วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 05:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


s006 s006 s006

ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว

ปรากฎว่า ยกตนเทียบเคียง เขียนคัมภีร์ขึ้นมาแข่งกันหลายเล่ม.
เมื่อปรากฎดังนี้แล้ว ข้าพเจ้าจึงเข้าฌาณ 15 ในเวลาเศษหนึ่งส่วนพันวินาที. ปรากฎญาณ 250 ชนิด พร้อมด้วยอิทธิฤทธิ์ สามารถงอกแขนขาใหม่ได้ ประหนึ่งปิตโกโร่ ณ ดาวนาแม็ก. เมื่องอกหัวเป็น 3 หัว 7 มือ 5 ตีน อันเป็นลักษณะของมหาบุรุษแล้ว จึ่งได้ระลึกชาติว่า...

เอาจริงๆ ล่ะ onion onion onion
ลองค้นดูคำว่า โคตรภูญาณ ในพระไตรปิฏก. อ่านยังไงก็ไม่เห็นจะรู้สึกว่า เป็นญาณที่ข้ามจากปุถุชนเป็นอริยะบุคคล.

แม้จะเป็นภาษาที่สับสน แต่ก็พอจะจับใจความได้ว่า.
โคตรภูญาณ คือ ปัญญาในการ ละ สิ่งที่เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งต่างๆ (เขาใช้คำว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอก และ ไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ).

ญาณ 16 เป็นการเรียบเรียงของคัมภีร์อื่น. :b6: :b6: :b6:
น่าจะเป็นพวกตาที่สาม ที่อหังการว่าฉันแน่ ฉันรู้หมดแล้ว. แต่อย่างที่เคยบอก ตาที่สามมองเห็นได้เฉพาะสิ่งที่สะท้อนแสงหรือเปล่งได้เท่านั้น. หมายความว่า ถ้าจิตใดไม่มี ปฏิฆะ หรือจิตใดเข้าถึง สังขารุเปกขาญาณ พวกตาที่สามก็ไม่มีทางรู้ว่า จิตนั้นๆ อยู่ในสถานะใด.
แปลได้อีกทีว่า ตาที่สามอาจเห็นการเกิดขึ้นของเจตสิก ในอริยบุคคลชั้นโสดาบันและสกิทาคามีได้ แต่ถ้าเกินกว่านั้น ก็มั่ว...

จะมีก็แต่ เจโตปริยญาณ เท่านั้น ที่จะรู้วาระจิตของผู้ที่เข้าถึงสังขารุเปกขาญาณได้
ตาที่สาม ไม่ใช่ อภิญญา และถ้าจะนับกันจริงๆ ตาที่สามก็เป็นสมถะฌาณขั้นที่ 3 เท่านั้นเอง

ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 08:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ญาณ 16 เป็นการเรียบเรียงของคัมภีร์อื่น

เป็นเรื่องราว บอกต่อกันมา มีบันทึกไว้ในหนังสือ วิปัสสนาทีปนีฎีกา

เกี่ยวกับพระทางพม่า ท่านเก็บตัวทำวิปัสสนา
มีพระรูปหนึ่ง เป็นผู้บันทึกข้อความที่ท่านถ่ายทอดให้ฟัง

สิ่งที่บอกเล่า คือ สภาวะที่เกิดขึ้น ขณะที่ท่านเก็บตัวปฏิบัติอยู่
กระทั่งวันหนึ่ง ท่านให้พระรูปนั้น ทวนสภาวะที่ท่านบอกให้จดมาทั้งหมด ทวนให้ท่านฟังอีกครั้ง

ก่อนวันมรณะภาพ ท่านได้ประกาศว่า ใครอยากเห็นพระอรหันต์ ให้มาพร้อมเพียงกัน ณ ที่นี้

เมื่อชาวบ้าน และพระมาพร้อมกันทั้งหมด
ท่านอธิษฐานจิต ให้เตโชธาตุเผาท่าน ซึ่งร่างท่านลอยอยู่กลางอากาศ


ส่วนการนำมาเทียบเคียงสภาวะที่เกิดขึ้นนั้น

นำมาจาก วิปัสสนาญาณ ๙ ประการ มีอ้างอิงว่า เป็นพระสารีบุตรเขียนไว้
มีเขียนไว้ในหนังสือ วิปัสสนาทีปนีฎีกา เช่นเดียวกัน

ในอภิธัมมัตถสังคหบาลี ก็มีเขียนไว้ เป็นวิปัสสนาญาณ ๑๐ ประการ

จากวิปัสสนาญาณ ๙ ประการ
ขยายออกมาเป็น วิปัสสนาญาณ ๑๖ ประการ

วิปัสสนาญาณ ๑๖ ประการ เป็นการเขียนรายละเอียด เรื่องราวของสภาวะ
หรือ ลักษณะอาการที่เกิดขึ้นของสภาวะนั้นๆ

ทำให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น และสามารถนำมาปฏิบัติตามได้


เพียงแต่ ผู้ที่ยังไม่ผ่านสภาวะวิปัสสนาญาณ ๑๖ ประการ
เมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้ วิปัสสนาทีปนีฎีกา อาจทำให้หลงสภาวะได้
เกิดจากการ น้อมเอา คิดเอาเอง เหตุปัจจัยจาก อวิชชาที่มีอยู่

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โคตรภูญาณ


ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ปัญญาในการออกไป และ หลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอก เป็นโคตรภูญาณ ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 584&Z=1645


เรื่องราวของ โคตรภูญาณ ก็มีที่มา ที่ไป

จึงเป็นที่มาของ ศิล สมาธิ ปัญญา

ศีลสภาวะนี้ ไม่ได้เป็นศีล ที่เกิดจาก การสมาทาน

เป็นศีลที่ เป็นไปเพื่อสมาธิ
ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน
เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์
เป็นที่ตั้งแห่งปีติ
เป็นที่ตั้งแห่งความระงับ
เป็นที่ตั้งแห่งความสุข
เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ

เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสนะ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

http://www.84000.org/tipitaka/read/byit ... agebreak=1

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


จตุตถฌานกับสังขารุเปกขาญาณ


ชื่อสองชื่อ นอกจากจะแตกต่างกันแล้ว สภาวะที่เกิดขึ้น ก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

ว่าด้วยฌาน

บรรลุ ปฐมฌาน จตุตถฌาน รูปฌาน ๔

[๑๒๗] เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุขเมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น.

เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจารมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้องดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาดจะพึงใส่จุรณ์สีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำ หมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อนจุรณ์สีตัวซึ่งยางซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง

ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่าทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
หน้าที่ ๖๙/๓๘๓ ข้อที่ ๑๒๖

[๑๒๘] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละ ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง.

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกมีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออกด้านใต้ ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆแห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้องฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง

ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
หน้าที่ ๗๐/๓๘๓ ข้อที่ ๑๒๗-๑๒๘


[๑๒๙] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง

ดูกรมหาบพิตรเปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวงหรือดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอด ตลอดเง่า ไม่มีเอกเทศไหนๆแห่งดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ทั่วทุกส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใดภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง

ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.



[๑๓๐] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขเพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง

ดูกรมหาบพิตรนี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
หน้าที่ ๗๑/๓๘๓ ข้อที่ ๑๒๙-๑๓๐

http://kitjawattano.blogspot.com/2013/02/blog-post.html



ว่าด้วยสังขารุเปกขาญาณ

สังขารุเปกขาญาณ มี ๓ ชื่อ

เกิดขึ้นในตอนต้น ชื่อว่า มุญจิตุกัมยตาญาณ

เกิดขึ้นตอนกลาง ชื่อว่า ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ

เกิดขึ้นตอนท้ายที่บรรลุถึงยอด ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ

ในพระบาลี ( ปฏิสัมภิทามรรค ) ท่านกล่าวไว้ ( ดังคำแปลต่อไปนี้ ) ว่า ( ถาม ) ปัญญาในความปรารถนาเพื่อพ้นไป ในการพิจรณาทบทวนและในการตั้งเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณ คืออย่างไร?

( ตอบ ) คือ ปัญญาในความปรารถนาเพื่อพ้นไป ในการพิจรณาทบทวนซึ่งความเกิดขึ้น ( ของสังขาร ) ในการตั้งเฉยอยู่ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ ฯลฯ

ความปรารถนาเพื่อพ้นไป ๑ การพิจรณาทบทวนนั้น ๑ และการตั้งเฉยอยู่ ๑ ชื่อว่า มุญจิตุกัมยตาปฏิสังขาสันติฏฐานา ในพระบาลี ( ดังคำแปลข้างต้น ) นั้น

เมื่อโยคีเบื่อหน่ายด้วยนิพพิทาญาณในตอนต้น ด้วยประการฉนี้แล้ว ก็มีความปรารถนาที่จะสลัดทิ้งซึ่งความเกิดขึ้น ( ของสังขารทั้งหลาย ) เป็นต้น ชื่อว่า มุญจิตุกามตา

การพิจรณาทบทวนพิจรณาในตอนกลาง เพื่อทำอุบายแห่งการพ้นไป ( จากสังขารทั้งหลาย ) ชื่อว่า ปฏิสังขา

การพ้นไป แล้ววางเฉยในตอนสุดท้าย ชื่อว่า สันติฏฐนา

ซึ่งท่านระบุถึงแล้ว กล่าวว่า ” ความเกิดขึ้น เป็นสังขาร พระภิกษุวางเฉยซึ่งสังขารทั้งหลายเหล่านั้น เพราะเหตุนี้จึงชื่อว่า สังขารุเปกขา ” ดังนี้เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ญาณนี้จึงเป็นญาณเดียวกัน

อีกประการหนึ่ง พึงทราบแม้โดยพระบาลีไว้ด้วยว่า ญาณนี้ เป็นญาณเดียวเท่านั้น

ที่จริงท่านก็กล่าวไว้แล้วดังนี้ว่า ” ความปรารถนาเพื่อพ้นไป ๑ การเห็นเนืองๆ ด้วยการพิจรณาทบทวน ๑ และการวางเฉยในสังขาร ๑ “

ธรรม ( คือ ญาณ ) ทั้งหลายเหล่านี้ มีความหมายอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นที่แตกต่าง


จากหนังสือ วิปัสสนาทีปนีฎีกา



ปัญญากับสมาธิ สมาธิกับปัญญา ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สภาวะนั้นๆปัญญาญาณไม่สามารถเกิดขึ้นได้

ปัญญากับสมาธิ

ได้แก่ สภาวะของปัญญาอบรมสมาธิ เป็นเหตุให้เกิดสภาวะของ สัมมาสมาธิ

สมาธิที่มีอยู่โดยปกติที่ทุกๆคนมีติดตัวมานั้น ( ตามเหตุที่ทำมา หรือที่สร้างขึ้นมาใหม่ ) ล้วนเป็นมิจฉาสมาธิ เหตุเนื่องจากไปรู้นอกกายบ้าง(นิมิต) สมาธินิ่งเป็นใบ้บ้าง เรียกว่าขาดความรู้สึกตัวขณะที่จิตเป็นสมาธิ

เมื่อได้มาเจริญสติ ตัวสัมปชัญญะ( ปัญญา ) ย่อมเกิดขึ้น สมาธิที่เกิดขึ้น ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ เป็นเหตุให้ สามารถรู้ชัดอยู่ในกายและจิตได้ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมได้ตลอดขณะที่จิตเป็นสมาธิ



สมาธิกับปัญญา

ได้แก่ สภาวะของสมาธิอบรมปัญญา เหตุจากสมาธิที่ได้รับการอบรมจากตัวปัญญาแล้ว จากมิจฉาสมาธิเป็นสัมมาสมาธิ

เมื่อเป็นสัมมาสมาธิ จิตย่อมตั้งมั่นได้ง่าย สามารถรู้ชัดอยู่ในกายและจิตได้เนืองๆ ปัญญาหรือการเห็นตามความเป็นจริงย่อมเกิดขึ้น

เห็นตามความเป็นจริงมากขึ้นเท่าไหร่ เป็นเหตุให้แค่รู้ แค่ดูมากขึ้น ปัญญาญาณหรือญาณทัสสนะย่อมบังเกิดขึ้น

……………………………………………………..

สมาธิปทฐฐานา มีสมาธิเป็นเหตุใกล้ชิดที่จะทำให้ปัญญาเกิด หมายความว่า
ปัญญาจะเกิดได้ต้องมีสมาธิ คือ ความตั้งใจแน่วแน่ต่ออารมณ์นั้นๆ

เช่น เวลาดูหนังสือ ถ้าใจจดจ่ออยู่กับหนังสือนั้น ไม่วอกแวกไปทางอื่นก็จำได้ง่าย จำได้ดี
นั่นแหละเป็นเหตุให้เรื่องปัญญา เป็นเหตุให้เกิดปัญญา

แม้ในปัญญาขั้นสูง เช่น ภาวนามยปัญญาก็ต้องอาศัยสมาธิเช่นเดียวกัน

มหาสติปัฏฐาน หลวงพ่อโชดก

…………………………………………………………………….

ความแตกต่างของปัญญาอบรมสมาธิและสมาธิอบรมปัญญา คือ

สภาวะปัญญาอบรมสมาธิ เป็นเรื่องของการสร้างสัมปชัญญะให้เกิดขึ้น เปลี่ยนจากมิจฉาสมาธิ เป็นสัมมาสมาธิ

สภาวะสมาธิอบรมปัญญา เป็นเรื่องของการรู้ชัดอยู่ในกายและจิต เป็นเรื่องของกำลังของสมาธิที่เกิดขึ้น ยิ่งตั้งมั่นแนบแน่นได้มากเท่าไหร่ ตัวปัญญาที่เป็นเหตุให้เห็นตามความเป็นจริงย่อมเกิดขึ้นได้ง่ายมากขึ้น

ปัญญาอบรมสมาธิ

ในการเจริญกรรมฐาน ของพระโยคาวจร จิตจะซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ มีรูปารมณ์เป็นต้น ตลอดกาลนาน ไม่ปรารถนาจะขึ้นสู่อารมณ์แห่งกรรมฐานได้ หรือ อารมณ์แห่งสมถะได้ มัวแต่แล่นออกไปนอกทาง

ดังรถที่เขาเทียมด้วยโคโกง แล่นออกนอกเส้นทางฉันนั้น เพราะฉะนั้นบุคคลเลี้ยงโค ปรารถนาจะฝึกลูกโคโกงที่เติบโตขึ้น เพราะได้ดื่มนำนมแม่โคโกง เขาจึงพรากมันจากแม่โค ฝังหลักใหญ่ไว้ข้างหนึ่ง

ล่ามด้วยเชือกที่หลักนั้น ครั้นแล้ว ลูกโคตัวนั้นของเขาดิ้นไปข้างโน้นข้างนี้ เมื่อไม่อาจหนีไปได้ก็จะพิงหมอบอิงหรือนอนอิงหลักนั้นนั่นเอง

แม้ฉันใด แม้ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อประสงค์จะฝึกจิตที่ชั่วร้ายอันเติบโตขึ้น เพราะดื่มรสอารมณ์ มีรูปารมณ์เป็นต้น ในตลอดกาลนาน ก็พึงพรากจากอารมณ์รูปารมณ์เป็นต้น เข้าไปอยู่ป่าหรือโดคนไม้หรือเรือนว่างเปล่า ( สัปปายะ )

แล้วผูกไว้ที่หลัก คือ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ด้วยเชือก คือ สติ เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตของเธอนั้น แม้จะดิ้นรนไปข้างโน้นข้างนี้ เมื่อไม่ได้อารมณ์ที่เคยชิน ก็ไม่อาจตัดเชือก คือ สติหนีไปได้ ก็ย่อมจะหมอบอิงอารมณ์นั้นนั่นเอง ด้วยอำนาจอุปจาระและอัปปนา

ในแง่ของสภาวะ จิตนี้เวลาเริ่มฝึกใหม่ๆ จะฝึกได้ยาก จะซ่านไปอดีตบ้าง อนาคตบ้าง จิตจะส่งออกนอกกายเนืองๆ ยากที่จะทำอารมณ์ให้เป็นหนึ่งได้ ต้องใช้สติ สัมชัญญะ เป็นดังเชือกเหนี่ยวรั้งจิตให้ผูกอยู่กับกาย คือ รู้ชัดอยู่ในกาย



จตุตถฌาน ( สัมมาสมาธิ ) กับสังขารุเปกขาญาณ

ความแตกต่างของทั้งสองสภาวะนี้ เป็นเรื่องของปัญญาอบรมสมาธิและสมาธิอบรมปัญญา

สภาวะของจตุตถฌาน เกิดขึ้นจากปัญญาอบรมสมาธิ

สภาวะของสังขารุเปกขาญาณ เกิดขึ้นจาก สภาวะสมาธิอบรมปัญญา

ความแตกต่างสภาวะอุเบกขาที่เกิดขึ้นในจตุตถฌานและสังขารุเปกขาญาณ

จตุตถฌาน

สภาวะอุเบกขาในจตุตถฌาน ( สัมมาสมาธิ ) เกิดจากสติ สัมปชัญญะและสมาธิทำงานร่วมกัน

ฌาณปรากฏชัดด้วยอุเบกขา

ในภาวนาจิตนั้น ญาณย่อมปรากฏด้วยอำนาจอุเบกขา เหมือนดังที่ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า

โยคีบุคคลย่อมเพ่งดูเฉยซึ่งจิตที่ตนประคองไว้อย่างนั้นเป็นอย่างดี ปัญญินทรีย์ย่อมมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจอุเบกขา ด้วยอำนาจปัญญา

จิตย่อมหลุดพ้นจากกิเลสอันมีอาสวะต่างๆ ด้วยอำนาจอุเบกขา(กดข่มไว้ชั่วคราว)

ปัญญินทรีย์ย่อมมีประมาณยิ่งด้วยอำนาจหลุดพ้น คือ ศรัทธากับปัญญาและวิริยะกับสมาธิ และด้วยอำนาจปัญญา ย่อมมีรสเดียวกัน จึงชื่อว่า ภาวนา

คำว่า เอกตฺตํ ที่แปลว่า ความเป็นหนึ่งของจิต หรือ ความเป็นเอกภาพนั้น หมายเอาจิตที่บรรลุถึงอัปปนาพร้อมทั้งสัมปยุตธรรม จิตที่เป็นอัปปนาแล้ว ย่อมมีอารมณ์อันเดียว จึงเรียกว่า เอกภาพ

สังขารุเปกขาญาณ ความวางเฉยต่อรูปนาม

สภาวะอุเบกขาในสังขารุเปกขาญาณ เกิดจากการเห็นไตรลักษณ์บ่อยๆ เป็นเหตุให้เห็นตามความเป็นจริงของทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้น ย่อมเป็นเหตุให้เกิดความเบื่อหน่าย เกิดเดิมๆซ้ำๆ เห็นแต่ความไม่เที่ยง เป็นเหตุให้ปล่อยวางไปในที่สุด

สังขารุเปกขาญาณ แปลว่า ปัญญาพิจรณาเห็นนามรูปเป็นของน่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นโทษ เกิดความเบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ มีความวางเฉยต่อรูปนาม

สภาวะ คือ เกิดจากการเห็นไตรลักษณ์บ่อยๆ เป็นเหตุให้เห็นโทษของสังขาร เห็นโทษของการเกิด เป็นเหตุให้ เกิดความเบื่อหน่าย

จะเห็นแบบหยาบๆ ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ คือ เห็นไตรลักษณ์ เป็นเหตุให้จิตคลายความยึดมั่นถือมั่นต่อสภาวะที่เกิดขึ้น เห็นเดิมๆซ้ำๆจนจิตเกิดความเบื่อหน่าย เกิดการปล่อยวาง วางเฉยต่อรูปนามไปเอง โดยที่ไม่ต้องเจตนาจะปล่อยวางแต่อย่างใด เกิดเอง เป็นเอง เหตุจากการเห็นไตรลักษณ์บ่อยๆ

อย่างละเอียด เกิดจากการเห็นโทษของสังขาร เห็นโทษของการเกิด จึงเกิดความเบื่อหน่าย

สภาวะสังขารุเปกขาญาณจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีสัมมาสมาธิ ที่มีกำลังของสมาธิที่แนบแน่นมากๆ

สภาวะจตุตถฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีสติ สัมปชัญญะเป็นตัวหลัก

สมาธิที่เกิดขึ้น จะเป็นสัมมาสมาธิได้ ต้องมีกำลังของสติ และสัมปชัญญะเป็นกำลังเกื้อหนุน ( เกิดก่อน ) คือ ต้องมีสัมมาสติก่อน

ปัญญาญาณหรือญาณทัสสนะจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีกำลังของสมาธิเป็นกำลังเกื้อหนุน ( เกิดหลัง ) คือ ต้องมีสัมมาสมาธิก่อน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเด่นเฉพาะ สังขารุเปกขาญาณ

สภาวะทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้น จะมีจุดเด่นเฉพาะตัว สภาวะสังขารุเปกขาญาณ ก็เช่นเดียวกัน

สภาวะ สังขารุเปกขาญาณ นอกจาก เกิดจากการปล่อยวาง โดยตัวสภาวะจิตเองแล้ว

ยังมีอีกสภาวะหนึ่ง ที่เกิดขึ้นเด่นชัด เกิดขึ้นร่วมทุกครั้ง ที่มีสภาวะสังขารุเปกขาญาณเกิด

นั่นคือ ทิสากากะ หมายถึง การเข้าสู่ความดับ ในแต่ละ ขณะจิต


เอวเมว สเจ สงฺขารุเปกฺขาญาณํ สนฺติปทํ นิพฺพานํ สนฺตโต ปสฺสติ
สพฺพํ สงฺขารปฺปวตฺตํ วิสชฺเชตฺวา นิพฺพานเมว ปกฺขนฺทติ โน เจ ปสฺสติ ปุนปฺปุนํ สงํขารารมฺมณเมว หุตฺวา ปวตฺตติ.


สังขารุเปกขาญาณนี้ก็เป็นเช่นนี้ ถ้าจะเห็นพระนิพพานอันเป็นสันติบท
ก็ปล่อยความเป็นไปของรูป,นามสังขารทั้งหมดแล่นตรงเข้าสู่พระนิพพานอย่างเดียว
เช่นเดียวกับนกกาบินหาฝั่งก็บินไปเลยไม่กลับมา

ถ้าไม่เห็นพระนิพพานก็จะกลับมาเอารูป,นามสังขารเป็นอารมณ์อีกหลายครั้ง
เหมือนกาบินไปแล้วไม่เห็นฝั่งก็กลับมาที่เรืออีกฉะนั้น นี้เป็นลักษณะของสังขารุเปกขาญาณชั้นสุดยอด



กล่าวโดยสภาวะ

จิตจะมีสมาธิแรงมาก จิตจะงุบลงไป หลายๆครั้ง

จิตงุบหรือจะเรียกว่า จิตตกภวังค์หรือจิตสัปปะหงกก็ได้
อาการเหมือนกับหัวสัปปะหงก แต่นี่เกิดภายใน เกิดที่จิต
เนื่องจากกำลังของสมาธิแรงมาก



สังขารุเปกขาญาณกับทิสากากะ

ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น คือ จิตรู้ชัดอยู่ในรูปนามได้ดี สติ สัมปชัญญะดี สมาธิมีกำลังแนบแน่นดี จิตเป็นอุเบกขา คือ รู้ชัดอยู่กับรูปนาม กับ เกิดสภาวะดับ สลับไปมาแบบนี้

สภาวะดับ คือ เกิดที่จิต มีอาการเหมือนคนสัปหงก แต่เป็น จิตสัปหงก อาการนี้บางครั้งเกิดแค่ครั้งเดียว บางครั้งเกิดเป็นสิบๆครั้งขึ้นไป ไม่แน่นอน

แต่ละครั้งที่เกิดการดับแต่ละครั้ง จะมีโอภาสเกิดขึ้นสว่างมากๆ แบบไม่มีประมาณ คือ สว่างกว่าปกติในโอภาสที่เกิดโดยทั่วๆไป จะมีสติรู้ตัวตลอดขณะที่เกิดสภาวะนี้ ดับก็รู้ว่าดับ คือตอนที่ดับไปแล้ว จิตจะงุบลงไป แล้วถึงจะรู้ตัว ก่อนงุบจะไม่รู้

อาการที่เกิดขึ้นภายใน ไม่ส่งผลไปที่ภายนอก คือไม่ได้เกิดที่กายภายนอก เช่น หัวสัปหงก ภายนอกนั่งตัวตรงปกติ ไม่มีอาการงูบหรือโงกแต่อย่างใด ขณะที่เกิดสภาวะจิตสัปหงกนี้

สภาวะนี้ไม่ได้เกิดจากความง่วง หรือนิวรณ์ครอบงำแต่อย่างใด แต่เกิดจากกำลังของสมาธิที่มีกำลังมาก

นี่แหละคือสภาวะทิสากากะ ที่ต่อยอดจากสภาวะสังขารุเปกขาญาณ
จะผ่านสภาวะที่เห็นแจ้งจากจิตได้ ต้องผ่านสภาวะสองขั้นตอนนี้เท่านั้น
ขั้นตอนอื่นๆ แค่ข้อปลีกย่อย ไม่ใช่สภาวะหลักที่แท้จริง


นกทิสากกาะ

สภาวะนี้ต่อเนื่องจากสภาวะสังขารุเปกขาญาณ เปรียบเสมือนนกทิสากากะที่นักเดินเรือใช้ในการหาเส้นทางของการเดินเรือ

พายุที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินเรือ คือกิเลสนี่เอง เช่น ถ้าสภาวะกำลังดำเนินอยู่ แล้วเกิดอาการดีใจ หรือสภาวะใดแทรกเข้ามา

สภาวะจะหยุดทำงานทันที กลับไปรู้อยู่กับรูปนามเหมือนเดิม หรือ อีกสาเหตุคือ กำลังของสมาธิไม่มีกำลังมากพอที่จะผ่านสภาวะนี้ไปได้

เหตุฉะนี้พระพุทธองค์จึงทรงตรัสไว้เรื่องสัมมาสมาธิหรือจตุตถฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ ว่าเป็นสมาธิที่เกื้อหนุนในมรรค

เพราะสภาวะนกทิสากา จะใช้กำลังสมาธิมากๆ มากกว่าสภาวะสังขารุเปกขาญาณ



ต่อจากสภาวะยอดสังขารุเปกขาญาณนี้ จะเป็น อนุโลมญาณ ว่าด้วย ความดับ


อนุโลมญาณ (นำมาจากหนังสือ วิปัสสนาทีปนีฎีกา)

สภาวะดับเทียม

การเข้าสู่ความดับ เป็นจุดสุดยอดของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมมัฏฐาน เพราะความดับที่ไม่แท้อาจเกิดขึ้นได้โดยเหตุหลายประการคือ-

๑. ดับด้วย ปิติ

๒. ดับด้วย ปัสสัทธิ

๓. ดับด้วย สมาธิ ( ขาดความรู้สึกตัว )

๔. ดับด้วย ถีนมิทธะ

๕. ดับด้วย อุเปกขา

ทั้ง ๕ ประการนี้เป็นความดับเทียม ใช้ไม่ได้ เป็นการล่อให้หลงเข้าใจผิด ส่วนมากเกิดในอุทยัพพยญาณอย่างอ่อน ๑ ในมุญจิตุกัมยตาญาณ ๑ ในสังขารุเปกขาญาณ ๑ ถ้าเกิดขึ้นในญาณเหล่านี้ พึงตัดสินเลยว่าเป็นของเทียมใช้ไม่ได้

ส่วนความดับที่แท้จริง ที่พึงประสงค์ในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานนี้ ก็คือ ดับโดยมรรค

ขณะที่สังขารุเปกขาญาณถึงความแก่กล้าที่สุด สังขารอารมณ์ซึ่งอ่อนละเอียด มีอาการสม่ำเสมอเป็นธรรมดานั้น ก็จะค่อยๆเร็วขึ้นๆจนถี่มาก

แล้วกลับช้าลงไปเป็นธรรมดาอีก ต่อไปจะมีอาการเร็วขึ้นๆแล้วค่อยๆช้าลงอีก เป็นอยู่อย่างนี้บ่อยๆ โดยเป็นไปตามสภาวะของญาณ อุปมาในเรื่อง ทิสากากะ

.......................................................................

อันนี้ ก็ยังไม่ใช่ จะจบเพียงแค่นี้ ยังมีต่ออีก


.....................................................................

ผลญาณ นำมาจาก หนังสือวิปัสสนาทีปนีฎีกา


ตโต ปรํ เทว ตีณิ ผลจิตฺตานิ ปวตฺติตฺวา นิรุชฺฌนฺติ.

ตโต ปรํ ภวงฺคปาโตว โหติ.

ปุน ภวงฺคํ ปน วิจฺฉินฺทิตฺวา ปจฺจเวกฺขณญาณานิ ปวตฺตนฺติ.

แต่นั้นจิตเป็นผลย่อมเกิด ๒-๓ ครั้ง และภวังค์จิตเกิดอีกวาระหนึ่งตัดกระแสภวังค์ แล้วพิจรณาก็ปรากฏต่อไป

อธิบาย เมื่อมรรคญาณปรากฏขึ้นแล้ว ผลญาณก็ปรากฏตามทันทีไม่มีระหว่างกลางคั่นเลย มีข้อพึงทราบไว้ในที่นี้คือ มรรคญาณจะเป็นมรรคชั้นใดก็ตาม ย่อมปรากฏขึ้นแค่ครั้งเดียวเท่านั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ทำการประหาณกิเลสต่างๆ ตามอำนาจมรรคนั้นๆ เช่น ปฐมมรรคเกิดขึ้น ก็ทำการประหาณกิเลสที่ปฐมมรรคมีอำนาจประหาณได้ เป็นต้น สำหรับในที่นี้ คือ ในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานที่กำลังกล่าวถึงอยู่นี้ มรรคญาณที่ปรากฏนี้ เรียกว่า ปฐมมรรค หรือ โสดาปัตติมรรค ซึ่งทำการประหาณกิเลสได้ ๕ อย่างคือ

สักกายทิฏฐิ ๑

วิจิกิจฉา ๑

สีลลัพพตปรามาส ๑

อปายคมนียกามราคะ ๑

อปายคมนียปฏิฆะ ๒

คำว่า อปายคมนียกามราคะ – ปฏิฆะ นั้น คือ การนำไปสู่อบายภพได้โดยกามราคะและปฏิฆะนั่นเอง

ฉะนั้น ในวิสุทธิมัคคอรรถกถาแสดงไว้ว่า -

สํโยชเนสุ ตาว สกฺกายทิฏฺฐิวิจิกิจฺฉาสีลพฺพตปรามาโส อปายคมนียา จ กามราค-ปฏิฆาติ เอเต ปญฺจ มฺมา ปฐมญาณวชฺฌา.

สังโยชน์ ๑๐ ประการนั้น โสดาปัตติมรรคประหาณสังโยชน์ได้ ๕ อย่างคือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ อปายคมนียกามราคะ ๑ อปายคมนียปฏิฆะ ๑ ดังนี้

โสดาปัตติมรรคทำการประหาณนั้นก็เป็นการประหาณอย่างเด็ดขาด ดุจสายฟ้าที่ผ่าลงบนต้นไม้ตั้งแต่ยอดตลอดถึงรากแก้ว ซึ่งต้นไม้นั้นต้องเฉาตายลงไปทันที จะฟื้นขึ้นมาอีกไม่ได้ มรรคญาณที่ปรากฏก็จะประหาณกิเลสดังกล่าวให้อับเฉาสิ้นไปอย่างเด็ดขาดดุจเดียวกัน ปฐมมรรคที่กล่าวมานี้จะเกิดขึ้นครั้งเดียว ต่อจากนั้นผลญาณคือผลจิตก็เกิดขึ้นเรื่อยๆไป ฉะนั้น การที่โยคีบุคคลเข้าสู่ความดับโดยอำนาจอธิษฐานในภายหลัง จึงเป็นความดับโดยอำนาจแห่งผลจิตนั้น ชื่อว่า ผลสมาบัติ ผลญาณมี ๒ประการตามประเภทของโยคีบุคคลคือ -

๑. สำหรับ มัณฑบุคคล คือ คนที่มีปัญญาไม่แก่กล้า ผลญาณปรากฏ ๒ ครั้งจึงมีภวังค์ แล้วจึงถึงปัญจจเวกขณญาณ ดังคำว่า มณฺฑปุคฺคลสฺส ทฺวิกฺขตฺตุ มณัฑบุคคล

๒. สำหรับ ติกขบุคคล คือ คนที่มีปัญญาแก่กล้า บริกรรมไม่มี ผลญาณปรากฏ ๓ ครั้ง จึงมีภวังค์มาคั่น ต่อจากนั้นจึงถึงปัจจเวกขณญาณ ดังคำว่า ติกฺขปุคฺคลสฺส ติกฺขตฺตตุ ติกขบุคคล

ผลญาณนี้เป็นโลกุตรเช่นเดียวกับมรรคญาณ เพราะมรรคญาณเป็นเหตุจึงเกิดผลญาณขึ้น อารมณ์เป็นนิพพาน ฉะนั้น กิริยาที่เข้าสู่ความดับครั้งแรกนี้ จึงแยกได้ดังนี้

๑. ดังเงียบตอนแรกเป็นโคตรภูญาณ ยังเป็นโลกีย์ แต่อารมณ์เป็นนิพพาน

๒. ดังเงียบตอนกลางเป็นมรรคญาณ เป็นโลกุตระ

๓. ดังเงียบตอนสุดท้ายเป็นผลญาณ เป็นโลกุตระ

ในที่นี้การประหาณมี ๒ อย่างคือ สมุทเฉจปหาน และ ปฏิสัมภนปหาน การประหาณกิเลสในมรรคญาณนั้นเรียกว่า สมุจเฉทปหาน ส่วนในผลญาณ เรียกว่า ปฏิสสัมภนปหาน มีอุปมาเหมือนไฟที่กำลังลุกไหม้ติดฟืนอยู่ บุคคลต้องการจะดับไฟจึงเอาน้ำไปรดที่ฟืนนั้น ไฟก็จะดับไป แต่เมื่อไฟดับแล้ว ยังมีไอเหลืออยู่ ต่อเมื่อเอาน้ำรดอีก ๒ – ๓ ครั้ง จนไอเงียบหายไปนั้น เปรียบเหมือนการประหาณอำนาจของกิเลสโดยผลญาณนั่นเอง ฉะนั้นจึงเรียกว่า ปฏิสสัมภนปหานดังนี้ ผลญาณนี้ จัดเข้าในญาณทัสสนวิสุทธิโดยอนุโลม

................................................................


อันนี้ เป็นเพียงอุปมาอุปมัย ว่าต้องมีลักษณะอาการเกิดเช่นนี้
จะรู้ชัดในคำกล่าวเหล่านี้ได้ ต้องผ่านสภาวะในแต่ละสภาวะ ทุกๆสภาวะมาแล้วทั้งหมด



เมื่อผ่านแล้ว มาอ่านคำอธิบายนี้ จึงจะเข้าใจ


สรุปแล้ว เรื่องวิปัสสนาญาณ ๑๖ ประการ เป็นรายละเอียดของสภาวะที่เกิดขึ้น ในแต่ละคำเรียกของวิปัสสนาญาณ ทั้ง ๑๖

ตำราที่มีอยู่ เป็นการใช้บัญญัติรูปนาม เป็นอารมณ์ ในการกระทำ เพื่อเข้าสู่สภาวะปรมัตถ์
ดูจากรายละเอียดที่เขียนไว้ ว่าต้องกำหนดแบบนี้ๆ ล้วนเป็นการใช้บัญญัติเป็นอารมณ์ทั้งสิ้น
เป็นอุบาย ในการฝึก เพื่อทำให้เกิด วิปัสสนาญาณ

สภาวะปรมัตถ์ จะไม่มีความมีตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้อง
เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เกิดขึ้นเฉพาะในสัมมาสมาธิเท่านั้น




แนวทางการปฏิบัติ

สภาวะที่เกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิ ที่เป็นสัมมสมาธิ กับ สภาวะที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เป็นคนละสภาวะ คนละเหตุปัจจัยกัน(สิ่งที่เกิดขึ้น)

แต่ที่เหมือนกัน คือ นิพพาน ได้แก่ กระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์(มุ่งดับเหตุของการเกิด)

ในการดำเนินชีวิต ตราบใดที่ยังมีกิเลส ต้องฝึกกดข่มอดกลั้น ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

เหตุจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย การกระทำแบบนี้ เป็นการฝึกละตัวตนที่มีอยู่ ยังต้องใช้การน้อมเอาคิดเอาเพื่อหยุด

สภาวะการดับเหตุของการเกิดในปัจจุบัน เป็นการดับเหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน



สภาวะสุญญตา เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ที่เกิดขึ้นเฉพาะในสัมมาสมาธิ(วิปัสสนาญาณ ๑๖)

เป็นการดับเหตุของการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 12:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพาน

สอุปาทิเสสนิพพาน(ดับภพชาติปัจจุบัน) และ อนุปาทิเสสนิพพาน(ดับภพชาติในวัฏฏสงสาร)


ตามตำราที่มีเขียนไว้

[27] นิพพาน 2 (สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว, ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ - Nirvana; Nibbana)

1. สอุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ - Nibbana with the substratum of life remaining)

2. อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่อุปาทิเหลือ - Nibbana without any substratum of life remaining)


หมายเหตุ: ตามคำอธิบายนัยหนึ่งว่า

1. = ดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ( = กิเลสปรินิพพาน - extinction of the defilements)

2. = ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ( = ขันธปรินิพพาน - extinction of the Aggregates)
หรือ

1. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ 5 รับรู้สุขทุกข์อยู่

2. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว

.........................


สอุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง สังโยชน์ ๑๐ ยังมีอยู่ แต่เบาบางลง ตามเหตุปัจจัย
ได้แก่ นิพพานที่นี่เดี๋ยวนี้ คือ การหยุดสร้างเหตุนอกตัว

อนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง สังโยชน์ ๑๐ ถูกทำลายลง เป็นสมุจเฉทประหาน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 03:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ อ่านแล้วได้ความรู้ดีมาก

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 03:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเองก็กำลังสนใจในเรื่องตามดูอาการภายในคืออาการของนามน่าจะตรงกับความหมายมากกว่า ดูจิต เพราะผมยังไม่เข้าใจกับคำว่าดูจิต แต่รู้ว่าสภาวะนามกำลังเกิดดับอยู่ กำหนดตามการเคลื่อนไหวของวิญญาณในขันธ์5เป็น แต่พออ่านแล้วเจอ สภาวะภวังค์ที่คุณwalaipornยกมาอธิบาย รู้สึกว่าสนใจมากเหมือนกับความลึกซึ้งของธรรมนั้นยังมีอีกเยอะมาก

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูจิต

ดูตามความเป็นจริง ของสิ่งที่เกิดขึ้นที่จิต เช่น

เมื่อจิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ เมื่อจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ

เมื่อจิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ เมื่อจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ

เมื่อจิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ เมื่อจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ

จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ เมื่อจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่านฯลฯ


สภาวะที่เกิดขึ้นเหล่านี้ เป็นความปกติของจิต



ดูความสิ้นกิเลส


ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือ
ย่อมปรากฏอยู่ที่ด้ามเครื่องมือของพวกช่างไม้ หรือลูกมือของพวกช่างไม้

แต่เขาก็ไม่มีความรู้ว่า ด้ามเครื่องมือของเรา
วันนี้สึกไปเท่านี้ วานนี้สึกไปเท่านี้
วันอื่น ๆ สึกไปเท่านี้ ๆ คงรู้แต่ว่ามันสึกไป ๆ เท่านั้น,
นี้ฉันใด;

ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุตามประกอบภาวนาอยู่ ก็ไม่รู้อย่างนี้ว่า
วันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้ วานนี้สิ้นไปเท่านี้
วันอื่น ๆ สิ้นไปเท่านี้ ๆ

รู้แต่เพียงว่า สิ้นไป ในเมื่อมันสิ้นไป ๆ เท่านั้น,
ฉันใดก็ฉันนั้น.

สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๒๘/๖๘.


หมายเหตุ:

ที่พระองค์ ทรงตรัสสอนแบบนี้ เพราะเหตุว่า
ตราบใด ที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ อวิชชา ยังไม่ถูกทำลายจนหมดสิ้น

จึงสอนไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น ในสภาวะที่เกิดขึ้น โดยใช้หลัก โยนิโสมนสิการ ได้แก่

ดูตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริง ของสิ่งที่เกิดขึ้น อย่าใส่อะไรๆ ลงไป ในสิ่งที่เกิดขึ้น

เพราะ เมื่อใส่อะไรๆลงไป ในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว
เป็นเหตุให้ สิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี เกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัย

เมื่อไม่ใส่อะไรๆ ลงไปในสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้
สิ่งที่เกิดขึ้น ดับลงเอง ตามเหตุปัจจัย
คือ สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้น ย่อมดับลงไป เป็นธรรมดา



ความลึกซึ้งของสภาวะ เป็นเรื่องที่เรียนแล้ว มีแต่การดับเหตุของการเกิด

เป็นเหตุให้ การสร้างเหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน สั้นลง

เป็นเหตุปัจจัยให้ ภพชาติการเวียว่ายตายเกิด ในวัฏฏสงสารสั้นลง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณน้ำค่ะ ถ้าในขณะที่นั่งสมาธิ พอจิตเริ่มเข้าสู่สมาธิแล้ว
ถ้าจะกำหนดจิตให้รู้ที่อยากรู้ ถ้าปฎิบัติแบบนี้ถูกหรือผิดค่ะ
ถ้าทำได้ ต้องเริ่มแบบไหนก่อนค่ะ :b8: :b41: :b55: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
คุณน้ำค่ะ ถ้าในขณะที่นั่งสมาธิ พอจิตเริ่มเข้าสู่สมาธิแล้ว
ถ้าจะกำหนดจิตให้รู้ที่อยากรู้



กำหนดจิตให้รู้ ที่อยากรู้ เพื่ออะไรหรือคะ?


bbby เขียน:
ถ้าปฎิบัติแบบนี้ถูกหรือผิดค่ะ



ไม่ใช่เรื่องถุกหรือผิด แต่เป็นเรื่องเหตุปัจจัยที่คุณเต้มีอยู่



bbby เขียน:
ถ้าทำได้ ต้องเริ่มแบบไหนก่อนค่ะ


เราเคยคุยเรื่องนี้กันแล้วนี่คะ คุณเต้คงลืมหมดแล้ว ถึงมาถามใหม่

เคยบอกไปแล้วว่า ให้ปรับอินทรีย์ โดยการเดินก่อนนั่ง


คุณเต้ เรื่องที่เห็นโน่นเห็นนี่ รู้โน่นรู้นี่ เป็นเรื่องของกำลังสมาธิ ที่เกิดขึ้น ขณะนั้นๆ
สามารถเกิดได้ทั้งลืมตาและหลับตา คือ เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ไม่ได้เกิดเฉพาะเวลาหลับตาทำสมาธิ

เป็นความปกติของจิต ขณะเป็นสมาธิอยู่


คุณเต้ เรื่องที่เห็นโน่นเห็นนี่ รู้โน่นรู้นี่ เป็นเรื่องของกำลังสมาธิ ที่เกิดขึ้น ขณะนั้นๆ
สามารถเกิดได้ทั้งลืมตาและหลับตา คือ เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ไม่ได้เกิดเฉพาะเวลาหลับตาทำสมาธิ
เป็นความปกติของจิต ขณะเป็นสมาธิอยู่


ยกตัวอย่างให้ฟัง เช่น เห็นคนเดินมา แต่เราไม่เคยรู้จัก หรือเคยพบเจอกับคนนี้มาก่อน

แค่เราเห็นหน้าเขา เราจะรู้เรื่องราวของเขาทั้งหมดเอง ทั้งๆที่ไม่ได้ตั้งใจทำแบบนั้น

หรือบางคน เราไม่เคยรู้เรื่องส่วนตัวของเขามาก่อนเลย
ขณะกำลังพูดคุยกัน แค่เราไปถูกตัวของเขา เรื่องราวต่างๆของเขา เราจะรู้หมด

นี่เป็นเรื่องปกติของจิตเป็นสมาธินะคุณเต้ ไม่ใช่เรื่องวิเศษอะไรเลย

เหตุของอวิชชาที่มีอยู่ คนที่มีสภาวะแบบนี้
จึงหลงนำไปสร้างเหตุของการเกิดภพชาติ ขึ้นมาใหม่เนืองๆ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
bbby เขียน:

ถ้าทำได้ ต้องเริ่มแบบไหนก่อนค่ะ



อ้างคำพูด:
คุณน้ำเขียน

เราเคยคุยเรื่องนี้กันแล้วนี่คะ คุณเต้คงลืมหมดแล้ว ถึงมาถามใหม่

เคยบอกไปแล้วว่า ให้ปรับอินทรีย์ โดยการเดินก่อนนั่ง




ไม่ใช่ค่ะ คือปกติที่ทำอยู่ จะทำแบบนี้ค่ะ พอจิตเริ่มเข้าสู่สมาธิ คำว่าพุทโธหายไป
กายจะเริ่มเบา เหมือนที่ตัวไม่มีกระดูก เราจะกำหนดจิตอยากรู้
พอทำอย่างงี้ทีไร สมาธิจะหลุดค่ะ

หรือกำหนดจิตอยากรู้ ตอนที่บริกรรมพุท-โธอยู่ จิตจะไม่เป็นสมาธิเลย
นั่นเพราะเหตุ จิตมีกิเลสในความอยากรู้
ทีนี้ จะต้องทำอย่างไงค่ะ ที่สมาธิไม่หลุดน่ะค่ะ :b8: :b41: :b55: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 22:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
อ้างคำพูด:
bbby เขียน:

ถ้าทำได้ ต้องเริ่มแบบไหนก่อนค่ะ



อ้างคำพูด:
คุณน้ำเขียน

เราเคยคุยเรื่องนี้กันแล้วนี่คะ คุณเต้คงลืมหมดแล้ว ถึงมาถามใหม่

เคยบอกไปแล้วว่า ให้ปรับอินทรีย์ โดยการเดินก่อนนั่ง




ไม่ใช่ค่ะ คือปกติที่ทำอยู่ จะทำแบบนี้ค่ะ พอจิตเริ่มเข้าสู่สมาธิ คำว่าพุทโธหายไป
กายจะเริ่มเบา เหมือนที่ตัวไม่มีกระดูก เราจะกำหนดจิตอยากรู้
พอทำอย่างงี้ทีไร สมาธิจะหลุดค่ะ

หรือกำหนดจิตอยากรู้ ตอนที่บริกรรมพุท-โธอยู่ จิตจะไม่เป็นสมาธิเลย
นั่นเพราะเหตุ จิตมีกิเลสในความอยากรู้
ทีนี้ จะต้องทำอย่างไงค่ะ ที่สมาธิไม่หลุดน่ะค่ะ :b8: :b41: :b55: :b49:



คุณเต้ ไม่ต้องไปกำหนดจิต เพื่อที่จะอยากรู้อะไรหรอกค่ะ

รู้แบบปกติ จิตเป็นสมาธิก็รู้ จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ เกิดอะไรขึ้น คือ แค่รู้ รู้ไปเป็นปกติ

ส่วนเรื่องการกำหนดเพื่อจะเห็นอะไรน่ะ ไม่ต้องไปอยากเห็นหรอกค่ะ

ถึงเวลา จะมีมาให้เห็นเอง เห็นแบบไม่หวาดไหว เห็นจนเอียน จนไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 07:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
bbby เขียน:
อ้างคำพูด:
bbby เขียน:

ถ้าทำได้ ต้องเริ่มแบบไหนก่อนค่ะ



อ้างคำพูด:
คุณน้ำเขียน

เราเคยคุยเรื่องนี้กันแล้วนี่คะ คุณเต้คงลืมหมดแล้ว ถึงมาถามใหม่

เคยบอกไปแล้วว่า ให้ปรับอินทรีย์ โดยการเดินก่อนนั่ง




ไม่ใช่ค่ะ คือปกติที่ทำอยู่ จะทำแบบนี้ค่ะ พอจิตเริ่มเข้าสู่สมาธิ คำว่าพุทโธหายไป
กายจะเริ่มเบา เหมือนที่ตัวไม่มีกระดูก เราจะกำหนดจิตอยากรู้
พอทำอย่างงี้ทีไร สมาธิจะหลุดค่ะ

หรือกำหนดจิตอยากรู้ ตอนที่บริกรรมพุท-โธอยู่ จิตจะไม่เป็นสมาธิเลย
นั่นเพราะเหตุ จิตมีกิเลสในความอยากรู้
ทีนี้ จะต้องทำอย่างไงค่ะ ที่สมาธิไม่หลุดน่ะค่ะ :b8: :b41: :b55: :b49:



คุณเต้ ไม่ต้องไปกำหนดจิต เพื่อที่จะอยากรู้อะไรหรอกค่ะ

รู้แบบปกติ จิตเป็นสมาธิก็รู้ จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ เกิดอะไรขึ้น คือ แค่รู้ รู้ไปเป็นปกติ

ส่วนเรื่องการกำหนดเพื่อจะเห็นอะไรน่ะ ไม่ต้องไปอยากเห็นหรอกค่ะ

ถึงเวลา จะมีมาให้เห็นเอง เห็นแบบไม่หวาดไหว เห็นจนเอียน จนไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก

เห็นอะไรเหรอเห็นจนเอียน คิดเองป่าว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
แต่....ทำบ่อย ๆ..ซ้ำ ๆ...ไม่ว่าอะไร....ก็ดีหมด....คือ....จะละเอียดลึกซึ้งลงไปเรื่อย ๆ...โดยส่วนตัวคือ...ระวัง...อย่าไปหวังให้เกิดสภาวะแบบเดิม...

เช่น....เคยพิจารณาถึงเรื่องนี้แล้ว...เกิด...ความเบื่อหน่ายในวัฏฏะ....ใคร่จะออกจากวัฏฏะ....พอวันหลัง. .ทำมาถึงตรงนี้ก็คาดว่าจะเจอแบบเดิมอีก.....พอไม่เกิดสภาวะแบบเดิม....ก็พยายามวนกะให้เกิดให้ได้หรือไม่ก็รู้สึกผิดหวังที่มันไม่เกิดอีก

ส่วนตัว..รู้สึกว่า...ไม่ต้องหวัง...หรือ...รอให้เกิดสภาวะอย่างเดิม

ดีไม่ดี....สภาวะที่เกิดแบบเดิมกลายเป็นอุปาทานไปโดยไม่รู้ตัว....

สภาวะ..เป็นอาการของอารมณ์ใจ...มันจะเกิดเพราะการโยนิโสมนสิการ....จับสักกายทิฏฐินั้นแหละ....รู้ความรู้สึกหรือ
อารมณ์ใจ.จะพัฒนาละเอียดขึ้นไปเอง....หรือญาณ1..2..3...4....นั้นแหละ

การทวนซ้ำนั้นดี....และ...ดีมากด้วย...แต่การคาดหวังให้เกิดความรู้สึกแบบเดิม...ไม่ควรคิด

จึงถามคุณซามัวส่า.ซ้ำ...คิดอย่างไรตรงนี้.??.. ขอบคุณครับ
--------------------------------------
โสดาบัน..เลย..โคตรภูญาณไปแล้วไม่ใช่หรอครับ....แล้วกลับมาที่ ญาณ4 อีกหรือครับ?



ขอโทษด้วยค่ะ ที่เพิ่งเห็นว่าคุณกบคุยตอบกลับมา
ดิฉันก็ขอคุยตอบด้วยช้าไปสักนิด ไม่เป็นไรนะคะ เพิ่งสังเกตเห็นค่ะ

พระโสดาบัน จบงานจนถึงญาณ16 คือ ปัจจเวกขณญาณแล้วค่ะ
คือตั้งแต่พระโสดาบันจนถึงพระอนาคามีจะต้องเริ่มที่พลวอุทยัพพยญาณเหมือนกันหมดค่ะ

การภาวนาไปเจอญาณใดญาณหนึ่งนั้นไม่ใช่ว่าคุุณได้ญาณแล้วนะคะ
ต้องเจริญไปเรื่อยๆ จนเต็มรอบ จึงจะได้ญาณค่ะ คือต้องทำไปอย่างนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าค่ะ
จะเชื่อกันหรือไม่ก็ตามนะคะในญาณแรกคือนามรูปปริจเฉทญาณนั้นอย่าเพิ่งใจร้อนนะคะ
ทำแค่ตามดูรูปก่อน ทำไปแค่นี้ซ้ำๆๆ ไปเรื่อยๆๆๆค่ะ

แนะนำให้ฟังค่ะ

http://www.puthakun.org/puthakun/index. ... Itemid=185

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร