วันเวลาปัจจุบัน 01 พ.ย. 2024, 06:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 91 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 16:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

ขออีกหน่อยไม่ได้หรอ เหงาง่ะ :b1:


แหม นิดๆหน่อย ให้ได้พอแก้คันก็พอแล้ว :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
กรัชกาย เขียน:

ขออีกหน่อยไม่ได้หรอ เหงาง่ะ :b1:


แหม นิดๆหน่อย ให้ได้พอแก้คันก็พอแล้ว :b32:


อ้าว...คนหนึ่ง หง๋าวววว.. คนหนึ่ง คานนน :b32: :b32:

แล้วเจ้าของกระทู้ไปไหนล่ะคะ...

แบ่งแยกชั่ว-ดี/ ผลักชั่ว-ยึดดี /แทรกแซงจิต/ปิดกั้นปัญญา VS

ยังไงจานป้อ อยู่พอจะชักนำเข้าประเด็นได้รึเปล่าคะ
หรือ จานป้อไม่ต้อง ชักก็ได้ เดี๋ยว ไบก้อน ขอถามในสิ่งที่ -ก้อน สงสัยเอง
เพราะ ไบก้อน ก็ตะหงิด ๆ กับคำกล่าวประมาณนี้...

เพราะเมื่อเราจะ ดู ยังไงก็ตาม จะ รู้อยู่ หรือจะรู้ยังไงก็เถอะ
แน่นอน เราต้องเห็น ชั่ว - ดี หรือ อกุศล - กุศล โผล่มาในใจ
ชั่ว - ดี ที่เราเห็นนั้น จริง ๆ เราควรมองมันอย่างไรคะ...

เพราะ ตามความเข้าใจของ ไบก้อน คือ ไบก้อน ถูกปลูกฝังให้ พิจารณาให้เห็นทั้งคุณและโทษของทั้งสองสิ่งน่ะค่ะ
คือ ให้ยังจิตให้เป็นกุศล แบบกลาง ๆ คือไม่ให้จิตฟุ้งหลงไปกับธรรมฝ่ายใด จนเข้าไปยึดไว้

เช่นว่า เวลาทำดี ทำบุญ ไบก้อนจะรู้ถึง ใจที่สบาย และคนสรรเสริญ ใจก็สบ๊าย สบาย
ยิ่งเรารู้สึกดี เราก็ยิ่งอยากทำดี ทำบุญ และยิ่งทำ คนก็ยิ่งสรรเสริญ
คือตรงนี้ ถ้าเราเสพ อยู่เป็นประจำอย่างไม่เท่าทัน จะกลายเป็น ติดดี ติดสรรเสริญ รึเปล่าคะ
คือตรงนี้ เวลาเราตามรู้ เราต้องเจอ ทั้ง จิตอันเป็น กุศล และ อกุศล
และ เราควร จัดการกับมันอย่างไรกันแน่

เพราะเท่าที่ผ่าน ๆ มา ไบก้อน พยายามยังจิตให้เป็นกุศล
และกระนั้นก็จะซ้อนการปล่อยวางเข้าไปอีกที.. เพื่อเป็นการปิดงาน
ดักนิสัยการติดดี ไม่ให้มันเจริญงอกงาม หง่ะ...
งง คำถามมั๊ยคะ จานป้อ...
เชิญทุกท่าน...นะคะ ท่านหย๋าม ท่านโอ๊บ ท่านศิรัสพล
ถือว่าช่วยแนะ ไบก้อนหน่อย อยากทบทวนในสิ่งที่ควรน่ะค่ะ จะได้ปรับ...
เพราะ ไบก้อน ศึกษามาอย่างงู ๆ ปลา ๆ จากพระบ้านนอก ซึ่งไกลจากความเจริญ
ท่านก็สอนมาได้เท่านี้ อย่าตำหนิท่านนะคะ เพราะเท่าที่ดูท่านมาตลอด
ท่านก็พยามทำดีที่สุดตามกำลังประสาวัดบ้านนอกแล้ว

:b16: :b16: :b16:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 14 พ.ย. 2009, 18:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




chiang_saen_giant_buddha%20%282%29.jpg
chiang_saen_giant_buddha%20%282%29.jpg [ 127.49 KiB | เปิดดู 3483 ครั้ง ]
เห็นว่าดีก็ทำไปเถอะไบกอนเอ๋ย ทำแล้วจิตใจสบ๊าย สบาย ก็ทำไป

จิตใจมันละเอียดนัก ยากที่จะเข้าใจได้ทะลุปรุโปร่ง ค่อยๆทำค่อยๆฝึกไปเถอะคนดี :b12:


วิธีการใดทำแล้วอกุศลที่ไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญยิ่งขึ้นไป วิธีการนั้น ไม่เหมาะกับเรา

วิธีใดทำแล้วกุศลที่ไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญยิ่งๆขึ้นไป พึงเสพสิ่งนั้นวิธีนั้นแล :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 พ.ย. 2009, 20:01, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เห็นว่าดีก็ทำไปเถอะไบกอนเอ๋ย ทำแล้วจิตใจสบ๊าย สบาย ก็ทำไป

จิตใจมันละเอียดนัก ยากที่จะเข้าใจได้ทะลุปรุโปร่ง ค่อยๆทำค่อยๆฝึกไปเถอะคนดี :b12:


วิธีการใดทำแล้วอกุศลที่ไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญยิ่งขึ้นไป วิธีการนั้น ไม่เหมาะกับเรา

วิธีใดทำแล้วกุศลที่ไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญยิ่งๆขึ้นไป พึงเสพสิ่งนั้นวิธีนั้นแล :b1:




อนุโมทนา ครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
...


ขอสนับสนุนความเห็นของท่านกรัชกายตอบมาครับ คุณเอรากอนทำมาเป็นสิ่งที่ถูกต้องอยู่แล้วครับ ต่อไปขอแนะนำให้ศึกษาพระสูตรเรื่องโพชฌงค์เจ็ดซึ่งเป็นองค์ธรรมสำคัญที่ทำให้เกิดการตรัสรู้อันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าต่อไปนี้เพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้คุณมั่นใจมากยิ่งขึ้น และเข้าใจมากยิ่งขึ้นครับ

พระสูตรนี้ คงจะทำให้ไขข้อข้องใจในประเด็นกระทู้ได้ด้วยครับ จึงเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านโดยเฉพาะท่านตรงประเด็นครับ

*************************

เจริญโพชฌงค์ตามกาล

[๕๖๘] ครั้งนั้น ภิกษุเป็นอันมาก เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาต
ยังพระนครสาวัตถี (ความต่อไปเหมือนปริยายสูตรข้อ ๕๔๗-๕๕๐) พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนี้ ควรเป็นผู้อันเธอทั้งหลายพึงถาม
อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่า
ไหน เป็นกาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน? สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญ
โพชฌงค์เหล่าไหน เป็นกาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน? พวกอัญญเดียร์ถีย์ปริพาชกถูกเธอ
ทั้งหลายถามอย่างนี้แล้ว จักแก้ไม่ได้เลย และจักถึงความอึดอัดอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะเป็นปัญหาที่ถามในฐานะมิใช่วิสัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลก พร้อม
ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะ
ยังจิตให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหาเหล่านี้ เว้นเสียจากตถาคต สาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจาก
ตถาคต หรือจากสาวกของตถาคตนั้น.

[๕๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญปัสสัทธิ
สัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่
หดหู่นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุก
โพลง เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และโรยฝุ่นลงในไฟนั้น บุรุษนั้นจะ
สามารถก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอ?
ภิ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.
พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้นมิใช่กาลเพื่อเจริญ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น.

[๕๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญธัมม-
*วิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือน
บุรุษต้องการจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลง เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่า
และไม่โรยฝุ่นในไฟนั้น บุรุษนั้นสามารถจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอ?
ภิ. ได้ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้นเป็นกาลเพื่อเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น.

[๕๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบ
เหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่า และ
ไม่โรยฝุ่นลงไปในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นสามารถจะดับไฟกองใหญ่ได้หรือหนอ?
ภิ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.
พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นมิใช่กาลเพื่อเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น.

[๕๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบ
เหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และโรยฝุ่น
ลงในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นจะสามารถดับกองไฟกองใหญ่นั้นได้หรือหนอ?
ภิ. ได้ พระเจ้าข้า.
พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นเป็นกาลเพื่อ
เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขา
สัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่ายด้วยธรรม
เหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสติแลว่า มีประโยชน์ในที่ทั้งปวง.

จบ สูตรที่ ๓

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๓๒๗๘ - ๓๓๒๗. หน้าที่ ๑๓๘ - ๑๔๐.


แก้ไขล่าสุดโดย ศิรัสพล เมื่อ 14 พ.ย. 2009, 21:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2009, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ ไบกอน ครับ



ประเด็นที่คุณเสนอ มันยาว และ มีหลายประเด็นอยู่ในนั้น

ขออนุญาตแยกรายละเอียด(วิภัชชพยากรณ์)

จาก

อ้างคำพูด:
เพราะเมื่อเราจะ ดู ยังไงก็ตาม จะ รู้อยู่ หรือจะรู้ยังไงก็เถอะ
แน่นอน เราต้องเห็น ชั่ว - ดี หรือ อกุศล - กุศล โผล่มาในใจ
ชั่ว - ดี ที่เราเห็นนั้น จริง ๆ เราควรมองมันอย่างไรคะ...

เพราะ ตามความเข้าใจของ ไบก้อน คือ ไบก้อน ถูกปลูกฝังให้ พิจารณาให้เห็นทั้งคุณและโทษของทั้งสองสิ่งน่ะค่ะ
คือ ให้ยังจิตให้เป็นกุศล แบบกลาง ๆ คือไม่ให้จิตฟุ้งหลงไปกับธรรมฝ่ายใด จนเข้าไปยึดไว้

เช่นว่า เวลาทำดี ทำบุญ ไบก้อนจะรู้ถึง ใจที่สบาย และคนสรรเสริญ ใจก็สบ๊าย สบาย
ยิ่งเรารู้สึกดี เราก็ยิ่งอยากทำดี ทำบุญ และยิ่งทำ คนก็ยิ่งสรรเสริญ
คือตรงนี้ ถ้าเราเสพ อยู่เป็นประจำอย่างไม่เท่าทัน จะกลายเป็น ติดดี ติดสรรเสริญ รึเปล่าคะ
คือตรงนี้ เวลาเราตามรู้ เราต้องเจอ ทั้ง จิตอันเป็น กุศล และ อกุศล
และ เราควร จัดการกับมันอย่างไรกันแน่

เพราะเท่าที่ผ่าน ๆ มา ไบก้อน พยายามยังจิตให้เป็นกุศล
และกระนั้นก็จะซ้อนการปล่อยวางเข้าไปอีกที.. เพื่อเป็นการปิดงาน
ดักนิสัยการติดดี ไม่ให้มันเจริญงอกงาม หง่ะ...



>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>



อ้างคำพูด:
เพราะเมื่อเราจะ ดู ยังไงก็ตาม จะ รู้อยู่ หรือจะรู้ยังไงก็เถอะ
แน่นอน เราต้องเห็น ชั่ว - ดี หรือ อกุศล - กุศล โผล่มาในใจ
ชั่ว - ดี ที่เราเห็นนั้น จริง ๆ เราควรมองมันอย่างไรคะ..


เห็นโทษของอกุศล และ เพียรละ(โอวาทปาติโมกข์ข้อ1)

เห็นประโยชน์ของกุศล และ เพียรเจริญ(โอวาทปาติโมกข์ข้อ2)

แต่ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ทั้งในอกุศล และ กุศล(สงเคราะห์อยู่ใน โอวาทปาติโมกข์ข้อ3)





อ้างคำพูด:
เพราะ ตามความเข้าใจของ ไบก้อน คือ ไบก้อน ถูกปลูกฝังให้ พิจารณาให้เห็นทั้งคุณและโทษของทั้งสองสิ่งน่ะค่ะ
คือ ให้ยังจิตให้เป็นกุศล แบบกลาง ๆ คือไม่ให้จิตฟุ้งหลงไปกับธรรมฝ่ายใด จนเข้าไปยึดไว้


คำกล่าว คำสอนในลักษณะนี้..... ชอบแล้ว



อ้างคำพูด:
เช่นว่า เวลาทำดี ทำบุญ ไบก้อนจะรู้ถึง ใจที่สบาย และคนสรรเสริญ ใจก็สบ๊าย สบาย
ยิ่งเรารู้สึกดี เราก็ยิ่งอยากทำดี ทำบุญ และยิ่งทำ คนก็ยิ่งสรรเสริญ
คือตรงนี้ ถ้าเราเสพ อยู่เป็นประจำอย่างไม่เท่าทัน จะกลายเป็น ติดดี ติดสรรเสริญ รึเปล่าคะ


การทำกุศลให้ถึงพร้อม(โอวาทปาติโมกข์ข้อ2) ที่พระพุทธเจ้าสอนเป็นการกระทำภายใต้ปัญญาเห็นชอบ คือ ทำดีเพราะเห็นอานิสงส์ของกุศล แต่ พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้ทำบุญแบบขาดปัญญาเห็นชอบ หรือ ยึดมั่นถือมั่นในบุญนั้นๆเลย....


ทำดี แบบปล่อยวาง บุญอย่างเลิศ
จึงบังเกิด ก่อหนุน บุญอย่างยิ่ง
ทำใจ ให้เป็นบุญ ไม่ประวิง
งามเพริดพริ้ง คำพระ ละอัตตา

จึงถือว่า เป็นบุญ ที่สูงสุด
แจ้งวิมุติ เหนือสวรรค์ ชั้นเวหา
ประเสริฐเหนือ หมู่เทพ และ พรหมา
นิพพิทา เบื่อหน่าย คลายวัฏฏ์วน

บุญเหนือบุญ หนุนนำ ฉ่ำดวงจิต
บุญญฤทธิ์ พาใจ ไร้สับสน
บุญเหนือโลก เหนือโศกสุข ไร้ทุกข์ทน
บุญบันดล เบิกบาน นิพพานเทอญๆ


เรื่อง การติดดี(หลงยึดมั่นถือมั่นในความดี) นั้น ก็พึงระวัง.... แต่ อย่านำมาสับสนปนเปกับ โอวาทปาติโมกข์ข้อ2 ครับ



การเพียรละอกุศล(โอวาทปาติโมกข์ข้อ1) ก็สนับสนุนให้ สามารถเจริญกุศล(โอวาทปาติโมกข์ข้อ2) ได้บริบูรณ์ขึ้น... เปรียบเสมือน การย้อมผ้า ที่ สมควรจะซักผ้าผืนนั้นให้สะอาดเสียก่อน สีของผ้าหลังการย้อมจึงจะสวยงาม ไม่กระดำกระด่าง

การเพียรเจริญกุศล(โอวาทปาติโมกข์ข้อ2) ก็ สนับสนุนการเจริญภาวนา(โอวาทปาติโมกข์ข้อ3) ด้วยว่า จิตที่เป็นกุศลย่อมเกิดปัญญาญาณได้ง่ายขึ้น

ดังนั้น โอวาทปาติโมกข์ทั้ง3ข้อ จึง ไปในทิศทางเดียวกัน ส่งเสริมสนับสนุนไปป็นระดับๆ

หาใช่ว่า โอวาทปาติโมกข์ข้อ1 และ ข้อ2 ขัดขวางโอวาทปาติโมกข์ข้อ3(การเห็นธรรม) แต่อย่างใด




อ้างคำพูด:
เพราะเท่าที่ผ่าน ๆ มา ไบก้อน พยายามยังจิตให้เป็นกุศล
และกระนั้นก็จะซ้อนการปล่อยวางเข้าไปอีกที.. เพื่อเป็นการปิดงาน
ดักนิสัยการติดดี ไม่ให้มันเจริญงอกงาม หง่ะ...


ถูกต้องครับ

ความจริงแล้ว เรื่อง การติดดี นี้ หลวงปู่มั่น ท่านสอนมาตั้งนานแล้ว ไม่ใช่คนรุ่นนี้จะเพิ่งมาค้นพบกันหรอก

แม้น ในระดับพระสูตร ก็มีคำว่า "ลอยทั้งบาป และ บุญ"....

แต่ ก่อนที่จะไปถึงขั้น "ลอยทั้งบาป และ บุญ" ก็ต้อง พยายาม "ละบาป บำเพ็ญบุญ"ก่อน


ส่วน ปัญหาที่อาจจะเกิดการยึดมั่นถือมั่น นั้น ก็เป็นจุดหนึ่งที่พึงระวังจริง....
แต่ อย่าถึงขั้นระแวง จน ไม่เพียรละบาป-บำเพ็ญบุญ หรือ "เผลอไปตำหนิธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเจริญ"(โอวาทปาติโมกข์ข้อ1 และ ข้อ2) เลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2009, 07:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ ไบกอน



เสนอเปรียบเทียบ


มีปัญญาเห็นชอบ เห็นโทษในอกุศล จึงเพียรละอกุศล
VS
ขาดปัญญาเห็นชอบ จึงหลงยึดมั่นถือมั่น รังเกียจ(ผลักใส)อกุศล



มีปัญญาเห็นชอบ เห็นอานิสงส์ของกุศล จึงเพียรเจริญกุศล
VS
ขาดปัญญาเห็นชอบ จึงหลงยึดมั่นถือมั่น ติดดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2009, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพล เขียน:

ต่อไปขอแนะนำให้ศึกษาพระสูตรเรื่องโพชฌงค์เจ็ดซึ่งเป็นองค์ธรรมสำคัญที่ทำให้เกิดการตรัสรู้อันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าต่อไปนี้เพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้คุณมั่นใจมากยิ่งขึ้น และเข้าใจมากยิ่งขึ้นครับ



ขอบคุณกับคำแนะนำ...ค่ะ :b8:

แต่ก่อนอยู่ป่า ไบก้อน ศึกษาธรรม ไบก้อน มั่นใจอย่างคนป่า
แต่เมื่อออกมาเปิดสายตาในเมือง ความรู้ของคนเมืองช่างตระการตา
จน...ไบก้อน รู้สึกว่าความมั่นใจมันสั่นคลอนไป

คงต้องหยิบคำสอนของพระพุทธองค์โดยตรงมาอ่านทำความเข้าใจ อย่างที่คุณว่าบ้างแล้วค่ะ...
เพื่อเรียกความมั่นใจ...ให้กับตัวเอง...


ตรงประเด็น เขียน:

อ้างคำพูด:
เพราะเมื่อเราจะ ดู ยังไงก็ตาม จะ รู้อยู่ หรือจะรู้ยังไงก็เถอะ
แน่นอน เราต้องเห็น ชั่ว - ดี หรือ อกุศล - กุศล โผล่มาในใจ
ชั่ว - ดี ที่เราเห็นนั้น จริง ๆ เราควรมองมันอย่างไรคะ..


เห็นโทษของอกุศล และ เพียรละ(โอวาทปาติโมกข์ข้อ1)

เห็นประโยชน์ของกุศล และ เพียรเจริญ(โอวาทปาติโมกข์ข้อ2)

แต่ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ทั้งในอกุศล และ กุศล(สงเคราะห์อยู่ใน โอวาทปาติโมกข์ข้อ3)

ทำดี แบบปล่อยวาง บุญอย่างเลิศ
จึงบังเกิด ก่อหนุน บุญอย่างยิ่ง
ทำใจ ให้เป็นบุญ ไม่ประวิง
งามเพริดพริ้ง คำพระ ละอัตตา

จึงถือว่า เป็นบุญ ที่สูงสุด
แจ้งวิมุติ เหนือสวรรค์ ชั้นเวหา
ประเสริฐเหนือ หมู่เทพ และ พรหมา
นิพพิทา เบื่อหน่าย คลายวัฏฏ์วน

บุญเหนือบุญ หนุนนำ ฉ่ำดวงจิต
บุญญฤทธิ์ พาใจ ไร้สับสน
บุญเหนือโลก เหนือโศกสุข ไร้ทุกข์ทน
บุญบันดล เบิกบาน นิพพานเทอญๆ

.....

แม้น ในระดับพระสูตร ก็มีคำว่า "ลอยทั้งบาป และ บุญ"....

แต่ ก่อนที่จะไปถึงขั้น "ลอยทั้งบาป และ บุญ" ก็ต้อง พยายาม "ละบาป บำเพ็ญบุญ"ก่อน


ส่วน ปัญหาที่อาจจะเกิดการยึดมั่นถือมั่น นั้น ก็เป็นจุดหนึ่งที่พึงระวังจริง....
แต่ อย่าถึงขั้นระแวง จน ไม่เพียรละบาป-บำเพ็ญบุญ หรือ "เผลอไปตำหนิธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเจริญ"(โอวาทปาติโมกข์ข้อ1 และ ข้อ2) เลย


งามค่ะ งามทั้งคำอธิบาย และงามทั้งคำกลอน

ขอบคุณค่ะ ที่ช่วยให้ความกระจ่าง ทำให้ ไบก้อน รู้สึกมั่นใจในลู่ของตัวเองขึ้นเยอะเลยค่ะ

จุดที่ พึงระวัง แต่อย่าถึงขั้น ระแวง

:b12: คุณตรงประเด็นไปตั้งกระทู้ใหม่ได้ป่าวคะ

กระทู้ประมาณว่า จุดที่พึงระวังต่าง ๆ สำหรับผู้ที่ศึกษา ปฏิบัติธรรม หน่ะค่ะ... :b12:

- ก้อน ว่ามีหลายจุดอยู่นะคะ :b12:

:b48: :b48: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2009, 09:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนที่จะพากันไปไหน มีพุทธพจน์ให้พิจารณา โดยไม่ต้องอธิบายอะไร เพราะแจ่ม

ชัดอยู่ในตัว



ความเลื่อมใสศรัทธาต่อบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งนั้น

ถ้าใช้ให้ถูกต้อง คือเป็นอุปกรณ์สำหรับช่วยให้ก้าวหน้าต่อไป ก็ย่อมเป็นสิ่งที่มีประโยชน์

แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีข้อเสีย เพราะมักจะกลายเป็นความติดในบุคคล

และกลายเป็นอุปสรรคบั่นทอนความก้าวหน้าต่อไป

ข้อดีของศรัทธาปสาทะนั้น เช่น



“อริยสาวกผู้ใดเลื่อมใสอย่างยิ่งแน่วแน่ถึงที่สุดในตถาคต อริยสาวกนั้นจะไม่สงสัยหรือแคลงใจ

ในตถาคต หรือ ศาสนา (คำสอน) ของตถาคต แท้จริงสำหรับอริยสาวกผู้มีศรัทธา

เป็นอันหวังสิ่งนี้ได้ คือ เขาจักเป็นผู้ตั้งหน้าทำความเพียร เพื่อกำจัดอกุศลธรรมทั้งหลาย

และ บำเพ็ญกุศลธรรมทั้งหลายให้พร้อมบูรณ์ จักเป็นผู้มีเรี่ยวแรง บากบั่นอย่างมั่นคง

ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย”

(สํ.ม.19/1011/297)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 15 พ.ย. 2009, 12:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2009, 09:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ดูต่ออีก)

ส่วนข้อเสียก็มีดังพุทธพจน์ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ข้อเสีย ๕ อย่างในความเลื่อมใสบุคคลมีดังนี้ คือ

๑. บุคคลเลื่อมใสยิ่งในบุคคลใด บุคคลนั้นต้องอาบัติอันเป็นเหตุให้สงฆ์ยกวัตร เขาจึงคิดว่า บุคคลผู้เป็นที่รัก

ทีชอบใจของเรานี้ ถูกสงฆ์ยกวัตรเสียแล้ว...

๒. บุคคลเลื่อมใสยิ่งในบุคคลใด บุคคลนั้นต้องอาบัติอันเป็นเหตุให้สงฆ์บังคับให้นั่ง ณ ท้ายสุดสงฆ์เสีย

แล้ว...

๓....บุคคลนั้น ออกเดินทางไปเสียที่อื่น...

๔. ....บุคคลนั้น ลาสิกขาเสีย...

๕. ....บุคคลนั้น ตายเสีย...

เขาย่อมไม่คบหาภิกษุอื่นๆ เมื่อไม่คบหาภิกษุอื่นๆ ก็ย่อมไม่ได้สดับสัทธรรม เมื่อไม่ได้สดับสัทธรรม ก็ย่อม

เสื่อมจากสัทธรรม”

(องฺ.ปญฺจก.22/250/300)


เมื่อความเลื่อมใสศรัทธากลายเป็นความรัก ข้อเสียในการที่ความลำเอียงจะมาปิดบังการใช้ปัญญา

ที่เกิดขึ้นอีก เช่น




“ภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๔ ประการนี้ ย่อมเกิดขึ้นได้ คือ ความรักเกิดจากความรัก

โทสะ เกิดจากความรัก ความรักเกิดจากโทสะ โทสะเกิดจากโทสะ

“ฯลฯ โทสะเกิดจากความรักอย่างไร ? บุคคลที่ตนปรารถนา รักใคร่ พอใจ ถูกคนอื่นประพฤติด้วย

อาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจ ดังนี้ เขาย่อมเกิดโทสะ ในคนเหล่านั้น ฯลฯ”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 15 พ.ย. 2009, 12:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2009, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูความใจกว้างของพุทธศาสนา แม้แต่เลือมใสในองค์ศาสดาเองก็ยังมิให้ติดตันเพียง

แค่นั้น...พึงสังเกตพุทธพจน์ที่ตรัสเกี่ยวกับพระวักกลิ ซึ่งมักมีผู้กล่าวถึงบ่อย ๆ



แม้แต่ความเลื่อมใสศรัทธาในองค์พระศาสนาเอง เมื่อกลายเป็นความรักในบุคคลไป

ก็ย่อมเป็นอุปสรรคต่อความหลุดพ้น หรืออิสรภาพทางปัญญาในขั้นสูงสุดได้

พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ละเสีย

แม้บางครั้ง จะต้องใช้วิธีค่อนข้างรุนแรง ก็ทรงทำ เช่น ในกรณีของพระวักกลิ

ซึ่งมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระองค์อย่างแรงกล้า อยากจะติดตามพระองค์ไป

ทุกหนแห่งเพื่อได้อยู่ใกล้ชิด ได้เห็นพระองค์อยู่เสมอ

ระยะสุดท้ายเมื่อพระวักกลิป่วยหนัก อยากเฝ้าพระพุทธองค์ ส่งคนไปกราบทูล พระองค์ก็เสด็จมา

และมีพระดำรัสเพื่อให้เกิดอิสรภาพทางปัญญาแก่พระวักกลิตอนหนึ่งว่า



พระวักกลิ: ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นเวลานานนักแล้ว ข้าพระองค์ปรารถนาจะไปเฝ้า

เพื่อจะเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ร่างกายของข้าพระองค์ไม่มีกำลังเพียงพอที่จะไปเฝ้า

เห็นองค์พระผู้มีพระภาคเจ้าได้”


พระพุทธเจ้า: อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเน่าเปื่อยนี้ เธอเห็นไป จะมีประโยชน์อะไร

ดูกรวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น ชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรม

นั่นแหละ วักกลิ จึงจะชื่อว่า เห็นเรา เมื่อเห็นเรา (ก็คือ) เห็นธรรม”

(ม.มู.12/288/280)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 15 พ.ย. 2009, 12:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2009, 12:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นอกจากนั้น ความก้าวหน้าเพียงขั้นศรัทธา ยังไม่เป็นการมั่นคงปลอดภัย

เพราะยังต้องเนื่องอาศัยปัจจัยภายนอก จึงยังเสื่อมถอยได้ ดังพุทธพจน์ว่า




“ดูกรภัททาลิ เปรียบเหมือนบุรุษมีตาข้างเดียว พวกมิตรสหายญาติสาโลหิตของเขา พึงช่วยกันรักษา

ตาข้างเดียวของเขาไว้ ด้วยคิดว่า อย่าให้ตาข้างเดียวของเขานั้นต้องเสียไปเลย ข้อนี้ฉันใด

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เธอประพฤติปฏิบัติเพียงด้วยศรัทธา

เพียงด้วยความรัก พวกเราจักช่วยกันเร่งรัดเธอย้ำแล้วย้ำอีกให้กระทำการณ์โดยหวังว่า อย่าให้สิ่งที่เป็นเพียง

ศรัทธา เป็นเพียงความรักนั้นเสื่อมสูญไปจากเธอเลย นี้แล ภัททาลิ คือเหตุ คือปัจจัยที่ทำให้(ต้อง)

คอยช่วยเร่งรัดภิกษุบางรูป ในศาสนานี้ย้ำแล้วย้ำอีกให้กระทำการณ์”


(ม.ม.13/171/174)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2009, 12:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลำพังศรัทธาอย่างเดียว เมื่อไม่ก้าวหน้าถึงขั้นปัญญาต่อไปตามลำดับ

ย่อมมีผลอยู่ในขอบเขตจำกัดเพียงแค่สวรรค์เท่านั้น

ไม่สามารถให้บรรลุจุดหมายของพุทธธรรมได้ ดังพุทธพจน์ว่า



“ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว ซึ่งเป็นของง่าย เปิดเผย ประกาศไว้ชัด

ไม่มีเงื่อนงำใดๆอย่างนี้

-สำหรับภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ...ย่อมไม่มีวัฏฏะเพื่อจะบัญญัติต่อไป

-ภิกษุที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ได้แล้ว ย่อมเป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในโลกนั้น ฯลฯ

-ภิกษุที่ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว มีราคะ โทสะ โมหะเบาบาง ย่อมเป็นสกทาคามี ฯลฯ

-ภิกษุที่ละสังโยชน์ ๓ ได้ ย่อมเป็นโสดาบัน ฯลฯ

-ภิกษุที่เป็นธัมมานุสารี เป็นสัทธานุสารี ย่อมเป็นผู้มีสัมโพธิ เป็นที่หมาย

-ผู้ที่มีเพียงศรัทธา มีเพียงความรักในเรา ย่อมเป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่หมาย”


(ม.มู.12/288/280)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2009, 12:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในกระบวนการพัฒนาปัญญา ที่ถือเอาประโยชน์จากศรัทธา อย่างถูกต้อง

ปัญญาจะเจริญขึ้นโดยลำดับ จนถึงขั้นเป็นญาณทัสสนะ คือเป็นการรู้การเห็น

ในขั้นนี้ จะไม่ต้องใช้ความเชื่อและความเห็นอีกต่อไป เพราะรู้เห็นประจักษ์แก่ตนเอง

จึงเป็นขั้นที่พ้นขอบเขตของศรัทธา

ขอให้พิจารณาข้อความในพระไตรปีฎกต่อไปนี้




ถาม: ท่านสุสิละ โดยไม่อาศัยศรัทธา ไม่อาศัยความถูกกับใจคิด ไม่อาศัยการเรียนรู้ตามกันมา

ไม่อาศัยการคิดตรองตามแนวเหตุผล ไม่อาศัยความเข้ากันได้กับการทดสอบด้วยทฤษฎี

ท่านสุสิละ มีการรู้จำเพาะตน (ปัจจัตตญาณ) หรือว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ?



ตอบ: ท่านปวิฏฐะ ผมย่อมรู้ ย่อมเห็นข้อที่ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะนี้ได้

โดยไม่ต้องอาศัยศรัทธา...ความถูกกับใจคิด...การเรียนรู้ตามกันมา...การคิดตรองตามแนวเหตุผล...

การเข้ากันได้กับการทดสอบด้วยทฤษฎีเลยทีเดียว


(จากนี้ถามตอบหัวข้ออื่นๆ ในปฏิจจสมุปบาท ตามลำดับทั้งฝ่ายอนุโลม ปฏิโลม จนถึง ภวนิโรธ

เป็นนิพพาน)

สํ.นิ.16/269-275/140-144

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2009, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ๊ะ :b10:

เจอมุขโพสต์สไตล์คุณกรัชกายเข้าไป วงแตกกันไปคนละทางหมดเลย
:b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 91 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร