วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 04:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 16:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยิ่งพูดถึงสิ่งที่ลอยๆลางๆในความคิดเนี่ย ตัวปรุงแต่งความคิดหรือสังขาร จะคิดวาดได้กว้างไกล เพราะเป็น

นามธรรม ยิ่งคิดยิ่งเห็นเป็นช่องเป็นฉาก คิดถึงเรื่อง่นิพพานยิ่งบรรเจิด :b20:

ครั้นพูดถึงเรื่องปิดทองฝังลูกนิมิต เรื่องกฐิน ผ้าป่า สังขารปรุงจิตความคิดต่อไม่ได้มากเพราะเป็นรูปธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 มิ.ย. 2010, 16:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 16:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อพิสูจน์อีก สิ่งที่มองเห็นได้ด้วยจักขุ (รูปธรรม) มนุษย์จะคิดวาดได้ไม่กว้างไกล :b1:

รูปภาพ

รูปภาพ


รูปภาพ


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 17:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คงพอเห็นกุสโลบายของบูรพาจารย์บ้างแล้วว่า ทำไมท่านจึงให้เพ่งกสิณบ้าง เพ่งรูปอื่นๆ ซึ่ง่ไม่มีโทษ เป็นต้น

บ้างแล้ว เหตุผลก็คือว่า จิตของผู้ไม่เคยฝึกอบรมมาก่อนเนี่ย จะคิดตกสู่อดีตบ้าง ติดฟุ้งในอนาคตบ้าง

จนชิน

ครั้นจับให้คิดนึกอยู่กับปัจจุบันอารมณ์ ก็จะคอยแต่จะส่ายแส่ดิ้นรนออกจากปัจจุบันเนื่อง ๆ

ท่านเปรียบเหมือนลูกโคที่ยังไม่อดนม ครั้นถูกพรากจากแม่ ก็คอยแต่จะวิ่งกลับไปหาแม่นมร่ำไป


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 มิ.ย. 2010, 17:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 09:41
โพสต์: 65

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงนะค่ะ ที่ร่วมกันออกความคิดเห็น ซึ่งน่าจะได้ขอ้สรุปเรื่อง สัญญากับปัญญาแล้ว ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ที่นำมาแบ่งปันกัน

ขอบพระคุณสำหรับ ปกิณกธรรม ที่คุณกรัชกายนำเสนอด้วยนะค่ะ เป็นประโยชน์
สำหรับผู้อ่านทุกท่าน ซึ่งอาจจะมองห้ามไป สาธุคะ

tongue :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อกันความเข้าใจผิด พึงทำความเข้าใจคำว่า ปัจจุบันอารมณ์ อารมณ์ที่เป็นอดีต

ที่เป็นอนาคต คร่าวๆ




การที่มีผู้เข้าใจผิดเกี่ยวกับความหมายของการเป็นอยู่ในปัจจุบัน หรือ มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์

โดยเห็นไปว่าพระพุทธศาสนาสอนให้คิดถึงสิ่งที่อยู่เฉพาะหน้า กำลังเป็นไปในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้คิดพิจารณา

เกี่ยวกับอดีต หรือ อนาคต ตลอดจนไม่ให้คิดเตรียมการ หรือ วางแผนงานเพื่อกาลภายหน้า

เมื่อเข้าใจผิดแล้ว

ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติธรรม ก็เลยปฏิบัติผิดจากหลักพระพุทธศาสนา

ถ้าเป็นบุคคลภายนอกมองเข้ามา ก็เลยเพ่งว่า ถึงผลร้ายต่างๆที่พระพุทธศาสนาจะนำมาให้แก่หมู่ชนผู้ปฏิบัติ



ความหมายที่ควรเข้าใจเกี่ยวกับ ปัจจุบัน อดีต และอนาคต

ลักษณะสำคัญ ของความคิดชนิดที่ไม่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือ ความคิดที่เกาะติดกับอดีตและเลื่อนลอยไปใน

อนาคตนั้น

พูดได้สั้นๆว่า ได้แก่ ความคิดที่เป็นไปในแนวทางของตัณหา หรือ คิดด้วยอำนาจตัณหา

หรือพูดอย่างภาษาสมัยใหม่ว่า ตกอยู่ในอำนาจอารมณ์ โดยมีอาการหวนละห้อยโหยหาอาลัยอาวรณ์ถึงสิ่ง

ที่ล่วงแล้ว เพราะความเกาะติดหรือค้างคาในรูปใดรูปหนึ่ง หรือเคว้งคว้างเลื่อนลอยฟุ้งซ่านไปในภาพที่

ฝันเพ้อปรุงแต่ง ซึ่งไม่มีฐานแห่งความเป็นจริงในปัจจุบัน เพราะอึดอัดไม่พอใจสภาพที่ประสบอยู่

ปรารถนาจะหนีจากปัจจุบัน



ส่วนความคิดชนิดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

มีลักษณะที่พูดสั้นๆ ได้ว่า เป็นการคิดในแนวทางของความรู้ หรือ คิดด้วยอำนาจปัญญา

ถ้าคิดในแนวทางของความรู้ หรือ คิดด้วยอำนาจปัญญาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เป็นไปอยู่ในขณะนี้

หรือเป็นเรื่องล่วงไปแล้ว หรือ เป็นเรื่องของกาลภายหน้า ก็จัดเข้าในการเป็นอยู่ในปัจจุบันทั้งนั้น


ศึกษาเพิ่มที่

viewtopic.php?f=2&t=22378&p=111293#p111293

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แก้วกัลยา เขียน:
สัญญา กับ ปัญญา นี้เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ขอขอบพระคุณนะค่ะ สาธุคะ :b8:




คร่าวๆนะครับ เพราะมีรายละเอียดอีก อีกทั้งทำงานร่วมกับขันธ์อื่นด้วย

ที่ถามว่า สัญญา กับ ปัญญา เหมือนกันหรือต่างกัน ?

เป็นนามธรรมเหมือนกัน

แต่ต่างกันโดยหน้าที่ และอยู่กันคนละขันธ์ สัญญา เป็นสัญญาขันธ์

ส่วนปัญญา เป็นสังขารขันธ์

สัญญา เก็บข้อมูล

ปัญญา วิจัยข้อมูลที่สัญญารวบรวมไว้

เริ่มลงให้อ่านกันที่นี่ครับ

viewtopic.php?f=7&t=31610

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมชาติ ไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน จัดแบ่งหน้าที่และทำงานร่วมกันลงตัวอย่างน่ามหัศจรรย์

ในกระบวนธรรมนั้น เวทนามีบทบาทสำคัญมาก อารมณ์ใดให้สุขเวทนา สัญญาก็มักกำหนดหมายอารมณ์นั้น

ยิ่งให้สุขเวทนามาก ก็จะกำหนดหมายมาก และเป็นแรงผลักดันให้คิดปรุงแต่งทำการต่างๆ เพื่อให้ได้เสวยสุข

เวทนานั้นมากขึ้น ในกระบวนธรรมนี้เวทนาเป็นตัวล่อและชักจูงใจ เหมือนผู้คอยเสนอให้เอาหรือไม่เอาหรือหลีก

เลี่ยงอะไร

สัญญาเหมือนผู้สะสมเก็บข้อมูลหรือวัตถุดิบ

สังขารเหมือนผู้นำเอาข้อมูลหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ปรุงแปรตระเตรียมทำการ

วิญญาณเหมือนเจ้าของงาน ใครจะทำอะไรคอยรับรู้ไปหมด เป็นทั้งผู้เปิดโอกาสให้มีการทำงานและเป็นผู้รับผล

ของการงาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 มิ.ย. 2010, 19:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2010, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูความหมายคำว่า ปัญญาสักเล็กน้อย


ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว หรือรู้ชัด ได้แก่ ความเข้าใจ ความหยั่งรู้เหตุผล หรือความรู้ประเภท

แยกคัดจัดสรรและวินิจฉัย คือแยกแยะวินิจฉัยได้ว่า จริง เท็จ ดี ชั่ว ถูก ผิด ควร ไม่ควร คุณ โทษ

ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ รู้ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล หรือปัจจัยต่างๆ รู้ภาวะตามเป็นจริงของสิ่งต่างๆ

รู้ว่าจะนำไปใช้หรือปฏิบัติอย่างไร จึงจะแก้ปัญหาได้ หรือให้สำเร็จผลที่มุ่งหมาย เป็นความรู้ระดับใช้งาน

หรือแก้ปัญหา

แต่ปัญญาในระดับที่สูงขึ้นไปท่านหมายถึงเฉพาะความรู้ที่จะใช้แก้ปัญหาชีวิตของมนุษย์ คือ ดับทุกข์


หรือพูดอีกนัยหนึ่ง ความรู้ที่จะทำให้รู้จักดำเนินชีวิตให้ถูกต้องดีงาม ไม่ให้เกิดปัญหา ไม่ให้เป็นที่มา

ของทุกข์ ซึ่งวิธีพูดได้หลายแง่หลายด้าน เช่นว่า ความเข้าใจโลกและชีวิตตามความเป็นจริง หรือรู้อริยสัจ

หรือ มองเห็นปฏิจจสมุปบาท หรือความคิดเหตุผลที่ไม่ถูกนิวรณ์ 5 ครอบงำ หรือที่ท่านแสดงไว้ในความ

หมายของปัญญาสัมปทา ในฐานะคุณสมบัติของอริยสาวกว่า ปัญญาที่หยั่งถึงความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไป

(หรือรู้เท่าทันคติธรรมดาของโลกและชีวิต เช่น เกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเจริญและความเสื่อม)

อันเป็นอริยะ ทะลวงกิเลส (หรือเจาะสัจธรรมได้) อันจะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

แต่ไม่ว่า จะบรรยายโดยสำนวนความอย่างใดก็มีสาระสำคัญอย่างเดียวกัน

ฯลฯ


ดูต่อที่

viewtopic.php?f=2&t=21271&st=0&sk=t&sd=a

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2010, 19:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 09:41
โพสต์: 65

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณนะค่ะ ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม สาธุคะ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร