วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 04:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 06:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:


การให้ทาน คือแบ่งปัน ละความโลภ
รักษาศีล คือ การให้อภัย ละโกรธ
เจริญภาวนา คือ ทำจิตใจให้ผ่องใส่ ละโมหะ

:b1:


ก็ตอบคำถามแล้วนี่ คือ เพื่อละโลภ ละโกรธ ละหลง .. :b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 09:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


การทำกุศลนั้นผู้ที่เข้าใจจะทำกุศลแบบให้มีเหตุฝ่ายกุศลทั้ง 3 เหตุค่ะ
ในเหตุปัจจัยนั้นมีเหตุ 6 เป็นเหตุฝ่ายดี 3 เหตุ และเหตุฝ่ายไม่ดี 3 เหตุ
เวลาเราจะทำกุศลนั้น เราก็ควรทำเหตุในฝ่ายดีให้ครบทั้ง 3 เหตุ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ

การให้ทานนั้น หากประกอบด้วย ปัญญา คือ มีกัมมัสสกตาญาณ หรือ วิปัสสนาญาณ เกิดขึ้นขณะที่ให้ทาน
ก็เป็นทานประกอบไปด้วยปัญญา เป็นทานที่ประกอบด้วย อโมหเหตุ

การให้ทานพร้อมด้วยความเมตตาก็เป็นทานที่ประกอบกับ อโทสเหตุ

การให้ทานที่ให้โดยไม่มีความโลภ ไม่ได้ให้ใครเพราะอยากได้ผลตอบแทนจากการให้นั้น คือ อโลภเหตุ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออธิบายค่ะ
ศรัทธา(สัทธินทรีย์)นั้นมี 4 อย่าง
1. กัมมศรัทธา
2. วิปากศรัทธา
3. กัมมัสสกตาศรัทธา
4. ตถาคตโพธิศรัทธา
อินทรีย์5 นั้นมีอิทธิบาท4 เป็นปัจจัยให้ศรัทธาปรากฏค่ะ
ศรัทธาก็เป็นปัจจัยให้อินทรีย์อื่นๆ ที่เหลือ เสมอกัน ในการภาวนาให้เกิดญาณ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ที่เสมอกันนั้นเป็นการดำเนินไปสู่มรรคโดยส่วนเดียวค่ะ อยู่ในขั้นที่เป็นพลวอุทยัพพยญาณและพละ5 ก็ต่อสู้กับกิเลสต่อไปให้ได้ญาณสูงขึ้นค่ะ

ญาณต้นๆ ก็มีอินทรีย์ไม่เสมอกันได้ เช่น ศรัทธามากกว่าปัญญา
แต่ก็จะทำให้กิเลสเกิดและทำให้เกิดวิปัสสนูปกิเลส ที่ตรุณอทยัพพยญาณได้ค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 09:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ในการภาวนานั้น หากผู้ที่รู้ปริยัติจะทราบว่าสภาวะขณะนั้นท่านได้เข้าถึงญาณแล้ว
มันจะมีสภาวะของปัญญาขึ้นมา แต่ละท่านจะมีสภาวะของปัญญาเหมือนกัน
จะต่างกันที่ตรงที่ว่าจะรู้อะไรในญาณใด การได้เข้าไปถึงญาณนั้นมันแค่บอกความสามารถของเราแค่นั้น
แต่ยังไม่ได้ญาณนะคะ การทำให้ได้ญาณนั้นก็ต้องทำต่อไปค่ะและเริ่มที่ญาณแรกทุกครั้งจนกว่าจะได้
ญาณค่ะ

ขออธิบายแค่นี้นะคะ นี่คือภาคปฏิบัติค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 15:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การนำมาอธิบาย ในลักษณะแบบนี้ เรียกว่า ภาคสัญญา

ที่นำมาอธิบาย ล้วนหยิบยกมาจากตำราทั้งสิ้น

ถ้ารู้ชัดในสภาวะ ของคำเรียกนั้นๆ แล้ว น่าจะแปลไทย ให้เป็นไทยด้วย
คือ เขียนลักษณะอาการที่เกิดขึ้น กำกับลงไปในคำเรียกนั้นๆ

ไม่ใช่ ลอกมาแปะ อย่างเดียว

เห็นมีแต่ลอกมาแปะ ในหลายๆกระทู้ ที่อ่านๆมา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจะหมายถึงที่ดิฉันโพสท์นั้น ก็อธิบายไว้แล้วค่ะ แต่หัวข้อนั้นก็คิดว่าจะเข้าใจกันได้
เพราะก็เห็นเป็นแต่ผู้มีปัญญาทั้งสิ้น ส่วนผู้ที่ไม่เข้าใจก็หาอ่านได้ในอินเตอร์เนท ไม่ยากค่ะ
หากอ่านแล้วไม่เข้าใจก็คงต้องเป็นเรื่องของเหตุปัจจัยหลายอย่างค่ะ

ส่วนดิฉันนั้นก็ต้องใช้สัญญาประกอบตลอดเวลาแหล่ะค่ะ หากหกล้มหัวฟาดพื้นสัญญาหาย
ปัญญาก็ทำงานไม่ได้ค่ะ โชคดีจริงๆ ค่ะที่ชีวิตนี้มีสัญญาติดตัวไว้ไม่ห่าง

ที่ดิฉันโพสท์ไว้ด้านบนนี้ก็เอามาจากตำราที่เรียนทั้งสิ้นค่ะ ร้อยเปอร์เซ็นต์ค่ะ
ส่วนการปฏิบัติก็ผ่านมาบ้าง แต่ไม่เอ่ยนะคะ เอ่ยไปมันก็เหมือนการเล่านิทานค่ะ
ถ้าอ่่านพระอภิธรรมที่โพสท์ไว้ไม่เข้าใจ ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
เป็นความผิดของผู้โพสท์ค่ะ ยินดีน้อมรับความผิดด้วยความเต็มใจค่ะ
ดิฉันยังเป็นผู้มีปัญญาน้อยอยู่สักนิด คงสามารถทำให้ได้แค่นี้แหล่ะค่ะ โอเคนะคะ :b4:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ถ้ารู้ชัดในสภาวะ ของคำเรียกนั้นๆ แล้ว น่าจะแปลไทย ให้เป็นไทยด้วย
คือ เขียนลักษณะอาการที่เกิดขึ้น กำกับลงไปในคำเรียกนั้นๆ


SOAMUSA เขียน:
ที่ดิฉันโพสท์ไว้ด้านบนนี้ก็เอามาจากตำราที่เรียนทั้งสิ้นค่ะ ร้อยเปอร์เซ็นต์ค่ะ
ส่วนการปฏิบัติก็ผ่านมาบ้าง แต่ไม่เอ่ยนะคะ เอ่ยไปมันก็เหมือนการเล่านิทานค่ะ


เล่ามาเถอะค่ะ ถือว่าเป็นนิทานธรรมะค่ะ บางครั้งเราคนหนึ่งค่ะไม่เข้าใจ
เพราะเราไม่ได้เรียนค่ะ :b12:
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราพอจะรู้บ้างนิดหน่อย มาจากการปฎิบัติค่ะ
บางครั้งการไปหาที่อื่นอ่าน มันเหมือนแบบไม่ค่อยสนิท
ไม่เหมือนคนที่เคยคุยกันค่ะ
มันเหมือนเป็นสัญญาเก่าน่ะค่ะ :b1: :b41: :b55: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 22:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:

.....การทำให้ได้ญาณนั้นก็ต้องทำต่อไปค่ะและเริ่มที่ญาณแรกทุกครั้งจนกว่าจะได้
ญาณค่ะ

ขออธิบายแค่นี้นะคะ นี่คือภาคปฏิบัติค่ะ


ไม่เข้าใจตรงนี้ครับ...ทำเริ่มจากฌานแรกทุกครั้ง....
หมายถึง...ไล่จาก1 จนถึง 9 ทุกครั้ง...จนกว่าจะได้...???...หรือคับ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 05:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว




เปรียบเทียบญาณ ๑๖ กับ ปริญญา ๓.gif
เปรียบเทียบญาณ ๑๖ กับ ปริญญา ๓.gif [ 16.19 KiB | เปิดดู 2020 ครั้ง ]
กบนอกกะลา เขียน:
SOAMUSA เขียน:

.....การทำให้ได้ญาณนั้นก็ต้องทำต่อไปค่ะและเริ่มที่ญาณแรกทุกครั้งจนกว่าจะได้
ญาณค่ะ

ขออธิบายแค่นี้นะคะ นี่คือภาคปฏิบัติค่ะ


ไม่เข้าใจตรงนี้ครับ...ทำเริ่มจากฌานแรกทุกครั้ง....
หมายถึง...ไล่จาก1 จนถึง 9 ทุกครั้ง...จนกว่าจะได้...???...หรือคับ?

เหมือนการศึกษาในทางโลกนั่นแหละ ต้องมีชั้นปฐม จนถึงมหาวิทยาลัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 06:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
การนำมาอธิบาย ในลักษณะแบบนี้ เรียกว่า ภาคสัญญา

ที่นำมาอธิบาย ล้วนหยิบยกมาจากตำราทั้งสิ้น

ถ้ารู้ชัดในสภาวะ ของคำเรียกนั้นๆ แล้ว น่าจะแปลไทย ให้เป็นไทยด้วย
คือ เขียนลักษณะอาการที่เกิดขึ้น กำกับลงไปในคำเรียกนั้นๆ

ไม่ใช่ ลอกมาแปะ อย่างเดียว

เห็นมีแต่ลอกมาแปะ ในหลายๆกระทู้ ที่อ่านๆมา


ในสมัยพุทธกาลก็มีการท่องจำต่อๆกันมา และต่อมาก็ได้มีการบันทึกเป็นตัวอักษร
ไว้ในใบลานจนมาถึงเป็นพระไตรปิฏกเป็นตำรับตำราที่ได้ศึกษากันทุกวันนี้
ล้วนแล้วเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น ถ้าเป็นสมัยนี้ก็เรียกว่าก็อปปี้กันต่อๆมา
เช่น นะโม ก็มีมาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล การศึกษาก็มุ่งหวังจากคำสอนของพระพุทธเจ้า
ไม่ได้มุ่งหวังคำสอนของใครเลย แม้แต่ศาสดาองค์อื่นๆ ฉะนั้นการคัดลอกตัดแปะต่อๆกันมา
จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องอย่างยิ่ง

แม้การจะกล่าวธรรมนั้นก็ไม่ควรเอาความคิดเห็นของตนเข้าแทรกแซง
จะไปบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ได้ตรัสไว้ว่า
สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม
แปลว่า เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
เมื่อแปลออกมาดังนี้ก็หมายความว่า ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆทั้งสิ้น
ซึ่งอยู่ในบทสวดมนต์ ที่เราสวดกันเป็นประจำอยู่แล้ว

หากจะกล่าวให้นอกเหนือไปมากกว่านี้
หรือนอกตำรา ก็ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว เป็นคำสอนของศาสดาองค์ใหม่
จงจำไว้ว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ในตำรับตำรา
ถ้าเป็นการรังเกียจเดียดฉันตำรา ก็หมายความว่ารังเกียจเดียดฉันพระพุทธเจ้าด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 07:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ถ้าเป็นการรังเกียจเดียดฉันตำรา ก็หมายความว่ารังเกียจเดียดฉันพระพุทธเจ้าด้วย


อย่าเอาอุปทานของตัวเอง มายัดเยียดใส่ให้คนอื่น

สิ่งที่วลัยพรเขียนไปนั้น หมายถึง ในเมื่อลอกตำรามาแปะ
ถ้ารู้ชัดโดยสภาวะ น่าจะใส่ ลักษณะอาการที่เกิดขึ้นของคำเรียกนั้นๆด้วย

เหมือนกรณีนี้ เรื่องญาณต่างๆ ที่ลุงหมาน ลอกมาแปะ
แค่สักแต่ว่าแปะ แต่ไม่มีการอธิบายว่า

สภาวะญาณต่างๆ นั้น เกิดขึ้นที่ไหน และเมื่อใด
ตลอดทั้ง ลักษณะอาการที่เกิดขึ้นในแต่ละญาณด้วย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
SOAMUSA เขียน:

.....การทำให้ได้ญาณนั้นก็ต้องทำต่อไปค่ะและเริ่มที่ญาณแรกทุกครั้งจนกว่าจะได้
ญาณค่ะ

ขออธิบายแค่นี้นะคะ นี่คือภาคปฏิบัติค่ะ


ไม่เข้าใจตรงนี้ครับ...ทำเริ่มจากฌานแรกทุกครั้ง....
หมายถึง...ไล่จาก1 จนถึง 9 ทุกครั้ง...จนกว่าจะได้...???...หรือคับ?

เหมือนการศึกษาในทางโลกนั่นแหละ ต้องมีชั้นปฐม จนถึงมหาวิทยาลัย


อธิบายแบบนี้ ใครๆ ก็พูดได้

เขาถามมา ถ้ารู้ชัดในสภาวะต่างๆมากน้อยแค่ไหน ควรบอกกับเขาไปตามความเป็นจริง

ที่ว่า นาม-รูป ปริเฉทญาณ เกิดขึ้น ขณะไหน ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น เป็นอย่างไร

จะแบบบัญญัติ หรือ ปรมัตถ์ ควรแยกแยะสภาวะให้เห็น

แม้ในญาณอื่นๆ ด้วย

นำมาแปะน่ะดี ไม่ใช่ว่าไม่ดี

ที่ท้วงติงไป หมายถึง จะให้ดียิ่งขึ้น ควรอธิบายในสภาวะที่เกิดขึ้นด้วย

หากอธิบายไม่ได้ ก็พูดมาตรงๆ ว่า ลอกเขามาแปะอีกที เพราะเห็นว่าดี

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
SOAMUSA เขียน:

.....การทำให้ได้ญาณนั้นก็ต้องทำต่อไปค่ะและเริ่มที่ญาณแรกทุกครั้งจนกว่าจะได้
ญาณค่ะ

ขออธิบายแค่นี้นะคะ นี่คือภาคปฏิบัติค่ะ


ไม่เข้าใจตรงนี้ครับ...ทำเริ่มจากฌานแรกทุกครั้ง....
หมายถึง...ไล่จาก1 จนถึง 9 ทุกครั้ง...จนกว่าจะได้...???...หรือคับ?


พูดถึง 16 ญาณนะคะ ดูที่ลุงหมานโพสท์ภาพไว้นั่นแหล่ะค่ะ
จะไม่พูดถึงว่าเริ่มต้นต้องทำอะไร ถึงจะเริ่มทำญาณ คุณคงรู้นะคะว่า ญาณ4 คืออุทยัพพยญาณ
นั้น จะเกิดวิปัสสนู ที่เกิดวิปัสสนูนั้นอยู่ในช่วง ตรุณคือตอนต้นของอุทยัพพยญาณ
แต่ถ้าหลุดจากวิปสสนูมาได้ก็จะเข้า พลวอุทยัพพยญาณ คือญาณ4 ตอนปลาย
ดังนั้น ญาณ4 จึงถูกแบ่งครึ่ง หากพ้นวิปัสสนูก็รู้แล้วว่าอะไรใช่ทางอะไรไม่ใช่ทาง
ก็ทำเพื่อให้ได้มรรคต่อไป

ทีนี้ขอพูดตรงนี้เลยนะคะ ตรงจุดที่คุณสงสัยนั้นคือ หากคุณยังไม่ได้เป็นพระโสดาบัน
ไม่ว่าคุณจะทำญาณเมื่อไรก็ตาม คุณต้องเริ่มที่ญาณแรกค่ะ
แต่เมื่อใดที่คุณได้พระโสดาบันแล้ว พระโสดาบันจะเริ่มที่ พลวอุทยัพพยญาณค่ะ
คือพระโสดาบันไม่ไปเริ่มญาณที่1 แล้วแต่เริ่มญาณ4 ที่พลว (อ่านว่า พละ-วะ)

ขออธิบายย้อนไปญาณ1 นะคะว่า เราเริ่มงานด้วย อินทรีย์ 19 (อินทรีย์20-22 เป็นระดับโลกุตตระ)
แต่พระโสดาบัน จะทำสกทาคามิมรรค ก็เริ่มพลวอุทยัพพยญาณที่มีอินทรีย์5 เสมอกันค่ะ
พระโสดาบันจะไม่ต้องไปเริ่มที่ญาณ1 แล้วค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมมีความเห็นว่า การเล่าประสบการณ์ตัวเองนั้น หากอยู่ในกรอบของความรู้หรือแนวทางที่วางไว้ เล่ามาเถอะครับ ผมเล่าประสบการ์ณของผมเองเสมอ เพราะต้องการเทียบกับแนวทางที่ถูก เช่น ขันธ์5 หรือ อายตนะ หรือ ผัสสะ หรือ วิปัสสนาญาณ เพราะเป็นตัววัดผลเราเอง ว่าเราปฏิบัติเป็นอย่างไร

อย่างพระพุทธเจ้ากล่าวเรื่องโสต ทุกคนก็เข้าใจกันดีอยู่แล้วว่าโสต มีความหมายว่าอะไร ทำหน้าที่อะไร เหลือแต่เรานั่นแหละว่าเราจะนำคำว่าโสตมาปฎิบัติอย่างไร เราศรัทธาต่อคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วว่า พระพุทธเจ้าถือว่าเครื่องมือที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์นั้นคือกายกับใจเราเอง หาใช่สิ่งอื่นๆรอบตัวเรา

อย่างโสต พระพุทธเจ้าก็กล่าวไว้แล้วว่าเป็นหนึ่งในอินทรีย์ 22 เราก็ไม่ต้องไปแบกเอาไว้ หรือ สงสัยกับคำว่าโสตคืออะไร หน้าที่ของเราก็คือทำอย่างไรเราจึงจะนำโสตมาพิจารณาให้เข้าสู่วิปัสสนาภาวนานั่นเอง

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 08:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
อธิบายแบบนี้ ใครๆ ก็พูดได้

เขาถามมา ถ้ารู้ชัดในสภาวะต่างๆมากน้อยแค่ไหน ควรบอกกับเขาไปตามความเป็นจริง

ที่ว่า นาม-รูป ปริเฉทญาณ เกิดขึ้น ขณะไหน ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น เป็นอย่างไร

จะแบบบัญญัติ หรือ ปรมัตถ์ ควรแยกแยะสภาวะให้เห็น

แม้ในญาณอื่นๆ ด้วย

นำมาแปะน่ะดี ไม่ใช่ว่าไม่ดี

ที่ท้วงติงไป หมายถึง จะให้ดียิ่งขึ้น ควรอธิบายในสภาวะที่เกิดขึ้นด้วย

หากอธิบายไม่ได้ ก็พูดมาตรงๆ ว่า ลอกเขามาแปะอีกที เพราะเห็นว่าดี


ถ้ามีเวลาก็ไปอ่านทวนหน้า 1 ของกระทู้นะคะว่า
ทำไมดิฉันถึงถามสภาวะคุณกบ จะได้เข้าใจ

ส่วนดิฉันจะโพสท์อย่างไรนั้น ไม่ดีอย่างไร ก็อยู่คนอ่านค่ะว่า จะรับหรือไม่รับ
จะเสพหรือไม่เสพ ไม่เสพก็ผ่านไปค่ะ
อาหารร้านไหนไม่อร่อย ก็อย่ากินค่ะ หรือมีเวลาว่างจะไปยืนชี้หน้าด่าแม่ค้าก็ตามใจค่ะ

แหม...ดิฉันอ่านแค่ประโยคเดียวจากบางท่าน
ก็ทำให้ดิฉันไม่หวั่นอะไรแล้วค่ะ

จบยังคะ ถ้ายังไม่จบก็เชิญว่าต่อไปนะคะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร