วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 05:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตราบใด ที่มีกายและจิตอยู่
ยังมีหลมหายใจเข้า หายใจออก

สภาวะการปฏิบัติ ไม่ว่าจะในการดำเนินชีวิต ในปัจจุบัน
และ ปฏิบัติตามรูปแบบ

เริ่มต้นที่นาม-รูปปริจเฉทญาณ เหมือนกันหมด

ความแตกต่างอยู่ตรงที่
มีสภาวะบัญญัติเป็นอารมณ์ กับ มีสภาวะปรัมตถ์ เป็นอารมณ์

เรื่อง โสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหันต์
เป็นเพียงเหยื่อล่อ ให้คนอยากปฏิบัติ หรือ อยากให้เรียนรู้

โสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหันต์
เป็นเพียงคำเรียก ที่มีลักษณะอาการเกิดขึ้น ไม่แตกต่างจากสภาวะอื่นๆ

สภาวะโสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหันต์
มีความพิเศษ แตกต่างจากสภาวะอื่นๆ ตรงที่

สภาวะโสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหันต์
เป็นเรื่องของ การดับเหตุของการเกิดทั้งภพชาติปัจจุบัน
และภพชาติการเวียนว่าย ตายเกิดในวัฏฏสงสาร

สภาวะอื่นๆ ยังเป็นเหตุปัจจัย ของการสร้างเหตุของการเกิดอยู่
เหตุจาก ความยึดมั่น ถือมั่น ที่มีอยู่ จึงหลงสร้างเหตุออกไป ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่


ตราบใดที่ยังไม่แจ้งสภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง
หรือ แจ้งสภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง

สภาวะวิปัสสนูปกิเลส เกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย
ตามกำลังของสมาธิ ในแต่ละขณะ ที่เกิดขึ้น

ถ้าไม่รู้จักโยนิโสมนสิการ อุปกิเลสย่อมเกิด
เป็นเหตุให้ เกิดความยึดมั่นถือมั่นในสภาวะที่เกิดขึ้น

เหตุเพราะอวิชชาที่มีอยู่ จึงยึดมั่นถือมั่น ในเรื่อง ญาณ ๑๖

ซึ่งตามความเป็นจริง ของสภาวะที่เกิดขึ้น ที่เรียกว่า ญาณ ๑๖ นั้น

เป็นสภาวะที่เกิดขึ้น เป็นปกติ ของสภาวะสัมมาสมาธิ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 08:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ผมมีความเห็นว่า การเล่าประสบการณ์ตัวเองนั้น หากอยู่ในกรอบของความรู้หรือแนวทางที่วางไว้ เล่ามาเถอะครับ ผมเล่าประสบการ์ณของผมเองเสมอ เพราะต้องการเทียบกับแนวทางที่ถูก เช่น ขันธ์5 หรือ อายตนะ หรือ ผัสสะ หรือ วิปัสสนาญาณ เพราะเป็นตัววัดผลเราเอง ว่าเราปฏิบัติเป็นอย่างไร

อย่างพระพุทธเจ้ากล่าวเรื่องโสต ทุกคนก็เข้าใจกันดีอยู่แล้วว่าโสต มีความหมายว่าอะไร ทำหน้าที่อะไร เหลือแต่เรานั่นแหละว่าเราจะนำคำว่าโสตมาปฎิบัติอย่างไร เราศรัทธาต่อคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วว่า พระพุทธเจ้าถือว่าเครื่องมือที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์นั้นคือกายกับใจเราเอง หาใช่สิ่งอื่นๆรอบตัวเรา

อย่างโสต พระพุทธเจ้าก็กล่าวไว้แล้วว่าเป็นหนึ่งในอินทรีย์ 22 เราก็ไม่ต้องไปแบกเอาไว้ หรือ สงสัยกับคำว่าโสตคืออะไร หน้าที่ของเราก็คือทำอย่างไรเราจึงจะนำโสตมาพิจารณาให้เข้าสู่วิปัสสนาภาวนานั่นเอง


จะมีสภาวะของปัญญาจะมาแสดงให้รู้ด้วยค่ะในการรู้ไตรลักษณ์ นี่แหล่ะค่ะ ดิฉันเล่าแล้วนะคะเรื่องการปฏิบัติ เพราะขั้นตอนการปฏิบัตินั้นทุกๆ ท่านก็ยึคความเข้าใจของตนเองเป็นหลักกันอยู่แล้วใช่มั้ยคะ
ก็คิดว่าประสบการณ์ให้สังเกตุกันแค่จุดสำคัญ นี่แหล่ะค่ะจะทำให้คุณรู้เมื่อปฏิบัติถึงจุดนั้นค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 08:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่าง สภาวะวิปัสสนา ที่มีบัญญัติ เป็นอารมณ์
เหตุเพราะ ยังต้องใช้การกำหนด หรือ ใช้คำบริกรรมอยู่



ส่วนสภาวะ วิปัสสนา (วิปัสสนาญาณ) ที่มีสภาวะปรมัตถ์ เป็นอารมณ์ (สัมมาสมาธิ)
มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สุญญตา

เหตุเพราะ ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม รู้ชัดอยู่ภายในกายและจิต

เมื่อมีสภาวะใดเกิดขึ้น สภาวะนั้นๆ จะดับหายไปเอง
โดยไม่ต้องพยายามกำหนดเพื่อให้ดับหรือให้หาย

คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของตัวสภาวะเอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 09:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ตราบใด ที่มีกายและจิตอยู่
ยังมีหลมหายใจเข้า หายใจออก

สภาวะการปฏิบัติ ไม่ว่าจะในการดำเนินชีวิต ในปัจจุบัน
และ ปฏิบัติตามรูปแบบ

เริ่มต้นที่นาม-รูปปริจเฉทญาณ เหมือนกันหมด

ความแตกต่างอยู่ตรงที่
มีสภาวะบัญญัติเป็นอารมณ์ กับ มีสภาวะปรัมตถ์ เป็นอารมณ์

เรื่อง โสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหันต์
เป็นเพียงเหยื่อล่อ ให้คนอยากปฏิบัติ หรือ อยากให้เรียนรู้

โสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหันต์
เป็นเพียงคำเรียก ที่มีลักษณะอาการเกิดขึ้น ไม่แตกต่างจากสภาวะอื่นๆ

สภาวะโสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหันต์
มีความพิเศษ แตกต่างจากสภาวะอื่นๆ ตรงที่

สภาวะโสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหันต์
เป็นเรื่องของ การดับเหตุของการเกิดทั้งภพชาติปัจจุบัน
และภพชาติการเวียนว่าย ตายเกิดในวัฏฏสงสาร

สภาวะอื่นๆ ยังเป็นเหตุปัจจัย ของการสร้างเหตุของการเกิดอยู่
เหตุจาก ความยึดมั่น ถือมั่น ที่มีอยู่ จึงหลงสร้างเหตุออกไป ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่


ตราบใดที่ยังไม่แจ้งสภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง
หรือ แจ้งสภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง

สภาวะวิปัสสนูปกิเลส เกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย
ตามกำลังของสมาธิ ในแต่ละขณะ ที่เกิดขึ้น

ถ้าไม่รู้จักโยนิโสมนสิการ อุปกิเลสย่อมเกิด
เป็นเหตุให้ เกิดความยึดมั่นถือมั่นในสภาวะที่เกิดขึ้น

เหตุเพราะอวิชชาที่มีอยู่ จึงยึดมั่นถือมั่น ในเรื่อง ญาณ ๑๖

ซึ่งตามความเป็นจริง ของสภาวะที่เกิดขึ้น ที่เรียกว่า ญาณ ๑๖ นั้น

เป็นสภาวะที่เกิดขึ้น เป็นปกติ ของสภาวะสัมมาสมาธิ

ญานอะไรที่ทำให้กินเจเหรอครับ


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 09:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ตัวอย่าง สภาวะวิปัสสนา ที่มีบัญญัติ เป็นอารมณ์
เหตุเพราะ ยังต้องใช้การกำหนด หรือ ใช้คำบริกรรมอยู่

http://www.youtube.com/watch?v=vfijNR46elg

ส่วนสภาวะ วิปัสสนา (วิปัสสนาญาณ) ที่มีสภาวะปรมัตถ์ เป็นอารมณ์ (สัมมาสมาธิ)
มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สุญญตา

เหตุเพราะ ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม รู้ชัดอยู่ภายในกายและจิต

เมื่อมีสภาวะใดเกิดขึ้น สภาวะนั้นๆ จะดับหายไปเอง
โดยไม่ต้องพยายามกำหนดเพื่อให้ดับหรือให้หาย

คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของตัวสภาวะเอง

ศิษย์เอกท่าน ดร.สนองหรือเปล่าครับที่รับรองเณรคำใช่มั้ยครับ


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 09:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ตราบใด ที่มีกายและจิตอยู่
ยังมีหลมหายใจเข้า หายใจออก

สภาวะการปฏิบัติ ไม่ว่าจะในการดำเนินชีวิต ในปัจจุบัน
และ ปฏิบัติตามรูปแบบ
........

ตราบใดที่ยังไม่แจ้งสภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง
หรือ แจ้งสภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง

สภาวะวิปัสสนูปกิเลส เกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย
ตามกำลังของสมาธิ ในแต่ละขณะ ที่เกิดขึ้น

ถ้าไม่รู้จักโยนิโสมนสิการ อุปกิเลสย่อมเกิด
เป็นเหตุให้ เกิดความยึดมั่นถือมั่นในสภาวะที่เกิดขึ้น

เหตุเพราะอวิชชาที่มีอยู่ จึงยึดมั่นถือมั่น ในเรื่อง ญาณ ๑๖

ซึ่งตามความเป็นจริง ของสภาวะที่เกิดขึ้น ที่เรียกว่า ญาณ ๑๖ นั้น

เป็นสภาวะที่เกิดขึ้น เป็นปกติ ของสภาวะสัมมาสมาธิ

:b8: :b8: :b8:


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 10:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
SOAMUSA เขียน:

.....การทำให้ได้ญาณนั้นก็ต้องทำต่อไปค่ะและเริ่มที่ญาณแรกทุกครั้งจนกว่าจะได้
ญาณค่ะ

ขออธิบายแค่นี้นะคะ นี่คือภาคปฏิบัติค่ะ


ไม่เข้าใจตรงนี้ครับ...ทำเริ่มจากฌานแรกทุกครั้ง....
หมายถึง...ไล่จาก1 จนถึง 9 ทุกครั้ง...จนกว่าจะได้...???...หรือคับ?

เหมือนการศึกษาในทางโลกนั่นแหละ ต้องมีชั้นปฐม จนถึงมหาวิทยาลัย


ต้องรู้สึกตามลำดับ...อันนี้เข้าใจครับ

แต่ที่สงสัยคือ.....ในแต่ละครั้ง.....ต้องไล่ 1 - 16 ...วันหลัง ก็ 1 - 16 ....อย่างนี้ใช่มั้ยครับ?


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 10:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มันไปกันใหญ่แล้วครับ เรื่องญาน เรื่องฌาน

ญานรู้แล้วก็รู้เลย ได้ญานอะไรมา เมื่อจะปฏิบัติต่อก็เริ่มที่ญานสุดท้ายที่ได้นั้น

ฌาน การจะปฏิบัติจะต้องเริ่มที่การทำปฐมฌานก่อนเสมอ
ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ได้ฌาน๔แล้ว ต่อมาจะปฏิบัติเพื่อให้ได้ฌานที่สูงกว่าฌาน๔
บุคคลนั้นจะต้องเริ่มปฏิบัติในการทำปฐมฌานก่อนเสมอ


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 12:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องราวของสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้น ในการปฏิบัติ

ตำรามีหลายเล่ม ล้วนเป็นประสพการณ์ของคนเขียน รู้แค่ไหน เขียนได้แค่นั้น
ส่วนใครอ่านตำราเล่มไหนแล้ว ทำให้เชื่อกัน หรือ ไม่เชื่อกัน ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่มีต่อกัน

สิ่งที่เรียกว่า ฌาน และญาน

ฌานมีทั้งมิจฉาสมาธิ และสัมมาสมาธิ

ฌานที่เป็นมิจฉาสมาธิ มีลักษณะอาการที่เกิดขึ้นคือ
ขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
เป็นเหตุให้ ไม่สามารถรู้ชัดอยู่ภายใน กาย เวทนา จิต ธรรม

ฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ มีลักษณะอาการที่เกิดขึ้นคือ
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
เป็นเหตุให้ รู้ชัดอยู่ภายใน กาย เวทนา จิต ธรรม


คำเรียกของ ฌาน ในแต่ละฌาน มีคำเรียกมาจาก องค์ประกอบที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่



ญาณ มี ๒ สภาวะ

เกิดจาก สภาวะที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง และเกิดจาก การน้อมเอา คิดเอาเอง

ญาณ ที่เกิดจาก การได้ยิน ได้อ่าน แล้วน้อมเอาคิดเอาเอง
เหตุจาก การนำความมีตัวตน เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่เกิดขึ้น

ญาณ สภาวะที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง เกิดเฉพาะ สภาวะสัมมาสมาธิเท่านั้น
เป็นสภาวะ ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง ปราศจาก ความมีตัวตน เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่เกิดขึ้น

เหตุนี้ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สุญญตา


ตำรา เปรียบเสมือนแผนที่
เพื่อเอาไว้เทียบเคียงกับสภาวะที่เกิดขึ้นว่า เดินถูกทางไหม

แรกๆ ทั้งแบกทั้งหามตำราติดตัว

แรกเริ่ม มีแต่ความถูกใจตัวเองเป็นหลัก
ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่มีอยู่(อวิชชา)

แรกที่คิดว่า "รู้" ต้องผ่านความหลงมาก่อน ที่จะรู้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 12:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
มันไปกันใหญ่แล้วครับ เรื่องญาน เรื่องฌาน

ญานรู้แล้วก็รู้เลย ได้ญานอะไรมา เมื่อจะปฏิบัติต่อก็เริ่มที่ญานสุดท้ายที่ได้นั้น

ฌาน การจะปฏิบัติจะต้องเริ่มที่การทำปฐมฌานก่อนเสมอ
ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ได้ฌาน๔แล้ว ต่อมาจะปฏิบัติเพื่อให้ได้ฌานที่สูงกว่าฌาน๔
บุคคลนั้นจะต้องเริ่มปฏิบัติในการทำปฐมฌานก่อนเสมอ



สภาวะของฌาน สภาวะของญาณ อย่าไปคิดคาดเอาให้ฟุ้งซ่านเลย ท่าจะให้ดีต้องลงมือทำ :b1: เรื่องกฐิน ผ้าป่า ปล่อยนก ปล่อยปลา ฯลฯ โอเค พูดแล้วมองเห็น จับต้องได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 14:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว




ลุงหมานออกแบบ.gif
ลุงหมานออกแบบ.gif [ 17.76 KiB | เปิดดู 2891 ครั้ง ]
walaiporn เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
ถ้าเป็นการรังเกียจเดียดฉันตำรา ก็หมายความว่ารังเกียจเดียดฉันพระพุทธเจ้าด้วย


อย่าเอาอุปทานของตัวเอง มายัดเยียดใส่ให้คนอื่น

สิ่งที่วลัยพรเขียนไปนั้น หมายถึง ในเมื่อลอกตำรามาแปะ
ถ้ารู้ชัดโดยสภาวะ น่าจะใส่ ลักษณะอาการที่เกิดขึ้นของคำเรียกนั้นๆด้วย

เหมือนกรณีนี้ เรื่องญาณต่างๆ ที่ลุงหมาน ลอกมาแปะ
แค่สักแต่ว่าแปะ แต่ไม่มีการอธิบายว่า

สภาวะญาณต่างๆ นั้น เกิดขึ้นที่ไหน และเมื่อใด
ตลอดทั้ง ลักษณะอาการที่เกิดขึ้นในแต่ละญาณด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 15:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:

พูดถึง 16 ญาณนะคะ ดูที่ลุงหมานโพสท์ภาพไว้นั่นแหล่ะค่ะ
จะไม่พูดถึงว่าเริ่มต้นต้องทำอะไร ถึงจะเริ่มทำญาณ คุณคงรู้นะคะว่า ญาณ4 คืออุทยัพพยญาณ
นั้น จะเกิดวิปัสสนู ที่เกิดวิปัสสนูนั้นอยู่ในช่วง ตรุณคือตอนต้นของอุทยัพพยญาณ
แต่ถ้าหลุดจากวิปสสนูมาได้ก็จะเข้า พลวอุทยัพพยญาณ คือญาณ4 ตอนปลาย
ดังนั้น ญาณ4 จึงถูกแบ่งครึ่ง หากพ้นวิปัสสนูก็รู้แล้วว่าอะไรใช่ทางอะไรไม่ใช่ทาง
ก็ทำเพื่อให้ได้มรรคต่อไป

ทีนี้ขอพูดตรงนี้เลยนะคะ ตรงจุดที่คุณสงสัยนั้นคือ หากคุณยังไม่ได้เป็นพระโสดาบัน
ไม่ว่าคุณจะทำญาณเมื่อไรก็ตาม คุณต้องเริ่มที่ญาณแรกค่ะ
แต่เมื่อใดที่คุณได้พระโสดาบันแล้ว พระโสดาบันจะเริ่มที่ พลวอุทยัพพยญาณค่ะ
คือพระโสดาบันไม่ไปเริ่มญาณที่1 แล้วแต่เริ่มญาณ4 ที่พลว (อ่านว่า พละ-วะ)

ขออธิบายย้อนไปญาณ1 นะคะว่า เราเริ่มงานด้วย อินทรีย์ 19 (อินทรีย์20-22 เป็นระดับโลกุตตระ)
แต่พระโสดาบัน จะทำสกทาคามิมรรค ก็เริ่มพลวอุทยัพพยญาณที่มีอินทรีย์5 เสมอกันค่ะ
พระโสดาบันจะไม่ต้องไปเริ่มที่ญาณ1 แล้วค่ะ

ขอบคุณนะครับ....ที่สละเวลาอธิบาย... :b8:

โสดาบัน..เลย..โคตรภูญาณไปแล้วไม่ใช่หรอครับ....แล้วกลับมาที่ ญาณ4 อีกหรือครับ?


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 15:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


แต่....ทำบ่อย ๆ..ซ้ำ ๆ...ไม่ว่าอะไร....ก็ดีหมด....คือ....จะละเอียดลึกซึ้งลงไปเรื่อย ๆ...โดยส่วนตัวคือ...ระวัง...อย่าไปหวังให้เกิดสภาวะแบบเดิม...

เช่น....เคยพิจารณาถึงเรื่องนี้แล้ว...เกิด...ความเบื่อหน่ายในวัฏฏะ....ใคร่จะออกจากวัฏฏะ....พอวันหลัง. .ทำมาถึงตรงนี้ก็คาดว่าจะเจอแบบเดิมอีก.....พอไม่เกิดสภาวะแบบเดิม....ก็พยายามวนกะให้เกิดให้ได้หรือไม่ก็รู้สึกผิดหวังที่มันไม่เกิดอีก

ส่วนตัว..รู้สึกว่า...ไม่ต้องหวัง...หรือ...รอให้เกิดสภาวะอย่างเดิม

ดีไม่ดี....สภาวะที่เกิดแบบเดิมกลายเป็นอุปาทานไปโดยไม่รู้ตัว....

สภาวะ..เป็นอาการของอารมณ์ใจ...มันจะเกิดเพราะการโยนิโสมนสิการ....จับสักกายทิฏฐินั้นแหละ....รู้ความรู้สึกหรือ
อารมณ์ใจ.จะพัฒนาละเอียดขึ้นไปเอง....หรือญาณ1..2..3...4....นั้นแหละ

การทวนซ้ำนั้นดี....และ...ดีมากด้วย...แต่การคาดหวังให้เกิดความรู้สึกแบบเดิม...ไม่ควรคิด

จึงถามคุณซามัวส่า.ซ้ำ...คิดอย่างไรตรงนี้.??.. ขอบคุณครับ


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อความที่สนทนากัน

ผู้ที่มีความยึดมั่นถือมั่นมาก ย่อมมีความยึดติดในทิฏฐิของตน
ย่อมแบกอารมณ์เหล่านั้นไว้

หากเพียงสนทนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกัน
ก็ไม่มีอะไรให้มา ต้องแบก ต้องหาม

วางไม่เป็น ความชุ่มฉ่ำในใจย่อมไม่เกิด
มีแต่ความแห้งแล้งของจิต เหตุจากความยึดมั่นถือมั่น ในทิฏฐิของตน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 21:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ข้อความที่สนทนากัน

ผู้ที่มีความยึดมั่นถือมั่นมาก ย่อมมีความยึดติดในทิฏฐิของตน
ย่อมแบกอารมณ์เหล่านั้นไว้

หากเพียงสนทนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกัน
ก็ไม่มีอะไรให้มา ต้องแบก ต้องหาม

วางไม่เป็น ความชุ่มฉ่ำในใจย่อมไม่เกิด
มีแต่ความแห้งแล้งของจิต เหตุจากความยึดมั่นถือมั่น ในทิฏฐิของตน

ดีใจจังป้าวางเป็นแล้วเลิกกินเจแล้ว


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร