของสภาวะ โดยไม่ใช่จากใครหรืออะไร ทำให้เกิดขึ้นแต่อย่างใด

แต่เกิดจาก จิตที่ยังมีอวิชชา เป็นเหตุให้ หลงสร้างเหตุของการเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร มากกว่าที่คิดจะหยุด เหตุเพราะความไม่รู้ที่ยังมีอยู่นี่แหละ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2012, 13:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัวทอนหญ้าไม้ กิ่งไม้ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดมัดละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่านี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเราโดยลำดับ มารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่าหญ้าไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไปข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ พวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฏพีที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนาน ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้”

:b8: :b8: :b8:

อย่าคิดว่าจิตเป็นเรา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2012, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
อย่าคิดว่าจิตเป็นเรา



ตรงไหน ที่มีการแสดงข้อคิดเห็นว่า จิตเป็นเรา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2012, 13:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ

เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ




แตกต่างแค่ตัวหนังสือ แต่สภาวะเดียวกัน

อวิชชา-วิญญาณ -นามรูป-สฬายตนะ-ผัสสะ-เวทนา-ตัณหา-อุปทาน-ภพ-ชาติ-ชรามรณะ(โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสฯลฯ)-อวิชชา-วิญญาณ-นามรูป-สฬายตนะ-ผัสสะ-เวทนา-ตัณหา-อุปทาน-ภพ-ชาติ-ชรามรณะ(โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสฯลฯ)ฯลฯ



นี่แหละคือ วงกลม เหตุของการเกิดวัฏฏสงสาร ยังไม่เข้าใจอีกหรือ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2012, 01:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ฝึกจิต เขียน:

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ

เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ




แตกต่างแค่ตัวหนังสือ แต่สภาวะเดียวกัน

อวิชชา-วิญญาณ -นามรูป-สฬายตนะ-ผัสสะ-เวทนา-ตัณหา-อุปทาน-ภพ-ชาติ-ชรามรณะ(โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสฯลฯ)-อวิชชา-วิญญาณ-นามรูป-สฬายตนะ-ผัสสะ-เวทนา-ตัณหา-อุปทาน-ภพ-ชาติ-ชรามรณะ(โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสฯลฯ)ฯลฯ



นี่แหละคือ วงกลม เหตุของการเกิดวัฏฏสงสาร ยังไม่เข้าใจอีกหรือ



ส่วนตัวผมว่าไม่ใช่อย่างนั้นครับ เพราะ ชรามรณะ(โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสฯลฯ) มี ไม่เป็นเหตุให้เกิด อวิชชา หรอกนะครับ อาสวะต่างหากเป็้นเหตุให้เกิด อวิชชา และ อวิชชา เป็นเหตุให้เกิด อาสวะ ท่านจึงกล่าวว่า กำหนดเบื้องต้นไม่ได้ มันเป็นรูปแบบกระแส ที่เกิด-ดับ

ท่านทั้งหลายพิจารณากันดูให้ดีนะครับ

ผม ผู้ไม่รู้ เดาๆเอา นะครับ :b12:

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2012, 05:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ไข่แดง กับไข่ขาว
ต่างเป็นปัจจัย ซึ่งกันและกัน

อ้างคำพูด:
ปัญหาที่ ๘ ถามเรื่องนามรูป
“ ข้าแต่พระนาคเสน คำว่า นามรูป ที่พระผู้เป็นเจ้าได้กล่าวไว้แล้วนั้นอะไรเป็นนามรูป ? ”
“ รูปใดเป็นรูปหยาบ รูปนั้นแหละเป็น “ รูป ” ส่วนสิ่งใดเป็นของละเอียด คือ จิตและเจนสิก สิ่งนั้นเรียกว่า “ นาม ” ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เหตุใดจึงถือกำเนิดแต่นาม ส่วนรูปไม่ถือกำเนิดล่ะ ? ”
“ ขอถวายพระพร สิ่งเหล่านั้นอาศัยกันและกัน ย่อมเกิดด้วยกัน ”
“ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
“ ขอถวายพระพร ถ้าแม่ไก่ไม่มีกลละ ( น้ำใส ๆ เล็ก ๆ ) ไข่ก็ไม่มี กลละกับไข่ทั้งสองนี้อาศัยกัน เกิดร่วมกันไปฉันใด ข้อนี้ก็มีอุปมาฉันนั้นแหละ มหาบพิตรคือถ้านามไม่มี รูปก็เกิดไม่ได้ นามกับรูปทั้งสองนี้อาศัยกัน เกิดด้วยกัน “ นาม ” กับ “ รูป ” ทั้งสองนี้ เวียนวนมาในวัฏสงสารสิ้นกาลนานนักหนาแล้ว ”
“ สมควรแล้ว พระผู้เป็นเจ้า ”

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2012, 06:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
ไข่แดง กับไข่ขาว
ต่างเป็นปัจจัย ซึ่งกันและกัน

อ้างคำพูด:
ปัญหาที่ ๘ ถามเรื่องนามรูป
“ ข้าแต่พระนาคเสน คำว่า นามรูป ที่พระผู้เป็นเจ้าได้กล่าวไว้แล้วนั้นอะไรเป็นนามรูป ? ”
“ รูปใดเป็นรูปหยาบ รูปนั้นแหละเป็น “ รูป ” ส่วนสิ่งใดเป็นของละเอียด คือ จิตและเจนสิก สิ่งนั้นเรียกว่า “ นาม ” ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เหตุใดจึงถือกำเนิดแต่นาม ส่วนรูปไม่ถือกำเนิดล่ะ ? ”
“ ขอถวายพระพร สิ่งเหล่านั้นอาศัยกันและกัน ย่อมเกิดด้วยกัน ”
“ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
“ ขอถวายพระพร ถ้าแม่ไก่ไม่มีกลละ ( น้ำใส ๆ เล็ก ๆ ) ไข่ก็ไม่มี กลละกับไข่ทั้งสองนี้อาศัยกัน เกิดร่วมกันไปฉันใด ข้อนี้ก็มีอุปมาฉันนั้นแหละ มหาบพิตรคือถ้านามไม่มี รูปก็เกิดไม่ได้ นามกับรูปทั้งสองนี้อาศัยกัน เกิดด้วยกัน “ นาม ” กับ “ รูป ” ทั้งสองนี้ เวียนวนมาในวัฏสงสารสิ้นกาลนานนักหนาแล้ว ”
“ สมควรแล้ว พระผู้เป็นเจ้า ”



อันนี้มันชี้แจ้งในส่วน ชรามรณะ เป็นเหตุเกิด อวิชชา หรือป่าวครับ หรือ เอามาอธิบายส่วนไหนครับ s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2012, 06:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คิดว่า....มันเป็นวงกลม

แต่....ไม่ได้เป็นวงกลมที่....ชาติ...ชรา...มรณะ....แล้วเกิด..อวิชชา...นะ

ตาย...แล้ว..เกิด..ต่างหาก...

ถ้าจะมองเป็นวงกลม....ต้องมองที่...การมีชีวิต...คือ..นามรูป

ชาติ....คือ..เกิด....นามรูป...คือชีวิต

ชาติ...มาทับซ้อน...ตรง...นามรูป....

จนเกิด...เวทนา...ตัณหา...อุปาทาน...อาการของ...โสกะ...ปริเทวะ...ทุกขะ...อุปายาติ...ก็มีระหว่างนี้เอง

มีระหว่างดำรงชีวิตตลอดเวลา....ไม่ได้มีตอนเป็นอากาศธาตุที่ไหน...


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 16 ส.ค. 2012, 06:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2012, 06:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ไม่ได้ชี้แจงเรื่อง อวิชชาครับ
เพราะเห็นว่า คุณฝึกจิต คุยอยู่แล้วกับคุณwalaiporn

เรื่องไข่แดง กับไข่ขาว ..............นอกเรื่องอวิชชาครับ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2012, 07:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
คิดว่า....มันเป็นวงกลม

แต่....ไม่ได้เป็นวงกลมที่....ชาติ...ชรา...มรณะ....แล้วเกิด..อวิชชา...นะ

ตาย...แล้ว..เกิด..ต่างหาก...

ถ้าจะมองเป็นวงกลม....ต้องมองที่...การมีชีวิต...คือ..นามรูป

ชาติ....คือ..เกิด....นามรูป...คือชีวิต

ชาติ...มาทับซ้อน...ตรง...นามรูป....

จนเกิด...เวทนา...ตัณหา...อุปาทาน...อาการของ...โสกะ...ปริเทวะ...ทุกขะ...อุปายาติ...ก็มีระหว่างนี้เอง

มีระหว่างชีวิตตลอดเวลา....ไม่ได้มีหลังจากตายไปแล้วที่ไหน...



ผมก็เห็นเช่นนั้น ครับ แต่ก็ไม่ต้องไปยึด เดียวใครเถียงมาก็โกรธอีก :b12: คุยกันฉันเพื่อนนะครับ

เสริมนิดนะครับ อวิชชา สังขาร วิญญาณ ก็ซ้อนทับ ละเอียดลงไปอีกชั้นด้วย เป็นขั้นตอนในสติปัฏฐานด้วย ขุดลงไปที่กาย แล้วขยับมาเวทนา แล้วมาจิต ในองค์ธรรมทั้งหลาย ในอริยสัจ4 จึงเป็นธรรมในธรรม

ลองดูตรงนี้ด้วย พระพุทธองค์กล่าว ผัสสะ กับเวทนา แค่ 2 ส่วนนี้ ก็เป็น ปฏิจจ..แล้ว มันเป็นส่วนที่ เบาบางลง มีเวทนา ก็ถือว่ามีทุกข์แล้ว ปัญจปาทาน เกิดแล้ว

แต่ก็วางให้หมด

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2012, 07:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ใช่ครับ....แค่จุดเดียว..ปฏิจจ...ก็มีในนั้นแล้ว....
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2012, 07:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
ผมก็เห็นเช่นนั้น ครับ แต่ก็ไม่ต้องไปยึด เดียวใครเถียงมาก็โกรธอีก


พวกชอบคาดเดาตัวหนังสือ มักจะมีอารมณ์แบบคุณนี่แหละ


เห็นมีแต่คุณอ่ะนะ ชอบโวยวาย เหมือนพวกเห็นแค่ควันเยอะๆ แล้วเที่ยวตะโกนว่า ไฟไหม้ๆๆๆๆ แท้จริงแล้ว แค่ควันเท่านั้นเอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2012, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:

เสริมนิดนะครับ อวิชชา สังขาร วิญญาณ ก็ซ้อนทับ ละเอียดลงไปอีกชั้นด้วย เป็นขั้นตอนในสติปัฏฐานด้วย ขุดลงไปที่กาย แล้วขยับมาเวทนา แล้วมาจิต ในองค์ธรรมทั้งหลาย ในอริยสัจ4 จึงเป็นธรรมในธรรม :




สภาวะ ไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย แม้แต่สักนิดเดียวก็ไม่มี

นับตั้งแต่ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ


เป็นสภาวะของ สิ่งมีชีวิต

วิญญาณปฏิสนธิ(วิญญาณขันธ์)-นามรูป(กายและจิต)-สฬายตนะ(อายตนะ ๖)-ผัสสะ (ขบวนการทำงานของสิ่งที่มีชีวิตหรือนิมิตหรือเครื่องหมายของการมีชีวิตอยู่ คนตาย ไม่สามารถเกิดผัสสะได้)

หากไม่มีชีวิต วิญญาณ ๖ ตรงผัสสะ จะเกิดขึ้นไม่ได้

อ้างคำพูด:
walaiporn เขียน
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ

ผัสสะ มีหกอย่าง คือ

1.จักขุสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางตา คือ ตา+รูป+จักขุวิญญาณ
2.โสตสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางหู คือ หู+เสียง+โสตวิญญาณ
3.ฆานสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางจมูก คือ จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ
4.ชิวหาสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ
5.กายสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางกาย คือ กาย+โผฏฐัพพะ(เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง)+กายวิญญาณ
6.มโนสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางใจ คือ ใจ+ธรรมารมณ์(สิ่งที่ใจนึกคิด)+มโนวิญญาณ


ถ้าวิญญาณจักไม่ได้อาศัยในนามรูปแล้ว หมายถึง ถ้าไม่มีชีวิต ผัสสะย่อมเกิดขึ้นไม่ได้


.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2012, 08:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
จาก มหานิทานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐

ดูกรอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ
เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ




จาก ปัจจัยสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖

ภิกษุทั้งหลาย ความจริงแท้ ความไม่คลาดเคลื่อน ความไม่เป็นอย่างอื่น มูลเหตุอันแน่นอนในธาตุอันนั้น ดังพรรณนามาฉะนี้แล เราเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท

(ภิกฺขเว ยา ตตฺร ตถตา อวิตถตา อนฺถตา อิทปฺปจฺจยตา อย วุจฺจติ ภิกฺขเว ปฏิจฺจสมุปฺปาโท)

(ถ้าเขียนทับศัพท์จะได้ว่า -ภิกษุทั้งหลาย ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา หลักอิทัปปัจจยตา ดังพรรณนามาฉะนี้แล เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท)




ในการอธิบายปฏิจจสมุปบาท สามารถนำมาอธิบายได้หลายแบบ สุดแต่ว่า จะนำส่วนไหนมาอธิบาย

อธิบาย เป็นวงกลม หมายถึง วัฏฏสงสาร

อธิบาย เป็นส่วน หมายถึง ตามเหตุปัจจัย

สำหรับสำนวนในการอธิบาย ขึ้นอยู่กับ เหตุปัจจัย ของผู้อธิบาย




walaiporn เขียน:
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป



http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 455&Z=1887


ก็คำนี้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เรากล่าวอธิบายดังต่อ
ไปนี้-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป

ดูกรอานนท์ ก็วิญญาณจักไม่หยั่งลงในท้องแห่งมารดา นามรูปจักขาดในท้องแห่งมารดาได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดา แล้วจักล่วงเลยไป
นามรูปจักบังเกิดเพื่อความเป็น อย่างนี้ได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณ ของกุมารก็ดี ของกุมาริกาก็ดี ผู้ยังเยาว์วัยอยู่
จักขาดความสืบต่อ นามรูปจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งนามรูป
ก็คือวิญญาณนั่นเอง ฯ





เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป


วิญญาณ ได้แก่ วิญญาณปฏิสนธิ

นามรูป ได้แก่ กายและจิต หรือ การมีชีวิต ที่เกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัย



เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 455&Z=1887



ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ เรากล่าวอธิบายดังต่อ
ไปนี้-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ

ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณจักไม่ได้อาศัยในนามรูปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งชาติชรามรณะและกองทุกข์ พึงปรากฏต่อไป ได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ


เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งวิญญาณ
ก็คือนามรูปนั่นเอง

ด้วยเหตุผลเพียงเท่านี้แหละ อานนท์ วิญญาณและนามรูป จึงยังเกิด แก่ ตาย จุติ หรืออุปบัติ ทางแห่งชื่อ ทางแห่งนิรุติ ทางแห่งบัญญัติ ทางที่กำหนดรู้ด้วยปัญญาและวัฏฏสังสาร ย่อมเป็นไปด้วยเหตุเพียงเท่านี้ๆ ความเป็นอย่างนี้ ย่อมมีเพื่อบัญญัติ คือนามรูปกับวิญญาณ ฯ




เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ

ผัสสะ มีหกอย่าง คือ

1.จักขุสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางตา คือ ตา+รูป+จักขุวิญญาณ
2.โสตสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางหู คือ หู+เสียง+โสตวิญญาณ
3.ฆานสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางจมูก คือ จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ
4.ชิวหาสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ
5.กายสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางกาย คือ กาย+โผฏฐัพพะ(เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง)+กายวิญญาณ
6.มโนสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางใจ คือ ใจ+ธรรมารมณ์(สิ่งที่ใจนึกคิด)+มโนวิญญาณ


ถ้าวิญญาณจักไม่ได้อาศัยในนามรูปแล้ว หมายถึง ถ้าไม่มีชีวิต ผัสสะย่อมเกิดขึ้นไม่ได้




walaiporn เขียน:

อีกนัยหนึ่งของ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0


[๒๖๖] สา. ดูกรอาวุโส ถ้าเช่นนั้น ผมจักเปรียบให้ท่านฟัง ในโลกนี้
บุรุษผู้ฉลาดบางพวกย่อมรู้ชัดเนื้อความของภาษิตได้ แม้ด้วยอุปมา ฯ

อาวุโส ไม้อ้อ ๒ กำ พึงตั้งอยู่ได้เพราะต่างอาศัยซึ่งกันและกันฉันใด
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฉันนั้นแล ฯ

ถ้าไม้อ้อ ๒ กำนั้น พึงเอาออกเสียกำหนึ่ง อีกกำหนึ่งก็ล้มไป ถ้าดึงอีก
กำหนึ่งออก อีกกำหนึ่งก็ล้มไป ฉันใด เพราะนามรูปดับ วิญญาณจึงดับ เพราะ
วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะ
ดับ ผัสสะจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
ฉันนั้นแล ฯ


ตรงนี้ ต้องยกประโยคทั้งหมดมา ไม่ใช่ หยิบยก ส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคนั้นๆมา
เพราะ ประโยคที่ ๒ เป็นการขยายใจความเรื่อง เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ของประโยคแรก


เป็นการแสดงเรื่อง วิญญาณปฏิสนธิ กับ นามรูป ที่ปรากฏขึ้น ได้แก่ การมีชีวิต จะมีชีวิตได้ ต้องประกอบด้วยกายและจิต

เมื่อมีทั้งกายและจิต เป็นเครื่องหมายหรือนิมิต ความเป็นสิ่งที่มีชีวิต ได้แก่ วิญญาณ

เมื่อมีเครื่องหมายหรือนิมิต ความเป็นสิ่งที่มีชีวิต จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ฯลฯ

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฉันนั้นแล ฯ




หากมีแต่กาย ไม่มีจิต เครื่องหมายหรือนิมิต ความเป็นสิ่งที่มีชีวิต(วิญญาณ) ย่อมปรากฏขึ้นไม่ได้

หากมีแต่จิต ปราศจากกาย เครื่องหมายหรือนิมิต ของความเป็นสิ่งมีชีวิต(วิญญาณ) ย่อมปรากฏขึ้นไม่ได้

เมื่อขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่เป็นเครื่องหมายหรือนิมิต ของความเป็นสิ่งมีชีวิต (วิญญาณ) เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฉันนั้นแล ฯ






ซึ่งเป็นคนละสภาวะ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงได้แสดงไว้

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 455&Z=1887


ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ เรากล่าวอธิบายดังต่อ
ไปนี้-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ

ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณจักไม่ได้อาศัยในนามรูปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งชาติชรามรณะและกองทุกข์ พึงปรากฏต่อไป ได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ


เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งวิญญาณ
ก็คือนามรูปนั่นเอง



"ก็ถ้าวิญญาณจักไม่ได้อาศัยในนามรูปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งชาติชรามรณะและกองทุกข์ พึงปรากฏต่อไป ได้บ้างไหม ฯ"

ถ้าไม่มีการเกิด(วิญญาณจักไม่ได้อาศัยในนามรูป) ความเกิดขึ้นแห่งชาติชรามรณะและกองทุกข์ ย่อมมีเกิดขึ้นไม่ได้



วิญญาณขันธ์


walaiporn เขียน:
วิญญาณขันธ์ เป็นไฉน

[๗๔] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๔ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๕ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขินทริยสัมปยุต เป็นทุกขินทริยสัมปยุต เป็นโสมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นโทมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นอุเปกขินทริยสัมปยุต

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๖ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๖ ด้วยประการฉะนี้

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๘ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ สุขสหคตกายวิญญาณ ทุกขสหคตกายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๘ ด้วยประการฉะนี้

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๙ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโนธาตุ กุสลมโนวิญญาณธาตุ อกุสลมโนวิญญาณธาตุ อัพยากตมโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๙ ด้วยประการฉะนี้

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ สุขสหคตกายวิญญาณ ทุกขสหคตกายวิญญาณ มโนธาตุ กุสลมโนวิญญาณธาตุ อกุสลมโนวิญญาณธาตุ อัพยากตมโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... 240&Z=1498



วิญญาณขันธ์

[๒๖] วิญญาณขันธ์ เป็นไฉน ?

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ วิญญาณอดีต วิญญาณอนาคต วิญญาณปัจจุบัน วิญญาณภายใน วิญาณภายนอก วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด วิญญาณทราม วิญญาณประณีต วิญญาณไกล
วิญญาณใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่าวิญญาณขันธ์.

[๒๗] ในวิญญาณขันธ์นั้น วิญญาณอดีต เป็นไฉน ?

วิญญาณใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้ว ปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณอดีต.


วิญญาณอนาคต เป็นไฉน ?

วิญญาณใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณอนาคต.


วิญญาณปัจจุบัน เป็นไฉน ?

วิญญาณใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณปัจจุบัน.


[๒๘] วิญญาณภายใน เป็นไฉน ?

วิญญาณใด ของสัตว์นั้น ๆ เองซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณภายใน.


วิญญาณภายนอก เป็นไฉน ?

วิญญาณใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้น ๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณภายนอก.


[๒๙] วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด เป็นไฉน ?

อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณหยาบ กุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณ เป็นวิญญาณละเอียด กุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณหยาบ อัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณละเอียด

วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณละเอียด

วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณละเอียด

วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณละเอียด
วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณละเอียด หรือพึงทราบวิญญาณหยาบวิญญาณละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณนั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป.


http://palungjit.com/tripitaka/default.php?cat=7700007



ว่าด้วยจุติวิญญาณและปฏิสนธิวิญญาณ


ความจริง เมื่อสัตว์ใกล้ต่อความตาย โดยสภาวะตามปรกติ หรือโดยความพยายามในภพอดีต อดทนไม่ได้ซึ่งกลุ้มรุมแห่งศัสตรา

ซึ่งมีเวทนาอันใกล้ต่อความตาย อันตัดซึ่งเส้นเอ็นอันเป็นข้อต่อแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง ซึ่งใคร ๆ ก็ทนไม่ได้ เมื่อสรีระซูบซีดโดยลำดับดุจใบตาลสดที่ตากไว้กลางแดด

เมื่ออินทรีย์มีจักขุเป็นต้นดับแล้ว เมื่อกายินทรีย์ มนินทรีย์ และชีวิตินทรีย์อันดำรงอยู่ในฐานะสักว่าหทยวัตถุ วิญญาณอาศัยหทยวัตถุที่ยังเหลือในขณะนั้น

ปรารภกรรมกล่าวคือ สังขารมีปัจจัยที่ยังเหลือได้แล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาครุกรรม อาจิณณกรรม อาสันนกรรม และกรรมที่ทำไว้ก่อน หรือปรารภอารมณ์กล่าวคือกรรม กรรมนิมิต คตินิมิต ที่เข้าไปปรากฏแล้วนั้น เป็นไป


วิญญาณนั้นนั่นแหละ เมื่อเป็นไป เพราะละตัณหาและอวิชชายังไม่ได้ จึงถูกตัณหาให้น้อมไป สังขารอันเป็นสหชาตธรรมย่อมซัดไปในอารมณ์นั้นอันเป็นโทษ อันอวิชชาปกปิดแล้วนั้น

วิญญาณนั้นถูกตัณหาให้น้อมไป อันสังขารทั้งหลาย ซัดไปอยู่ ด้วยอำนาจการสืบต่อ ย่อมละหทัยที่อาศัยอันมีมาก่อน จะยินดีอยู่ ก็ตาม ไม่ยินดีอยู่ก็ตาม

ซึ่งหทัยอันเป็นที่อาศัยอันกรรมให้ตั้งขึ้นอื่นอีก ย่อมเป็นไปด้วยปัจจัยทั้งหลายมีอารมณ์เป็นต้น ทีเดียว เหมือนบุรุษเหนี่ยวเชือกที่ผูกกับต้นไม้ฝั่งนี้ข้ามเหมืองไปฉะนั้น.

อนึ่ง ในวิญญาณทั้งหลายเหล่านี้ วิญญาณดวงก่อน เรียกว่า จุติ เพราะเคลื่อนไป
ดวงหลัง เรียกว่า ปฏิสนธิ เพราะสืบต่อภพอื่นเป็นต้น


ปฏิสนธิวิญญาณนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่จากภพก่อนมาในภพนี้ แม้เว้นเหตุ มีกรรม สังขาร คติ และอารมณ์เป็นต้น แต่ภพก่อนนั้น ก็ไม่ปรากฏ.


http://palungjit.com/tripitaka/default.php?cat=7700286



ขยายใจความเรื่อง วิญญาณขันธ์

http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/praapitham/9.html



อ่านให้ละเอียด เรื่องวิญญาณขันธ์ เป็นช่วงของการตายและการเกิด แต่เพราะ จิตที่ยังมี อวิชชา ครอบงำอยู่ ความขาดสติ สังขารจึงปรุงแต่งตามเหตุปัจจัย

เป็นที่มาของ มรณะ อวิชชา สังขาร

ปฏิจจสมุปบาท จึงเป็นวงกลมเพราะเหตุนี้ เหตุของ อวิชชาที่ยังมีอยู่

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 16 ส.ค. 2012, 09:16, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 261 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 14, 15, 16, 17, 18  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร