วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 20:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 52 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2012, 19:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มก็เป็นกิเลสนะ คือ แสดงว่าคนนุ่งห่มเสื้อผ้ายังมีอายอยู่



ยังมีอายอยู่ก็ยังมีกิเลสอยู่ น้องgig ใส่เสื้อนุ่งกางเกง แสดงว่ายังมีกิเลสอยู่ ยังไม่หมดกิเลส ถูกไหมครับ :b14:

ต้องคนขวามือ หมดกิเลสแล้ว ผู้เดินตามใส่เสื้อผ้า ยอมตัวเป็นศิษย์เลยเห็นป่ะ :b1:
คนหมดอายไม่ต้องทำอย่างนั้นก็ได้พี่กาย ปกปิดความไม่น่าดูเท่านั้นผ้าสามผืนสุดยอด

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2012, 19:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ลิงค์ อริยสัจ ๔

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... n#msg16035

ที่น่าสนใจ (อริยสัจกับปฏิจจสมุปบาท)

ว่าที่จริงหลักธรรมใหญ่ทั้งหมดเป็นหลักเดียว แต่ที่ท่านแยกแสดงก็เพื่อให้เห็นแง่มุมของธรรมข้อนั้น ชุดนั้น

รวมแล้วก็อยู่ที่ชีวิตซึ่งเป็นธรรมชาติ ที่สมมติเรียกว่าคน คนหนึ่งๆนี่



ในความเข้าใจผม ว่า....
ปฏิจจสมุปบาท กำเนิดคำว่า อริยสัจ4 นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2012, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ลิงค์ อริยสัจ ๔

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... n#msg16035

ที่น่าสนใจ (อริยสัจกับปฏิจจสมุปบาท)

ว่าที่จริงหลักธรรมใหญ่ทั้งหมดเป็นหลักเดียว แต่ที่ท่านแยกแสดงก็เพื่อให้เห็นแง่มุมของธรรมข้อนั้น ชุดนั้น

รวมแล้วก็อยู่ที่ชีวิตซึ่งเป็นธรรมชาติ ที่สมมติเรียกว่าคน คนหนึ่งๆนี่
ก็ถือว่าเป็นหัวใจหลักเลยล่ะครับ แต่ใครจะเข้าไปถึงแก่นแท้ตรงนี้สำคัญ แล้วเวรแต่กรรมนะครับพี่กาย

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2012, 04:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
ญาณ 3

ญาณ ในที่นี้หมายถึง จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ซึ่งเกิดขึ้นในจิตใจเป็นของบุคคล ด้วยผลของการปฏิบัติให้สมบรูณ์ ในศีล สมาธิ ปัญญา จนสภาพจิตใจของบุคคลนั้น ไม่หวั่นไหว เป็นสมาธิสงบ ปราศจากกิเลส ท่านจำแนกไว้ 3 ประการคือ


เขียนโดย : วิทยาทาน วัน/เวลา : 13/8/2551 16:54:10

1. สัจจญาณ

ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ ได้แก่หยั่งรู้ว่า นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นสมุทัยนี้เป็นนิโรธ นี้เป็นนิโรธคามินีปฏิปทา
เขียนโดย :วิทยาทาน
วัน/เวลา :13/8/2551 16:56:14

2. กิจจญาณ

ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทำ ได้แก่ หยั่งรู้ว่า ทุกข์เป็นธรรมชาติ ที่ควรกำหนดรู้ สมุทัยเป็นสภาพที่ควรละ นิโรธเป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิป
ทา เป็นธรรมชาติที่ควรทำให้เกิด
เขียนโดย :วิทยาทาน
วัน/เวลา :13/8/2551 16:58:52

3. กตญาณ

ปรีชาหยั่งรู้กิจอันได้กระทำแล้ว ได้แก่ หยั่งรู้กิจ 4 อย่างนั้นว่า ทุกข์เป็นธรรมชาติที่ควรกำหนดรู้ ก็ได้กำหนดรู้แล้ว ทุกขสมุทัยเป็นสภาพที่ควรละก็ได้แล้ว ทุกขนิโรธ เป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้ง ก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นธรรมชาติที่ควรทำให้เกิดก็ได้เกิดแล้ว

ญาณทั้ง 3 ประการนี้ ได้เกิดขึ้นในอริยสัจทั้ง 4 ข้อ ๆละ 3 ครั้ง รวมเป็น 12 ครั้ง ที่เรียกว่า มีวน 3 มีอาการ 12 ซึ่งเป็นญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า

ดูกิจขัอ2ตัวแดงกิจในสมุทัยคือ สภาพที่ควรละ สัจจญาณนั้น คือการหยั่งรู้ นี้คือทุกข์ นี่คืเหตุเกิดทุกข์ ฯ รู้เฉยๆรู้ว่ามีสิ่งนี้ ส่วนกิจจญาณคือหน้าที่ดูดีๆถ้าไม่เข้าใจตรงนี้แล้วเดินมรรคไม่มีทางถูกรับรองได้เลย

สัจจญาณคือการหยั่งรู้อริยสัจจ์แต่ละอย่าง คือรู้ทุกข์ รู้สมุทัย
รู้นิโรธและรู้มรรค
ที่นีมาดูความหมายของคำว่ามรรค...มรรคหมายถึงหนทางแห่งการดับทุกข์
หนทางแห่งการดับทุกข์คืออะไร มันก็คือ รู้สภาพธรรมแห่งทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ที่ควรละ
ไอ้ที่บิกทู่เม้นไว้ตัวโตๆว่า..... สมุทัยเป็นสภาพที่ควรละ
อันนี้มันไม่ใช่กิจจญาณ แต่มันเป็น ...รู้มรรคซี่งมันเป็นส่วนหนึ่งในสัจจญาณ

ส่วนกิจจญาณคือ การรู้วิถีแห่งมรรคเพื่อไปสู่อริยมรรค
ว่าโดยรวมแล้ววิถีแห่งมรรคก็คืออริยมรรคมีองค์แปดนั้นเอง พูดให้เข้าใจวิถีแห่งมรรคก็คือ
วิธีการปฏิบัติในอริยมรรคแต่ละองค์


สรุปให้ฟังสั้นๆอีกครั้ง...สมุทัยสภาพที่ควรละคือ การรู้มรรค
ดูความแตกต่าง รู้สมุทัยคือรู้ว่ามีเหตุแห่งทุกข์ รู้ว่าสมุทัยคือสภาพที่ควรละคือ
รู้สภาพหนทางแห่งการดับทุกข์ก็คือมรรคนั้นเอง ทั้งหมดเป็นสัจจญาณ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2012, 04:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
ส่วนสติปัฎฐานสี่นั้นเป็นข้อปฎิบัติเพื่อให้เกิดสัมมาสติเรื่องของการปฎิบัติโดยตรงสร้างสิตให้มีกำลังเพื่อให้สมาธิบริบูรณ์ปัญญาบริบูรณ์ จนเป็นสัมมาทิฎฐิที่แท้จริงคือเห็นอนิจัง ทุกขัง อนัตตาที่แท้จริงเป็นอริยบุคคลขั้นต้นขึ้นไป จนถึงโพชฌงค์บริบูรณ์ เสร็จกิจ ทั้งหมด กัตตญาณก็จะปรากฎขึ้นมาในใจ
ฉะนั้น กิจจะญาณคือหน้าที่สำคัญที่สุด สติปัฎฐานก็อยู่ในมรรค มรรคก็อยู่ในกิจญาณ

เล่นพูดฉอดๆๆๆ เล่นเอาวิธืการปฏิบัติ เละไม่มีชิ้นดี
ที่พูดมาทั้งหมดแสดงให้รู้ว่า ไม่รู้จักโพธิปักขิยธรรม หรือธรรมสามัคคี
ทำมาพูดโน้นทำนี่ นี่ทำนั้น เล่นจินตการพูดแบบนี้คนฟังเวียนหัวแย่

ธรรมที่ปฏิบัติต้องอาศัยอินทรีย์และพละลงไปในธรรมแต่ละอย่าง
มันไม่ใช่สติตัวนี้ทำให้เกิดสติตัวนี้ มันก็เป็นสติตัวเดียวกันเพียงแต่
มันต่างสภาวะกันหรือสภาพธรรม พูดง่ายๆมันขึ้นอยู่กับการใช้เป็นส่วนประกอบของสภาพธรรม

อย่างเช่น สติในสติปัฏฐานกับสติในโพชฌงค์มันก็เป็นสติตัวเดียวกัน
และสติกับสัมมาสติก็เป็นตัวเดียวกัน ถ้าเราใช้สติในโพธิปักขิยธรรม
จนเกิดเป็นมรรคสมังคี สติธรรมดาตัวเดิมนั้นก็เรียกว่า..สัมมาสติ
มันต่างกันที่สภาพธรรม

บิกทู่เมื่อไรจะเลิกพูดธรรมในลักษณะพูดเรื่อยๆ หาประเด็นธรรมไม่เจอเสียที
เกาเหลามันต้องมีเนื้อมากน้ำน้อย นี่อะไรล่อมาแต่น้ำทั้งชาม :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2012, 04:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


ญาณ3 สรุป
1 สัญจญาณคือการรู้ว่า 1นี่คือทุกข์ 2นี่คือต้นเหตุแห่งทุกข์ 3นี่คือความดับดับทุกข์ 4นี่คือทางพ้นทุกข์ (หรือเรียกว่ารู้ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)รู้เฉยๆ


2 กิจจญาณคือหน้าที 1ทุกข์ควารเข้าไปกำหนดรู้ 2 ต้นเหตุแห่งทุกข์ควรละ 3ความดับทุกข์ควรทำให้แจ้ง 4ทางพ้นทุกข์คือทำให้เจริญขึ้น(หรือเรียกว่าทุกข์ควากำหนอรู้ สมุทัยควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง มรรควรทำให้เจริญขึ้น) ต้องลงมือทำ


3กัตตญาณ คือ1ทุกข์ที่ควรกำหนดรู้เราได้กำหนดรู้แล้ว2 สมุทัย สิ่งที่ควรละเราได้ทำสิ่งที่ควรล่ะเสร็จเรียบร้อยแล้ว3 นิโรธ ความดับทุกข์นี้เราได้ทำความดับทุกข์ได้เสร็จสิ้นแล้ว 4มรรคข้อปฎิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ควรทำให้เจริญขึ้นเราได้ทำเสร็จสิ้นแล้ว นี่เรีกว่ากัตตญาณ อันนี้เราทำอะไรไม่ได้จะเกิดขึ้นเองเมื่อบรรลุะรรมขั้นสูงสุดคือบรรลุอรหัันตืแล้วเท่านั้น


ญาณทั้ง 3 ประการนี้ ได้เกิดขึ้นในอริยสัจทั้ง 4 ข้อ ๆละ 3 ครั้ง รวมเป็น 12 ครั้ง ที่เรียกว่า มีวน 3 มีอาการ 12 ซึ่งเป็นญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2012, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ลิงค์ อริยสัจ ๔

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... n#msg16035

ที่น่าสนใจ (อริยสัจกับปฏิจจสมุปบาท)

ว่าที่จริงหลักธรรมใหญ่ทั้งหมดเป็นหลักเดียว แต่ที่ท่านแยกแสดงก็เพื่อให้เห็นแง่มุมของธรรมข้อนั้น ชุดนั้น

รวมแล้วก็อยู่ที่ชีวิตซึ่งเป็นธรรมชาติ ที่สมมติเรียกว่าคน คนหนึ่งๆนี่



ในความเข้าใจผม ว่า....
ปฏิจจสมุปบาท กำเนิดคำว่า อริยสัจ4 นะครับ


ชีวิตหรือธรรมชาติ (ที่เรียกว่าคนต่างหาก) กำเนิดปฏิจจสมุปบาท และอริยสัจ 4 ชีวิตรวมหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 52 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร