วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 09:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2015, 20:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


การเลือกตั้งแบบตะวันตก...ไม่อยู่ในความคิดว่าจะทำให้ได้ผู้ปกครองที่ดี

การเลือกตั้งดาไลลามะ..น่าคิดมากกว่า

นำมาดัดแปลงได้

มาดูประวัติความเป็นมาคร่าว ๆ ของการเลือกดาไลลามะ

อ้างคำพูด:
นิกายที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือนิกายเกลุกปะ ต่อมาในปีพุทธศักราช 2086 ผู้นำชาวมองโกลชื่อ อัลตานข่าน (Altan Khan) ได้มองเห็นความสำคัญของลามะในนิกายเกลุกปะ จึงได้สถาปนาผู้นำนิกาย เกลุกปะ ชื่อสอดนัมยาโส ประมุขสงฆ์องค์ที่ 3 ขึ้นเป็นดาไลลามะ แต่ให้มีผลย้อนหลังไปยังประมุขสงฆ์องค์ที่ 1คือเกดัน ทรัปปะ ดังนั้นคำว่า “ดาไลลามะ”(Dalai Lamas) จึงเริ่มต้นในปี 2121 และสืบต่ออำนาจเรื่อยมา ดาไลลามะที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือองค์ที่ 5 พระนามว่า งาวัง โลซัง กยัตโส มีอายุระหว่างพ.ศ. 2158-2223 พระองค์เป็นทั้งนักปราชญ์และนักปกครอง ได้ทรงรวบรวมประเทศทิเบตให้เป็นปึกแผ่น จนกระทั่งกษัตริย์มองโกล ซึ่งมีอำนาจปกครองทิเบตในขณะนั้น ได้มอบอำนาจให้ดาไลลามะเป็นผู้มีอำนาจในการปกครองทิเบตอย่างเด็ดขาดทั้งฝ่ายราชอาณาจักรและศาสนจักร ทิเตจึงถือเป็นปีระเพณีสืบต่อกันมาว่า ดาไลลามะคือผู้ปกครองประเทศที่มีอำนาจสูง (การสถาปนาลามะ ความเป็นไปของคณะสงฆ์ในทิเบต ผู้สนใจศึกษาเพิ่มเติมได้จาก The Tibet : The Rise and Fall of a Monastic Tradition โดย Per Kvaerne รวมพิมพ์ใน World of Buddhism พิมพ์ในปี ค.ศ. 1984)
ปัจจุบันทิเบต มีดาไลลามะองค์ที่ 14 มีพระนามว่าจัมเฟล ลอบซัง เยเซ เท็นซิน กยัตโส (ชื่อเดิมคือลาโม ทอนดุป ลูกชายชาวนาแห่งหมู่บ้านตักเซอร์ แคว้นอัมโด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชายแดนระหว่างทิเบตกับจีน ทิเบตมีนายกรัฐมนตรี 2 ตำแหน่งคือลามะเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และนายกรัฐมนตรีฆราวาสเป็นผู้นำทางการเมือง ส่วนดาไลลามะเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศที่ตัวเองต้องลี้ภัยในการเมือง มีรัฐบาลที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในประเทศของตน แต่ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ในเมืองธรรมศาลาหรือธรัมศาลา (Dharamsala ) ประเทศอินเดีย ในปี 2532 พระองค์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพด้วย มีเพียงประเทศเดียวในโลกที่ประมุขของประเทศเป็นพระสงฆ์คือดาไลลามะแห่งทิเบต

เมื่อผู้เขียนถามถึงการกลับชาติมาเกิดของดาไลลามะ เพราะเคยดูจากภาพยนตร์เรื่อง Little Buddha ดร. วังยัลได้อธิบายให้ฟังว่า “การกลับชาติมาเกิดเป็นความเชื่อที่ชาวทิเบตเชื่อถือกันมานาน บุคคลที่จะเป็นดาไลลามะจะถูกเรียกว่าลามะตุลกู (Lamas tulku)เป็นผู้มีพลังจิตสูง เมื่อมรณภาพไปแล้ว ย่อมกลับชาติมาเกิดอีกเพื่อช่วยเหลือสัตว์โลกให้พ้นจากความทุกข์ พระองค์เป็นพระราชาและพระสังฆราชของทิเบต จะไม่ทอดทิ้งชาวทิเบตจึงต้องเวียนว่ายตายเกิดเพื่อทำหน้าที่ต่อไป ซึ่งเป็นเพราะพลังอำนาจความศักดิ์สิทธิ์ของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ดังนั้นองค์ดาไลลามะตั้งแต่องค์ที่ 1 จนถึงองค์ปัจจุบันจึงเป็นองค์เดียวกัน คือเปลี่ยนแปลงเพียงร่างกาย ส่วนวิญญาณคือดวงเดียวกัน”
ทิเบตมีคณะผู้ค้นหาองค์ดาไลลามะโดยเฉพาะ ลามะชั้นสูงต้องตรวจสอบด้วยสมาธิชั้นสูงเพื่อหาสถานที่เกิดแห่งวิญญาณของดาไลลามะองค์ก่อนจุติ เมื่อพบแล้วจะทำการพิสูจน์โดยนำสิ่งของที่ดาไลลามะเคยใช้มาให้เลือก โดยปนไว้กับสิ่งของชนิดเดียวกันหลายๆอย่าง ถ้าเด็กเลือกได้ถูกก็ให้ตั้งสมุติฐานไว้ก่อนว่าคือองค์ดาไลลามะ บางครั้งต้องใช้เวลาค้นหาหลายปีจึงจะพบ ท่านซองโปลามะชาวอิตาเลี่ยนพูดแทรกขึ้นมาว่า “จะแน่ใจได้อย่างไรว่าเป็นองค์ทะลไลามะกลับชาติมาเกิดจริงๆ”
ดร.วังยัลจึงชี้แจงต่อว่า “แน่ใจได้สิ เพราะเหตุผลง่ายๆว่า ถ้าไม่ใช่วิญญาณที่ระลึกชาติได้จริง จะไม่มีทางจดจำเรื่องราวในอดีตได้ จะต้องมีการเลือกที่ผิดๆถูกๆ เมื่อดาไลลามะสิ้นพระชนม์เด็กที่เกิดในช่วงนั้นหรือประมาณ 1-3ปี มีสิทธิ์เป็นดาไลลามะกลับชาติมาเกิด การค้นหาวิญญาณดาไลลามะในร่างใหม่ถือว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ เด็กที่ผ่านการคัดเลือกยังต้องเตรียมตัวอีกหลายปี ด้วยการให้การศึกษาอย่างเต็มรูปแบบภายใต้การควบคุมดูแลของลามะชั้นสูง ต้องฝึกงานทุกอย่างแม้แต่การเข้าร่วมฟังการประชุมคณะรัฐมนตรี”
ช่วงเวลาแห่งชีวิตก่อนที่จะได้รับการสถาปนาเป็นองค์ดาไลลามะมิใช่เรื่องง่าย วิชาที่ถูกบังคับให้เรียนตามบันทึกของดาไลลามะองค์ปัจจุบันท่านบันทึกไว้ในหนังสือ Freedom in Exile มีใจความตอนหนึ่งว่า “อาตมาจะตื่นนอนเวลา 6 นาฬิกาทุกเช้า แต่งตัวเสร็จสวดมนต์บำเพ็ญสมาธิ เวลา 7 นาฬิกาฉันอาหาร หลังจากนั้นเข้าเรียนช่วงแรก เมื่อเรียนอ่านได้แล้วจึงเรียนเขียน ท่องจำพระสูตรและคัมภีร์ 10 โมงเช้า เข้าร่วมประชุมกับคณะรัฐมนตรี แล้วกลับไปเรียนต่อที่ห้อง” ถ้าเป็นอย่างนี้ทุกวันกว่าจะผ่านวัยเด็กไปได้คงต้องใช้ความอดทนเป็นพิเศษ




เกี่ยวกับหลักสูตรที่ดาไลลามะต้องเรียน เป็นหลักสูตรเดียวกันกับที่ลามะรูปอื่นใช้ศึกษาในระดับปริญญาเอก ท่านบันทึกไว้ว่า “หลักสูตรที่ต้องเรียนเป็นวิชาเอก 5 วิชา วิชาโท 5 วิชา วิชาเอกได้แก่ ตรรกศาสตร์, ศิลปและวัฒนธรรมทิเบต,ภาษาสันสกฤต,วิชาแพทย์และพุทธปรัชญา โดยเฉพาะวิชาพุทธปรัชญายังแบ่งเป็นรายวิชาย่อยอีกคือปรัชญาปารมิตา,มัธยามิกะ,วินัยบัญญัติ,อภิธรรมปิฎก,และประมาณทวิทยา วิชาโท 5 สาขาได้แก่ กาพย์กลอน,ดนตรีและการละคร,โหราศาสตร์,วากยสัมพันธ์และคำสมาส วิชาพื้นฐานที่ขาดไม่ได้ในระบบการศึกษาของลามะในทิเบตคือวิภาษวิธี (Dialectic) ซึ่งใช้เป็นศิลปะในการตอบโต้ธรรมะ” (ประวัติและความเป็นมาของดาไลลามะองค์ปัจจุบัน ศึกษาได้จากหนังสือที่พระองค์นิพนธ์เองคือ Freedom in Exile)
เมื่ออ่านจากหนังสือที่องค์ดาไลลามะนิพนธ์เองแล้ว ต้องยอมรับว่าการกลับชาติมาเกิดแม้จะถือเป็นหลักการใหญ่ แต่การจัดการศึกษาในช่วงระยะเวลาต่อมาก่อนที่จะได้รับการสถาปนาเมื่อายุ 18 ปี นั้น เป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่า ผู้ที่จะเป็นผู้นำของทิเบตจึงต้องมีความรู้แทบทุกสาขาเทียบเท่าปริญญาเอก จึงไม่น่าแปลกใจที่พระพุทธศาสนาแบบทิเบตได้เผยแผ่ไปทั่วโลกได้ในเวลารวดเร็ว เพราะภูมิรู้ของลามะโดยเฉาะดาไลลามะองค์ปัจจุบันเป็นผู้มีความรู้ลึกซึ้งทั้งทางโลกและทางธรรม
ถึงจะมีความรู้และความสามารถขนาดไหน ก็ยังไม่สามารถที่จะทำให้ชาวทิเบตได้รับเอกราช จากจีน แม้แต่พระองค์เองก็กลายเป็นราชาและสังฆราชาที่ต้องลี้ภัยการเมืองอาศัยแผ่นดินของชาติอื่นเป็นที่อยู่อาศัยตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2505 ร่วมเสพเคาะห์กรรมกับพลเมืองทิเบตที่ต้องจากมาตุภูมิกลายเป็นผู้ไร้แผ่นดิน แต่ไม่สิ้นชาติ เพราะทุกวันนี้ชาวทิเบตยังคงกู่ร้องหาอิสรภาพด้วยสันติวิธีตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา แม้เวลาจะล่วงเลยมาหลายปีแล้วก็ตาม
ท่านลอบชัง วังยัล ถอนหายใจอย่างเหนื่อยอ่อนในเคราะห์กรรมของชาวทิเบตที่ต้องกลายเป็นผู้ไร้อิสรภาพ ต้องอพยพจากบ้านเกิดเมืองนอนมาอาศัยแผ่นดินของผู้อื่นอยู่ ท่านจิบน้ำชาที่รสชาติเริ่มจืดชืด ผู้เขียนจึงสั่งเด็กชาวเนปาลให้นำโค็กมาให้พอดื่มและหายเหนื่อยแล้วท่านวังยัล ก็เริ่มจะสาธยายชีวิตความเป็นอยู่ของชาวทิเบตในภารตะประเทศต่อไป แต่ท่านธูปเท็น ชองโป โบกมือขอให้พอก่อนพร้อมด้วยประโยคที่ชาวอิตาเลี่ยนและชาวโลกไม่เคยลืมเลือนว่า “กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว” พวกเราจึงเข้าใจ และจบการสนทนากึ่งวิชาการบนดาดฟ้าอาคารหอวัฒนธรรมทิเบต ริมฝั่งแม่น้ำยุมนา ในขณะที่ดวงตะวันยามสายัณห์กำลังจะเลือนหายไปจากขอบฟ้าเบื้องปัจฉิมทิศ ฝูงนกกากำลังกลับรวงรังเหนือสายน้ำที่กำลังเอื่อยไหล หลังจากอ่อนล้าจากการแสวงหาอาหาร คงจะได้พักผ่อนเสียที ผู้เขียนรู้สึกอิจฉานกกาที่ยังมีรวงรังให้หวนกลับ แต่ศากยบุตรรูปนี้ไร้รัง เพราะต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนมาร่อนเร่พเนจรเหมือนนกจากรัง แฝงตัวอยู่ในท่ามกลางของผู้คนที่แตกต่างทางวัฒนธรรม พูดกันคนละภาษา อาหารการกินมีรสชาติที่ไม่ค่อยจะถูกลิ้น แต่ยังดีที่มีร่องรอยแห่งพระพุทธศาสนาให้ศึกษาผ่านวัฒนธรรมที่แตกต่างนั่นเอง



ดร.ลอบชัง วังยัล จบการสนทนาด้วยประโยคที่น่าคิดว่า “เวลาที่มนุษย์มีอิสรภาพมักจะมองไม่เห็นคุณค่าของอิสรเสรี แต่เมื่อใดที่คุณเป็นผู้ลี้ภัยจึงจะเห็นคุณค่าของอิสรภาพว่ามีคุณค่าเหนือสิ่งอื่นใด ทุกวันนี้ชาวทิเบตประมาณหกล้านคน ยังคงคิดอยู่เสมอว่าจีนจะใจกว้างยอมให้ทิเบตปกครองตนเองโดยเสรี เมื่อนั้นพวกเราชาวทิเบตคงจะมีประเทศเป็นของตัวเองเสียที ”
ในรอบหลายปีที่ผ่านมาองค์ดาไลลามะยังคงเดินทางพบปะผู้นำประเทศต่างๆทั่วโลก แม้จะมีนัยแอบแฝงทางการเมือง แต่สิ่งหนึ่งที่มีผลตามมาคือชาวโลกได้รู้จักพระพุทธศาสนามากขึ้น และมีบุคคลผู้มีชื่อเสียงหลายท่านหันมานับถือพระพุทธศาสนาตันตรยานแบบทิเบต หากจำไม่ผิดในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีจะมีงานใหญ่เฉลิมฉลองในกลุ่มชาวทิเบตที่เมืองธรรมศาลา อินเดีย ในช่วงเวลานั้นจะมีบุคคลผู้มีชื่อเสียงจากทุกมุมโลกเดินทางมาร่วมงาน
เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการเมือง แต่ต้องการให้ย้อนอ่านถึงพระพุทธศาสนาในทิเบตและความสัมพันธ์กับจีน ทำไมจีนจึงโกรธนักโกรธหนาเมื่อองค์ดาไลลามะเดินทางไปพบกับประธานาธิบดีบารัค โอบามา เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา นัยทั้งหลายอ่านแล้วโปรดพิจารณา



พระมหาบุญไทย ปุญญมโน
เรียบเรียง/แก้ไขปรับปรุงใหม่
22/02/53

http://www.cybervanaram.net/index.php/2 ... ?showall=1


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร