วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 14:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 261 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 14, 15, 16, 17, 18  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2012, 08:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:

เสริมนิดนะครับ อวิชชา สังขาร วิญญาณ ก็ซ้อนทับ ละเอียดลงไปอีกชั้นด้วย เป็นขั้นตอนในสติปัฏฐานด้วย ขุดลงไปที่กาย แล้วขยับมาเวทนา แล้วมาจิต ในองค์ธรรมทั้งหลาย ในอริยสัจ4 จึงเป็นธรรมในธรรม



ขั้นตอนสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม เกิดขึ้น เมื่อมี การโยนิโสมนสิการ นับตั้งแต่ ผัสสะเกิด

เมื่อผัสสะเกิด ผัสสะ-เวทนา-ตัณหา ก่อนจะเกิดภพ ได้แก่ การสร้างเหตุ(มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม)

ตราบใดที่ยังมีกิเลส ภพเกิดแล้ว นั่นคือ มโนกรรม ทีนี้จะทำยังไง ที่จะไม่สร้างเหตุออกไป ทางวจีกรรมและกายกรรม ต้องอาศัย โยนิโสมนสิการ คือ ดูตามความเป็นจริง ของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น รู้ตามความเป็นจริง คือ รู้สึกนึกคิดอะไร ยังไง รู้ไปตามนั้น

ขณะที่โยนิโสมนสิการ มรรค ๘ ย่อมเกิดขึ้น ชั่วขณะ เหตุจากการรู้ชัดอยู่ภายในกายและจิต ได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม

เข้าใจหรือยังว่า ขั้นตอนของสติปัฏฐาน ๔ เกิดขึ้นได้อย่างไร ไม่ใช่แค่นำมาพูดๆ แล้วทำให้เกิดขึ้นมาได้ ต้องมีการ โยนิโสมนสิการ


เช่น เพื่อนร่วมงานด่า เมื่อคิดว่า ตัวเองไม่ผิด ย่อมมีการโต้ตอบ

หรือ เดินไป เผอิญได้ยินเสียง คนกำลังนินทา เมื่อทนไม่ได้ ย่อมเข้าไปโต้ตอบ

หรือ คนข้างบ้าน มายืนด่าอยู่หน้าบ้าน ด่าพ่อแม่เรา เมื่อทนไม่ได้ ย่อมมีการตอบโต้ฯลฯ

การกระทำแบบนี้ เรียกว่า อโยนิโสมนสิการ


การสร้างวเหตุของการตัดภพตัดชาติ ณ ปัจจุบัน ขณะๆๆๆๆๆ ทำตรงนี้ คือ หยุดสร้างเหตุทั้งปวง ไม่ตอบโต้ออกไป ถึงแม้ว่า เราคิดว่า ไม่ผิดก็ตาม แม้กระทั่งในเหตุอื่นๆด้วย

เมื่อไม่มีการตอบโต้ออกไป อีกฝ่ายจะด่าไปทั้งปีทั้งชาติไหม ไม่มีเลย หากไม่ไปสานต่อ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2012, 12:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
สภาวะ ไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย แม้แต่สักนิดเดียวก็ไม่มี



พระอานท์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า " น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า! ไม่เคยมีแล้ว
พระเจ้าข้า! ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ปฏิจจสมุปบาทนี้ เขาร่ำลือกันว่าเป็นธรรมลึก๒ด้วย ดูท่าทางราวกะว่า
เป็นธรรมลึกด้วย แต่ปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนกับเป็นธรรมตื้น ๆ".

ดูก่อนอานนท์! [color=#FF0000]อย่ากล่าวอย่างนั้น. ดูก่อนอานนท์! อย่ากล่าว
อย่างนั้น. ก็ปฏิจจสมุปบาทนี้ ลึกซึ้งด้วย มีลักษณะดูเป็นธรรมลึกซึ้งด้วย.
ดูก่อนอานนท์! เพราะไม่รู้ เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมคือ
ปฏิจจสมุปบาทนี้ (จิตของ) หมู่สัตว์นี้ จึงเป็นเหมือนกลุ่มด้วยยุ่ง ยุ่งเหยิงเหมือนความยุ่ง
ของกลุ่มด้ายที่หนาแน่นไปด้วยปม พันกันยุ่งเหมือนเซิงหญ้ามุญชะ และหญ้าปัพพชะ
อย่างนี้; ย่อมไม่ล่วงพ้นซึ่งสงสาร ที่เป็นอบาย ทุคติ วินิบาตไปได้.[/color].....................................

ดูก่อนราชกุมาร! ความคิดข้อนี้ได้เกิดแก่เราว่า "ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้
เป็นธรรมอันลึก สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมระงับและ
ประณีตไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่าย ๆ แห่งความตรึก เป็นของละเอียด เป็นวิสัยรู้ได้เฉพาะบัณฑิต.
ก็สัตว์เหล่านี้ มีอาลัยเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในอาลัย เพลิดเพลินแล้วในอาลัย;
สำหรับสัตว์ผู้มีอาลัยเป็นที่มายินดี ยินดีเพลิดเพลินในอาลัยนั้น ยากนักที่จะเห็นสิ่งนี้
คือ ปฏิจจสมุปบาท กล่าวคือความที่สิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยแก่สิ่งนี้ ๆ (อิทปฺปจฺจยตา
ปฎิจฺจสมุปฺปาโท); และยากนักที่จะเห็นแม้สิ่งนี้ คือนิพพาน อันเป็นธรรมเป็นที่สงบ
ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นธรรมอันสลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา


เป็นความจางคลาย เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. หากเราพึงแสดงธรรมแล้วสัตว์อื่น
ไม่พึงรู้ทั่วถึง ข้อนั้นจักเป็นความเหนื่อยเปล่าแก่เรา, เป็นความลำบากแก่เรา". โอ,
ราชกุมาร! คาถาอันน่าเศร้า (อนจฺฉริยา) เหล่านี้ ที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ได้ปรากฏ
แจ่มแจ้งแก่เราว่า:-
"กาลนี้ ไม่ควรประกาศธรรมที่เราบรรลุได้แล้วโดยยาก.
ธรรมนี้ สัตว์ที่ถูกราคะโทสะปิดกั้นแล้ว ไม่รู้ได้โดย
ง่ายเลย. สัตว์ผู้กำหนัดแล้วด้วยราคะอันความมืด
ห่อหุ้มแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันไปทวนกระแส อันเป็น
ธรรมละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก เป็นอณู" ดังนี้.


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2012, 13:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
:b8: :b8: :b8:

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัวทอนหญ้าไม้ กิ่งไม้ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดมัดละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่านี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเราโดยลำดับ มารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่าหญ้าไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไปข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ พวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฏพีที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนาน ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้”

:b8: :b8: :b8:

อย่าคิดว่าจิตเป็นเรา


เพราะ เราคือ เจ้าอวิชชา ใช่ป่าว :b12: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2012, 13:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
:b8: :b8: :b8:

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัวทอนหญ้าไม้ กิ่งไม้ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดมัดละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่านี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเราโดยลำดับ มารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่าหญ้าไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไปข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ พวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฏพีที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนาน ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้”

:b8: :b8: :b8:

อย่าคิดว่าจิตเป็นเรา


เพราะ เราคือ เจ้าอวิชชา ใช่ป่าว :b12: :b9:



:b4: Like ให้คุณเอกอน เลย ต้องรีบไปเพิ่มความเพียร ยิ่งขึ้น จะได้เห็นหน้า ตัวอวิชชาในชาตินี้ :b42:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2012, 16:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
สภาวะ ไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย แม้แต่สักนิดเดียวก็ไม่มี



นี่คือ เหตุ ของ วลัยพร


ฝึกจิต เขียน:
พระอานท์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า " น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า! ไม่เคยมีแล้ว
พระเจ้าข้า! ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ปฏิจจสมุปบาทนี้ เขาร่ำลือกันว่าเป็นธรรมลึก๒ด้วย ดูท่าทางราวกะว่า
เป็นธรรมลึกด้วย แต่ปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนกับเป็นธรรมตื้น ๆ".

ดูก่อนอานนท์! [color=#FF0000]อย่ากล่าวอย่างนั้น. ดูก่อนอานนท์! อย่ากล่าว
อย่างนั้น. ก็ปฏิจจสมุปบาทนี้ ลึกซึ้งด้วย มีลักษณะดูเป็นธรรมลึกซึ้งด้วย.
ดูก่อนอานนท์! เพราะไม่รู้ เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมคือ
ปฏิจจสมุปบาทนี้ (จิตของ) หมู่สัตว์นี้ จึงเป็นเหมือนกลุ่มด้วยยุ่ง ยุ่งเหยิงเหมือนความยุ่ง
ของกลุ่มด้ายที่หนาแน่นไปด้วยปม พันกันยุ่งเหมือนเซิงหญ้ามุญชะ และหญ้าปัพพชะ
อย่างนี้; ย่อมไม่ล่วงพ้นซึ่งสงสาร ที่เป็นอบาย ทุคติ วินิบาตไปได้.[/color].....................................

ดูก่อนราชกุมาร! ความคิดข้อนี้ได้เกิดแก่เราว่า "ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้
เป็นธรรมอันลึก สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมระงับและ
ประณีตไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่าย ๆ แห่งความตรึก เป็นของละเอียด เป็นวิสัยรู้ได้เฉพาะบัณฑิต.
ก็สัตว์เหล่านี้ มีอาลัยเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในอาลัย เพลิดเพลินแล้วในอาลัย;
สำหรับสัตว์ผู้มีอาลัยเป็นที่มายินดี ยินดีเพลิดเพลินในอาลัยนั้น ยากนักที่จะเห็นสิ่งนี้
คือ ปฏิจจสมุปบาท กล่าวคือความที่สิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยแก่สิ่งนี้ ๆ (อิทปฺปจฺจยตา
ปฎิจฺจสมุปฺปาโท); และยากนักที่จะเห็นแม้สิ่งนี้ คือนิพพาน อันเป็นธรรมเป็นที่สงบ
ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นธรรมอันสลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา


เป็นความจางคลาย เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. หากเราพึงแสดงธรรมแล้วสัตว์อื่น
ไม่พึงรู้ทั่วถึง ข้อนั้นจักเป็นความเหนื่อยเปล่าแก่เรา, เป็นความลำบากแก่เรา". โอ,
ราชกุมาร! คาถาอันน่าเศร้า (อนจฺฉริยา) เหล่านี้ ที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ได้ปรากฏ
แจ่มแจ้งแก่เราว่า:-
"กาลนี้ ไม่ควรประกาศธรรมที่เราบรรลุได้แล้วโดยยาก.
ธรรมนี้ สัตว์ที่ถูกราคะโทสะปิดกั้นแล้ว ไม่รู้ได้โดย
ง่ายเลย. สัตว์ผู้กำหนัดแล้วด้วยราคะอันความมืด
ห่อหุ้มแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันไปทวนกระแส อันเป็น
ธรรมละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก เป็นอณู" ดังนี้.


:b8: :b8: :b8:



นี่คือ เหตุของพระอานนท์

และนี่คือ เหตุของคุณฝึกจิต ที่นำมาโพส

คนละเรื่อง คนละเหตุกัน



ที่พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสกับพระอานนท์เช่นนั้น เพราะ พระอานนท์ ไม่ได้รู้ด้วยตนเอง พระองค์จึงทรงตรัสเช่นนั้น


เหตุของคุณฝึกจิต อ่านแล้วเข้าใจยังไง ย่อมนำมาอ้างอิงเช่นนั้น

เหตุของ วลัยพร เป็นเพียงสัญญา สัญญาที่ ขุดแคะงัดแงะขึ้นมา ที่เกิดขึ้นเองจากสภาวะ แล้วใส่ปริยัติลงไป เท่านั้นเอง

เพราะวลัยพร ไม่รู้ทั้งปริยัติ ไม่รู้ทั้งอภิธรรม มีแต่การปฏิบัติ ต่อเนื่องเป็นหลัก สิ่งที่เขียนๆลงไป เป็นเพียงสัญญา ที่เกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นอยู่

วลัยพรรู้แต่เพียงว่า ภพชาติหรือการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร ทำยังไง ถึงจะทำให้ภพชาตินั้นๆ สั้นลง นี่คือ สิ่งที่เรียกว่า ปัญญา เพราะ รู้แล้วจบ ไม่กระทำต่อ

ผิดกับอวิชชา มีแต่สัญญา รู้แล้ว มีแต่ยึด มีแต่สร้างๆๆๆๆๆ สร้างเหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน ให้เกิดขึ้นเนืองๆ ณ ปัจจุบัน ขณะๆๆๆ เป็นเหตุของการเวียนว่ายตายเกิดในภพชาติวัฏฏสงสาร ตายแล้วเกิด ซ้ำซากๆๆๆๆๆๆๆ อยู่อย่างนั้น เบื่อกันบ้างไหม

สำหรับวลัยพร ยิ่งกว่าเบื่อ เห็นแล้วอยากจะอ้วกๆๆๆๆๆๆๆ ที่อยู่ทุกวันนี้ มีแต่ความเบื่อหน่าย เห็นแต่เหตุ เห็นแต่การตายและเกิดซ้ำซาก

เกิดมาแล้ว ก็โง่ โง่มาก่อนที่จะรู้ โง่แล้วหลงก่อนที่จะรู้ หลงสร้างเหตุ กว่าจะรู้ล่ะ เห็นไหม ชีวิตมีแต่เรื่องซ้ำซาก เดิมๆซ้ำๆ ดีใจ-เสียใจ สุข-ทุกข์ ดี-ชั่วฯลฯ นั่นแหละ คือ ความโง่ที่ยังมีอยู่

ติดดี เหมือนคนท้องเสีย เดินไปขี้ไป หลงคิดว่าขี้เป็นทอง กอบขี้ขึ้นมาอีก ขี้แตกแค่ตัวเองไม่พอ เอาขี้ที่หลงคิดว่าทอง เที่ยวแจกจ่ายชาวบ้าน คนที่สร้างเหตุมาด้วยกัน ก็หลงหอบเอาขี้นั้นไปต่อ คนที่ไม่มีเหตุร่วมกัน เขาก็เมินหน้าหนี ขี้ทั้งนั้น ทองที่ไหน

คนที่รู้แล้ว เขาไม่มาเสียเวลากับขี้หรอก ขี้แล้วทิ้งเลย ต่อให้เห็นเป็นทอง เขาก็ทิ้ง เพราะ เป็นเพียงแค่ทองปลอม ถูกแดด ถูกฝนนานเข้า ทองมันก็เปลี่ยนสภาพ โถที่แท้หลงหอบ หลงเก็บมาตั้งนาน ที่แท้ ขี้ดีๆนี่เอง

ภพ(สุคติ ทุคติ) ที่เกิดขึ้นมาใหม่ แล้วแต่เหตุปัจจัย ขณะจุติ จิตนึกคิดสิ่งใดอยู่(สังขาร) ย่อมไปตามเหตุปัจจัยนั้น (วิญญาณขันธ์) ถ้าหมดเหตุ ก็ไม่ต้องเกิด ถ้ายังมีเหตุ(วิญญาณขันธ์ เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ) ได้แก่ อวิชชา ก็เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารต่อไป(๓๑ ภูมิ)

แตกต่างตรงนี้ ระหว่าง ปัญญา กับ อวิชชา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2012, 23:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 261 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 14, 15, 16, 17, 18

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร