วันเวลาปัจจุบัน 25 ก.ค. 2025, 20:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2016, 04:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
มีคำถามนิดหนึ่งครับ

เสียงของลุงหมานที่เปล่งออกมา อะไรคือสมมุติสัจจะ?
อะไรคือปรมัตถ์สัจจะ?
นอกจากตัวลุงหมานเองครับ


อยากแนะนำคุณstudentครับว่า การพิจารณาธรรมโดยหลักแล้ว
ต้องยึดเอาตัวเราหรือกายใจเราเป็นหลักครับ นั้นก็เพราะทุกสิ่งอย่างที่เกิดขึ้นและรับรู้
นั้นก็เพราะกายใจเราไปสัมผัสมันเข้าครับ.....ฉะนั้นอย่าลืมเป็นอันขาดว่า การพิจารณาธรรมทุกครั้งต้องเอากายใจเราเป็นหลัก
อย่างในกรณีนี้ ที่คุณstudentบอกว่า .."เสียงที่เปล่งออกมา"

ถ้าเป็นกรณีที่คนอื่นพูดหรือเปล่งเสียงนั้น คนอื่นเป็นและอากัปกิริยาของเขา เป็นสมมติครับ
ส่วนเสียงที่คุณstudentได้ยิน เน้นว่าต้องได้ยิน มันเป็นปรมัตถ์ครับ

* ถ้าคนอื่นกำลังพูดหรือเปล่งเสียง แต่เราไม่ได้ยินเสียงนั้น.....เสียงที่ว่าก็เป็นเพียงสมมติ



student เขียน:

ความเห็นผม เสียงที่เปล่งออกมาเป็นปรมัติสัจจะโดยความเป็นรูปในขันธ์5ของผู้ฟัง
แต่เป็นสมมุติสัจจะโดยความเป็นสัญญาในขันธ์5ของผู้ฟัง
ความยึดถือในเสียงเพราะเหตุคือความหลงเป็นกิเลส
อันนี้เพี้ยนจากหลักธรรมไหมครับ


โดยหลักแล้วความเป็นสมมติและปรปัตถ์จะเกิดได้ ก็ต่อเมื่อมีการพิจารณาธรรม(วิปัสสนา)
ประเด็นมันอยู่ที่ผู้พิจารณาธรรม เป็นผู้ฟัง ผู้พูด หรือกำลังพิจารณาธรรมระหว่างการโต้ตอบของคนสองคน
ลักษณะการพิจารณามันต่างกันครับ อย่างเช่นถ้าให้ผู้พิจารณาธรรมเป็นผู้โต้ตอบ
ทุกอย่างที่อีกฝ่ายกระทำล้วนเป็น สมมติ มีเพียงสิ่งที่ผู้พิจารณาธรรมสัมผัสได้จากอีกฝ่าย
จึงจะเป็นปรมัตถ์ อาทิเช่นได้ยินเสียง ได้เห็นภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2016, 05:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


natipakorn เขียน:
ผมเป็นคนที่เข้ามาใหม่จริงๆครับ พบเว็บไซต์นี้มาจาก Google ครับ
ไม่มุสาวาทครับ ลองเช็ค IP Address ดูได้ครับ


แนะนำครับอย่าไปใส่ใจกับคำพูดนอกเรื่องนอกราว
มันจะทำให้เราวอกแวกสมาธิไม่ได้อยู่กับธรรมที่กำลังพิจารณา
ผมว่าแค่นี้คุณก็หลงไปเยอะแล้วนะครับ


natipakorn เขียน:
สัญญาที่ผมได้พูดถึงนั้น ไม่ใช่สัญญา6ครับ แต่เป็นสัญญา10 ที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ
ให้เจริญมากขึ้นครับ ที่ผมถามลุงหมานนั้น คือสัญญาเหล่านี้ที่ยกมาให้ดูครับ
ไม่ได้ลองภูมิลุงหมาน แต่มาสนทนาธรรมแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจและประสพการณ์ซึ่งกันและกัน

จะบอกให้ครับว่า ไอ้สัญญา๑๐ประการที่คุณยกมา มันเป็นบทในอาพาธสูตร มันอยู่ในพระสุตันตะฯ
มันเป็นพระสูตรมันคนละเรื่อง เรื่องของคุณมันเป็นเรื่อง สมมติและปรมัตถ์
ฉะนั้นสิ่งที่คุณต้องอ้างก็คือ......พระอภิธรรมปิฎก

ทั้งคุณและทั้งหมดในกระทู้นี้ล้วนสับสน นั้นก็เพราะยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นปรมตถ์ธรรม
เมื่อไม่รู้ว่าอะไรเป็นปรมัตถธรรม ก็เลยแยกแยะไม่ได้ว่า อะไรเป็นสมมติและอะไรเป็นปรมัตถ์

ไม่เพียงแต่แค่นั้น ยังไม่มีความเข้าใจเรื่องบัญญัติอีกต่างหาก
แนะนำว่าคุณจขกทและอีกหลายคนในนี้ว่า ต้องแยกแยะให้ออกว่า
อะไรคือบัญญัติ๑
อะไรคือสมมติ๑
อะไรคือปรมัตถ์๑
ไม่เพียงแค่นั้น สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกก็คือ ต้องวิปัสสนาแยกแยะ บัญญัติกับสภาวธรรมออกจากกันให้ได้
จึงจะเข้าใจความเป็นพระอภิธรรมแท้ๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2016, 06:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 37.15 KiB | เปิดดู 2322 ครั้ง ]
สัญญา แปลว่า ความจำได้หมายรู้ สัญญาที่คุณกล่าวมานั้น หมายความว่า จำได้หลายอย่าง
เช่น สิ่งโน้นได้ จำสิ่งนี้ได้ และไม่ว่าจะจำอะไรก็คือตัวสัญญานี้เองโดยใช้หลักสัญญาเข้าไปพ่วงท้าย
ในคำนั้น เช่น จำถนน จำบ้าน จำรถ จำหน้า จำอดีต เหล่านี้ เป็นต้น มันเป็นของคนละสิ่ง
แต่มีความจำที่ใช้เหมือนกัน ในสูตรของพระอภิธรรมท่านแสดงหลักธรรมที่เป็นปรมัตถ์ ที่มีองค์ธรรมดวงเดียว

ฉะนั้นคุณจะเชื่อหรือไหมว่า ในแผนภูมิปรมัตถ ๔ คุณอาจเคยเห็นเคยผ่านตามาบ้างว่า พระไตรปิฏกทั้งหมด
ทุกๆ สูตรย่อลงแล้วเหลือแค่ปรมัตถธรรม ๔ และในปรมัตถธรรม ๔ ยังสามารถนำไปขยายความ
ให้ได้อย้างขวาง เพราะปรมัตถธรรม ๔ เป็นองค์ธรรมที่ไม่ผิดเพี้ยน ฉะนั้นผู้ที่จะนักสอนหรือเป็นธรรมถึก
จะต้องเรียนพระอภิธรรมให้แตกฉานเสียก่อน

ไม่งั้นแล้วคุณจะไปสอนใครก็จะไม่ตรงตามคำสอน
จะกลายเป็นเอาธรรมะของตัวเองเข้าไปสอนแทน แล้วบอกว่านี่คือคำสอนของพระพุทธเจ้า
โดยการยัดเยียดคำสอนของตนเองเข้าไป จะเป็นการทำลายคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยไม่ตั้งใจ
นี้แหละเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คำสอนที่แท้ต้องอันตรธานหายไปก่อนเวลาอันสมควร
กลายเป็นว่าเราคนหนึ่งหละที่เข้าไปทำลายพระศาสนาของพระพุทธองค์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2016, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาปัณณาสก์
มหาวรรค
ปุคคลกถา
นิคคหะ ๘
อนุโลมปัญจกะ
[๑] สกวาที ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.

๑. คัมภีร์ที่ ๕ บาลีเล่มที่ ๓๗

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 2
ส. สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ๑ เป็นปรมัตถะ๒ ท่าน
หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯล ฯ
ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ๓ หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคลโดย
สัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด เป็น
สัจฉิกัตถะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า
ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะ
ใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตาม
สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะ
ใดเป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเป็นบุคคลนั้น ตาม
สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่ง
เห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึง
กล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึง
กล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็น
บุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด.
อนุโลมปัญจกะ จบ

๑. สัจฉิกัตถะ สภาวะที่จริงแท้.

๒. ปรมัตถะ อรรถอันยิ่ง อันอุดม อันไม่ต้องยึดถือด้วยอาการมีการฟังตามกัน
มาเป็นต้น ทั้งนี้ หมายถึงสภาวธรรมที่จำแนกเป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒
ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ รวม ๕๗ อย่าง.


๓. นิคคหะ การข่ม การปราบปราม.

http://www.tripitaka91.com/91book/book80/001_050.htm


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2016, 09:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

๒. ปรมัตถะ อรรถอันยิ่ง อันอุดม อันไม่ต้องยึดถือด้วยอาการมีการฟังตามกัน
มาเป็นต้น ทั้งนี้ หมายถึงสภาวธรรมที่จำแนกเป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒
ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ รวม ๕๗ อย่าง.

http://www.tripitaka91.com/91book/book80/001_050.htm


ในพระอภิธรรมปิฎกอันเป็นอภิธรรมแท้ๆ แตกต่างจาก อภิธัมฯที่เป็นตำรา อรรถมันสวนทางกัน

เนื้อหาพระอภิธรรมปิฎกถูกถอดความมาจากพุทธพจน์โดยตรง
แต่อภิธัมที่เป็นตำรา เกิดจากการแต่งขึ้นตามทิฐิของผู้ประพันธ์ อาทิเช่น
อภิธัมมัตถสังคหะของ พระอนุรุธฯเป็นต้น

วกเข้ามาที่ประเด็นว่าอะไรเป็น สมมติและอะไรเป็นปรมัตถ์
ในพระอภิธรรมกถาวัตถุ ท่านกล่าวชี้ชัดให้เห็นเลยว่า อะไรเป็นปรมัตถ์ธรรม
ก็คือ....

ขันธ์ ๕
อายตนะ ๑๒
ธาตุ ๑๘
อินทรีย์ ๒๒

นอกเหนือจากที่กล่าวนี้ เป็น สมมติและบัญญัติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2016, 15:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
student เขียน:
มีคำถามนิดหนึ่งครับ

เสียงของลุงหมานที่เปล่งออกมา อะไรคือสมมุติสัจจะ?
อะไรคือปรมัตถ์สัจจะ?
นอกจากตัวลุงหมานเองครับ


อยากแนะนำคุณstudentครับว่า การพิจารณาธรรมโดยหลักแล้ว
ต้องยึดเอาตัวเราหรือกายใจเราเป็นหลักครับ นั้นก็เพราะทุกสิ่งอย่างที่เกิดขึ้นและรับรู้
นั้นก็เพราะกายใจเราไปสัมผัสมันเข้าครับ.....ฉะนั้นอย่าลืมเป็นอันขาดว่า การพิจารณาธรรมทุกครั้งต้องเอากายใจเราเป็นหลัก
อย่างในกรณีนี้ ที่คุณstudentบอกว่า .."เสียงที่เปล่งออกมา"

ถ้าเป็นกรณีที่คนอื่นพูดหรือเปล่งเสียงนั้น คนอื่นเป็นและอากัปกิริยาของเขา เป็นสมมติครับ
ส่วนเสียงที่คุณstudentได้ยิน เน้นว่าต้องได้ยิน มันเป็นปรมัตถ์ครับ

* ถ้าคนอื่นกำลังพูดหรือเปล่งเสียง แต่เราไม่ได้ยินเสียงนั้น.....เสียงที่ว่าก็เป็นเพียงสมมติ



student เขียน:

ความเห็นผม เสียงที่เปล่งออกมาเป็นปรมัติสัจจะโดยความเป็นรูปในขันธ์5ของผู้ฟัง
แต่เป็นสมมุติสัจจะโดยความเป็นสัญญาในขันธ์5ของผู้ฟัง
ความยึดถือในเสียงเพราะเหตุคือความหลงเป็นกิเลส
อันนี้เพี้ยนจากหลักธรรมไหมครับ


โดยหลักแล้วความเป็นสมมติและปรปัตถ์จะเกิดได้ ก็ต่อเมื่อมีการพิจารณาธรรม(วิปัสสนา)
ประเด็นมันอยู่ที่ผู้พิจารณาธรรม เป็นผู้ฟัง ผู้พูด หรือกำลังพิจารณาธรรมระหว่างการโต้ตอบของคนสองคน
ลักษณะการพิจารณามันต่างกันครับ อย่างเช่นถ้าให้ผู้พิจารณาธรรมเป็นผู้โต้ตอบ
ทุกอย่างที่อีกฝ่ายกระทำล้วนเป็น สมมติ มีเพียงสิ่งที่ผู้พิจารณาธรรมสัมผัสได้จากอีกฝ่าย
จึงจะเป็นปรมัตถ์ อาทิเช่นได้ยินเสียง ได้เห็นภาพ


อนุโมทนาครับคุณโฮฮับ

ยินดีที่ได้สนทนา

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2016, 03:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7520

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
โลกแห่งการสมมุติบัญญัติเกิดขึ้นภายหลัง
แต่ความเป็นจริงมีอยู่อย่างนั้นมาอนันตกาล
ไม่มีใครสามารถรู้สมมุติต่างๆได้ด้วยตนเอง
หากไม่มีพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงนั้น
การเปล่งพระวาจาเป็นเสียงที่เป็นภาษายุคนั้น
เป็นการบอกกล่าวเพื่อสื่อสารกับคนในยุคนั้น
เพื่อให้รู้ความจริงตามสัจธรรมที่พระองค์หยั่งรู้
ถ่ายทอดด้วยเสียงกลายมาเป็นตำราพระไตรปิฎก
:b12: :b16:
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2016, 03:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ปรมัตถ์ธรรม คือ

จิต

เจตสิก

รูป

นิพพาน


รู้ได้เฉพาะตน เป็นปรมัตถ์

บอกต่อผู้อื่น เป็นบัญญัติและสมมุติ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2016, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"สมมุติบัญญัติ" สำหรับมนุษย์ใช้สื่อสารกันรู้เข้าใจ เช่น ที่สมมุติเรียกส่ิ่งที่มีลักษณะอย่างนี้ๆว่า "รถ" ว่า "เรือ" ว่า "แมว" เป็นต้น สังคมอื่นจะสมมุติบัญญัติเรียกนอกจากนี้ก็ได้ ว่า คาร์ ว่าโบท ว่า แคท เป็นต้น

ส่วนปรมัตถ์ (ปรมัตถธรรม,สภาวะ สภาวธรรม) สำหรับปัญญาที่รู้เข้าใจลึกลงไปอีกชั้นหนึ่ง เช่น ที่สมมุติเรียกว่า "รถ" ข้างต้นนั้นแหละ มองให้ลึกเข้าไปอีก ตัวอย่าง ไหนลองชี้บอกสิ ไหน รถ ไหน เรือ ไหนล่ะ แมว บอกได้ไหมตรงไหนเรียกว่า รถ ว่า เรือ ว่า แมว บอกสิ มีแต่ส่วนประกอบต่างๆเข้าด้วยกันอย่างนี้ เรียกว่า เรือ ว่า รถ เมื่อกระจายสิ่งเหล่านั้นออก รถ ก็ไม่มี เรือก็ไม่มี

ที่เรียกว่า คน ก็เช่นเดียวกัน ชี้สิตรงไหน เรียกว่า คน

ตรงไหน เรียกว่า โฮฮับ ตรงไหนเรียกกรัชกาย อิอิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2016, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในการดำเนินชีวิตในโลก มนุษย์ใช้สมมุติบัญญัติติดต่อสื่อสารกัน ถ้าไม่ใช้สมมุติใช้บัญญัติ การดำเนินชีวิตในสังคมจะติดขัดไปหมด

(สมมุติ กับ ปรมัตถ์ซ้อนกันอยู่ เราเองต้องแยกให้ออก)

ใช้สมมุติแต่ไม่หลงสมมุติหลงบัญญัติ รู้เข้าใจปรมัตถ์ จะช่วยให้ทุกข์น้อยลง

พระพุทธเจ้าก็ใช้สมมุติ

ดังพุทธพจน์ว่า

"ภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ...จะพึงกล่าวว่า ฉันพูด ดังนี้ก็ดี เขาพูดกับฉัน ดังนี้ก็ดี เธอเป็นผู้ฉลาด รู้ถ้อยคำที่เขาพูดกันในโลก ก็พึงกล่าวไปตามโวหารเท่านั้น"

"เหล่านี้ เป็นโลกสมัญญา เป็นโลกนิรุติ เป็นโลกโวหาร เป็นโลกบัญญัติ ซึ่งตถาคตใช้พูดจา แต่ไม่ยึดติด"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2016, 11:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นำตัวอย่างที่ผู้ปฏิบัติทางจิตร้อยทั้งร้อยติดกันอยู่ คือ ทำไปปฏิบัติไปภาวนาไปๆๆๆ ปรมัตถ์ (สภาวะ) ปรากฎแก่ตนแล้ว สภาวธรรมขัดแย้งกับความเป็นเรา คือความเป็นตัวตน

หมายความว่า สภาวะมันเป็นของมันอย่างนั้น เป็นเช่นนั้นเอง แต่ความเป็นเรา คือเรายึดถือว่า ชีวิตอัตภาพนี้เป็นเรา (อุปาทาน) ยึดว่าเป็นตัวตนของเรา เราเลยขัดกับมัน (ปรมัตถ์ซึ่งดำเนินไปของมัน)

ดูตย.

อ้างคำพูด:
มีใครพออธิบายสาเหตุของอาการที่ดิฉันเป็นได้บ้างคะ ดิฉันมักจะได้ยินเสียงพระสวดเกือบตลอดเวลาเป็นร้อยๆรูปกัณฑ์ใหญ่ หรือบางทีก็เปลี่ยนเป็นเสียงดนตรีบรรเลงโหมโรงแบบไพเราะมากดังก้องเหมือนกำลังจะมีพิธีใหญ่อะไรสักอย่าง และสลับกับเสียงดังกังวานทั่วบ้านเป็นเสียง ผญ และ ผช ลักษณะเป็นกลุ่มมากกว่าสองคน กำลังคุยกันเหมือนประชุมอยู่ตลอด แต่ฟังไมชัดเจนเนื่องจากเสียงพึมพำมาก ดิฉันจะได้ยินเสียงเหล่านี้อยู่ตลอดเวลาจนเริ่มชินกับเสียงเหล่านี้จนคิดว่าเป็นเรื่องปกติไปแล้ว แต่บางทีเสียงก็ดังชัดแบบแปลกกว่าทุกทีที่เคยขึ้นมาเฉยๆทำให้ดิฉันรู้สึกเหมือน ตัวเองผิดปกติหรือป่าวหรือกำลังป่วยเป็นโรคอะไรเกี่ยวกับโสตการรับฟังของตัวเองอยู่รึป่าว เลยอยากขอคำแนะนำเพื่อประกอบการพิจารณาในการปฎิบัติตัวที่เหมาะสมต่อไปค่ะ


http://board.palungjit.org/f4/%E0%B8%AA ... 61234.html

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร