วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 05:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2016, 09:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเป็นไตรลักษณ์ในนามรูป เห็นได้ยาก มิใช่วิสัยแห่งการตรึก นึกคิด คาดเดา



"ภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความดำริเกิดขึ้นว่า ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นของลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบระงับ ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกะ ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้" (วินย.4//7/8 ม.มู.12/371/323)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2016, 10:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ทุกขตา และทุกขลักษณะ


คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ แสดงอรรถของทุกขตาไว้อย่างเดียวว่า "ชื่อว่าเป็นทุกข์ โดยความหมายว่า เป็นของมีภัย (ภยฏฺเฐน)"
ที่ว่า "มีภัย” นั้น จะแปลว่า เป็นภัย หรือน่ากลัว ก็ได้ ทั้งนี้โดยเหตุผลว่า

สังขารทั้งปวง เป็นสภาพที่ผุพังแตกสลายได้ จะต้องย่อยยับมลายสิ้นไป จึงไม่มีความปลอดภัย ไม่ให้ความปลอดโปร่งโล่งใจ หรือความเบาใจอย่างเต็มที่แท้จริง
หมายความว่า ตัวมันเองก็มีภัยที่จะต้องเสื่อมโทรมสิ้นสลายไป มันจึงก่อให้เกิดภัย คือความกลัวและความน่ากลัวแก่ใครก็ตามที่เข้าไปยึดถือเกี่ยวข้อง


ส่วนคัมภีร์ชั้นอรรถกถา ขยายความหมายออกไปโดยนัยต่างๆ คำอธิบายที่ท่านใช้บ่อย มี ๒ นัย คือ ชื่อว่า เป็นทุกข์ โดยความหมายว่า มีความบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ด้วยความเกิดขึ้นและความเสื่อมสลาย (อุปฺปาทวยปฏิปีฬนฏฺเฐน หรืออุปฺปาทวยปฏิปีฬนตาย) ทั้งบีบคั้นขัดแย้งต่อประดาสิ่งที่ประกอบอยู่กับมัน และทั้งมันเองก็ถูกสิ่งที่ประกอบอยู่ด้วยนั้นบีบคั้นขัดแย้ง
และ
ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ (ทุกฺขวตฺถุตาย หรือ ทุกฺขวตฺถุโต) คือ เป็นที่รองรับของความทุกข์ หรือทำให้เกิดทุกข์ เช่น ก่อให้เกิดความรู้สึกทุกข์
พูดให้ง่ายเข้าว่า ที่เรียกว่าเป็นทุกข์ ก็เพราะทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ เป็นต้น หรือที่เรียกว่า บีบคั้น ก็เพราะทำให้เกิดความรู้สึกบีบคั้น เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2016, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ความหมายที่ท่านประมวลไว้ครบถ้วนที่สุดมี ๔ นัย คือ เป็นทุกข์ด้วยอรรถ ๔ อย่าง ดังนี้


อภิณฺหสมฺปติปีฬนโต เพราะมีความบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา คือ ถูกบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ด้วยความเกิดขึ้น ความเสื่อมโทรม และความแตกสลาย และบีบคั้นขัดแย้งอยู่ตลอดเวลา กับสิ่งที่ประกอบอยู่ด้วย หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ด้วยต่างก็เกิดขึ้น ต่างก็โทรมไป ต่างก็แตกสลาย

๒. ทุกฺขโต เพราะเป็นสภาพที่ทนได้ยาก คือคงทนอยู่ไม่ไหว หมายความว่า คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ จะต้องเปลี่ยน จะต้องกลาย จะต้องหมดสภาพไป เพราะความเกิดขึ้นและความโทรมสลายนั้น *

๓. ทุกฺขวตฺถุโต เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ คือเป็นที่รองรับสภาวะแห่งทุกข์ ซึ่งก็หมายความด้วยว่า เมื่อโยงมาถึงคน หรือโยงแง่ที่คนเกี่ยวข้อง ก็เป็นที่ก่อให้เกิดทุกข์ เช่น ทุกขเวทนา หรือความรู้สึกบีบคั้น เป็นต้น (อรรถกถาและฎีกา อธิบายว่า เป็นที่ตั้งแห่งทุกขตาทั้ง ๓ และแห่งสังสารทุกข์)

๔. สุขปฏิกฺเขปโต เพราะแย้งต่อความสุข คือ โดยสภาวะของมันเอง ที่ถูกปัจจัยทั้งหลายบีบคั้นขัดแย้งและคงสภาพอยู่ไม่ได้ มันก็ปฏิเสธหรือกีดกั้นภาวะราบรื่นคล่องสะดวกอยู่ในตัว (เป็นเรื่องที่คนจะต้องดิ้นรนจัดสรรปัจจัยทั้งหลายเอา โดยที่ความสุขที่เป็นตัวสภาวะจริง ก็มีแต่เพียงความรู้สึก)


อธิบายว่า สภาวะ ที่มีเป็นพื้น ได้แก่ ทุกข์ คือ ความบีบคั้นกดดันขัดแย้ง ที่เป็น ลักษณะอย่างหนึ่งของสังขารทั้งหลาย ที่จริงก็เพียงเป็นสภาวะตามปกติธรรมดาของธรรมชาติ
แต่ในสภาพที่เกี่ยวข้องกับคน ก็ก่อให้เกิดความรู้สึกบีบ คั้นกดดันขัดแย้ง ที่เรียกว่า ความรู้สึกทุกข์ (ทุกขเวทนา) ด้วย

เมื่อใดทุกข์คือความบีบคั้นกดดันนั้นผ่อนคลายไป หรือคนปลอดพ้นจากทุกข์นั้น ก็เรียกว่า มีความสุขหรือรู้สึกสุข ยิ่งทำให้เกิดทุกข์ คือ สึกบีบคั้นกดดัน ทำให้รู้สึก ขาด พร่อง กระหาย หิว มาก เท่าใด ในเวลาที่ทำให้ผ่อนหายปลอดพ้นจากทุกข์หรือความบีบกดนั้น ก็ยิ่ง รู้สึกสุขมากขึ้นเท่านั้น


เหมือนคนที่ถูกทำให้ร้อนมาก เช่น เดินมาในกลางแดด พอเข้ามาในที่ร้อนน้อยลงหรืออุ่นลง ก็รู้สึกเย็น ยิ่งได้เข้าไปในที่ ที่เย็นตามปกติก็จะรู้สึกเย็นสบายมาก ในทางตรงข้าม ถ้าทำให้ได้รับความรู้สึกสุข (สุขเวทนา) แรงมาก พอเกิดความทุกข์ ก็จะรู้สึกทุกข์ (ทุกขเวทนา) รุนแรงมากด้วยเช่นกัน

แม้แต่ทุกข์เพียงเล็กน้อย ที่ตามปกติจะไม่รู้สึกทุกข์ เขาก็อาจจะรู้สึกทุกข์ได้มาก เหมือนคนอยู่ในที่ ที่เย็นสบายมาก พอออกไปสู่ที่ร้อนก็รู้สึกร้อนมาก แม้แต่สภาวะที่คนอื่นๆ หรือตัวเขาเองเคยรู้สึกเฉยๆ เขาก็อาจจะกลับรู้สึกเป็นร้อนไป


พูดลึกลงไปอีก ให้ตรงความจริงโดยสมบูรณ์ว่า ที่ว่าเป็นสุขหรือรู้สึกสุข (สุขเวทนา) นั้น ตามที่แท้จริงก็ไม่ใช่ปลอดพ้น หรือ หายทุกข์ดอก แต่เป็นเพียงระดับหนึ่งหรือขีดขั้นหนึ่งของทุกข์เท่านั้น กล่าวคือ ความบีบคั้นกดดันขัดแย้ง ที่ผ่อนหรือเพิ่มถึงระดับถึงระดับหนึ่ง หรือ ในอัตราหนึ่งเราเรียกว่าเป็นสุข เพราะทำให้เกิดความรู้สึกสุข แต่ถ้าเกินกว่านั้นไป ก็กลายเป็นต้องทนหรือเหลือทน เรียกว่าเป็นทุกข์ คือรู้สึกทุกข์ (= ทุกขเวทนา) ว่าที่แท้จริงก็มีแต่ทุกข์ คือแรงบีบคั้นกดดันขัดแย้งเท่านั้นที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง


เหมือนกับเรื่องความร้อนและความเย็น ว่า ที่จริงความเย็นไม่มี มีแต่ความรู้สึกเย็น สภาวะที่เป็นพื้นก็คือ ความร้อนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง จนถึงไม่มีความร้อนที่คนเราพูดว่า เย็นสบายนั้น ก็เป็นเพียงความ รู้สึก ซึ่งที่แท้แล้วเป็นความร้อนในระดับหนึ่งเท่านั้น ถ้าร้อนน้อยหรือมากเกินกว่าระดับนั้นแล้ว ก็หารู้สึกสบายไม่


โดยนัยนี้ ความสุข หรือพูดให้เต็มว่า ความรู้สึกสุขคือสุขเวทนาก็เป็นทุกข์ ทั้งในความหมายว่าเป็นทุกข์ระดับหนึ่ง มีสภาวะเพียงความรู้สึก และในความหมายว่า เป็นสิ่งที่ขึ้นต่อความบีบคั้นกดดัน ขัดแย้ง จะต้องกลาย จะต้องผันแปร จะต้องหมดไป เหมือนกับว่า ทุกข์ที่เป็นตัวสภาวะนั้น ไม่ยอมให้สุขยืนยงคงอยู่ได้ยั่งยืนตลอดไป

อนึ่ง ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคที่อ้างถึงข้างต้นว่า ท่านแสดงอรรถคือความหมายของทุกข์ ซึ่งเป็นข้อที่ 2 ในไตรลักษณ์ไว้อย่างเดียวว่า เป็นสิ่งมีภัย (ภยฏฺเฐน) นั้น

เมื่อถึงตอนที่อธิบายเรื่องอริยสัจ ท่านได้แสดงอรรถของทุกข์ ซึ่งเป็นข้อที่ 1 ในอริยสัจ ว่า มี 4 อย่าง คือ มีความหมายว่า บีบคั้น (ปีฬนฏฺฐ)

มีความหมายว่า เป็นสังขตะ (สงฺขตฏฺฐ)

มีความหมายว่า แผดเผา (สนฺตาปฏฺฐ) และ

มีความหมายว่า ผันแปร (วิปริณามฏฺฐ)



เห็นว่า ความหมาย 4 นัยนี้ ใช้กับทุกข์ในไตรลักษณ์ได้ด้วย จึงขอนำมาเพิ่มไว้ ณ ที่นี้ โดยตัดข้อซ้ำ คือ ข้อที่ 1 และข้อที่ 4 (ปีฬนฏฺฐ และ วิปริณามฏฺฐ) ออกไป คงได้เพิ่มอีก 2 ข้อ คือ

6. สงฺขตฏฺฐ โดยความเป็นของปรุงแต่ง คือ ถูกปัจจัยต่างๆ รุมกันหรือมาชุมนุมกันปรุงแต่งเอา มีสภาพที่ขึ้นต่อปัจจัย ไม่เป็นของคงตัว

7. สนฺตาปฏฺฐ โดยความหมายว่าแผดเผา คือ ในตัวของมันเองก็มีสภาพที่แผดเผาให้กร่อนโทรมย่อยยับสลายไป และทั้งแผดเผา ผู้มีกิเลสที่เข้าไปยึดติดถือมั่นมันให้เร่าร้อนกระวนกระวายไปด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังเกต ทุกข์ในอริยสัจจ์, ทุกข์ในไตรลักษณ์, กับ ทุกข์ในเวทนา ให้ออก แยกได้แล้วสมองจะโล่ง เหมือนได้กินมะม่วงหาวมะนาวโห่ :b1:

วางหลักไว้ก่อน

- ทุกข์ในอริยสัจ (เอาสั้นๆ)
1. ทุกข์
2. สมุทัย
3. นิโรธ
4. มรรค

- ทุกข์ในไตรลักษณ์
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

- ทุกข์ในเวทนา
สุข ทุกข์ อุเบกขา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข์ในอริยสัจ แยกให้ชัด จากทุกข์ในไตรลักษณ์

หมวดใหญ่ของทุกข์

บทบรรยายตอนนี้ ความจริงเป็นเรื่องของไตรลักษณ์ คือ อนิจจตา ทุกขตา และอนัตตตา ทั้งหมด แต่เมื่อพูดมาถึงทุกขตา คือ เรื่องทุกข์ ก็มีการพูดโยงไปเกี่ยวกับเรื่องทุกข์ที่มีอยู่ในหลักธรรมหมวดอื่นด้วย โดยเฉพาะทุกข์ในอริยสัจ ๔ เพราะเนื่องกัน ถึงกันอยู่ แต่เมื่ออธิบายโยงถึงกันหรือพันกัน บางทีก็ทำให้สับสนได้

พูดง่ายๆ ว่าทุกข์ในอริยสัจ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของธรรมชาติ บางทีก็ไปเกิดเป็นทุกข์ในอริยสัจ คือ เมื่อคนไม่รู้เข้าใจทำกับมันไม่ถูก ทุกข์ในธรรมชาติ ก็เกิดเป็นปัญหาขึ้นแก่คน


พูดในทางกลับกันว่า เพราะทุกข์ในไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของธรรมชาติมีอยู่ มันมีภาวะกดอัดขัดแย้งบีบคั้นคงสภาพอยู่ไม่ได้ ตามธรรมดาของมันก็จริง แต่เมื่อคนมีปัญญาไม่ถึงมัน ไม่ได้อย่างใจตัว ก็มาเกิดเป็นความกดดันอึดอัดขัดแย้งบีบคั้นขึ้นในชีวิตจิตใจของคน ทุกข์ในอริยสัจก็เลยเกิดมีเกิดเป็นขึ้นมา


พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ทุกข์ในไตรลักษณ์ ก็เป็นธรรมชาติไปตามธรรมดาของมัน เราไปยกเลิกมันไม่ได้ ก็ต้องฝึกเจริญปัญญาขึ้นมาให้รู้เท่าทัน แล้วก็ปฏิบัติไปตามเหตุปัจจัย


แต่ทุกข์ในอริยสัจ ที่เป็นเรื่องของคนนี้ เรายกเลิกไป ทำให้หมดสิ้นได้ และก็ทำอย่างนั้นได้ ด้วยการมีปัญญารู้เท่าทัน และปฏิบัติต่อทุกข์ในไตรลักษณ์ คือ สรรพสังขารนั่นแหละให้ถูก


นอกจากนั้น และเห็นง่ายกว่านั้น ยังมีทุกข์อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า ทุกขเวทนา คือความรู้สึกไม่สบาย เจ็บปวด เป็นต้น ที่มีชุดของเขา คือ มีสุขเวทนา รู้สึกสบาย ชื่นกายชื่นใจ และอทุกขมสุขเวทนา เฉยๆ (อุเบกขา) ข้อนี้ ก็เกี่ยวข้องอาศัยสภาวะของสิ่งทั้งหลายที่เป็นทุกข์ในไตรลักษณ์นี้ ด้วยเช่นกัน แต่เมื่อมันเป็นความรู้สึกของคน รับรู้ได้ทันที ก็เลยเข้าใจง่าย แทบไม่ต้องใช้ปัญญาอะไร แค่กิ่งไม้ไม่เที่ยงเป็นทุกข์คงทนอยู่ไม่ได้ หักหล่นลงมาถูกหัว คนโดนทุกข์ของธรรมชาตินี้มากระทบตัวเข้า ก็เจ็บปวดหัว เกิดทุกขเวทนา บางที ก็แทบทนไม่ไหว


ทุกขเวทนาอย่างที่ว่านี้ง่าย ก็แก้ไข ไปหาหมอ หรือทำแผลใส่ยา รอเวลาแผลหาย ตรงไปตรงมา ก็จบ


แต่ถ้าเกิดไม่รู้ ว่ากิ่งไม้ที่มันทุกข์ตามธรรมดาของธรรมชาติแล้วมันทนอยู่ไม่ไหว ก็หักตกลงมาโดนตัว เกิดไปสงสัยคนนั้น ระแวงคนนี้ว่าคนไหนประทุษร้าย แล้วจงใจขว้างกิ่งไม้มาจะให้เขาเจ็บตัวหรือตายไป


คราวนี้ เลยคิดวุ่นวาย มีโกรธมีแค้นมีคิดต่างๆนานา เริ่มไม่สบายใจ และกดดันบีบคั้นลึกลงไป ตอนนี้มีทุกขเวทนาพ่วงมาด้วย แต่ทุกข์ใหญ่อยู่ลึกลงไป เป็นปัญหาของทุกขอริยสัจขึ้นแล้ว คราวนี้ เรื่องราวอาจจะใหญ่โตหรือยืดเยื้อยาวนาน ทุกขอริยสัจมา พลอยให้ทุกขเวทนาขยายและยืดยาวแยกยื่นบานปลายออกไปได้เยอะแยะ อาจจะไม่จบ

ได้พูดมา พอเห็นง่ายๆ แต่ที่จริง ทุกขอริยสัจนี้ เป็นเรื่องใหญ่เท่าไรก็ได้ พาเดือดร้อนกันไป แม้แต่ถึงขั้นสงครามโลกก็มี พูดง่ายๆ นี่ก็คือปัญหาของมนุษย์


เมื่อมองให้ดี จะเห็นว่า แต่ก่อนนั้น มีทุกข์เดียวแต่ในไตรลักษณ์ แต่พอมีคนมีชีวิตขึ้นมา ทั้ง ๓ ทุกข์นั้น ทั้งทุกข์ไตรลักษณ์ ทุกขเวทนา และทุกขอริยสัจ ก็มากันครบเลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


เมื่อมีความเข้าใจเบื้องต้นอย่างนี้แล้ว ก็มาดูหลักกันสักหน่อย ตอนแรกก็สรุปที่ได้พูดมา ได้สาระว่า

ทุกข์ ปรากฏในหมวดธรรมสำคัญ ๓ หมวด เรียงตามง่ายยาก ได้แก่

๑) ในเวทนา (เวทนา ๓ คือ ทุกข์ สุข อทุกขมสุข หรืออุเบกขา เวทนา ๕ คือ ทุกข์ สุข โทมนัส โสมนัส และอุเบกขา) เรียกเต็มว่า ทุกขเวทนา

๒) ในไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกข์ อนัตตา) เรียกเต็มว่า ทุกขลักษณะ

๓) ในอริยสัจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) เรียกเต็มว่า ทุกขอริยสัจ

ทุกข์ในหมวดธรรมทั้งสามนั้น มีความหมายเกี่ยวโยงเนื่องอยู่ด้วยกัน แต่มีขอบเขตกว้างแคบกว่ากันเป็นบางแง่บางส่วน หรือเป็นผลสืบต่อจากกัน ดังนี้

ทุกข์ ที่มีความหมายกว้างที่สุด ครอบคลุมทั้งหมด คือ ทุกข์ในไตรลักษณ์ หรือ ทุกขลักษณะ หรือ ทุกขตา ได้แก่ ภาวะที่ไม่คงตัว คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เพราะมีความบีบคั้นกดดันขัดแย้งที่เกิดจากความเกิดขึ้น และความเสื่อมสลาย ดังได้อธิบายแล้วข้างต้น ซึ่งเป็นลักษณะของสังขารทั้งหลายทั้งปวง (สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา) กินขอบเขตเท่ากันกับความไม่เที่ยง คือ สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ (ยทนิจฺจํ ตํ ทุกฺขํ)


ทุกข์ ที่มีความหมายแคบที่สุด เป็นเพียงอาการสืบเนื่องด้านหนึ่งเท่านั้น ก็คือ ทุกข์ที่เป็นเวทนา เรียกเต็มว่า ทุกขเวทนา หรือ ความรู้สึกทุกข์ ได้แก่ อาการสืบเนื่องจากทุกข์ในไตรลักษณ์ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในบุคคลเนื่องมาจากทุกข์ในไตรลักษณ์นั้น กล่าวคือ ความรู้สึกบีบคั้นกดดันข้องขัดของคน ซึ่งเกิดขึ้น เมื่อความบีบคั้นกดดันขัดแย้ง ที่เป็นสภาพสามัญของสิ่งทั้งหลาย เป็นไปในระดับหนึ่ง หรือในอัตราส่วนหนึ่ง โดยสัมพันธ์กับสภาพกาย และสภาพจิตของเขา ดังที่ได้อธิบายมาแล้วในข้อความ บางตอนข้างต้น (สุขปฏิกฺเขปโต)


ทุกขเวทนานี้ ก็เป็นทุกข์ตามความหมายในไตรลักษณ์ด้วย เช่นเดียวกับเวทนาอื่นๆทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ก็ตาม หมายความว่า เวทนาทุกอย่าง จะเป็นทุกขเวทนาก็ดี สุขเวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนากก็ดี ล้วนเป็นทุกข์ในความหมายที่เป็นลักษณะสามัญนั้นทั้งสิ้น


ทุกข์ในอริยสัจ หรือทุกขอริยสัจ ก็คือสภาวะที่เป็นทุกข์ในไตรลักษณ์นั่นเอง ซึ่งมาเป็นที่ตั้งที่อาศัยที่ก่อเกิดเป็นปัญหาขึ้นแก่มนุษย์ เนื่องจากมนุษย์ทำให้เป็นปัญหาขึ้นมา


ขยายความว่า สังขารทั้งหลายถูกบีบคั้นตามธรรมดาของมัน โดยเป็นทุกข์ในไตรลักษณ์ และสังขารเหล่านั้นนั่นแหละ (ไม่ทั้งหมดและไม่เสมอไป) เมื่อคนไม่รู้เท่าทัน และปฏิบัติต่อมันไม่ถูกต้อง มันก็ก่อความบีบคั้นขึ้นแก่คน โดยเป็นทุกข์ในอริยสัจ
(แต่การที่มันจะกลายเป็นของบีบคั้นคนขึ้นมาได้ ก็เพราะมันเองเป็นสภาวะที่ถูกบีบคั้น โดยเป็นทุกข์ในไตรลักษณ์ จึงไม่อาจเป็นไปได้ที่มันจะให้ความสมอยากเต็มแท้แน่จริงแก่คน)


พูดง่ายๆว่า ทุกขอริยสัจ หมายเฉพาะเรื่องของเบญจขันธ์ หรืออุปาทานขันธ์ เรียกเป็นศัพท์ว่า ได้แก่ ทุกข์เฉพาะส่วนที่เป็นอินทรียพัทธ์ คือ เนื่องด้วยอินทรีย์ เกี่ยวกับชีวิต ไม่รวมถึงทุกข์ที่เป็นอนินทรียพัทธ์ (ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์) ซึ่งเป็นทุกข์ในไตรลักษณ์ แต่ไม่จัดเป็นทุกข์ในอริยสัจ

ยังมีต่อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร