วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 06:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 114 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2012, 17:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว


ปลีกวิเวก เขียน:
:b8: สาธุ ค่ะลุงหมาน

โดยส่วนตัวเป็นคนชอบศึกษาเรื่องการทำงานของจิต เป็นเรื่องที่ยาก การทำงานของจิตนี้น่าอัศจรรย์จริงๆ

รบกวนสอบถามลุงหมานหน่อยได้ไหมคะ มันมีเรื่องติดใจอยู่นิดหน่อย แต่ไม่เคยสอบถามใคร...
..คือบางครั้งเวลาจ้องที่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ เช่น อ่านกระทู้ยาวๆ หรือนั่งทำงานหน้าคอมหลายชั่วโมง จะเห็นหน้าจอคอมมันมีอาการสั่นมาก มีแสงสว่างสลับกับสีดำแต่เร็วมาก คือมันไม่ใช่หน้าจอปกติที่เราเคยมองแล้วมีรูปมีสีสวย มันมีอาการสั่นไหวตัวหนังสือก็ไม่ได้เป็นตัวสวย ๆ อย่างนี้มันกระพริบด้วยความเร็วสูง ...
หรือบางครั้งจ้องมองแสงไฟนีออน มันจะกระพริบมืดแล้วสว่าง ด้วยอาการที่รวดเร็วมากลักษณะแสงเหมือนเป็นคลื่นพลังงานที่มีแรงสั่นสะเทือนเกิดขึ้นดับไปด้วยอาการที่รวดเร็ว
หรือบางครั้งตั้งใจฟังเสียงอะไรสักอย่างที่มันดังต่อเนื่องตลอดเวลา พอฟังไปสักพักมันจะมีช่วงที่เสียงมันหยุดแล้วก็ดังขึ้นอีกแต่ว่ามันเร็วมากนะ...
อยากรบกวนสอบถามลุงหมานว่าอาการอย่างนี้คืออะไร...แต่ไม่ได้เป็นตลอดเวลาจะเป็นในช่วงเวลาที่มีสมาธิมากเท่านั้น (หมายถึงว่ารับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนในร่างกายอย่างรวดเร็ว)เราจะไม่รู้สิ่งอื่นใดเลยจะรู้ในสิ่งที่กำลังทำอยู่เท่านั้น...

ขอบคุณลุงหมานที่ตอบค่ะ..แต่ถ้าไม่ทราบก็ไม่เป็นไรค่ะ

ขอบคุณครับเป็คำถามที่ดีมากที่เอาประสบการณ์ของจริงมาเล่าสู่กันฟัง
เอางี้นะครับลองใหม่สังเกตุว่า ตัวอารมณ์หรือจิตกันแน่ที่สั่นสะเทือน
อาการที่สั่นนั้นคงเป็นการเกิดดับของจิตหรืออารมณ์ก็ได้

แต่ตรงนี้ต้องผู้ที่เจริญวิปัสสนาเท่านั้นจึงจะเห็นความเกิดดับของจิตและอารมณ์ได้
อันนี้ผมว่าคุณเดินทางมาถูกต้องแล้ว ควรใช้สติพิจารณาอีกนิด วิริยะเพิ่มอีกหน่อย
ธรรมชาติอันหนึ่งจะเป็นผู้บอกกับท่านเอง และสิ่งที่เล่ามาทั้งหมดนี้
เป็นการเจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่นะครับ แต่ท่านเองอาจทำไปโดยที่ไม่รู้ตัวว่าทำอะไร
อะไรเกิดขึ้นก็ไม่รู้ว่าอะไรเกิดขึ้น เช่นกัน ต้องขออนุโมทนาด้วยครับ

แต่สิ่งที่เล่ามาให้ฟังทั้งหมดนี้ผมเชื่อนะครับ เพราะมันเป็นสิ่งที่เข้ากับกฏเกณท์ทั้งหมด
โอกาสหน้าแวะมาคุยกันใหม่นะครับ และขอรายละเอียดเพิ่มเติมคือสังเกตุให้ดีๆนะครับ

ขอให้คุณเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2012, 17:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ปลีกวิเวก เขียน:
:b8: สาธุ ค่ะลุงหมาน

โดยส่วนตัวเป็นคนชอบศึกษาเรื่องการทำงานของจิต เป็นเรื่องที่ยาก การทำงานของจิตนี้น่าอัศจรรย์จริงๆ

รบกวนสอบถามลุงหมานหน่อยได้ไหมคะ มันมีเรื่องติดใจอยู่นิดหน่อย แต่ไม่เคยสอบถามใคร...
..คือบางครั้งเวลาจ้องที่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ เช่น อ่านกระทู้ยาวๆ หรือนั่งทำงานหน้าคอมหลายชั่วโมง จะเห็นหน้าจอคอมมันมีอาการสั่นมาก มีแสงสว่างสลับกับสีดำแต่เร็วมาก คือมันไม่ใช่หน้าจอปกติที่เราเคยมองแล้วมีรูปมีสีสวย มันมีอาการสั่นไหวตัวหนังสือก็ไม่ได้เป็นตัวสวย ๆ อย่างนี้มันกระพริบด้วยความเร็วสูง ...
หรือบางครั้งจ้องมองแสงไฟนีออน มันจะกระพริบมืดแล้วสว่าง ด้วยอาการที่รวดเร็วมากลักษณะแสงเหมือนเป็นคลื่นพลังงานที่มีแรงสั่นสะเทือนเกิดขึ้นดับไปด้วยอาการที่รวดเร็ว
หรือบางครั้งตั้งใจฟังเสียงอะไรสักอย่างที่มันดังต่อเนื่องตลอดเวลา พอฟังไปสักพักมันจะมีช่วงที่เสียงมันหยุดแล้วก็ดังขึ้นอีกแต่ว่ามันเร็วมากนะ...
อยากรบกวนสอบถามลุงหมานว่าอาการอย่างนี้คืออะไร...แต่ไม่ได้เป็นตลอดเวลาจะเป็นในช่วงเวลาที่มีสมาธิมากเท่านั้น (หมายถึงว่ารับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนในร่างกายอย่างรวดเร็ว)เราจะไม่รู้สิ่งอื่นใดเลยจะรู้ในสิ่งที่กำลังทำอยู่เท่านั้น...

ขอบคุณลุงหมานที่ตอบค่ะ..แต่ถ้าไม่ทราบก็ไม่เป็นไรค่ะ


:b17: :b17: :b17:

:b4: :b4: :b4:

:b13: :b13: :b13:

:b32: :b32: :b32:

rolleyes rolleyes rolleyes

:b27: :b27: :b27:

s007 s007 s007

:b11: :b11: :b11:

smiley smiley smiley

:b32: :b32: :b32:

:b4: :b4: :b4:

:b32: :b32:

..แบบว่าอาการพูดไม่ออก
แต่เก็บอาการไว้ไม่อยู่
ก็เลยมีแต่อีโมเล่นพร่าน...

:b32: :b32: :b32:

:b13: :b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2012, 17:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ปลีกวิเวก เขียน:
:b8: สาธุ ค่ะลุงหมาน

โดยส่วนตัวเป็นคนชอบศึกษาเรื่องการทำงานของจิต เป็นเรื่องที่ยาก การทำงานของจิตนี้น่าอัศจรรย์จริงๆ


ขอบคุณครับเป็คำถามที่ดีมากที่เอาประสบการณ์ของจริงมาเล่าสู่กันฟัง
เอางี้นะครับลองใหม่สังเกตุว่า ตัวอารมณ์หรือจิตกันแน่ที่สั่นสะเทือน
อาการที่สั่นนั้นคงเป็นการเกิดดับของจิตหรืออารมณ์ก็ได้


สิ่งที่ถูกรู้ หรือ ...

:b1:

:b16:

:b1:

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2012, 23:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
nongkong เขียน:
ขอตอบจากภาคปฏิบัตินะเจ้าค่ะผิดถูกก็โปรดช่วยพิจารณา :b8:
ก่อนอื่นเราต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการขันธ์5
ที่บอกว่าสภาวะจิตทรงตัวอยู่นั้นหมายถึง กรณีที่จิตเป็นสมาธิ นิ่งรู้ไม่วิ่งไปจับกระแสภายนอก หรือธัมมารมณ์ภายนอกมาปรุงแต่ง ทาง หู ตา ลิ้น จมูก กาย ใจ เราก็จะเกิดสภาวะที่เรียกว่า จิตทรงอยู่เฉยๆคือจิตเป็นสมาธิ
ส่วนสภาวะที่จิตไม่ทรงตัวอยู่เกิด ดับ ตลอดเวลานั้น หมายถึง จิตที่เห็นกระแสปกิจสมุปบาท จิตเห็นการเกิดดับของสภาวะตน เห็น อารมณ์มันแปรปรวนเมื่อผัสสะมากระทบ หู ตา ลิ้น จมูก กาย ใจ จิตประเภทนี้จะรู้สึกเหมือนเห็นหนังที่ฉายซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเบื่อแล้วขี้เกียจ แล้วก็อาจจะเบื่อไม่อยากดูเลย พอเบื่อไม่อยากดูจิตก็จะไม่ส่งออกไปฟุ้งซ่านภายนอก แต่จิตก็นิ่งรู้อยู่เพราะจิตเป็นสมาธิ ถ้าคนธรรมดาจะไม่รู้สภวะของการเกิดดับของจิต แต่จะรู้เพียงว่ามีจิตเป็นสมาธินิ่งรู้ลงปัจจุบัณขณะ หรือมีสติตั้งมั่นนั่นเอง :b43: :b43:


:b8: :b8: :b8:

คุณน้อง คิดว่า กระบวนการขันธ์5 กับ กระแส ปฏิจจ..เป็นสิ่งเดียวกันมั้ย มันไหลไปตามนั้นมั้ย ครับ
เห็น อริยสัจจ4 เห็น สติปัฏฐาน4 เห็นไตรลักษณ์ ในกระแส นั้นมั้ยครับ

ขันธ์5ทำงานเชื่อมโยงกับปฏิจสมุปบาทคุนน้องเลยเรียกสั้นๆว่า กระบวนการขันธ์5 :b28: หลังจากนั้นก็จะเห็นสภาวะที่เกิดขึ้น หมายถึง เหตุปัจจัยเกิดขึ้น กระแสปฏิจสมุปบาททำงาน ถ้าจิตมีกำลังเป็นสมาธิ ก็จะเห็นสภาวะทุกข์สภาวะแปรปรวน ไตรลักษณ์จะปรากฏตอนนี้ ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันไม่เที่ยง มันทุกข์มันบังคับบัญชาไม่ได้ เด่วมันก็ดับ เมื่อเรามีสมาธิที่ได้ฝึกอบรมมาจากสติปัฏฐาน4 เราก็จะสามารถตัดกระแส ปฏิจสมุปปบาททันตรงผัสสะ อวิชชาก็จะไม่เกิด จิตเราก็จะวางเฉยไม่ไหลไม่สร้างเหตุปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดอวิชชาตามมา เมื่อเราไม่สร้างเหตุเพิ่ม อวิชชาก็ดับ ตรงนี้แหละคือสภาวะของความนิ่งรู้อยู่ เห็นฝนตกก็มีร่มทำให้ไม่เปียกปอนไปกับฝน แต่ซักพักฝนมันก็จะหยุดตกไปเอง อธิบายจากสภาวะของคุนน้องเองนะเจ้าค่ะ แต่ละวันเราต้องเจอสิ่งที่เข้ามากระทบกระทั่งจิตใจเรา เราต้องฝึกสติฝึกสมาธิไม่ให้
อารมณ์ของเราไหลไปกับกระแสนั้น ขนาดคุนน้องอยู่เฉยๆไม่ได้ทำอะไร ยังต้องสร้างเกาะคุ้มกันกิเลศ ตาไปเห็นรูปก็เอาแล้ว หูหาเรื่องได้ยินเรื่องไม่ดีอีกแล้ว คุนน้องถึงได้ประจักษ์ว่า ทุกสิ่งรอบกายเรามัน บังคับบัญชาไม่ได้ ทำให้เป็นไปตามใจเราไม่ได้ เราทำได้แค่อย่าเอาอารมณ์ไปยึดกับสิ่งเหล่านั้น ตอนนี้คุนน้องปฏิบัติมาถึงขั้น มีพี่เลี้ยงพญามารกับพี่เลี้ยงที่เป็นเทวดา กระซิบในจิตตลอดเวลาเลยในกระแสปฏิจ55+(เหมือนคนบ้า :b5: ) พญามารกระซิบก่อนต่อมาพี่เลี้ยงเทวดาก็มากระซิบอีก จิตเดิมคือปภัสสรเพราะอวิชชาที่จรมา :b39:
ปล. ท่านฝึกจิตรู้จักสภาวะ แม่น้ำหลายสายที่ไหลรวมลงจุดเดียวกันไหมหละเจ้าค่ะ ธรรมทั้งหลายทั้งปวงก็เช่นกันมันลงที่เดียวกันหมดก็คือ ลงกายใจเรานี่เอง แต่ที่แยกย่อยออกไปเพื่อให้ทำความเข้าใจต่อสภาวะที่เกิดขึ้น


smiley :b8:

ผมไม่รู้จักหรอกครับ แม่น้ำที่ท่านว่าอะครับ
สิ่งที่ผมคิด ผมพิมพ์ไป ผมวางมันแล้ว ผมเองก็ยังไม่เชื่อที่ผมคิดเลย :b9: จะใช่หรือไม่ใช่ ก็ไม่รู้ ดูๆกันเอาเอง เด่อครับ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2012, 01:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น
ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกายอันเป็นที่ประชุม
แห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล ฯ
[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับ ย่อมใส่ใจโดยแยบคายด้วยดีถึงปฏิจจสมุป
บาทธรรม ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะ
สิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารเพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
จึงมีนามรูปเพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็น
ปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้อนึ่ง เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่าย
แม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย
ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัดเพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้วย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑

เห็นมั้ยว่า จิต เกิด ดับ คืออะไร ครับ

เมื่อจิตหลุดพ้น จิตตั้งมั่นตลอดวันได้ แต่วิญญาณ จะไม่กล่าวเช่นนั้น
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2012, 05:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิสัมภิทาพระบาลีมหาวัคค แสดงว่าจิตนี้มีชื่อที่เรียกใช้เรียกขานกันตั้ง ๑๐ ชื่อ แต่ละชื่อก็แสดงให้รู้ ความหมายว่าจิตคืออะไร ดังต่อไปนี้
ยํ จิตฺตํ มโน หทยํ มานสํ ปณฺฑรํ มนายตนํ มนินฺทฺริยํ วิญฺญาณํ วิญฺญาณกฺขนฺโธ ตชฺชา มโนวิญฺญาณธาตุ อิทํ จิตฺตํ ฯ
ซึ่ง อัฏฐสาลินีอรรถกถา แสดงว่า
๑. ธรรมชาติใด (เป็นสภาวะธรรมชาติ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน หรือของตน) ย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต
๒. ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มโน
๓. จิตนั่นแหล่ะได้รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน ดังนั้นจึงชื่อว่า หทัย
๔. ธรรมชาติคือ ฉันทะ(ความพึงพอใจ)ที่มีในใจนั่นเอง ชื่อว่า มานัส
๕. จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงชื่อว่า ปัณฑระ
๖. มนะนั่นเองเป็นอายตนะ คือเป็นเครื่องต่อ จึงชื่อว่า มนายตนะ
๗. มนะอีกนั่นแหละที่เป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า มนินทรีย์
๘. ธรรมชาติใดที่รู้แจ้งอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาณ
๙. วิญญาณนั่นแหละเป็นขันธ์(ขันธ์หมายถึงกลุ่ม ก็วิญญาณนั่นแหละ มีมากมายเช่น จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณที่มีอีกหลายชนิด รวมเป็นกลุ่มวิญญาณ) จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์
๑๐. มนะนั่นเองเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ จึงชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2012, 06:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


[๑๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ๖ หมวดนี้
คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0

[๗๖๗] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.
ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2012, 07:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


[๓๑๙] ชื่อว่า ใจ ในคำว่า คิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ
ความว่า ใจ คือ จิต ใจ มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ที่เกิดแต่ผัสสะเป็นต้นนั้น.
ท่านคิดนึกถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยจิตว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่
เที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า คิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ.


แต่มีอภิธรรมนี้ มาให้พิจารณากันครับ


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]
๗. จิตตัฏฐิติกถา (๑๖)

สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า
จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น อีกดวงหนึ่งดับไป
ตลอดทั้งคืนและวัน เปรียบเหมือนลิงเมื่อเที่ยวไปในป่าเล็กและป่าใหญ่ จับกิ่งไม้
ปล่อยกิ่งนั้นแล้วย่อมจับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งนั้นแล้วย่อมจับกิ่งอื่นต่อไปฉะนั้น”๑ มีอยู่
จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงได้
เร็วกว่าจิต”
{๖๓๐} [๓๓๖] สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กาย-
วิญญาณ ... จิตที่เป็นอกุศล ... จิตที่สหรคตด้วยราคะ ... ที่สหรคตด้วยโทสะ ...
ที่สหรคตด้วยโมหะ ... ที่สหรคตด้วยมานะ ... ที่สหรคตด้วยทิฏฐิ ... ที่สหรคตด้วย
วิจิกิจฉา ... ที่สหรคตด้วยถีนะ ... ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ... ที่สหรคตด้วยอหิริกะ ...
ที่สหรคตด้วยอโนตตัปปะ ตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
{๖๓๑} สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร. ใช่


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2012, 07:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณลุงหมานและท่านเอกอนค่ะ :b8:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2012, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
สกวาที คือใคร และ ปรวาที คือใคร

ในคัมภีร์กถาวัตถุนี้ คำว่า "สกวาที" (สก.) หมายถึง พระเถระนิกายเถรวาท ซึ่งยึดหลักคำสอนเดิม ไม่มีการประยุกต์เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมหรือตัดทอนพระพุทธพจน์ตามมติที่ประชุมสังคายนาครั้งที่ 1 ซึ่งมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน

ส่วนคำว่า "ปรวาที" (ปร.) หมายถึง ภิกษุในนิกายอื่นนอกจากนิกายเถรวาท ในที่นี้หมายถึงพวกภิกษุในนิกายวัชชีปุตตกะ นิกายสมิติยะ และพวกอัญเดียรถีย์ที่ถือสัสสตวาทะ


เวลาที่อ่าน จึงต้องทราบว่าใครเป็นฝ่ายอาจารย์ ใครเป็นฝ่ายศิษย์
สกวาที เป็นคนโยนคำถาม เพื่อพยายามให้ปรวาที เข้าใจในแนวทางที่ถูกต้อง

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2012, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
[๑๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ๖ หมวดนี้
คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0

[๗๖๗] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.
ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0


:b8: ขอบคุณท่านโกวิทที่นำมาลงให้อ่านค่ะ

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2012, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ขึ้นชื่อว่าจิตเป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์
ตัวจิตเองนั้นไม่ได้นิ่งอยู่เฉยๆต้องเกิดดับตลอดเวลา
เพราะจิตนั้นก็ตกอยู่ในสภาพธรรมของไตรลักษณ์เช่นกัน
คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

จิตที่แท้ก็คือกระบวนการขันธ์ห้า จิตมีลักษณะเปลี่ยนไปตามกระบวนการขันธ์

ถ้าเกิดวิญญาณขันธ์ขึ้น วิญญาณขันธ์จะเป็นลักษณะของจิตผู้รู้อารมณ์
ส่วนเวทนา สัญญาและสังขารก็เป็นจิตเช่นกัน แต่เป็นจิตที่มาพร้อมกับอาการ
ของจิต ที่เรียกว่าเวทนา สัญญาและสังขาร


จากคำพูดว่าจิตเกิดดับ ที่แท้เป็นการเกิดดับตามเหตุปัจจัยของขันธ์แต่ละตัวครับ

ลุงหมาน เขียน:
การเจริญวิปัสสนา
จิตจะรับรู้ไปตามอารมณ์ที่มากระทบหรือที่เกิดขึ้น
และรับรู้ตามสังขารที่ปรุงแต่ง
ก็หมายความว่า อารมณ์ใดมากระทบก็ไปพิจารณาอารมณ์นั้น
ไม่ได้มีอารมณ์เดียวดังที่ทำสมาธิ

การทำวิปัสสนา ไม่ได้ไปรับรู้อารมณ์ที่มากระทบ แต่ต้องรับรู้ผัสสะที่มากระทบ
นั้นหมายความว่า ต้องมีจิตผู้รู้(วิญญาณขันธ์)มาตามรู้ กระบวนการขันธ์

การรู้สังขารการปรุงแต่งไม่เรียกวิปัสสนา เขาเรียกว่ามีสติระลึกรู้ธรรมดา
มีเพื่อไม่ให้เกิด กายสังขารและวจีสังขารครับ
ลุงหมาน เขียน:
การทำสมาธินั้นจิตจะมีอารมณ์เดียว เป็นการฝึกจิตให้อยู่ในอารมณ์เดียว
จะดูเหมือนกับว่า จิตนั้นทรงอยู่เฉยๆคือไม่เกิดไม่ดับ
เพราะจะไม่สนใจการเกิดดับของจิต จะสนใจอยู่ที่อารมณ์อย่างเดียว
แต่ตัวจิตเองมีการเกิดดับเป็นธรรมดาจึงเรียกว่าจิตไม่ได้อยู่นิ่งเฉยๆ

หลักการที่ลุงหมานว่า มันเป็นเรื่องของคนเข้าใจผิดว่าเป็นการทำสมาธิ
แท้จริงแล้วเป็นหลักของสมถกรรมฐาน มันไม่ใช่ว่าจิตทรงตัวหรือไม่ทรงตัว
มันเป็นเรื่องที่ทั้งคนพูดและคนฟัง ไม่เข้าใจแต่แรก มันเลยไปกันใหญ่ทั้งคนพูดและฟัง

หลักการที่ว่าผู้รู้ ท่านทำในลักษณะให้จิตผู้รู้ไปรับผัสสะหรือทวารใดทวารหนึ่ง
เพียงทวารเดียว การเกิดดับของกระบวนการขันธ์จึงเป็นไปในลักษณะเดียว
และการเกิดดับของกระบวนการขันธ์นี่เป็นไปในลักษณะสันตติ เลยคิดว่า
ไม่มีการเกิดดับเกิดขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2012, 16:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพ้อเจ้อกถาน้ำลายฟูมปากไปเรื่อย :b1:

นายโฮฮิชิ สอนวิธีทำเขาเลยเอาชัดๆ ว่าไปหนึ่ง สอง สาม เพื่อที่เขาจะได้นำไปปฏิบัติตามได้ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2012, 16:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
อ้างคำพูด:
สกวาที คือใคร และ ปรวาที คือใคร

ในคัมภีร์กถาวัตถุนี้ คำว่า "สกวาที" (สก.) หมายถึง พระเถระนิกายเถรวาท ซึ่งยึดหลักคำสอนเดิม ไม่มีการประยุกต์เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมหรือตัดทอนพระพุทธพจน์ตามมติที่ประชุมสังคายนาครั้งที่ 1 ซึ่งมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน

ส่วนคำว่า "ปรวาที" (ปร.) หมายถึง ภิกษุในนิกายอื่นนอกจากนิกายเถรวาท ในที่นี้หมายถึงพวกภิกษุในนิกายวัชชีปุตตกะ นิกายสมิติยะ และพวกอัญเดียรถีย์ที่ถือสัสสตวาทะ


เวลาที่อ่าน จึงต้องทราบว่าใครเป็นฝ่ายอาจารย์ ใครเป็นฝ่ายศิษย์
สกวาที เป็นคนโยนคำถาม เพื่อพยายามให้ปรวาที เข้าใจในแนวทางที่ถูกต้อง



แล้วส่วนที่ผมยกมา นั้นมันหมายถึงอย่างไรครับ ถูกต้องกับที่ ปร.ตอบมั้ยครับ s006

ช่วยเฉลยทีครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2012, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


{๖๓๐} [๓๓๖] สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร. ใช่

สกวาที ยิงคำถาม เพื่อตรวจสอบ ความเข้าใจของ ปรวาที
เมื่อ ปรวาที ตอบว่าใช่ แสดงให้เห็นว่า ปรวาทียังเข้าใจผิดอยู่
สกวาที จะป้อนคำถามอื่นๆ ต่อ เพื่อให้ปรวาทีคิดต่อไป ให้เป็นเหตุเป็นผล
จนเข้าใจว่า สิ่งที่ตนตอบว่า ใช่นั้น เป็นการเข้าใจผิด

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 114 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron