วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 20:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 20, 21, 22, 23, 24, 25, 26 ... 37  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 00:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
สัญญา ไม่ใช่ ปัญญา
สัญญามันก็คือจำ จำทุกอย่างที่รับรู้

ลองทบทวนใหม่แบบนี้นะครับ ... ได้ฟังความจริง เกิดรู้ตามหรือเกิดปัญญา สิ่งที่ฟังถูกเก็บไว้เป็นความทรงจำ เมื่อวิปัสสนาระลึกรู้หรือกำหนดรู้ได้ เพราะได้รู้มาก่อน ... แล้วก็ไปคิดเอาเองก็แล้วกันว่า ปัญญา สัญญา มันสัมพันธ์กันอย่างไร



จะไปคิดทำไมล่ะ

มันไม่เที่ยง ไม่ใช่เรา

:b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 00:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Normal เขียน:
กรรมฐานมีตั้งหลากหลายวิธี

คนอื่นๆ มองไม่เห็นเอง ว่าวิธีที่คุณ Supareak Mulpong ปฏิบัติอยู่ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง
คือเป็นปฏิบัติวิปัสสนาไปพร้อมกับสมาธิ
เมื่อถึงเวลาอันควรมีเหตุปัจจัยพร้อมผลก็จะปรากฏเอง

คุณ Supareak Mulpong ยังไม่เร่งรีบ ไม่เค้น เพื่อจะเอาผล
แต่คนอื่นๆ กลับไปเร่งให้คุณ Supareak Mulpong แสดงผล :b14:

อะไร ๆ มันก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เจริญขึ้น เสื่อมลง เป็นธรรมดา
หนีไม่พ้นกฏไตรลักษณ์


อื้อ เห็นแล้วนึกเห็นใจท่าน Supareak ล่ะจิ

ถ้าท่านเห็นช่องโหว่
และเห็นใจที่ทะยานอยากจะเผยแพร่แนวทางกระบวนการคิดของทางสำนักท่าน Sup อย่างจริง ๆ แล้ว

ถ้าไม่สามารถทำให้ท่าน Sup เห็นช่องโหว่ในแนวทางของตน
เพื่อให้ท่าน Sup ได้ปรับกระบวนท่าใหม่ให้น้อมเข้าสู่ธรรมหลักอันบริบูรณ์ได้

....

อะน๊ะ มันไม่เที่ยงนะ

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 01:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
สัญญา ไม่ใช่ ปัญญา
สัญญามันก็คือจำ จำทุกอย่างที่รับรู้

ลองทบทวนใหม่แบบนี้นะครับ ... ได้ฟังความจริง เกิดรู้ตามหรือเกิดปัญญา สิ่งที่ฟังถูกเก็บไว้เป็นความทรงจำ เมื่อวิปัสสนาระลึกรู้หรือกำหนดรู้ได้ เพราะได้รู้มาก่อน ... แล้วก็ไปคิดเอาเองก็แล้วกันว่า ปัญญา สัญญา มันสัมพันธ์กันอย่างไร


:b16:
ผิดอย่างมาก...

จริงอยู่....ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว...ไม่ลืมเพราะมีสัญญา

แต่การอ่านความรู้ของพระพุทธเจ้า...แล้วจำได้...แล้วก็คิดตามว่าใช่...

นี้ก็รู้ตามใช่มั้ย...แล้วมันใช้ฆ่ากิเลสได้ยัง??

ถ้าฆ่ากิเลสได้แล้ว...มาวิปัสสนากำหนดรู้เพื่ออะไร??
ก็มันฆ่ากิเลสไม่ได้...จึงมาวิปัสสนา..ให้เกิดความรู้ขึ้นมาในใจเราจริง ๆ

ไม่งั้นเปรียญ 9 ประโยคทุกคนไม่เป็นอรหันต์กันหมดรึ...

ทำไมถึงไม่เป็นกันละ...ก็อ่านก็ท่องแล้วก็เข้าใจด้วย...ไม่เข้าใจจะสอบผ่านรึ???

ของจริงมันถึงจะฆ่ากิเลสได้...เพราะกิเลสมันอยู่ที่ใจของเรา..ไม่ได้อยู่ที่ไหน

แล้วอย่างมาพูดนะว่า..สุตมัยปัญญา..ก็มี..อันนั้นมันยังใช้ไม่ได้จริง...รู้แบบเออ..ออ...นะ :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 02:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สมาธิ ก็ได้ความสงบ เพื่อเป็นฐานในการวิปัสสนา
เพราะจะเกิดวิปัสสนา ต้องมีความสงบในสมาธิเป็นฐานก่อน คร๊าบบบ
มีที่ใหนที่พระพุทธเจ้าสอนว่า ต้องมีความสงบเป็นฐานก่อนแล้วถึงจะมาวิปัสสนาได้ ยกมาให้ดูหน่อย
อ้างคำพูด:
วิปัสสนาในองค์สมาธิ เขาพิจารณา เกิด-ดับ คร๊าบบบบบ
เรื่องนี้พระสารีบุตรก็เชี่ยวชาญอีกแหละ
สูตรพวกนี้เอาไว้สอนพวกปริพาชกที่ได้ฌานมาก่อนที่จะมาบวชในศาสนานี้ ไม่ได้สอนทุกคน คือสอนพวกฤาษีผู้มีฤทธิ์ทั้งหลาย
อ้างคำพูด:
ท่านคงไม่ได้เหมาว่า ชาวพุทธทั้งโลก(ที่นอกเสียจากพวกท่านแล้ว)ล้วนปฏิบัติผิดหมด น่ะ
ถ้ารู้แล้วไม่ผิด ถ้าจะผิดก้เพราะไม่รู้ พุทธ แปลว่า ผู้รู้ ถ้าปฏิบัติผิด ไม่รู้ ก็ไม่ใช่พุทธ
อ้างคำพูด:
จิตมันรู้เอง มันเห็นเช่นนั้นของมันเอง
ไปเอามาจากใหน จิตมันรู้ไตรลักษณ์ได้เองที่ใหน จิตมันรู้แจ้งในอารมณ์เท่านั้น เอาเหตุปัจจัยอะไรมารองรับ คำสอนก็ชัดยิ่งกว่าชัด ว่า ให้กำหนดรู้ด้วยปัญญาอันชอบ ... ยกอภิธรรมมาอ้าง แล้วก็มาตายน้ำตื้นๆ
อ้างคำพูด:
แต่เมื่อจิตเขาว่าง และเขาดำเนินไปตามพฤติกรรมของเขาเอง
เขาได้แสดงความรู้ที่ ซ่อนอยู่ในตัวเขาออกมา ถ้าเห็นได้ ก็จะแยกออกเอง
ว่าอะไรเป็นอุปสรรค์ต่อการเกิด ปัญญา
ก็นี่แหละ คำสอนของพวกพราหมณ์ มันคือ อัตตมัน หรือ ปัญญาของพราหมณ์


น้ำส่วนน้ำ น้ำมันส่วนน้ำมัน พวกท่านจะพยายามสักเท่าใหร่ มันก็เอามารวมกันไม่ได้หรอก แถบาลีไปก็เปล่าผล เพราะผลมันออกมาต่างกันอย่างสิ้นเชิง ธรรมชาติเกิดมาจากเหตุปัจจัย เหตุตรงผล ไม่มีผิดเพี้ยน

อารมณ์มี ๖ ดับกิเลสตัณหาที่เกิดในอารมณ์ ก็ต้องดับได้ทั้ง ๖ ทาง ไม่ใช่หนีไปทางใจทางเดียว วิปัสสนา ทำได้เลย ทำเดี๋ยวนี้ดับกิเลสตัณหาได้เดี๋ยวนี้ เปิดตา เปิดหู เปิดลิ้น เปิดจมูก เปิดกาย เปิดใจ กำหนดรู้ด้วยปัญญาอันชอบ

อ้างคำพูด:
แต่การอ่านความรู้ของพระพุทธเจ้า...แล้วจำได้...แล้วก็คิดตามว่าใช่...

นี้ก็รู้ตามใช่มั้ย...แล้วมันใช้ฆ่ากิเลสได้ยัง??
ก็เอาความรู้ที่ได้สดับมาไปปฏิบัติสิ ถ้าไม่ได้เรียนก่อน แล้วจะเอาอะไรไปปฏิบัติ ทำมั่วๆ ไป คิดว่ามันทางจะถูกเรอะ
อ้างคำพูด:
ถ้าฆ่ากิเลสได้แล้ว...มาวิปัสสนากำหนดรู้เพื่ออะไร??
กิเลสมันไม่ได้ดับเหมือนหลอดไฟดับนะครับ มันค่อยๆ หายไป

ที่บอกว่าดับ ก็คือ ไม่มีกิเลสเกิดขึ้นในจิตปัจจุบันเมื่อวิปัสสนา ในขณะโสดาปัตติมรรค ถ้าไม่วิปัสสนา กิเลสก็เกิดได้ตามปกติ ถ้าดับหมด ก็บรรลุอรหันต์แล้ว
อ้างคำพูด:
ไม่งั้นเปรียญ 9 ประโยคทุกคนไม่เป็นอรหันต์กันหมดรึ...
เปรียญ 9 ประโยครู้เรื่องพวกนี้ที่ใหน เรียนแปลบาลีเป็นไทยแปลไทยเป็นบาลีเท่านั้น ทั้งหลักสูตรไม่ได้ให้อ่านพระไตรปิฏกสักเล่ม ไปเรียนแต่คำอธิบายพระไตรปิฏก ปัญญาคืออะไร วิปัสสนาคืออะไร ก็ยังไม่รู้เลย ถ้ารู้จริงไม่มีมาเถียงกันหรอก ที่ทะเลาะกันก็พวกเปรียญทั้งนั้น ที่แยกกันมาตั้งสำนักก้พวกนี้ทั้งนั้น

เรียนแล้ว รู้แล้ว ก็เอามาปฏิบัติ ไม่ได้ให้รู้เฉยๆ โสดาปัตติมรรค มีปริญญา ๓ ถ้าไม่ครบ ๓ ก็ยังไม่ใช่โสดาบัน ... ปัญญา มี รู้จด รู้จำ รู้จริง รู้แจ้ง
Quote Tipitaka:
คำว่ากำหนดรู้ผัสสะแล้ว คือ กำหนดรู้ซึ่งผัสสะโดยปริญญา ๓ ประการ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา

ญาตปริญญา คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่านี้จักขุสัมผัส นี้ โสตสัมผัส นี้ฆานสัมผัส นี้ชิวหาสัมผัส นี้กายสัมผัส นี้มโนสัมผัส นี้อธิวจนสัมผัส นี้ปฏิฆสัมผัส นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกุศลจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอกุศลจิต นี้ผัสสะ อันสัมปยุตด้วยอัพยากตจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกามาวจรจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยรูปาวจรจิตนี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต นี้ผัสสะเป็นสุญญตะ นี้ผัสสะเป็นอนิมิตตะ นี้ผัสสะเป็นอัปปณิหิตะ นี้ผัสสะเป็นโลกิยะ นี้ผัสสะเป็นโลกุตตระ นี้ผัสสะเป็นอดีต นี้ผัสสะเป็นอนาคตนี้ผัสสะเป็นปัจจุบัน นี้เรียกว่าญาตปริญญา

ตีรณปริญญา คือ ย่อม พิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของ ลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของไม่มีอำนาจ เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของแตกพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่ต้านทาน เป็นของไม่มีที่ซ่อนเร้น เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นโทษ เป็นของมีความแปรไปเป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นมูลแห่งความลำบาก เป็นดังเพชฌฆาต เป็นของปราศจากความเจริญ เป็นของมีอาสวะ เป็นของอันเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อมาร เป็นของมีชาติเป็นธรรมดา เป็นของมีชราเป็นธรรมดา เป็นของมีพยาธิ เป็นธรรมดา เป็นของมีมรณะเป็นธรรมดา เป็นของมีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส เป็นธรรมดา เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรม เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของดับไป เป็น ของชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ นี้เรียกว่า ตีรณปริญญา

ปหานปริญญา คือ การละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งฉันทราคะในผัสสะ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ฉันทราคะในผัสสะใด ท่านทั้งหลายจงละฉันทราคะนั้น ฉันทราคะนั้นจักเป็นของอันท่านทั้งหลายละแล้ว มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภาย หลัง มีความไม่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นธรรมดา โดยประการอย่างนี้. นี้เรียกว่า ปหานปริญญา

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 10 มิ.ย. 2011, 12:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 02:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


อิอิ ข้าพเจ้าไม่มีปัญญาที่จะไปควบคุม บังคับบัญชา ปัญญาให้เกิดให้เกิดแตกฉาน
อีกทั้ง ไม่มีปัญญาที่จะไปบังคับบัญชา ปัญญาให้สำเร็จทุกประการ
บังคับบัญชาให้อายุยืนนาน ก็ไม่ได้
แต่ศีลธรรมอันดีมันเต็มปรี่อยู่ในความว่างอยู่แล๊ว 5555

ปาเจราจริยาโหนตุ ....อิอิ

:b4: :b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 09:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2011, 02:37
โพสต์: 22


 ข้อมูลส่วนตัว


:b6: เหมือนพ่อแม่บังคับบุตรที่ยังพูดไม่ได้
ให้พูดได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 09:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b20:

โอ้ พ่อแม่ใจร้าย ใจหยาบ ปัญญาทราม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 10:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss Kiss Kiss

:b8: อนุโมทนาคร๊าบบบบบ

ท่านผู้เจริญในธรรม

สาธุ สาธุ สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ลากออกจากวัฏะ ไล่ไปนิพพาน ... บอกให้ไม่ต้องผุดต้องเกิดอีก ... ผิดยังงัย?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แต่ศีลธรรมอันดีมันเต็มปรี่อยู่ในความว่างอยู่แล๊ว 5555
ก็เป็นคนดีที่ดับทุกข์ไม่ได้

พวกพราหมณ์ฮินดู ที่พยายามเข้ามาทำลายล้างศาสนาพุทธ ส่วนมากเป็นปราชญ์ทางโลก จะอธิบายสภาวะธรรมได้ชัดเจนถูกต้อง แต่จะพยายามแยกสภาวะธรรมออกจากกัน ไม่แสดงเหตุปัจจัย หรือ ความเกี่ยวเนื่อง ว่า สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี ฯ และจะเริ่มเอาโน่นมาปนนี่ไปมั่ว โดยเฉพาะการใช้ตรรกปรัชญาและการตีความ เพราะพวกนี้รู้ดีว่า ปุถุชนไม่มีความจริง มีแต่ความเห็น ไม่สามารถตัดสินความจริงเท็จได้ แค่ทำให้น่าเชื่อถือ พวกนี้ก็จะเดินตาม ผู้ที่ไม่แม่นธรรมวินัย ไม่รู้จักอิทัปปัจยตาฯ ก็จะหลงตามโดยง่าย สุดท้าย ก็จะลากให้ไปหาปัญญาในสมาธิ คือ ลากให้ไปปฏิบัติแบบฤาษีพราหมณ์ ที่สุดก็จะไปถึงแค่เนวสัญญาสัญญาจนสมาบัติ

การเรียนพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เหมือนกับการเรียนรู้ทางโลกโดยทั่วไป ไม่ได้มีอะไรแปลกพิศดาร คือ เรียนให้รู้ แล้วก็เอาไปปฏิบัติ เรียกถูกก็รู้ถูก ก็ปฏิบัติถูก ผลก็ออกมาได้ตามที่ต้องการ คือ ดับกิเลสตัณหาลงไปได้ เรียนผิดก็รู้ผิด ปฏิบัติผิด ผลก็ออกมาผิด อย่างมากก็ได้เพียงหลบทุกข์เพียงชั่วคราวเท่านั้น

ขอให้ผู้ที่ต้องการพ้นทุกข์ ยึดหลักคำสอนที่ว่า คำสอนที่ถูกต้องครบถ้วนของพระพุทธองค์ปฏิบัติแล้วอกุศลต้องดับได้โดยพลัน คือ ดับอกุศลได้ทันที่ที่ได้ทดลองปฏิบัติ ....

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 20:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
แต่ศีลธรรมอันดีมันเต็มปรี่อยู่ในความว่างอยู่แล๊ว 5555
ก็เป็นคนดีที่ดับทุกข์ไม่ได้

พวกพราหมณ์ฮินดู ที่พยายามเข้ามาทำลายล้างศาสนาพุทธ ส่วนมากเป็นปราชญ์ทางโลก จะอธิบายสภาวะธรรมได้ชัดเจนถูกต้อง แต่จะพยายามแยกสภาวะธรรมออกจากกัน ไม่แสดงเหตุปัจจัย หรือ ความเกี่ยวเนื่อง ว่า สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี ฯ และจะเริ่มเอาโน่นมาปนนี่ไปมั่ว โดยเฉพาะการใช้ตรรกปรัชญาและการตีความ เพราะพวกนี้รู้ดีว่า ปุถุชนไม่มีความจริง มีแต่ความเห็น ไม่สามารถตัดสินความจริงเท็จได้ แค่ทำให้น่าเชื่อถือ พวกนี้ก็จะเดินตาม ผู้ที่ไม่แม่นธรรมวินัย ไม่รู้จักอิทัปปัจยตาฯ ก็จะหลงตามโดยง่าย สุดท้าย ก็จะลากให้ไปหาปัญญาในสมาธิ คือ ลากให้ไปปฏิบัติแบบฤาษีพราหมณ์ ที่สุดก็จะไปถึงแค่เนวสัญญาสัญญาจนสมาบัติ

การเรียนพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เหมือนกับการเรียนรู้ทางโลกโดยทั่วไป ไม่ได้มีอะไรแปลกพิศดาร คือ เรียนให้รู้ แล้วก็เอาไปปฏิบัติ เรียกถูกก็รู้ถูก ก็ปฏิบัติถูก ผลก็ออกมาได้ตามที่ต้องการ คือ ดับกิเลสตัณหาลงไปได้ เรียนผิดก็รู้ผิด ปฏิบัติผิด ผลก็ออกมาผิด อย่างมากก็ได้เพียงหลบทุกข์เพียงชั่วคราวเท่านั้น

ขอให้ผู้ที่ต้องการพ้นทุกข์ ยึดหลักคำสอนที่ว่า คำสอนที่ถูกต้องครบถ้วนของพระพุทธองค์ปฏิบัติแล้วอกุศลต้องดับได้โดยพลัน คือ ดับอกุศลได้ทันที่ที่ได้ทดลองปฏิบัติ ....


:b12:

เช่นนั้น ท่านก็จงย้อนกลับไปตามลากสิ่งที่ข้าพเจ้าแสดงความเห็นไว้ทั้งหมด
แล้วหยิบความเห็นที่ผิด ความเชื่อที่ผิด ความศรัทธาที่ผิด การปฏิบัติที่ผิด
ที่อันเป็นความหลง ความรู้ความเข้าใจอันเป็นโทษต่อการปฏิบัติทั้งหมดทั้งมวลของข้าพเจ้า
ออกมาตีแผ่ประจานให้ครบถ้วน ทุกซอกทุกมุมได้เลย
ผู้ที่ศึกษาธรรมที่ติดตามจะได้เข้าใจธรรมที่ท่านบรรลุได้ชัดเจนแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
จะได้มีตัวอย่างที่ชัดเจน ที่จะได้ไม่เลือกที่จะเจริญรอยตามไปในทางนั้น
ถือว่า ข้าพเจ้ายอมแพ้ต่อเจตนารมย์ในการแสวงการสั่งสอนสรรพสัตว์ของท่าน

เชื่อเถอะ ต่อให้ท่านจะกล่าวว่าข้าพเจ้าไปเอาลัทธิเดียรถีย์มาปฏิบัติ
หรือจะเป็นพวกพราหมณ์ พวกนอกศาสนา นอกรีต นอกอะไรก็ตาม
เปรตแทรก ผีเข้า วิญญาณสิง องค์ลง อย่างไรก็ตาม
ข้าพเจ้าจะไม่เข้ามาทำการโต้แย้งปฏิเสธ หาเรื่องหาความ แก้สำนวนใด ๆ เลย

เพราะข้าพเจ้าไม่ได้ใส่ใจ ว่าข้าพเจ้าจะเป็นอะไร
ดังนั้นผู้ใดจะกล่าวให้ข้าพเจ้าเป็นอะไร เช่นไร เพื่อประโยชน์อันใดกับผู้กล่าว
ตามสบาย ข้าพเจ้าไม่ติดขัดอันใดแล้ว

สาธุ สาธุ สาธุ


:b8:

หากการสละนี้ยังกุศลอันใดให้เกิด
ขออุทิศใ้ห้กับสรรพสัตว์ทั้งหมดทั้งมวลได้มีโอกาสเห็นธรรมของพระพุทธองค์
ตราบสิ้นกาล

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


หากสิ่งที่ท่านได้แสดงเป็นเจตจำนงค์ในการคืนธรรมตามธรรม(จริงๆ) เพราะเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนตามธรรม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยรับโทษนั้นจากท่านสุสิมะผู้บวชขโมยธรรม ท่านได้ตรัสไว้ว่า "ผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป ข้อนี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ ฯ"

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 23:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


มิจฉาทิฏฐิสูตร

[๒๕๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละมิจฉาทิฐิได้

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า;

ดูกรภิกษุบุคคลรู้เห็นจักษุแล โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นจักษุวิญญาณโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นจักษุสัมผัสโดยความเป็นของไม่เที่ยงจึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ บุคคลรู้เห็นหู... รู้เห็นจมูก... รู้เห็นลิ้น... รู้เห็นกาย... รู้เห็นใจโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นธรรมารมณ์โดยความเป็นของไม่เที่ยงจึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นมโนสัมผัสโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละมิจฉาทิฐิได้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2011, 15:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ หมายถึง การระลึกได้ แปลเป็นภาษาคนต่อไปได้ว่า ลากมาหรือดึงมา สติเป็นธรรมชาติอันหนึ่งที่มีเฉพาะในตัวคนเท่านั้น มีมากไม่ต้องเจริญหรือไม่ต้องสร้างมันขึ้นมาใดๆ อีกทั้งสิ้น ทุกคนมีสติอยู่แล้วมันทำหน้าที่ของมันตลอดเวลา ตั้งแต่เราตื่นขึ้นมาจนถึงหลับ คือ ทำหน้าที่ระลึก หรือลาก หรือดึงความทรงจำที่เป็นสัญญาที่เก็บอยู่แล้วในใจแล้วแต่ว่าในใจของผู้นั้นจะเก็บบวกหรือลบ หรือกุศล อกุศล ไว้ในใจมากว่ากัน อันใหนมีมากกว่า สติก็จะดึง หรือระลึก หรือลากเอาอันนั้นออกมารับการกระทบสัมผัสจากภายนอก ถ้ามีลบมาก ก็ดึงเอาลบออกมารับ ถ้ามีบวกมากก็ดึงเอาบวกออกมารับ จากนั้นก็จะมีการคิดปรุ่งแต่งต่อไป จากนั้นจะไปสู่การกระทำผลจะออกมาตามที่เหตุทำไว้เช่น มีเสียงด่ากระทบหู ถ้าใจเราเก็บเอาอกุศลไว้มาก สติก็จะระลึก หรือลากเอาอกุศลออกมารับเสียงด่า ทำให้เกิดความไม่พอใจแสดงออกมาจะอาจจะไปทำร้ายคนด่าได้ แต่ถ้าในใจเก็บข้อมูลที่เป็นกุศล (บวก) ไว้มาก สติก็จะระลึกหรือลากเอากุศลเหล่านั้นออกมารับเสียงด่า แล้วมองเห็นเสียงด่านั้นเป็นคำตักเตือนทันที มองเห็นคุณค่าของเสียงด่านั้น นี่คือหน้าที่ของสติ มันทำหน้าที่อย่างนี้ การเจริญสติที่ทำกันมานั้นไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องจะต้องเจริญความรู้ที่ดับทุกข์ได้ หรือปัญญา ให้สติลากออกมาต้อนรับการกระทบสัมผัส เพื่อแก้ไขปัญญหารือทุกข์ตั้งแต่ที่ถูกกระทบสัมผัสหรือที่ที่มันเกิด ซึ่งตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า ทุกข์เกิดที่ใหนดับที่นั่น

ปัญญา หมายถึง ความรู้ที่ดับทุกข์ได้ ความรู้ที่ดับทุกข์ไม่ได้ไม่ใช่เป็นปัญญาทางธรรม เป็นเพียงความรอบรู้เท่านั้น

ปัญญาในพระธรรมคำสอนของพระพทธเจ้าหมายถึงพระธรรมในส่วนที่เป็นผล ไม่ใช่ส่วนที่เห็นเหตุ คำว่าเอาปัญญาไปดับทุกข์ จะต้องรู้และเข้าใจต่อไปว่าปัญญาที่เป็นความรู้ที่ดับทุกข์ได้นั้น มีต้นตอหรือแหล่งกำเนิด หรือเหตุปัจจัยของการเกิดอยู่ที่ใหน

ปัญญาเกิดได้อย่างไร ปัญญาที่เป็นความรู้ที่ดับทุกข์ได้นั้น เกิดจากความจริงที่เป็นความจริงของโลกและชีวิตเท่านั้น ความจริงๆ ที่เป็นต้นตอของปัญญา

ความจริงของโลกและชีวิต คือ กฏธรรมชาติ 2 กฏ ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ กฎไตรลักษณ์ หรืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป และ กฎของเหตุและปัจจัย หรือ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุทปบาท กฎนี้แหละ เป็นต้นตอหรือแม่เหตุปัจจัยของปัญญา ปัญญาจะเกิดกับความจริงเท่านั้น อวิชชาจะเกิดจากความพอใจไพอใจ หรือความเชื่อ ความเชื่อเป็นเหตุปัจจัยหรือต้นตอของอวิชชา

เมื่อเรารู้จักที่มาที่ไปของสติปัญญาแล้วจะเห็นว่า การปฏิบัติธรรมโดยการเจริญสติปัญญาโดยตรงอย่างที่มีการสอนการปฏิบัติกันในปัจจุบันนี้ไม่ถูกต้องตามธรรม ไม่ถูกเหตุถูกปัจจัย เมื่อรู้เหตุของสติปัญญาแล้ว การปฏิบัติก็จะเริ่มเจริญปัญญา ไม่ต้องเจริญสติเพราะมีอยู่แล้ว แต่คนเราขาดปัญญาจึงจำเป็นต้องเจริญปัญญามาดับทุกข์หรือแก้ปัญหา

การเจริญปัญญาที่ถูกต้อง ต้องเจริญที่เหตุของการเกิดปัญญา เหตุปัจจัยของการเกิดปัญญาหรือสัมมาทิฏฐิ นั้นคือ พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ตรัสไว้เป็นทางสายเอก คือ การวิปสสนาภาวนา พิจารณาขันธ์ 5 อินทรีย์ 6 ให้รู้ให้เห็นสิ่งทั้งปวงที่มากระทบสัมผัสตามตัวเรา ความเป็นจริงของโลกและสิ่งมีชีวิตว่า สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนเป็นของตัวเอง พิจรณาให้รู้ให้เห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้จนเป็นปกตินิสัยในชีวิตประจำวันแล้วจะมีปัญญาหรือสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้น รู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิต ดับความพอใจ (โลภ) ไม่พอใจ (โกรธ) ทันที อย่างนี้เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ ปัญญาเกิดขึ้น มรรคมีองค์แปดเกิดขึ้น องค์ธรรมอื่นๆ จะเกิดมาจนครบโพธิปักขยิธรรม 37 ประการ แล้วมีปญญาดับทุกข์แก้ไขปัญญหากับตังเองได้อย่างถาวร

เมื่อมีปัญญา รู้แจ้ง รู้จริง เกิดขึ้นในใจตลอดเวลาแล้ว ปัญญาจะเกิดขึ้นเข้ามาแทนที่อวิชชา เมื่อมีอะไรมากระทบสัมผัสเรา สติก็จะระลึกหรือดึงหรือลากเอาเอาความจริงที่เป็นปัญญาที่เก็บอยู่ในใจ ใจเป็นสัญญา (ความจำ) ออกมารับกระทบสัมผัส ปัญหาหรือทุกข์ก็จะถูกแก้ไขหรือดับที่มันเกิดทันที ยกตัวอย่างเช่น มีเสียงด่ามากระทบหู สติก็จะลากหรือระลึกเอาปัญญาหรือความจริงออกมารับเสียงด่าว่าไม่เที่ยง ปัญญาจะทำหน้าที่พิจารณาว่าเสียงด่าเกิดดับ คนด่าก็เกิดดับ คนถูกด่าก็เกิดดับ หรือพูดง่ายๆ ว่าคนด่าก็ตาย คนถูด่าก็ตาย เช่นกัน แล้วปัญญาจะสั่งให้ยิ้มกับคนด่าทันที เพราะความน่ามืดที่เกิดจากความพอใจไม่พอใจถูกดับไปก่อนแล้ว ถ้าเราไม่ฝึกเจริญความจริงไว้ในใจแล้วก็จะไม่มีปัญญาออกมารับเสียงด่า สติก็จะลากเอาความเชื่อที่เป็นความพอใจไม่พอใจที่เก็บเป็นอวิชชาอยู่ในใจออกมารับกระทบกับเสียงด่า ความพอใจไม่พอใจเกิดขึ้นทำให้เราควบคุมตัวเองไม่ได้

ความจริงแล้ว คำว่าสติปัญญาในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นเป็นคำตรัสย่อๆ ของพระพุทธเจ้าใช้ตรัสกับอริยบุคคล ตรัสอย่างนี้ อริยบุคคลเข้าใจได้ จะเอาคำว่าสติปัญญาไปปฏิบัติหรือเจริญโดยตรงไม่ได้ไม่ถูกธรรม วิธีปฏิบัติหรือเจริญปัญญาที่ถูกต้องนั้นต้องเอาพระธรรมที่เป็นเหตุของการได้ปัญญามาปฏิบัติก่อน จนมีปัญญาเกิดขึ้นแล้วเก็บไว้ในใจจนเป็นปกตินิสัยประจำวันแล้ว ปัญญาก็จะเข้าไปแทนอวิชชา (ความหลง) อยู่ในใจของเรา ใจเราก็เต็มไปด้วยปัญญารู้จริง รู้แจ้ง เมื่อมีอะไรมากระทบสัมผัส สติก็จะลากหรือระลึกเอาปัญญาออกมากระทบแล้วแก้ปัญญหาหรือดับทุกข์ได้ กระบวนการเจริญสติปัญญาเต็มรูปแบบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าต้องปฏิบัติอย่างนี้

สรุป การเจริญสติปัญญาที่ถูกต้องตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ต้องปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา พิจารณาขันธ์ 5 อนทรีย์ 6 ตามทางสายเอกที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้นั่นเอง

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2011, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes
อ้างคำพูด:
เจ้าของกระทู้เขียน
สมถ วิปัสสนา ได้ยินบ่ิอยๆ
แต่มักจะได้ยินคนพูดบ่อยๆ เรื่องวิปัสสนา
ทำไมต้องวิปัสสนาด้วย สมถะไม่ได้หรือ

:b1:
...สมถ และ วิปัสสนา เป็นแนวทางที่ใช้ในการภาวนา...
...เรียกว่าการปฏิบัติกรรมฐานมี 2 อย่างคือ...
...1)สมถกรรมฐาน 2)วิปัสสนากรรมฐาน...
...สมถทำให้จิตสงบ...วิปัสสนาอบรมปัญญา...ต้องทำทั้ง2อย่างควบคู่กันค่ะ...
:b44:
...สมถฯ เพื่อฝึกให้จิตสงบ...หยุดการคิดฟุ้งซ่านเรื่องราวที่ได้พบเห็นมาในชีวิตประจำวัน...
...วิปัสสนาฯ เพื่อฝึกการคิดแยกแยะความจริงที่เป็นสภาพธรรมที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน...
...ถ้าถามว่าจะทำอย่างไหนก่อน...สมถฯ หรือ วิปัสสนาฯ...ตอบว่าอันไหนก่อนก็ได้ค่ะ...
...ขึ้นอยู่กับความถนัดและความสะดวกของผู้ปฏิบัติให้นำมาฝึกได้ในชีวิตประจำวันค่ะ...
:b44:
:b4: :b4:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 20, 21, 22, 23, 24, 25, 26 ... 37  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร