วันเวลาปัจจุบัน 26 ก.ค. 2025, 15:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2017, 00:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌาน : การเพ่ง
ไม่ว่าจะเรียกว่า เพ่งนามรูป หรือ เพ่งบัญญัติ
ก็ไม่พ้น การเพ่ง โดยความเป็นอารมณ์ของนามรูป
หรือที่ กล่าวว่า เป็น "อารัมมณูปนิชฌาน (เข้าไปเพ่งอารมณ์)"
สมาบัติ ๘ ทั้งหมดพร้อมด้วย อุปจาร เป็น อารัมนณูปนิชฌานทั้งสิ้น

การเพ่งโดย โลกุตตรฌาน หรือมรรค นั้นเป็นการเพ่งตามสภาพความเป็นจริง โดยลักษณะ
เป็นวิปัสสนา เป็นองค์มรรค
กล่าวว่า เป็นการเพ่งโดยลักษณะ หรือเรียกว่า "ลักขณูปนิชฌาน"
เช่นการเพ่งโดยอนิจะลักษณธ ทุกขะลักษณะ อนัตตะลักษณะตามเป็นเป็นจริงของสภาวะธรรม

สรุป ฌาน มีสองอย่างคือ
อารัมนูชนิชฌาน ๑
ลักขณูปนิชฌาน ๑

เรื่องที่ สอง : ธรรมเอกผุดขึ้น
ธรรมเอกผุดขึ้น ถูกใช้ในทุติยฌาน เท่านั้น ธรรมเอกนี้ บาลีใช้คำว่า เอทิโกภาวะ

เจ้าของกระทู้ เขียนดังนี้
อ้างคำพูด:
ลักษณะจิตเป็นสมาธิ หรือสมถะ ที่เป็นสัมาสมาธิ
ที่มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิ

เป็นปัจจัยให้ วิญญาณ/ธาตุรู้ มีเกิดขึ้น
หรือคำที่เรียกว่า ธรรมเอกผุด

เป็นปัจจัยให้ เกิดความรู้ชัดในรายละเอียดต่างๆ
ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน ฌานสมาบัติ นิโรธสมาบัติ


เพื่อความชัดเจน ขอให้สละเวลาอ่านในอรรถกถาครับ
จะขอยกมา ถึง การแสดงเกี่ยวกับ ทุติยฌาน จะได้มีความเข้าใจในเรื่อง "ธรรมเอก"

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2017, 00:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอทิโกภาวะ :
[อรรถาธิบายสัมปสาทนศัพท์]
ศรัทธา (ความเชื่อ) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า สัมปสาทนะ ในบทว่า สมฺปสาทนํ นี้ แม้ฌาน ก็ตรัสเรียกว่า สัมปสาทนะ เพราะประกอบด้วยความผ่องใส เหมือนผ้าสีเขียว เพราะประกอบด้วยสีเขียวฉะนั้น
อีกอย่างหนึ่ง เพราะฌานนั้นย่อมยังใจให้เลื่อมใสด้วยดี เพราะประกอบด้วยศรัทธาที่เป็นเครื่องยังใจให้ผ่องใส (และ) เพราะสงบระงับความกำเริบแห่งวิตกและวิจารเสียได้ เพราะเหตุแม้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สมฺปสาทนํ.
ก็ในอรรถวิกัปนี้ พึงทราบสัมพันธ์เฉพาะบทอย่างนี้ว่า สมฺปสาทนํ เจตโส (เป็นความผ่องใสแห่งใจ). แต่ในอรรถวิกัปต้น พึงประกอบบทว่า เจตโส นั่นเข้ากับ เอโกทิภาวะ.

[อรรถาธิบายเอโกทิภาวศัพท์]
ในบทว่า เอโกทิภาวํ นั้น มีอรรถโยชนาดังต่อไปนี้ :-
สมาธิชื่อว่า เอโกทิ เพราะอรรถว่า เป็นธรรมเอกผุดขึ้น. อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นธรรมที่เลิศ คือธรรมประเสริฐที่สุด ผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารไม่ผุดขึ้น. จริงอยู่ แม้คนที่ประเสริฐที่สุด เขาก็เรียกว่า เป็นเอกในโลก. อีกอย่างหนึ่ง จะกล่าวว่า สมาธิที่เว้นจากวิตกและวิจาร ชื่อว่าเป็นธรรมเอก คือไม่มีสหาย ดังนี้บ้าง ก็ควร. อีกบรรยายหนึ่ง สมาธิ ชื่อว่า อุทิ เพราะอรรถว่า ย่อมยังสัมปยุตธรรมให้ผุดขึ้น. อธิบายว่า ให้ตั้งขึ้น. สมาธินั้น เป็นเอก เพราะอรรถว่า ประเสริฐและผุดขึ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอโกทิ. คำว่า เอโกทิ นั่น เป็นชื่อของสมาธิ.
ทุติยฌานย่อมยังสมาธิที่ชื่อว่า เอโกทิ นี้ ดังกล่าวนี้ให้เกิดคือให้เจริญ. เหตุนั้น ทุติยฌานนี้จึงชื่อว่า เอโกทิภาพ. ก็เพราะสมาธิที่ชื่อว่า เอโกทิ นี้นั้นย่อมมีแก่ใจ หามีแก่สัตว์ แก่ชีวะไม่ ฉะนั้น ทุติยฌานนั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เจตโส เอโกทิภาวํ (เป็นเอโกทิภาพแห่งใจ).
มีคำถามว่า ก็ศรัทธานี้และสมาธิที่มีชื่อว่าเอโกทินี้มีอยู่ในปฐมฌานมิใช่หรือ? เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ทุติยฌานนี้เท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นเครื่องยังใจให้ผ่องใส และว่า เป็นเอโกทิภาพเล่า?
ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป :-
ด้วยว่า ปฐมฌานโน้น ชื่อว่ายังไม่ผ่องใสดี เพราะวิตกและวิจารยังกำเริบได้ ดุจน้ำที่ขุ่นเพราะคลื่นและระลอก ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น แม้เมื่อศรัทธามีอยู่ ก็พึงทราบว่า ปฐมฌานนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสว่า เป็นเครื่องยังใจให้ผ่องใส.
อนึ่ง เพราะความที่ปฐมฌานยังไม่ผ่องใสด้วยดีนั่นแล แม้สมาธิในปฐมฌานนี้ ก็ยังหาเป็นธรรมปรากฏด้วยดีไม่ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ปฐมฌานนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสว่าเป็นเอโกทิภาพบ้าง. ส่วนศรัทธามีกำลังได้โอกาสแล้ว เพราะในฌานนี้ไม่มีเหตุเครื่องกังวลคือวิตกวิจาร แม้สมาธิก็ปรากฏ เพราะกลับได้สหาย คือศรัทธามีกำลัง เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ทุติยฌานนี้เท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้อย่างนี้.
แต่ในคัมภีร์วิภังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพียงเท่านี้นั่นแลว่า ที่ชื่อว่า สัมปสาทนะ นั้นได้แก่ศรัทธา ความเชื่อถือ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ที่ชื่อว่า เจตโส เอโกทิภาวะ นั้น ได้แก่ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ๑- ดังนี้.
ก็อรรถวรรณนานี้รวมกับปาฐะในคัมภีร์วิภังค์นั่น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนั้น ย่อมไม่ผิด คือย่อมเทียบเคียง และเสมอกันได้โดยแท้ ฉันใด บัณฑิตพึงทราบอรรถวรรณนานี้ ฉันนั้น.
ในคำว่า อวิตกฺกํ อวิจารํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
ทุติยฌานชื่อว่า ไม่มีวิตก เพราะอรรถว่า วิตกไม่มีในทุติยฌานนี้ หรือแก่ทุติยฌานนี้ เพราะละวิตกได้ด้วยภาวนา. ทุติยฌาน ชื่อว่าไม่มีวิจารก็โดยนัยนี้แล. แม้ในคัมภีร์วิภังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้แล้วว่า วิตกนี้และวิจารนี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งไปด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุด ปราศไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ด้วยประการ๑- ฉะนี้.
ในอธิการนี้ พระอาจารย์ผู้โจทก์ท้วงว่า ก็เนื้อความนี้สำเร็จแล้วแม้ด้วยบทว่า เพราะสงบระงับวิตกและวิจาร ดังนี้มิใช่หรือ? เมื่อเป็นเช่นนั้นเพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้อีกว่า ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ดังนี้เล่า?
ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป :-
เนื้อความนี้สำเร็จแล้วอย่างนั้น จริงทีเดียว แต่คำว่า เพราะสงบระงับวิตกและวิจารนี้ แสดงอรรถ กล่าวคือความไม่มีวิตกวิจารนั้น. ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วมิใช่หรือว่า ถึงกระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้อย่างนี้ว่า เพราะสงบระงับวิตกและวิจาร เพื่อจะทรงแสดงว่า การบรรลุฌานเป็นต้นอื่นจากปฐมฌาน ย่อมมีได้ เพราะก้าวล่วงองค์ที่หยาบๆ ได้.
อีกอย่างหนึ่ง ทุติยฌานนี้ ชื่อว่า สัมปสาทนะ เพราะสงบวิตกและวิจารเสียได้ หาใช่เพราะเข้าไปสงบความฟุ้งขึ้นแห่งโทษกล่าวคือกิเลสไม่ และทุติยฌานนี้ ชื่อว่า เอโกทิภาพ เพราะสงบวิตกและวิจาร และทุติยฌานนี้ชื่อว่า เอโกทิภาพ เพราะละนิวรณ์เสียได้ ไม่เหมือนอุปจารฌาน และทุติยฌานนี้ ชื่อว่า เอโกทิภาพ เพราะมีองค์ปรากฏไม่เหมือนปฐมฌาน.
เพราะเหตุนั้น คำว่า เพราะสงบวิตกวิจารนี้ ย่อมเป็นคำแสดงถึงเหตุแห่งความที่ทุติยฌานเป็นเครื่องยังใจให้ผ่องใส และเป็นธรรมเอกยังสมาธิให้ผุดขึ้น ดังกล่าวมาแล้วนี้.
อนึ่ง ทุติยฌานนี้ ชื่อว่าไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะสงบวิตกและวิจารเสียได้, ทุติยฌานนี้ชื่ออวิตักกาวิจาร เพราะไม่มีทั้งวิตกและวิจาร หาเหมือนตติยฌานจตุตถฌาน และเหมือนวิญญาณมีจักษุวิญญาณเป็นต้นฉะนั้นไม่ เพราะเหตุนั้น คำว่า เพราะสงบวิตกวิจารนี้ ย่อมเป็นคำแสดงถึงเหตุแห่งความที่ทุติยฌานไม่มีทั้งวิตกไม่มีทั้งวิจาร และหาใช่เป็นคำแสดงเพียงสักว่า ความไม่มีแห่งวิตกและวิจารไม่ ดังกล่าวมาฉะนี้.
แต่คำว่า ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร นี้ ก็เป็นคำแสดงเพียงสักว่า ความไม่มีแห่งวิตกและวิจารเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ตรัสคำต้นแล้ว ก็ควรตรัสคำหลังอีก.
บทว่า สมาธิชํ ความว่า เกิดจากปฐมฌานสมาธิ หรือจากสมาธิที่สัมปยุตกัน. ในพระบาลีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทุติยฌานนี้เท่านั้นว่า เกิดจากสมาธิ เพื่อสรรเสริญทุติยฌานนี้ เพราะถึงแม้ปฐมฌานจะเกิดจากสมาธิที่สัมปยุต แม้ก็จริง, ถึงกระนั้น สมาธินี้เท่านั้น ควรเรียกได้ว่า สมาธิ เพราะเป็นสมาธิที่ไม่หวั่นไหวและผ่องใสอย่างยิ่ง เหตุเว้นจากความกระเพื่อมแห่งวิตกวิจาร.
คำว่า ปีติสุขํ นี้ มีนัยดังกล่าวมาแล้วนั่นเอง.
บทว่า ทุติยํ คือเป็นที่ ๒ โดยลำดับแห่งการคำนวณ. ฌานนี้ชื่อว่า ที่ ๒ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรบรรลุเป็นครั้งที่ ๒ ดังนี้บ้าง.
[ปฐมฌานมีองค์ ๕ ทุติยฌานมีองค์ ๓]
ก็ในคำว่า ฌานํ นี้ พึงทราบว่า ปฐมฌานมีองค์ ๕ เพราะองค์ทั้งหลายมีวิตกเป็นต้น ฉันใด, ทุติยฌานนี้ก็มีองค์ ๔ เพราะองค์ทั้งหลายมีสัมปสาทะเป็นต้น ฉันนั้น.
เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สัมปสาทะ (ความผ่องใส) ปีติ (ความอิ่มใจ) สุข (ความสบายใจ) เอกัคคตาแห่งจิต ชื่อว่า ฌาน๑- อันนั่นเป็นนัยทางอ้อมเท่านั้น. แต่โดยนัยทางตรง ทุติยฌานนั่น เว้นองค์คือสัมปสาทะเสียแล้ว มีเพียงองค์ ๓ เท่านั้น. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีอยู่ในสมัยนั้น เป็นไฉน?๒- คำที่เหลือมีนัยดักล่าวแล้วนั้นแล.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=01&i=1

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 20 มิ.ย. 2017, 00:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2017, 00:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมเอกผุดขึ้น
คือ ตัวสมาธิอันมีศรัทธาสัมปสาทะยังให้ผุดขึ้นแท้เทียว คือให้จิตตั้งมั่นสงบผ่องใส ในทุติยฌาน

เท่านั้นครับ ไม่ต้องไปไกลไหนมาก อยู่ในระดับฌานที่ ต่างจากปฐมฌานด้วยอาการนั้น

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2017, 00:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มรรควิถี : ไม่ต้องคิดนู่นนั่นนี่ให้ยุ่งยาก
ง่ายๆ คือ สมาธิหรือสมถะวิปัสสนา ใจสงบ และใช้ปัญญา

ทำใจให้สงบ แล้วใช้ปัญญา คือ สมถะนำ วิปัสสนามาภายหลัง
ใช้ปัญญา แล้วทำจิตตั้งมั่น คือ วิปัสสนามาก่อน สมถะมาภายหลัง
ใช้ปัญญาด้วยจิตจดจ่ออยู่ไม่วอกแวกเป็นสมาธิด้วย คือ วิปัสสนาและสมถะเคียงคู่กันไป

เพราะเป็นมรรควิถี จึงต้องมีวิปัสสนา ประกบด้วยเสมอ คือ ลักขณูปนิชฌาน

แต่
การได้มาซึ่งองค์ฌาน โยคี หรือผู้ปฏิบัติ อาจจะได้มาด้วย อารัมนูปนิชฌาน
แต่สุดท้ายแล้วการจะเข้าสู่มรรควิถี ก็ต้องทิ้งอารมณ์ เข้าสู่การวิปัสสนาในที่สุด
คือ เข้าสู่ลักขณูปนิชฌานสถานเดียว

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2017, 10:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:

เจ้าของกระทู้ เขียนดังนี้
อ้างคำพูด:
ลักษณะจิตเป็นสมาธิ หรือสมถะ ที่เป็นสัมาสมาธิ
ที่มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิ

เป็นปัจจัยให้ วิญญาณ/ธาตุรู้ มีเกิดขึ้น
หรือคำที่เรียกว่า ธรรมเอกผุด

เป็นปัจจัยให้ เกิดความรู้ชัดในรายละเอียดต่างๆ
ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน ฌานสมาบัติ นิโรธสมาบัติ


เพื่อความชัดเจน ขอให้สละเวลาอ่านในอรรถกถาครับ
จะขอยกมา ถึง การแสดงเกี่ยวกับ ทุติยฌาน จะได้มีความเข้าใจในเรื่อง "ธรรมเอก"






เชื่ออรรถกถาจารย์หรือคะ?


วลัยพรเชื่อพระธรรมคำสอน ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้



โมคคัลลานสังยุตต์

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ขอโอกาส เมื่อเราหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ
ความปริวิตกแห่งใจได้เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ที่เรียกว่า ปฐมฌานๆ ดังนี้
ปฐมฌาน เป็นไฉนหนอ

เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน
อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้เรียกว่า ปฐมฌาน

เราก็สงัด จากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน
อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยกามย่อมฟุ้งซ่าน
ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า
โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทปฐมฌาน จงดำรงจิตไว้ในปฐมฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในปฐมฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในปฐมฌาน


สมัยต่อมา เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน
อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า
สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำนั้นกะเราว่า
สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

ฯลฯ



.....................................



เมื่อเกิดความศรัทธาเชื่อในพระะธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
และปฏิบัติตาม คือ ทำความเพียรอย่างเดียว

ประกอบกับ มีกัลยาณมิตร พระอาจารย์วัดนาค บางปะหัน อยุทธยา
ให้คำแนะนำว่า สภาวะใดเกิดขึ้น รู้ไปตามความเป็นจริง

คือ ดูตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริงของสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ไม่แทรกแซงสภาวะ โดยการนำความเห็นของตนเข้าไปให้ค่าให้ความหมายต่อสภาวะที่มีเกิดขึ้น

จึงไม่เคยนำสภาวะไปเปรียบเทียบว่า เรียกว่าอะไร
หรือนำลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นไปค้นหา



คำเรียก โยนิโสมนสิการนี่ มารู้ทีหลัง
จึงรู้ว่า การทำความเพียรที่ผ่านๆมา ปฏิบัติด้วยโยนิโสมนสิการมาตลอด


นี่คือ ผลของการปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน
โดยใช้หลักโยนิโสมนสิการ แต่ไม่เคยรู้ว่าใช้



"ลักษณะจิตเป็นสมาธิ หรือสมถะ ที่เป็นสัมาสมาธิ
ที่มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิ

เป็นปัจจัยให้ วิญญาณ/ธาตุรู้ มีเกิดขึ้น
หรือคำที่เรียกว่า ธรรมเอกผุด

เป็นปัจจัยให้ เกิดความรู้ชัดในรายละเอียดต่างๆ
ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน ฌานสมาบัติ นิโรธสมาบัติ"


สัมมาสมาธิ แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด

๑. มีบัญญัติเป็นอารมณ์
๒. มีรูปนามเป็นอารมณ์ (แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด)

สัมมาสมาธิ ที่มีรูปนามเป็นอารมณ์
เป็นสมาธิ ที่ไกลจากกิเลสทั้งหลาย คือ ไม่ต้องใช้ความพยาม เพื่อให้จิตตั้งมั่น
ไม่ต้องใช้ความเพียรข่มห้ามกิเลส เหมือนอย่างสมาธิของผู้ที่ยังใช้บัญญัติ เป็นอารมณ์


เพราะถึงด้วยความมีธรรมเอกผุดขึ้น คือ มีวิญญาณธาตุรู้ เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ
จะยืน เดิน นั่ง นอน จิตเป็นสมาธิเนืองๆ

เมื่อมาถึงจุดๆนี้ คำว่า "หลับ" จะไม่มีเกิดขึ้นอีก
มีแต่ พอหลับตาลง พรึ่บ สว่างทันที สักพัก จะรู้สึกวูบลงไป


เมื่อมีสัมมาสมาธิ มีรูปนามเป็นอารมณ์
การเจริญสมถะและวิปัสสนา คู่กันไป
จึงมีเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย



ฌานสูตร

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น

โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรคเป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร
ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น

ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน

เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ฯลฯ






เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นอารมณ์

ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นอารมณ์

เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ ฯ


หมายเหตุ;

นิโรธ ในที่นี้หมายถึง สมถะ ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ละอารมณ์บัญญัติขาดแล้ว มีรูปนามเป็นอารมณ์

ถ้ามีเหตุปัจจัยให้ กำลังสมาธิที่มีอยู่ เสื่อมหายไปหมดสิ้น
เมื่อเริ่มต้นทำสมาธิใหม่ เพื่อให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
จะไม่หวนกลับไปหาอารมณ์บัญญัติอีก






......................................




เช่นนั้น เขียน:
มรรควิถี : ไม่ต้องคิดนู่นนั่นนี่ให้ยุ่งยาก
ง่ายๆ คือ สมาธิหรือสมถะวิปัสสนา ใจสงบ และใช้ปัญญา





คำว่า ยากหรือง่าย เป็นเรื่องของ ความไม่รู้ทันในผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ที่มีเกิดขึ้น


เพราะไม่มีคำว่ายากหรือง่าย
แต่เป็นเรื่องของเหตุและปัจจัยในแต่ละคน





เห็นต่างกัน ไม่เท่าไหร่
เดี๋ยวต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ละการสนทนาไปเอง

แต่ความยึดมั่นถือมั่นสุดโต่ง คนเดียวยังไม่พอ
ยังพยายามยัดเยียดให้คู่สนทนาให้คิดเหมือนๆตน
สนทนาไปก็งั้นๆ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2017, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
เชื่ออรรถกถาจารย์หรือคะ?
ถามเพื่อ ????
ไม่เชื่อ ในคำ จขกท. ว่า
สัมมาสมาธิ เป็นเหตุปัจจัย ให้ วิญญาณ/ธาตุ มีขึ้นเป็นธรรมเอกผุด

.......วิญญาณ/ธาตุ มีขึ้นก่อน หรือ สัมมาสมาธิ มีขึ้นก่อน....?

ไม่มีมรรควิถีใดๆ ที่ปราศจากความเพียร เพื่อให้จิตตั้งมั่น ....มรรคมีองค์ 8 จะเป็นมัคคสมังคีกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว ในการเจริญวิปัสสนา จนกว่าจะบรรลุอรหัตผล

การกล่าวการแสดงว่า "ไม่ต้องใช้ความพยายาม เพื่อให้จิตตั้งมั่น" จึงไม่จริง
เพราะไม่ว่า จะเป็นอารัมณูปนิชฌาน หรือลักขณูปนิชฌาน ต้องมีสัมมาวายามะเสมอครับ

การแสดงว่า ไม่ต้องใช้ความพยายาม จึงเป็นการคิดเองเออเอง ไม่ได้มีโยนิโสมนสิการถึงเหตุปัจจัยให้เกิดสัมมาสมาธิ...........

ดังนั้น แม้ความเข้าใจในเรื่อง โยนิโสมนสิการ ของ จขกท จึงห่างไกลจากความเป็นจริงเช่นกัน
--- ---- ----

การศึกษา โมคคัลานะสังยุตต์นั้น
พระพุทธองค์ตรัสว่า อย่าทำความประมาทในองค์ธรรมแต่ละองค์ฌาน จงกระทำแต่ละองค์ฌานให้เป็นธรรมเอก
ด้วยเหตุว่า องค์ฌานแต่ละองค์ฌาน เมื่อทำเหตุเข้าถึงแล้ว และจิตตั้งอยู่ได้ด้วยองค์ฌานนั้นๆ คืออยู่ในวิหารธรรมนั้น ก็ยังมีความเสื่อมได้
เช่นความเสื่อมปรากฏแก่ปฐมฌาน เมื่อจิตมีมนสิการต่อกามสัญญาปรากฏ
เป็นต้น พระพุทธองค์จึงตรัสแก่พระโมคคัลลานะโดยประการนั้น
เมื่อจิตมีปฐมฌานเป็นธรรมเอก โดยความไม่ประมาทแล้ว ความดำริในกามย่อมละไป ....
เนื้อหาในโมคคัลลานะสังยุตต์ เป็นเช่นนั้นโดยลำดับไปจนแม้ถึง อนิมิตตเจโตสมาธิ

อ่านพระสูตร
อ่านให้หมด คำนึงเหตุคำนึงผลโดยรอบด้าน
จะได้ การพัฒนาความรู้ความเข้าใจจึงมีขึ้นจากการทรงจำเนื้อหาได้ครับ....

การทรงจำ การเข้าใจในเนื้อหา จะมีส่วนอย่างมากในการ พัฒนาความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นในขณะดำเนินจิตตภาวนา
ที่กล่าวว่า โดยไม่แทรกแซง ไม่แทรกแซงด้วยอาการใด...
ต้องเป็นการไม่แทรกแซงด้วยความรู้ที่ถูกต้อง ด้วยปัญญาที่ถูกต้อง
เมื่อออกจากการปฏิบัติจิตตภาวนา ยังต้องทำปัจจเวก
ปัจจเวก คืออะไร คือทบทวน กลับมาใคร่ครวญ ถึงสิ่งที่ได้กระทำ และปรับปรุง แก้ไข เช่นพระโมคคัลลานะไงล่ะ แล้วพยายามกระทำใหม่ให้มีความเจริญในธรรมปฏิบัติต่อไปๆๆๆ เท่านั้นเอง

ความรู้เท่าทันในผัสสะ ก็จะดีๆขึ้นๆ ไม่บื้อๆ ซื่อๆ ตรึกเอาเองตามอาการ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2017, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
หมายเหตุ;

นิโรธ ในที่นี้หมายถึง สมถะ ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ละอารมณ์บัญญัติขาดแล้ว มีรูปนามเป็นอารมณ์

ถ้ามีเหตุปัจจัยให้ กำลังสมาธิที่มีอยู่ เสื่อมหายไปหมดสิ้น
เมื่อเริ่มต้นทำสมาธิใหม่ เพื่อให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
จะไม่หวนกลับไปหาอารมณ์บัญญัติอีก



นิโรธสมาบัติ เป็นอีกคำหนึ่งของสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
ไม่มีรูปนามเป็นอารมณ์ครับ ทำความเข้าใจใหม่นะครับ
เพราะความดับแห่งสัญญา และความดับแห่งเวทนา
เมื่อความดับแห่งสัญญา และเวทนาเป็นไป จิตนั้นคล้ายไม่มีจิต แต่จิตตสังขารที่เกิดเพราะการอธิษฐานยังมีครับ
จิตทรงสภาพรู้เฉยๆ โดยไม่มีสัญญา และเวทนาใดๆ เป็นอารมณ์ครับ เท่านั้นเอง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2017, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
เพราะไม่มีคำว่ายากหรือง่าย
แต่เป็นเรื่องของเหตุและปัจจัยในแต่ละคน





เห็นต่างกัน ไม่เท่าไหร่
เดี๋ยวต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ละการสนทนาไปเอง

แต่ความยึดมั่นถือมั่นสุดโต่ง คนเดียวยังไม่พอ
ยังพยายามยัดเยียดให้คู่สนทนาให้คิดเหมือนๆตน
สนทนาไปก็งั้นๆ

สิ่งที่แสดง
นำเอา อีกมุมมองหนึ่งของอรรถาจารย์มาเปิดเผยให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง
สิ่งที่ จขกท มีประสบการณ์ และประสบการณ์ของอรรถาจารย์ที่ได้บันทึกไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา

ไม่ได้บอกว่า จขกท จงเชื่อจงฟัง หากกล่าวกว่า จขกท จงเชื่อจงฟัง ก็เป็นการยัดเยียดครับ

ความยึดมั่นสุดโต่ง ควรจะเป็นความยึดมั่นสุดโต่งซึ่ง จขกท เองน่าจะเข้าใจรู้ได้ด้วยตัวเองนะครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2017, 14:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ประกอบกับ มีกัลยาณมิตร พระอาจารย์วัดนาค บางปะหัน อยุทธยา
ให้คำแนะนำว่า สภาวะใดเกิดขึ้น รู้ไปตามความเป็นจริง

คือ ดูตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริงของสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ไม่แทรกแซงสภาวะ โดยการนำความเห็นของตนเข้าไปให้ค่าให้ความหมายต่อสภาวะที่มีเกิดขึ้น

จึงไม่เคยนำสภาวะไปเปรียบเทียบว่า เรียกว่าอะไร
หรือนำลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นไปค้นหา



คำเรียก โยนิโสมนสิการนี่ มารู้ทีหลัง
จึงรู้ว่า การทำความเพียรที่ผ่านๆมา ปฏิบัติด้วยโยนิโสมนสิการมาตลอด


พระอาจารย์วัดนาค บางปะหัน อยุธยา แนะนำให้ทำวิปัสสนา
แต่
จขกท ดันนั่ง บื้อ ไม่ใช่ปัญญา ไม่เห็นความแตกต่างระหว่าง ปัญญา กับการพิจารณาสภาวะ

โดยคิดว่า รู้เฉยๆ ก็พอ การเข้าไปรู้เฉยๆ แต่พอปัญญา แสดงให้เห็นความรู้อันเป็นลักษณะต่างๆปรากฏแก่จิต ก็ดันไปบอกว่าเป็นการแทรกแซง อาการนี้ เรียกว่า สัญญาแห่งความดื้อด้านปรากฏครับ

แล้วก็คิดว่ารู้เฉยๆ เป็นวิชชาไป
หากพระพุทธองค์ รู้เฉยๆ เช่นนั้นก็บรรลุธรรมได้ ก็คงไม่ผ่าน วิชชา 3 ในราตรีนั้นได้หรอกครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2017, 08:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ตามพระธรรมคำสอน ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้





ภิกษุ ท. ! รูป ไม่เที่ยง,
สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์,
สิ่งใด เป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา,
สิ่งใด เป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า
“นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม), นั่น ไม่ใช่เรา(เนโสหมสฺมิ), นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) ” ดังนี้;



ภิกษุ ท. ! เวทนา ไม่เที่ยง,
สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์,
สิ่งใด เป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา,
สิ่งใด เป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า
“นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม), นั่นไม่ใช่เรา(เนโสหมสฺมิ), นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) ” ดังนี้;




ภิกษุ ท. ! สัญญา ไม่เที่ยง,
สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์,
สิ่งใด เป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา,
สิ่งใด เป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า
“นั่น ไม่ใช่ของเรา, นั่น ไม่ใช่เรา, นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้;




ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง,
สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์,
สิ่งใด เป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา,
สิ่งใด เป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า
“นั่น ไม่ใช่ของเรา, นั่น ไม่ใช่เรา, นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้;




ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ไม่เที่ยง,
สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์,
สิ่งใด เป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา,
สิ่งใด เป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า
“นั่น ไม่ใช่ของเรา, นั่น ไม่ใช่เรา, นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้ แล.

- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๘/๔๒.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2017, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โยนิโสมนสิการ

ดูตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น กระทำไว้ในใจ



ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
ที่มีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิตและ ขณะจิตเป็นสมาธิ

กระทำไว้ในใจ ไม่สร้างเหตุออกไปตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น




มหาวรรคที่ ๕


พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย
นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน


ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย
นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ...วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน


ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางใจแล้ว
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย
นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ...วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้
อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ



พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย
นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ... อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้
อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ




พ. ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมบรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ
เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น


ดูกรวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้
ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน
ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ

เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลมและแดด
ครั้นผึ่งลมและแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า
โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ

เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้นั้น มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน
ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด

ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมได้บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2017, 11:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๒
โยนิโสมนสิการเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

[๑๔๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่
ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน
เพื่อความเกิดแห่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้
ในใจโดยแยบคาย ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้
ในใจโดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มาก
ซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘.
[๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อม
เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไร
เล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิมีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็น
ที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอัน
กำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำ
ไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค
ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๔
จบ สุริยเปยยาลที่ ๖
-----------------------------------------------------

รวมพระสูตรที่มีในเปยยาลนี้
๑. กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑ ๒. สีลสัมปทาสูตรที่ ๑
๓. ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๑ ๔. อัตตสัมปทาสูตรที่ ๑
๕. ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๑ ๖. อัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๑
๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑ ๘. กัลยาณมิตตสูตรที่ ๒
๙. สีลสัมปทาสูตรที่ ๒ ๑๐. ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๒
๑๑. อัตตสัมปทาสูตรที่ ๒ ๑๒. ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๒
๑๓. อัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๒ ๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๒




อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค มัคคสังยุตต์
สุริยเปยยาลที่ ๖
อรรถกถาสุริยเปยยาลที่ ๖
พึงทราบวินิจฉัยในสุริยเปยยาล.
พึงทราบเนื้อความในที่ทั้งปวงอย่างนี้ว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี ดุจการขึ้นไปแห่งอรุณ อริยมรรคพร้อมกับวิปัสสนาอันดำรงอยู่ เพราะความเป็นผู้มีมิตรดีแล้วทำให้เกิดขึ้น ดุจความปรากฏแห่งพระอาทิตย์.
บทว่า สีลสมฺปทา ได้แก่ จตุปาริสุทธิศีล.
บทว่า ฉนฺทสมฺปทา ได้แก่ กัตตุกามยตาฉันทะอันเป็นกุศล.
บทว่า อตฺตสมฺปทา คือ ความเป็นผู้มีจิตสมบูรณ์แล้ว.
บทว่า ทิฏฺฐิสมฺปทา ได้แก่ ความถึงพร้อมแห่งญาณ.
บทว่า อปฺปมาทสมฺปทา ได้แก่ ความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาทอันเป็นตัวการ.
บทว่า โยนิโสมนสิการสมฺปทา ได้แก่ ความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยอุบาย.
ท่านกล่าวบทว่า กลฺยาณมิตฺตตา เป็นต้นอีก เพื่อแสดงภาวะโดยอาการแม้อื่นแห่งสัมมาทิฏฐิเป็นต้น. พระสูตรเหล่านี้ทั้งหมด ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งอัธยาศัยของบุคคลโดยเฉพาะ.

จบอรรถกถาสุริยเปยยาลที่ ๖
-----------------------------------------------------

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑
๒. สีลสัมปทาสูตรที่ ๑
๓. ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๑
๔. อัตตสัมปทาสูตรที่ ๑
๕. ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๑
๖. อัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๑
๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑
๘. กัลยาณมิตตสูตรที่ ๒
๙. สีลสัมปทาสูตรที่ ๒
๑๐. ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๒
๑๑. อัตตสัมปทาสูตรที่ ๒
๑๒. ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๒
๑๓. อัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๒
๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๒


จะศึกษานัยยะลักษณะจิตที่มีองค์ธรรมแห่งการทำในใจโดยแยบคาย อย่างละเอียด
พึงจะต้องไปศึกษาพระสูตรตามวรรค ... ก็จะเห็นลำดับแห่งการเกิด โยนิโสมนสิการสัมปทา

...ว่าง ๆ จะเอามาลงไล่เรียงกันให้...นะจ๊ะ

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2017, 12:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเอกอน


eragon_joe เขียน:

ก็ยังไม่เข้าใจว่าคุณวลัยพรต้งการสื่ออะไร ที่มีการใช้คำ


สัมมาสมาธิ
วิโมกข์ 8
(อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ )


และ อโยนิโสมนสิการ
(วิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒)

มากำกับแต่ละกล่องข้อความ

:b10: ...





ในวงเล็บ ได้เพิ่มลงไป
เพื่อจะได้รู้ว่า สนทนากันเรื่องใด


ขอบคุณสำหรับคำถามของคุณเอกอน
ที่เป็นปัจจัยให้ ได้ทบทวนสิ่งที่นำมาอธิบาย

จึงเห็นความขาดตกบกพร่อง
อโยนิโสมนสิการ กับ วิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒

เกิดจากการนำเสนอธรรม ที่ไม่ได้เรียงตามลำดับ
และที่นำมานั้น ยังขาดไปอีกส่วนของ

"เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้
เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป
เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว
พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่

ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ"





บุคคลที่สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยตนเอง
หากยังมีความยินดี พอใจ ในสภาพธรรมนั้นๆ
ถึงแม้ เป็นโสดาบัน สกิทาคา อนาคามี ก็ยังต้องเกิด




วิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒
เป็นเรื่องของ อวิชชา สังขาร วิญญาณ
ไม่ใช่อโยนิโสมนสิการ




สนทนามาพอสมควรแล้ว
ขอบคุณทุกๆคน ที่ได้ร่วมสนทนากัน :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 11:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue ขออนุญาตท่านวลัยพรขอร่วมตอบในมรรคอีก ๒ มรรคที่เหลือ ขอร่วมบุญ กุศลด้วยนะคะในการเผยแพร่ธรรมะของพระพุทธองค์ ค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
จากพระสูตรที่อ้างมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าการแสดงการเจริญสมถวิปัสสนาไปด้วยกันนั้น เป็นไปด้วยในขณะแห่งมรรคเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ มีพระนิพพานเป็นโคจร ด้วยอาการ ๑๖ ซึ่งต้องเป็นปัญญาที่เป็น
มรรคฌาน ผลฌาน ขณะละอวิชชาและกิเลสทั้งหมดเป็นสมุทรเฉท ของพระอริยบุคคลอุภโตภาควิมุตบุคคล โดยเฉพาะ
เพราะท่านหลุดพ้นทั้งสองส่วน
ชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกราคะ (สมาธิสัมปยุตด้วยมรรค )
ชื่อว่า ปัญญาวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชา (ปัญญาสัมปยุตด้วยมรรค )

ในมาติกา ก็กล่าวถึงปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสองเป็นมรคญาณ ผลญาณอันเป็นอริยมรรค

ส่วนของการละอวิชชา ไม่มีอาสวะด้วยอวิชชาสวะสิ้นไป การข้ามจากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชาและขันธ์ ด้วยอาการ ๑๖ ร่วมกันนี้ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ มีพระนิพพานเป็นโคจรนั้น โดยสภาวะเมื่อผู้ที่ละอวิชชาได้แล้ว จะรู้ความเป็นอนัตตา ความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ของขันธ์ทั้ง ๕ เพราะละอุปทานขันธ์ ๕ ได้แล้ว กิเลสที่เคยวิปัสสนาออกไปด้วยความยากลำบากก็จะหมดไปพร้อมๆ กับการละอวิชชา การรู้อนัตตา การได้วิชชา ว่าขันธ์ท้ง ๕ นั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่เรา แต่อย่างใด ความรู้ทั้งหมดนี้นั้นจะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ มีนิพพานเป็นโคจร ในช่วงได้วิชชานี้ค่ะ


ส่วนว่าด้วยเป็นธรรมไม่มีนิมิต ด้วยความไม่มีที่ตั้งนั้นกล่าวคือ เป็นสภาวะหลังจากบรรลุโคตรภูฌานในการออกจากนิมิตทั้งปวงได้แล้ว การมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ จะไม่มีนิมิตใดๆ ปรากฏ เพราะเหตุนั้น และด้วยธรรม ๒ คือสมถวิปัสสนาเป็นธรรมคู่กันด้วย อีกทั้งด้วยสภาวะไม่มีที่ตั้ง คือสภาวะในร่างกายจะมีสภาพโล่งกลวงภายในอก ไร้ซึ่งที่ตั้งทั้งปวง เพราะปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ แล้ว จึงไร้ซึ่งที่ตั้งภายในสกลกายนั้น สภาวะที่รู้คือสภาวะสุญญตา สภาวะที่ดับผัสสะ ดับวิญญาณขันธ์(ตัวผู้รู้) ดับอายตนะได้แล้ว การตามดูภายในสกลกายก็จะรู้เพียงลมหายใจเข้าออกที่กระทบหน้าอกอันแสดงให้เห็นถึงการยังมีไออุ่น การมีชีวิตอยู่ การคิดการพิจารณาจะใช้สมองใคร่ครวญแก้ไขไปตามเหตุ ปัจจัยที่มากระทบเท่านั้น
(ตามความคิดเห็นของผู้เขียน
เห็นว่าสภาวะในการดับผัสสะ ดับอายตนะ ดับกิเลสจะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับความต่างของบุคคล ทั้ง ๗ บุคคล)










สภาวะด้วยความว่างเปล่าที่ได้จากมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ มีพระนิพพานเป็นโคจร คือ สภาวะสุญญตา มีพระสูตรแสดงไว้โดยเฉพาะ ขอคัดมาเฉพาะที่รู้เห็นในสภาวะและมีความเข้าใจแล้ว ดังนี้

ยุคนัทธวรรค สุญกถา
“...พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เพราะว่าสูญจากตนและจากสิ่งที่
เนื่องด้วยตน ฉะนั้นเราจึงกล่าวว่าโลกสูญ ดูกรอานนท์ อะไรเล่าสูญจากตน
และสิ่งที่เนื่องด้วยตน ดูกรอานนท์ จักษุสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
รูปสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน จักขุวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
จักขุสัมผัสสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็สูญจากตนและสิ่งที่
เนื่องด้วยตน หูสูญ ฯลฯ เสียงสูญ จมูกสูญ กลิ่นสูญ ลิ้นสูญ รสสูญ
กายสูญ โผฏฐัพพะสูญ ใจสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน ธรรมารมณ์สูญ
จากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน มโนวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัย ก็สูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า
โลกสูญ ฯ…”
“...สิ่งที่สูญสูญเป็นไฉน จักษุสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน
จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา
หูสูญ ฯลฯ จมูกสูญ ลิ้นสูญ กายสูญ ใจสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน
จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา
นี้สิ่งที่สูญสูญ ฯ

“...วิกขัมภนสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะข่มแล้วและ
สูญไป พยาบาทอันความไม่พยาบาทข่มแล้วและสูญไป ถีนมิทธะอันอาโลก
สัญญาข่มแล้วและสูญไป อุทธัจจะอันความไม่ฟุ้งซ่านข่มแล้ว และสูญไป
วิจิกิจฉาอันการกำหนดธรรมข่มแล้วและสูญไป อวิชชาอันญาณข่มแล้วและสูญไป
อรติอันความปราโมทย์ข่มแล้วและสูญไป นิวรณ์อันปฐมฌานข่มแล้วและสูญไป
ฯลฯ กิเลสทั้งปวงอันอรหัตมรรคข่มแล้วและสูญไป นี้วิกขัมภนสูญ ฯ…”
“... สมุจเฉทสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะตัดแล้วและ
สูญไป ... นิวรณ์อันปฐมฌานตัดแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลสทั้งปวงอันอรหัตมรรค
ตัดแล้วและสูญไป นี้สมุจเฉทสูญ ฯ…”
“... ทั้งภายในและภายนอกสูญเป็นไฉน จักษุภายในและรูป
ภายนอก ทั้งสองนั้นสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความ
ยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา หูภายในและเสียง
ภายนอก ฯลฯ จมูกภายในและกลิ่นภายนอก ลิ้นภายในและรสภายนอก
กายภายในและโผฏฐัพพะภายนอก ใจภายในและธรรมารมณ์ภายนอก ทั้งสอง
นั้นสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง
และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ทั้งภายในและภายนอกสูญ ฯ
[๖๔๘] ส่วนเสมอกันสูญเป็นไฉน อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วนเสมอ
กันและสูญไป อายตนะภายนอก ๖ ... หมวดวิญญาณ ๖ ... หมวดผัสสะ ๖
... หมวดเวทนา ๖ ... หมวดสัญญา ๖ ... หมวดเจตนา ๖ เป็นส่วนเสมอกัน
และสูญไป นี้ส่วนเสมอกันสูญ ฯ…”
“... อีกประการหนึ่ง เมื่อสัมปชานบุคคลปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-
*นิพพานธาตุ ความเป็นไปแห่งจักษุนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความเป็นไปแห่งจักษุ
อื่นก็ไม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งหู ฯลฯ ความเป็นไปแห่งจมูก ความเป็นไป
แห่งลิ้น ความเป็นไปแห่งกาย ความเป็นไปแห่งใจนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความ
เป็นไปแห่งใจอื่นก็ไม่เกิดขึ้น นี้ความครอบงำความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคล
สูญมีประโยชน์อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวง ฉะนี้แล ฯ”
จบสุญกถา
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 11:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


4.ใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ย่อมมีอย่างไร ฯ


โอภาสที่เกิดขึ้นในตติยฌาน อันเกิดจากการพิจารณาวิปัสสนาขันธ์ ๕ โดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมเกิดมีขึ้นได้ พระโยคาวจรที่ฉลาดจะต้องนำโอภาสนั้นมาพิจารณาวิปัสสนาอีกด้วยว่า โอภาสนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่เราแต่อย่างใด ด้วยเป็นต้น
ขอนำข้อมูล จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
“วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ หมายถึง อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา เป็นธรรมารมณ์ที่เกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ (ตรุณวิปัสสนา) สภาพน่าชื่นชมแต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนา ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวางไม่ให้ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ อย่าง คือ
• โอภาส หมายถึง แสงสว่าง(ที่ปรากฏเป็นธรรมารมณ์ในใจ)
• ญาณ หมายถึง ความหยั่งรู้
• ปีติ หมายถึง ความอิ่มใจ
• ปัสสัทธิ หมายถึง ความสงบเย็น
• สุข หมายถึง ความสุขสบายใจ
• อธิโมกข์ หมายถึง ความน้อมใจเชื่อ ศรัทธาแก่กล้า ความปลงใจ
• ปัคคาหะ หมายถึง ความเพียรที่พอดี
• อุปัฏฐาน หมายถึง สติแก่กล้า สติชัด
• อุเบกขา หมายถึง ความมีจิตเป็นกลาง
• นิกันติ หมายถึง ความพอใจ ติดใจ
เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนาสามารถยกเอารูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย ขึ้นมาพิจารณาเป็นหมวดๆ ตามแนวไตรลักษณ์ที่ละอย่างๆ จนเริ่มมองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย เกิดเป็นวิปัสสนาญาณอ่อนๆ (หรือตรุณวิปัสสนา เช่น ในช่วงอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ) ในช่วงนี้ก็จะเกิดวิปัสสนูปกิเลสขึ้นมา…”

อุปกิเลสที่เกิดจากการวิปัสสนาเหล่านี้ เช่น แสงสว่าง จะเกิดขึ้นเต็มส่วนหน้าผากเต็มทั้งหมด พอหลับตาปุ๊ปแสงจ้าเกิดขึ้นทันที ครั้งแรกที่เห็นโยคาวจรที่ฉลาดจะต้องพิจารณาวิปัสสนาแสงสว่างนั้นด้วย ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

หลังจากเกิดแสงสว่างในฌานนั้นทำให้ไปรู้ไปเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น เห็นเทวดาและวิมานของท่าน อันเป็นผลจากฌาน
ทำให้หยั่งรู้สิ่งต่างๆ ได้ก็ให้นำ ราหุลสูตร ๒ มาวิปัสสนาเพื่อเมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ ใจของโยคาวจร จึงจะ
ปราศจากอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก
เป็นของก้าวล่วงด้วยดีในส่วนแห่งมานะ สงบแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว ดังนี้

“ ราหุลสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการรู้การเห็นที่ทำให้ปราศจากอหังการมมังการและมานานุสัย
[๒๓๖] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า
เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไรหนอ ใจจึงปราศจากอหังการ มมังการ และมานานุสัย
ในกายที่มีวิญญาณนี้และในสรรพนิมิต ภายนอก เป็นของก้าวล่วงด้วยดี ในส่วนแห่งมานะ
สงบแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว?
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือ
ในที่ใกล้ บุคคลพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเราแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง วิญญาณอย่างใด
อย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด
เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ บุคคลพิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญา
อันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
แล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น. ดูกรราหุล เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล ใจจึงจะ
ปราศจากอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก
เป็นของก้าวล่วงด้วยดีในส่วนแห่งมานะ สงบแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว.”
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php ... agebreak=0


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร