วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 12:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 132 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 09:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2013, 13:25
โพสต์: 41

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:


นึกถึงภาษามวย "มีเถียง" :b9: แล้วก็อีก อะไรน๊า ไปน้ำขุ่นๆ

"ปรมนุตตรสุญญตา" เป็นชื่อที่เขาใช้แทนตัวเขาในลานนี้ ก็เหมือนกรัชกาย โฮฮับ ฯลฯ


สุญญตาขนาดว่างอย่างยิ่ง ไม่ใช่สุญญตาวับ ๆ แวม ๆ เหมือนการที่พวกเราไปนั่งวิปัสนา กรรมฐาน หรืปไปปฏิบัติธรรมที่วัด พอกลับไปบ้านก็ไม่ว่างเสียแล้ว สุญญตาวิหาร หรือ มหาปุริสวิหาร นั้นหมายถึงว่างอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นจึงมีคำอีกคำหนึ่ง ซึ่งค่อนข้างจะยาวมาก เรียกว่า “ปรมนุตตรสุญญตา” คือ ปรม+อนตตระ+สุญญตา รวมกันทั้ง ๓ คำ เป็น ปรมนุตตรสุญญตา คือสุญญตาที่ว่างอย่างยิ่ง ไม่มีอะไรอื่นยิ่งไปกว่า

ข้อนี้ ถ้าระบุตามคำเทคนิคของธรรมะ จะมีกล่าวถึง เจโตสมาธิที่ไม่มีนิมิต จนจิตว่างจากอาสวะ เจโตสมาธิที่ไม่มีนิมิตที่จิตผ่องใสจนไร้อาสวะนี้ อาจจะเป็นอย่าง กุปปธรรม หรือ อกุปปธรรม ก็ได้ คือว่าจะเป็นอย่างของคนที่จะกลับไปไม่ว่างอีก หรือว่าเป็นของคนที่ว่างเด็ดขาดไปเลยก็ได้ ถ้าในขณะใดประกอบด้วยเจโตสมาธิประเภทที่ไม่มีนิมิต จะยึดถือว่ามีอะไรเป็นตัวตน-ของตนแล้ว จิตกำลังผ่องใสไร้อาสวะอยู่ในเวลานั้นแล้ว ก็เรียกว่า “ปรมานุตตรสุญญตา” ได้ ซึ่งพระอริยะเจ้าหรือพระอรหันต์นั้น ท่านทำอยู่เป็นว่าเล่น คือเป็นไปเอง

ถ้าเราเป็นปุถุชน จะเป็นโยคีที่สมบูรณ์กันสักที ก็ควรจะเข้าถึงเจโตสมาธิให้ได้ตามกาล แม้จะไม่สิ้นอาสวะโดยเด็ดขาด ก็เป็นการไร้อาสวะอยู่ในบางโอกาส บางขณะ แต่นี่เราไปยืมของท่านมา คือไปยืมของพระพุทธเจ้าหรือของพระอรหันต์มา สำหรับให้พวกเราลองดูบ้างเท่านั้น เพื่อว่าอย่าได้ท้อถอยเสียทีเดียว เพราะเหตุใด? เพราะเหตุว่า สิ่งที่เรียกว่าความว่างก็ดี ความหลุดพ้นก็ดี หรือนิพพานก็ดี มันมีได้ทั้งประเภทที่เด็ดขาดลงไป และประเภทที่ยังกลับไปกลับมาได้ สำหรับคนเราตามธรรมดา หรือยิ่งกว่านั้น ยังมีประเภทที่ประจวบเหมาะก็ยังได้ ในเมื่อสิ่งต่าง ๆ แวดล้อมเหมาะสมดี เราอาจจะมีจิตใจว่างอย่างนี้ได้สักชั่วโมงสองชั่วโมงก็ได้ แต่ว่าเป็นเรื่องเป็นราวนั้น คือเราต้องตั้งใจประพฤติบัติกระทำให้มันว่าง ตามที่เราสามารถจะกระทำได้

ที่แท้จริงนั้น ที่เป็น ปรมนุตตรสุญญตา จริง ๆ นั้น ท่านหมายถึงว่าได้ทำลาย โลภะ โทสะ โมหะ ความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตนได้เด็ดขาด เป็นสมุจเฉทปหานลงไปจริง ๆ แล้ว เพราะฉะนั้นเมื่อจะกล่าวถึงสุญญตาสุดยอด ท่านต้องบัญญัตินามไว้ว่า ปรมนุตตรสุญญตา เรื่องสุญญตาสุดยอดนี้ ถ้าลองเหลือบให้ต่ำลง ลดหลั่นไปตามลำดับ ก็จะเข้าใจ สุญญตาที่ต่ำ ๆ หรือ รอง ๆ ลงมา คือถ้าไล่จากทางสูง คือเอาปรมานุตตรสุญญตาเป็นยอดสุดแล้ว ที่ลดต่ำลงมาก็คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี้เป็นความว่างที่รองลงมา แล้วก็ อากิญจัญญายตนะ รองลงมาอีก วิญญาณัญจายตนะ รองลงมาอีก อากาสานัญจายตนะ รองลงมาอีก แล้ว ปฐวีสัญญา รองลงมาอีก แล้วก็ อรัญญาสัญญา รองลงมาอีก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2013, 13:25
โพสต์: 41

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มองจากข้างบนสุดลงมาหาพื้นต่ำ นี้เข้าใจยาก ดูไปจากพื้นต่ำดีกว่า คือให้ค่อย ๆ เงยขึ้นไปหาข้างบน

อันแรกที่สุดเรียกว่า อรัญญสัญญา คือมีความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นป่า นี่ถ้าที่ในบ้านในเมืองนี้มันวุ่นวาย เราลองทำความสำคัญมั่นหมายด้วยจิตใจว่าเป็นป่า เหมือนอยู่ในป่าหรือออกไปอยู่ป่าจริง ๆ แล้วทำสัญญาว่าป่าให้ว่าง มีความสงัดจากเสียงรบกวน มันก็เรียกว่าว่างชนิดหนึ่งแล้ว เพียงแต่ว่าทำสัญญาว่าป่าเท่านั้น ก็ได้สุญญตาเด็กเล่นขึ้นมาแล้ว

ทีนี้สูงขึ้นไปอีก ปฐวีสัญญา ทำความมั่นหมายว่าดิน คือสักว่าดินเท่านั้น ดิน ก็หมายความว่าธาตุดิน รู้สึกว่าสิ่งต่าง ๆ เป็นธาตุดินไปหมด ก็อาจกำจัดความกำหนัดในกามารมณ์ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ได้ นี่ก็เป็นสุญญตาที่สูงกว่าเด็กอมมือ จึงควรที่คนหนุ่มคนสาวควรจะลองดู

ทีนี้ถ้าจะให้มันสูงขึ้นไปอีก ก็ต้องทำสัญญาเป็น อากาสานัญจายตนะ ทำความรู้สึกว่าทั้งหมดมีแต่อากาศที่ไม่มีที่สิ้นสุด อากาศนี้คือความว่างชนิดหนึ่งเหมือนกัน แต่ยังไม่ถึงสุญญตา ที่ว่างที่โล่งไม่มีอะไร นี้ก็ยังได้ความว่างหรือสุญญตาที่สูงขึ้นไป

ทีนี้อย่าไปสนใจในเรื่องความว่าง ที่ว่าง ที่โล่งนั้น ให้สนใจเรื่องที่ละเอียดกว่านั้น จับตัวได้ยากกว่านั้น คือวิญญาณ อย่างที่เรียกว่า วิญญาณณัญจายตนะ ทำในใจว่า ไม่มีอะไรนอกจากมีแต่วิญญาณที่ไม่มีที่สิ้นสุด มีแต่วิญญาณธาตุทีไม่มีที่สิ้นสุด เหล่านี้ก็ยังว่างขึ้นมาอีก

ทีนี้ถ้าจะให้สูงขึ้นไปกว่านั้น ก็เป็นสุญญตา ประเภททำในใจถึง อากิญจัญญายตนะ ว่าไม่มีอะไรเลย ที่แท้มันไม่มีอะไรเลย คือว่าจะไม่ให้จิตไปกำหนดถึงอะไรเลย กำหนดความไม่มีอะไรเลย แต่ยังรู้สึกอยู่ว่าไม่มีอะไรเลย อย่างนี้ก็เป็นความว่างขึ้นไปอีก

ทีนี้ไต่ไปอีกทีหนึ่งก็คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ คือทำความรู้สึกอยู่ด้วยความไม่รู้สึก เรียกว่าจะเหมือนกับคนเป็นก็ไม่ใช่ คนตายก็ไม่ใช่ คือมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ นี่หมายถึงการไม่ทำสัญญาในอะไรเลย มีความรู้สึกอยู่แต่ว่า ไม่ทำสัญญาว่าอะไรเลย ละเอียดยิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงกับว่า คนนั้นเรียกว่าคนตายแล้วก็ไม่ใช่ คนเป็นอยู่ก็ไม่เชิง อย่างนี้เรียกว่าว่างเหมือนกัน

ว่างทั้ง ๖ ระดับนี้ ไม่ชื่อว่าสุญญตาอย่างที่ว่า คือไม่ใช่ ปรมนุตตรสุญญตา เป็นแต่เพียงท่านแสดงให้เห็นว่า ที่ว่าว่าง ๆ นี้มันว่างขึ้นมาได้อย่างไร มันว่างยิ่งขึ้นไป ๆ ๆ ได้อย่างไร แต่ถึงอย่างนั้น มันก็ยังไม่ใช่ว่างอย่าง มหาปุริสวิหาร มันว่างอย่างพวกฤๅษี มุนี ก่อนพุทธกาล หรือในครั้งพุทธกาลค่อย ๆ คลำไป ๆ จนมาพบและจนมุมอยู่ที่นี่ ไม่รู้ว่าจะไปทางไหนอีก จนกระทั่งพระพุทธเจ้าทรงพบสุญญตาที่แท้เป็นปุริสวิหาร หรือปรมานุตตรสุญญตา ดังที่กล่าวแล้วนั่นเอง

อรรถกถาเรียกความรู้สึกต่อสุญญตานี้ว่า สุญญตาผัสสะ หรือ สุญญโตผัสโส พวกเรารู้กันแต่ผัสสะทางตา ผัสสะทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์ ไม่เคยมีสุญญตาผัสสะ ไม่เคยผัสสะต่อสุญญตา เพราะว่าเรารู้จักกันแต่รูปธาตุ อรูปธาตุ ไม่รู้เรื่องนิโรธธาตุ

เมื่อไรเรารู้เรื่องนิโรธธาตุ เราจะได้สัมผัสอันใหม่ คือสุญญตาผัสสะ อย่างที่อรรถกถาเรียก แล้วอันนี้มันเป็นชื่อของอริยมรรคในขั้นทำลายกิเลสได้จริง ต่อเมื่อสร้างอริยมรรคที่ทำลายกิเลสได้จริง และทำลายกิเลสอยู่ ขณะนั้นเรียกว่า “สุญญตาผัสสะ” คือเราได้เอามือไปแตะสุญญตาเข้าแล้ว นี่พูดอย่างอุปมาว่าเหมือนกับเราเอามือไปแตะสุญญตาเข้าแล้ว คือจิตของเราได้สัมผัสกันเข้ากับความว่าง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม จขกท. ว่าปฏิบัติโดยวิธีใดหรือครับ :b14:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 09:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2013, 13:25
โพสต์: 41

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความว่างในลักษณะที่เป็นผัสสะเช่นนี้ หมายถึงอริยมรรคของคนที่เห็นอนัตตา คืออนัตตาปัสสนา เห็นว่าไม่มีตัวตน ไม่มีของตน เป็นสักแต่ว่าธรรมะ ธรรมชาติเรื่อยไปยิ่งขึ้น ๆ เป็นอริยมรรคทำนองนี้อยู่แล้ว ก็เรียกว่า สุญญโต ในที่นี้ แล้วผัสสะใดที่เกิดขึ้นในขณะแรกแห่งมรรคนั้น ผัสสะนั้นเรียกว่า “สุญญโตผัสโส” หรือสุญญตาผัสสะ คือการแตะต้องสุญญตา

ทีนี้ อนัตตานุปัสสนา ที่ทำให้มีอาการอย่างนี้ได้นั้น มันสืบต่อมาจากการเห็นทุกข์ คืออนัตตานุปัสสนา จะต้องสืบต่อมาจากทุกขานุปัสสนา เหมือนกับว่าไปขยำเอาไฟเข้าแล้วมันร้อนอย่างนี้ มันจึงจะรู้ว่าไฟนี้ไม่ใช่สิ่งที่ควรขยำเลย หรือว่าธรรมทั้งปวงนี้ ไปขยำเข้าแล้วก็เป็นไฟขึ้นมา แล้วรู้ว่าธรรมทั้งปวงนี้ไม่ควรขยำเลย คือไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเลย

หากความเจนจัดทางวิญญาณของเรามากพอ ในการที่ว่าไฟมันไหม้เอาอย่างไรแล้วมันเผาเอาอย่างไร มันร้อยรัด หุ้มห่อ ทิ่มแทง พัวพัน เผาลนอย่างไร อย่างนี้เรียกว่า “ทุกขานุปัสสนา”

ความเจนจัดทางวิญญาณในชั้นนี้เรียกว่า ทุกขานุปัสสนา เป็นเหตุให้เกิดอนัตตานุปัสสนา หรือ สุญญตานุปัสสนาขึ้นมา เพราะฉะนั้นผัสสะต่อธรรมะ คือ ผัสสะที่รู้สึกต่อธรรมะขณะนั้นเรียกว่า “สุญญตาผัสสะ”

ทีนี้จะต้องคิดต่อไปถึงว่า บางคนเขาค้านว่า ถ้าไม่ถึงนิพพาน จะรู้เรื่องนิพพานได้อย่างไร อย่างว่าไม่เคยเห็นยุโรป จะเห็นยุโรปได้อย่างไร? นี้มันไม่ใช่เรื่องทางวัตถุ มันเป็นเรื่องในทางจิตใจ คือจิตใจของคนเรานี่มันว่าง เป็นการชิมลองอยู่ได้เองแล้ว

ในเรื่องของการปฏิบัติอานาปานสติจึงมีเรืองของจิตตานุปัสสนาที่ว่า เพ่งดูจิตตามที่เป็นจริงอย่างไรนั้น จึงมีตอนกล่าวถึงว่า ถ้าจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ ถ้ารู้ว่าจิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ ถ้าจิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตไม่หดหู่ ก็รู้ว่าจิตไม่หดหู่ จิตวิมุตติ ก็รู้ว่าจิตวิมุตติ จิตไม่วิมุตติ ก็รู้ว่าจิตไม่วิมุตติ นี้คือความหมายของคำว่า ว่าง หรือ ไม่ว่าง นั่นเอง ให้เราดูที่จิตของเราที่กำลังวิมุตติ คือว่างจากสิ่งทั้งปวงอยู่ หรือว่าจิตของเรากำลังถูกจับกุม ยึดถือสิ่งใดอยู่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 09:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2013, 13:25
โพสต์: 41

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ถาม จขกท. ว่าปฏิบัติโดยวิธีใดหรือครับ :b14:


ขอไม่ตอบค่ะ อย่าถราเลยนะคะ ไม่รู้ คุณกรัชกายรู้มั้ยค่ะ ถามแบบนี้ท่าทางจะบรรลุแล้วในเรื่องปรมนุตตรสุญญตา อาจเป็นถึงระดับผู้เชี่ยวชาญ ดิฉันไม่รู้เลยค่ะว่าคุณกรัชกายรู้มายังไงบ้าง ตอบไปกลัวผิด กลัวไม่ถูกใจคุณกรัชกาย เดี๋ยวจะมาใส่ร้ายว่าฉันรู้มาแบบผิดๆอีก เอาเป็นว่าคุณกรัชกายรู้มาอย่างไรก็สั่งสอนฉันด้วยแล้วกันนะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 09:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปรมนุตตรสุญญตา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ถาม จขกท. ว่าปฏิบัติโดยวิธีใดหรือครับ :b14:


ขอไม่ตอบค่ะ อย่าถราเลยนะคะ ไม่รู้ คุณกรัชกายรู้มั้ยค่ะ ถามแบบนี้ท่าทางจะบรรลุแล้วในเรื่องปรมนุตตรสุญญตา อาจเป็นถึงระดับผู้เชี่ยวชาญ ดิฉันไม่รู้เลยค่ะว่าคุณกรัชกายรู้มายังไงบ้าง ตอบไปกลัวผิด กลัวไม่ถูกใจคุณกรัชกาย เดี๋ยวจะมาใส่ร้ายว่าฉันรู้มาแบบผิดๆอีก เอาเป็นว่าคุณกรัชกายรู้มาอย่างไรก็สั่งสอนฉันด้วยแล้วกันนะคะ




อยากรู้ว่า จขกท. ปฏิบัติแบบใดเช่น พุทโธ สัมมาหรหัง พอง-ยุบ นะมะพะทะ สัมปฏิจฉามิ หรืออื่นๆ :b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 09:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2013, 13:25
โพสต์: 41

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในการปฏิบัติขึ้นต้นเพียงขั้นนี้ ก็ยังสอนให้ดูจิตที่ว่าง หรือจิตที่วิมุตติอยู่แล้ว ซึ่งมันก็มีให้ดูในภายใน ไม่ใช่คาดคะเนเอาตามตัวหนังสือที่เคยอ่าน

เพราะฉะนั้น เป็นอันว่า นิพพาน หรือ ความว่าง หรือ สุญญตา นี้มีให้ดู เป็นสิ่งที่มีให้เราดูได้ แม้ในขณะที่เป็นปุถุชนอย่างนี้ เพราะว่ามันมีความว่างอย่าง ตทังควิมุตติ อยู่บ้าง คือบังเอิญเหมือนอย่างที่กำลังเป็นอยู่เดี๋ยวนี้ เรียกว่าบังเอิญเป็น ตทังควิมุตติ ถ้าได้แวดล้อมอะไรอย่างนี้แล้วจิตก็ยังว่างอยู่ อย่างนี้ก็ว่างเหมือนกัน หรือถ้าใครทำสมาธิถูกวิธี จิตมันว่างสบายไปหมด ยิ่งกว่าความสุขชนิดไหนหมดก็ได้ นั่นเป็น วิกขัมภนวิมุตติ ไม่ต้องพูดถึง สมุจเฉทวิมุตติ ที่เป็นของพระอรหันต์

เพราะฉะนั้น เราควรจะทำอานาปานสติไปตามลำดับ ทำกายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ทั้งมานุปัสสนา มันเป็นการชิมความว่างเรื่อยไป ตั้งแต่ต้นจนปลายทั้งนั้น ในที่สุดมันก็จะเข้าใจความว่าง เพราะมองเห็นโทษของความยึดมั่นถือมั่น แล้วจิตก็จะหันไปพอใจในอายตนะนั้น คือ นิพพาน หรือ ความว่างขึ้นมาได้ทันที

เรียกว่าเราดูความว่างไปได้เรื่อย ๆ ดูสุญญตาไปเรื่อย ๆ ก่อนที่จะไปถึงปรมสุญญตา เป็นการก้าวหน้าไปตามกฎของมันเอง หรือว่าตามกฎของธรรมชาติเอง ที่ว่ารู้เห็นสิ่งใดด้วยตนเอง อย่างมั่นคง แล้วเป็นไปได้อย่างมั่นคง ไม่โยกเยก เหมือนความรู้ที่ได้มาจากการได้ยิน ได้ฟัง หรือว่าเป็นความรู้ที่เป็นมายาทำนองนั้น


ทีนี้จะเป็นความสุขขึ้นมาได้อย่างไรนั้น เราไม่ต้องทำหรอก เราไม่ต้องอธิบาย หรือไม่ต้องไปทำให้ยุ่งยาก เราทำให้ว่างเถอะ มันกำพอแล้ว คือทำให้ว่างจาก โลภะ โทสะ โมหะ คือว่างจากความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวเรา ว่าของเราแล้ว มันก็ว่างจาก โลภะ โทสะ ธมหะ เมื่อว่างจาก โลภะ โทสะ โมหะ ก็คือว่างจริง ๆ มันเป็นคำ ๆเดียวกัน เมื่อนั้นความทุกข์ทั้งปวงก็จะหมดไป แม้แต่กรรมก็หมดไปเอง

ในบาลีอังคุตตรนิกาย ยืนยันในข้อที่ว่า กรรมหมดไปเอง ในเมื่อว่างจาก โลภะ โทสะ โมหะ หรือว่างจากตัวกู-ของกู ซึ่งพูดกันให้สั้น ๆ ในที่นี้ก็ว่า ถ้ามันว่างจากความยึดมั่นถือมั่นว่าเรา ว่าของเราแล้ว กรรมก็จะหมดไปเอง ซึ่งหมายความว่า หมดไปทั้งกรรม และวิบากของกรรม และกิเลสซึ่งเป็นเหตุให้ทำกรรมมันหมดพร้อมกันเอง

เพราะฉะนั้นเราไม่ต้องไปกลัวกรรม กลัวจะต้องเป็นไปตามกรรม เราไม่ต้องสนใจกับเรื่องกรรม แต่เราสนใจกับความว่าง ทำความว่างให้แก่ตัวกูและของกูได้แล้ว กรรมย่อมสลายไปหมดสิ้น ไม่มีทางที่จะต้องเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 09:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ปรมนุตตรสุญญตา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ถาม จขกท. ว่าปฏิบัติโดยวิธีใดหรือครับ :b14:


ขอไม่ตอบค่ะ อย่าถราเลยนะคะ ไม่รู้ คุณกรัชกายรู้มั้ยค่ะ ถามแบบนี้ท่าทางจะบรรลุแล้วในเรื่องปรมนุตตรสุญญตา อาจเป็นถึงระดับผู้เชี่ยวชาญ ดิฉันไม่รู้เลยค่ะว่าคุณกรัชกายรู้มายังไงบ้าง ตอบไปกลัวผิด กลัวไม่ถูกใจคุณกรัชกาย เดี๋ยวจะมาใส่ร้ายว่าฉันรู้มาแบบผิดๆอีก เอาเป็นว่าคุณกรัชกายรู้มาอย่างไรก็สั่งสอนฉันด้วยแล้วกันนะคะ




อยากรู้ว่า จขกท. ปฏิบัติแบบใดเช่น พุทโธ สัมมาหรหัง พอง-ยุบ นะมะพะทะ สัมปฏิจฉามิ หรืออื่นๆ :b8:



ที่ถามเนี่ย จะบอกไหมเนี่ยๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2013, 13:25
โพสต์: 41

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ปรมนุตตรสุญญตา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ถาม จขกท. ว่าปฏิบัติโดยวิธีใดหรือครับ :b14:


ขอไม่ตอบค่ะ อย่าถราเลยนะคะ ไม่รู้ คุณกรัชกายรู้มั้ยค่ะ ถามแบบนี้ท่าทางจะบรรลุแล้วในเรื่องปรมนุตตรสุญญตา อาจเป็นถึงระดับผู้เชี่ยวชาญ ดิฉันไม่รู้เลยค่ะว่าคุณกรัชกายรู้มายังไงบ้าง ตอบไปกลัวผิด กลัวไม่ถูกใจคุณกรัชกาย เดี๋ยวจะมาใส่ร้ายว่าฉันรู้มาแบบผิดๆอีก เอาเป็นว่าคุณกรัชกายรู้มาอย่างไรก็สั่งสอนฉันด้วยแล้วกันนะคะ




อยากรู้ว่า จขกท. ปฏิบัติแบบใดเช่น พุทโธ สัมมาหรหัง พอง-ยุบ นะมะพะทะ สัมปฏิจฉามิ หรืออื่นๆ :b8:


จะสอนอะไรก็สอนมาเถอะค่ะ ไม่ต้องค่อยๆหยอด ดิฉันรู้ดีว่าตัวเองนั้นโง่เขลาตามที่คุณกรัชกายมองมานั่นแหล่ะค่ะ คุณกรัชกายมีอะไรจะสั่งสอนดิฉันก็ปล่อยออกมาให้หมดเลยดีกว่าค่ะ นะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 09:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2013, 13:25
โพสต์: 41

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ปรมนุตตรสุญญตา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ถาม จขกท. ว่าปฏิบัติโดยวิธีใดหรือครับ :b14:


ขอไม่ตอบค่ะ อย่าถราเลยนะคะ ไม่รู้ คุณกรัชกายรู้มั้ยค่ะ ถามแบบนี้ท่าทางจะบรรลุแล้วในเรื่องปรมนุตตรสุญญตา อาจเป็นถึงระดับผู้เชี่ยวชาญ ดิฉันไม่รู้เลยค่ะว่าคุณกรัชกายรู้มายังไงบ้าง ตอบไปกลัวผิด กลัวไม่ถูกใจคุณกรัชกาย เดี๋ยวจะมาใส่ร้ายว่าฉันรู้มาแบบผิดๆอีก เอาเป็นว่าคุณกรัชกายรู้มาอย่างไรก็สั่งสอนฉันด้วยแล้วกันนะคะ




อยากรู้ว่า จขกท. ปฏิบัติแบบใดเช่น พุทโธ สัมมาหรหัง พอง-ยุบ นะมะพะทะ สัมปฏิจฉามิ หรืออื่นๆ :b8:



ที่ถามเนี่ย จะบอกไหมเนี่ยๆ

อย่ามาใส่อารมณ์กับคนโง่อย่าดิฉันสิ่คะ จะบอกว่าดิฉันโง่ ดิฉันรู้มาผิดๆ ของคุณกรัชกายถูกก็บอกมาเลยค่ะ ดิฉันรับได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2013, 13:25
โพสต์: 41

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พิมพ์เสร็จผนก็ตกกระหน่ำลงมาทันทีเลยค่ะ เมื่อคืนนี้ดิฉันฝันแปลกจัง ฝันไปว่าชื่อของคุณโฮฮับเปลี่ยนเป็นสีม่วง และฝันไปอีกว่าคุณกรัชกายกับคุณโฮฮับกำลังปุจฉา-วิสัชนา กันอย่างถึงพริกถึงขิง แถมยังมีคุณกบนอกกะลามาร่วมแจมบ้างประปราย แสดงว่าดิฉันยังไม่ถึงขั้นนะคะนี่ จิตจึงเกิดอาการยึดจนเก็บไปฝันกันเลยทีเดียว

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 11:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปรมนุตตรสุญญตา เขียน:

อันแรกที่สุดเรียกว่า อรัญญสัญญา คือมีความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นป่า นี่ถ้าที่ในบ้านในเมืองนี้มันวุ่นวาย เราลองทำความสำคัญมั่นหมายด้วยจิตใจว่าเป็นป่า เหมือนอยู่ในป่าหรือออกไปอยู่ป่าจริง ๆ แล้วทำสัญญาว่าป่าให้ว่าง มีความสงัดจากเสียงรบกวน มันก็เรียกว่าว่างชนิดหนึ่งแล้ว เพียงแต่ว่าทำสัญญาว่าป่าเท่านั้น ก็ได้สุญญตาเด็กเล่นขึ้นมาแล้ว


:b8:
เคยฟังคนหนึ่งเขาพูดว่าตอนเด็กๆ เขาเคยคิดว่าในโลกนี้ว่างจากคนจากสัตว์
ผมเลยลองนึกดูบ้าง นึกแบบโลกใบกลมๆไม่มีคนไม่มีสัตว์ โลกใบกลมๆมีแต่ต้นไม้ก้อนหินใบหญ้าสบายใจดี

อีกอันหนึ่งทำความรู้ไว้กับกายหรือทำใจไว้เฉยๆ
พอความคิดอารณ์ที่มากมายในใจเริ่มหายไป ทำให้รู้สึกสงบวิเวกวังเวงดี
อาจจะเหมือนกับในเมืองที่มีรถวิ่งเยอะแยะมากมาย พอรถวิ่งน้อยลง จนไม่ค่อยมี เลยปรุงความรู้สึกวิเวกวังเวงขึ้นมาด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปรมนุตตรสุญญตา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ปรมนุตตรสุญญตา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ถาม จขกท. ว่าปฏิบัติโดยวิธีใดหรือครับ :b14:


ขอไม่ตอบค่ะ อย่าถราเลยนะคะ ไม่รู้ คุณกรัชกายรู้มั้ยค่ะ ถามแบบนี้ท่าทางจะบรรลุแล้วในเรื่องปรมนุตตรสุญญตา อาจเป็นถึงระดับผู้เชี่ยวชาญ ดิฉันไม่รู้เลยค่ะว่าคุณกรัชกายรู้มายังไงบ้าง ตอบไปกลัวผิด กลัวไม่ถูกใจคุณกรัชกาย เดี๋ยวจะมาใส่ร้ายว่าฉันรู้มาแบบผิดๆอีก เอาเป็นว่าคุณกรัชกายรู้มาอย่างไรก็สั่งสอนฉันด้วยแล้วกันนะคะ




อยากรู้ว่า จขกท. ปฏิบัติแบบใดเช่น พุทโธ สัมมาหรหัง พอง-ยุบ นะมะพะทะ สัมปฏิจฉามิ หรืออื่นๆ :b8:


จะสอนอะไรก็สอนมาเถอะค่ะ ไม่ต้องค่อยๆหยอด ดิฉันรู้ดีว่าตัวเองนั้นโง่เขลาตามที่คุณกรัชกายมองมานั่นแหล่ะค่ะ คุณกรัชกายมีอะไรจะสั่งสอนดิฉันก็ปล่อยออกมาให้หมดเลยดีกว่าค่ะ นะคะ



ยังไม่ทันพูดอย่างที่ จขกท.คิดสักคำ :b1: เพียงอยากรู้ว่า ปฏิบัติแบบใดมาในตัวอย่างดังกล่าวนั้น เพื่ออะไร เพื่อจะนำมาเป็นข้อคิดพิจารณาถึงอารมณ์กรรมฐาน :b14:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ปรมนุตตรสุญญตา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ปรมนุตตรสุญญตา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ถาม จขกท. ว่าปฏิบัติโดยวิธีใดหรือครับ :b14:


ขอไม่ตอบค่ะ อย่าถราเลยนะคะ ไม่รู้ คุณกรัชกายรู้มั้ยค่ะ ถามแบบนี้ท่าทางจะบรรลุแล้วในเรื่องปรมนุตตรสุญญตา อาจเป็นถึงระดับผู้เชี่ยวชาญ ดิฉันไม่รู้เลยค่ะว่าคุณกรัชกายรู้มายังไงบ้าง ตอบไปกลัวผิด กลัวไม่ถูกใจคุณกรัชกาย เดี๋ยวจะมาใส่ร้ายว่าฉันรู้มาแบบผิดๆอีก เอาเป็นว่าคุณกรัชกายรู้มาอย่างไรก็สั่งสอนฉันด้วยแล้วกันนะคะ




อยากรู้ว่า จขกท. ปฏิบัติแบบใดเช่น พุทโธ สัมมาหรหัง พอง-ยุบ นะมะพะทะ สัมปฏิจฉามิ หรืออื่นๆ :b8:


จะสอนอะไรก็สอนมาเถอะค่ะ ไม่ต้องค่อยๆหยอด ดิฉันรู้ดีว่าตัวเองนั้นโง่เขลาตามที่คุณกรัชกายมองมานั่นแหล่ะค่ะ คุณกรัชกายมีอะไรจะสั่งสอนดิฉันก็ปล่อยออกมาให้หมดเลยดีกว่าค่ะ นะคะ



ยังไม่ทันพูดอย่างที่ จขกท.คิดสักคำ :b1: เพียงอยากรู้ว่า ปฏิบัติแบบใดมาในตัวอย่างดังกล่าวนั้น เพื่ออะไร เพื่อจะนำมาเป็นข้อคิดพิจารณาถึงอารมณ์กรรมฐาน :b14:


กรัชกายนี่มันเซ้าซี้เป็นเด็กไปได้ หัดตั้งสติแล้วก็ดูหัวข้อกระทู้หน่อยซิ
ว่า จขกทเขาโพสไว้ว่าอะไร................
" ปุจฉา-วิสัชนาเรื่องสุญญตากันนะคะ"

ก็ถามไปซิว่า สุญญตาเป็นอะไร ....ไม่ใช่เซ้าซี้ถามเขาว่าปฏิบัติวิธีใด
มันคนล่ะเรื่องเข้าใจมั้ย อยู่ใกล้หน่อยไม่ได้จะเหวี้ยงด้วยหลังมือ
เอาให้หัวทิ่มเลย :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 14:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ไม่ทราบเหมือนกันครับ สุญญตา เป็นสภาวะที่มีธรรมใดเป็นเหตุ? อริยสัจ4 เป็นแนวทาง หรือ มรรคมีองค์8 เป็นแนวทาง หรือ ปฎิจจสมุปบาทเป็นแนวทาง หรือ ญาณสมาธิเป็นแนวทาง?

คุณน้องคิดว่า ปฏิจสมุปบาทเป็นแนวทางค่ะ เพราะว่าการจะตัดตัณหาอุปทานหยุดก่อภพ เราต้องเข้าใจเรื่องปฏิจสมุปปบาท
เด่วคุณน้องจะคัดลอกปฏิจสมุปปบาทจากพระโอษฐ์พระพุทธเจ้ามาให้พิจารณาเจ้าค่ะ :b8:


ดูก่อนอานนท์! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า "เพราะสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี;
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; เพราะสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้จึงไม่มี;
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงดับไป : ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย;
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ;
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป;
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ;
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ;
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา;
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา;
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน;
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ;
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ;
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส
ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร;
เพราะความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ;
เพราะความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป;
เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ;
เพราะความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ;
เพราะความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา;
เพราะความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา;
เพราะความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน;
เพราะความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ;
เพราะความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ;
เพราะความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัส
อุปายาสทั้งหลายจึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้",ดังนี้.

ดูก่อนอานนท์! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุควรจะได้นามว่า ผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท.

:b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 132 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร