วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 20:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


บาลีแห่งหนึ่งชี้แจงเรื่องอิทธิวิธี (การแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ) ว่ามี 2 ประเภทคือ


1. ฤทธิ์ ที่มิใช่อริยะ คือ ฤทธิ์ที่ประกอบด้วยอาสวะ ยังมีอุปธิ (มีกิเลสและทำให้เกิดทุกข์

ได้) ได้แก่ ฤทธิ์ อย่างที่เข้าใจกันทั่วๆไป คือ การที่สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ใดผู้หนึ่ง

บำเพ็ญเพียรจนได้เจโตสมาธิ แล้วแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ เช่น แปลงตัวเป็นคนหลายคน เป็นต้น


2. ฤทธิ์ ที่เป็นอริยะ คือ ฤทธิ์ที่ไม่ประกอบด้วยอาสวะ ไม่มีอุปธิ

(ไม่มีกิเลสไม่ทำให้เกิดทุกข์) ได้แก่ การที่ภิกษุสามารถทำใจกำหนดหมายได้ตามต้องการ

บังคับความรู้สึกของตนได้ จะให้มองเห็นสิ่งที่น่าเกลียดเป็นไม่น่าเกลียดก็ได้ เช่น เห็นคน

หน้าตาน่าเกลียดชัง ก็วางจิตเมตตาทำใจให้รักใคร่มีไมตรีได้ เห็นคนรูปร่างน่ารักยั่วยวน

ให้เกิดราคะจะมองเป็นอสุภะก็ได้ หรือจะวางใจเป็นกลาง เฉยเสีย ปล่อยวางทั้งสิ่ง

ที่น่าเกลียดและไม่น่าเกลียดก็ได้

(ที.ปา.11/90/122)



เช่น ในกรณีที่จะใช้ความคิดพิจารณาอย่างเที่ยงธรรม ให้เห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

เป็นต้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องฤทธิ์ 2 ประเภทนี้ ย่อมย้ำความที่กล่าวไว้ข้างต้น ให้เห็นว่า

อิทธิปาฏิหาริย์จำพวกฤทธิ์ที่เข้าใจกันทั่วไปซึ่งทำอะไรได้ผลาดแผลง

พิสดารเป็นที่น่าอัศจรรย์นั้น ไม่ได้รับความยกย่องในพระพุทธศาสนา

ไม่ใช่หลักการที่แท้ของพระพุทธศาสนา

ฤทธิ์ที่สูงส่งดีงามตามหลักพระพุทธศาสนา คือ ฤทธิ์ที่ไม่มีพิษมีภัยแก่ใครๆ

ได้แก่การบังคับความรู้สึกของตนเองได้ หรือบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจ

ของตนได้ ผู้ซึ่งได้ฤทธิ์อย่างที่หนึ่ง อาจทำไม่ได้ บางครั้งจึงหันไป

ใช้ฤทธิ์นั้นเป็นเครื่องมือสนองกิเลสของตน

ตรงข้ามกับ ฤทธิ์อย่างที่สอง ที่เป็นเครื่องสร้างคุณธรรม กำจัดกิเลส มิให้

จิตใจถูกล่อไปในอำนาจของราคะ โทสะ หรือโมหะ-

(ฤทธิ์ประเภทที่สองนี้เป็นพวกเมตตาเจโตวิมุตติ ซึ่งถึงขั้นเป็น

สุภวิโมกข์ เกิดจากเจริญโพชฌงค์ประกอบด้วยเมตตาก็ได้-

สํ.ม.19/597/164 เป็นผลของการเจริญสติปัฏฐาน 4 (ถูกวิธี) ก็ได้-

สํ.ม.19/1253-1262/376-9 เป็นผลของการเจริญสมาธิก็ได้-

สํ.ม.19/1332-6/401-3 บางแห่งเรียกผู้ปฏิบัติได้เช่นนี้ว่า อริยชนผู้

เจริญอินทรีย์แล้ว ม.อุ.14/863-546

การที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุแสดงอิทธิปาฏิหาริย์แก่

ชาวบ้านก็เป็นหลักฐานยืนยันถึงการที่ไม่ทรงสนับสนุนการให้อิทธิปาฏิหาริย์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อว่าตามรูปศัพท์ คำว่า ปาฏิหาริย์ แปลว่า การกระทำที่ตีกลับ ขับไล่ หรือ

กำจัดเสียได้ซึ่งปฏิปักษ์

อิทธิ หรือ ฤทธิ์ แปลว่า ความสำเร็จ

อาเทศนา แปลว่า ระบุ อ้าง สำแดง ชี้บ่ง

อนุสาสนี แปลว่า คำพร่ำสอน โดยถือความหมายอย่างนี้ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ ได้แปล

ความหมาย ปาฏิหาริย์ทั้งสาม นั้นออกไปให้เห็นเพิ่มขึ้นอีกแนวหนึ่งว่า

คุณธรรมต่างๆ เช่น เนกขัมมะ เมตตา ฌาน อนัตตานุปัสสนา ตลอดจนถึงอรหัตมรรค

เรียกว่าเป็นอิทธิปาฏิหาริย์ได้ทั้งนั้น โดยความหมายว่า สำเร็จผลตามหน้าที่และกำจัด

ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ของมัน เช่น กามฉันท์ พยาบาท ตลอดจนกิเลสทั้งปวงได้

เรียกว่าเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ได้ โดยความหมายว่า ผู้ที่ประกอบด้วยธรรมเหล่านี้ทุกคน

ย่อมมีจิตบริสุทธิ์ มีความคิดไม่ขุ่นมัว เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์ได้ โดยความหมายของ

การสั่งสอนว่า ธรรมข้อนั้นๆ ควรปฏิบัติ ควรฝึกอบรม ควรเพิ่มพูน ควรตั้งสติให้เหมาะ

อย่างไร เป็นต้น (ขุ.ปฏิ.31/718-722/616-620)

คำอธิบายอย่างนี้ แม้จะไม่ใช่ความหมายอย่างที่ใช้ทั่วไป แต่ก็เป็นความรู้ประกอบที่น่าสนใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า อิทธิปาฏิหาริย์เป็นโลกียอภิญญาอย่างหนึ่ง ซึ่ง

เป็นส่วนเสริมคุณสมบัติ ของผู้ที่ได้โลกุตรอภิญญาเป็นหลักอยู่แล้ว

ให้พร้อมบริบูรณ์ยิ่งขึ้น สำหรับการบำเพ็ญกิจเกื้อกูลแก่ชาวโลก จึงมี

พุทธพจน์บางแห่ง เรียกภิกษุผู้ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ครอบทั้ง 3

ประการ คือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนี-

ปาฏิหาริย์ว่า เป็นสำเร็จสิ้นเชิง จบหรือถึงจุดหมายสิ้นเชิง เป็นต้น

และเป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

(องฺ.ติก. 20/584/345ฯลฯ)

แต่ทั้งนี้ย้ำว่า ต้องมีอนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นหลัก หรือเป็นข้อยืนตัว

แน่นอน และมีปาฏิหาริย์ 2 ข้อต้นเป็นเครื่องเสริม แม้ในการใช้

ปาฏิหาริย์ ก็ถือหลักอย่างเดียวกันคือ ต้องใช้อนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นหลัก

อยู่เสมอ หากจะต้องใช้ อิทธิปาฏิหาริย์ หรืออาเทศนาปาฏิหาริย์บ้างใน

เมื่อมีเหตุผลสมควร ก็ใช้เพียงเพื่อเป็นเครื่องประกอบเบื้องต้น เพื่อนำ

เข้าสู่อนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นเป้าหมาย และจบลงด้วยอนุสาสนีป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับปุถุชน ฤทธิ์อาจเป็นโทษได้ทั้งแก่ผู้มีฤทธิ์เอง และแก่คนที่มา

เกี่ยวข้องกับผู้มีฤทธิ์ ปุถุชนผู้มี ฤทธิ์ อาจจะเกิดความเมาฤทธิ์ ใน

ลักษณะต่างๆเช่น เกิดมานะว่าเราทำได้ในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ได้ คนอื่นทำ

ไม่ได้อย่างเรา มีความรู้สึกยกตนข่มผู้อื่น กลายเป็นอสัตบุรุษไป

หรืออาจเกิดความหลงใหลมัวเมาในลาภสักการที่เกิดจากฤทธิ์นั้น นำฤทธิ์ไป

ใช้เพื่อก่อความชั่วความเสียหายอย่างพระเทวทัตเป็นต้น

อย่างน้อยการติดใจเพลินอยู่ในฤทธิ์นั้น ก็ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติเพื่อ

บรรลุคุณธรรมที่สูงขึ้นไป ไม่อาจชำระกิเลสทำจิตใจให้บริสุทธิ์ได้ และ

เพราะฤทธิ์ของปุถุชนเป็นของเสื่อมได้ แม้แต่ความห่วงกังวลมัวยุ่งกับ

การรักษาฤทธิ์ ก็กลายเป็นปลิโพธ คืออุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถใช้

ปัญญาพินิจพิจารณาตามวิธีของวิปัสสนาอย่างได้ผลดี ท่านจึงจัดเอาฤทธิ์

เป็นปลิโพธอย่างหนึ่งของวิปัสสนา (เรียกว่าอิทธิปลิโพธ) ซึ่งผู้จะฝึกอบรม

ปัญญาพึงตัดเสียให้ได้

(วิสุทธิ.1/112, 122)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนปุถุชนที่มาเกี่ยวข้องกับผู้มีฤทธิ์ ก็มีทางประสบผลเสียจากฤทธิ์ได้เป็นอัน

มาก ผลเสียข้อแรกทีเดียวก็ คือ คนที่มาเกี่ยวข้องอาจตกไปเป็นเหยื่อ

ของผู้มีฤทธิ์หรือหลอกลวงว่ามีฤทธิ์ ซึ่งมีอกุศลเจตนานำเอาฤทธิ์มาเอ่ยอ้าง

เพื่อแสงหาลาภสักการะ

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้มีข้อพึงสังเกตว่า ตามปกติผู้มีฤทธิ์ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติ

ธรรม จะใช้ฤทธิ์ในกรณีเดียวเมื่อมีเหตุผลอันสมควรเพื่อเป็นสื่อนำไปสู่การ

แนะนำสั่งสอนสิ่งที่ถูกต้องคืออนุสาสนีปาฏิหาริย์

ถ้าไม่มีเหตุผลเกี่ยวกับการแนะนำสั่งสอนธรรมแล้ว ผู้มีฤทธิ์จะใช้ฤทธิ์ทำไม

นอกจากเพื่อผูกคนไว้กับตนเป็นสะพานทอดไปสู่ชื่อเสียงและลาภผล

ดังนั้น จึงควรยึดถือเป็นหลักไว้ทีเดียวว่า การใช้อิทธิปาฏิหาริย์จะต้องมี

อนุสาสนีปาฏิหาริย์ตามมาด้วย ถ้าผู้ใดอ้างหรือใช้เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์

เขาอาจมีอกุศลเจตนาหลอกลวง มุ่งแสวงหาลาภสักการะ หรืออย่างน้อย

ก็เป็นผู้มัวเมาหลงใหลเข้าใจผิดในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์นั้น

หลักการนี้ผ่อนลงมาใช้ได้แม้กับพฤติการณ์เกี่ยวกับเรื่องของขลังสิ่ง

ศักดิ์สิทธิ์ทั่วๆไป โดยอาจให้ยึดถือกันไว้ว่า ผู้ใดนำเอาของขลังสิ่งศักดิ์สิทธิ์

หรือสิ่งลึกลับต่างๆมาใช้ในการเกี่ยวข้องกับประชาชน โดยมิได้นำประชาชน

ไปสู่ความรู้ความเข้าใจในธรรม มิได้ต่อท้ายของขลังเป็นต้นด้วยการแนะนำ

สั่งสอนให้เกิดปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับความจริงความดี

งามที่ควรรู้และควรประพฤติปฏิบัติ เพื่อช่วยนำเขาให้ค่อยๆก้าวพ้นเป็นอิสระ

ออกไปได้จากของขลังสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น พึงถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ปฏิบัติผิด

และนำประชาชนไปในทางที่ผิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง แม้ในกรณีที่มิได้ตกไปเป็นเหยื่อของผู้อวดอ้างฤทธิ์ การไปมั่ววุ่นวายเพลิดเพลินหรือฝักใฝ่กับ

อิทธิปาฏิหาริย์ทั้งหลาย ก็เป็นการไม่ปฏิบัติตามหลักการของพระพุทธศาสนาอยู่ในตัวแล้วตั้งหลายแง่

แง่ที่หนึ่ง ในเมื่ออิทธิปาฏิหาริย์ไม่ใช่สาระสำคัญของพระพุทธศาสนา ไม่เกี่ยวกับจุดหมายของ

พระพุทธศาสนาไม่ใช่ให้มนุษย์หลักพ้นจากิเลส การไปฝักใฝ่ในเรื่องเช่นนี้ ย่อมเป็นการพร่าเวลาและ

แรงงานที่ควรใช้สำหรับการปฏิบัติธรรมให้หมดไปในทางที่ผิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


แง่ที่สอง

คนที่ไปเกี่ยวข้องกับผู้อ้างฤทธิ์หรืออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มักมุ่งเพื่อไปขอ

ความช่วยเหลือหวังอำนาจดลบันดาลให้เกิดโชคลาภเป็นต้น

การปฏิบัติเช่นนี้ ย่อมไม่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนาที่เป็นกรรมวาทะ

กิริยวาทะ และวิริยวาทะ สอนให้คนหวังผลสำเร็จจากการลงมือทำด้วย

ความเพียรพยายามตามเหตุตามผล

การมัวหวังผลจากการอ้อนวอนของความช่วยเหลือจากอำนาจดลบันดาล

อาจทำให้กลายเป็นคนมีนิสัยเฉื่อยชา กลายเป็นคนงอมืองอเท้า อย่าง

น้อยก็ทำให้ขาดความเพียรพยายาม ไม่รีบเร่งลงมือทำสิ่งที่ควรจะทำ

ไม่เร่งเว้นสิ่งที่ควรเว้น ขัดกับหลักความไม่ประมาท

นอกจากนั้น ถ้าจะฝักใฝ่กับอิทธิปาฏิหาริย์ ก็ควรฝึกตนให้ทำปาฏิหาริย์

นั้นได้เองจะดีกว่า (แต่ก็ขัดกับหลักการแง่ที่หนึ่งข้างต้นอยู่ดี) เพราะการ

ฝักใฝ่หวังผลจากอิทธิปาฏิหาริย์ของผู้อื่นหรือจากอำนาจดลบันดาล

ทั้งหลาย เป็นการพึ่งสิ่งภายนอก ทำให้ชีวิตขึ้นต่อสิ่งอื่นมากยิ่งขึ้น

แทนที่จะอาศัยอำนาจภายนอกน้อยลง และเป็นตัวของตัวเองมากยิ่งขึ้น

จึงอาจทำให้กลายเป็นคนมีชีวิตที่เลื่อนลอยมักเป็นอยู่ด้วยความเพ้อฝัน

เป็นคนขาดประสิทธิภาพ ขาดอำนาจและความมั่นใจในตนเอง ขัดต่อ

หลักการพื้นฐานของพระพุทธศาสนา ที่สอนให้พึ่งตนเอง สอนให้

ทำตนให้เป็นที่พึ่งได้หรือสามารถพึ่งตนได้และสอนมรรคาแห่งความหลุดพ้น

เป็นอิสระ ซึ่งในขั้นสุดท้าย ให้ข้ามพ้นได้แม้กระทั่งศรัทธาที่มีเหตุผล

ไปสู่ความเป็นอยู่ด้วยปัญญาบริสุทธิ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพิจารณาในแง่ผลต่อคนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับฤทธิ์แล้ว
คราวนี้ลองมาพิจารณาดูแนวปฏิบัติจากพระจริยาวัตรของพระบรมศาสดาและพระสาวกทั้งหลายผู้เรือง ฤทธิ์ ว่าท่านใช้ฤทธิ์หรือปฏิบัติต่ออิทธิปาฏิหาริย์กันอย่างไร

สำหรับองค์พระพุทธเจ้าเอง ปรากฏชัดจากพุทธดำรัสที่อ้างแล้วข้างต้นว่าทรงรังเกียจ ไม่ทรงโปรดทั้งอิทธิปาฏิหาริย์และอาเทศนาปาฏิหาริย์ แต่ทรงสนับสนุนอนุสาสนีปาฏิหาริย์ และทรงใช้ปาฏิหาริย์ข้อหลังนี้อยู่เสมอ เป็นหลักประจำแห่งพุทธกิจ หรือว่าให้ถูกแท้คือเป็นตัวพุทธกิจทีเดียว ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลดังได้แสดงแล้วข้างต้น

แต่ก็ปรากฏอยู่บางคราวว่ามีกรณีที่ทรงใช้ อิทธิปาฏิหาริย์บ้างเหมือนกัน และเมื่อพิจารณาจากรณีเหล่านั้น ก็สรุปได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้อิทธิปาฏิหาริย์เฉพาะในกรณีที่จะทรงทรมานผู้มีฤทธิ์ ผู้ถือฤทธิ์เป็นเรื่องสำคัญ หรือผู้ถือตัวว่าเป็นผู้วิเศษ ให้ละความหลงใหลมัวเมาในฤทธิ์

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ใช้ฤทธิ์ปราบฤทธิ์ เพื่อให้ผู้ชอบฤทธิ์หรือลำพองในฤทธิ์ ตระหนักในคุณค่าอันจำกัดของฤทธิ์ มองเห็นสิ่งอื่นที่ดีงามประเสริฐกว่าฤทธิ์ และพร้อมที่จะเรียนรู้หรือรับฟังสิ่งอันประเสริฐนั้น ซึ่งจะทรงชี้แจงสั่งสอนแก่เขาด้วยอนุสาสนีปาฏิหาริย์ต่อไป
ตรงกับหลักข้างต้นว่า ใช้อิทธิปาฏิหาริย์ประกอบอนุสาสนีปาฏิหาริย์ แต่เป็นการใช้ประกอบในขอบเขตจำกัดอย่างยิ่ง คือ เฉพาะในกรณีที่ผู้รับคำสอนฝักใฝ่ในฤทธิ์หรือเมาฤทธิ์ แสดงทิฏฐิมานะต่อพระองค์เท่านั้น เช่น เรื่องการทรมานพระพรหม เป็นต้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนพระมหาสาวกทั้งหลาย ก็มีเรื่องเล่ามาบ้างว่า ใช้ฤทธิ์ประกอบอนุสาสนีแก่ผู้ฝักใฝ่ในฤทธิ์ เช่น เรื่องที่พระสารีบุตรสอนหมู่ภิกษุศิษย์ของพระเทวทัตด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์ควบด้วย
อนุสาสนีปาฏิหาริย์

พระมหาโมคคัลลาน์ สอนด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ควบกับอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ส่วนการทำอิทธิปาฏิหาริย์ เพื่ออนุเคราะห์ช่วยเหลือ มีเรื่องเล่ามาบ้างน้อยเหลือเกิน แต่กรณีที่ขอร้องให้ช่วยเหลือด้วย
อิทธิปาฏิหาริย์ ไม่พบในพระไตรปิฎกเลยแม้แต่แห่งเดียว จะมีผู้ขอร้องพระบางรูปให้แสดง
อิทธิปาฏิหาริย์บ้าง ก็เพียงเพราะอยากดูเท่านั้น และการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้ชาวบ้านดู
พระพุทธเจ้าก็ได้ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามไว้แล้วดังได้กล่าวมาข้างต้น

ในที่นี้ขอย้ำข้อคิดตามหลักพระพุทธศาสนาไว้อีกครั้งหนึ่งว่า ในชีวิตที่เป็นจริง ในระยะยาว หรือตามปกติธรรมดาของมนุษย์ มนุษย์ต้องอยู่กับมนุษย์ และเป็นอยู่ด้วยเหตุผลสามัญของมนุษย์เอง
จะมัวหวังพึ่งอำนาจภายนอกที่มองไม่เห็น ซึ่งไม่ขึ้นกับตนเองอยู่อย่างไร ทางที่ดีควรจะหันมาพยายามฝึกหัดตนเองและฝึกปรือกันเอง ให้มีความรู้ความสามารถชำนิชำนาญในการแก้ปัญหาตามวิถีทาง
แห่งเหตุผลอย่างสามัญของมนุษย์นี้แหละให้สำเร็จโดยชอบธรรม

ความสามารถที่ทำให้ได้สำเร็จอย่างนี้ ท่านก็จัดเป็นฤทธิ์อย่างหนึ่ง และเป็นฤทธิ์ที่ถูกต้องตามหลักการของพระพุทธศาสนา มีทั้ง อามิสฤทธิ์ และ ธรรมฤทธิ์ โดยถือธรรมฤทธิ์เป็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อามิสฤทธิ์ –ความสำเร็จ หรือ ความรุ่งเรืองทางวัตถุ วัตถุรุ่งเรือง หรือวัตถุเป็นแรงบันดาล

ธรรมฤทธิ์- ความสำเร็จ หรือ ความรุ่งเรืองแห่งธรรม ธรรมรุ่งเรือง หรือธรรมเป็นแรงบันดาล

(องฺ.ทุก.20/430/117)

อนึ่ง ความมีรูปโฉมงามผิวพรรณผุดผ่อง ความมีอายุยืน ความมีสุขภาพดี ความมีเสน่ห์ผู้คน

ชอบชมอยู่ใกล้ ก็เรียกว่าเป็นฤทธิ์ เช่นกัน- (ดู ที.ม.10/171/204; ม.อุ.14/496/330)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปเหตุผลข้อใหญ่ที่แสดงถึงขอบเขตจำกัดหรือจุดติดตันของอิทธิปาฏิหาริย์ ตลอดถึงอำนาจศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งทำให้ไม่สามารถเป็นหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนา ไม่เกี่ยวข้องกับจุดหมายของพุทธธรรม และไม่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินพุทธมรรคา ไม่อาจเป็นที่พึ่งอันเกษมหรือปลอดภัยได้ เหตุผลนั้นมี 2 ประการคือ

1. ทางปัญญา อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นต้น ไม่อาจทำให้เกิดปัญญาหยั่งรู้สัจธรรม เข้าใจสภาวธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริงได้ ดังตัวอย่างเรื่องพระภิกษุมีฤทธิ์ที่เหาะไปหาคำตอบเกี่ยวกับสัจธรรมทั้งจักรวาลจนถึงพระพรหมผู้ถือตนว่าเป็นผู้สร้างผู้บันดาลโลก ก็ไม่สำเร็จ และเรื่องฤๅษีมีฤทธิ์เหาะไปดูที่สุดโลกพิภพจนหมดอายุก็ไม่พบ เป็นตัวอย่าง

(ที.สี.9/343/277 ฯลฯ)


2. ทางจิต อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นต้น ไม่อาจกำจัดกิเลส หรือดับความทุกข์ได้จริง จิตใจมีความขุ่นมัว กลัดกลุ้ม เร่าร้อน ถูกโลภะ โทสะ โมหะ ครอบงำ ก็ไม่สามารถแก้ไขให้หลุดพ้นเป็นอิสระได้ แม้จะใช้ฌานสมาบัติข่มระงับไว้ ก็ทำได้เพียงชั่วคราว กลับออกมาสู่การเผชิญโลกและชีวิตตามปกติเมื่อใด กิเลสและความทุกข์ก็หวนคืนมารังควาญได้อีกเมื่อนั้น ยิ่งกว่านั้น อิทธิปาฏิหาริย์ อาจกลายเป็นเครื่องมือรับใช้กิเลสไปก็ได้ ดังเรื่องพระเทวทัตเป็นตัวอย่าง –

(วินย.7/350/164)


อย่างไรก็ดี ถ้าความคิดร้ายรุนแรงขึ้น ฤทธิ์ ก็เสื่อมได้ เพราะฤทธิ์ต้องอาศัยฌานสมาบัติเป็นฐาน และผู้จะเข้าฌานสมาบัติได้ ต้องทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใส ปราศจากนิวรณ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เทวดา

ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องเทวดา (หรือเทพ) ว่าโดยส่วนใหญ่ก็เหมือนกับ
ที่กล่าวแล้วในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ เพราะคนมักเข้าไปเกี่ยวข้องกับเทวดา
เพื่อผลในทางปฏิบัติ คือหวังพึ่งและขออำนาจดลบันดาลต่างๆ เช่น
เดี่ยวกับที่หวังและขอจากอิทธิฤทธิ์ และเทวดาก็เป็นผู้มีฤทธิ์
หลักการทั่วไปที่บรรยายแล้วในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ เฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่
เกี่ยวกับคุณและโทษ จึงนำมาใช้กับเรื่องเทวดาได้ด้วย แต่ก็ยังมีเรื่องที่
ควรทราบเพิ่มเติมอีกบางประการ ดังนี้

ว่าโดยภาวะพื้นฐาน เทวดาทุกประเภทตลอดจนถึงพรหมที่สูงสุด ล้วนเป็น
เพื่อนร่วมทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ เช่นเดียวกับ
มนุษย์ทั้งหลาย และส่วนใหญ่ก็เป็นปุถุชนยังมีกิเลสคล้ายมนุษย์ แม้ว่า
จะมีเทพที่เป็นอริยบุคคลบ้าง ส่วนมากก็เป็นอริยะมาก่อน ตั้งแต่ครั้งยัง
เป็นมนุษย์ แม้ว่าเมื่อเปรียบเทียบโดยเฉลี่ยตามลำดับฐานะ เทวดาจะ
เป็นผู้มีคุณธรรมสูงกว่า แต่ก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน จนพูดรวมๆได้
ว่า เป็นระดับสุคติด้วยกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า เทวดา หรือ เทพ ใช้คลุมถึงพรหมทั้งหลายด้วย โดยแบ่งเป็นเทวดาชั้นกามาวจร-

(ผู้ยังข้องกับกาม บางทีเรียกว่า ฉกามาพจรสวรรค์ หรือ สวรรค์ชั้นที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม

6 ชั้น คือ จาตุมมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี)

ต่อจากนั้น มีเทพชั้นรูปาวจร- (รูปพรหม) 16 ชั้น และสูงสุดมีเทพชั้นอรูปาวจร-

(อรูปพรหม)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ในแง่ความได้เปรียบเสียเปรียบ บางอย่างเทวดาดีกว่า แต่บางอย่างมนุษย์ก็ดีกว่า เช่น
ท่านเปรียบเทียบระหว่างมนุษย์ชาวชมพูทวีปกับเทพชั้นดาวดึงส์ว่า เทพชั้นดาวดึงส์เหนือกว่า
มนุษย์ 3 อย่าง คือ
ด้านอายุทิพย์
ผิวพรรณทิพย์
และความสุขทิพย์

แต่มนุษย์ชาวชมพูทวีปเหนือกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ 3 ด้าน คือ
กล้าหาญกว่า
มีสติดีกว่า
และมีการประพฤติพรหมจรรย์ -หมายถึงการปฏิบัติตามอริยมรรค (องฺ.นวก. 23/225/409)

แม้ว่าตามปกติ พวกมนุษย์จะถือว่าเทวดาสูงกว่าพวกตน และพากันอยากไปเกิดในสวรรค์
แต่สำหรับพวกเทวดา เขาถือกันว่า การเกิดเป็นมนุษย์เป็นสุคติภูมิของพวกเขา
ดังพุทธพจน์ยืนยันว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมนุษย์นี่แล นับว่าเป็นการไป
สุคติของเทพทั้งหลาย
(ขุ.อิติ.25/261-2/289-290)

เมื่อเทวดาองค์ใดองค์หนึ่งจะจุติ เพื่อเทพชาวสวรรค์จะพากันอวยพรว่า ให้ไปสุคติคือ
ไปเกิดในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย เพราะโลกมนุษย์เป็นถิ่นที่มีโอกาสเลือกประกอบกุศลกรรม
ทำความดีงามต่างๆ และประพฤติปฏิบัติธรรมได้อย่างเต็มที่- (ขุ.อิติ.25/261-2/289-290)
(ความชั่วหรืออกุศลกรรมต่างๆ ก็เลือกทำได้เต็มที่เช่นเดียวกัน)

การเกิดเป็นเทวดาที่มีอายุยืนยาว ท่านถือว่าเป็นการเสียหรือพลาดโอกาสอย่างหนึ่ง
ในการที่จะได้ประพฤติพรหมจรรย์ - (องฺ.อฏฺฐก.23/119/229)
เรียกอย่างสามัญว่าเป็นโชคไม่ดี
พวกชาวสวรรค์มีแต่ความสุข ชวนให้เกิดความประมาทมัวเมา สติไม่มั่น

ส่วนโลกมนุษย์มีสุขบ้างทุกข์บ้างเคล้าระคน มีประสบการณ์หลากหลายเป็นบทเรียนได้มาก
เมื่อรู้จักกำหนดจิตให้ได้เรียนรู้ ช่วยให้สติเจริญว่องไวทำงานได้ดี- (ดู เค้า องฺ.อ.3/345)
เกื้อกูลแก่การฝึกตนและการที่จะก้าวไปข้างหน้าในอารยธรรม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร