วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 06:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 68 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2016, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Duangrat เขียน:
โฮฮับ เขียน:
Quote Tipitaka:
[๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการนี้ ย่อม
เป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงาม
ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว

๘ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใด
รูปหนึ่งผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรัก
และความเคารพไว้อย่างแรงกล้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๑
ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้วฯลฯ


โฮฮับ เขียน:
ลุงเช่นนั้นไม่เข้าใจคำว่า.......ความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว


พระสูตรที่ลุงเช่นนั้นยกมา จะมีบทสรุปอยู่๒ประเด็นคือ....
"เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการนี้ ย่อม
เป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงาม
ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว"
........๑

"ความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว"........๑

คำว่าความบริบูรณ์ของปัญญาที่ได้แล้ว................นี้หมายถึงปัญญามีอยู่ก่อนหน้าแล้ว
และเหตุที่แห่งความเจิญบริบูรณ์แห่งปัญญาทั้ง๘......นี้หมายถึงสุตตะ

บุคคลย่อมใช้ปัญญาที่มีอยู่ก่อนแล้ว ฟังหรืออ่านเพื่อให้ปัญญาเจริญบริบูรณ์ยิ่งๆขึ้นไป
ตรงกับหลักของสุตตมยปัญญา ....ใช้ปัญญาในการฟังและอ่านพระธรรม



คำว่าความบริบูรณ์ของปัญญาที่ได้แล้ว................นี้หมายถึงปัญญามีอยู่ก่อนหน้าแล้ว

แล้ว มีประโยคว่า "ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้"
หมายถึงอย่างไร


"ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้"
...ประโยคนี้มันมีสองส่วน คือปัญญาที่มีอยู่เดิม และความเป็นพรหมจรรย์ของปัญญา
ความเป็นพรหมจรย์ของปัญญาก็คือ......ธรรมที่เกิดจากการฟังหรืออ่าน (สุตตะ) ในที่นี้คือ "ที่ยังไม่ได้"

คุณดวงรัตน์ลองอ่านในพระสูตรปัจจัย๑-๘
ล้วนเป็นเรื่องของสุตตะที่ต้องอาศัยการฟังหรืออ่านทั้งนั้น นี่ตรงตามหลักแห่ง สุตตมยปัญญา

ปล. ปัญญาคือลักษณะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา(ไตรลักษณ์) นี้คือเครื่องมือปล่อยวางธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2016, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ
เหตุปัจจัย 8 ประการ เพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
คือปัญญาเพื่อหยั่งลงสู่กระแสแห่งพรหมจรรย์ เพื่อการละสมุทัยคือเหตุแห่งทุกข์ เช่นโสดาปัติมรรคเป็นต้น
มรรคปัญญาที่ได้มา จำเป็นต้องมีการทำให้บริบูรณ์ เจริญขึ้น บริบูรณ์มากขึ้น จนในที่สุดทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
คืออรหัตผล

อย่าตัดตอน พุทธพจน์ ออกเป็นส่วนๆ ตามใจตนเอง อรรถเนื้อความจะคลาดเคลื่อนไปโฮฮับ


มันไม่ใช่อย่างที่ลุงมั่วครับ ปัจจัยทั้ง๘ประการท่านหมายถึง.......สุตตะ
และผมก็ไม่ได้ตัดทอนอะไรเพียงแต่ชี้ให้เห็นถึงแก่นของพระธรรม.....ลุงจะได้เลิกปรุงแต่งบัญญัติ

คำว่า "เหตุปัจจัย 8 ประการ เพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์"
นี่หมายถึง เหตุปัจจัยทั้ง๘ปรการ(สุตตะ) เพื่อความเจริญบริบูรณ์ของปัญญา....ซึ่งปัญญาที่ว่า หมายถึง
พรหมจรรย์อันเป็นเบื้องต้น

เช่นนั้น เขียน:
ปัญญา รู้ชัด
ญาณเข้าถึงความรู้ชัด


ปัญญาไม่ใช่ รู้ชัด ปัญญาคือลักษณะของธรรมอันเป็นไตรลักษณ์

ตัวญานนั้นแหล่ะ...ความรู้ชัด

เช่นนั้น เขียน:
ปัญญามีหลายสิ่ง
ญาณจึงมีหลายสิ่ง


ปัญญาและญาน เป็นอนัตตา มันมีหลายสิ่งไม่ได้

ที่มีหลายสิ่งหมายถึงสภาพธรรม

เช่นนั้น เขียน:
พระพุทธองค์แสดงธรรมอย่างประณีต ให้ผู้มีศรัทธาได้ศึกษาปฏิบัติตามได้


อย่าอ้างพุทธองค์ ถ้าพุทธองค์ยังอยู่คงจะด่าลุงว่า....ไอ้พวกโมฆะบุรุษแน่ๆ :b32:

cool
:b12:
ปัญญาเป็นสภาพรู้ที่เกิดร่วมกับโสภณเจตสิกอื่นๆที่ทำให้ระลึกรู้สภาพธรรมตามเป็นจริงของสิ่งที่มีจริงๆ
ว่าทุกอย่างเป็นธัมมะ และธัมมะทั้งหลายเป็นอนัตตา ความรู้ยิ่งเห็นจริงรู้ชัดเจนมันก็เกิดดับตามเหตุปัจจัย
:b32:
โฮฮับ เขียน:
tongka เขียน:
เราเห็นว่า...
ทั้งสามอย่างอิงอาศัยกันและกันนั่นแหละ ทั้งสามอย่างทำหน้าที่สนับสนุนกันและกันไปตลอดเส้นทางจนกว่าจะถึงวิมุติหลุดพ้นโน้นแหละ ควรยกย่องทั้งสามอย่างไม่ควรที่จะพูดยกย่องธรรมอย่างหนึ่งข่มธรรมอย่างหนึ่งเลย


ก่อนอื่นผมว่า คุณ"ตงก้า"วางอัตตาลงก่อนแล้วค่อยคุยไม่ดีกว่าอื่น
แบกตัวตนอย่างนั้นไม่รู้สึกหนักบ่าหรือไงครับ

ใช้คำแทนตัวว่า"เรา"เนี่ย คิดว่าตัวเองเป็นใครครับ....มานะแท้หนอ :b32:

wink
:b32: อยากบอกว่าห้องประชุมทุกห้องเปิดกว้างให้ทุกคนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ใจกว้างๆสิโฮฮับ
:b11: ดูสิมีสมาชิกมาร่วมแจมให้สุภาพกว่านี้ไม่ได้หรือ ขวางโลกคือขวางธรรม ตะแบงลงข้างกระทู้ละ :b32:


ความเห็นพี่โฮก็เป็นความเห็นเหมือนกันนี่นา น้องโรสก็จะมาน้อยอกน้อยใจแทนคนอื่นทำไม
เดียวเขาไม่พอใจก็คงแก้ต่างหรือตอบโต้มาเองนั้นแหล่ะ ทำไมน้องโรสจะต้องเอากิเลสคนอื่น
มาใส่ตัวเองเรื่อยเชียว :b32:

wink
พี่โรสว่าน้องโฮน่ะควรพิจารณาตนเองสำรวจตนเองตามพี่โรสแนะนำจะดีกว่าไหม
:b34:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2016, 21:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
แตกฉานเรื่องปัญญากันมากพอแล้วนะครับจากการอภิปรายสนทนากันของคุณรสริน คุณโฮฮับ คุณเช่นนั้นและอีกหลายท่าน

คงลงตัวกันได้แล้วนะครับว่าปัญญานำหน้าเสมอ ถ้าเอาปัญญานำหนำหน้าแล้ว ทาน ศีล สติ สมาธิก็จะดีจะถูกต้องตามกันไปหมดแล้วทั้งหมดก็กลับมาสนับสนุนปัญญา เป็นเหตีปัจจัยอาศัยซึ่งกันและกันสนับสนุนกันไปตลอดทางแห่งการเจริญสติปัฏฐาน 4 หรือมรรค 8 ไปจนถึงมรรคผลนิพพาน
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2016, 22:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีใครพอบอกลักษณะ หรือ ความหมายคำว่าปัญญาได้บ้างขอรับ :b1: :b10:

เห็นศาสดาโฮฮับ ว่าว่า
อ้างคำพูด:
โฮฮับ
ปล. ปัญญาคือลักษณะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา(ไตรลักษณ์) นี้คือเครื่องมือปล่อยวางธรรม




ดูมันทะแม่งๆชอบกล ปัญญาคือลักษณะอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2016, 01:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b8:
แตกฉานเรื่องปัญญากันมากพอแล้วนะครับจากการอภิปรายสนทนากันของคุณรสริน คุณโฮฮับ คุณเช่นนั้นและอีกหลายท่าน

คงลงตัวกันได้แล้วนะครับว่าปัญญานำหน้าเสมอ ถ้าเอาปัญญานำหนำหน้าแล้ว ทาน ศีล สติ สมาธิก็จะดีจะถูกต้องตามกันไปหมดแล้วทั้งหมดก็กลับมาสนับสนุนปัญญา เป็นเหตีปัจจัยอาศัยซึ่งกันและกันสนับสนุนกันไปตลอดทางแห่งการเจริญสติปัฏฐาน 4 หรือมรรค 8 ไปจนถึงมรรคผลนิพพาน
onion

อโสกะ :
ปัญญานำหน้าเสมอ สรุปเช่นนี้ไม่ได้ครับ

กัลยาณปุถุชน ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ไม่ได้ใช้ปัญญานำก็มีครับ
เสขะบุคคล มีสมาธินำก่อน แล้วได้ปัญญาก็มีครับ มีปัญญานำก่อนแล้วได้สมาธิก็มีครับ
หากจะสรุป ว่า "เสมอไป" ก็จะลืมบุคคลบางจำพวกไปครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2016, 01:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
มีใครพอบอกลักษณะ หรือ ความหมายคำว่าปัญญาได้บ้างขอรับ :b1: :b10:

วิญญาณ : รู้ตามสภาพสภาวะ
สัญญา : รู้จำเครื่องกำหนดหมาย
เวทนา : รู้สึกเหมือนการรับประทาน
ปัญญา : รู้ชัดซึ่งกิจ กิจมีหลายสิ่ง ปํญญาก็มีหลายสิ่ง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2016, 07:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:

ปัญญานำหน้าเสมอ สรุปเช่นนี้ไม่ได้ครับ


หลักการปฏิบัติและการพิจารณาธรรม ต้องให้เกิดปัญญาก่อนเสมอ
มิเช่นนั้นจะเกิดการยึดและปรุงแต่งธรรม....ซึ่งตัวอย่างก็มีให้เห็นอย่างลุงเช่นนั้น
มักจะบอกว่า ปัญญามีหลายอย่าง ญานมีหลายอย่าง นี่ก็เป็นสาเหตุของคนที่ขาดปัญญา
จึงไม่มีปัญญานำหน้า เพื่อละวางธรรม ธรรมเป็นอนัตตาเมื่อรู้แล้วต้องละวาง

ปัญญาและญานก็เป็นอนัตตาเมื่อรู้แล้วต้องละวาง มิเช่นนั้นจะเกิดการปรุงแต่งธรรมจากหนึ่งเป็นสองเป็นสามฯลฯ
เหมือนอย่างที่ลุงเช่นนั้นกำลังเป็น

เช่นนั้น เขียน:
กัลยาณปุถุชน ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ไม่ได้ใช้ปัญญานำก็มีครับ
เสขะบุคคล มีสมาธินำก่อน แล้วได้ปัญญาก็มีครับ มีปัญญานำก่อนแล้วได้สมาธิก็มีครับ
หากจะสรุป ว่า "เสมอไป" ก็จะลืมบุคคลบางจำพวกไปครับ


ไอ้ที่พูดมาไม่ใช่ธรรมของพุทะองค์ ธรรมของพุทธองค์คือการนำเอาปัญญาไปพิจาราณาหลัก
ของโพธิปักขิยธรรม

ลุงเช่นนั้นพูดธรรมที่เกิดจากการปรุงแต่ง ธรรมมันจึงหาจุดลงตัวไม่ได้
เพราะมันเป็นเพียงความคิดฟุ้งซ่านของลุงเช่นนั้น :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2016, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
มีใครพอบอกลักษณะ หรือ ความหมายคำว่าปัญญาได้บ้างขอรับ :b1: :b10:

วิญญาณ : รู้ตามสภาพสภาวะ
สัญญา : รู้จำเครื่องกำหนดหมาย
เวทนา : รู้สึกเหมือนการรับประทาน
ปัญญา : รู้ชัดซึ่งกิจ กิจมีหลายสิ่ง ปํญญาก็มีหลายสิ่ง



วิญญาน ไม่ใช่รู้ตามสภาพสภาวะ
แต่วิญญาน ทำให้กายใจรู้ถึงการกระทบก็คือ.....รู้อายตนะนั้นเอง

เช่นนั้น เขียน:
สัญญา : รู้จำเครื่องกำหนดหมาย


เลอะเทอะ! สัญญาคือองค์ธรรมที่ทำหน้าที่จำลักษณะผลของธรรมที่มากระทบ...ก็คือหมายรู้ในเวทนา

เช่นนั้น เขียน:
เวทนา : รู้สึกเหมือนการรับประทาน

:b32: เวทนาคือ ลักษณะหลังจากเกิดการกระทบ เช่น เสียงดัง ค่อย ขม หวาน นี้ทำให้เกิดเวทนาทั้งสิ้น

เช่นนั้น เขียน:
ปัญญา : รู้ชัดซึ่งกิจ กิจมีหลายสิ่ง ปํญญาก็มีหลายสิ่ง


:b32: อย่าพูดมั่วซิลุงเช่นนั้น รู้ชัดซึ่งกิจ ท่านเรียกว่า ....จิตตะในอิทธิบาท

ส่วนปัญญาก็คือ ลักษณะของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของธรรม
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นเอง :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2016, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
มีใครพอบอกลักษณะ หรือ ความหมายคำว่าปัญญาได้บ้างขอรับ :b1: :b10:

วิญญาณ : รู้ตามสภาพสภาวะ
สัญญา : รู้จำเครื่องกำหนดหมาย
เวทนา : รู้สึกเหมือนการรับประทาน
ปัญญา : รู้ชัดซึ่งกิจ กิจมีหลายสิ่ง ปํญญาก็มีหลายสิ่ง



วิญญาน ไม่ใช่รู้ตามสภาพสภาวะ
แต่วิญญาน ทำให้กายใจรู้ถึงการกระทบก็คือ.....รู้อายตนะนั้นเอง

เช่นนั้น เขียน:
สัญญา : รู้จำเครื่องกำหนดหมาย


เลอะเทอะ! สัญญาคือองค์ธรรมที่ทำหน้าที่จำลักษณะผลของธรรมที่มากระทบ...ก็คือหมายรู้ในเวทนา

เช่นนั้น เขียน:
เวทนา : รู้สึกเหมือนการรับประทาน

:b32: เวทนาคือ ลักษณะหลังจากเกิดการกระทบ เช่น เสียงดัง ค่อย ขม หวาน นี้ทำให้เกิดเวทนาทั้งสิ้น

เช่นนั้น เขียน:
ปัญญา : รู้ชัดซึ่งกิจ กิจมีหลายสิ่ง ปํญญาก็มีหลายสิ่ง


:b32: อย่าพูดมั่วซิลุงเช่นนั้น รู้ชัดซึ่งกิจ ท่านเรียกว่า ....จิตตะในอิทธิบาท

ส่วนปัญญาก็คือ ลักษณะของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของธรรม
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นเอง :b13:

tongue
:b1:
ปัญญามีหลายระดับ ขณะนี้ที่กำลังมีจริงๆคือ ยังไม่ประจักษ์ความจริง ของการเกิดดับแต่ละ1ขณะจิต
ปัญญาแรกคือเข้าใจว่าคำสอนตรงความจริงแน่ๆ แต่ใจเรายังไม่รู้ตามเป็นจริง เพียงฟังให้เริ่มเข้าใจก่อน
ว่าธรรมเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะเกิด-ดับสั้นแสนสั้นกระพริบตา1ครั้งยังนับไม่ทันเลยทั้ง6โลก
โฮฮับก็ยังไม่รู้ความจริง ทุกคนนั่นแหละยังไม่รู้ความจริงของจิตแต่ละ1ขณะที่กำลังเกิดดับของจิตตนเอง
จึงต้องฟังให้มากเพื่อจะได้เข้าใจและมีความเห็นตรงความเห็นถูกต้องตามเป็นจริงว่าทุกอย่างเป็นธัมมะ
มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นธรรมดา แต่เราไม่รู้เพราะเรามีอุปาทานขันธ์ ยึดมั่นในกายและใจที่มีนี้
:b16:
คำว่าไม่ใช่เรา คือความจริงที่สภาพธรรมที่มีการเกิด-ดับนั้น เป็นการปรากฏของสิ่งที่มีจริงแต่ละ1อย่าง
ได้แก่ การปรากฏของธาตุต่างๆ ทั้งรูปธาตุ และนามธาตุ หลากหลายมาก เป็นจิตแต่ละดวงต่างเดินทาง
คือจิตท่องเที่ยวผ่านตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นโลกของความคิด 2 อย่างคือคิดดีกับคิดไม่ดีที่หลงผิด
ว่ามีสัตว์ บุคคล ตัวตน วัตถุ สิ่งของต่างๆมากมายเต็มโลกเต็มสงสารไปหมด นั่นแค่ภาพมายาลวงจิต
ให้หลงผิด คิดว่าเป็นจริงเป็นจัง ไม่สามารถละคลายความยึดมั่นถือมั่นลงได้ หากไม่ได้ยินคำสอนเลย
:b13:
วิญญาณก็คือจิต เอาง่ายเลย ก็คือความรู้สึกนึกคิดนั่นแหละคือจิต
เวทนาคือสุข-ทุกข์-เฉยๆ ก็คือแค่รู้อยู่ว่ามีความรู้สึกแบบไหนใน3แบบนั่น
สัญญาคือจำ มี2อย่างคือจำได้กับจำไม่ได้ เป็นปกติที่มีการจำทุกสิ่งที่ปรากฏ
สังขารคือการปรุงแต่งไปตามการรับรู้ที่จำไว้แล้วตามเวทนาและสัญญาเดิมสังขารก็ปรุงต่อ
เมื่อปรุงเสร็จเรียบร้อยก็คือเก็บสะสมเป็นจิตขณะใหม่ทั้งหมดแต่ละ1ขณะนั้นไม่มีจิตขณะเก่าเลย
:b11:
จึงเรียกว่า จิต+เจตสิก+รูป มีการเกิดดับสืบต่อทีละ 1ขณะไม่ขาดสาย จะเข้าใจได้ต้องค่อยๆศึกษา
ไม่ใช่อ่านเรื่องราวแล้วก็จำเรื่องราวต่างๆไป แต่ไม่เข้าใจความจริงของธัมมะทีละ1ขณะจิตที่จิตตนสะสม
ทั้งหมดที่แต่ละคนต่างสะสมน่ะเกิดขึ้นมีชั่วคราวให้รู้ความจริงได้ตอนที่กำลังมีสิ่งที่ตั้งอยู่ชั่วคราวให้รู้ได้
สติไม่สามารถรู้สิ่งที่มีตอนเกิดและตอนดับได้ แต่สติสามารถรู้สิ่งที่กำลังมีที่ปรากฏว่ามีจริงๆเท่านั้นน๊า
อย่างอื่นเทียบได้ว่าไม่มีเพราะเป็นนิมิตที่ปรากฏที่เกิดดับสืบจิตหลายขณะต่อเนื่องเสมือนไม่มีการดับเลย
:b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2016, 13:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
มีใครพอบอกลักษณะ หรือ ความหมายคำว่าปัญญาได้บ้างขอรับ :b1: :b10:

เห็นศาสดาโฮฮับ ว่าว่า
อ้างคำพูด:
โฮฮับ
ปล. ปัญญาคือลักษณะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา(ไตรลักษณ์) นี้คือเครื่องมือปล่อยวางธรรม




ดูมันทะแม่งๆชอบกล ปัญญาคือลักษณะอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คิกๆๆ

rolleyes
จิตเกิดดับทีละ1ขณะค่ะที่เป็นลักษณะของธรรมที่ตั้งอยู่ชั่วคราวสั้นๆเป็นลักษณะอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
อกุศลจิต=จิต+อกุศลเจตสิก+รูป=อกุศลกรรม แต่ละ1ขณะจิตที่สะสมแต่เกิดบ่อยๆซ้ำๆในแต่ละวันค่ะ
กุศลจิต=จิต+โสภณเจตสิก+รูป=กุศลกรรม แต่ละ1ขณะจิตที่สะสมแต่ละวันกุศลเกิดน้อยกว่าอกุศลน๊า
จิต+(โสภณเจตสิกต่างๆเช่นปัญญา+สติ+สมาธิ+อหิริกะ+อโนตตัปปะ)+รูป=กุศลจิตที่1ขณะมีปัญญา
และสติเจตสิกเป็นโสภณเจตสิกค่ะ จะไม่มีสติไปเกิดร่วมกับอกุศลเจตสิกจึงเป็นอวิชชาเมื่อสะสมอกุศลค่ะ
จิตเป็นวิบากไม่ใช่กุศลอกุศล เจตสิกเป็นกุศล/อกุศลตามการสะสมแต่ละ1ขณะต้องรู้แต่ละ1ที่กายจิตตน
:b13:
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2016, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2010, 23:02
โพสต์: 93

ชื่อเล่น: tongka
อายุ: 36
ที่อยู่: tongka34@gmail,com

 ข้อมูลส่วนตัว


วิญญาณ สติวิญญาณ ปัญญา ปัญญาญาณ ญาณทัศนะ
มันน่าจะมีความแตกต่างกัน จะเหมาว่าเรียกปัญญาทั้งหมดก็คงต้องเถียงกันต่อไป
ที่แปลกก็คือคนนิยมสอนปัญญาพาหลุดพ้น พ้นไปจนไม่คำนึงถึงศรัทธาเลย ปัญญาก็เลยไม่มีอะไรกำกับทำให้เกิดบ้าบอไปจนเป็นโทษ
สถานะของญาณในวิปัสสนาญาณ ๗๓ มันน่าจะมีอะไรที่ต่างจากปัญญาแล้วจึงเรียกว่า วิปัสสนาญาณ
rolleyes rolleyes


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2016, 11:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
มีใครพอบอกลักษณะ หรือ ความหมายคำว่าปัญญาได้บ้างขอรับ :b1: :b10:

วิญญาณ : รู้ตามสภาพสภาวะ
สัญญา : รู้จำเครื่องกำหนดหมาย
เวทนา : รู้สึกเหมือนการรับประทาน
ปัญญา : รู้ชัดซึ่งกิจ กิจมีหลายสิ่ง ปํญญาก็มีหลายสิ่ง



วิญญาน ไม่ใช่รู้ตามสภาพสภาวะ
แต่วิญญาน ทำให้กายใจรู้ถึงการกระทบก็คือ.....รู้อายตนะนั้นเอง

เช่นนั้น เขียน:
สัญญา : รู้จำเครื่องกำหนดหมาย


เลอะเทอะ! สัญญาคือองค์ธรรมที่ทำหน้าที่จำลักษณะผลของธรรมที่มากระทบ...ก็คือหมายรู้ในเวทนา

เช่นนั้น เขียน:
เวทนา : รู้สึกเหมือนการรับประทาน

:b32: เวทนาคือ ลักษณะหลังจากเกิดการกระทบ เช่น เสียงดัง ค่อย ขม หวาน นี้ทำให้เกิดเวทนาทั้งสิ้น

เช่นนั้น เขียน:
ปัญญา : รู้ชัดซึ่งกิจ กิจมีหลายสิ่ง ปํญญาก็มีหลายสิ่ง


:b32: อย่าพูดมั่วซิลุงเช่นนั้น รู้ชัดซึ่งกิจ ท่านเรียกว่า ....จิตตะในอิทธิบาท

ส่วนปัญญาก็คือ ลักษณะของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของธรรม
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นเอง :b13:

tongue
:b1:
ปัญญามีหลายระดับ ขณะนี้ที่กำลังมีจริงๆคือ ยังไม่ประจักษ์ความจริง ของการเกิดดับแต่ละ1ขณะจิต
ปัญญาแรกคือเข้าใจว่าคำสอนตรงความจริงแน่ๆ แต่ใจเรายังไม่รู้ตามเป็นจริง เพียงฟังให้เริ่มเข้าใจก่อน
ว่าธรรมเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะเกิด-ดับสั้นแสนสั้นกระพริบตา1ครั้งยังนับไม่ทันเลยทั้ง6โลก
โฮฮับก็ยังไม่รู้ความจริง ทุกคนนั่นแหละยังไม่รู้ความจริงของจิตแต่ละ1ขณะที่กำลังเกิดดับของจิตตนเอง
จึงต้องฟังให้มากเพื่อจะได้เข้าใจและมีความเห็นตรงความเห็นถูกต้องตามเป็นจริงว่าทุกอย่างเป็นธัมมะ
มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นธรรมดา แต่เราไม่รู้เพราะเรามีอุปาทานขันธ์ ยึดมั่นในกายและใจที่มีนี้
:b16:
คำว่าไม่ใช่เรา คือความจริงที่สภาพธรรมที่มีการเกิด-ดับนั้น เป็นการปรากฏของสิ่งที่มีจริงแต่ละ1อย่าง
ได้แก่ การปรากฏของธาตุต่างๆ ทั้งรูปธาตุ และนามธาตุ หลากหลายมาก เป็นจิตแต่ละดวงต่างเดินทาง
คือจิตท่องเที่ยวผ่านตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นโลกของความคิด 2 อย่างคือคิดดีกับคิดไม่ดีที่หลงผิด
ว่ามีสัตว์ บุคคล ตัวตน วัตถุ สิ่งของต่างๆมากมายเต็มโลกเต็มสงสารไปหมด นั่นแค่ภาพมายาลวงจิต
ให้หลงผิด คิดว่าเป็นจริงเป็นจัง ไม่สามารถละคลายความยึดมั่นถือมั่นลงได้ หากไม่ได้ยินคำสอนเลย
:b13:
วิญญาณก็คือจิต เอาง่ายเลย ก็คือความรู้สึกนึกคิดนั่นแหละคือจิต
เวทนาคือสุข-ทุกข์-เฉยๆ ก็คือแค่รู้อยู่ว่ามีความรู้สึกแบบไหนใน3แบบนั่น
สัญญาคือจำ มี2อย่างคือจำได้กับจำไม่ได้ เป็นปกติที่มีการจำทุกสิ่งที่ปรากฏ
สังขารคือการปรุงแต่งไปตามการรับรู้ที่จำไว้แล้วตามเวทนาและสัญญาเดิมสังขารก็ปรุงต่อ
เมื่อปรุงเสร็จเรียบร้อยก็คือเก็บสะสมเป็นจิตขณะใหม่ทั้งหมดแต่ละ1ขณะนั้นไม่มีจิตขณะเก่าเลย
:b11:
จึงเรียกว่า จิต+เจตสิก+รูป มีการเกิดดับสืบต่อทีละ 1ขณะไม่ขาดสาย จะเข้าใจได้ต้องค่อยๆศึกษา
ไม่ใช่อ่านเรื่องราวแล้วก็จำเรื่องราวต่างๆไป แต่ไม่เข้าใจความจริงของธัมมะทีละ1ขณะจิตที่จิตตนสะสม
ทั้งหมดที่แต่ละคนต่างสะสมน่ะเกิดขึ้นมีชั่วคราวให้รู้ความจริงได้ตอนที่กำลังมีสิ่งที่ตั้งอยู่ชั่วคราวให้รู้ได้
สติไม่สามารถรู้สิ่งที่มีตอนเกิดและตอนดับได้ แต่สติสามารถรู้สิ่งที่กำลังมีที่ปรากฏว่ามีจริงๆเท่านั้นน๊า
อย่างอื่นเทียบได้ว่าไม่มีเพราะเป็นนิมิตที่ปรากฏที่เกิดดับสืบจิตหลายขณะต่อเนื่องเสมือนไม่มีการดับเลย
:b17: :b17:

Onion_L
ดูความเลอะเทอะในการอธิบายธรรมสิคะท่าน ไม่เห็นจะมีสาระธรรมที่แสดงว่ามีปัญญาสักกะนิดนึงอ่ะ
อ้างคำพูด:
เลอะเทอะ! สัญญาคือองค์ธรรมที่ทำหน้าที่จำลักษณะผลของธรรมที่มากระทบ...ก็คือหมายรู้ในเวทนา

:b32:
เคยได้ยินเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม
โฮฮับเห็นสัญญาในเวทนาอย่างนั้นน่ะหรือ สัญญาก็คือสัญญาไม่ใช่เหรอ หุหุหุ
โฮฮับสัญญาน่ะจำทุกอย่างนั้นแหละ แต่สัญญาไม่จำว่าทุกอย่างเป็นธัมมะ 555555555
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2016, 12:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูๆแล้วนึกขำ นึกถึงครูสมพรสอนลิง

https://www.youtube.com/watch?v=EuahTyASqcM

พวกเราเอาแต่พูดๆ วาดภาพสิ่งที่มองไม่เห็น (นามธรรม) ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ น่าจะเป็นยังงั้น น่าจะเป็นยังงี้ บางทีก็นึกถึงคนสติไม่ดี ขออภัยถ้าพูดตรงเกินไป :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2016, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอร่วมวาดภาพด้วย แต่วาดจากหลักฐานทางคัมภีร์ศาสนานะ


สัญญา วิญญาณ ปัญญา เป็นเรื่องของความรู้ทั้ง ๓ อย่าง แต่เป็นองค์ธรรมต่างข้อกัน และอยู่คนละขันธ์

สัญญาเป็นขันธ์หนึ่ง

วิญญาณเป็นขันธ์หนึ่ง

ปัญญาอยู่ในสังขารก็อีกขันธ์หนึ่ง


ปัญญา * แปลกันว่า ความรอบรู้ เติมเข้าอีกว่า ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริงหรือรู้ตรงตามความเป็นจริง ท่านอธิบายขยายความกันออกไปต่างๆ เช่นว่า รู้เหตุรู้ผล รู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด รู้ควรไม่ควร รู้คุณรู้โทษ รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ รู้เท่าทันสังขาร รู้องค์ประกอบ รู้เหตุปัจจัย รู้ที่ไปที่มา รู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย รู้ตามความเป็นจริง รู้ถ่องแท้ เข้าใจถ่องแท้ รู้เข้าใจสภาวะ รู้คิด รู้พินิจพิจารณา รู้วินิจฉัย รู้ที่จะจัดแจงจัดการหรือดำเนินการอย่างไรๆ


แปลกันอย่างง่ายๆ พื้นๆ ปัญญา คือความเข้าใจ (หมายถึงเข้าใจถูก เข้าใจชัด หรือเข้าใจถ่องแท้) เป็นการมองทะลุสภาวะ หรือมองทะลุปัญหา

ปัญญาช่วยเสริมสัญญาและวิญญาณ ช่วยขยายขอบเขตของวิญญาณให้กว้างขวางออกไปและลึกซึ้งยิ่งขึ้น ส่องทางให้สัญญามีสิ่งกำหนดหมายรวมเก็บได้มากขึ้น

เพราะเมื่อเข้าใจเพียงใด ก็รับรู้และกำหนดหมายในวิสัยแห่งความเข้าใจเพียงนั้น

เหมือนคิดโจทย์เลขคณิตข้อหนึ่ง เมื่อยังคิดไม่ออก ก็ไม่มีอะไรให้รับรู้และกำหนดหมายต่อไปได้ ต่อเมื่อเข้าใจ คิดแก้ปัญหาได้แล้ว ก็มีเรื่องให้รับรู้ และกำหนดหมายต่อไปอีก


ปัญญา ตรงข้ามกับโมหะ ซึ่งแปลว่าความหลง ความไม่รู้ ความเข้าใจผิด
สัญญาและวิญญาณหาตรงข้ามกับโมหะไม่ อาจกลายเป็นเหยื่อของโมหะไปด้วยซ้ำ เพราะเมื่อหลง เข้าใจผิดไปอย่างใดก็รับรู้และกำหนดหมายเอาไว้ผิดๆอย่างนั้น
ปัญญาช่วยแก้ไขให้วิญญาณและสัญญาเดินถูกทาง


สัญญา และ วิญญาณ อาศัยอารมณ์ที่ปรากฏอยู่จึงทำงานไปได้ สร้างภาพเห็นภาพขึ้นไปจากอารมณ์นั้น

แต่ปัญญาเป็นฝ่ายจำนงต่ออารมณ์ ริเริ่มกระทำต่ออารมณ์ (เพราะอยู่ในหมวดสังขาร) เชื่อมโยงอารมณ์นั้น กับ อารมณ์นี้ กับ อารมณ์โน้นบ้าง พิเคราะห์ส่วนนั้นกับส่วนนี้กับส่วนโน้นของอารมณ์บ้าง เอาสัญญาอย่างโน้นอย่างนี้มาเชื่อมโยงกันหรือพิเคราะห์ออกไปบ้าง มองเห็นเหตุ เห็นผล เห็นความสัมพันธ์ ตลอดถึงว่าจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
หาเรื่องมาให้วิญญาณ และสัญญารับรู้ และกำหนดหมายเอาไว้อีก


พระสารีบุตร เคยตอบคำถามเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างวิญญาณกับปัญญาว่า คนมีปัญญา รู้ (= รู้ชัด, เข้าใจ) ว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์

ส่วนวิญญาณ รู้ (= รู้แยกต่าง) ว่าเป็นสุข รู้ว่าเป็นทุกข์ รู้ว่าไม่ใช่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์

แต่

ปัญญาและวิญญาณนั้น ก็เป็นองค์ธรรมที่ปนเคล้าหรือระคนกันอยู่ ไม่อาจแยกออกบัญญัติข้อแตกต่างกันได้

กระนั้นก็ตาม ความแตกต่างก็มีอยู่ในแง่ที่ว่า ปัญญาเป็นภาเวตัพพธรรม คือ เป็นสิ่งที่ควรฝึกอบรมทำให้เจริญขึ้น ให้เพิ่มพูนแก่กล้าขึ้น

ส่วนวิญญาณเป็นปริญไญยธรรม คือ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้หรือทำความรู้จักให้เข้าใจ รู้เท่าทันสภาวะและลักษณะของมันตามความเป็นจริง * (* ม.มู.๑๒/๔๙๔/๕๓๖)




ในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา เช่น วิสุทธิมัคค์เป็นต้น อธิบายความแตกต่างระหว่างสัญญา วิญญาณ และปัญญาไว้ว่า สัญญาเพียงรู้จักอารมณ์ว่า เขียว เหลือง เป็นต้น (คือรู้อาการของอารมณ์) ไม่อาจให้ถึงความเข้าใจลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้

วิญญาณรู้อารมณ์ว่า เขียว เหลือง เป็นต้น ได้ด้วย ทำให้ถึงความเข้าใจลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ด้วย (คือเข้าใจตามที่ปัญญาบอก) แต่ไม่อาจส่งให้ถึงความปรากฏแห่งมรรค (คือ ให้ตรัสรู้อริยสัจไม่ได้)

ส่วนปัญญาทั้งรู้อารมณ์ ทั้งให้ถึงความเข้าใจลักษณะ และทั้งส่งให้ถึงความปรากฏขึ้นแห่งมรรค


ท่านอุปมาเหมือนคน ๓ คน มองดูเหรียญกษาปณ์

สัญญาเปรียบ เหมือนเด็กยังไม่เดียงสา มองดูเหรียญแล้วรู้แต่รูปร่าง ยาว สั้น เหลี่ยม กลม สี และลวดลายแปลกๆ สวยงามของเหรียญนั้น ไม่รู้ว่าเป็นของที่เขาตกลงกัน ใช้เป็นสื่อการแลกเปลี่ยนซื้อขาย

วิญญาณเปรียบเหมือนชาวบ้านเห็นเหรียญแล้วรู้ทั้งรูปร่างลวดลาย และรู้ว่าใช้เป็นสื่อการซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ แต่ไม่รู้ซึ้งลงไปว่า เหรียญนี้แท้ เหรียญนี้ปลอม มีโลหะอะไรผสมกี่ส่วน

ปัญญาเปรียบ เหมือนเหรัญญิก ซึ่งรู้ทุกแง่ที่กล่าวมาแล้ว และรู้ชำนาญจนกระทั่งว่า จะมองดูก็รู้ ฟังเสียงเคาะก็รู้ ดม ชิม หรือเอามือชั่งดูก็รู้ รู้ตลอดไปถึงว่า เหรียญนี้ทำที่นั้นๆ ผู้ชำนาญคนนั้นๆทำ


อนึ่ง ปัญญาไม่ได้เกิดขึ้นเสมอไป บางที มีแต่สัญญาและวิญญาณ หาได้มีปัญญาด้วยไม่
แต่คราวใดมีปัญญาเกิดร่วมด้วย กับ สัญญา และวิญญาณ คราวนั้นก็ยากที่จะแยกให้เห็นความแตกต่างจากกันและกัน


เมื่อชาลีและกัณหา เดินถอยหลังลงไปซ่อนตัวในสระน้ำ ด้วยเข้าใจว่า ผู้ตามหาเห็นรอยเท้าแล้วจะเข้าใจว่า เธอทั้งสองขึ้นมาแล้วจากสระน้ำ ความคิดที่ทำเช่นนั้น ก็เรียกว่า เป็นปัญญา

ต่อมา เมื่อพระเวสสันดรทอดพระเนตรเห็นรอยเท้าของลูกทั้งสองแล้ว ก็รู้ทันทีว่าลูกทั้งสองเดินถอยหลังไปซ่อนอยู่ในสระน้ำ เพราะมีแต่รอยเท้าเดินขึ้นอย่างเดียว ไม่มีรอยลง อีกทั้งรอยนั้นก็กดหนักทางส้นเท้า ความรู้เท่าทันนี้ ก็เรียกว่าเป็นปัญญา

ในกรณีนี้ จะเห็นได้ว่า ปัญญามีความรอบคอบ และลึกซึ้งกว่ากัน ซึ่งเกี่ยวพันไปถึงการที่ปัญญาใช้ประโยชน์จากสัญญาด้วย


การที่เจ้าชายสิทธัตถะ ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย แล้วคำนึงเห็นความทุกข์ที่มวลมนุษย์ต้องประสบทั่วสากล
และ
เข้าใจถึงภาวะที่สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงแท้ ล้วนเกิดขึ้นแล้วปรวนแปรและสิ้นสุดด้วยแตกดับ ควรระงับความทุกข์อันเนื่องมาจากสาเหตุนั้นเสีย ความเข้าใจนั้นก็เรียกว่าเป็นปัญญา

เมื่อพระพุทธเจ้าจะประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ ได้เสด็จไปโปรดพวกกัสสปชฎิล ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวมคธ ให้เลื่อมใส ยอมรับคำสอนของพระองค์ก่อน
พระปรีชาอันให้ดำริที่จะกระทำเช่นนั้นก็เรียกว่าเป็นปัญญา


ปัญญาเป็นคำกลาง สำหรับความรู้ประเภทที่กล่าวแล้ว และปัญญานั้นมีหลายขั้นหลายระดับ เช่น แบ่งเป็นโลกียปัญญา โลกุตรปัญญา เป็นต้น

มีคำศัพท์หลายคำ ที่ใช้ในความหมายจำเพาะ หมายถึง
ปัญญาในขั้นใดขั้นหนึ่ง
ระดับใดระดับหนึ่ง
แง่ใดแง่หนึ่ง หรือเนื่องด้วยกิจเฉพาะ
คุณสมบัติเฉพาะ หรือประโยชน์เฉพาะบางอย่าง เช่น วิปัสสนา สัมปชัญญะ ญาณ วิชชา ปริญญา อภิญญา ปฏิสัมภิทา เป็นต้น

………….

ที่อ้างอิง *

* ปัญญา มักแปลกันว่า wisdom หรือ understanding

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2016, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ดูๆแล้วนึกขำ นึกถึงครูสมพรสอนลิง

https://www.youtube.com/watch?v=EuahTyASqcM

พวกเราเอาแต่พูดๆ วาดภาพสิ่งที่มองไม่เห็น (นามธรรม) ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ น่าจะเป็นยังงั้น น่าจะเป็นยังงี้ บางทีก็นึกถึงคนสติไม่ดี ขออภัยถ้าพูดตรงเกินไป :b32:

:b32: :b32: :b32: กรัชกายเป็นครู :b32: :b32: :b32: โฮฮับจะยอมเป็นศิษย์ไหม :b13:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 68 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร