วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 05:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2011, 10:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
สภาพจิตของพระโสดาบันหลังการบรรลุธรรมแล้ว ต่างจากปุถุชนทั่วไป แต่ใกล้เคียงกัลยาณชน จะต่างกันที่ขณะโอกาสที่จะผิดศีล 5 กัลยาณชนอาจมีจิตที่คิดจะทำ แต่ระลึกว่าเป็นสิ่งไม่ดี จึงไม่กระทำ แต่พระโสดาบันจะไม่มีจิตที่คิดจะทำผิดศีล 5 ขึ้นมาในวิถีจิต เนื่องจากกิเลสอย่างหยาบที่จะทำให้ผิดศีล 5 ถูกมรรคประหารแล้ว จึงเป็นศีลที่ไม่ต้องรักษา แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องระมัดระวังเพราะการกระทำภายนอกคล้ายปุถุชนมาก อาจเป็นทางให้บุคคลทั่วไปปรามาสและเกิดโทษได้ สำหรับผู้เข้าถึงกระแสพระนิพพานแล้ว การปฏิบัติธรรมจะสะดวกขึ้น สภาวะความเกิดดับจะละเอียด ผ่านนิวรณ์ได้ง่ายขึ้น ความฝันจะไม่เป็นเรื่องเป็นราว(บางคนอาจไม่ค่อยฝัน) ความฝันจะหมดไปในระดับอรหันต์ สำหรับพระโสดาบันความศรัทธาในพระรัตนตรัยจะไม่เสื่อมคลาย โดยเฉพาะความศรัทธาในพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธองค์ได้มอบอมตะธรรมที่ทำให้จิตของสรรพสัตว์ที่รอวันพบแสงสว่างแห่งปัญญา หลุดพ้นจากทุกข์ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2011, 21:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
พระโสดาบันที่ต้องการปฏิบัติเพื่อให้สิ้นทุกข์ เมื่อกำหนดรู้สภาพความเป็นจริงของรูปนามเช่นเดิม แต่จะรู้สึกว่าสภาวธรรมละเอียดขึ้น หากถามว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าก้าวหน้าขึ้น ก็จะต้องพิจารณาจากสภาพความเกิดดับของรูปนาม และทุกครั้งที่มีความเกิดดับ จะคลายสภาพทุกขังออกมาด้วย เป็นรอบ ๆ ภายหลังจิตจะเบาสบายและย้อนกลับไปสู่ทุกขังในรอบที่ลึกลงไปอีก จึงเกิดสภาวะของไตรลักษณ์จากรอบหยาบสู่รอบละเอียดลึกลงไปเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นสภาวะที่จิตเคลื่อนในสมาธิระดับฌาน จนเมื่อถึงจุดหนึ่งจิตตัดกระแสดับสนิท(ทุติยมรรค)และรู้สึกขึ้นสู่สภาวะไม่เกิดไม่ดับจิตอิสระจากแรงดึงทั้งปวง เกิดความเงียบสงบสงัดนิ่งอย่างยิ่ง เป็นผลจากมรรคที่ได้กำจัดโลภ โทสะ โมหะให้เบาบางลง บรรลุถึงความเป็นสกทาคามีบุคคล ภายหลังจากนี้ไปจิตที่ถึงความเป็นสกทาคามีบุคคล จะมีความสงบเป็นพื้นฐานตลอดไป :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2011, 21:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้..เงียบไปนานเชียว.. :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2011, 11:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


self-esteem เขียน:
วานผู้รู้ช่วยหน่อยนะครับ ผมสงสัยจริงๆ ?

ว่า...ถ้าเรารู้เหตุแห่งการเกิดทุกข์และการดับทุกข์ ซึ่งอยู่ในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว

เราควรจะปฏิบัติอย่างไร? ให้ได้ผลและประสบความสำเร็จถึงขั้นดับทุกข์ ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว

วานผู้รู้ช่วยตอบคำถามนี้ เพื่อให้ผมได้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องด้วยนะครับ :b8:


สวัสดี "self-esteem"
ถ้า "รู้" เหตุแห่งการเกิดทุกข์ และ
ถ้า "รู้" การดับทุกข์
ที่พระองค์แสดงในปฏิจสมุปบาท

ก็เป็นอันเสร็จกิจ แล้วครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2011, 20:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ม.ค. 2008, 16:58
โพสต์: 42


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจะตอบแบบปฏิบัติคงไม่ได้ตอบยืดยาว(สำหรับผู้ปฏิบัติ)
แค่รู้=วิชชา ไม่รู้=อวิชชา
ทุกข์กำหนดรู้(ไม่ต้องไปทำอะไรแค่รู้)
เหตุแห่งทุกข์ควรละ
เจริญศีลสมาธิปัญญาให้สมบูรณ์
ก็ดับทุกข์ได้ ตัดวงจรแห่งปฏิจสมุปบาทได้
"เฮดอันใด๋ใส่ใจอันนั้น"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2011, 00:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนากับทุกท่านที่เข้ามาให้ข้อมูลและความรู้เพิ่มเติมด้วยครับ :b46: :b8: :b46:

(ช่วงนี้ภารกิจทางโลกและเรื่องส่วนตัวที่ต้องจัดการให้ลุล่วงไปมีมากมายจนหาเวลาว่างยาวๆเขียนได้ยากเต็มทีครับ) :b31: :b31: :b46: :b46: :b39:

ขอเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนของโสดาบันอีกสักเล็กน้อยครับ :b1: :b38: :b37: :b39:

ในระดับของโสดาบันเองแล้ว ยังมีการแบ่งแยกความแก่อ่อนแห่งอินทรีย์ได้อีก ๓ ประเภท ตามพุทธพจน์คือ :b39: :b46: :b41:

๑) โสดาบันที่ยังต้องท่องเที่ยวไปในภพแห่งเทวดาและมนุษย์อีกเจ็ดครั้งเป็นอย่างมาก แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ (สัตตักขัตตุปรมะ แปลว่า มี ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง) :b46: :b39: :b46:

คือเป็นโสดาบันที่อินทรีย์อ่อน ความมุ่งมั่น (วิริยินทรีย์) ที่จะทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ไม่แรงกล้า และ/หรือกำลังสมถะ (สมาธินทรีย์) ไม่แรงกล้าพอ ได้แก่พระสุขวิปัสสโกที่มีวิริยะน้อย เมื่อบรรลุโสดาบันแล้วกายแตกดับจากภพมนุษย์ไป ก็จะท่องเที่ยวไปในภพมนุษย์บ้างเทวดาหรือพรหมบ้างอีกไม่เกิน ๗ ชาติ ถึงจะถึงที่สุดแห่งทุกข์ :b46: :b39: :b46:

(ทั้งนี้ ในอรรถกถาไม่รวมโสดาบันประเภทที่ยังติดใจในกามาวจรภูมิอยู่ ซึ่งอรรถกถาใช้คำว่า มีอัธยาศัยในวัฏฏะ ชอบวัฏฏะจึงท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏะไล่ตั้งแต่เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาไปจนชั้นสูงสุดของเทวดาคือปรนิมิตวสวัตตีรวม ๖ ชั้น (ซึ่งอาจจะสลับไปมา) แล้วไปปรินิพพานที่ชั้นอกนิฏฐพรหม :b48: :b53: :b41:

คือไหนๆจะต้องดับซึ่งสังขารธรรมทั้งปวงแล้ว ขอให้ได้ท่องเที่ยวไปให้ครบในภูมิเทวดาเสียหน่อย ซึ่งในสมัยพุทธกาลมีอยู่ ๗ ท่านด้วยกันคือ ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี วิสาขาอุบาสิกา จุลลรถเทพบุตร มหารถเทพบุตร อเนกวรรณเทพบุตร ท้าวสักกเทวราช นาคทัตตเทพบุตร อันนี้ว่าตามตำรานะครับ) :b1: :b48: :b46:

อริยบุคคลโสดาบันประเภทแรกนี้ ตามคำของครูบาอาจารย์ว่าไว้ว่า มีอัธยาศัยคลายกัลยาณชนคนธรรมดาเอามากๆ คือยังมีอารมณ์ที่แสดงออกในเรื่องรัก โลภ โกรธ หลง อยู่เยอะ เศร้าโศกเสียใจก็ยังร้องให้ฟูมฟาย โมโหก็ยังของขึ้นหน้าแดง ดีใจก็ยังกระโดดโลดเต้น ฯลฯ เนื่องจากกำลังของอินทรีย์สององค์คือสติและสมาธิยังอ่อน ยังไม่สามารถตามรู้ตามดูให้ทันกิเลสที่ก่อตัวขึ้นได้ จึงยัง “หลง” ชอบ (อภิชฌา) และ “หลง” ชัง (โทมนัส) ได้อยู่บ่อยๆ :b46: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2011, 01:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และที่ “หลง” ทั้งชอบและชังได้บ่อยๆ ก็เพราะเผลอส่งจิตออกนอกได้บ่อยๆเมื่อมีการกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหมือนปุถุชนนั่นเอง :b51: :b48: :b55:

เปรียบได้กับเด็กอ่อนที่เริ่มรู้จักรู้แจ้งในของร้อนคือกิเลสทั้ง ๓ แต่ก็ยังไม่มีความระมัดระวังพอ ยังมีการเอามือเข้าไปแตะของร้อนให้มือไม้พองอยู่บ่อยๆนะครับ :b1: :b44: :b46:

แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงเป็นผู้มั่นคงในศีล ไม่ละเมิดศีลเป็นปรกติ คือเมื่อรักก็ไม่ถึงกับผิดศีลข้อมุสาฯ กาเมฯ, โลภก็ไม่ถึงกับผิดศีลข้อมุสาฯ อทินาฯ, โกรธก็ไม่ถึงกับผิดศีลข้อมุสาฯ (พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ) ปาณาฯ, หลงก็ไม่ถึงกับเสียสติเหมือนดื่มเหล้าเข้าไปมาก ฯลฯ :b44: :b46: :b39:

และถ้าสัตตักขัตตุปรมะโสดาบันหมั่นเพียรอบรมบ่มเพาะอินทรีย์ทั้ง ๕ โดยเฉพาะสติและสมาธิ (เพื่อให้เกิดปัญญาคือตัวสัมปชัญญะ) ให้แก่กล้าขึ้นไปอีก ก็จะสามารถพัฒนาไปเป็นโสดาบันประเภทถัดขึ้นไป คือ :b51: :b45: :b46:

๒) โสดาบันที่ยังต้องท่องเที่ยวไปในอีกสองสามตระกูล แล้วย่อมทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ (โกลังโกละ) :b46: :b39: :b46:

โดยโกลังโกละ แปลว่า ไปสู่กุละจากกุละ และกุละหมายถึงภพ แต่ตรงนี้ครูบาอาจารย์บางท่าน ตำราบางที่ หรือแม้ในอรรถกถาเองก็ไม่ได้หมายถึงอีก ๓ ภพนะครับ แต่สลับไปมาระหว่างภูมิเทวดาหรือพรหมกับภูมิมนุษย์ซึ่งจะเป็นภูมิมนุษย์เพียง ๒ - ๓ ครั้ง (หรือ ๒ - ๓ ตระกูล) และเทวดาหรือพรหม ๐ – ๓ ครั้งเป็นอย่างมาก แล้วถึงจะนิพพาน (คืออย่างน้อย ๒ ชาติ อย่างมากอีก ๖ ชาติ คือเทวดาหรือพรหม ๓ และมนุษย์ ๓, อันนี้ว่าตามตำรานะครับ หรือถ้ามีผู้รู้ท่านอื่นให้ข้อมูลที่ถูกต้องกว่านี้วิสุทธิปาละก็ขออนุโมทนาด้วยครับ) :b38: :b37: :b39:

อริยบุคคลโสดาบันประเภทที่สองนี้ จะมีอินทรีย์ที่แก่กล้าขึ้น โดยเฉพาะจะมีพัฒนาการทางด้านสติ + สัมปชัญญะ (สตินทรีย์ ปัญญินทรีย์) ที่ไวขึ้น มีสมาธิ (สมาธินทรีย์) ที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูได้ดีขึ้น สามารถตามดูรู้ทันในโลภะ โทสะ โมหะ ที่เกิดในจิตได้กระชั้นขึ้น ทำให้กิเลสดับลงได้ไว ซึ่งเป็นผลทำให้ทุกข์น้อยลงทั้งแง่ความถี่ ระดับความรุนแรง และระยะเวลาที่เป็นทุกข์ เหมือนอย่างเด็กโตที่เริ่มรู้ความว่าอะไรร้อน แม้จะ “หลง” หรือ “เผลอ” เข้าไปแตะก็สามารถชักมือกลับได้ไว ไม่ปล่อยแช่ให้มือลวกมือพองจนเป็นแผลไปนะครับ :b48: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2011, 01:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และถ้าโกลังโกละโสดาบันหมั่นเพียรอบรมบ่มเพาะอินทรีย์ทั้ง ๕ โดยเฉพาะสติและสมาธิ (เพื่อให้เกิดปัญญาคือตัวสัมปชัญญะ) ให้แก่กล้าแก่รอบขึ้นไปอีก ก็จะสามารถพัฒนาไปเป็นโสดาบันประเภทถัดขึ้นไป คือ :b46: :b39: :b46:

๓) โสดาบันซึ่งจะเกิดอีกครั้งเดียว ก็จะบรรลุพระอรหัตตผลในภพที่เกิดขึ้น (เอกพิชี แปลว่า มีพืชคือภพเดียว) :b46: :b39: :b46:

ซึ่งเป็นโสดาบันที่มีอินทรีย์ โดยเฉพาะสติ สมาธิ และปัญญา (สัมปชัญญะ) แก่กล้าขึ้นไปอีกจนเกือบจะบรรลุสกทาคามี และเนื่องจากอินทรีย์ทั้ง ๓ ได้พัฒนาขึ้นมามากจนสามารถตามทันกิเลสได้ตั้งแต่เริ่มก่อตัว นั่นคือแวบเดียวที่กิเลสเกิด กำลังของสติสัมปชัญญะก็สามารถตรวจจับและละจากเหตุทุกข์ (สมุทัยให้ละ) วกกลับเข้ามาใช้สมาธิดูลงในความบีบคั้นคือตัวทุกข์ (ทุกข์ให้รู้) ด้วยความชำนาญและเป็นอัตโนมัติที่มาจากการฝึกเจริญสติปัฏฐานได้อย่างไว :b38: :b37: :b39:

และเมื่อใช้กำลังของสมาธิมาจดจ่อรู้ลงแต่ในทุกข์โดยไม่เสียสมาธิวกไปคว้าเอาเหตุเข้ามาแทรก ทุกข์ที่หมดเหตุก็จะดับให้เห็นได้ไว ทุกข์ของเอกพีชีโสดาบันก็จะสั้นและน้อยลงมากมาย ความเบิกบานหรือนิโรธเนื่องมาจากทุกข์ดับก็จะมีมากขึ้นตามกันไปนะครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบก็เหมือนกับวัยรุ่นที่โตจนรู้ว่าอะไรร้อน บางอย่างถ้าร้อนมากจนเห็นได้ด้วยตาเปล่าก็จะไม่แตะ แต่บางอย่างไม่สามารถรู้ได้เร็วแต่เมื่อเผลอไปจับก็สามารถสะบัดออกได้ไวนะครับ :b46: :b44: :b42:

อ้างอิง เอกาภิญญาสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=5357&Z=5374&pagebreak=0
และอรรถกถาเอกาภิญญาสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=899
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจากหนังสือและคำเทศน์เรื่อง อริยบุคคล โดย พระเดชพระคุณพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤษีลิงดำ)
http://www.praruttanatri.com/v1/special/books/ariyabukol.pdf


ขออนุญาตมาต่อคราวหน้าครับ :b1: :b46: :b39: :b41:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2011, 23:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

จากระดับขั้นของอริยโสดาบันในการพัฒนาตนให้ยิ่งๆขึ้นไปจากโสดาบันขั้นต้น เป็นโสดาบันขั้นกลาง และโสดาบันขั้นสูง ซึ่งมีความแปรผกผันกับจำนวนชาติที่จะกลับมาเกิดจาก ๗ ชาติในสัตตักขัตตุปรมะ ลงมาเหลือ ๒ – ๖ ชาติในโกลังโกละ จนมาเหลือ ๑ ชาติในเอกพีชี ซึ่งเรียงลำดับตามความอ่อนแก่ของอินทรีย์ทั้ง ๕ ตามพุทธพจน์ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น :b38: :b37: :b39:

อันที่จริงแล้ว ขั้นตอนดังกล่าว อาจจะพิจารณาลงในการปฏิบัติของระดับสกทาคามีมรรคหลังจากผ่านโสดาปัตติผลมาแล้วก็ได้นะครับ ซึ่งสิ่งที่พระบรมครูทรงกล่าวไว้ในเอกาภิญญาสูตร ก็ได้มีนัยยะที่สามารถ guideline ถึงวิธีปฏิบัติเพื่อเข้าสู่สกทาคามีผล อนาคามีผล จนถึงอรหัตตผลอยู่ไม่น้อย :b38: :b37: :b39:

แต่ยังไม่ขอกล่าวในที่นี้เลยนะครับ เพราะยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีกเล็กน้อยที่เกื่ยวข้องกับโสดาบัน ขอเก็บรายละเอียดให้จบก่อนที่จะผ่านเลยขึ้นไปในระดับที่สูงขึ้น :b1: :b46: :b39: :b46:

สำหรับระดับขั้นโสดาบัน โดยเฉพาะปัญญาที่ได้มาในระดับโสดาปัตติผลซึ่งเป็นโลกุตรปัญญาขั้นแรกแล้วนั้น :b47: :b46: :b47:

พระบรมครูทรงบอกว่า เป็นการทำพอประมาณในปัญญา ซึ่งครูบาอาจารย์รุ่นหลังท่านเปรียบเทียบให้เห็นภาพขึ้นไปอีกว่า เป็นปัญญาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับปัญญาของพระอรหันต์ นี่ยังไม่ต้องพูดถึงการเปรียบเทียบกับปัญญาของพระพุทธเจ้านะครับว่า ระดับโสดาบันนั้น จะเล็กน้อยขนาดไหน เหมือนแสงหิ่งห้อยเทียบแสงอาทิตย์กันเลยทีเดียว ซึ่งจะกล่าวถึงอีกครั้งในพระสูตรที่เกี่ยวข้องคือ มูลปริยายสูตร ที่กำหนดความต่างแห่งภูมิปัญญาตั้งแต่ปุถุชน, เสขบุคคล, พระอรหันตขีณาสพ, ไปจนถึงพระบรมศาสดา :b42: :b44: :b45:

และถ้าจะว่ากันจากข้อความในพระไตรปิฎกถึงปัญญาที่โสดาบันเห็นธรรม เทียบกับปัญญาที่พระอรหันต์เห็นธรรม จะมีปรากฏในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ซึ่งขอยกมาทั้งสองพระสูตร ดังนี้ครับ :b1: :b47: :b48: :b46:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 05 ก.ย. 2011, 06:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2011, 00:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๗. โสตาปันนสูตร
ว่าด้วยผู้เป็นพระอริยสาวกโสดาบัน

[๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ได้
แก่ อุปาทานขันธ์คือรูป ฯลฯ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่พระอริย-
*สาวกย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕
เหล่านี้ ตามความเป็นจริง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า พระอริยสาวกผู้โสดาบัน มีอันไม่ตก
ต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.


๘. อรหันตสูตร
ว่าด้วยผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ

[๒๙๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้. อุปาทานขันธ์ ๕
เป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์คือรูป ฯลฯ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ
เหตุที่ภิกษุรู้เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้
ตามความเป็นจริง จึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะไม่ถือมั่น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภิกษุผู้
เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
โดยลำดับ มีกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ในภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.


http://84000.org/tipitaka/read/?17/296-297

ก็จะเห็นความแตกต่างระหว่างปัญญาของโสดาบัน กับพระอรหันต์อยู่ :b8: :b39: :b39:

คือโสดาบัน มีปัญญาเห็นธรรม (ชาติ) ตามความเป็นจริงเพียงแค่เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทุกข์ (คืออุปาทานขันธ์ ๕) ตามความเป็นจริง :b46: :b39: :b46:

คือมีสัมมาทิฏฐิ (กำจัดแล้วซึ่ง “มิจฉา” สักกายทิฏฐิ) เห็นตามเป็นจริงว่า “เนตํ มม” นั่นไม่ใช่ของเรา “เนโส หมสฺมิ” นั่นไม่ใช่เรา “น เมโส อตฺตา” นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา :b46: :b39: :b46:

“แต่” ยังไม่สามารถสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ได้ ยัง “ยึดมั่นถือมั่น” หรือ “ติดใจยึดอยาก” คือยังมีอุปาทานในขันธ์เหลืออยู่ ซึ่งจะค่อยๆหมดไป และหมดไปได้ทั้งหมดอย่างถาวรในระดับอรหันต์ที่เป็นผู้ไม่เหลือเยื่อเหลือใยติดยึดถือมั่นในขันธ์ หรือสังขตธรรม ธรรมที่เนื่องด้วยการปรุงแต่งทั้งปวงแล้วนั่นเองนะครับ :b1: :b47: :b46: :b47:

คือโสดาบันเพียงแค่ “เห็น” เหตุปัจจัยเกิดดับ แต่ยังไม่สามารถ “สลัดออก” ไปจากอุปาทานขันธ์ได้ :b45: :b46: :b51:

เปรียบเหมือนตัดก้านบัวได้แล้วแต่ยังเหลือเยื่อและใยเป็นยางเหนียวอยู่ :b46: :b46:

หรือจะเปรียบเทียบให้เห็นได้ง่ายขึ้น ขอยกเอาข้อความที่เคยโพสท์ไว้ในกระทู้ 34588.การทำลายสักกายทิฐิของเสขะบุคคล ต่างกับ ปุถุชน อย่างไร? มาอีกครั้งเพื่อประหยัดเวลาในการพิมพ์นะครับ :b1: :b46: :b46:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 05 ก.ย. 2011, 00:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2011, 00:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิง http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=34588&start=25
วิสุทธิปาละ เขียน:
การทำลายสักกายทิฏฐิ เริ่มตั้งแต่เสขบุคคลขั้นแรก คือโสดาบัน และคงอยู่ (หมายถึง การไม่มีซึ่งสักกายทิฏฐิ แต่ระดับการเห็นแจ้งจะต่างกันบ้างในแต่ละขั้น) ไปจนถึงขั้นอรหันต์ ซึ่งเป็นอเสขบุคคล

ขอขยายความตรงนี้เพื่อความชัดเจนสักเล็กน้อยครับ :b1: :b46: :b46: :b46:

สักกายทิฏฐิ คือ “ความเห็นผิด” ในกายใจ (ขันธ์ ๕) ว่าเป็นของตัวของตน ซึ่งต่างจาก และเป็นคนละขั้นกันกับ “ความยึดอยาก” ในกายใจ นะครับ :b37: :b38:

โสดาบัน ละ “ความเห็นผิด” ในกายใจลงได้ว่า ไม่เป็นตัวตน แต่ยังไม่สามารถละ “ความยึดอยาก” ในกายใจลงได้ ซึ่งจะค่อยๆละ “ความยึดอยาก” ในกายใจนี้ได้ลงทีละขั้นๆ จนหมดสิ้นไปในระดับอรหัตตมรรคอรหัตตผล :b41: :b41: :b48:

เปรียบเทียบให้เห็นได้ง่ายขึ้นดังนี้ครับ :b1: :b46: :b46:

เหมือนสมัยที่เราเป็นเด็ก เลิกเรียนกลับบ้านมาเปิดตู้เย็นเห็นขนมอยู่เต็มตู้ นึกว่าแม่ซื้อมาให้เรา แต่มีเสียงลอยตามลมมาว่า “อย่าเอาไปทานนะครับ แม่ซื้อมาใส่บาตรพระพรุ่งนี้เช้า” :b6: :b5:

ตอนแรกที่เห็นขนมนั้น มี “ความเห็นผิด” ว่า ขนมนั้น “เป็นของตัวของตน” แต่เมื่อได้ยินเสียงแม่เตือนมา ถึงแม้ว่าจะละ “ความเห็นผิด” เกิด “ความเห็นถูก” ขึ้นมาแล้วว่า ขนมนั้นไม่ใช่ของเราแล้วก็ตาม แต่ “ความยึดอยาก” ที่จะได้เสพรสอร่อยของขนมนั้น ยังไม่จางคลาย และยังละไปไม่ได้เลยแม้แต่น้อย :b2: :b2:

เช่นกันครับ โสดาบัน มีความเห็นถูกแล้วว่า กายใจนั้นไม่ใช่ของตัวของตน เพราะเห็นแล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา” (ซึ่งข้อความนี้ปรากฏในพระไตรปิฎกหลายที่ และมีนัยยะสำคัญที่ชี้แนวทางสำหรับภาคปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาบันได้อีกหลายแง่มุม) :b46: :b46: :b46:

แต่โสดาบัน ยังไม่สามารถละ “ความยึดอยาก” พอใจที่จะได้เสพรสอร่อย (อภิชฌา) หรือในทางตรงข้ามคือ ความไม่ชอบใจในรสขม (โทมนัส) ของกายและใจได้เลย กิเลสยังเต็มเปี่ยมแต่ไม่ออกมาโลดแล่นข้างนอกในระดับที่ผิดศีล ความอยากในกามต่างๆยังเพียบอยู่ ความโกรธหงุดหงิดขัดใจ เศร้าโศกเสียใจยังมีอยู่ โดยจะค่อยๆละสิ่งเหล่านี้ได้ เมื่อจิตสามารถพัฒนาขึ้นไปในระดับที่สูงขึ้น :b39: :b39: :b46: :b46:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 05 ก.ย. 2011, 00:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2011, 00:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่นคือ ในระดับขั้นสกทาคามี ความยึดอยาก (พอใจ/ไม่พอใจ) ในกายใจจะเบาบางลง อยากโน่นอยากนี่น้อยลง กามราคะน้อยลงจนแทบจะไม่มี อาหารจะทานอะไรก็ได้ไม่เรื่องมาก ดูหนังฟังเพลงตัดทิ้งเพราะทำให้จิตไม่ตั้งมั่น โกรธน้อยลงจนเหลือแค่ความขุ่นในใจจางๆเมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ฯลฯ :b48: :b49: :b50:

พอถึงในระดับขั้นอนาคามี จึงจะสามารถละ “ความยึดอยาก” พอใจที่จะได้เสพรสอร่อยทางกาย (กามราคะ) และความขัดใจในรสขมที่ผ่านทางกาย (ปฏิฆะ) ได้อย่างหมดสิ้น (ขอย้ำว่า เฉพาะที่เนื่องด้วยกายนะครับ) มาจากการละแล้วซึ่งความปรุงแต่งอันเนื่องด้วยกาย เมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ได้กลิ่นก็สักแต่ว่ารู้กลิ่น รับรสก็สักแต่ว่ารู้รส สัมผัสก็สักแต่ว่ารู้สัมผัส จิตไม่ปรุงแต่งผัสสะและเวทนาอันเนื่องด้วยกายต่อจนเกิดตัณหา เพราะมีสติปัญญารู้พร้อมในการเกิดดับแห่งผัสสะและเวทนาอันเนื่องด้วยกายจนไม่ยึดถือปรุงแต่งและเพิกอาการ “อยาก” ลงได้ จิตตั้งมั่นเป็นกลางอยู่แต่อาการรู้ แม้แต่ตอนคิดก็รู้ทั้งเรื่องที่คิด และรู้ตัวว่ากำลังคิด กามราคะไม่กำเริบ ถือศีล ๘ โดยเฉพาะข้อ อพรหมจริยา โดยอัตโนมัติ โกรธไม่มีแม้แต่ความขุ่นในใจจางๆเมื่อประสบกับสิ่งที่ (เคย) ไม่ชอบใจ ฯลฯ :b46: :b46: :b46:

แต่ “ความยึดอยาก” พอใจที่จะได้เสพรสอร่อยทางจิต เช่น รูปราคะ และอรูปราคะ (ความสุขสงบในรูปฌาน และอรูปฌาน) รวมถึงกิเลสละเอียดอันเนื่องด้วยจิตอื่นๆ ได้แก่ ความฟุ้งในธรรม การตีค่าให้ค่าความสำคัญในตัวจิตเอง และความไม่รู้อริยสัจอย่างแจ่มแจ้ง ยังไม่สามารถละได้ในระดับขั้นอนาคามี แต่จะตัดได้ขาดในขั้นอรหัตตมรรคอรหัตตผลครับ :b46: :b46: :b45:

สรุปแล้ว การทำลายสักกายทิฏฐิ เริ่มตั้งแต่โสดาบัน และคงอยู่ไปจนถึงขั้นอรหันต์ แต่การเห็นแจ้ง และละซึ่งใน “ความยึดอยาก” ของกายและใจ จะต่างกันบ้างในแต่ละขั้น จนไปหมดสิ้นเอาที่ขั้นอรหันต์ครับ :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2011, 23:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

คราวที่แล้วได้พิมพ์ค้างไว้นิดหนึ่งถึงความแตกต่างแห่งภูมิปัญญาตั้งแต่ปุถุชน, เสขบุคคล, พระอรหันตขีณาสพ, ไปจนถึงพระบรมศาสดา ที่ปรากฏอยู่ในมูลปริยายสูตร พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ :b48: :b47: :b46:

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=0&Z=237&pagebreak=0

เพื่อเป็นการขยายความให้เข้าใจได้แจ่มแจ้งขึ้น ขอยกเอาบทความของท่านเจ้าคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ หลวงพ่อประยุทธ์ ปยุตฺโต ที่ท่านได้เขียนอธิบายบทมูลปริยายสูตรนี้ไว้ในหนังสือ “พระไทย ใช่เขาใช่เรา?” หน้าที่ ๓๖ – ๓๘ ดังนี้ครับ :b8: :b46: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2011, 23:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ ... พระพุทธเจ้าตรัสถึงการรู้ที่ต่างกัน ๓ ระดับ คือการรู้ของปุถุชน การรู้ของพระเสขะ และการรู้ของพระอรหันต์ จนถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เริ่มด้วยปุถุชน รู้ ปฐวี อาโป เตโช วาโย ส่ำสัตว์ ประดาเทพพรหม รูป เสียง ฯลฯ เอกัตตะ (เอกภาวะ) นานัตตะ (นานาภาวะ) สัพพะ (สัพพภาวะ) จนถึงรู้นิพพาน ครั้นรู้แล้ว ก็สำคัญมั่นหมายต่อสิ่งนั้นๆ ไปในแง่ต่างๆ จนแม้แต่สำคัญมั่นหมายว่าเป็นนิพพานของฉัน และติดเพลินในนิพพาน

การ รู้ ของปุถุชนนี้ พระพุทธเจ้าทรงใช้คำว่า สญฺชานาติ และ สญฺญตฺวา คือรูปกริยาของ “สัญญา” นั่นเอง หมายความว่า มนุษย์ปุถุชนรู้จักสิ่งต่างๆ แม้กระทั่งนิพพาน แต่รู้แค่ตามที่จำไว้ตามที่ได้ฟังได้อ่านโดยสัญญา คือว่าไปตามสมมุติบัญญัติ เพราะฉะนั้น รู้แล้วก็สำคัญมั่นหมายไปตามสัญญาเท่านั้น

จากนั้น ในระดับที่ ๒ พระอริยะขั้นเสขะ รู้ ปฐวี อาโป เตโช วาโย ส่ำสัตว์ ประดาเทพพรหม รูป เสียง ฯลฯ เอกัตตะ (เอกภาวะ) นานัตตะ (นานาภาวะ) สัพพะ (สัพพภาวะ) จนถึงรู้นิพพาน ครั้นรู้แล้ว ก็ไม่ปล่อยใจให้มั่นหมายไปต่อสิ่งนั้นๆ ไปในแง่ต่างๆ จนถึงว่าไม่ปล่อยใจให้มั่นหมายว่าเป็นนิพพานของฉัน ไม่ยอมติดเพลินนิพพาน

การ รู้ ของพระเสขะนี้ พระพุทธเจ้าทรงใช้คำว่า อภิชานาติ และ อภิญฺญาย หรือ อภิญฺญตฺวา คือรูปกริยาของ “อภิญญา” หมายความว่า พระอริยะรู้เข้าใจสิ่งต่างๆ แม้กระทั่งนิพพาน โดยรู้ด้วยปัญญาที่เจาะตรงถึงสภาวะ ทะลุสมมุติบัญญัติไปได้ แม้จะยังอยู่ระหว่างยังศึกษา ก็ตัดก็บรรเทาการสำคัญมั่นหมายลงไปได้ตามลำดับ

ในระดับที่ ๓ พระอรหันต์ รู้ ปฐวี อาโป เตโช วาโย ส่ำสัตว์ ประดาเทพพรหม รูป เสียง ฯลฯ เอกัตตะ (เอกภาวะ) นานัตตะ (นานาภาวะ) สัพพะ (สัพพภาวะ) จนถึงรู้นิพพาน ครั้นรู้แล้ว ก็ไม่สำคัญมั่นหมายต่อสิ่งนั้นๆ ไม่ว่าในแง่ใดๆ จนถึงไม่มั่นหมายว่าเป็นนิพพานของฉัน ไม่ติดเพลินในนิพพาน

การ รู้ ของพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าก็ทรงใช้คำว่า อภิชานาติ และ อภิญฺญาย หรือ อภิญฺญตฺวา ที่เป็นรูปกริยาของ “อภิญญา” หมายความว่า พระอรหันต์รู้เข้าใจสิ่งต่างๆแม้กระทั่งนิพพาน โดยรู้ด้วยปัญญาที่เจาะตรงถึงสภาวะ จนละความสำคัญมั่นหมายลงไปได้สิ้นเชิง อยู่ด้วยปัญญา ไม่ยึดติดค้างคากับสมมุติบัญญัติใดๆเลย

จากนั้นตรัสถึงการ รู้ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งก็เช่นเดียวกับพระอรหันต์ แต่มีข้อพิเศษที่ทำให้เป็นการตรัสรู้

ระดับของปุถุชนนั้น ตรัสว่าเป็นขั้น “อปริญญาต์” คือยังไม่มีปัญญาที่เป็นปริญญา

ระดับของพระเสขะ ตรัสว่าเป็นขั้น “ปริญไญย” คือยังต้องพัฒนาปัญญาให้เป็นปริญญาต่อไป

ส่วนระดับของพระอรหันต์ ตรัสว่าเป็นขั้น “ปริญญาต์” คือจบปริญญาแล้ว ...”


“พระไทย ใช่เขาใช่เรา?” หน้าที่ ๓๖ – ๓๘ พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ. ปยุตโต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2011, 23:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอตัดข้อความจากพระสูตรโดยตรงมาให้ดูในส่วนที่ท่านเจ้าคุณฯกล่าวว่า ปัญญาในระดับการรู้ของพระพุทธเจ้าที่เป็นข้อพิเศษกว่าระดับของพระอรหันต์ที่ทำให้เป็นการตรัสรู้ เพื่อให้เห็นภาพได้ครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนี้ครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

กำหนดภูมินัยที่ ๘ ด้วยสามารถพระศาสดา

[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรู้ธาตุดินโดยความ
เป็นธาตุดินจริง ครั้นทรงรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริงแล้วย่อมไม่ทรงสำคัญธาตุดิน ย่อมไม่
ทรงสำคัญในธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญธาตุดินว่า ของเรา
ย่อมไม่ทรงยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เรากล่าวว่า เพราะทรงทราบว่า ความเพลิดเพลิน
เป็นมูลแห่งทุกข์ เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุ
ทั้งหลายเราจึงกล่าวว่า พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา
ดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง


ย่อมทรงรู้ยิ่งธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ...
อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ...
วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตน
เห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียว
กัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...

ทรงรู้ยิ่งพระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นทรงรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระ
นิพพานแล้ว ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญในพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญ
โดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมไม่ทรงยินดีพระนิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เรากล่าวว่า เพราะทรงทราบว่า ความเพลิดเพลินเป็นมูลแห่งทุกข์ เพราะ
ภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย เราจึงกล่าวว่า
พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา
สละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง.


กราบท่านเจ้าคุณฯหลวงพ่อ ที่อธิบายความมูลปริยายสูตรได้ชัดเจนแจ่มแจ้งด้วยครับ :b8: :b46: :b44:

ไว้หาเวลามาต่อส่วนที่เหลือวันหน้าครับ :b46: :b46: :b41:

เจริญในธรรมครับ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร