วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 20:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 10:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ในกรณีที่เกิดความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ถ้าไม่รู้จักคิด ปล่อยให้ความคิดอยู่ใต้อิทธิพลของเวทนานั้น ก็จะเกิดความคิดแบบเพ้อฝันเลื่อนลอยไร้จุดหมาย หรือ ไม่ก็กลายเป็นอัดอั้นตันอื้อไป ซึ่งรวมเรียก ว่า เป็นสภาพที่ไม่เกื้อกูลต่อคุณภาพชีวิต (เป็นอกุศล) สร้างปัญหา และก่อให้เกิดทุกข์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 10:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังเกตผลข้างเคียงจากเวทนา ๓ (สุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา) ที่ผ่านมาไว้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 10:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ตัวอย่าง เมื่อประสบกับสุขเวทนาบ้าง

ฯลฯ เวลานี้รู้สึกว่า มีแต่ความสุขไปหมด

จากนั้น ผมก็คิดขึ้นมาว่า "มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วย หรือ ความสุขนี้ ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด
โอ ความสุขนี้ แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆ เพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย
ความสุขนี้ ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คนในโลกกลับไม่รู้"

จากนั้น ผมก็สังเกตลมหายใจ ก็รู้สึกว่าลมหายใจตอนนี้ มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจ คำว่า ลมหายใจหยาบลมหายใจละเอียด ว่า เป็นยังไง
ก่อนหน้านี้ เข้าใจ ว่า คือลมหายใจแรงๆ เบาๆ ซะอีก :)

ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ปีติอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้น
แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือ มีความรู้พร้อมอยู่
จากนั้น ผมก็รู้สึกยินดี กับ สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคิดไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌาน หรือ เปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเรา หรือ"
จนจิต เริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน
หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น

http://larndham.org/index.php?/topic/27 ... ntry393770


มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า มีสติรู้ทั่วทุกกองลม
รู้อารมณ์หยาบ ลมหายใจก็หยาบ รู้อารมณ์ละเอียด ลมหายใจก็ละเอียด
ทำความรู้จักเวทนาปิติ-สุขหายใจออก ทำความรู้จักเวทนาปิติ-สุขหายใจเข้า (ตามอานาปานสติสูตร)
ลมหายใจหายไปเหลือแต่ปิติ สุขอารมณ์เดียวเป็นอารัมณูปนิณิชฌาน สมถะ
ยังมีสติรู้ลมหายใจอยู่ แลดูเวทนาปิติ สุข เป็นลักขณูปณิชฌาน วิปัสสนา
...............................................................
ยึด อานาปานสติสูตร ไว้ รู้เห็นไปตามลำดับ เหมือนดำน้ำในถ้ำมืด ก็ต้องมีเชือกคลำทาง
หลุดไปก็กลับมาคว้าหาเชือก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 12:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ :b32:

กระบวนการความคิดนี้ เขียนให้ดูง่าย แสดงเฉพาะสภาพจิต หรือ องค์ธรรมที่เป็นตัวแสดงบทบาทสำคัญๆ ดังนี้

การรับรู้ =>ความรู้สึกสุข ทุกข์=>ความอยาก-ที่เป็นปฏิกิริยาบวก-ลบ=>ปัญหา

(ผัสสะ) - - - - (เวทนา) - - - - - - - - - - - -(ตัณหา) - - - - - - - - - - - (ทุกข์)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในชีวิตของคนทั่วไป กระบวนธรรมแห่งปัญหานี้ เป็นกิจกรรมส่วนใหญ่ที่ดำเนินไปเกือบตลอดเวลา
ในวันหนึ่งๆ อาจเกิดขึ้นแล้วๆ เล่าๆ นับครั้งไม่ถ้วน

ชีวิตที่ไม่มีการศึกษา ย่อมถูกครอบงำ และกำหนดด้วยกระบวนการแห่งความคิดอย่างนี้
ความเป็นไปของกระบวนธรรมนี้ ดำเนินไปได้อย่างง่ายๆ โดยไม่ต้องใช้สติปัญญา ไม่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ หรือ ความสามารถอะไรเลย จัดเป็นธรรมดาขั้นพื้นฐานที่สุด ยิ่งได้สั่งสมความเคยชิน ไว้มากๆ ก็ยิ่งเป็นไปเองอย่างคล่องแคล่ว อย่างที่เรียกว่าลงร่อง

เพราะการที่เป็นไปอย่างปราศจากปัญญา ไม่ต้องมีสติปัญญาเข้ามาเกี่ยวข้อง และสติปัญญาไม่ได้เป็นตัวควบคุม จึงเรียกว่า เกิดอวิชชา และจึงไม่เป็นไปเพื่อการแก้ไขปัญหา แต่เป็นไปเพื่อก่อปัญหาทำให้เกิดทุกข์ เรียกว่า เป็นปัจจยาการแห่งทุกข์

ลักษณะทั่วไปของมัน คือ เป็นการคิดที่สนองตัณหา ผลของมัน คือ การก่อปัญหาทำให้เกิดทุกข์ จึงไม่เป็นการศึกษา
สรุปสั้นๆ จะเรียกว่า กระบวนการคิดแบบสนองตัณหา หรือ การคิดแบบก่อปัญหา หรือ วงจรแห่งความทุกข์ ก็ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 13:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อมนุษย์มีการศึกษาขึ้น ก็คือ มนุษย์เริ่มใช้ปัญญา ไม่ปล่อยให้กระบวนการคิด หรือ วงจรปัจจยาการข้างต้น ดำเนินไปเรื่อยๆ คล่องๆ
แต่มนุษย์เริ่มใช้สติ สัมปชัญญะ และนำองค์ประกอบอื่นๆ เข้ามาตัดตอน หรือ ลดทอนกระแสของกระบวนการคิดแบบนั้น ทำให้กระบวนการคิดแบบสนองตัณหา ขาดตอนไปเสียบ้าง แปรไปเสียบ้าง ดำเนินไปในทิศทางหรือรูปอื่นๆบ้าง ทำให้มนุษย์เริ่มหลุดพ้นเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาส ไม่ถูกกระบวนความคิดแบบนั้นครอบงำกำหนดเอาเต็มที่โดยสิ้นเชิง


ในเบื้องต้น ตัวแปรนั้นอาจเป็นเพียงเสียงเหนี่ยวรั้ง หรือ รูปสำเร็จแห่งความคิดที่ได้รับการถ่ายทอดโดยปรโตโฆสะ จากบุคคล หรือ สถาบันต่างๆ และซึ่งตนยึดถือเอาไว้ด้วยศรัทธา
แต่ตัวแปรจากปรโตโฆสะอย่างนั้น มีผลเพียงแค่เป็นที่ยึดเหนี่ยวดึงตัวไว้ หรือ ขัดขวางไว้ไม่ให้ไหลไปตามกระแสของกระบวนการคิดนั้น หรือ อย่างดีก็ได้แค่ให้รูปแบบความคิดที่ตายตัวไว้ยึดถือแทน ไม่เป็นทางแห่งการคิดคืบหน้าโดยอิสระของบุคคลนั้นเอง
แต่ในขั้นสูงขึ้นไป ปรโตโฆสะที่ดี อาจชักนำ ศรัทธาประเภทที่นำต่อไปสู่ความคิดเองได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบ


ปรโตโฆสะ ที่ชักนำให้เกิดศรัทธา แบบรูปสำเร็จตายตัว ไม่เป็นสื่อนำการคิดพิจารณาต่อไป เช่น ให้เชื่อว่า สิ่งทั้งหลายจะเป็นอย่างไร ย่อมสุดแต่เทพเจ้า บันดาล หรือ เป็นเรื่องของความบังเอิญ
เมื่อเชื่ออย่างนี้แล้ว ก็ได้แต่คอยรอความหวังจาก เทพเจ้า หรือ ปล่อยตามโชคชะตา ไม่ต้องคิดค้นอะไรต่อไป

ส่วนปรโตโฆสะ ที่ชักนำศรัทธาแบบเป็นสื่อโยงให้เกิดความคิดพิจารณา เช่น ให้เชื่อ ว่า สิ่งทั้งหลายจะเป็นอย่างไร ย่อมแล้วแต่เหตุปัจจัย
มื่อเชื่ออย่างนี้แล้ว เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ก็ย่อมคิดค้นสืบสาวหาเหตุปัจจัย ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจต่อๆไป

ความคิดพิจารณาที่ศรัทธาต่อปรโตโฆสะช่วยสื่อนำนั้น เริ่มต้นด้วยองค์ธรรมที่ เรียกว่า โยนิโสมนสิการ

พูดอีกอย่างหนึ่ง ว่า ปรโตโฆสะที่ดี สร้างศรัทธาชนิดที่ชักนำให้เกิดโยนิโสมนสิการ

เมื่อโยนิโสมนสิการเกิดขึ้นแล้ว ก็หมายถึงว่า ได้มีจุดเริ่มของการศึกษา หรือ การพัฒนาปัญญาได้เริ่มขึ้นแล้ว จากนั้น ก็จะเกิดการคิดที่ใช้ ปัญญา และทำให้ปัญญาเจริญงอกงามยิ่งขึ้น นำไปสู่การแก้ปัญหา เป็นทางแห่งความดับทุกข์ และนี้ ก็คือ การศึกษา

พูดสั้นๆ ว่ากระบวนการคิดที่สนองปัญญา คือ การคิดที่แก้ปัญหา นำไปสู่ความดับทุกข์ และเป็นการศึกษา

จุดสำคัญ ที่โยนิโสมนสิการเข้ามาเริ่มบทบาท ก็คือ การตัดตอนไม่ให้เวทนามีอิทธิพลเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาต่อไป คือ ให้มีแต่เพียงการเสวยเวทนา แต่ไม่เกิดตัณหา
เมื่อไม่เกิดตัณหา ก็ไม่มีความคิดปรุงแต่งตามอำนาจของตัณหานั้น ต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 16:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อตัดตอนกระบวนการคิดสนองตัณหาแล้ว โยนิโสมนสิการก็นำความคิด ไปสู่แนวทางของการก่อปัญญา แก้ปัญหา ดับทุกข์ และทำให้เกิดการศึกษาต่อไป

อาจเขียนกระบวนความคิดให้ดูง่ายๆ ดังนี้

การรับรู้=>ความรู้สึกสุขทุกข์=>ตัณหาฯลฯ=>เกิดปัญหา

(ผัสสะ) - - - - - (เวทนา)=>V - - - - - - - - - (เกิดทุกข์)

- - - - - - - - - - - -โยนิโสมนสิการ=>ปัญญา=>แก้ปัญหา

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - (ดับทุกข์)


อย่างไรก็ดี สำหรับมนุษย์ปุถุชน แม้เริ่มมีการศึกษาบ้างแล้ว แต่กระบวนการความคิด ๒ อย่างนี้ ยังเกิดสลับกันไปมา และกระบวนหนึ่ง อาจไปเกิดแทรกในระหว่างของอีกกระบวนหนึ่ง เช่น กระบวนแบบแรกจากดำเนินไปจนถึงเกิดตัณหาแล้ว จึงเกิดโยนิโสมนสิการขึ้นมาตัด และหันเหไปใหม่ หรือ กระบวนแบบหลังดำเนินไปถึงปัญญาแล้ว เกิดมีตัณหาขึ้นในรูปใหม่แทรกเข้ามา

โดยนัยนี้ จึงเกิดมีกรณีที่นำเอาผลงานของปัญญาไปรับใช้ความต้องการของตัณหาได้ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคลที่มีการศึกษาสมบูรณ์แล้ว เมื่อคิด ก็คิดอย่างมีโยนิโสมนสิการ เมื่อไม่คิด ก็มีสติครองใจอยู่กับปัจจุบัน คือ กำกับจิตอยู่กับสิ่งที่เกี่ยวข้องต้องทำ และพฤติกรรมที่กำลังดำเนินไปอยู่ของตน

อนึ่ง ที่ว่าเมื่อคิด ก็คิดอย่างมีโยนิโสมนสิการนั้น ก็หมายถึง มีสติอยู่พร้อมด้วย เพราะโยนิโสมนสิการเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงสติ และทำให้ต้องใช้ปัญญา เมื่อความคิดเดินอยู่อย่างเป็นระเบียบมีจุดหมาย จิตก็ไม่ลอยเลื่อนเชือนแชไป ต้องกุมอยู่ กับ กิจที่กำลังกระทำ นั้น เรียกว่า มีสติ

(ส่องไปถึงสติ การฝึกสติแนวสติปัฏฐานโน่นเลย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามนัยที่กล่าวมานี้ จะเห็นว่า โยนิโสมนสิการ เป็นการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี ซึ่งเป็นองค์ธรรมสำคัญยิ่งในกระบวนการของการศึกษา หรือ ในการพัฒนาตน อยู่ที่จุดแกนกลาง คือ การพัฒนาปัญญา เป็นองค์ธรรมที่จำเป็นสำหรับการมีชีวิตที่ดีงาม ซึ่งแก้ปัญหา และพึ่งพาตนได้

เมื่อเทียบในกระบวนการพัฒนาปัญญา โยนิโสมนสิการอยู่ในระดับที่เหนือศรัทธา เพราะเป็นขั้นที่เริ่มใช้ความคิดของตนเองเป็นอิสระ

เมื่อพิจารณาในแง่ของระบบการศึกษาอบรม โยนิโสมนสิการเป็นองค์ประกอบฝ่ายภายใน เกี่ยวด้วยการฝึกการใช้ความคิด ให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างมีระเบียบ รู้จักคิดวิเคราะห์ ไม่มองเห็นสิ่งต่างๆ อย่างตื้นๆ ผิวเผิน เป็นขั้นสำคัญในการสร้างปัญญาที่บริสุทธิ์ เป็นอิสระ ทำให้ทุกคนพึ่งตนได้ ช่วยตนเองได้ และนำไปสู่ความเป็นอิสระ ไร้ทุกข์ พร้อมทั้งสันติสุขที่เป็นจุดหมายสูงสุดของพุทธธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นอันว่า ได้ทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับบุพภาคของการศึกษา ๒ ประการ คือ ปรโตโฆสะ ที่เป็นกัลยาณมิตร ซึ่งเป็นองค์ประกอบภายนอก และเป็นวิธีการแห่งศรัทธา กับ โยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นองค์ประกอบภายใน และเป็นวิธีการแห่งปัญญา พอมองเห็นภาพกว้างๆ ของระบบในกระบวนการของการศึกษาแล้ว

ต่อแต่นี้ จะได้บรรยายเรื่องโยนิโสมนสิการ โดยเฉพาะอย่างเดียว เพื่อให้ทราบรายละเอียดเพิ่มเติม และเกิดความเข้าใจ เกี่ยวกับวิธีคิดตามหลักพุทธธรรมอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จบตอน :b53: พุทธธรรมหน้า ๖๑๘ :b54:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 21:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ในชีวิตของคนทั่วไป กระบวนธรรมแห่งปัญหานี้ เป็นกิจกรรมส่วนใหญ่ที่ดำเนินไปเกือบตลอดเวลา
ในวันหนึ่งๆ อาจเกิดขึ้นแล้วๆ เล่าๆ นับครั้งไม่ถ้วน

ชีวิตที่ไม่มีการศึกษา ย่อมถูกครอบงำ และกำหนดด้วยกระบวนการแห่งความคิดอย่างนี้
ความเป็นไปของกระบวนธรรมนี้ ดำเนินไปได้อย่างง่ายๆ โดยไม่ต้องใช้สติปัญญา ไม่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ หรือ ความสามารถอะไรเลย จัดเป็นธรรมดาขั้นพื้นฐานที่สุด ยิ่งได้สั่งสมความเคยชิน ไว้มากๆ ก็ยิ่งเป็นไปเองอย่างคล่องแคล่ว อย่างที่เรียกว่าลงร่อง

เพราะการที่เป็นไปอย่างปราศจากปัญญา ไม่ต้องมีสติปัญญาเข้ามาเกี่ยวข้อง และสติปัญญาไม่ได้เป็นตัวควบคุม จึงเรียกว่า เกิดอวิชชา และจึงไม่เป็นไปเพื่อการแก้ไขปัญหา แต่เป็นไปเพื่อก่อปัญหาทำให้เกิดทุกข์ เรียกว่า เป็นปัจจยาการแห่งทุกข์

ลักษณะทั่วไปของมัน คือ เป็นการคิดที่สนองตัณหา ผลของมัน คือ การก่อปัญหาทำให้เกิดทุกข์ จึงไม่เป็นการศึกษา
สรุปสั้นๆ จะเรียกว่า กระบวนการคิดแบบสนองตัณหา หรือ การคิดแบบก่อปัญหา หรือ วงจรแห่งความทุกข์ ก็ได้


:b1:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร