วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 11:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 45 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2016, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ฆราวาสชาวพุทธ เมื่อสมาทานศีล 5 ข้อ คือ
1.การเว้นจากการฆ่าสัตว์


สมาทานด้วยการเว้นจากการฆ่าสัตว์....ท่านเรียกสุดโต่ง

พระพุทธองค์ทรงชี้แนะให้เดินสายกลางด้วย......พรหมวิหารสี่

เช่นนั้น เขียน:
2.การเว้นจากการลักของๆผู้อื่นที่มิใช่ของตน

สุดโต่ง

องค์มรรคของศีลในกรณีนี้ก็คือ กัมมัตตะคือการประกอบอาชีพที่สุจริต

เช่นนั้น เขียน:
3.การเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

สุดโต่ง

องค์มรรคของศีลคือ กัมมันตะในการครองเรือนคือมีผัวเดียวเมียเดียว

เช่นนั้น เขียน:
4.การเว้นจากการพูดเท็จ เพ้อเจ้อ คำหยาบ ส่อเสียด

สุดโต่งจนตกขอบ

องค์มรรคของศีลในกรณีนี้คือ วาจาที่ประกอบสัจจะ

เช่นนั้น เขียน:

5.การเว้นจากการเสพย์น้ำเมาสิ่งมึนเมา

สุดโต่งถึงขั้นมั่ว

องค์มรรคของศีลคือ....การความไม่ประมาท(มีสติ)

เช่นนั้น เขียน:

ก็เป็นการแสดงเจตจำนงในการรักษาศีลไว้ให้ดี


ศีลไม่ใช่มีไว้รักษา แต่ศีลต้องเจริญ คือปฏิบัติให้เกิดขึ้น
เมื่อเกิดแล้วศีลก็จะอยู่กับบุคคลนั้นตลอดไป ศีลของอริยชนย่อมไม่เสื่อมคลาย


เช่นนั้น เขียน:

การฆ่าสัตว์ การลักของๆผู้อื่นที่มิใช่ของตน การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ เพ้อเจ้อ คำหยาบ ส่อเสียด
เป็นกรรมกิเลส 4
อยู่ในกลุ่มอกุศลกรรมบถ 10
การเสพย์น้ำเมาสิ่งมึนเมา เป็นทางแห่งความเสื่อม


การฆ่าสัตว์เกิดจาก บุคคลยังไม่มีองค์มรรคของศีล(ไม่ใช่รักษา)
การไม่มีศีลหมายความถึง บุคคลยังไม่ปฏิบัติในเรื่องพรหมวิหารสี่

การลักทรัพย์และอื่นก็เช่นกัน

เช่นนั้น เขียน:

บาปกรรม 5 ประการนี้ วิญญูชนไม่สรรเสริญ พระพุทธองค์ทรงติเตียน
เพราะนำมาซึ่งความไม่สงบ นำไปสู่ทุคติ อบาย วินิบาต นรก

เมื่อฆราวาส สมาทานมาเพียง 5 ข้อ
การสมาทานเอามาเพียง 5 ข้อ จึงเป็น ปริยันตปาริสุทธิศีล คือศีลของบุคคลผู้ที่มิได้บวช


บาปกรรมเป็นเรื่องของอัตตา การปรุงแต่ง พระพุทธองค์ทรงให้ละมันเสีย

การสมาทานศีลไม่ใช่วินัย(๕) การสมาทานศีลคือการตั้งใจแน่วแน่ว่าจะประพฤติปฏิบัติในเรื่องของ
ธรรม๕ หรือเบญจธรรม
การสมาทานวินัย(๕)เป็นมิจฉาทิฐิ (ศีลพรตปรามาส)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2016, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ต่อคำที่ว่า "ไอ้ที่ว่ามันบริสุทธิ์ บริสุทธิ์อย่างไร"
ศีลที่สมาทานไว้ บริสุทธิ์


ศีลบริสุทธิ คือสิ่งที่เกิดกับบุคคลที่ละวาง สักกายทิฐิ วิจิกิจฉาและศีลพรตปรามาสได้แล้ว
ศีลบริสุทธิเพื่อความเจริญแห่งศีลพรหมจรรย์

เช่นนั้น เขียน:
เพราะ
-ศีลที่สมาทานไว้ เป็นกุศลศีล

กุศลและอกุศลล้วนเป็นกิเลส ความหมายของคำว่ากุศลศีลและอกุศลศีล
คือ.....กุศลเกิดเมื่อไร ต้องละวางกุศลเพื่อความเป็นปกติ(ศีล)ของกายใจ
อกุศลศีลก็เช่นกัน คือเมื่ออกุศลเกิดต้องละวางอกุศลเพื่อความเป็นปกติ(ศีล)ของกายใจ

ความหมายของศีลคือ"ความเป็นปกติร่มเย็น"
แต่วินัย(๕)ไม่ใช่ เพราะเป็นความเดือดร้อนวุ่นวายใจ กลัวว่าจะทำผิด
หรือบางคนฟุ้งซ่านกลัวบาปกลัวนรกไปโน้น


เช่นนั้น เขียน:
-ไม่ขาด คือเจตนาที่จะเว้น จะละ ก็ไม่ขาด ไม่ตั้งเจตนาไปในอกุศลศีล


เจตนาล้วนเป็นกรรม กรรมส่งผลให้เกิดวิบากคือทุกข์ ...ฉะนั้นคำตอบนี้มันมั่วสิ้นดี

การละท่านเรียกว่าการปล่อยวาง การปล่อยวางก็คือ อุเบกขา
อุเบกขาจึงเป็นองค์มรรคที่แท้จริงแห่งศีล ส่วนเจตนาไม่ใช่ เจตนาเป็นอัตตา(ยึดมั่นถือมั่น)

เช่นนั้น เขียน:
-ไม่ทะลุเป็นช่อง คือไม่เลือกว่า วันนี้ ตอนนี้จะตั้งเจตนาเฉพาะข้อนั้นข้อนี้ เว้นข้อนั้นข้อนี้จากที่ได้สมาทานไว้ 5 ข้อ
-ไม่ด่างพร้อย คือไม่ลืมตัวพลั้งเผลอลูบคลำศีล เช่นการทรมานสัตว์ แม้สัตว์ไม่ตายก็เป็นการทำให้ศีลด่างพร้อยเป็นต้น.
-เป็นไท จาก ทิฏฐิ ตัณหา มานะ คือ สมาทานโดยรู้ว่าเพื่อขัดเกลา เพื่ออนุเคราะห์ต่อมรรคต่อผล ไม่ได้สมาทานเพื่อลาภสักการะ เพื่อยศ เป็นต้น และไม่ได้สมาทานเอาโดยยกตนข่มท่าน หรือเปรียบเทียบกัน
-เป็นศีลที่พระอริยเจ้าสรรเสริญ คือ กุศลศีลทั้งหลายนั่นเอง

ความบริสุทธิ์ของศีลจึงเป็นอย่างที่อธิบายไปนั้น


คำพูดพวกนี้ท่านเรียกว่า "แถ" มันเกิดจากวิจิกิจฉา
คือหาเหตุหาผลจากสิ่งที่ตัวเชื่อไม่ได้ ก็เลยต้องปรุงแต่งบัญญัติขึ้นลอยๆ ก็แถนั้นแหล่ะ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2016, 18:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
Duangrat เขียน:
ความเป็นปุถุชนที่ยึดมั่นในศีล คือ ไม่ทำโน่น นี่ นั่น โดยความยึดถือ แล้วคิดว่าตนบริสุทธิ์ในศีล มันเป็นศีลลัพพรตปรามาส

ซึ่งการยึดไว้ว่าอย่าทำอย่างนั้น มันอาจเกิดความร้อนใจได้ เช่น
ไม่ยอมฆ่ายุงในบ้าน แต่ลูกเป็นไข้เลือดออก ก็ต้องมานั่งกลุ้มใจ
ขโมยเข้าบ้านถามว่าเงินอยู่ไหน คงต้องพูดความจริงบอกที่เก็บเงินให้ขโมย แล้วก็ต้องเสียใจ
ไม่ฆ่างู ไม่พูดปดกะขโมยเพื่อให้ศีลบริสุทธิ์ แต่กลุ้มใจ เสียใจทีหลัง มันก็เปรียบกะนรกตั้งแต่ยังไม่ตาย
เชิญแก้ใข ขยายความต่อ ครับท่าน

การสมาทานศีล ให้บริสุทธิ์ จึงต้องรู้จักความรู้อันถูกต้องว่าเมื่อสมาทานอย่างไร ราคะ โทสะ โมหะจะเบาบางลง
เป็นไปในส่วนของความรู้คือวิชชา

อกุศลศีล เมื่อสมาทานแล้ว มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากก็มี
อกุศลศีล เมื่อสมาทานแล้ว มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากก็มี
กุศลศีล เมื่อสมาทานแล้ว มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากก็มี
กุศลศีลเมือสมาทานแล้ว มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากก็มี

สำหรับกรณีของคุณ Duangrat จำจะต้องศึกษาจาก มหาธรรมสมาทานสูตร นะครับ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=9701&Z=9903&pagebreak=0
Quote Tipitaka:
[๕๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้มี ๔ อย่าง

๔ อย่างเป็นไฉน?
ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไปก็มี
ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไปก็มี
ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไปก็มี
ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไปก็มี


ในพระสูตรมีความหมายว่า อริยะต้องรู้เพื่อ...ละ ในสมาทาน
ลุงเช่นนั้นชอบเอาอวิชชามาโพสสอนคน ลุงรู้หรือเปล่าสมาทานสี่นี่น่ะมันเป็น.....กิเลสที่ต้องละ

ดันทลึ่งมาสอนให้ชาวบ้านสมาทานกิเลส :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2016, 20:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าให้สมาทานศีล..

อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต


๖. ปาฏลิคามิยสูตร

[๑๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ พร้อมด้วยภิกษุ
สงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงปาฏลิคาม อุบาสก (และอุบาสิกา) ชาวปาฏลิคามได้
สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่
ใหญ่ เสด็จไปถึงปาฏลิคามแล้ว ลำดับนั้นแล อุบาสกชาวปาฏลิคามพากันเข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค
ทรงรับเรือนสำหรับพักของข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด พระผู้มีพระภาคทรงรับโดย
ดุษณีภาพ ลำดับนั้นแล อุบาสกชาวปาฏลิคาม ทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงรับแล้ว
ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วเข้าไปยังเรือน
สำหรับพัก ครั้นแล้วลาดเครื่องลาดทั้งปวง ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตาม
ประทีปน้ำมันแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เรือนสำหรับพัก ข้าพระองค์ทั้งหลายปูลาดแล้ว ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตาม
ประทีปน้ำมันแล้ว บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคทรงสำคัญกาลอันควรเถิด ครั้งนั้น
แล เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้วถือบาตรและจีวร เสด็จถึงเรือน
สำหรับพัก พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้วทรงล้างพระบาท เสด็จเข้าไปยังเรือน
สำหรับพัก ประทับนังพิงเสากลางผินพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา แม้ภิกษุสงฆ์ล้าง
เท้าแล้ว เข้าไปยังเรือนสำหรับพัก นั่งพิงฝาด้านหลังผินหน้าไปทางทิศบูรพา แวด
ล้อมพระผู้มีพระภาคอยู่ แม้อุบาสกชาวปาฏลิคามก็ล้างเท้าแล้วเข้าไปยังเรือน
สำหรับพัก นั่งพิงฝาด้านหน้าผินหน้าไปทางทิศประจิม แวดล้อมพระผู้มี-
*พระภาคอยู่ ฯ
[๑๗๐] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะอุบาสกชาวปาฏลิคามว่า
ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย โทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล ๕ ประการนี้ ๕ ประการ
เป็นไฉน คือ บุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมเข้าถึงความเสื่อมแห่งโภคะ-
*ใหญ่เพราะความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการ
ที่ ๑ ฯ
อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์อันลามกของบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ ขจรไป
แล้ว นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการที่ ๒ ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติเข้าไปหาบริษัทใด คือ ขัตติย-
*บริษัทก็ดี พราหมณบริษัทก็ดี คหบดีบริษัทก็ดี สมณบริษัทก็ดี ย่อมไม่แกล้ว
กล้า เก้อเขินเข้าไปหา นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการที่ ๓ ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเป็นผู้หลงใหลกระทำกาละ
นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการที่ ๔ ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการที่ ๕ ดูกร
คฤหบดีทั้งหลาย โทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล ๕ ประการนี้แล ฯ
ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ๕
ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลผู้มีศีลผู้ถึงพร้อมด้วยศีลในโลกนี้
ย่อมได้กองแห่งโภคะใหญ่เพราะความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีล-
*สมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการที่ ๑ ฯ
อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
ย่อมขจรไป นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการที่ ๒ ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เข้าไปหาบริษัทใด คือ ขัตติย-
*บริษัทก็ดี พราหมณบริษัทก็ดี คหบดีบริษัทก็ดี สมณบริษัทก็ดี ย่อมเป็นผู้แกล้ว
กล้า ไม่เก้อเขินเข้าไปหาบริษัทนั้น นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มี
ศีลประการที่ ๓ ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ไม่หลง
ใหลกระทำกาละ นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการที่ ๔ ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเข้าถึงสุคติโลก
สวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการที่ ๕ ดูกรคฤหบดี
ทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ๕ ประการนี้แล ฯ

[๑๗๑] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้อุบาสกชาวปาฏลิคาม
เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา สิ้นราตรีเป็นอันมาก
แล้วทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ราตรีล่วงไปแล้ว ท่าน
ทั้งหลายจงสำคัญเวลาอันควร ณ บัดนี้เถิด ลำดับนั้น อุบาสกชาวปาฏลิคาม
ทั้งหลายชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มี-
*พระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ลำดับนั้น เมื่ออุบาสกชาวปาฏลิคาม
หลีกไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าไปยังสุญญาคาร ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=4145&Z=4279


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2016, 21:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านกล่าวศีลในแง่ของทาน..
ท่านกล่าวใว้..ทั้งละ..และงดเว้น

อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต


ปุญญาภิสันทสูตร



[๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการนี้ นำความสุข
มาให้ ให้อารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ห้วงบุญ
ห้วงกุศล ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึง
พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๑ นำความสุขมาให้ ให้
อารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ
นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๒ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ นี้
เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๓ ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการนี้ เป็นมหาทาน อันบัณฑิตพึงรู้ว่า
เป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย
ไม่เคยกระจัดกระจาย อันบัณฑิตไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์
ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด ทาน ๕ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต
ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่
เบียดเบียน แก่สัตว์หาประมาณมิได้
ครั้นให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความ
ไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย
ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียน หาประมาณมิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น
ทานประการที่ ๑ ที่เป็นมหาทาน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสาย
แห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย อันบัณฑิต
ไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นห้วง
บุญห้วงกุศลประการที่ ๔ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละอทินนาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน ฯลฯ
นี้เป็นทานประการที่ ๒ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๕ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
ฯลฯ นี้เป็นทานประการที่ ๓ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๖ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท ฯลฯ นี้
เป็นทานประการที่ ๔ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๗ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็น
ที่ตั้งแห่งความประมาท งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้ง
แห่งความประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ
สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทแล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ความ
ไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้ ครั้นให้ความไม่มีภัย ความ
ไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่ง
ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนหาประมาณมิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นทานประการที่ ๕ ที่เป็นมหาทาน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็น
เชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย

อันบัณฑิตไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๘ นำสุขมาให้ ให้อารมณ์
อันเลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการนี้แล นำสุขมาให้ ให้อารมณ์อันเลิศ มีสุขเป็นผล
เป็นไปเพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ฯ
จบสูตรที่ ๙




โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2016, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
พระพุทธเจ้าให้สมาทานศีล..


มันไม่ใช่ข้ออ้างเลยป้ากบ ใช่พระพุทธองค์ให้สมาทานศีล แต่ศีลในความหมายของพุทธองค์
ไม่ใช่วินัย(๕) ศีลของพุทธองค์ไม่ใช้ข้อห้าม

ศีลของพระพุทธองค์เป็นอธิศีล หมายความว่า มีองค์ธรรมหรือองค์ประกอบมากมายที่ทำให้เกิดศีล
ซึ่งธรรมห้าประการก็เป็นส่วนหนึ่งของอธิศีล ธรรมห้าประการที่ว่านั้นหาใช่ วินัย(๕)ไม่
แต่ธรรมห้าประการที่ว่า หมายถึง.....เบญจธรรม

ความหมายของสมาทานศีล คือ การตั้งจิตมั่นต่อการปฏิบัติในธรรมห้าประการ
คือ..พรหมวิหารสี่๑ อาชีพสุจริต๑ ผัวเดียวเมียเดียว๑ มีสัจจะ๑ ไม่ประมาท(สติ)๑


ที่พี่โฮกำลังจ่ำจี้จ่ำไชสอนป้ากบกับลุงเช่นนั้นคือ กำลังชี้แนะว่าอะไรคือศีลที่แท้จริง
ก็ด้วยเหตุนี้ ป้ากบกรุณาแยกแยะให้ดีก้ที่จะตอบหรือแย้งความเห็นคนอื่น
เคยบอกไปแล้ว ตอนที่ป้ากบแสดงความเห็นแย้งคุณดวงรัตน์


ศีลของป้ากบกับศีลของพี่โฮ มันเป็นคนละเรื่อง...เข้าใจมั้ย
เหตุนี้จึงไม่ใช่มาแย้งว่าพระพุทธองค์ "พระพุทธองค์ให้สมาทานศีล"
ถ้าพระพุทธองค์บอกว่า "ให้สมาทานวินัย(๕)" ค่อยเอาคำนี้มาแย้ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2016, 07:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ท่านกล่าวศีลในแง่ของทาน..
ท่านกล่าวใว้..ทั้งละ..และงดเว้น

อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต


ปุญญาภิสันทสูตร



[๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการนี้ นำความสุข
มาให้ ให้อารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ห้วงบุญ
ห้วงกุศล ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึง
พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๑ นำความสุขมาให้ ให้
อารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ
นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๒ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ นี้
เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๓ ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการนี้ เป็นมหาทาน อันบัณฑิตพึงรู้ว่า
เป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย
ไม่เคยกระจัดกระจาย อันบัณฑิตไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์
ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด ทาน ๕ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต
ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่
เบียดเบียน แก่สัตว์หาประมาณมิได้
ครั้นให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความ
ไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย
ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียน หาประมาณมิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น
ทานประการที่ ๑ ที่เป็นมหาทาน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสาย
แห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย อันบัณฑิต
ไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นห้วง
บุญห้วงกุศลประการที่ ๔ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละอทินนาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน ฯลฯ
นี้เป็นทานประการที่ ๒ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๕ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
ฯลฯ นี้เป็นทานประการที่ ๓ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๖ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท ฯลฯ นี้
เป็นทานประการที่ ๔ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๗ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็น
ที่ตั้งแห่งความประมาท งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้ง
แห่งความประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ
สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทแล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ความ
ไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้ ครั้นให้ความไม่มีภัย ความ
ไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่ง
ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนหาประมาณมิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นทานประการที่ ๕ ที่เป็นมหาทาน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็น
เชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย

อันบัณฑิตไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๘ นำสุขมาให้ ให้อารมณ์
อันเลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการนี้แล นำสุขมาให้ ให้อารมณ์อันเลิศ มีสุขเป็นผล
เป็นไปเพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ฯ
จบสูตรที่ ๙




เรื่องของทานก็เรื่องของทาน มันมาเกี่ยวอะไรกับวินัย(๕)
พระสูตรบทนี้ท่านให้เอาธรรม(ทาน)นำการกระทำ

ทานมันเกี่ยวข้องกับเบญจธรรมโดยตรง เพราะมีใจเป็นพรหมจึงเกิดทานขึ้น
ใจมีเมตตาจึงให้ชีวิต......นี่คือทาน เขาให้เพราะเมตตาไม่ใช่ให้ชีวิตเพราะถูกห้าม
เพราะประกอบอาชีพสุจริตจึงไม่คิดเอาของคนอื่น.....นี่คือทาน ไม่ใช่ไม่เอาของคนอื่นเพราะถูกห้าม
เพราะมีรักเดียวใจเดียวจึงไม่คิดที่จะล่วงระเมิดหญิงอื่น...นี่คือทาน
เพราะมีสัจจะพูดแต่ความจริง .....นี่คือทาน คือให้สัจจะความจริง
เพราะมีสติความประมาทก็ไม่เกิด....นี่คือทาน ให้ความสงบไม่ระรานคนอื่นเพราะขาดสติ

ไม่ไม่ใช้เรื่องของวินัยแล้วจะเกิด "ละ"หรือ"งดเว้น"
ที่แท้จริงแล้ว ท่านให้เอาใจเป็นเบญจธรรม เมื่อใจเป็นเบญจธรรมแล้ว....ย่อมเกิดการกระทำเป็นทาน
ใจเป็นเบญจธรรม การกระทำเป็นทาน แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว
เรื่องไม่ฆ่ามันเกิดจากทาน ไม่ใช่เกิดจากข้อห้าม เราไม่ฆ่าเพราะเรามีเมตตาธรรม
และที่เหลือก็เช่นกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2016, 10:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านๆแล้วทำให้นึกถึง ต้นไม้ ถ้าเรียก "ต้นไม้" รวมหมดทั้งกิ่ง ก้าน ดอก ใบ ลำต้น เปลือก กะพี้ แก่น ราก ... ข้ออุปมานี่ ฉันใด

คำว่า "พระพุทธศาสนา" ก็ฉันนั้น คือ เป็นที่รวมคำสอนของพระพุทธเจ้าว่ามี 8,4000 ธรรมขันธ์ บันทึกไว้เป็นเล่ม ๆเรียกว่า ไตรปิฏก ว่ามี 45 เล่ม เมื่อคำสอนมีมากมายฉะนี้ เราชาวพุด ก็เกาะติดตรงนั้นบ้าง ตรงนี้บ้าง แล้วก็ คิกๆๆๆ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2016, 05:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ่านๆแล้วทำให้นึกถึง ต้นไม้ ถ้าเรียก "ต้นไม้" รวมหมดทั้งกิ่ง ก้าน ดอก ใบ ลำต้น เปลือก กะพี้ แก่น ราก ... ข้ออุปมานี่ ฉันใด

คำว่า "พระพุทธศาสนา" ก็ฉันนั้น คือ เป็นที่รวมคำสอนของพระพุทธเจ้าว่ามี 8,4000 ธรรมขันธ์ บันทึกไว้เป็นเล่ม ๆเรียกว่า ไตรปิฏก ว่ามี 45 เล่ม เมื่อคำสอนมีมากมายฉะนี้ เราชาวพุด ก็เกาะติดตรงนั้นบ้าง ตรงนี้บ้าง แล้วก็ คิกๆๆๆ :b32:


เขาพูดกันตามแง่มุม...มันก็เกิดความหลากหลาย...

ถ้าเป็นคนใจกว้าง...ไม่มานะทิฏฐิมากอย่างกรัชกาย...ก็มีความรู้เพิ่ม..

ส่วนคนที่ดูถูกคน..ก็รู้ได้เท่าที่ตนอ่าน..แค่นั้นแหละ..

แต่ก็อย่างว่าแหละ..คนคนนี้ก็ยังคิดว่าตนรู้มาก..อยู่ดี..

จิ่งหรีดในกะลา
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2016, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อ่านๆแล้วทำให้นึกถึง ต้นไม้ ถ้าเรียก "ต้นไม้" รวมหมดทั้งกิ่ง ก้าน ดอก ใบ ลำต้น เปลือก กะพี้ แก่น ราก ... ข้ออุปมานี่ ฉันใด

คำว่า "พระพุทธศาสนา" ก็ฉันนั้น คือ เป็นที่รวมคำสอนของพระพุทธเจ้าว่ามี 8,4000 ธรรมขันธ์ บันทึกไว้เป็นเล่ม ๆเรียกว่า ไตรปิฏก ว่ามี 45 เล่ม เมื่อคำสอนมีมากมายฉะนี้ เราชาวพุด ก็เกาะติดตรงนั้นบ้าง ตรงนี้บ้าง แล้วก็ คิกๆๆๆ :b32:


เขาพูดกันตามแง่มุม...มันก็เกิดความหลากหลาย...

ถ้าเป็นคนใจกว้าง...ไม่มานะทิฏฐิมากอย่างกรัชกาย...ก็มีความรู้เพิ่ม..

ส่วนคนที่ดูถูกคน..ก็รู้ได้เท่าที่ตนอ่าน..แค่นั้นแหละ..

แต่ก็อย่างว่าแหละ..คนคนนี้ก็ยังคิดว่าตนรู้มาก..อยู่ดี..

จิ่งหรีดในกะลา
:b32: :b32:



ที่พูดนั่นแหละ คือ ความหลากหลาย คือ องค์ประกอบต้นไม้ มีหลายชื่อหลายอย่าง ผู้ศึกษาแง่มุมเดียวก็ติดอยู่แง่นั้นมุมนั้น จริงไม่จริง

ท่านยกตัวอย่างไว้แรงกว่านี้นะ ท่านเปรียบเหมือนคนตาบอดคลำช้างโน่นเลย

กบในกะโหลกกะลา :b32: ทาสเผด็จการ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2016, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นำหลักให้ดู

สมาทาน การถือเอารับเอาเป็นข้อปฏิบัติ, การถือปฏิบัติ เช่น สมาทานศีล คือ รับเอาศีลมาปฏิบัติ


วิรัติ ความเว้น, งดเว้น, เจตนาที่งดเว้นจากความชั่ว

วิรัติ ๓ คือ

๑. สัมปัตตวิรัติ ความเว้นจากวัตถุอันถึงเข้า, การเว้นเมื่อประสบซึ่งหน้าคือไม่ได้สมาทานศีล หรือตั้งใจละเว้นมาก่อน แต่เมื่อประสบเหตุอันจะทำให้ความชั่วหรือละเมิดศีลเข้าเฉพาะหน้า ก็ละเว้นได้ในขณะนั้นเอง ไม่ล่วงละเมิดศีล


๒. สมาทานวิรัติ การเว้นจากการสมาทาน คือ ได้สมาทานศีลไว้ก่อนแล้ว เมื่อประสบเหตุที่จะให้ทำความชั่ว ก็งดเว้นได้ตามที่สมาทานนั้น


๓. สมุจเฉทวิรัติ เว้นได้โดยเด็ดขาด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2016, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หรือจะเอานี่ อย่างที่ว่าก่อนหน้าว่า ทำความเข้าใจ "เจตนา"

หมวดศีล

๓.สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ ๕.สัมมาอาชีวะ

องค์ มรรค ๓ ข้อนี้ เป็นขั้นศีลด้วยกัน จึงรวมมากล่าวไว้พร้อมกัน เมื่อพิจารณาความหมายตามหลักฐานในคัมภีร์ ปรากฏคำจำกัดความทำนองยกตัวอย่าง ดังนี้

๑. "ภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจา เป็นไฉน ? นี้เรียกว่าสัมมาวาจา คือ

๑) มุสาวาทา เวรมณี - - - เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ
๒) ปิสุณาย วาจาย เวรมณี - ,, วาจาส่อเสียด
๓) ผรุสาย วาจาย เวรมณี - ,, วาจาหยาบคาย
๔) สมฺผปฺปลาปา เวรมณี - ,, การพูดเพ้อเจ้อ"

๒. "ภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน ? นี้เรียกว่าสัมมากัมมันตะ คือ

๑) ปาณาติปาตา เวรมณี -- เจตนางดเว้นจากการตัดรอนชีวิต
๒) อทินฺนาทานา เวรมณี - - ,, การถือเอาของที่เขามิได้ให้
๓) กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี - ,, การประพฤติผิดในกามทั้งหลาย


๓. "ภิกษุทั้งหลาย สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน ? นี้เรียกว่าสัมมาอาชีวะ คือ อริยสาวกละมิจฉาอาชีวะเสีย หาเลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ"

นอกจากนี้ ยังมีคำจำกัดความแบบแยกเป็นระดับโลกิยะ และโลกุตระอีกด้วย เฉพาะระดับโลกิยะ มีคำจำกัดความอย่างเดียวกับข้างต้น ส่วนระดับโลกุตระ มีความหมาย ดังนี้

๑. สัมมาวาจาที่เป็นโลกุตระ ได้แก่ "ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนางดเว้นจากวจีทุจริตทั้ง ๔ ของท่านผู้มีจิตเป็นอริยะ มีจิตไร้อาสวะ มีอริยมรรคเป็นสมังคี กำลังเจริญอริยมรรคอยู่"

๒. สัมมากัมมันตะที่เป็นโลกุตระ ได้แก่ "ความงด ความ เว้น ความเว้นขาด เจตนางดเว้นจากกายทุจริตทั้ง ๓ ของท่านผู้มี จิตเป็นอริยะ..."

๓. สัมมาอาชีวะที่เป็นโลกุตระ ได้แก่ "ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนางดเว้นจากมิจฉาอาชีวะ ของท่านผู้มีจิตเป็นอริยะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2016, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อวิชชา ความไม่รู้จริง, ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง มี ๔ คือ ความไม่รู้อริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่าง (ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดแห่งทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ ไม่รู้ทางให้ถึงความดับทุกข์) อวิชชา ๘ คือ อวิชชา ๔ นั้น และเพิ่ม ๕. ไม่รู้อดีต ๖. ไม่รู้อนาคต ๗. ไม่รู้ทั้งอดีตทั้งอนาคต ๘. ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท


อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ทำให้ไม่รู้ตามความเป็นจริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2016, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณาความหมาย และขอบเขตของศีลแนวพุทธพจน์


"คหบดีทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายสำหรับน้อมเข้ามาเทียบตัว....

๑) อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเองอยากมีชีวิต ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ถ้าใครจะปลงชีวิตเรา ผู้อยากอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ก็จะไม่เป็นที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา ก็ถ้าเราจะปลงชีวิตคนอื่น ผู้อยากอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน

สิ่งใดตัวเราเองไม่ชื่นชอบ ไม่พอใจ ถึงคนอื่นเขาก็ไม่ชื่นชอบ ไม่พอใจ เหมือนกัน สิ่งใด ตัวเราเองก็ไม่ชอบ ไม่พอใจ ไฉนจะพึงเอาไปผูกใส่คนอื่นเล่า

อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตด้วยตนเองด้วย ย่อมชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากปาณาติบาตด้วย ย่อมกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากปาณาติบาตด้วย กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์ทั้งสามด้านอย่างนี้

๒) อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ถ้าใครจะถือเอาสิ่งของที่เรามิได้ให้ด้วย อาการขโมย ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา ก็ถ้าเราจะถือเอาของที่ผู้อื่นมิได้ให้ด้วยอาการขโมย ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน

๓) อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ก็ถ้าใครจะประพฤติผิดในภรรยาของ เรา ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา ก็ถ้าใครจะประพฤติผิดในภรรยาของคนอื่น ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน

๔) อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ก็ถ้าใครจะทำลายประโยชน์ของเราด้วยการกล่าวเท็จ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา ก็ถ้าใครจะทำลายประโยชน์ของคนอื่นด้วยการกล่าวเท็จ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน...


๕) อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ก็ถ้าใครจะยุยงเราให้แตกจากมิตรด้วย คำส่อเสียด ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา ก็ถ้าใครจะยุยงคนอื่นให้แตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน...

๖) อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ก็ถ้าใครจะพูดจากะเราด้วยคำหยาบ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา ก็ถ้าเราจะพูดจากะคนอื่นด้วยคำหยาบ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน.

๗) อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ก็ถ้าใครจะพูดจากะเราด้วยคำเพ้อเจ้อ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา ก็ถ้าเราจะพูดจากะคนอื่นด้วยคำเพ้อเจ้อ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน,

สิ่งใด ตัวเราเองก็ไม่ชื่นชอบ ไม่พอใจ ถึงคนอื่นเขาก็ไม่ชื่นชอบ ไม่พอใจ เหมือนกัน สิ่งใดตัวเราเองก็ไม่ชอบ ไม่พอใจ ไฉนจะพึงเอาไปผูกใส่ให้คนอื่นเล่า

อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อด้วยตนเองด้วย ย่อมชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อด้วยตนเองด้วย ย่อมกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์ทั้งสามด้านอย่างนี้" (สํ.ม.๑๙/๑๔๕-๑๔๖๕/๔๔๒-๖)

“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเข้าใจว่าอย่างไร เธอทั้งหลาย เคยได้เห็น หรือได้ยินบ้างไหมว่า บุรุษนี้ละปาณาติบาต เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาตแล้ว พระราชาทั้งหลายจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำการตามปัจจัย เพราะการงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นเหตุ อย่างนี้ เธอทั้งหลาย เคยเห็น หรือเคยได้ยินบ้างไหม?


“ไม่เคยเลยพระเจ้าข้า”


“ถูกแล้ว ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยเห็นไม่เคยได้ยิน...มีแต่เขาจะประกาศการกระทำชั่วว่า คนผู้นี้ฆ่าหญิง หรือ ชายตาย พระ ราชาทั้งหลายจึงจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำการตามปัจจัย เพราะปาณาติบาตเป็นเหตุ อย่างนี้ เธอทั้งหลายเคยเห็น หรือเคยได้ยินบ้างไหม?

“เคยเห็น เคยได้ยิน และจักได้ยินต่อไปด้วย พระเจ้าข้า”

“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเข้าใจว่าอย่างไร เธอทั้งหลายเคยได้เห็น หรือได้ยินบ้างไหมว่า (บุรุษผู้นี้ ละอทินนาทาน เป็นผู้งดเว้นจากอทินนาทานแล้ว....จากกาเมสุมิจฉาจารแล้ว....จากมุสาวาท แล้ว...จากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานแล้ว) พระราชาทั้งหลาย จับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำการตามปัจจัย เพราะการเว้นจากอทินนาทาน....จากกาเมสุมิจฉาจาร....จากมุสาวาท...จากสุรา เมรยมัชชปมาทัฏฐานเป็นเหตุ”


“ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า”


“ถูกแล้ว ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน...มีแต่เขาจะประกาศการกระทำชั่วว่า คนผู้นี้ลักทรัพย์เขามาจากบ้าน หรือจากป่า...คนผู้นี้ประพฤติละเมิดในสตรี หรือในบุตรีของผู้อื่น....คนผู้นี้ทำลายประโยชน์ของชาวบ้าน หรือลูกชาวบ้าน ด้วยการกล่าวเท็จ....คนผู้นี้ร่ำสุราเมรัยฯ แล้วฆ่าหญิง หรือ ชายตาย ....คน ผู้นี้ร่ำสุราเมรัย ฯ แล้วลักทรัพย์เขาจากบ้านหรือจากป่า... .คนผู้นี้ร่ำสุราเมรัยฯ แล้วประพฤติละเมิดในสตรี หรือบุตรีของผู้อื่น... .คนผู้นี้ร่ำสุราเมรัยฯ แล้วทำลายประโยชน์ของชาวบ้าน หรือลูกชาวบ้าน ด้วยการกล่าวเท็จ พระราชาทั้งหลาย จึงจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำการตามปัจจัย เพราะอทินนาทาน....กาเมสุมิจฉาจาร...มุสาวาท...สุราเมรัยฯ เป็นเหตุ อย่างนี้เธอทั้งหลาย เคยเห็น หรือเคยได้ยินบ้างไหม?"


“เคยเห็น เคยได้ยิน และจักได้ยินต่อไปด้วย พระเจ้าข้า"

(องฺ.ปญฺจก.22/178/232 ... ตัดที่ความที่ซ้ำๆกันออก)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2016, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้างบนมีอ้างอิงถึง "อริยะๆ" หลายคำ พิจารณาความหมาย ดังนี้


อริยกะ คนเจริญ, คนประเสริฐ, คนได้รับการศึกษาอบรมดี, เป็นชื่อเรียกชนชาติหนึ่งที่อพยพจากทางเหนือเข้าไปในอินเดียตั้งแต่ก่อน พุทธกาล ถือตัวว่า เป็นพวกเจริญ และเหยียดพวกเจ้าถิ่นเดิมลงว่าเป็นมิลักขะ คือพวกคนป่าคนดอย, พวกอริยกะอพยพเข้าไปในยุโรปด้วย คือ พวกที่เรียกว่า อารยัน



อริ ข้าศึก, ศัตรู, คนที่ไม่ชอบกัน


อริยะ เจริญ, ประเสริฐ, ผู้ไกลจากข้าศึก คือกิเลส, บุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มี โสดาบัตติมรรค เป็นต้น



อริยกชาติ หมู่คนที่ได้รับการศึกษาอบรมดี, พวกที่มีความเจริญ, พวกชนชาติอริยกะ



อริยชาติ "เกิดเป็นอริยะ" คือ บรรลุมรรคผล กลายเป็นอริยบุคคล เปรียบเหมือนเกิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการเปลี่ยนจากปุถุชนเป็นพระอริยะ,

อีกอย่างหนึ่งว่า ชาติอริยะ หรือชาวอริยะ ซึ่งเป็นผู้เจริญในทางพระพุทธศาสนา หมายถึงถึงผู้กำจัดกิเลสได้ ซึ่งชนวรรณะไหน เผ่าไหน ก็อาจเป็นได้ ต่างจากอริยชาติ หรืออริยกชาติที่มีมาแต่เดิม ซึ่งจำกัดด้วยชาติ คือกำเนิด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 45 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร