วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 01:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 47 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2011, 20:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ที่เราจะเป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้จริง
ที่จะรักษาศีลของเราให้สมบูรณ์ โดยเฉพาะศีลข้อแรก
ลูกศิษย์พระพุทธเจ้าที่แท้จริง ต้องไม่ทานเนื้อสัตว์


:b12: :b12:
การไม่ทานเนื้อเป็นเรื่องดีต่อสุขภาพ...
หากจะไม่ทานเนื้อเพราะ..มีจิตเจตนาลดการฆ่าสัตว์..ขอโมทนาสาธุ..ครับ :b8:

แต่...ที่ว่า..
ลูกศิษย์พระพุทธเจ้าที่แท้จริง ต้องไม่ทานเนื้อสัตว์

มันจะเป็นศีลลัพตปรามาส..ไปเสียนะครับ..ทำดีมามากมันจะพลอยเสียของดีไปเพราะหลงนิด ๆ หน่อย ๆ มันน่าเสียดาย...หากหวังไปแค่สวรรค์..แค่พรหม...คิดแบบนี้ก็คงไม่เสียหายอะไร

แต่..ลูกศิษย์พระพุทธเจ้าที่แท้จริง..คงไม่หวังแค่นี้มั้ง.. :b13:

พระโมคคัลนะ..พระสารีบุตร..หากมีคนเอาเนื้อสัตว์ที่สุกแล้วมาตักบาตร..ท่านจะหยิบออก..หรือท่านยังสามารถจะฉันตามนั้น...???..

อ้างคำพูด:
โอ, มหาบัณฑิต! เรากำลังประกาศว่า การกินเนื้อสัตว์เป็นการกินเนื้อบุตรของตนเองอยู่ดั่งนี้ แล้วจะกล่าวไปอย่างไรได้ ที่เราจะบัญญัติให้สาวกของเรากินเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นของจัดไว้ต้อนรับของพวกคนใจอำมหิต เป็นของถูกห้ามโดยท่านสัตบุรุษทั่วไป เต็มไปด้วยมลทิน ปราศจากคุณธรรมใดๆ ไม่เหมาะที่จะบริโภคสำหรับผู้บริสุทธิ์ และเป็นของควรห้ามเด็ดขาด โดยประการทั้งปวง

:b12: :b12:

หากพระพุทธเจ้าสั่งเช่นนี้..พระโมคคัลนะ..พระสารีบุตร..หากมีคนเอาเนื้อสัตว์ที่สุกแล้วมาตักบาตร..ท่านจะต้องหยิบออก..ซิ..จริงไม???

หากพระพุทธเจ้าสั่งเช่นนี้..เหตุใดไม่ทรงบัญญัติห้ามภิกษุฉันเนื้อตามที่พระเทวทัตทูลขอ..ละ???

เข้าใจนัยยะของเรื่องนี้ไหม??...

ยิ่งคำกล่าวที่ว่า...การกินเนื้อสัตว์เป็นการกินเนื้อบุตรของตนเองอยู่..
ยิ่งไม่น่าจะเป็นคำกล่าวของบรมศาสดา...เพราะท่านสอนเรื่องขันธ์ 5..

ร่างที่มีวิญญาณอยู่ก็พอจะเรียกตามสมมุติว่าเคยเป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นบุตร ของเราได้บ้าง..การไปพรากจิตเขาออกจากร่างหรือการฆ่า...มันทำให้เกิดทุกข์เวทนาแก่เขา..มันเป็นบาป
แต่...ร่างที่วิญญาณปราศไปแล้ว...มันเป็นเพียงธาตุ...จิตตัวที่แทนความเป็นพ่อเป็นแม่เป็นลูก..ไปเกิดยังภพอื่นแล้ว...ที่เหลือมันเป็นเพียงธาตุ..ไม่ได้ต่างอะไรกับก้อนหินก้อนดิน..เอามีดไปแยกท่อนแขนท่อนขาออกมามันก็ไม่บาป..อันนี้จริงไหม??

เข้าใจนะว่า...เอาจากตำรับตำราอื่น ๆ มา แต่เราควรเชื่อด้วยปัญญา...ใช้หลักกาลามสูตรเอา..และควรได้ศึกษาอริยะสัจจ 4..ศึกษาปฏิจสมุปบาท..ปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 ...จะยิ่งใช้หลักกาลามสูตรได้ดีขึ้นไปอีก..

และ..ที่อ่านมา..รู้สึกว่ายังไม่มีคำอธิบายเลยว่า...

การกินเนื้อจะเป็นการสร้างหนี้เวรกรรมให้แก่ตนได้อย่างไร

คิดว่าเป็นการสนทนากันธรรมดานะครับ.. :b12: ..เผื่อคนอื่นปัญญาดี ๆ อาจจะปิ๊ง..ไปไกลกว่าเรา ๆ ..ที่มาพูดมากอยู่ในขณะนี้ก็ได้ :b32: :b32: :b32:

ปล. Link ที่ให้มามันไม่ทำงานครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2011, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2008, 20:41
โพสต์: 448

ที่อยู่: bangkok, Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


หนังสือร้องทุกข์ของสัตว์เดรัจฉาน

เจ้าแม่ถือมังสวิรัติ อย่าฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเอามาเซ่นไหว้

http://mindcyber.com/home/index.php?page=2

-

มีข้อให้คิดพิจารณา ว่าทำไมผู้มีอาชีพค้าขายสัตว์เพื่อฆ่า หรือเลี้ยงเพื่อ ฆ่า ต่างต้องประสพเคราะห์กรรมร้ายแรง จนถึงขั้นหายนะ ป่วยหนักจนพิการแม้แต่ลูกหลานต่างต้องรับผลกรรมหนักจ ากการทำปานาติบาต เจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ พิกลพิการก็มากหลาย ดังที่มีข่าวอยู่เนือง ๆใน สื่อหนังสือพิมพ์หรือ
หนังสือกฎแห่งกรรม ของ ท่าน ท เลียงพิบุล กินเนื้อสัตว์ บาปหรือไม่

แม้แต่ ศีลข้อ 1 ก็ระบุชัดเจน ถึงการไม่ฆ่า ไม่ทำลายชีวิต คนทานเนื้อจะรู้หรือไม่รู้ ต่างก็มีส่วนไม่มากก็น้อยในการทำให้เกิดวงจรการฆ่า การทำลาย

และยังระบุถึงผลกรรม ต่อการทำปานาติบาต ก่อให้เกิดโรคภัยร้าย เจ็บป่วย อายุสั้น และก่อนตายส่วนใหญ่จะทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยเรื้อรังด้วยโรคต่าง ๆ หรือบางรายป่วยเป็นอัมพฤษ อัมพาต เป็นเวลานาน ๆ

----คำตอบมีอยู่แล้วในท้ายบทความนี้

มารู้จักศีลกันดีกว่า


ชีวิต คือ.......

..........ความเป็นอยู่ที่ควรดำเนินตามหลักแห่งจริยธ รรมในการประพฤติที่ถูกต้องจึงจะมีความสุขเป็นส่งที่ม นุษย์ทกคนปรารถนาอันเป็นผลที่จะพึงได้ แต่จะเกิดผลได้จะต้องมีหลักการที่จะต้องปฏิบัติ
ในทางพระพุทธศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้สั่งสอนให้ม นุษย์ตั้งอยู่ในคุณธรรมขั้นพื้นฐานที่เหมาะสมแก่การป ระพฤติปฏิบัติ พระพุทธองค์จึงได้กำหนดวางแบบแผนแห่งการประพฤติปฏิบั ติไว้เป็นหลักฐาน แบบแผนที่พระพุทธองค์ได้วางไว้เป็นแนวทางแห่งการประพ ฤติปฏิบัติ คือ หลักของเบญจศีล หรือ ศีล ๕ ประการนั้นเอง
การตั้งใจประพฤติปฏิบัติงดเว้นในศีล ๕ ประการนี้ ชื่อว่า เป็นการรักษากายวาจาให้เรียบร้อย เบญจศีลนั้นเป็น จริยธรรมในระดับต้น หรือขั้นพื้นฐาน สำหรับให้มนุษย์ประพฤติความดีให้คงที่ ดังนั้นมนุษย์ทั้งหลายผู้ต้องการความสุข จะต้องพยายามปฏิบัติตามหลักแห่งเบญจศีลและหลักของเบญ จธรรมซึ่งเป็นหลักธรรมที่เป็นของคู่กัน
การปฏิบัติตามหลักแห่งเบญจศีลนี้ได้เรียกว่า ผู้มีมนุษยธรรม คือเป็นผู้มีธรรมที่ทำให้บุคคลเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์


การรักษาศีล



รักษาศีลข้อที่ ๑ คือข้อ ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปังทังสัมมาฐิยามิ

การรักษาศีลข้อนี้คือห้ามฆ่าสัตว์ทุกชนิดรวมทั้งมนุษ ย์ด้วย การฆ่าสัตว์ทำให้ศีลขาดนั้นมีองค์ประกอบ ๕ อย่าง ดังนี้

๑. สัตว์นั้นมีชีวิต
๒. รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
๓. มีความตั้งใจที่จะฆ่า
๔. มีความพยายามที่จะฆ่า
๕. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

เมื่อครบด้วยองค์ ๕ นี้ศีลจึงขาด แต่ถ้า ๑ - ๔ ศีลยังไม่ขาด แต่มีความเศร้าหมองไม่สมบูรณ์ การฆ่าสัตว์นั้นทำให้ศีลขาดเท่ากัน แต่บาปกรรมนั้นไม่เท่ากัน

สมมุติว่าฆ่าสัตว์ตัวที่มีบุญคุณแก่เรา มีส่วนช่วยเหลือช่วยงานแก่เรา ทำประโยชน์ให้แก่เรา เช่น วัว ควาย ช้าง ม้า เป็นต้น ถ้าฆ่าธรรมดาก็มีบาปมากอยู่แล้ว ถ้าฆ่าด้วยความโกรธก็จะได้รับผลของบาปมากขึ้นเท่าตัว

แต่ถ้าสัตว์ตัวที่ถูกฆ่านั้นเป็นพระโพธิสัตว์ลงมาใช้ ชาติ ก็จะได้รับผลของบาปนั้น ๑๐ เท่าทีเดียว เมื่อตายไปก็จะได้ลงไปสู่นรกทันที จะได้รับกรรมถูกไฟนรกแผดเผาให้เกิดความทุกข์ทรมานยาว นานทีเดียว เมื่อพ้นจากนรกแล้วก็จะได้มาเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ให้เขาฆ่ามาเป็นอาหารหลายร้ายชาติ

ถ้าได้มาเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์ เพราะยังมีวิบากกรรมติดตามมาสนองได้อีก เช่นทำให้อวัยวะไม่สมประกอบ จะทำให้ตาบอด หูหนวก ง่อยเปลี้ยเสียขา แขนหัก ขาขาด ปวดหลัง ปวดเอว ปวดตามร่างกาย หาความสุขไม่ได้เลย หรือเป็นโรคนานาชนิด ทำให้ชีวิตทนทุกข์ทรมาน หรือเกิดมาแล้วมีอายุสั้นพลันตายด้วยอุบัติเหตุต่าง ๆ นี้คือผลกรรมที่ตามสนอง

ถ้าฆ่าสัตว์อื่นที่ไม่มีบุญคุณแก่เรา ถ้าฆ่ามากไปก็ตกนรกได้ เมื่อพ้นจากนรกแล้วจะเกิดมาเป็นมนุษย์ก็ทำให้ชีวิตหา ความสุขไม่ได้ อายุยังไม่ถึงกาลเวลาของอายุขัยก็ตายไปเสีย

ถ้าฆ่าสัตว์เล็ก ๆ น้อย ๆ เกิดมาในชาติหน้าผลของบาปกรรมนั้นจะทำให้ร่างกายเศร้ าหมอง ผิวพรรณหยาบกร้านมีโรคผิดหนังประจำตัว มีการเจ็บป่วยเมื่อยตัวเป็นประจำ ดังที่ได้อธิบายมานี้เป็นผลบาปกรรมในการฆ่าสัตว์นั่น เอง



การใช้ปัญญาพิจารณาในผลของบาปกรรมที่ผิดศีลข้อ ๑ นี้ ก็เพื่อให้เข้าใจในผลของกรรมที่ตามสนองให้ได้เกิดควา มกลัวในบาปกรรมนั้น ๆ ให้เกิดความสำนึกในชีวิตเขาและชีวิตเรา ที่มีความรักความหวงแหนในชีวิตเหมือนกับเรา

สัตว์ทุกตัวตลอดเราด้วยก็ไม่อยากตายเพราะถูกฆ่าเหมือ นกัน ฉะนั้นจึงไม่ควรที่จะอ้างว่า สัตว์เกิดขึ้นมาเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์ แต่ถ้าจับตัวมนุษย์ที่ชอบพูดอย่างนี้ไปให้เสือกินไปใ ห้จระเข้กินดูซิเขาจะว่าอย่างไร สัตว์ทุกตัวมีความกลัวต่อความตายทั้งนั้น เห็นมนุษย์อยู่ที่ไหนก็ต้องหลบหลีกปลีกตัวเพื่อความป ลอดภัยแก่ชีวิตของเขา ถึงขนาดนั้นก็พ้นเงื้อมมือมนุษย์ใจบาปนี้ไปไม่ได้ พากันตามไล่ตามฆ่าเอามาเป็นอาหาร ไม่มีความเมตตาสงสารเขาบ้างเลย แต่ละวันมีความสะดุ้งหวาดผวากลัวต่อความตายอยู่ตลอดเ วลา ไม่กล้าที่จะออกหากินอะไรได้ตามใจ

ถ้าเราตกอยู่ในสภาพอย่างนี้จะมีความทนทุกข์ทรมานขนาด ไหน ถึงอย่างไรก็ขอให้คิดถึงชีวิตเขาชีวิตเราดูบ้าง หัวอกเขาอย่างไรหัวอกเราก็เป็นอย่างนั้น ไม่ควรเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย ให้ถือว่าเขาเป็นญาติเป็นเพื่อนที่เกิดแก่เจ็บตายเหม ือนกันกับเรา มนุษย์ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีจิตใจสูง แต่ขอให้สูงด้วยความรัก ให้สูงด้วยความสงสารต่อสัตว์ทั้งหลาย จึงจะชื่อว่าเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นมนุษย์ที่มีคุณธรรม ให้สัตว์อื่นได้พึ่งบารมีสมกับที่ว่ามนุษย์มีจิตใจสู งนี้ด้วยเถิด

ถ้าเราใช้ปัญญาพิจารณาในลักษณะนี้อยู่บ่อย ๆ ใจเราก็จะค่อยเปลี่ยนแปลงไปในทางดี จะมีความเมตตาต่อสัตว์ มีความสงสารสัตว์มากขึ้น ในที่สุดเราก็จะไม่กล้าฆ่าสัตว์อีกเลย นี่คือมีปัญญาในการรักษาศีล หรือศีลเกิดขึ้นจากปัญญาก็ว่าได้

ถ้ารับศีลมาแล้ว แต่ขาดปัญญาในการรักษา ศีลนั้นจะขาดหายไปโดยไม่รู้ตัว ฉะนั้น สุตมยปัญญาและจินตมยปัญญา ต้องเกิดมาก่อนศีลแน่นอน นี้คือสัมมาทิฏฐิ คือปัญญาความเห็นชอบในการรักษาศีลนั้นเอง

เริ่มต้นจะรักษาศีลสัก ๑ - ๒ ข้อก็ได้ เพื่อฝึกความพร้อมของตัวเองให้มีความกล้าหาญขึ้น จะรักษาศีลข้อใดข้อหนึ่งก่อนก็ได้ ไม่จำเป็นจะรักษาเรียงตามตำรา ศีลข้อไหนที่จะรักษาได้ง่ายที่สุดก็ต้องรักษาข้อนั้น จะทิ้งช่วงในการรักษาห่างกันอย่างไร ก็ให้อยู่กับความสามารถของตัวเราเอง ต่อไปจะเพิ่มการรักษาข้อไหน ก็ให้เราเลือกเอง

ใช้เวลาไม่นานนักเราก็จะมีศีล ๕ ได้อย่างสมบูรณ์ การรักษาศีลด้วยวิธีนี้จะไม่มีการเสื่อม และศีลก็ไม่ขาดด้วย เพราะมีสติปัญญาในการรักษา มีศรัทธาความเชื่อมั่นว่า กรรมชั่วย่อมเกิดขึ้นจากผู้ไม่มีศีล ความเพียรพยายามจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ก็เพี ยรพยายามอยู่เสมอ ดังคำว่าความเพียรอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น นี้เป็นสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบระดับศีล ๕ นั่นเอง



คัดลอกจากหนังสือสัมมาทิฏฐิ
โดย หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ



กระเพาะ ของคนไงครับ เพราะมีซากศพนับล้านๆร่างอยู่ในนั้น


"ชีวิตใครใครก็รัก ไม่ว่าคนหรือสัตว์
ทำไม ถึงต้องเบียดเบียนกัน"

เป็นมนุษย์ เป็นได้ด้วยใจสูง
เหมือนหนึ่งยูง มีดีที่แววขน
เข้าใจต่ำ เป็นได้แต่เพียงคน
ย่อมเสียที ที่ตนได้เกิดมา
(พระพุทธทาส ภิกขุ)

(ที่มา จากหนังสือธรรม และบทความธรรมของวัพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร พิษณุโลก http://mcu.rip.ac.th/watraj/sil1.in.html
และรวมทั้งขอบคุณพี่ผ่องศรี ประกรแก้ว ที่ส่งบทความดีๆมาฝากครับ)



แก้ที่แต่ละคนด้วยการ ที่เราแต่ละคน ไม่เป็นต้นเหตุของการเบียดเบียน และเหตุของการเบียนใหญ่ที่สุด คือการกิน การบริโภค


*********************************************

ในปัจจุบันมีข้อยืนยันจากการวิจัย งานวิชาการแพทย์ โดยแพทย์ผู้มีชื่อเสียงระดับโลก หลากหลายมหาวิทยาลัยชื่อดัง นานาชาติ ต่างมีข้อมูล คล้าย ๆ กัน ว่า อาหารเนื้อสัตว์ก่อให้เกิดโรคร้าย แรง หลาย ๆ ชนิด ต่อมนุษย์ เช่น มะเร็ง ร้าย โรคหัวใจ ไขมันอุดตัน มีผู้ป่วยกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก และเสียชีวิตปีละกว่า 50 ล้านคน

ดังเอกสารอ้างอิงจาก
สถาบันมะเร็ง แห่ง สหรัฐ
สมาคมโรคหัวใจแห่ง สหรัฐ
สถาบันสุขภาพนานาชาติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2011, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2008, 20:41
โพสต์: 448

ที่อยู่: bangkok, Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อคืนดูรายการ ตี10 บาปกรรมมีจริง คิดจะเลี้ยงปลาเลี้ยงกบขายเลยขอคิดอีกที

<<


ส่วนสัตว์ที่นำมาเป็นอาหารเพื่อยังชีพ สัตว์เหล่านี้ก่อนจะฆ่าก็ขออโหสิกรรมก่อนบอกเขาว่าเขาเกิดมาเพื่อเป็นอาหาร อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย เรียกว่าเป็นอโหสิกรรม และกรรมเหล่านี้สามารถทำกรรมดีไปลบล้างได้เรียกว่าทำให้กรรมชั่วที่เราทำไม่ให้ผลเช่นทำแล้วเอาไปแบ่งให้เพื่อนบ้านพี่ป้าน้าอา เรียกว่า เป็นทานบารมีและเป็นเมตตาบารมีแค่นี้สัตว์ที่เราฆ่าก็จะพลอยได้อานิสงส์จากส่วนนี้ไปด้วย
นมัสการพระคุณเจ้าด้วยความเคารพนอบน้อมครับ ผมขออนุญาตแสดงความคิดเห็นแย้งกับข้อความข้างต้นนี้นะครับว่า สัตว์เขาเสียชีวิตโดยน้ำมือของเรา แล้วเขาจะอโหสิให้เหรอครับ เขาบอกเราหรือเปล่าครับว่า"ไม่เป็นไรนะ ชั้นอโหสิให้"ผมเห็นมีแต่ว่า สัตว์รู้ตัวว่าจะถูกฆ่ามีแต่ดิ้นรนหนีตาย ขัดขืนอย่างสุดชีวิตด้วยความรักตัวกลัวตายเหมือนเราๆท่านๆแหละครับ หรือคิดปลอบใจตัวเองเอา เพราะอยากกินเขา ปาณาติบาตครบองค์แล้ว อย่างไรก็ผิดศีล และต้องรับวิบากกรรมเต็มๆอยู่แล้ว จะอ้างว่าเขาเกิดมาเป็นอาหารของคน เอแล้วถ้าเสือหรือจรเข้มันก็คิดว่าคนก็คืออาหารของมันได้ไหมครับ ผมได้รับคำสั่งสอนไว้ว่า กรรมดีกรรมชั่ว ลบล้างกันไม่ได้ เราเป็นมรดกของกรรม ต้องชดใช้ทุกๆอย่าง เราทำกรรมอย่างไร เราก็ต้องได้รับวิบากกรรมอย่างนั้น ในอนาคตไม่ว่าดีหรือชั่ว ขึ้นอยู่กับความแรงของกระแสกรรม ผมอยากให้ทุกท่านทราบสัจจะที่ไม่บิดเบือนผิดเพี้ยนคำสอนของพระพุทธองค์ ไม่ใช่เอาความคิดเห็นของตนเอง(มีกิเลสปนอยู่)มาตีความคำสอน
ที่ว่าสัตว์เจ้าของซากศพของเขาจะได้รับอานิสงค์ไปด้วย ผมว่าเขาไม่ยินดีด้วยหรอกครับ ที่ตนเองถูกเขาปล้นชีวิต(ก่อนตายได้รับทุกข์เวทนาแสนสาหัส)แล้วมาอ้างว่าจะได้มีส่วนส่วนบุญส่วนกุศลด้วย ขอแสดงความเคารพด้วยความนอบน้อมครับ


อาชีพต้องห้าม 5 อย่าง
1. ค้าอาวุธ
2. ค้ามนุษย์
3. ค้าสัตว์เพื่อนำไปฆ่า
4. ค้ายาพิษ
5. ค้ายาเสพติด
การฆ่าสัตว์ขายก็ผิดทั้งอาชีพต้องห้ามและศีลข้อ 1


ตามที่คุณสุโขทัยว่าเลยครับ ผมก็ได้ศึกษาที่พระพุทธองค์สอนในข้อนี้มานานแล้ว ในขั้นตอนการวางแผนว่าจะเลี้ยงอะไร ประกอบอาชีพอะไร ก็จะหลีกเลี่ยง 5อาชีพเหล่านี้ไว้ก่อน ถ้าคนที่ไม่มีทางเลือกก็คงจะอยู่ที่กรรมเก่าครับ
สำหรับอาชีพที่ควรงดเว้น 5 อย่างสำหรับอุบาสกอุบาสิกานะครับ ข้อที่3 ห้ามค้าสัตว์เพื่อนำไปฆ่าในที่นี้หมายถึง สัตว์ที่เราเลี้ยงแล้ว เราฆ่าเขากับมือ เพื่อที่จะนำไปขายเอาเงืน ยกตัวอย่างเช่น เราเป็นเจ้าของธุรกิจโรงฆ่าสัตว์เลี้ยงวัว ควาย หมูเป็นต้นแล้วนำสัตว์ที่เราเลี้ยงนั้นมาฆ่าเพื่อนำไปขายครับ แต่ถ้าเราเลี้ยงไว้แล้วเราขายต่อเราไม่ได้ฆ่าเอง มันไม่ครบองค์ประกอบครับ ต้องไปดู อรรถกถาพระไตรปิฎกที่ท่านกำกับไว้ด้วยครับ ส่วนข้อ 3 นั้นจริงๆแล้วคือ ห้ามฆ่าสัตว์ขายครับ ไม่ใช่ค้าสัตว์เพื่อนำไปฆ่า ในข้อนี้มีข้อวินิจฉัยว่าผิดไหม มีองค์ประกอบดังนี้ครับ
1.เราเลี้ยงสัตว์นั้น
2.เราฆ่าสัตว์นั้นด้วยมือเรา
3.เราขายสัตว์ที่เราฆ่า
4.เราได้เงินจากการขายสัตว์ที่เราเลี้ยงและฆ่า
มีองค์ประกอบครบดังนี้ถึงจะเรียกได้ว่าผิดครับ ถ้าองค์ประกอบไม่ครบก็ถือว่าไม่ผิด
ส่วนองค์ของปาณาติบาต ห้ามฆ่าสัตว์มีดังนี้
๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต

๒. ปาณสัญญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต

๓. วธกจิตตัง มีจิตคิดฆ่า

๔. อุปักกโม มีความพยายาม

๕. เตนมรณัง สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
ถ้ามีองค์ประกอบทั้ง5 ใครทำลงไปผิดศีลครับ แต่ถ้าไม่ครบเช่นเดินไปเหยียบมดแมลง ตามข้างทางแบบนี้ ขับรถชนหมาแบบนี้ไม่ผิดศีลครับเพราะองค์ประกอบไม่ครบ และเราก็ไม่ได้มีเจตนา
[/quote]
อันนี้ก็เหมือนกันครับ ที่ผมขออนุญาตแย้งครับ มิจฉาวนิชา 5 อย่าง ข้อที่ 2 แปลว่า ห้ามค้ามนุษย์ ผมอยากให้ไปตรวจสอบบาลีก่อนนะครับ ไม่มีคำว่ามนุษย์เลยครับ ที่จริงข้อที่2 นั้นท่านห้าม"ค้าสัตว์เป็น"ข้อที่ 3 มังสวนิชชานั้นแปลว่า"ห้ามค้าเนื้อสัตว์"หรือสัตว์ตายครับ แปลเพี้ยนไปเพื่อจะได้กินต่อน่ะไม่ต้องกลัวหรอกครับ คนที่จะรอดจากวิบากกรรมอันนี้มีเพียงแค่"เขาโค"เท่านั้นแหละครับ เมื่อเทียบกับ"ขนโค" เรื่องการเลี้ยงสัตว์ที่เขาเอาไว้ฆ่าเพื่อเป็นอาหาร คนเลี้ยงไม่ทราบเลยเหรอครับ ว่าเขาจะเอาไปฆ่า พระพุทธองค์เป็นพระผู้บริสุทธิคุณ พระผู้ไกลจากกิเลส(ความอยาก) ครบถ้วนไม่มีช่องว่างสนับสนุนให้สร้างกรรมชั่วหรือมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยแต่อย่างใดหรอกครับ ในเวปนี้มีแต่วิญญูชน ย่อมมีวิจารณาญาน วิเคราะห์ได้ว่าอะไรถูกอะไรควร ตามสัจจะ ไม่ใช่เล่นภาษาแล้วตีความเข้าข้างตนเอง
มีคนกล่าวว่า เรากลัวบาปกลัวกรรมเราก็ซื้อที่เขาฆ่าแล้ว เอามากินก็แล้วกัน จะได้ไม่บาป ผมว่าไม่เห็นแก่ตัวไปเหรอครับ ที่ยกบาปให้คนฆ่าสัตว์ขายอย่างเดียว
การซื้อเนื้อสัตว์ ก็คือการจ้างเขาฆ่าแหละครับ หลีกไม่พ้นกรรมเวรหรอกครับ เลี้ยงสัตว์ เพื่อให้เขาไปฆ่าทำอาหาร ก็คือการสนับสนุนการฆ่าแหละครับ ไม่พ้นเวรพ้นกรรมหรอกครับ เลือกเอาครับ ว่าจะอยู่ส่วนเขาโคหรือขนโคครับ



Sangreal คิดว่า ความจริงก็คือความจริง ทำกรรมด้วยเจตนา เช่น ฆ่าสัตว์ จะกินเอง หรือจะเอาไปขายเพื่อยังชีพ

มันก็บาปทั้งนั้นแหละค่ะ ความแรงของกรรมขึ้นกับเจตนาที่ทำ และความพยายามก่อกรรมจนสำเร็จผล

การที่บอกว่า สัตว์นั้นเิกิดมาเพื่อเป็นอาหารของตนแล้วฆ่ากินได้ บอกว่าไม่บาป หรือบาปน้อย อันนี้ คิดเข้าข้างตัวเอง

เพื่อความสบายใจมากกว่า

สำหรับเรื่องเลี้ยงปลาเลี้ยงกบเนี่ย ถ้าเป็นเรื่องการทำเกษตร Sangreal ตั้งใจว่า จะไม่ทำอะไรที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์เพื่อเอาไปฆ่า หรือเอาไปขาย เพราะเราก็ไม่รู้ว่าคนซื้อจะเอาไปเลี้ยงหรือฆ่า ก็เมื่ิอก่อนที่บ้านเคยเลี้ยงหมูค่ะ แค่สองตัว เลี้ยงแล้วก็รัก ดูแลมันทุกวันๆ เล่นกันหยอกกัน ตอนค่ำก็สุมไฟไล่ยุง บางทีแม่ก็ไปนั่งตบยุงให้ไอ้อู๊ดด้วย พอถึงวันที่มีคนมาซื้อ พ่อก็แอบเดินหนีไปร้องไห้ แม่ก็ยืนเช็ดน้ำตา เรายังเด็ก ก็ถามแม่ว่า "แม่จ๊ะ เขาจะลากไอ้อู๊ดไปไหน จะพาไอ้อู๊ดของหนูไปไหน" แม่บอก "เดินหนีไปลูก อย่ามองๆ" เราก็ร้องไห้เลย "ฮือๆ เขาจะเอาไอ้อู๊ดไปฆ่าหรอ ทำไมเราเลี้ยงมันไว้ไม่ได้ล่ะแม่" แม่ก็กอดเราแล้วเอามือปิดตาเราไว้ จนเขาลากไอ้อู๊ดสองตัวขึ้นรถและขับออกไป ตั้งแต่นั้นมา ทั้งบ้านของ Sangreal ตั้งใจว่า เราจะไม่เลี้ยงสัตว์ขายอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นตัวอะไร เล็กหรือใหญ่ก็ตาม เพราะเลี้ยงแล้วก็รักทุกตัว ทำใจไม่ได้และรู้สึกผิดมากๆ ที่ขายให้เขาไปฆ่า

อันนี้คือความหลังที่ทำให้ตัดสินใจว่า ถ้าจะทำการเกษตร ขอทำ "กสิกรรม" แบบธรรมชาติ เท่านั้นค่ะ กสิกรรมคือ ทำเกี่ยวกับพืชเท่านั้น ไม่ทำเกี่ยวกับสัตว์เลย เพราะหนึ่ง กลัวบาปกรรม สอง เลี้ยงแล้วก็รักค่ะ ทำใจไม่ได้ถ้าขายให้เขาไปฆ่า ถ้าจะเลี้ยงสัตว์คือเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนเท่านั้น ไม่เลี้ยงไว้กินด้วย ความตั้งใจสูงสุดของ Sangreal คือ วันหนึ่งอีกไม่นานจะเป็นมังสวิรัตค่ะ จะได้สบายใจแน่นอน
ทุกวันนี้ก็พยายามกินเนื้อสัตว์น้อยลง ช่วงเทศกาลกินเจก็กินนานเป็นเดือนเลย ฝึกเอาไว้


ตราบใดที่เรายัง "เกิด" เราก็มีโอกาสทำกรรมด้วยกันทั้งนั้น ทั้งกรรมดี และกรรมชั่ว

เราไม่อาจหลีกหนีกฎข้อนี้ไปได้ และแทบจะไม่มีบุคคลที่เรียกว่า "ความชั่วไม่มี ความดีไม่ปรากฏ" ด้วย


ในเมื่อเราหลายคนในที่นี้ ได้ทำบุญมาดีมากๆ ในกาลก่อน จนส่งผลให้เกิดมาดี คือเกิดมาได้พบพระพุทธศาสนา เห็นทางสว่างแล้ว

เพราะพระพุทธเจ้าท่านได้ทรงชี้ทางที่ถูกที่ควรแล้ว คราวนี้มันก็อยู่ที่เราเองละค่ะ ว่าจะเลือกทำชีวิตให้เป็นแบบไหน

จะเลือกทำชีวิตแบบที่ถูกใจ ตรงกับจริต ความต้องการของตัวเอง แต่ผิดหลักธรรม และก่อให้เกิดกรรมไม่ดี ซึ่งเราจะต้องชดใช้ในวันหนึ่งข้างหน้า ตามผลที่ทำ ไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม มันก็เป็นเรื่องจริงที่เราต้องยอมรับ เพราะว่าเราเป็นผู้ "ก่อกรรม" นั้นเอง

แต่ว่าในเมื่อเราก็รู้แล้ว ว่ามันบาป มันไม่ดี ถ้ากลัวบาป กลัวกรรมจะมาตามสนองในวันข้างหน้า ก็สู้พยายาม "ทำกรรมไม่ดี" ให้มันน้อยลง จนเกิดความเคยชินเป็นนิสัย และมีสติรู้ตัวเสมอ หากจะ "ทำกรรมไม่ดี" ในวันหนึ่งเราอาจเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ (ศีล 5) ได้นะคะ ของแบบนี้ มันอยู่ที่ความมุ่งมั่นตั้งใจค่ะ แรกๆ อาจจะยากหน่อย แต่ด้วยความมุ่งมั่นพยายามอย่างจริงจัง วันหนึ่งเราต้องทำได้แน่

"เราเลือกได้ ว่าจะเป็นแบบไหน อยากจะดีหรือเลว จะมามืดไปสว่าง หรือมามืดไปมืด ก็เราทั้งนั้นแหละจะ "เป็นผู้ทำ" เองทั้งสิ้น

ถ้าไม่สบายใจ กลัวบาป กลัวกรรม ก็อย่าไปทำมันเลย ถ้ายังต้องทำอยู่ เพราะจำเป็นหรือเหตุสุดวิสัยอะไรก็ตามแต่ ก็ต้องยอมรับ ว่าวันหนึ่งเราจะต้องรับผลกรรมอันนั้น เว้นเสียแต่ว่าเราจะได้รับการอโหสิกรรมจากเจ้ากรรมนายเวรนั้น กรรมจึงจะไม่ส่งผล

เมื่อคืน Sangreal ดูช่อง 5 รายการกรรมลิขิต มีผู้ชายคนนึงเป็นพนักงานขับรถตู้ของโรงพยาบาล เป็นหน่วยฉุกเฉินกู้ชีพ เขารักความสะอาดมาก พอเจอแมว เจอนก มาขี้รดสถานที่ เลอะรถตู้ที่เขาเช็ดเสร็จใหม่ๆ บ่อยๆ เข้าเลย แค้นจนพยายามฆ่าแมวและนก ด้วยการโยนข้ามรั้วสูงที่มีเหล็กแหลม ผลคือ แมวโดนเหล็กแหลมเสียบขาเหวอะหวะเลย แล้วก็ยังเอายามาเบื่อนกกระจอกด้วย นกกินข้าวคลุกยาเบื่อแล้วบินร่วงมาตายเป็นสิบๆ ตัว เขายืนมองด้วยความสะใจ เพื่อนๆ ที่ทำงานเตือนด้วยความหวังดี เขาก้บอก ว่าเค้าทำบุญมาเยอะ ทำบาปแค่นี้จะเป็นไรไป แค่ "สัตว์ตัวเล็กๆ " แค่นก แค่แมว ไม่บาปหรอก

ต่อมาไม่นาน แค่สามเดือนหลังจากฆ่านก ฆ่าแมว เขาก็ประสบอุบัติเหตุรถตู้ที่ขับไปช่วยคนบาดเจ็บ ชนสิบล้อพ่วง เขาบาดเจ็บสาหัสที่ขาเพราะมีเหล็กแหลมแทงทะลุขาทั้งสองข้าง แต่ไม่ตาย เมื่อรักษาตัวจนออกจากโรงพยาบาลมา ก็ยังไม่สามารถเดินเหินได้ตามปรกติ เพราะเหล็กมันแทงใกล้เส้นเอ็นหน้าแข้ง ก็เลยเรียกว่าหายก็ไม่คืนสู่สภาพเดิม 100 เปอร์เซ็นต์ นี่คือสิ่งที่เขาคิดและสำนึกว่าเป็นผลกรรมที่ทำไว้กับแมวตัวนั้น และยังหวั่นใจว่า กรรมที่เขาเอายาเบื่อคลุกข้าวให้นกกินล่ะ จะมาสนองเขาอย่างไรและแบบไหน


ต่อมาไม่นาน เขาก็ได้ดื่มกาแฟที่เป็นส่วนผสมของน้ำยาเช็ดล้อรถ ซึ่งเขาเป็นคนรินใส่ขวดน้ำดื่มไว้เพราะกระบอกฉีดอุดตัน รุ่นน้องที่ทำงานไม่รู้เลยเอามาเติมลงกระติกต้มน้ำร้อนในช่วงกะดึก พอเช้ามา รุ่นน้องอีกคนก็ชงกาแฟของโปรดของเขามาให้ เขาก็ดื่มซะหมดแก้ว ผลก็คือ ปวดท้องทุรนทุรายหนัก ในที่สุด ที่รอดมาเล่าเรื่องกรรมของเขาในรายการนี้ได้เพราะ เพื่อนๆ ช่วยพาไปส่งโรงพยาบาลล้างท้องช่วยชีวิตไว้ทัน เขาบอกว่า บุญของเขาที่อยู่ใกล้โรงพยาบาล ไม่งั้นคงไม่รอดแน่ และโชคยังดีอีกอย่างคือ แมวตัวที่โดนเหล็กเสียบขารอดตายมาได้ แต่ลูกๆ ของมันไม่รอด เขาก็สำนึกในผลกรรมนี้ และตั้งใจว่าจะไม่ฆ่าสัตว์อีก เพราะกลัวเวรกรรมตามสนอง ท้ายรายการ ท่าน ว.วชิรเมธี มาพูดให้สติ ว่า การมีโทสะ ทำให้ขาดสติ เลยทำกรรมได้ง่าย ถ้ามีสติ ไม่ถูกครอบงำด้วยความโกรธ จะมีวิธีแก้ปัญหาที่ดีกว่านี้ จะไม่ต้องทำกรรมแบบนี้

ฟังเพลง "กรรมลิขิต" ร้องโดย แอ๊ด คาราบาว ที่เปิดในรายการนี้ แล้วก็คิดๆๆ ตามเพลง

เวรกรรมตามทันกันในชาตินี้ คิดดูให้ดีใครจะก่อกรรมทำเข็ญ ก่อตอนเช้าได้รับลงทัณฑ์ตอนเย็น มองให้เห็นความเป็นลิขิตแห่งกรรม สามคำจำไว้กรรมลิขิต ทำชีวิตให้ขึ้นสูงหรือตกต่ำ ใครทำกรรมดี กรรมดีย่อมช่วยหนุนนำ ใครเคยก่อกรรมทำเวรไว้...กรรมลิขิต

(ถ้าเนื้อเพลงไม่ถูกต้อง ก็ขออภัยด้วยนะคะ เพราะจำจากที่เปิดในรายการ ไม่ได้มีเนื้อเพลงจริง)

และชอบโคลงบทนี้จัง จำมาจากรายการวิทยุเล่าเรื่องผี ของกพล ทองพลับ หรือดีเจป๋อง ที่เอามาเปิดเป็นสปอตสั้นๆ ประกอบรายการ ฟังสมัยเรียนมหาวิทยาลัยค่ะ ไม่ทราบนามผู้แต่งค่ะ แต่ฟังแล้วคิดๆๆๆ มากเลย

ทำดีดีส่งให้ เห็นผล
ทำชั่วชั่วก็ดล ชั่วให้
ชั่วดีดุจตราตน ตีบอก ไว้นา
ใครชั่วใครดีไซร้ สืบได้ ด้วยกรรม







ทุกชีวิตมีค่าเท่ากันครับ เท่ากับ 1 เหมือนกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 00:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ไปยก..ไปอ้างอิง..จากไหนมาครับ...

ตาลาย..ไม่รู้ว่าใครคุยอยู่กับใคร.. :b23: :b23: :b23:

แล้ว..ผมจะต้องคุยกับใครดีหรอ :b10: :b10: :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 12:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ความจริงอ่านหัวข้อที่โพสท์นี้นานแล้ว แต่ไม่ได้แสดงความคิดเห็น วันนี้อยากให้ข้อคิดสักนิด คือเรามีสุราชั้นดี ที่เขาให้เป็นของขวัญปีใหม่จำนวนมาก มีตั้งแต่ราคาขวดละพันกว่าบาท จนถึงขวดละห้าหกพันบาท เมื่อเราปฏิบัติมากขึ้น มันเกิดศีลปฏิบัติ สุราชั้นดีมันก็ไม่อยากไปเอง ก็งดมันมานานแล้ว สะสมไว้ ให้ใครต่อมันก็เสียความรู้สึกของคนที่เจาะจงให้เรา มานั่งคิดดู ถ้าเอาสุราชั้นดีนี้ขายให้ร้านรับซื้อสุราเก่า แล้วเอาเงินนี้ไปไถ่ชีวิตโคกระบือที่โรงฆ่าสัตว์จังหวัดปทุมธานี น่าจะมีประโยชน์กว่า สุราชั้นดีนี้เพียงไม่กี่ขวดสามารถแลกชิวิตสัตว์ใหญ่มีคุณ อายุ2-4ปี น้ำหนัก200กิโลกรัมได้ตัวหนึ่งไม่ให้ถูกฆ่า(ตัวละ16000บาท โทรไปถามมาแล้ว) แล้วเขามีพระทำพิธีนิดหน่อย เราก็ถือโอกาส อุทิศส่วนกุศลให้ผู้มอบสุรามาน่าจะดีเหมือนกัน ส่วนโคที่เราไถ่ชิวิตมา เขามีหมอจากโครงการหลวง มาตรวจสุขภาพ เข้าสถานที่ฟื้นฟู20วัน แล้วมอบให้ชาวไร่ชาวนายืมไปใช้งานแบบห้ามฆ่าห้ามขาย อันนี้ยังไม่ได้ทำเพียงแต่โทรไปถามร้านซื้อสุราเก่า และทางโรงฆ่าสัตว์ไว้เมื่อเช้านี้ มันเป็นไปได้ทั้ง2ทาง จึงไม่น่าจะมีปัญหา
..จะว่าไม่เคยทำก็ไม่ได้ ความจริงไถ่ไปแล้วที่วัดพืชอุดม ปีก่อนโน้นเป็นวัว 1ตัว ปีที่แล้วเป็นกระบือ 1ตัว ก็ครบแล้วช่วยชิวิตสัตว์ใหญ่ทั้งโค-กระบือ แต่วันนี้มันเป็นความคิดจะแปลความโลภจากการครอบครองสุราชั้นดี อันเป็นของไม่ดีในทางธรรมให้เป็นประโยชน์ ละความโลภได้แถมได้อภัยทานใหญ่ ก็เป็นอุบายเครื่องเตือนสติมาเล่าสูกันฟัง
....เรื่องคุณค่าชิวิตนี้ ยังมีคนไม่เข้าใจกันอยู่มาก บางคนไปเจอะพระทุศีลเข้าถึงกับตั้งปฏิธานว่า จะไม่ทำบุญกับพระแล้วต่อไปนี้ ถ้าอยากทำบุญจะไปทำบุญให้อาหารสุนัขพิการอย่างเดียว อันนี้เข้าใจผิด ในเรื่อง นี้พระพุทธองค์ตรัสเรื่องคุณค่าชิวิตไว้ และเรียงลำดับของคุณค่าชิวิตที่กำเหนิดตามกรรมและบุญกุศลไว้ดังนี้
.....สัตว์ที่เกิดจากคูตร(ขี้วัวขี้ควาย)เช่นแมลงวันเป็นต้น มีคุณค่าชิวิตน้อยกว่าสัตว์ที่เกิดจากไข่เช่นเป็ดไก่ สัตว์ที่เกิดจากไข่ ก็มีคุณค่าชิวิตน้อยกว่าสัตว์ที่เกิดจากครรภ์ เช่นหมาแมว วัวควาย สัตว์ที่เกิดจากครรภ์หลายชิวิต ยังมีค่าน้อยกว่ามนุษย์ทุศีลคนหนึ่ง มนุษย์ทุศีลหลายคน ยังมีคุณค่าน้อยกว่ามนุยษ์ที่มีศีลสมบูรณ์เพียงคนเดียว จากมนษย์มีศีลสมบูรณ์ ก็ยังน้อยกว่าโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และพระอรหันต์ตามลำดับ อันนี้คือคุณค่าด้านบุญกุศล บอกไว้เพียงเพื่อความเข้าใจ ให้รู้จักทำบุญให้ตรงบุญ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวพทธควรรู้ ไม่ใช่ทำตามๆกันไปมันจะเป็นลีลัพพรตปรามาส(ความเชื่อที่ไม่ประกอบด้วยเหตด้วยผล)...วันนี้ก็พูดมากอีกแล้ว./เจโตวิมุติ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 18:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอโมทนาสาธุ...ด้วยครับ..กับโครงการสุราไถ่ชีวิตโคกระบือ :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2011, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2008, 20:41
โพสต์: 448

ที่อยู่: bangkok, Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


เจโตวิมุติ เขียน:
:b42: ความจริงอ่านหัวข้อที่โพสท์นี้นานแล้ว แต่ไม่ได้แสดงความคิดเห็น วันนี้อยากให้ข้อคิดสักนิด คือเรามีสุราชั้นดี ที่เขาให้เป็นของขวัญปีใหม่จำนวนมาก มีตั้งแต่ราคาขวดละพันกว่าบาท จนถึงขวดละห้าหกพันบาท เมื่อเราปฏิบัติมากขึ้น มันเกิดศีลปฏิบัติ สุราชั้นดีมันก็ไม่อยากไปเอง ก็งดมันมานานแล้ว สะสมไว้ ให้ใครต่อมันก็เสียความรู้สึกของคนที่เจาะจงให้เรา มานั่งคิดดู ถ้าเอาสุราชั้นดีนี้ขายให้ร้านรับซื้อสุราเก่า แล้วเอาเงินนี้ไปไถ่ชีวิตโคกระบือที่โรงฆ่าสัตว์จังหวัดปทุมธานี น่าจะมีประโยชน์กว่า สุราชั้นดีนี้เพียงไม่กี่ขวดสามารถแลกชิวิตสัตว์ใหญ่มีคุณ อายุ2-4ปี น้ำหนัก200กิโลกรัมได้ตัวหนึ่งไม่ให้ถูกฆ่า(ตัวละ16000บาท โทรไปถามมาแล้ว) แล้วเขามีพระทำพิธีนิดหน่อย เราก็ถือโอกาส อุทิศส่วนกุศลให้ผู้มอบสุรามาน่าจะดีเหมือนกัน ส่วนโคที่เราไถ่ชิวิตมา เขามีหมอจากโครงการหลวง มาตรวจสุขภาพ เข้าสถานที่ฟื้นฟู20วัน แล้วมอบให้ชาวไร่ชาวนายืมไปใช้งานแบบห้ามฆ่าห้ามขาย อันนี้ยังไม่ได้ทำเพียงแต่โทรไปถามร้านซื้อสุราเก่า และทางโรงฆ่าสัตว์ไว้เมื่อเช้านี้ มันเป็นไปได้ทั้ง2ทาง จึงไม่น่าจะมีปัญหา
..จะว่าไม่เคยทำก็ไม่ได้ ความจริงไถ่ไปแล้วที่วัดพืชอุดม ปีก่อนโน้นเป็นวัว 1ตัว ปีที่แล้วเป็นกระบือ 1ตัว ก็ครบแล้วช่วยชิวิตสัตว์ใหญ่ทั้งโค-กระบือ แต่วันนี้มันเป็นความคิดจะแปลความโลภจากการครอบครองสุราชั้นดี อันเป็นของไม่ดีในทางธรรมให้เป็นประโยชน์ ละความโลภได้แถมได้อภัยทานใหญ่ ก็เป็นอุบายเครื่องเตือนสติมาเล่าสูกันฟัง
....เรื่องคุณค่าชิวิตนี้ ยังมีคนไม่เข้าใจกันอยู่มาก บางคนไปเจอะพระทุศีลเข้าถึงกับตั้งปฏิธานว่า จะไม่ทำบุญกับพระแล้วต่อไปนี้ ถ้าอยากทำบุญจะไปทำบุญให้อาหารสุนัขพิการอย่างเดียว อันนี้เข้าใจผิด ในเรื่อง นี้พระพุทธองค์ตรัสเรื่องคุณค่าชิวิตไว้ และเรียงลำดับของคุณค่าชิวิตที่กำเหนิดตามกรรมและบุญกุศลไว้ดังนี้
.....สัตว์ที่เกิดจากคูตร(ขี้วัวขี้ควาย)เช่นแมลงวันเป็นต้น มีคุณค่าชิวิตน้อยกว่าสัตว์ที่เกิดจากไข่เช่นเป็ดไก่ สัตว์ที่เกิดจากไข่ ก็มีคุณค่าชิวิตน้อยกว่าสัตว์ที่เกิดจากครรภ์ เช่นหมาแมว วัวควาย สัตว์ที่เกิดจากครรภ์หลายชิวิต ยังมีค่าน้อยกว่ามนุษย์ทุศีลคนหนึ่ง มนุษย์ทุศีลหลายคน ยังมีคุณค่าน้อยกว่ามนุยษ์ที่มีศีลสมบูรณ์เพียงคนเดียว จากมนษย์มีศีลสมบูรณ์ ก็ยังน้อยกว่าโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และพระอรหันต์ตามลำดับ อันนี้คือคุณค่าด้านบุญกุศล บอกไว้เพียงเพื่อความเข้าใจ ให้รู้จักทำบุญให้ตรงบุญ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวพทธควรรู้ ไม่ใช่ทำตามๆกันไปมันจะเป็นลีลัพพรตปรามาส(ความเชื่อที่ไม่ประกอบด้วยเหตด้วยผล)...วันนี้ก็พูดมากอีกแล้ว./เจโตวิมุติ.


--------------------------------------
ขออนุโมทนา ด้วย คะ กับความคิดดี ๆ แบบนี้
จะเริ่ม ต้นเลย พอดี มีผู้หลักผู้ใหญ่ มิตรสหาย ได้มอบสุราชั้นดี หลาย ยี่ห้อไว้นานหลาย ๆ ปีแล้ว
ให้คุณพ่อ และ ท่าน ไม่ได้แตะต้องเลย เพราะ ไม่เสพสุรา ทั้งงานเลี้ยง สังคม งดหมด
มานานหลังได้ศึกษา ปฎิบัติธรรม สาย ลพ วิริยังค์ วัดธรรมมงคล ศิษย์สายลป มั่น ปัจจุบัน ลพ มีอายุ
ครบ 90 ปีแล้ว แต่ยังแข็งแรง เดินทางไปเทศนาสั่งสอนธรรมที่ตปท แคนาดา เน้นการปฎิบัติ กรรมฐาน

อย่างไรก็ตาม ถ้าท่านพระอาจารย์จะเริ่ม โครงการดี ๆ แบบนี้ช่วยแจงประชาสัมพันธ์ด้วย
จะได้ร่วมบุญอนุโมทนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2011, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2008, 20:41
โพสต์: 448

ที่อยู่: bangkok, Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


ไปยก..ไปอ้างอิง..จากไหนมาครับ...

ตาลาย..ไม่รู้ว่าใครคุยอยู่กับใคร..

แล้ว..ผมจะต้องคุยกับใครดีหรอ
----------------------------------------------------------------
แนะนำให้ไปหาฟัง สนทนา เรื่อง มังสะวิรัติ โดย ศ ดร อาจอง ชุมสาย
ซึ่งถือมังสะวิรัติมานานกว่า 50 ปีแล้ว

หรือ ฟังธรรม จาก ลพ ประสิทธ ถาวโร หรือ ลพ ครูบาศรีวิชัย และพระอาจารย์อีกมากหลาย
ที่ถือ มังสะวิรัติ เพราะ สาเหตุอันใด แม้แต่ ลพ ลี วัดอโศการาม หลังอาพาธด้วยโรคภัยไข้เจ็บบ่อย ก่อนมรณภาพ
ก็ได้เทศนาสั่งสอน มีการบันทึกในหนังสือ ตีพิมพ์ เรื่องมังสะวิรัติ ตัดวิบากกรรม จากการเจ็บป่วย
เพราะวิบากกรรม จากการบริโภคเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะ ท่านอาจารย์พุทธทาส ภิกขุ ได้เทศนาสั่งสอน และ
เขียนหนังสือหลาย ๆ เล่ม
เกี่ยวกับเรือ่งมัสะวิรัติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2011, 23:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b12:
กระผมหมายถึง...

กระผมกำลัง..สนทนากับท่านอยู่..

จู่ ๆ ท่านก็เอาการสนทนาของใคร(ก็ไม่รู้)มา..แปะให้อ่าน..

ก็เลย..งง..งง..นะครับ
:b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2011, 18:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ไปมาแล้ววันนี้ ไถ่ได้แค่ 1 ตัวก็ตามที่วางแผนไว้..../เจโตวิมุติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2011, 20:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุด้วยครับผม.... :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2011, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2008, 20:41
โพสต์: 448

ที่อยู่: bangkok, Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธศาสนากับมังสวิรัติ



โดย



พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ (วันจันทร์) ป.ธ.๙, ศษ.บ.,พธ.ม.(พระพุทธศาสนา), Ph.D. (Buddhist Studies)



คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คัดลอกจาก 404 - Not Found
ความนำ
สมัยหนึ่ง ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ พระเทวทัตพร้อมด้วยพระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัตต์ เข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ กราบทูลขอวัตถุ ๕ ประการ ดังนี้ (๑) ภิกษุควรอยู่ป่าตลอดชีวิต (๒) ภิกษุควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต (๓) ภิกษุควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต (๔) ภิกษุควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต (๕) ภิกษุไม่ควรฉันปลาและเนื้อ พระพุทธตรัสห้ามว่า
“อย่าเลยเทวทัตต์ ภิกษุใดปรารถนาก็จงอยู่ป่า ภิกษุใดปรารถนาก็จงอยู่ บ้าน ภิกษุใดปรารถนาก็จงเที่ยวบิณฑบาต ภิกษุใดปรารถนาก็จงยินดีการ นิมนต์ ภิกษุใดปรารถนาก็จงถือผ้าบังสุกุล ภิกษุใดปรารถนาก็จงยินดีผ้า คฤหบดี เราอนุญาตรุกขมูล(การอยู่โคนไม้)ตลอด ๘ เดือน(นอกฤดูฝน) เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ (๑)ไม่ได้เห็น (๒)ไม่ได้ยิน (๓)ไม่ได้รังเกียจ”
เรื่องนี้ปรากฏในคัมภีร์พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ และมีกรณีตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่งคือ สีหเสนาบดี เดิมนับถือศาสนาเชน เมื่อมีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ฟังธรรม บรรลุธรรมเป็นโสดาบัน นิมนต์พระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ฉันภัตตาหารในเรือนพวกนิครนถ์(เชน)เที่ยวกล่าวหาว่า สีหเสนาบดีฆ่าสัตว์มาทำเป็นอาหารถวายพระสงฆ์ พระสมณโคดมก็ฉันเนื้อสัตว์นั้น ครั้นสีหเสนาบดีทราบคำกล่าวหาก็ชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง
ภิกษุฉันเนื้อสัตว์ผิดพระวินัยหรือไม่ ?
จากกรณีตัวอย่าง ๒ เรื่องนี้ สรุปได้ในว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงห้ามภิกษุฉันปลาและเนื้อ ถามว่า พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุฉันเนื้อสัตว์หรือไม่ ? มีเนื้อความแห่งสิกขาบทที่ ๙ ในโภชนวรรค พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๒ เล่มว่า สมัยหนึ่ง พระฉัพพัคคีย์(กลุ่มภิกษุ ๖ รูป) ออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉัน ความทราบถึงพระพุทธเจ้า ทรงตำหนิแล้วทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า “ก็ภิกษุใดออกปากขอโภชนะอันประณีตเช่นนี้ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม มาเพื่อตนแล้วฉัน ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์”
ต่อมามีกรณีภิกษุเป็นไข้ ไม่กล้าออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉัน จึงไม่หายจากอาการไข้ ความทราบถึงพระพุทธเจ้า จึงทรงอนุญาตให้ออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉันได้ ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้เป็นอนุบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุไม่เป็นไข้ ออกปากขอโภชนะอันประณีตเช่นนี้ คือ เนยใส เนย ข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม มาเพื่อตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์”
คำว่า ปลา ในสิกขาบทนี้ ได้แก่ สัตว์ที่เที่ยวไปในน้ำ คำว่า เนื้อ ในสิกขาบทนี้ ได้แก่ เนื้อของสัตว์บกที่มีเนื้อเป็นกัปปิยะ นั่นคือเป็นเนื้อที่เหมาะสม ภิกษุที่ไม่เป็นไข้ ออกปากขอมาเพื่อตน ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ ครั้งที่ขอ ภิกษุรับไว้ด้วยตั้งใจว่า จะฉันของที่ได้มา ต้องอาบัติทุกกฎ ภิกษุฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน ถามว่า ภิกษุออกปากขอโภชนะอันประณีต(โดยเฉพาะกรณีปลาและเนื้อ)มาเพื่อตนแล้วฉัน ในกรณีไหนที่ไม่ต้องอาบัติ ? มี ๙ กรณีไม่ต้องอาบัติ(ไม่ผิดพระวินัย) คือ (๑) ภิกษุเป็นไข้ (๒) ภิกษุเป็นไข้ออกปากขอมาแล้วหายเป็นไข้จึงฉัน (๓) ภิกษุฉันโภชนะที่เหลือของภิกษุไข้ (๔) ภิกษุออกปากขอจากญาติ (๕) ภิกษุออกปากขอจากคนปวารณา (๖) ภิกษุออกปากขอเพื่อภิกษุอื่น (๗) ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน (๘) ภิกษุวิกลจริต (๙) ภิกษุต้นบัญญัติกรณีของภิกษุณีก็มีลักษณะเหมือนกับภิกษุ แต่ต้องอาบัติต่างกัน กล่าวคือ ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ออกปากขอเนื้อมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีที่เป็นไข้ออกปากขอเนื้อมาฉันได้
ท่าทีต่อการกินเนื้อสัตว์
ในเบื้องต้นต้องแยกประเด็นออกให้ชัดเจนว่า ภิกษุฆ่าสัตว์ผิดพระวินัยหนักบ้าง เบาบ้างแล้วแต่กรณี คฤหัสถ์ฆ่าสัตว์ผิดศีลข้อปาณาติบาตแน่นอน เพราะฉะนั้น คำถามที่ว่า ภิกษุฉันเนื้อผิดพระวินัยหรือไม่ ? หมายถึงฉันเนื้อที่คนอื่นนำมาถวาย
ประเด็นที่ว่า ภิกษุฉันเนื้อผิดพระวินัยหรือไม่ ? ภิกษุฉันเนื้อมีทั้งที่ผิดพระวินัยและไม่ผิดพระวินัยดังกล่าวแล้ว เพื่อความชัดเจน ต้องแยกประเด็นอภิปราย ดังนี้
ประเด็นที่ ๑ พุทธเจ้าทรงห้ามภิกษุฉันเนื้อ ๑๐ อย่าง คือ

(๑)เนื้อมนุษย์

(๒)เนื้อช้าง


(๓)เนื้อม้า

(๔)เนื้อสุนัขบ้าน


(๕)เนื้องู

(๖) เนื้อราชสีห์หรือสิงโต


(๗) เนื้อเสือโคร่ง

(๘) เนื้อเสือดาว


(๙) เนื้อหมี

(๑๐) เนื้อสุนัขป่า



ภิกษุฉันเนื้อต้องห้าม ๑๐ อย่างดังกล่าว ผิดพระวินัยหนักบ้างเบาบ้างแล้วแต่กรณี เช่น ภิกษุฉันเนื้อมนุษย์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุฉันเนื้อช้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ฉันเนื้อเสือโคร่ง ต้องอาบัติทุกกฎ เป็นต้น
ประเด็นที่ ๒ ภิกษุฉันเนื้อชนิดอื่นนอกเหนือจากที่ทรงห้ามไว้ ๑๐ อย่างนั้น ถ้าเป็นการฉันเนื้อที่เขาเจาะจงฆ่าทำมาถวาย กล่าวคือ ภิกษุรู้เห็น หรือได้ยิน หรือนึกรังเกียจสงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อให้ตนบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ
ประเด็นที่ ๓ ภิกษุฉันเนื้อชนิดอื่นนอกเหนือจากที่ทรงห้ามไว้ ๑๐ อย่างนั้นเหมือนกัน ถ้าเป็นการฉันโดยไม่พิจารณาก่อน ต้องอาบัติทุกกฎ
ประเด็นที่ ๔ ภิกษุไม่เป็นไข้ ออกปากขอโภชนะอันประณีตเช่นนี้ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ(นอกเหนือจากเนื้อต้องห้าม ๑๐) นมสด นมส้ม มาเพื่อตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ประเด็นที่ ๕ ภิกษุฉันเนื้อชนิดอื่นนอกเหนือจากที่ทรงห้ามไว้ ๑๐ อย่างนั้น เป็นเนื้อที่บริสุทธิ์โดยเงื่อนไข ๓ อย่าง คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟัง และไม่นึกรังเกียจ และฉันโดยพิจารณาก่อน ไม่ต้องอาบัติ ทั้งนี้ ต้องอยู่ในกรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้ (๑) ภิกษุเป็นไข้ ออกปากขอจากผู้อื่นมาเพื่อตนแล้วฉัน (๒) ภิกษุเป็นไข้ออกปากขอมาแล้วหายเป็นไข้จึงฉัน (๓) ภิกษุออกปากขอจากญาติ (๔) ภิกษุออกปากขอจากคนปวารณา (๕) ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน
สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ ภิกษุณีอุบลวรรณาอยู่ในกรุงสาวัตถี เข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตเข้าไปพักผ่อนในป่าอันธวัน ขณะนั้นพวกโจรลักโค ฆ่าชำแหละเอาเนื้อ ย่างสุกแล้วคัดเลือกเนื้อดี เอาใบไม้ห่อแขวนไว้ใกล้ภิกษุณีอุบลวรรณา โดยมีเจตนาจะถวาย ภิกษุณีอุบลวรรณารู้เจตนาจึงถือเอาเนื้อนั้นเหาะไปยังพระเวฬุวันวิหาร ฝากเนื้อไว้กับพระอุทายี เพื่อน้อมนำไปถวายพระพุทธเจ้า
กินเนื้อสัตว์ผิดศีลข้อปาณาติบาตหรือไม่ ?
เกณฑ์ในการตัดสินว่ามีการล่วงละเมิดศีลข้อปาณาติบาตหรือไม่ มีอยู่ ๕ ประการ คือ
(๑) สัตว์มีชีวิต
(๒) รู้ว่าเป็นสัตว์มีชีวิต
(๓) มีจิตคิคจะฆ่า
(๔) มีความพยายามฆ่า
(๕) สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
เมื่อองค์ประกอบครบ ๕ อย่างนี้ ถือว่าผิดศีลหรือล่วงละเมิดศีลข้อนี้ ถ้าไม่ครบก็ถือว่ายังไม่ล่วงละเมิด แต่ชื่อว่าทำให้ศีลข้อนี้ทะลุ (ขาดตรงกลาง) ทำศีลข้อนี้ให้ด่าง ทำให้ศีลข้อนี้พร้อย เพราะฉะนั้น ต่อถามที่ว่า กินเนื้อสัตว์ผิดศีลข้อปาณาติบาตหรือไม่ ? จึงตอบได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ
(๑) ฆ่ากินเองผิดศีลข้อปาณาติบาต
(๒) กินเนื้อสัตว์ที่คนอื่นฆ่าไว้แล้ว ไม่ผิดศีลข้อปาณาติบาต แต่จะเหมาะสมหรือไม่ เป็นประเด็นที่จะอภิปรายต่อไป
กินเนื้อสัตว์เหมาะสมหรือไม่ ?
(๑) ประเด็นทั่วไป
คำว่า "ถูกต้อง" กับคำว่า "เหมาะสม" มีนัยต่างกัน "ถูกต้อง" หมายถึงไม่ผิดบทบัญญัติด้านพระวินัยหรือศีลธรรม ส่วนประเด็นเกี่ยวกับความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ต้องอภิปรายคำว่า "สุจริต" กับคำว่า "ยุติธรรม" ก่อน ซึ่งทั้ง ๒ คำนี้มีนัยต่างกัน
คำว่า "สุจริต" มีนัยบ่งถึงความถูกต้องเชิงศาสนา เช่น พระพุทธศาสนาแสดงกายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ มโนสุจริต ๓ กล่าวเฉพาะกายสุจริต ๓ คือ (๑) เว้นจากการฆ่าสัตว์ (๒) เว้นจากการลักฉ้อ (๓) เว้นจากการประพฤติผิดในกาม จะเห็นว่า กายสุจริตข้อหนึ่งคือเว้นจากการฆ่าสัตว์ คนที่มีกายสุจริตอย่างหนึ่งคือเว้นจากการฆ่าสัตว์ รักษาศีลข้อปาณาติบาตบริสุทธิ์บริบูรณ์
ส่วนคำว่า "ยุติธรรม" มีนัยบ่งถึงความเหมาะสม ยอมรับกันทุกฝ่าย หรือเป็นจุดจบของปัญหา ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องในบางกรณี เช่น ในกระบวนการยุติธรรมทางศาล การตัดสินคดีบางอย่างอาจถูกต้องตามกระบวนการยุติธรรม แต่ต้องยอมรับว่าในบางคดีอาจไม่ถูกต้องนัก คนที่ทำผิดมากอาจผิดน้อยขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน คนที่ผิดน้อยอาจผิดมาก ถ้าหาเหตุผลมาแสดงความบริสุทธิ์ไม่ได้
๒.๑ คฤหัสถ์กินเนื้อสัตว์ ถ้าไม่ได้ฆ่าเอง ย่อมไม่ผิดศีลทุกกรณี
๒.๒ พระภิกษุฉันเนื้อสัตว์ ถ้าเป็นเนื้อต้องห้าม ๑๐ อย่าง ผิดพระวินัย แม้จะเป็นเนื้อชนิดอื่นจากเนื้อต้องห้าม ถ้าไม่บริสุทธิ์ด้วยเงื่อนไข ๓ อย่างดังกล่าว ถือว่าผิดพระวินัยเช่นเดียวกัน
มีคำอยู่ ๓ คำที่ต้องนำมาพิจารณาเพื่อตอบคำถามที่ว่า กินเนื้อสัตว์เหมาะสมหรือไม่ คือ
(๑)ศีลธรรม หรือวินัย หรือกฎหมาย
(๒)สุจริต
(๓) ยุติธรรม
เรื่องของศีลธรรมหรือวินัย หรือกฎหมาย เป็นเรื่องของหลักการ ผิดก็คือผิด มีบทกำหนดโทษชัดเจน ถ้าเป็นศีลธรรมหรือวินัยของพระภิกษุสามเณรก็เป็นทางใจ โทษทางสังคม ถ้าเป็นกฎหมายบ้านเมืองก็ทางแพ่งทางอาญาแล้วแต่กรณี
เรื่องที่สุจริตหรือไม่สุจริต เป็นเกณฑ์ความประพฤติที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องตามหลักธรรมทางศาสนา
ส่วนเรื่องยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม แบ่งเป็น ๒ ส่วนคือ
ส่วนที่ ๑ เป็นข้อเท็จจริง เช่น กรณีการอ้างสิทธิที่จะพึงมีพึงได้ เมื่อมีคนกลุ่มหนึ่งได้สิทธิ ย่อมมีคนอีกกลุ่มหนึ่งเสียสิทธิ การได้สิทธิถือเป็นความยุติธรรมสำหรับกลุ่มที่ได้สิทธิ แต่ถามว่า ยุติธรรมสำหรับกลุ่มที่เสียสิทธิหรือไม่ ? หรือกรณีการกินเนื้อสัตว์ เมื่อมีการกินเนื้อสัตว์ ย่อมมีการฆ่าสัตว์ ผู้ที่กินอาจคิดว่า สัตว์อื่นเกิดมาเป็นอาหารของเขา เป็นสิทธิของเขาที่จะกินอะไรก็ได้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ข้อเท็จจริงก็คือว่า ชีวิตของสัตว์จำนวนมากถูกทำลายไป นี่เป็นข้อเท็จจริง
ส่วนที่ ๒ เป็นความรู้สึก เช่น กรณีการเลื่อนขั้นเงินเดือนของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีตำแหน่งเท่ากัน ทำงานในกลุ่มเดียวกัน แต่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนไม่เท่ากัน นาย ก. ทำงานดีเอาใจใส่ต่องาน มีประสิทธิภาพในการทำงาน ประสิทธิผลของงานดีกว่า จึงได้รับการเลื่อนเงินเดือนมากกว่า นาย ก.รู้สึกมันยุติธรรมสำหรับตัวเองแล้วที่ได้ทุ่มเทมาตลอดทั้งปี นาย ข. ไม่เอาใจใส่ต่องาน ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ ประสิทธิผลของงานก็ต่ำ จึงได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนต่ำกว่า แต่นาย ข. รู้สึกว่าไม่ยุติธรรมสำหรับตัวเอง เพราะตัวเองมีตำแหน่งเท่ากันนาย ก. และทำงานเดียวกันอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับนาย ก. นี่เป็นความรู้สึก
สรุปได้ว่า คฤหัสถ์กินเนื้อสัตว์ถ้าไม่ได้ฆ่าเอง ย่อมไม่ผิดศีล และเป็นพฤติกรรมสุจริต แต่ไม่ยุติธรรมแน่นอน พระภิกษุฉันเนื้อสัตว์ ถ้าไม่ผิดเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น ย่อมไม่ผิดพระวินัย และเป็นพฤติกรรมสุจริต แต่ไม่ยุติธรรมเช่นเดียวกัน ถามว่า "เพราะเหตุไร จึงไม่ยุติธรรม ?"
สามัญสำนึกบอกให้ทราบว่า "สัตว์ทุกตัวตนรักสุข เกลียดทุกข์ สัตว์ทุกชนิดรักชีวิต รักตัวกลัวตาย" การกินเนื้อสัตว์ทำให้เกิดการฆ่าสัตว์ แม้ผู้กินจะไม่ได้ฆ่าเอง แต่การกินทำให้เกิดการฆ่าทั้งโดยตรงและโดยอ้อม อาจมีคำโต้แย้งว่า "ถึงเราไม่กิน คนอื่นก็กิน สัตว์ต่าง ๆ ก็กินกันและกันเป็นอาหาร สัตว์ก็ต้องถูกฆ่าอยู่นั่นเอง" คำโต้แย้งนี้ไม่เป็นสากล เราน่าจะถามในประเด็นอื่น ๆ บ้าง เช่น
(๑) มนุษย์กินอาหารประเภทอื่นที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์ สามารถมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่ ?
(๒) การกินเนื้อสัตว์ ถึงแม้จะไม่ได้ฆ่าเอง แต่ก็มีส่วนส่งเสริมให้เกิดการฆ่าสัตว์ เหมือนกรณีรัฐบาลทุ่มงบประมาณซื้อมันสำปะหลัง ถึงแม้รัฐบาลจะไม่ได้ปลูกเอง แต่ก็มีส่วนส่งเสริมให้มีการปลูกมันสำปะหลังมากขึ้น ใช่หรือไม่ ?
(๓) ทุกคนรู้ว่าการดื่มกาแฟมีผลเสียต่อสุขภาพ ไม่อยากจะให้มีการผลิตกาแฟ แต่ทุกคนก็ยังดื่มกาแฟ การที่ทุกคนดื่มกาแฟ มีผลทำให้ยังมีการผลิตกาแฟอยู่ใช่หรือไม่ ?
ความสรุป
พระพุทธศาสนาสรุปอย่างไรเกี่ยวกับมังสวิรัติ
พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญแก่ชีวิตมาก ไม่ว่าจะเป็นชีวิตของสัตว์ประเภทไหนล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น ในขณะเดียวกันก็ยอมรับความจริง ๒ ระดับ คือ (๑) ระดับโลกิยะ (๒) ระดับโลกุตตระ ในระดับโลกิยะ พระพุทธศาสนาเห็นว่ามีความบกพร่องมาก มีคำพูดอยู่ประโยคหนึ่งที่พระภิกษุสามเณรในครั้งพุทธกาลพูดอยู่เสมอ เมื่อเกิดกรณีผิดพลาดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือคำพูดที่ว่า "ไม่ใช่ความผิดของท่าน ไม่ใช่ความผิดของผม แต่เป็นความผิดของวัฏฏะ" คำว่า วัฏฏะ ก็คือสังสารวัฏ หรือการเวียนว่ายตายเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่านั่นเอง เมื่อคราวตรัสรู้ไม่นาน พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
“เราแสวงหานายช่างผู้ทำเรือน เมื่อไม่พบได้ท่องเที่ยวไปสู่สังสาระ มีความ เกิดเป็นอเนก ความเกิดเป็นทุกข์ร่ำไป เราได้พบนายช่างผู้ทำเรือนแล้ว เจ้า จักทำเรือน(คืออัตภาพของเรา)ไม่ได้อีกต่อไป ซี่โครงทั้งหมดของ เจ้า เราหักเสียแล้ว ยอดเรือน(คืออวิชชา)เรารื้อแล้ว จิตของเราได้ถึง นิพพานมีสังขารไปปราศแล้ว เราได้บรรลุความสิ้นตัณหาแล้ว”
พระพุทธพจน์นี้ทำให้สรุปได้ว่า การเกิดมาในโลกในระดับโลกิยะ มีปัญหาติดตัวมามาก สัตว์บางตนเกิดมาอยู่ในฐานะเป็นอาหารของสัตว์อื่น เช่น หมู ปลา ไก่ สัตว์บางตนเกิดมาอยู่ในฐานะต้องกินสัตว์เป็นอาหารอย่างเดียว โดยที่ตัวเองมีเนื้อเป็นพิษสำหรับสัตว์อื่น แม้แต่มนุษย์ที่ชอบกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร เนื้อของมนุษย์เองก็เป็นอาหารของสัตว์อื่นบางจำพวก นี่คือสังสารวัฏ
ชาวประมงมีพาอาชีพหาปลาขาย ฆ่าปลาเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน พวกเขาไม่ได้ทำผิดกฎหมาย แต่พวกเขาทำผิดหลักธรรมข้อสุจริต ล่วงละเมิดศีลข้อปาณาติบาต และวิถีชีวิตของพวกเขาไม่ยุติธรรมสำหรับปลา แม้กระนั้นชาวประมงก็ยังต้องดำรงชีพโดยการจับปลาขายต่อไป เกษตรกรเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลาก็อยู่ในฐานะเดียวกัน คนที่มีอาชีพฆ่าหมูเพื่อชำแหละเนื้อออกขายในท้องตลาดก็อยู่ในฐานะเดียวกัน นี่คือข้อจำกัดหรือโทษของสังสารวัฏ ในระดับโลกุตตระ วิถีชีวิตบริสุทธิ์จากข้อจำกัดเหล่านี้ สัมมาอาชีวะหรือสัมมาอาชีพซึ่งเป็นองค์หนึ่งในมรรคมีองค์ ๘ จึงหมายถึง การดำรงชีพที่ชอบเว้นจากอาชีพที่เป็นการเบียดเบียนชีวิต เช่น การค้าอาวุธแม้จะถูกต้องตามกฎหมาย การค้าแรงงานมนุษย์ การค้ายาพิษ การค้าน้ำเมา ประเด็นเกี่ยวกับมังสวิรัติก็เช่นเดียวกัน การกินหรือไม่กินเนื้อสัตว์เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ประเด็นสำคัญคืออย่าฆ่าสัตว์ เมื่อพระเทวทัตต์เข้าไปเฝ้ากราบทูลขออนุญาตวัตถุ ๕ ประการ วัตถุข้ออื่น ๆ พระพุทธเจ้าตรัสกับพระเทวทัตต์ "อย่าเลยเทวทัตต์ ภิกษุใดปรารถนาก็จงทำไปเถิด เช่น ภิกษุใดปรารถนาก็จงอยู่ป่า" ส่วนข้อที่เกี่ยวกับการฉันปลาและเนื้อ พระพุทธเจ้าตรัสตอบพระเทวทัตต์ว่า "เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ (๑) ไม่ได้เห็น (๒) ไม่ได้ยิน (๓) ไม่ได้รังเกียจ" จะเห็นว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงใช้คำว่า "ผู้ใดปรารถนาก็จงฉันปลาและเนื้อ" พระพุทธดำรัสนี้มีนัยสำคัญอย่างยิ่ง ถามว่า "อะไรคือนัยสำคัญแห่งพระพุทธดำรัสนี้ ?"
พระพุทธดำรัสว่า "เราอนุญาตและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..." หมายถึง ไม่ได้ตั้งข้อกำหนดไว้ วางไว้เป็นกลาง ๆ ไม่ได้กำหนดแม้แต่จะบอกว่า "ผู้ใดปรารถนาก็จง ..." เพราะฉะนั้น เรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้เป็นกลาง ๆ อย่างนี้ ในทางปฏิบัติ จะเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม จะถูกหรือผิด พระภิกษุต้องเทียบเคียงกับหลักที่เรียกว่า "มหาปเทศ" ๒ ข้อ คือ
(๑) สิ่งใดที่ไม่ได้ห้ามไว้ว่า "สิ่งนี้ไม่ควร" ถ้ามีแนวโน้มหรือจัดอยู่ในกลุ่มสิ่งที่ไม่ควร แย้งกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควร
(๒) สิ่งใดที่ไม่ได้ห้ามไว้ว่า "สิ่งนี้ไม่ควร" ถ้ามีแนวโน้มหรือจัดอยู่ในกลุ่มสิ่งที่ควร แย้งกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควร
เมื่อพระภิกษุเทียบเคียงถือปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมไม่ผิดพระวินัย แต่อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า วิถีชีวิตระดับโลกิยะ มีโทษมาก มีข้อบกพร่องมาก เช่นกรณีการกินเนื้อสัตว์ แม้จะเป็นเนื้อที่ไม่ต้องห้าม ต้องพิจารณาก่อนฉัน ถ้าไม่พิจารณาย่อมผิดพระวินัย ซึ่งต้องการให้พระภิกษุหรือแม้แต่คนที่ไม่ใช่พระภิกษุสำนึกอยู่เสมอว่า การกินเนื้อสัตว์แม้จะไม่ได้ฆ่าสัตว์ก็ถือว่ามีส่วนทำให้ชีวิตถูกทำลาย ถ้าไม่กินจะดีกว่าหรือไม่ ? ส่วนวิถีชีวิตระดับโลกุตตระนั้น ย่อมบริสุทธิ์จากอกุศลเจตนาทุกประการ พระพุทธศาสนาสรุปชัดเจนในประเด็นว่า ฆ่าสัตว์ผิดศีลผิดวินัย บางกรณีผิดกฎหมายบ้านเมือง กินเนื้อสัตว์ ถ้าเป็นคฤหัสถ์ไม่ผิด ถ้าเป็นพระภิกษุฉันผิดเงื่อนไข ผิดพระวินัย ถ้าไม่ผิดเงื่อนไข ไม่ผิดพระวินัย นั่นเป็นเรื่องของศีลของคฤหัสถ์และพระวินัยของพระภิกษุ แต่อย่าลืมว่า ฆ่าสัตว์กับกินเนื้อสัตว์เป็นคนและประเด็น กินเนื้อสัตว์ในกรณีที่แม้จะไม่ผิดศีลหรือพระวินัย แต่ส่งผลต่อคน/สัตว์รอบข้างและอุปนิสัยจิตใจของผู้กินแน่นอน ในลังกาวตารสูตรแสดงเหตุผลที่ไม่ควรกินเนื้อสัตว์ สรุปได้ว่า "ในสังสารวัฏ คนที่ไม่เคยเป็นบิดามารดา ไม่เคยเป็นพี่น้องกัน ไม่มี สัตว์ทุกตัวตนมีความสัมพันธ์ทั้งสิ้นไม่ชาติใดก็ชาติหนึ่ง" เพราะฉะนั้น กินเนื้อสัตว์วันนี้ เราอาจกำลังกินเนื้อของสัตว์ที่เคยเป็นบิดามารดาของเราในชาติที่แล้วมาหรือในอีก ๕ ชาติข้างหน้าก็ได้ นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงผลเสียของการกินเนื้อสัตว์ไว้ เช่น ทำให้เป็นที่หวาดกลัวของสัตว์ ต่าง ๆ ทำให้กลิ่นตัวเหม็น ทำให้ชื่อเสียงไม่ดีกระจายไป...

โดย



พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ (วันจันทร์) ป.ธ.๙, ศษ.บ.,พธ.ม.(พระพุทธศาสนา), Ph.D. (Buddhist Studies)



คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2011, 09:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ม.ค. 2011, 09:02
โพสต์: 6


 ข้อมูลส่วนตัว


กราบนมัสการ และขอบพระคุณพระอาจารย์ พระจิรวัฒน์ ญาณวโร อย่างสูงครับ
และขอบคุณทุกคำแนะนำมากๆๆ
ผมยังไม่รู้เลยว่าเขาจะทำได้หรือไม่ เพราะทางบ้านบอกว่าแขกค่อนข้างเยอะ เรื่องอาหารก็สำคัญครับ ยังงัยหากไม่ได้จริงๆก้อจะพยามลดให้เป็นพวกปูปลามาเสริมครับ
ส่วนเรื่องเหล้า อันนี้ผมกำลังสู้อย่างเต็มที่ กำลังขอพวกโปสเตอร์ และป้ายต่างๆจาก เวป http://www.stopdrink.com/index.php?modules=stockMedia ไม่รู้เขาจะส่งให้หรือเปล่า หรือ ท่านไดมีบ้างผมอยากจะขอไปติดไว้ที่บ้านก่อนครับ
ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2011, 10:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue เจ้าภาพ(ญาติ) คณะใหญ่มากมั้ยคะ
ปรึกษาหารือกันลงตัว พอจะได้ข้อสรุปหรือยังคะ ป่านนี้แล้ว
ยังไงก็ทำแต่พองาม บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไ่ม่ให้ขุ่น
เรื่องอาหารเจ งดเนื้อสัตว์ใหญ่ งดเหล้านี่แล้วแต่เจ้าภาพอยู่แล้ว
แขกไม่น่าจะมีอิทธิพลอะไรมากมาย
ธุระเรื่องปากท้องยังรอให้สะสางอีกเยอะ
มาร่วมอนุโมทนางานบุญตามสมควรแล้วก็รีบกลับ
ไม่เหมือนเมื่อก่อนเมาแอ๋กันทั้งวันทั้งคืน
(โดยเฉพาะนาค ลูบหัวลูบไหล่ป้อนเหล้าสั่งลากันเืหมือนจะบวชไม่สึก)
บางงานตั้งโรงมหรสพ โรงบ่อนกันในวัด ม่วนคั่กคั่ก
ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ บุญก็ไม่ได้ พาลจะลง... :b21: กันทั้งเจ้าภาพทั้งแขก :b34:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แก้ไขล่าสุดโดย Bwitch เมื่อ 08 ก.พ. 2011, 11:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2011, 11:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: เรื่องบุญกุศลนี้อย่าไปบังคับกัน มันต้องเข้าใจ มันต้องมีศรัทธา ถ้าเป็นคนดีแล้วคนรอบข้างต้องเดือดร้อนหมดมันก็ยังไม่ดีจริง พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสว่าใครยังกินเนื้อ กินเหล้าแล้วไม่ใช่ชาวพุทธ เหมือนเราเป็นประธานบริษัท เราเป็นคนถือศีล มีศีลธรรม จัดงานเลี้ยงปีใหม่ให้พนักงาน นอกเวลางาน แล้วห้ามทุกคนกินเหล้า หรือไม่มีเหล้าในงาน คิดว่าทุกคนสนุกไหม เต็มใจมางานไหม งานมันจะกล่อยไหม อีนนี้เรียกว่ายังเข้าใจผิด เรื่องบุญเรื่องกุศลใครมีปัญญาแคไหน ใครแบกหามไปได้แค่ไหน ก็ตามกำลัง บีบกัน บังคับ ยัดเยียดมันก็ไม่ได้อะไร แถมอคติจะเพิ่มขึ้นอีก เอาแค่สอดส่องควบคุม อย่าให้จุดประสงค์ของงานมันเสีย และอย่าให้มันเกินพอดี เกิดความเดือดร้อน
ร้อนเป็นใช้ได้ ส่วนเรื่องฆ่าสัตว์ ล้มสัตว์ก็แสดงเจตนารมณ์ไปเลย ว่าไม่ทำ ไปซื้อเอาที่เขาทำเสร็จแล้ว บอกไปตรงๆ ว่าไม่อยากทำบุญ แล้วได้บาป แค่นี่ทุกคนเข้าใจหมด.....เจโตวิมุติ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 47 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร