วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 21:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2013, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แปลกดีครับ มีคนเอาคำพูดเราไปก่ออกุศลในใจเอง
ดันมาว่าเราผิด กิเลสของใครของมัน โทสะของตนก็เป็นตัวเองต้องระงับ
ตัวเองระงับไม่ได้ดันโทษคนอื่น :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2013, 09:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การที่เราจะอธิบาย สภาวะของปรมัตถ์
ที่แท้จริงได้นั้นเราก็ต้องอาศัยบัญญัติขึ้นเพื่อสื่อสารกัน
ว่าอย่างนี้ คือ อย่างนี้ เป็นอย่างนั้น เป็นต้น

บัญญัติที่ครูบาอาจารย์บัญญัติขึ้นมา ไม่ใช่เพื่ออธิบายสภาวะธรรม
สภาวะธรรมไม่มีบัญญัติใดมาสื่อสารให้เข้าใจได้ บัญญัติมีจุดประสงค์
เพื่อให้บุคคลเอาสภาวะธรรมของตนเองไปสู่ปัญญา
พูดง่ายๆคือ อธิบายเรื่องของมรรค

การจะมาเข้าใจบัญญัติได้นั้น บุคคลจะต้องรู้เห็นสภาวะธรรมของตนเองก่อน
แล้วจึงมาทำความเข้าใจว่า สภาวะธรรมของตน ตรงกับบัญญัติตัวใด
ไม่ใช่อ่านบัญญัติแล้วค่อยไปหาสภาวะธรรม หาให้ตายก็ไม่เจอ
เพราะบัญญัติที่เราอ่านก่อน มันจะเป็นเพียงความคิด ไม่ใช่สภาวะธรรม


อ้างคำพูด:
ถ้าไม่บัญญัติออกมาเป็นคำสอนเพื่อให้เกิดความเข้าใจแล้ว ย่อมไม่มีใครรู้ได้เลย
เพราะคำพูดที่สื่อสารกันนั้นก็ถูกบัญญัติขึ้นมาเรียกชื่อนั้นๆ เช่น ความเค็ม รู้ได้ทางลิ้น
พูดออกมาเพื่ออธิบายความเค็ม สิ่งที่พูดก็เป็นบัญญัติ ผู้ฟังก็ไม่สามาถที่จะรู้ความค็มอยู่ดี
แต่ถ้าจะรู้ความเค็มได้นั้นก็ต้องอาศัยการปฏิบัติ คือเข้าไปได้ชิมเอง เมื่อความเค็มปรากฎ
บัญญัติว่าเค็มก็หายไป

ความเค็มที่เป็นสภาวะธรรมเรารู้อยู่ก่อนแล้ว บัญญัติที่เขาบัญญัติมาไม่ใช่ให้รู้ถึงความเค็ม
บัญญัติมีจุดประสงค์เพื่อให้รู้ เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความเค็ม

สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สภาวะธรรมที่เกิดจากลิ้นมีบัญญัติ
เรียกว่าความเค็ม เมื่อเราเข้าใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับครูบาอาจารย์แล้วว่า
สภาวะธรรมที่เกิดจากลิ้น เรียกว่า "ความเค็ม" แบบนี้ก็จะเป็นการง่ายในการอธิบาย
เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญญา

สรุปก็คือเราต้องรู้ถึงสภาวะธรรมเสียก่อน จึงจะเข้าใจบัญญัติ
ไม่ใช่อ่านบัญญัติก่อนเพื่อไปหาสภาวะธรรม

อ้างคำพูด:
ดังมีคำว่า "อนัตตาปรากฏ อัตตาก็หายไป" ความจริงแล้วความเป็นอนัตตานั้น
เขาปรากฎอยู่ตลอดเวลา แต่เพราะเรามีจิตที่วิปลาสไปจากความจริง ไม่เข้าใจ
จึงเข้าใจได้ว่ามันเป็น อัตตา ฉะนั้นในขั้นแรกเราต้องอาศัยบัญญัติก่อน
อุปมาเหมือนว่าเราจะข้ามฝากก็ต้องอาศัยเรือ เมื่อถึงฝั่งแล้วเรือก็หมดหน้าที่ เช่นกัน

สภาวะธรรมที่ตรงข้ามกัน ไม่สามารถเกิดพร้อมกันได้ เมื่อมีอัตตา อนัตตาย่อมเกิดไม่ได้
อนัตตาจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อถึงความดับของอัตตา ที่ว่าอนัตตาปรากฎอยู่ตลอดเวลา นั้นคือ
ธรรมชาติภายนอกกายใจ กายใจของบุคคลยกเว้นพระอรหันต์ ย่อมยังเป็นอัตตาเพราะยังมีขันธ์ห้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2013, 10:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ดีแล้ว คำว่า "ตนเป็นเป็นที่พึ่งแห่งตน" ส่วนมากมักคิดไปว่า "ตัวตน" ที่เป็น "อัตตา"
แท้จริงแล้วในหลักพระพุทธศาสนาจะปฏิเสธตัวตน ไม่มีตนเข้ามาเกี่ยวข้อง
ถ้าหากมีตนเข้าเกี่ยวข้องก็จะมีอุปาทานเข้ายึดว่ามีตัวตนทันที่
พระองค์สอนให้ละตัวตนซึ่งเป็นที่ยึดของ ตัณหา อุปาทาน

ฉะนั้นคำว่า "อัตตาหิ อัตตาโนนาโถ" แปลว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนนั้น
"ตน"ในที่นี้มีตนอยู่ ๒ ตน ตนแรกนั้นท่านหมายถึง ศีล สมาธิ ปัญญา
ว่าโดยย่อก็ได้แก่ มรรค ๘ เป็นเกาะเป็นที่พึ่ง มิให้ตกล่วงไปในอบายภูมิ
ส่วนตนหลังนั้น ท่านหมายถึง ขันธ์ ๕ ที่ปรากฎอยู่ในโลกนี้

แต่ในทางโลกทั่วๆ ไปมักใช้ไปในทางที่ว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
นั้นหมายถึงว่าเราต้องพึ่งตัวเราเอง ฉะนั้นแล

อัตตนา โจทธัตตานัง ....ตนพึงกล่าวโจดโทษตน..
ตนในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ นี้พึงสำรวมระวังอินทรีย์มี จักขุนทรีย เป็นต้น
ตนหลัง ได้แก่ อกุศลที่กำลังเกิด เพียรละไม่ให้เกิด และที่ยังไม่เกิดก็เพียรมิให้เกิดขึ้น


อัตตาในความหมายของสมมุติสัจจะ คือ....บุคคล
ถ้าเป็นสภาวะธรรมหรือปรมัตถ์สัจจะก็คือ....ขันธ์ห้า

กล่าวโดยรวมก็จะต้องกล่าวว่า ........บุคคลผู้ที่ยังมีขันธ์ห้า

อัตตาไม่ได้หมายถึงขันธ์ห้า ขันธ์ห้าโดยธรรมชาติแท้ๆที่ไม่ได้มีบุคคล
มันเป็นอนัตตา(ธรรมนิยาม) บุคคลที่ประกอบด้วยขันธ์ห้าเท่านั้นจึงเรียกอัตตา

หรือจะกล่าวว่า......ขันธ์ห้าเป็ฯอัตตาของบุคคล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2013, 14:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ถ้าเราไปพยายามอธิบาย ปรมัตถบัญญัติที่เรียกว่า "อนัตตา" นั้นมันจะยิ่งยากและสับสนมากขึ้นเรื่อยๆ
เหมือนคนที่พยายามจะอธิบาย "ความเค็ม" ให้กับคนที่ไม่เคยสัมผัสความเค็มได้เข้าใจ

ทางที่ถูกต้องเราควรอธิบายวิธีที่บุคคลจะสามารถเข้าไปสัมผัสสภาวะ "อนัตตา" ให้ละเอียดชัดเจน และง่าายต่อการปฏิบัติ จะดีกว่า เพราะผู้ที่เข้าใจวิธีการโดยทฤษฎีแล้ว...เมื่อนำมาลงมือปฏิบัติ ไม่ช้านานเกินรอ เขาก็จะได้สัมผัสสภาวะ อนัตตา และถึงบางอ้อ ด้วยตนเอง

การสอนในเรื่องปรมัตถ์ มันไม่ใช่แบบที่คุณพูดครับ การสอนปรมัตถ์บัญญัติ
คือการสอนให้เข้ารู้ว่า สภาวะธรรมที่เขารู้และเคยสัมผัส เรียกว่าอะไรในบัญญัติ

สภาวะปรมัตถ์อันเกิดจาก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสและธัมมารมณ์
บุคคลที่มีปสาทรับรู้ครบถ้วน ต่างก็เคยสัมผัสมาแล้วทั้งนั้น
เพียงแต่เขายังไม่รู้ว่า สภาวะธรรมที่เกิดในกายใจเขา
มีบัญญัติเรียกว่าอะไรครับ


มันตลกดีมั้ยครับ ลิ้นเราเอง รสชาติเราเป็นคนสัมผัส
ทำไมจะต้องให้คนอื่นมาอธิบายให้ฟัง ที่เขาอธิบายมันเป็นบัญญัติ
ส่วนสภาวะเรารู้ของเราเอง แล้วก็เป็นการรู้สภาวะธรรมก่อนที่คนอื่นจะมาอธิบายบัญญัติให้ฟัง


สภาวะธรรมมันมีอยู่แล้วในตัวบุคคล เพียงแต่ครูบาอาจารย์จะมีวิธีบอกให้
เขารู้ถึงสภาวะธรรมนั้นๆและบอกเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดสภาวะนั้นได้อย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2013, 14:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b36:
ทางเข้าถึงอนัตตา

อธิบายภาพ

ถ้ายังมี...เหตุ....คือความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกูอยู่ เมื่อ มีปัจจัย คือผัสสะของทวารทั้งหก มากระทบ จึงก่อให้เกิด ตัณหา และกรรมเหตุ ขึ้นมา กรรมเหตุนั้น ส่งให้เกิด กรรมผล หรือวิบาก ให้ต้องเสวยเวียนว่ายตายเกิดใน 31 ภพภูมิ อันมีอบาย 4 มนุษย์ 1 เทวดา 6 พรหม 20 ชั้น

ต่อเมื่อได้พบพุทธธรรมคำสอนอันถูกต้องของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้รู้ว่า คู่ปรับของ อัตตา ความเห็นผิด คือ อนัตตา ความเห็นถูกต้อง จึงได้เอาปัญญา สัมมาทิฏฐิและ สัมมาสังกัปปะ อันมี สติและศีล สมาธิเป็นกองหนุน ค้นคว้าเข้าไปในกายและจิต จนพบสมุทัย คือความเห็นผิดเป็น อัตตา ต่อสู้และทำลายความเห็นผิด ด้วยปัญญา สติ วิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติ จนความเห็นผิดดับไป ความเห็นถูกต้อง คือ อนัตตา ซึ่งถูกบังไว้ก็จะปรากฏชัดขึ้นมา อัตตาดับ มรรคเกิด ผลเกิด เข้านิพพาน

:b27:
:b8:

อัตตาไม่ใช่ความเห็นผิด แม้ผู้มีสัมมาทิฐิแล้ว ก็ยังมีอัตตาได้

อนัตตาก็ไม่ใช่ความเห็นถูก อนัตตาเป็นผลจากความเห็นถูก แล้วปล่อยวางสิ่งที่เห็นนั้น

สิ่งที่เป็นคู่ปรับของอัตตาก็คือ โพธิปักขิยธรรม

ความหมายของความเห็นผิด หมายถึงผู้ที่ยังไม่มีสัมมาทิฐิ
การจะมีสัมมาทิฐิได้จะต้องเจริญสติ

เมื่อมีความเห็นถูกหรือสัมมาทิฐิแล้ว ก็ยังไม่นับว่าเป็นอนัตตา
แต่ยังต้องปฏิบัติเพื่อให้ถึงอริยมรรคมีองค์แปดอีก จนถึงสัมมาญานเป็นสัมมาวิมุติ
แบบนี้จึงจะเรียกว่า ละอัตตา เป็นอนัตตาแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 20:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
asoka เขียน:
ถ้าเราไปพยายามอธิบาย ปรมัตถบัญญัติที่เรียกว่า "อนัตตา" นั้นมันจะยิ่งยากและสับสนมากขึ้นเรื่อยๆ
เหมือนคนที่พยายามจะอธิบาย "ความเค็ม" ให้กับคนที่ไม่เคยสัมผัสความเค็มได้เข้าใจ

ทางที่ถูกต้องเราควรอธิบายวิธีที่บุคคลจะสามารถเข้าไปสัมผัสสภาวะ "อนัตตา" ให้ละเอียดชัดเจน และง่าายต่อการปฏิบัติ จะดีกว่า เพราะผู้ที่เข้าใจวิธีการโดยทฤษฎีแล้ว...เมื่อนำมาลงมือปฏิบัติ ไม่ช้านานเกินรอ เขาก็จะได้สัมผัสสภาวะ อนัตตา และถึงบางอ้อ ด้วยตนเอง

การสอนในเรื่องปรมัตถ์ มันไม่ใช่แบบที่คุณพูดครับ การสอนปรมัตถ์บัญญัติ
คือการสอนให้เข้ารู้ว่า สภาวะธรรมที่เขารู้และเคยสัมผัส เรียกว่าอะไรในบัญญัติ

สภาวะปรมัตถ์อันเกิดจาก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสและธัมมารมณ์
บุคคลที่มีปสาทรับรู้ครบถ้วน ต่างก็เคยสัมผัสมาแล้วทั้งนั้น
เพียงแต่เขายังไม่รู้ว่า สภาวะธรรมที่เกิดในกายใจเขา
มีบัญญัติเรียกว่าอะไรครับ


มันตลกดีมั้ยครับ ลิ้นเราเอง รสชาติเราเป็นคนสัมผัส
ทำไมจะต้องให้คนอื่นมาอธิบายให้ฟัง ที่เขาอธิบายมันเป็นบัญญัติ
ส่วนสภาวะเรารู้ของเราเอง แล้วก็เป็นการรู้สภาวะธรรมก่อนที่คนอื่นจะมาอธิบายบัญญัติให้ฟัง


สภาวะธรรมมันมีอยู่แล้วในตัวบุคคล เพียงแต่ครูบาอาจารย์จะมีวิธีบอกให้
เขารู้ถึงสภาวะธรรมนั้นๆและบอกเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดสภาวะนั้นได้อย่างไร

:b10:
อ้างคำพูด:
การสอนในเรื่องปรมัตถ์ มันไม่ใช่แบบที่คุณพูดครับ การสอนปรมัตถ์บัญญัติ
คือการสอนให้เข้ารู้ว่า สภาวะธรรมที่เขารู้และเคยสัมผัส เรียกว่าอะไรในบัญญัติ

สภาวะปรมัตถ์อันเกิดจาก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสและธัมมารมณ์
บุคคลที่มีปสาทรับรู้ครบถ้วน ต่างก็เคยสัมผัสมาแล้วทั้งนั้น
เพียงแต่เขายังไม่รู้ว่า สภาวะธรรมที่เกิดในกายใจเขา
มีบัญญัติเรียกว่าอะไรครับ

:b12: :b12:
[b]มีสภาวธรรมมากมายหลายอย่างที่มนุษย์ไม่เคยสัมผัส ถึงแม้ว่ามันจะมีอยู่จริงในขณะจิตของคนผู้นั้ัน
ดังเช่น นิพพาน

การจะเข้าไปสัมผัสและถึง นิพพานนั้น เป็นสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ปริยัติหรือทฤษฎีของวิธีการที่จะเข้าไปถึงนิพพาน
จากนั้นผู้เรียนจะต้องนำหลักทฤษฎีนั้น มาลงมือปฏิบัติ จนพาตัวพาใจให้เข้าถึง นิพพานได้ด้วยตนเอง

ดังนั้นธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเช่น อริยสัจ 4 มรรค 8 อนัตตา สติปัฏฐาน 4 โพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการล้วนแล้วแต่เป็นปริยัติ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ จนกว่าจะได้รับผล คือปฏิเวทด้วยตนเอง

:b11:
มันตลกไหมครับ ที่ฝรั่งมาจากแคนาดา ไม่เคยสัมผัสรสสะเดา แล้วมีคนพยายามจะอธิบายรสชาดของสะเดาให้เขาเข้าใจ

อธิบายยังไงฝรั่งคนนั้นก็ไม่มีทางจะรู้และเข้าใจรสชาดของสะเดา

มีแต่ต้องบอกบัญญัติ หรือวิธีการที่ฝรั่งคนนั้นจะได้สัมผัสและรู้ซึ้งถึงรสชาดของสะเดา ด้วยการบอกเขาด้วยภาษาบัญญัติของเขาว่า ...คุณจงตรงไปที่ตลาดสด เมืองไทย ในหน้าที่เขามีสะเดาขาย คุณซื้อสะเดามาแล้วเอาใส่ปากเคี้่ยวๆดู ไม่กีทีคุณก็จะได้สัมผัสรสของสะเดา และรู้ซึ้งในรสของสะเดา ว่า มัน ขม

คำสอนของพระพุทธเจ้าที่สอนสาวกทั้งหลายก็น่าจะมีลักษณะคล้ายกันอย่างนี้

สมดังพระวาจาที่พระองค์ทรงตรัสเสมอว่า...."เราเป็นเพียงผู้ชี้บอกทาง".............

:b11: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 20:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b10:
อ้างคำพูด:
อัตตาไม่ใช่ความเห็นผิด แม้ผู้มีสัมมาทิฐิแล้ว ก็ยังมีอัตตาได้

อนัตตาก็ไม่ใช่ความเห็นถูก อนัตตาเป็นผลจากความเห็นถูก แล้วปล่อยวางสิ่งที่เห็นนั้น

สิ่งที่เป็นคู่ปรับของอัตตาก็คือ โพธิปักขิยธรรม

ความหมายของความเห็นผิด หมายถึงผู้ที่ยังไม่มีสัมมาทิฐิ
การจะมีสัมมาทิฐิได้จะต้องเจริญสติ(ไม่เกี่ยวกับปัญญาด้วยละซิ?)

เมื่อมีความเห็นถูกหรือสัมมาทิฐิแล้ว ก็ยังไม่นับว่าเป็นอนัตตา
แต่ยังต้องปฏิบัติเพื่อให้ถึงอริยมรรคมีองค์แปดอีก จนถึงสัมมาญานเป็นสัมมาวิมุติ
แบบนี้จึงจะเรียกว่า ละอัตตา เป็นอนัตตาแล้ว

:b6:
นี่คืออีก 1 ความเห็น......ที่ทุกๆท่านพึงพิจารณาให้ดีๆทุกด้าน มุม เพื่อมิให้เกิดวิปลาสในธรรมนะครับ

:b10: s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 21:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




100_5899_resize_resize.JPG
100_5899_resize_resize.JPG [ 85.71 KiB | เปิดดู 1950 ครั้ง ]
s005
อ้างคำพูด:
การจะมาเข้าใจบัญญัติได้นั้น บุคคลจะต้องรู้เห็นสภาวะธรรมของตนเองก่อน
แล้วจึงมาทำความเข้าใจว่า สภาวะธรรมของตน ตรงกับบัญญัติตัวใด
ไม่ใช่อ่านบัญญัติแล้วค่อยไปหาสภาวะธรรม หาให้ตายก็ไม่เจอ
เพราะบัญญัติที่เราอ่านก่อน มันจะเป็นเพียงความคิด ไม่ใช่สภาวะธรรม

:b12: :b12: :b12:

นายโฮโฮ ...ได้ยินเพื่อนคนหนึ่งที่ไปเที่ยวประเทศสิงคโปร์มาแล้ว เล่าให้ฟังว่า ที่เกาะเซนโตซ่า นั้น สวยงามมากและน่าตื่นเต้น เพราะต้องนั่งรถกระเช้าไฟฟ้าข้ามน้ำเข้าไปดู แล้วเพื่อนคนนั้นก็อธิบายวิธีที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศสิงคโปร์จนได้เห็นความสวยงามของเกาะเซนโตซ่า

นี่คือบัญญัติ ที่นายโฮโฮ ได้รับฟังและรับรู้ .....นายโฮโฮ ก็มานึกคิด จินตนาการถึงภาพความสวยงามของเกาะเซนโตซ่า โดยเทียบกับสัญญา ความจำ เท่าที่ตนมี...แต่ยังไม่รู้จริงๆว่า เกาะเซนโตซ่าสวยงามอย่างไร

1 ปีให้หลัง นายโฮโฮ รวบรวมสตางค์ได้เพียงพอ จึงซื้อโปรแกรมทัวร์สิงคโปร์ที่มีรายการไปชมเกาะเซนโตซ่าด้วย แล้วก็ลางานเดินทางไปเที่ยวประเทศสิงคโปร์จริงๆ

เมื่อเที่ยวจนครบตามโปรแกรมทัวร์แล้ว นายโฮโฮ ก็ได้รู้ซาบซึ้งถึงความจริงว่า เกาะเซนโตซ่าที่สิงคโปร์สวยงามและน่าตื่นเต้นอย่างไร?

:b11: :b11: :b11:
ตัวอย่างที่เป็นสภาวธรรมเกิดขึ้นกับจิตเจ้าของ

นายเฮฮา เคยถูกพิษบุ้งร่านสัมผัสที่แขนเพราะไปตัดกิ่งไม้แล้วแขนไปชนกับขนบุ้งร่าน เขาได้รับความเจ็บแสบ ปวดร้อน ทุกข์ทรมาณมาก จึงมาเล่าให้ นาย ฮ้วย ฟัง ว่าพิษของบุ้งร่านนี่มันทำให้เจ็บแสบมากแค่ไหน

อธิบายอย่างไร นายฮ้วย ก็ไม่เข้าใจซาบซึ้ง เพราะไม่รู้จะเอาความเจ็บแสบทุกข์ทรมาณที่นายเฮฮาได้รับ ไปเทียบกับความทุกข์เจ็บแสบอันใดที่นายฮ้วยเคยประสบการณ์

อยู่ต่อมาอีก 2 - 3 สัปดาห์ นายเฮฮา ชวนนายฮ้วยไปเที่ยวที่บ้าน และขอให้นายฮ้วยไปช่วยตัดแต่งกิ่งต้นไม้แถวบริเวณที่นายเฮฮาเคยเจอบุ้งร่าน บังเอิญจริงๆ นายฮ้วย เผลอตัวเอาแขนกวาดไปถูกตัวบุ้งร่านเข้าอีกเหมือนกัน จึงร้องโอย โวยวายลั่นขึ้นมาด้วยความเจ็บ

นายเฮฮาจึงวิ่งมาถามนายฮ้วยว่าเป็นยังไง?

นายฮ้วยตอบว่า.....โอย...ตอนนี้ฉันรู้แล้ว ว่าเจ็บเพราะพิษบุ้งร่านนี้เป็นอย่างไร ไม่ต้องอธิบาย

นิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า มนุษย์ทุกคนไม่ได้มีสภาวะธรรมทุกอย่างเคยสัมผัสไว้ในจิตอยู่แล้ว ต้องแล้วแต่ประสบการณ์ กรรม วิบาก เหตุ ปัจจัย ของใครของมัน

:b43:
ส่วนประสบการณ์ในเรื่อง นิพพาน นั้น ก็ดุจเดียวกัน ปุถุชนทั้งหลาย ย่อมไม่เคยได้สัมผัสมาก่อนเป็นแน่ จึงต้องมาเรียนรู้ บัญญัติ ปริยัติศาสนา จากคำสอนของพระบรมศาสดา เกิดสุตตมยปัญญานำหน้าไปเสียก่อน จากนั้นจึงเกิด จินตมยปัญญา ใคร่ครวญพิจารณาหาเหตุหาผลตาม จนเหลือสิ่งที่ไม่เคยมีในสัญญารอพิสูจน์ จากการปฏิบัติจริง ...จึงได้ลงมือทำภาวนามยปัญญาพิสูจน์ธรรมตามหลักปริยัติบัญญัติที่เรียนมาทั้งหลาย จนได้สัมผัสความจริง คือ อัตตาและ นิพพานในที่สุด
:b13: :b13: :b13:
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร