วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 06:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มาต่อกันน่ะครับ


อ้างคำพูด:
ความนิ่งจากการรับรู้เท่าทันแตกต่างจากความนิ่งจากสมาธิ

ความนิ่งจากสมาธิคือนิ่งเพราะใจไม่ยอมรับรู้โลกภายนอก จึงแสดงออกถึงความนิ่งเฉย


ความนิ่ง(สมควรใช้คำว่า วางเฉย อุเบกขา มากกว่า) จาก การรู้เท่าทัน(วิปัสสนา) ในระดับพระสูตร ก็เรียกว่า สมถะ เช่นกันครับ

แต่ เป็นสมถะ อันเป็นผลจากวิปัสสนา






อ้างคำพูด:
การนิ่งจากการวิปัสสนานั้นเกิดขึ้นได้ทั้งๆที่ใจยังคงรับรู้สิ่งต่างๆตามปกติเหมือนคนทั่วไป แต่เพราะสามารถรับรู้อย่างเท่าทัน ความตื่นเต้นไปตามความรู้สึกต่างๆหมดไป เกิดเป็นความนิ่งเฉยขึ้นมาแทน อุปมาเหมือนการดูหนังดูละคร หากเป็นเรื่องที่เคยดูมาแล้ว เราย่อมทราบดีว่าเรื่องราวจะเป็นอย่างไรและจะจบลงอย่างไร จึงไม่รู้สึกตื่นเต้นเร้าใจไปตามสิ่งที่เห็นอีก..


สำหรับข้อความนี้ เห็นด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มาต่อ จุดสำคัญน่ะครับ




อ้างคำพูด:
ดังนั้น..การฝึกใจ..กับ การฝึกดูใจ นั้นแตกต่างกัน..



ขออนุญาต ใช้คำที่ใช้ในระดับพระสูตรแทนน่ะครับ
คือ ใช้คำว่า "ฝึกจิต" "อบรมจิต" แทน คำว่า "ฝึกใจ"

"การฝึกจิต" หรือ "อบรมจิต"นั้น

มีพระพุทธพจน์รับรอง คือ

จิต.ตํ ทน.ตํ สุขาวหํ
( จิตตัง ทันตัง สุขาวะหัง )
จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้


จิต...ถึงแม้นจะเป็นอนัตตา คือ บังคับไม่ได้ดังใจ ก็จริง
แต่ จิตเป็นสิ่งที่ฝึกได้ อบรมได้ แน่นอน

และ กระบวนการแห่งอริยมรรคที่มีองต์แปด(ศีล สมาธิ ปัญญา)ก็คือ กระบวนการฝึกหรืออบรมจิตตามพุทธวิธี นั่นเอง

การฝึกจิต ก็คือ การประกอบเหตุอันควร เพื่อนำไปสู่ผลอันควร
เป็น การประกอบเหตุ แล้ว ปล่อยให้ผลมันดำเนินไปเอง

การฝึกจิต ไม่ใช่เป็นการทำจิตที่เป็นอนัตตา(บังคับไม่ได้) ให้กลายเป็นจิตที่เป็นอัตตา(บังคับได้) ดังที่ถูกเข้าใจผิด

การสั่งจิตว่า "จงสงบเดี๋ยวนี้ จงหายโกรธเดี๋ยวนี้ จงสงัดจากกามเดี๋ยวนี้" โดย ไม่ประกอบเหตุอันควร นั่นคือ การบังคับจิต ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูก

แต่ "การประกอบเหตุที่จะเป็นเหตุนำจิตไปสู่ความสงบ ที่จะนำจิตไปสู่ความมีเมตตา ที่จะนำจิตไปสู่ความจางคลายจากราคะ " แล้ว ปล่อยให้จิตมันดำเนินไปสู่ผล ....เป็นกุศโลบายที่พระพุทธองค์ท่านประทานไว้ให้แก่ผู้เดินตามที่มีจริตนิสัยบางประเภท สำหรับอบรมจิต ....แน่นอน


ปัจจุบัน
จะมี บางท่านที่เชื่อว่า การฝึกจิต หรือ การอบรมจิต คือ การกดข่มแทรกแซงจิต
คือ แยกระหว่าง การฝึกจิต-อบรมจิตตามพุทธวิธี กับ การกดข่มแทรกแซงจิต บังคับจิต ไม่ออก


การอบรมจิต หรือ ฝึกจิต นี้... ถ้าจะพูดในทางปฏิบัติให้กระชับที่สุด ก็ คือ สติปัฏฐานทั้งสี่ นั่นเอง

และ จิตตานุปัสสนา ก็จัดเป็นการอบรมจิต หรือ ฝึกจิต เช่นกัน

การตามดูพฤติแห่งจิต(หรือ ไตรลักษณ์แห่งจิต)โดยตรง โดยเป็นเพียงการเฝ้าสังเกตุ เช่น จิตตานุปัสสนา สงเคาราะห์เข้าได้กับโยนิโสมนสิการที่รู้เท่าทันสภาวะ (หรือ โอวาทปาติโมกข์ข้อ3). ซึ่ง ก็เป็นพุทธวิธีวิธีหนึ่งในการเจริญปัญญา ซึ่งสามารถยังจิตให้หลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์๕ ได้ แน่นอนน่ะครับ ...ผมไม่ได้ปฏิเสธ จิตตานุปัสสนา น่ะครับ.

เพียงแต่ กำลังจะทักท้วง การใช้โยนิโสมนสิการที่รู้เท่าทันสภาวะ(หรือโอวาทปาติโมกข์ข้อ3) มากล่าวว่า โยนิโสมนสิการที่เพียรละอกุศล(โอวาทปาติโมกข์ข้อ1) และ โยนิโสมนสิการที่เพียรเจริญกุศล(หรือโอวาทปาติโมกข์ข้อ2) เช่น สมาธิภาวนาวิธีต่างๆ เป็นสิ่งที่ผิด-ไม่ควรปฏิบัติ.


อนึ่ง ในความจริงแล้ว

การดูลักษณะของจิต และจิต ในสติปัฏฐานหมวดจิตตานุปัสสนา ...ก็ไม่ใช่ว่า จะห้ามเจริญสมาธิภาวนา แต่อย่างใดเลย

เพราะ ใน พระสูตรที่แสดงจิตตานุปัสสนา ก็มีพระพุทธพจน์ที่ตรัสว่า
จิตโกรธก็ให้รู่ว่าจิตโกรธ จิตไม่โกรธก็ให้รู่ว่าจิตไม่โกรธ ....ไม่ได้ห้ามการที่จิตไม่โกรธ ไม่ได้ห้ามแผ่เมตตา
จิตฟุ้งซ่านก็ให้รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตไม่ฟุ้งซ่านก็ให้รู้ว่าจิตไม่ฟุ้งซ่าน ....ไม่ได้ห้ามการที่จิตสงบ ไม่ได้ห้ามเจริญอานาปานสติ
จิตเป็นมหรคต(ฌาน)ก็ให้รู้ว่าจิตเป็นมหรคต จิตไม่เป็นมหรคต(ฌาน) ก็ให้รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต ....แม้นแต่จิตที่สงบระดับฌาน ก็ไม่ได้ห้ามเช่นกัน
เพียงแต่ในจิตตานุปัสสนา ท่านให้กำหนดรู้ และ ไม่ยึดมั่นถือมั่น แม้นแต่ในสภาวะจิตที่ไม่โกรธ สภาวะจิตที่สงบ นั้นๆ ต่างหาก

ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ จิตที่มีศีล และ สมาธิ(ปลอดจากนิวรณ์)เป็นพื้นฐาน ย่อมสามารถจะเกิดปัญญาได้ง่ายกว่า และ ไม่ผิดเพี้ยน

ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว พระพุทธเจ้าจะไปทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ข้อ1และข้อ2เอาไว้ทำไม?...แสดงเพียงข้อ3ข้อเดียว ก็น่าจะพอแล้วสิ ใช่ไหม...

และ อย่าลืมว่า โอวาทปาติโมกข์นี้ เป็นการประกาศพุทธนโยบายหลักแห่งพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าประกาศต่อพระอรหันต์1250รูป
เป็นแนวพุทธนโยบายที่ไม่ว่าพระอรหันต์ท่านใด จะมีพื้นฐานจริตนิสัย การบรรลุธรรม ต่างกันอย่างไร ก็ใช้นโยบายนี้เป็นหลักในการเผยแผ่พระศาสนาทั้งสิ้น....



ดังนั้น การฝึกจิตด้วยการเจริญสมาธิภาวนา จึงไม่ขัดแย้งกับ การเจริญจิตตานุปัสสนา อย่างที่บางท่านเข้าใจกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 23:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 22:06
โพสต์: 194

อายุ: 38
ที่อยู่: นันทบุรีศรีนครน่าน

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณคุณตรงประเด็นมากครับ นั่นหมายความว่า ทั้งวิปัสสนากรรมฐาน และการทำสมถะ ต่างก็ถือว่าเป็นเครื่องในการปฏิบัติ อย่างหนึ่งใช่ไหมครับ...อย่างจริตของผมนั้น บางครั้งก็ไม่สามารถทำวิปัสสนาฯ ได้ บางครั้งหรือหลายๆครั้งผมก็หลงตามจิตไป ฟุ้งซ่านมาก แทนที่จะดูให้รู้ทันจิต แต่กลังกระโดดลงไปวุ่นวายด้วย ก็เลยงุดหงิดมากเลยครับ อา..ใช่โทสะ และโมหะผมเกิดขึ้นแล้ว ถ้าพยายามจับก็เหมือนกับการไปบังคับให้นิ่ง และบางครั้งถ้านิ่งได้ก็จะไปประดองอีก ซึ่งผู้รู้..ท่านก็ห้ามนักหนา ไอ้การที่จะรับรู้นั้น ยากมากนะครับ แรงไป ก็ไปเพ่ง ปล่อยไปก็หลง จะประคองก็ไปบังคับอีก :b2: :b34: ผมได้ฟังซีดี ของหลวงพ่อปราโมทย์ท่านได้สอนไว้ เหมือนกับที่คุณตรงประเด็นได้แนะนำมา ตรงที่ว่า วิปัสสนาฯ นั้นมาก่อนสมถะ แต่บางคนจริตไม่เหมือนกัน บางคนบางครั้งต้องทำสมถะก่อน เพื่อให้จิตนิ่งเป็นสมาธิ แล้วค่อยทำวิปัสสนากรรมฐาน มันก็ยากอีกล่ะครับ ไอ้ตรงที่ว่าทำสมถะแล้วเมื่อจิตนิ่ง เป็นสมาธิแล้วนั้น รอยต่อที่จะเจริญวิปัสสนาเพื่อพิจารณาดูจิตนั้น นี่แหละครับ ยากกจริงๆ มักจะติดตรงนิ่งนี่แหละครับสำคัญเชียว มันเหมือนกับว่าจะเกียจคร้านต่อเสียแล้ว...เฮ้อ อนาถตัวเองจัง อญุ่ก็ไกลผู้ไกลคน บวชก็ยังไม่ได้บวช เพื่อจะได้มีครูบาอาจารย์ไว้คอยแนะนำสั่งสอนบ้างเพื่อจะได้แนวทางในการปฏิบัติบ้าง ลองผิดๆ อยู่ตลอดเลย จนทำให้ห่างๆจากการปฏิบัติไป จะมีเวลา มีโอกาสก็ตรงนี้แหละครับที่ต้องมาเข้าเวป.สอบถามกัลยามิตรทุกท่านในที่นี้ เวลาส่วนมากก็ช่วงเวลาดึกๆดื่นๆนี่แหละครับ เพราะบ้านพักอยู่ติดกับสำนักงาน เลยสามารถใช้อินเตอร์เนตเวลานี้ได้ อย่างไรเสียก็ช่วยแนะนำให้ด้วยนะครับ :b8: จิตใจนี่ช่างวุ่นวาย สับสนจริงน้อ... :b7:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 23:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 22:06
โพสต์: 194

อายุ: 38
ที่อยู่: นันทบุรีศรีนครน่าน

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอต่ออีกนิดนะครับ พอดีผมโพสต์เข้าไปแล้ก็แลเห็นคุณตรงประเด็นส่งโพสต์เข้ามาอีกก็เลยติดตามอ่านต่อ เลยทำให้ผมระลึกได้ว่า ปัญหาสำคัญอีกอย่างเท่าที่ผมได้พิจารณาดู การปฏิบัติของตนเองนั้น ที่ของกด ชอบเพ่งนั้น เพราะบังเกิดความกลัว กลัวตรงที่ว่าตอนที่เรารู้ว่าจิตเราคิดอะไรนั้น บางครั้งจิตที่เราคิดนั้นไม่เป็นเรื่องไม่ดี เป็นอกุศล ก็เลยกลัวบาปกลัวกรรม จำต้องตัดตอนซะ ก็คือการไปบังคับ มันไม่ให้คิด ก็เลยปฏิบัติไม่ได้ผลอะไร ไม่ก้าวหน้าเลย ช่วยแนะนำผมหน่อยเถอะครับว่า ถ้าเราปล่อยจิตให้มันฟู้งซ่าน เราก็รับรู้ว่าฟุ้งซาน แต่ถ้าฟุ้งซ่านที่เป็นอกุศล คิดเรื่องไม่ดี มันทำให้ผมกลัวบาปนั้น ผมจะมีวิธิอย่างไรที่จะสามารถผ่านตรงจุดนี้ได้..ขอขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ ไผ่ครับ


ตอบเท่าที่ผมพอจะเข้าใจน่ะครับ
ถูก-ผิด ประการใด ขออภัยล่วงหน้า

คือ เรื่อง อกุศลในจิต มันก็สืบเนื่องไปจาก การขาดสติเวลามีผัสสะ และ อาการของจิตที่ปรากฏในขณะนั้น..... ถ้าจิตปรุงต่อไปอีก ไม่ดับลงไปในขณะนั้น(เพราะสติอ่อน) มันก็จะกลายเป็นนิวรณ์ ในเวลาถัดมา

อกุศล หรือ นิวรณ์ ที่เกิดในจิตนี้ มันขึ้นกับท่าทีที่เราปฏิบัติต่อมัน

ถ้า ปฏิบัติด้วยการรู้เท่าทัน เช่นที่ทรงแสดง ใน ธัมมานุปัสสนา นิวรณ์บรรพ คือ
รู้ชัดว่า มีหรือไม่มีอยู่ในจิต
รู้ชัดว่า ที่มีนี้ มีเพราะเหตุใด
รู้ชัดว่า ที่มันดับไป ดับด้วยเหตุใด
รู้ชัดว่า ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะไม่เกิดขึ้นด้วยเหตุใด
และ เห็นสภาวธรรมทั้งหลาย เป็นเรื่อง"สักแต่ว่า" ที่ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
ถ้าอยู่ในหลักการนี้ การปฏิบัติต่อจิต ไม่ว่าจะเป็นการอบรมจิตด้วยสมาธิภาวนาวิธีใดๆ ก็จะจัดเป็นฉันทะ เป็นเหตุแห่งความเจริญ และ ก็จะบ่ายหน้าไปสู่ความสิ้นทุกข์ทั้งสิ้น

แต่ ถ้าปฏิบัติต่อจิต ด้วยการไปตั้งหน้าตั้งตารังเกียจนิวรณ์ เห็นนิวรณ์เป็นศัตรูที่จะต้องกำจัด จนกลายเป็นการปฏิบัติต่อนิวรณ์ด้วยวิภวตัณหา(อยากให้ไม่เกิด หรือ ไม่อยากให้เกิด) ก็จะกลายเป็นความเครียดเมื่อจิตมีนิวรณ์



ท่านผู้รู้ ท่านสอนเรื่อง การใช้นิวรณ์มาเป็นเครื่องสอนใจ(ครู) มาเป็นเครื่องระลึกแห่งสติ เครื่องรู้แห่งจิต

หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย ท่านเคยกล่าวเรื่อง สตินทรีย์ คือ จิตที่มีกำลังแห่งสติมาก ไว้ว่า จิตที่มีสติบริบูรณ์จะสามารถนำอกุศลในจิตมาเป็นเครื่องมือภาวนาได้!!!


หลวงปู่ ชา สุภัทโท ท่านก็เคยได้กล่าวเรื่อง ท่าทีการปฏิบัติต่อนิวรณ์ไว้ อย่างน่าสนใจดังนี้ครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6753

หลวงพ่อท่านให้ภาวนาตั้งท่าทีทัศนะต่อนิวรณ์ที่กำลังรุมเร้ารบกวนจิตใจอยู่ว่า เป็นครูบาอาจารย์หรือเครื่องทดสอบสติปัญญาของตน มากกว่าที่จะมองเห็นนิวรณ์เป็นตัวศัตรูที่น่าเกลียด อันอาจทำให้เกิดความตึงเครียดเป็น วิภวตัณหา ซึ่งเป็นเหตุให้ความไม่อยากให้นิวรณ์นั้นอยู่ในใจของตนทุกข์เพิ่มทวี อีกวิธีการหนึ่งที่หลวงพ่อสอนสำหรับแก้องค์นิวรณ์ คือคำว่า “ไม่แน่”

“เมื่อมันเกิดอะไรขึ้นมาในใจของเรานี่ มันเกิดเป็นอารมณ์ขึ้นมา ที่เราชอบใจก็ตาม เราเห็นว่ามันผิดมันถูกก็ตามเถอะ ให้เราตัดมันไปเลยว่า อันนั้นมันไม่แน่ จะเกิดอะไรขึ้นมาก็ช่างมันเถอะ สับมันลงไป ไม่แน่ ไม่แน่ อย่างเดียว ขวานเล่มเดียวสับลงไป ไม่แน่ทั้งนั้นแหละ มันแน่ตรงที่ไหนล่ะ ถ้าเห็นว่ามันไม่แน่ ทุกสิ่งทุกอย่าง ราคามันก็น้อยลง อารมณ์ทั้งหลายมันเป็นของที่ไม่มีราคาแล้ว ของที่ไม่มีราคาแล้วเราจะเอาไปทำไม”


บทความนี้ สมควรอ่านอย่างละเอียด


เรื่อง การปฏิบัติต่ออกุศลในจิต จึงขึ้นกับ ท่าทีของการปฏิบัติ

ถ้าปฏิบัติด้วยสติปัญญา ที่รู้เท่าทันสภาวะธรรมต่างๆ ก็เป็นฉันทะ นำไปในทางพ้นทุกข์

แต่ ถ้าปฏิบัติด้วยวิภวตัณหา หรือ ไปบังคับจิตจนเกินไป มันก็เป็นความเครียดได้




จะอย่างไรก็ตาม
การไปสรุปว่า การฝึกจิตตามพุทธวิธี เช่น สมาธิภาวนาเป็นสิ่งที่ผิด-ไม่ควรปฏิบัติ คงไม่ถูก...

และ ถ้าการฝึกจิตตามพุทธวิธี เช่น สมาธิภาวนาเป็นสิ่งที่ผิด-ไม่ควรปฏิบัติ จริง ก็คงไม่มีพระพุทธพจน์แสดงไว้ และ ดำรงมา2500กว่าปีได้หรอก



ที่อาจจะผิด ก็คือ ท่าทีและความเข้าใจในการปฏิบัติต่อจิต ต่างหาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.พ. 2009, 11:53
โพสต์: 39


 ข้อมูลส่วนตัว


:b3: ดิฉันเหมือนคุณไผ่ค่ะมีเวลาที่จะปฏิบัติบ้างไม่มีเวลาบ้างและพึ่งจะเริ่มปฏิบัติ ดิฉันขอเรียกว่า
นั่งสมาธินะค่ะ และอยากจะเรียนถามคุณตรงประเด็นบ้างว่า พอเริ่มนั่งสมาธิดิฉันจะดูลมหายใจเข้าและออกพร้อมทั้งบ้างที่เกิดรู้เห็นแสงสีต่างๆในตาที่หลับ และก็รู้ว่าตัวเองตามรู้แสงสีต่างๆในตานั้นไปเรื่อยๆ
สลับกันไปมากับรู้ลมหายใจ ดิฉันปฏิบัติพอจะถูกทางไหมค่ะเนื่องด้วยดิฉันก็ไม่ได้ใกล้ครูบาอาจารย์
เหมือนกันอาศัยเปิดซีดีฟังของพระอาจารย์ปราโมทย์นะค่ะ หรือถ้าใครพอจะเพิ่มเติมหรือแนะนำให้ความเข้าใจเพิ่มก็จะขอบคุณมากค่ะ :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ มือ ญ.ครับ


ถ้าสนใจอานาปานสติ
แนะนำ ศึกษากับท่านอาจารย์มิตซูโอะ

ถ้า ใน กทม. และ ปริมณฑล ลองไปที่
วัดฟ้าคราม
วัดนาป่าพง

และ ถ้าเป็นสตรี สนใจจะปฏิบัติแบบชั่วระยะในเวลาสั้นๆ ลอง ติดต่อ เสถียรธรรมสถาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 14:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 22:06
โพสต์: 194

อายุ: 38
ที่อยู่: นันทบุรีศรีนครน่าน

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบถุณและอนุโมทนา :b8: คุณตรงประเด็นมากเลยครับ ตอนนี้ผม print คำแนะนำของท่านไว้ทำการศึกษาแล้วครับ :b12:เพื่อที่จะได้พิจารณาปฏิบัติต่ไป และต้องล๊อคเวลาเพื่อออกไปปฏิบัติธรรม เพื่อที่จะให้ได้ผลในการปฏิบัติมากขึ้น ขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่งครับ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron