วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 03:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 21:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s004
มันเรื่องธรรมดาของโลก
:b43:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
s004
มันเรื่องธรรมดาของโลก
:b43:


ไปโน่น คิกๆๆ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 06:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กำลังคิดว่า...อโศกะเข้าใจ...ปัจจุบันอารมณ์....ผิดไป....จึงอยากเห็นอโศกะเอาสิ่งที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสสอน.....มา
แต่ก็ไม่เห็น....

เลยยิ่งสงสัยมากขึ่นไปอีกว่า....เข้าใจผิดไปแน่ๆเลย...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 09:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b16:
กบอยากฟังบทนี้หรือ

ภัทเทกรัตตสูตร คือ ชื่อสูตรหนึ่งในมัชฌิมนิกายอุปริปัณณาสก์ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดงเรื่องบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ คือ คนที่เวลาวันคืนหนึ่งๆ มีแต่ความดีงามความเจริญก้าวหน้าได้แก่ ผู้ที่ไม่มัวครุ่นคำนึงอดีตไม่เพ้อหวังอนาคต ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นแจ้งประจักษ์สิ่งที่เป็นปัจจุบัน ทำความดีเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยไปมีความเพียร พยายาม
ทำกิจที่ควรทำเสียแต่วันนี้ไม่รอวันพรุ่ง

ภัทเทกรัตตคาถา
(หันทะ มะยัง ภัทเทกะรัตตะคาถาโย ภะณามะเส)

อะ ตี ตัง นา นวา คะ เมย ยะ ... นัป ปะ ฏิ กัง เข อะ นา คะ ตัง
บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ด้วยอาลัย และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง

ยะ ทะ ตี ตัม ปะ หี นัน ตัง ... อัป ปัต ตัญ จะ อะ นา คะ ตัง
สิ่งที่เป็นอดีตก็ละไปแล้ว สิ่งเป็นอนาคตก็ยังไม่มา

ปัจ จุป ปัน นัญ จะ โย ธัมมัง .. ตัต ถะ ตัต ถะ วิ ปัส สะ ติ
อะ สัง หิ รัง อะ สัง กุป ปัง ... ตัง วิท ธา มะ นุ พรู หะ เย
ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้น ๆ อย่างแจ่มแจ้ง
ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้

อัช เช วะ กิจ จะ มา ตัป ปัง ... โก ชัญ ญา มะ ระ ณัง สุ เว
ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้ ใครจะรู้ความตาย แม้พรุ่งนี้

นะ หิ โน สัง คะ รัน เต นะ ... มะ หา เส เน นะ มัจ จุ นา
เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ่งมีเสนามาก ย่อมไม่มีสำหรับเรา

เอ วัง วิ หา ริ มา ตา ปิง ... อะ โห รัต ตะ มะ ตัน ทิ ตัง
ตัง เว ภัท เท กะ รัต โต ติ ... สัน โต อา จิก ขะ เต มุ นิ.
มุนีผู้สงบ ย่อมกล่าวเรียก ผู้มีความเพียรอยู่เช่นนั้น ไม่เกียจคร้าน
ทั้งกลางวันกลางคืนว่า "ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว ก็น่าชม."
smiley
:b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 16:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
ขอบคุณที่เอามาให้ดูครับ...

มีอันอื่ นบ้างมั้ย ..?
หากไม่มี.....จะได้ถามเนื้อความในนี้ต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 21:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
:b8:
ขอบคุณที่เอามาให้ดูครับ...

มีอันอื่ นบ้างมั้ย ..?
หากไม่มี.....จะได้ถามเนื้อความในนี้ต่อไป

smiley
ยังไม่ได้หาถ้าพบก็คัดมาแบ่งปันกันบ้างครับ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 23:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


งั้น....ระหว่างรอ...ผมถามอะไรหน่อย..รอไปพลางๆ....เน๊าะ

asoka เขียน:
กบอยากฟังบทนี้หรือ
ภัทเทกรัตตสูตร คือ
........
ปัจ จุป ปัน นัญ จะ โย ธัมมัง .. ตัต ถะ ตัต ถะ วิ ปัส สะ ติ
อะ สัง หิ รัง อะ สัง กุป ปัง ... ตัง วิท ธา มะ นุ พรู หะ เย
ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้น ๆ อย่างแจ่มแจ้ง
ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้

:b16:


เห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้า....

คำว่า....เห็นธรรม...นั้น....
ถามอโศกะว่า....อย่างไรจึงเรียกว่า...เห็นธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 01:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ภควา เอตทโวจ
"อตีตํ นานฺวาคเมยฺย นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ
ยทตีตํ ปหีนํ ตํ อปฺปตฺตญฺจ อนาคตํ
ปจฺจุปฺปนฺนญฺจ โย ธมฺมํ ตตฺถ ตตฺถ วิปสฺสติ
อสํหีรํ อสํกุปฺปํ ตํ วิทฺวา มนุพฺรูเหย.
อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ โก ชญฺญา มรณํ สุเว
น หิ โน สงฺครํ เตน มหาเสเนน มจฺจุนา.
เอวํ วิหารึ อาตาปึ อโหรตฺตมตนฺทิตํ
ตํ เว "ภทฺเทกรตฺโต"ติ. สนฺโต อาจิกฺขเต มุนีติ".


พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า..

อดีตดับไปแล้วไม่ควรคำนึงถึง ไม่ควรมุ่งหวังอนาคตยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว สิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง
พึงเจริญวิปัสสนาให้รู้แจ้งสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันขณะนั้นๆ
อันตัณหาทิฏฐิไม่อาจฉุดรั้ง และไม่อาจทำให้วิบัติได้


บุคคลพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด.
บุคคลควรเพียรเผากิเลสเสียแต่วันนี้ ใครจะรู้ถึงความตายในวันพรุ่ง
เพราะพวกเราไม่อาจขอผ่อนผันจากมัจจุราชผู้มีกองทัพใหญ่นั้นได้

พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกผู้เพียรเผากิเลสอยู่ตลอดทิวาราตรีอย่างนั้น
ว่า "ผู้อยู่ราตรีเดียวอย่างมีประโยชน์"

[วิปสฺสติ(พึงเจริญวิปัสสนาให้รู้แจ้ง) คือการหยั่งเห็น สภาวะธรรม(นามรูป -ขันธ์ ๕)ตามความเป็นจริงด้วยอนุปัสสนา ๗ คือ ;
๑.อนิจจานุปัสสนา การหยั่งเห็นความไม่เที่ยง
๒.ทุกขานุปัสสนา การหยั่งเห็นทุกข์
๓.อนัตตานุปัสสนา การหยั่งเห็นความไม่ใช่อัตตา
๔.นิพพิทานุปัสสนา การหยั่งเห็นความเบื่อหน่าย
๕.วิราคานุปัสสนา การหยั่งเห็นความคลายกำหนัด
๖.นิโรธานุปัสสนา การหยั่งเห็นความดับ
๗.ปฏินิสสัคคานุปัสสนา การหยั่งเห็นความปล่อยวาง
]

(ขันธ์ 5 ในอดีต
ขันธ์ 5 ในอนาคต
ขันธ์ 5 ณ ปัจจุบัน
)

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 08:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
Quote Tipitaka:
ภควา เอตทโวจ
"อตีตํ นานฺวาคเมยฺย นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ
ยทตีตํ ปหีนํ ตํ อปฺปตฺตญฺจ อนาคตํ
ปจฺจุปฺปนฺนญฺจ โย ธมฺมํ ตตฺถ ตตฺถ วิปสฺสติ
อสํหีรํ อสํกุปฺปํ ตํ วิทฺวา มนุพฺรูเหย.
อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ โก ชญฺญา มรณํ สุเว
น หิ โน สงฺครํ เตน มหาเสเนน มจฺจุนา.
เอวํ วิหารึ อาตาปึ อโหรตฺตมตนฺทิตํ
ตํ เว "ภทฺเทกรตฺโต"ติ. สนฺโต อาจิกฺขเต มุนีติ".


พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า..

อดีตดับไปแล้วไม่ควรคำนึงถึง ไม่ควรมุ่งหวังอนาคตยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว สิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง
พึงเจริญวิปัสสนาให้รู้แจ้งสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันขณะนั้นๆ
อันตัณหาทิฏฐิไม่อาจฉุดรั้ง และไม่อาจทำให้วิบัติได้


บุคคลพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด.
บุคคลควรเพียรเผากิเลสเสียแต่วันนี้ ใครจะรู้ถึงความตายในวันพรุ่ง
เพราะพวกเราไม่อาจขอผ่อนผันจากมัจจุราชผู้มีกองทัพใหญ่นั้นได้

พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกผู้เพียรเผากิเลสอยู่ตลอดทิวาราตรีอย่างนั้น
ว่า "ผู้อยู่ราตรีเดียวอย่างมีประโยชน์"

[วิปสฺสติ(พึงเจริญวิปัสสนาให้รู้แจ้ง) คือการหยั่งเห็น สภาวะธรรม(นามรูป -ขันธ์ ๕)ตามความเป็นจริงด้วยอนุปัสสนา ๗ คือ ;
๑.อนิจจานุปัสสนา การหยั่งเห็นความไม่เที่ยง
๒.ทุกขานุปัสสนา การหยั่งเห็นทุกข์
๓.อนัตตานุปัสสนา การหยั่งเห็นความไม่ใช่อัตตา
๔.นิพพิทานุปัสสนา การหยั่งเห็นความเบื่อหน่าย
๕.วิราคานุปัสสนา การหยั่งเห็นความคลายกำหนัด
๖.นิโรธานุปัสสนา การหยั่งเห็นความดับ
๗.ปฏินิสสัคคานุปัสสนา การหยั่งเห็นความปล่อยวาง
]

(ขันธ์ 5 ในอดีต
ขันธ์ 5 ในอนาคต
ขันธ์ 5 ณ ปัจจุบัน
)




คุณเช่นนั้น น่าจะแนบลิงค์บทความที่นำมานะ

เวลาคนที่เข้ามาอ่าน จะได้รู้ว่า ตรงไหนเป็นการแปลของอรรถกถาจารย์

ตรงไหน เป็นการแสดงข้อคิดเห็นของคุณเองว่า สิ่งนั้น หมายถึงอะไร


เหมือนกรณีนี้

walaiporn เขียน:
walaiporn เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
walaiporn เขียน:
ถ้าตีความแบบนี้ "วิญฺญาญํ อนิทสฺสนํ อนนฺตํ สพฺพโตปภํ ...."
ซึ่งหมายถึง จิตที่ประภัสสร เห็นไม่ได้ ไม่มีที่สุด

งั้นหมายถึง จิตนั้นเที่ยงสิ เช่นนั้น

จิตที่ประภัสสรนั้นเที่ยง




เช่นนั้นช่วยนำพระไตรปิฏกมาแนบให้อ่านด้วย ได้ไหม?
เพื่อไว้ใช้ในการศึกษาว่า จิตที่ประภัสสรนั้นเที่ยง มีปรากฏอยู่ในพระะรรมคำสอน




วลัยพรหมายถึง ตรงนี้




walaiporn เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
Quote Tipitaka:
๑. นิพพานสูตรที่ ๑
[๑๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค
ทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วย
ธรรมมีกถาอันปฏิสังยุตต์ด้วยนิพพาน ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำให้มั่น มนสิการแล้ว
น้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้-
*มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ
วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า
พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการ
จุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้
นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ


Quote Tipitaka:
[๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมอง
ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ
[๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว
จากอุปกิเลสที่จรมา ฯ


จิตประภัสสร ถ้าไม่ก่อรูปก่อนาม จะหาทุกข์มาแต่ไหนได้??




เมื่อนำมาแสดงแบบนี้ ก็ไม่เป็นไร




เช่นนั้น เขียน:
walaiporn เขียน:
ถ้าตีความแบบนี้ "วิญฺญาญํ อนิทสฺสนํ อนนฺตํ สพฺพโตปภํ ...."
ซึ่งหมายถึง จิตที่ประภัสสร เห็นไม่ได้ ไม่มีที่สุด

งั้นหมายถึง จิตนั้นเที่ยงสิ เช่นนั้น

จิตที่ประภัสสรนั้นเที่ยง




เป็นอันว่า วลัยพรรู้แล้วว่า เป็นความหมาย ที่เช่นนั้น คิดว่า เป็นแบบนั้น

viewtopic.php?f=2&t=47939&start=195






วลัยพรรับฟังข้อคิดเห็น ที่แสดงตามความเข้าใจของบุคคลนั้น

แต่จะให้ดี แม้ว่าจะเป็นการแปลความโดยอรรกถาจารย์ ก็ตาม

เวลาจะแสดงความคิดเห็นว่า สิ่งที่นำมาอธิบายนั้น หมายถึงสิ่งใด ในความคิดของผู้นั้น
ควรแยกข้อความนั้นออกมา หรือไม่ก็ควรบอกว่า เป็นข้อคิดเห็นของตน

ไม่ควรวงเล็บใส่ในพระธรรมคำสอน หรือสอดแทรกลงในคำแปลของอรรกถาจารย์
(หากบทความที่นำมา มีวงเล็บอยู่แล้ว จะได้รู้ว่า มีวงเล็บอยู่ก่อนแล้ว ไม่ใช่ผู้นำมาโพส กระทำขึ้นเอง)


ส่วนเรื่องใครคิดเห็นเหมือนกัน หรือเห็นแตกต่างกันไป
วลัยพรไม่ได้สนใจตรงนั้น

เผื่อมีใครแสดงข้อคิดเห็นของตน แล้วแนบลิงค์พระไตรปิฎก
ประมาณว่า ทำไมคิดแบบนั้น

พระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่ว่าจะแสดงในแง่มุมไหน ล้วนมีประโยชน์

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
คุณเช่นนั้น น่าจะแนบลิงค์บทความที่นำมานะ

เวลาคนที่เข้ามาอ่าน จะได้รู้ว่า ตรงไหนเป็นการแปลของอรรถกถาจารย์

ตรงไหน เป็นการแสดงข้อคิดเห็นของคุณเองว่า สิ่งนั้น หมายถึงอะไร

แต่จะให้ดี แม้ว่าจะเป็นการแปลความโดยอรรกถาจารย์ ก็ตาม
เวลาจะแสดงความคิดเห็นว่า สิ่งที่นำมาอธิบายนั้น หมายถึงสิ่งใด ในความคิดของผู้นั้น
ควรแยกข้อความนั้นออกมา หรือไม่ก็ควรบอกว่า เป็นข้อคิดเห็นของตน
ไม่ควรวงเล็บใส่ในพระธรรมคำสอน หรือสอดแทรกลงในคำแปลของอรรกถาจารย์
(หากบทความที่นำมา มีวงเล็บอยู่แล้ว จะได้รู้ว่า มีวงเล็บอยู่ก่อนแล้ว ไม่ใช่ผู้นำมาโพส กระทำขึ้นเอง)



คุณวลัยพร
ทราบหรือไม่ว่า
บทอธิบาย พระสูตรดังกล่าว
เป็นการ รวบรวม การถอดความจากหลายๆ อรรถกาจารย์ แล้วนำมาปะติดปะต่อกันใหม่ โดยเฉพาะ
ดังนั้น จึงแยกออกมา ว่า บาลี เป็นพุทธพจน์
ส่วนบทที่แยกถอดความ ไม่อาจอ้างอิงอรรถาจารย์ใดได้เป็นพิเศษ เพราะ รวบรวมและเรียบเรียงขึ้นใหม่

ส่วนบทถอดความวิปัสสติ อ่านจากอรรถกถามีอ้างถึง อนุปัสสนา 7
ก็เสริชเอาจาก กูเกิ้ล และพจนานุกรมบาลี-ไทย แล้วหาข้อมูลจากแหล่งอื่นมาแปะ
เพื่อให้ง่ายแก่การอ่านทำความเข้าใจ

การถอดความ คุณวลัยพรสนใจ
ก็เสริชอ่าน สำนวน ฉบับหลวง ฉบับมกุฏไทย ฉบับมหาจุฬาฯ เนติปกรณ์ ฯลฯ
เข้าใจตามนี้นะครับ.



http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=7032&Z=7114&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=526

ยืนตามพระสูตร และอรรถกถาด้านบน หาข้อมูลเรียบเรียงใหม่ ^ ^
บทความอย่างนี้ เรียบเรียงเอง เข้าใจไหมครับ ^ ^

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 09:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
Quote Tipitaka:
ภควา เอตทโวจ
"อตีตํ นานฺวาคเมยฺย นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ
ยทตีตํ ปหีนํ ตํ อปฺปตฺตญฺจ อนาคตํ
ปจฺจุปฺปนฺนญฺจ โย ธมฺมํ ตตฺถ ตตฺถ วิปสฺสติ
อสํหีรํ อสํกุปฺปํ ตํ วิทฺวา มนุพฺรูเหย.
อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ โก ชญฺญา มรณํ สุเว
น หิ โน สงฺครํ เตน มหาเสเนน มจฺจุนา.
เอวํ วิหารึ อาตาปึ อโหรตฺตมตนฺทิตํ
ตํ เว "ภทฺเทกรตฺโต"ติ. สนฺโต อาจิกฺขเต มุนีติ".






ไม่ควรวงเล็บใส่ในพระธรรมคำสอน หรือสอดแทรกลงในคำแปลของอรรกถาจารย์
(หากบทความที่นำมา มีวงเล็บอยู่แล้ว จะได้รู้ว่า มีวงเล็บอยู่ก่อนแล้ว ไม่ใช่ผู้นำมาโพส กระทำขึ้นเอง)


ในพุทธพจน์ ตรงไหน ใส่วงเล็บไว้ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 15:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น....แสดงความคิดเห็นมาแล้ว...ว่า...เห็นธรรม...นั้นต้องเห็นอะไร
ขอบคุณครับ... :b8:
เช่นนั้น เขียน:

[วิปสฺสติ(พึงเจริญวิปัสสนาให้รู้แจ้ง) คือการหยั่งเห็น สภาวะธรรม(นามรูป -ขันธ์ ๕)ตามความเป็นจริงด้วยอนุปัสสนา ๗ คือ ;
๑.อนิจจานุปัสสนา การหยั่งเห็นความไม่เที่ยง
๒.ทุกขานุปัสสนา การหยั่งเห็นทุกข์
๓.อนัตตานุปัสสนา การหยั่งเห็นความไม่ใช่อัตตา
๔.นิพพิทานุปัสสนา การหยั่งเห็นความเบื่อหน่าย
๕.วิราคานุปัสสนา การหยั่งเห็นความคลายกำหนัด
๖.นิโรธานุปัสสนา การหยั่งเห็นความดับ
๗.ปฏินิสสัคคานุปัสสนา การหยั่งเห็นความปล่อยวาง
]



อโศกะละ.....มีความเห็นอย่างไร?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 20:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b44:
ธรรม ธรรมะ ธรรมชาติ ธรรมดา คือสิ่งที่เกิดขึ้นมาด้วยอำนาจแห่งเหตุและปัจจัยให้รู้ ให้เห็น เป็นเอง โดยมิได้บอก กล่าว สั่งกำหนด เช่น เสียงที่มากระทบหู รูปที่มากระทบตา กลิ่นที่มากระทบจมูก รสที่มากระทบลิ้น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ที่มากระทบกาย อารมณ์ที่มากระทบใจ ตัณหา โลภ โกรธ หลง ยินดี ยินร้ายที่ปรากฏขึ้นในจิต

ธรรมชาติของธรรมก็คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา สำคัญสุดสรุปไว้ว่า เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไร้แก่นสาร ตัวตน

อันผู้มีความเห็นถูกต้องเท่านั้นจึงจะเห็นได้ รู้ได้ด้วยตนเอง
:b12:
:b38:
:b37:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 23:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
ความหมายของธรรมะ ที่เป็นนัยยะสำคัญ

ธัมมาภิคีติง

(ธรรมคุณ 6 ประการ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้วนั้น.(คืออะไร?)

สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ ผู้มีความเห็นถูกต้อง จึงจักรู้ได้ด้วยตนเอง;

อะกาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล;(เวลา สถานที่ บุคคล เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์,วรรณะ ศาสนา ระดับการศึกษา เพศ,วัย,การแต่งกาย)

เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่เรียกร้องให้เราเข้าไปดูอยู่เสมอ;

โอปะนะยิโก, (ความเห็นธรรม คือเห็นอนัตตานั้น)เป็นสิ่งที่ควรน้อมให้เกิดขึ้นในตัวยิ่ง ๆ ขึ้นไป (แล้วจะส่งให้ถึงความสงบเย็น คือ มรรค - ผล - นิพพาน)

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ. เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.
:b36: :b36:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b8:
ความหมายของธรรมะ ที่เป็นนัยยะสำคัญ

ธัมมาภิคีติง

(ธรรมคุณ 6 ประการ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้วนั้น.(คืออะไร?)

สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ ผู้มีความเห็นถูกต้อง จึงจักรู้ได้ด้วยตนเอง;

อะกาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล;(เวลา สถานที่ บุคคล เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์,วรรณะ ศาสนา ระดับการศึกษา เพศ,วัย,การแต่งกาย)

เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่เรียกร้องให้เราเข้าไปดูอยู่เสมอ;

โอปะนะยิโก, (ความเห็นธรรม คือเห็นอนัตตานั้น)เป็นสิ่งที่ควรน้อมให้เกิดขึ้นในตัวยิ่ง ๆ ขึ้นไป (แล้วจะส่งให้ถึงความสงบเย็น คือ มรรค - ผล - นิพพาน)

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ. เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.


อ้าวๆมาทำวัตรอยู่นี่ คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร