วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 21:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 164 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2011, 03:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ที่คุณโฮ...ไปลอกพระไตรปิฎกมาอวดภูมิไปทั่วทั้งลานนั่นไม่ยิ่งกว่าหรือครับ
แล้วสติปัฏฐานสี่ที่ยกมาให้ดูท่อนหนึ่ง แปลให้ดูตั้งหลายประโยค เว้นท่อนแรกไว้ลองภูมิคน ก็เจอคนไม่รู้จริงๆ :b28:

คุณโสกะครับ อย่าให้ผมต้องกล่าวว่าดักดานเลยครับ มันดูไม่สุภาพ
ไอ้เรื่องลอกไม่ลอก เขาดูกันตรงที่ .......
ไปอ้างอิงสิ่งใดมาตอบโต้คนอื่น โดยที่ไม่เข้าใจในสิ่งที่นำมาอ้าง
เขาเรียกว่า ลอกมาครับ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ก็ดูจากมีบัญญัติที่เป็นบาลีอยู๋
ถ้าผู้อ้างรู้จริง ก็คงจะอธิบายคำบาลีนั้นได้ ไม่หยิบมาโพสทั้งดุ้นแบบนั้น
สงสัยคุณโสกะ คงลืมคิดไปว่ากำลังอธิบายเรื่องการปฏิบัติอยู่ ไม่ใช่กำลังร้องบทลิเก

มันน่าขำตรงที่ แม้แต่คำที่จะย้อนคนอื่นยังลอกเขาเลยครับ ดูได้จากผมว่าคุณไปลอก
เขามา ด้วยความที่ชอบลอกเล่นง่าย ย้อนผมว่าไปลอกพระไตรปิฎก
คุณโสกะคิดอะไรเองบ้างไม่เป็นหรือครับ :b13:

แล้วพูดได้ไงครับว่าผมลอกพระไตรปิฎก วิธีของผมเขาเรียกเทียบเคียงพระไตรปิฎกครับ
และที่สำคัญชาวพุทธเราจะกล่าวอะไร เนื้อความสำคัญต้องเอาพระไตรปิฎกเป็นหลักครับ
ใครกล่าวอะไรนอกพระธรรมนอกพระไตรปิฎก เขาเรียก อลัชชี เดียรถีครับ

แล้วที่บอก"คนรู้จริง" ที่ว่ารู้ รู้อะไรหรือครับ สงสัยว่ารู้วิธี เสิทช์กูเกิลล่ะไม่ว่า
เขาให้อธิบาย วิธีการ นี่เล่นหยิบบัญญัติมาโพส แถมที่โพสก็ล่อมาเพียวๆเลย :b13:
asoka เขียน:

เธอพึงเฝ้าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่เนืองๆ ตำราเขาแปลอย่างนี้ มีค่าเท่ากับการนิ่งดูนิ่งสังเกตพิจารณานั่นแหละครับ ลองปฏิบัติจริงดูซิครับคุณโฮ..อย่ามัวไปคิดจับผิดผู้อื่นอยู่ร่ำไปจะตกนรกทั้งเป็นโดยไม่รู้ตัวนะครับ

คำว่า"เฝ้าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม" พิจารณาของคุณแปลว่า นิ่งดูนิ่งสังเกตุหรือ ตลกครับ
แบบนี้เรียกว่า บาลีก็ไม่ได้ ภาษาไทยก็ไม่รู้ครับ

พิจารณาหมายถึง ตรวจตรา,ตรึกตรอง.ไตร่สวน มันแปลว่านิ่งๆแบบคุณหรือครับ
และจะบอกให้ครับ นักปฏิบัติหรือผู้รู้ผู้มีปัญญาจริงๆ เขาไม่เที่ยวโพทนาว่า ตัวเองรู้
ตัวเองมีปัญญาหรอกครับ เขาใช่วิธีการเลี่ยงโดยการอ้างพระไตรปิฏก
เป็นปริยัติบ้าง เป็นพุทธพจน์บ้าง ที่ทำแบบนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการอวดอุตริมนุษธรรม

อีกอย่างจะบอกให้ครับ การที่ผมมีความเห็นแย้งคนอื่น ก็ด้วยความเป็นกัลยาณมิตร
สิ่งที่ผมทำไม่ใช่การจับผิด มันตรงข้ามแค่ต้องการให้มีข้อเปรียบเทียบ ให้สมาชิกรู้จัก
พิจารณาธรรมหลายแง่หลายมุม ผมไม่เหมือนคุณครับ คุณจะบังคับให้เขาเชื่อ
ให้เขาศรัทธา พอมีคนแย้งก็ไม่พอใจแช่งเขาให้ตกนรก อีกอย่างถ้าแน่ใจว่า ตัวเอง
ปฏิบัติมาจริง รู้จริง ไม่เห็นจะต้องไปกลัว ทำไมต้องขู่คนเห็นต่างครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2011, 04:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ส่วนที่ไปเข้าใจหรือเห็นว่าเรื่องสติปัฏฐานสี่เป็นเรื่องของพระอริยเจ้าทำเท่านั้น นี่เห็นผิดอย่างมหาศาลอย่างไม่น่าให้อภัยเพราะจะพาให้ผู้ใหม่ที่ไม่รู้หลงผิดตามไปด้วย บาปหนักนะโยม.........
ไปทบทวนอ่านดูใหม่ให้ดีๆนะครับ

ก็คุณมันประเภทชอบนั่งนิ่งๆไง ผมจำได้น่ะว่าผมเคยบอกคุณถึงเรื่องการปฏิบัติ
ของปุถุชนกับของอริยบุคคลมันต่างกัน ปุถุชนปฏิบัติเพื่อหาปัญญา แต่อริยบุคคล
นำปัญญามาปฏิบัติเพื่อให้ถึงปัญญาวิมุตติการหลุดพ้น

การปฏิบัติของปุถุชน ก็แค่ ทาน ศีลและภาวนา
การภาวนาของปุถุชน ไม่ใช่การทำสติปัฏฐานสี่ เพียงแค่ให้หมั่นมีสติตลอดเวลา
ส่วนสติปัฏฐานสี่ เป็นเรื่องของอริยบุคคล เพราะต้องอาศัยปัญญาเป็นตัวนำ

ไอ้เรื่องผู้มาใหม่จะหลงผิด ผมว่าคุณนั้นแหล่ะจะเป็นต้นเหตุ
มาสอนคนซีซั้ว สอนในสิ่งที่ตัวเองยังไม่เข้าใจ

นี่ยังดี เมื่อก่อนถึงกับบอกว่า ให้ปุถุชนปฏิบัติมรรคมีองค์แปด
คุณจำได้มั้ยเคยเถียงกับผมเรื่อง สัมมาทิฐิ(ปัญญา)
ใครปฏิบัติ ใครท่องจำมาเขาดูกันตรงนี้ครับ

asoka เขียน:
แล้วไอ้ที่คุณว่าใช้วิธีสมถะผสมวิปัสนาแก้นิวรณ์ของคุณนั้นนะลองเอามาแสดงดูซิครับ ไม่ต้องกลัวผมลอก ผมไม่ลอกสิ่งที่ผิดๆที่คุณจะบอกหรอกครับ เพราะผมรู้ว่าคุณเห็นผิดมาตั้งแต่ต้นที่เอาสติ สมาธิมานำหน้าปัญญา
แสดงภูมิทางด้านปฏิบัติมาให้ดูให้ชื่นใจหน่อยซิครับ แต่อย่าไปลอกเอาข้อความในพระไตรปิฎกมาเกทับใครอีกล่ะ

การทำสติปัฏฐานสี่ ในหมวดของธัมมานุปัสนาสติปัฏฐาน ก็คือการใช้ปัญญามาพิจารณา
ธรรมใดธรรมหนึ่งเพื่อมาแก้ธรรมอีกธรรมหนึ่ง ตัวอย่างเช่น เกิดนิวรณ์ขึ้น ก็ใช้ปัญญาหาธรรม
ที่แก้นิวรณ์ตัวนั้น เช่นเกิดกามฉันทะอาจใช้การกำหนดอสุภะ หรือเกิดความงุดหงิดรำคาญอาจใช้
อานาปานสติ ต่างๆเหล่านี้เขาเรียกว่า การพิจารณาเอาสมถกัมฐานมาแก้นิวรณ์ แต่อย่าลืม
ที่เคยบอกไว้ว่า ใช้ปัญญานำ ก็คือ ธรรมทุกตัวที่กำลังปฏิบัติ ทั้งนิวรณ์และธรรมที่นำมาแก้
ด้วยเป็นไตรลักษณ์ แบบนี้เขาเรียกเห็นธรรมในธรรม ไม่ใช่นั่งนิ่งแบบคุณ

สรุป ปัญญานำก็คือ การไม่ยึดมั่นในธรรมทุกตัวที่กำลังพิจารณา
.....วิปัสนาก็คือ การใช้สติ ในธรรมต่างๆ ทั้งการพิจารณา นิวรณ์และธรรมแก้
.....สมถะ ก็คือการเพ่งไปที่ธรรมตัวที่นำมาแก้นิวรณ์ :b13:


แล้วทีบอกว่า เอาสติเอาสมาธินำหน้าปัญญา คุณเพ้อเจ้อไปเรื่อย
ผมพูดกับคุณหรือ คนเราลองไม่รู้ไม่เข้าใจ คำพูดแต่ละคำมันก็ดูจะเพ้อเจ้อไปซะหมด :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2011, 17:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


Onion_L
ก ารเอาอสุภะมาแก้กามฉันทะอย่างที่คุณยกตัวอย่างมานั้นเป็นวิธีอ้อม เป็นวิธีของนักสมถะทั้งหลายคือหาธรรมที่เป็นคู่ปรับกันมาข่มและกลบบังกัน

วิธีการของนักวิปัสนานั้นเขาเข้าไปเผชิญหน้ากับกามฉันทะหรือความยินดีนั้นโดยตรง นิ่งรู้นิ่งสังเกตลงไปที่ความยินดีเพื่อจะค้นหาสมุทัย คือเหตุที่มาแห่งความยินดีแล้วไปถอนเหตุแห่งความยินดีนั้นออก
นี่เป็นวิธีการที่เป็นไปตามมรรค 8 โดยเอาสติและปัญามรรคมาค้นหาเหตุ และเป็นไปตามวิธีการเจริญสติปัฏฐานสี่โดยตรงด้วยดังกล่าวไว้ในสติปัฏฐานสูตรว่า วิเนยยะโลเกอภิชฌาโทมนัสสัง ซึ่งแปลว่า เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก

การจะเอาความยินดียินร้ายออกนั้นจะต้องทำอย่างไร พระบรมศาสดามิได้ทรงแสดงไว้ในสติปัฏฐานสูตรก็เพื่อให้ผู้เจริญสติปัฏฐานไ ด้ใช้สติปัญญาของตนค้นพบเอาเอง
คนฉลาดก็จะใช้วิธีที่ลัดสั้นและตรงตามธรรมคือค้นลงไปที่ปัจจุบันอารมณ์นั้นทันที คือนิ่งรู้นิ่งสังเกตไว้ที่ความยินดี เพียงไม่กี่อึดใจเขาก็จะได้เห็นความยินดีนั้นดับลงไปต่อหน้าต่อตา เปลี่ยนเป็นอารมณ์ใหม่อันอื่นขึ้นมาตามกำลังลูกโซ่แห่งอารมณ์ เขาก็จะใช้วิธีการอันเดิมนั้นทำกับทุกอารมณ์ จนไม่มีอารมณ์อันใดให้สังเกตพิจารณาอีกก็เป็นอันจบงานของกลุ่มห่วงโซ่อารมณ์แห่งความยินดีนั้น
จบธัมมานุปัสนาสติปัฏฐานในอารมณ์ยินดี ก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2011, 17:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
asoka เขียน:
[ :b12: นิวรณ์ธรรมเกิด ต้องใช้ธัมมานุปัสนาสติปัฏฐานคือนิ่งรู้นิ่งสังเกตหรือที่บาลีว่า ธัมเมสุธัมมานุปัสสีวิหารติ ด้วย อาตาปี มีความเพียรจดจ่อต่อเนื่องไม่ลดละ สัมปฌาโน มีปัญญา รู้ตัว สติมา มีสติรู้ทัน วิเนยยะโลเกอภิชฌาโทมนัสสัง เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก ซึง ก็ คื อ ค วาม ต อ บ โ ต้ ต่อนิวรรณ์ตัว นั้ น
วิ ธี ที่จ ะ ทำ ใ ห้นิ วร ณ์ ตั ว นั้ น ดั บ ไ ป ก็ เ พียง แ ต่ นิ่งรู้ นิ่ง สังเกตไว้เฉยๆ สักพักเดียวมันก็จะดับไป ว ก ใ ฝ ฟ ช ผ

พูดไปเรื่อยแทนที่จะแปลบาลีมาด้วย ใส่บาลีมาทั้งดุ้นแบบนี้
ชาวบ้านก็รู้หมดว่าไปลอกเขามา ลอกมาไม่ว่า ดันมั่วเป็นจับฉ่ายแแกงโฮ๊ะอีก

มันมีที่ไหนธัมมาวิปัสสนาคือการนิ่งสังเกตุ อย่าว่าแต่ธัมมาฯเลย
ต่อให้เป็นวิปัสนาของสติปัสฐานสี่ทุกฐาน เขาก็ไม่นิ่งสังเกตุ

ไอ้วิธีนิ่งสังเกตุ มันเป็นวิธีของปุถุชน เขาใช้หาปัญญา

ส่วนวิปัสสนากรรมฐาน มันเป็นเรื่องของอริยบุคคลผู้มีปัญญาแล้ว
และนำปัญญามาพิจารณาธรรม


แล้วที่ตอบมาว่าใช้ธัมมานุปัสนาน่ะถูกแล้ว แต่มันผิดที่วิธีการ
หรืออาจพูดได้ว่าเจ้าตัวไม่รู้ไม่เข้าใจในสิ่งที่เอามาพูดด้วยซ้ำไป

Onin_L
สิ่งที่น่าเป็นห่วงในคำพูดท่อนนี้ของคุณโฮ...อยู่ที่ว่า

ไอ้วิธีนิ่งสังเกตมันเป็นวิธีการของปุถุชนเขาค้นหาปัญญา

ความข้อนี้คุณโฮ..ก็พลาดอีกแล้ว ความสังเกต พิจารณานั้นเป็นตัวปัญญาสัมมาสังกัปปะความดำริชอบนั้นเลยทีเดียว
สังเกต ไม่ใช้ความคิด ...พิจารณาใช้ความคิด ถ้าขาดความสังเกตเสียแล้ววิปัสนาปัญาจักไม่เกิดขึ้นได้ เพราะไม่มีตัวปัญญาที่จะไปค้นหาให้พบเหตุทุกข์ มรรคก็จะไม่เดิน อริยสัจ ก็จะไม่ครบ
:b34: :b34: :b34: :b33:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2011, 20:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:

แต่เอกอนว่า ไม่อ้อมหรอก
ถ้าต่างก็ยังไม่ถึงฝั่ง ต่างก็ไม่ได้อ้อมน้อย อ้อมใหญ่ไปกว่ากัน
ซึ่งก็ยังจัดว่า ยังอ้อมอยู่พอ ๆ กัน

:b1:

กิจกรรมทุกอย่างที่พระพุทธองค์ทรงแนะไว้
ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อ จิต
พฤติกรรมจิต/เจตสิกทุกอย่างที่ปรากฎ
ล้วนเป็นโอกาสให้ผู้คนได้เข้าใจในเรื่องจิต

:b41: :b41: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2011, 22:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


บ๊ะ....ทุกวันนี้..พูดน้อยต่อยหนัก....ดีเน๊าะ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2011, 04:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
Onion_L
การเอาอสุภะมาแก้กามฉันทะอย่างที่คุณยกตัวอย่างมานั้นเป็นวิธีอ้อม เป็นวิธีของนักสมถะทั้งหลายคือหาธรรมที่เป็นคู่ปรับกันมาข่มและกลบบังกัน

พูดแบบนี้มันตีความได้ว่า ไม่รู้จักนิวรณ์ คุณโสกะเข้าใจเรื่อง อนุสัยกิเลสดีแค่ไหนครับ
นิวรณ์ก็คืออนุสัยกิเลส อนุสัยกิเลส เป็นกิเลสที่ติดต้วเรามาตั้งแต่เกิด มันดับยากแต่
ถ้าดับได้มันก็เหมือนการดับภพดับชาติด้วย
เรื่องที่บอกว่าวิธีอ้อมมันไปกันใหญ่ เพราะความไม่เข้าใจในธรรม
ไม่เข้าใจว่า กิเลสแต่ละตัวเป็นอย่างไร ต้องใช้วิธีการใดดับ ที่สำคัญ
ขาดความเข้าใจเรื่อง ปัญญากับกระบวนการขันธ์ห้า

พระพุทธองค์ ทรงกำหนดไว้เลยว่า การดับนิวรณ์ห้าต้องดับด้วยการเอา
สมถะมาโยนิโสฯ(ด้วยปัญญา) ดังนั้นสมถะเป็นแค่เครื่องมือหนึ่งที่นำมาใช้
มันจึงเป็นวิปัสนาฯ หาใช่วิธีของนักสมถะตามที่คุณบอก

ที่เรามาโต้มาแย้งกันอยู่นี่ มันเป็นไปไม่ได้เพื่อให้อีกฝ่ายยอมรับ
แต่มันก็มีวิธีรู้ได้ว่า ความเห็นใครถูกต้องใกล้เคียงที่สุด ด้วยการเอาความเห็น
ของตนไปเทียบเคียงกับพระไตรปิฎก บทสรุปมันอยู่ตรงนี้
แล้วไอ้วิธีของคุณที่ว่า เกิดนิวรณ์ให้ดูนิ่งๆ ในพระไตรปิฎกมันมีหรือครับ

จะบอกให้ครับ นิวรณ์ถ้าไปดูนิ่งๆ นิวรณ์มันจะกลายเป็นกิเลสใหญ่
คือโทสะ โลภะและโมหะมาแทนนะครับ อย่าเข้าใจว่า กิเลส3ตัวนี้กับ
นิวรณ์ห้าเป็นตัวเดียวกันนะครับ

asoka เขียน:
Onion_L
วิธีการของนักวิปัสนานั้นเขาเข้าไปเผชิญหน้ากับกามฉันทะหรือความยินดีนั้นโดยตรง นิ่งรู้นิ่งสังเกตลงไปที่ความยินดีเพื่อจะค้นหาสมุทัย คือเหตุที่มาแห่งความยินดีแล้วไปถอนเหตุแห่งความยินดีนั้นออก
นี่เป็นวิธีการที่เป็นไปตามมรรค 8 โดยเอาสติและปัญามรรคมาค้นหาเหตุ และเป็นไปตามวิธีการเจริญสติปัฏฐานสี่โดยตรงด้วยดังกล่าวไว้ในสติปัฏฐานสูตรว่า วิเนยยะโลเกอภิชฌาโทมนัสสัง ซึ่งแปลว่า เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก

พูดเรื่อยเจื่อยเป็นนกแก้วนกขุนทอง นักวิปัสนาที่มีปัญญาเขารู้เหตุรู้สมุทัย
ตั้งแต่ปีมะโว้แล้ว คุณจำได้มั้ยผมเคยไล่ให้คุณไปศึกษาเรื่อง อริยสัจจ์สี่ให้ดีเสียก่อน
ในอริยสัจจ์สี่ท่านบอกไว้หมดแล้วว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือเหตุแห่งทุกข์
วิปัสนาที่กำลังทำอยู่เขาเรียกมรรค เป็นการปฏิบัติหลังจากที่ทราบแล้วว่าเหตุ
คืออะไรและทุกข์คืออะไร


อีกเรื่องที่คุณบอกว่า "นิ่งๆสังเกตุไปที่ความยินดีเพื่อค้นหาสมุทัย" คุณพูดประโยคนี้ออกมา
คุณไม่รู้สึกถึงความขัดกันในคำพูดหรือ จะเตือนครับ จะพูดธรรมต้องมองสภาวะธรรมตามไปด้วย

อยากถามครับว่า สภาวะนิ่งๆกับสภาวะค้นหาเนี้ยมันเข้ากันได้มั้ยครับ
asoka เขียน:
การจะเอาความยินดียินร้ายออกนั้นจะต้องทำอย่างไร พระบรมศาสดามิได้ทรงแสดงไว้ในสติปัฏฐานสูตรก็เพื่อให้ผู้เจริญสติปัฏฐานไ ด้ใช้สติปัญญาของตนค้นพบเอาเอง

ไอ้ที่คุณบอกว่า"พระบรมศาสดามิได้ทรงแสดงไว้" มันเป็นความเข้าใจของคุณเอง
มันเกิดจากสาเหตุ คุณไม่รู้ว่า พระพุทธทรงแสดงไว้ตรงส่วนไหนของพระไตรปิฎก
และที่สำคัญคุณอ่านพระไตรปิฎกแล้วไม่เข้าใจ
สภาวะธรรมชาติทุกอย่างล้วนมีบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก
คนที่จะอ่านพระไตรปิฎกเข้าใจได้หมดต้องเป็นผู้ละกิเลส
ในเรื่องวิจิกิจฉาได้แล้ว คือเกิดปัญญาแล้ว
ที่ว่า "ใช้สติปัญญาของตนค้นพบเอาเอง" มันถูกตรงที่ต้องใช้สติปัญญาตัวเอง
ก็คือต้องไปหาสติปัญญาของตัวเองด้วยตัวเองให้ได้เสียก่อน แล้วจึงมาปฏิบัติตามคำ
สอนของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงบอกไว้หมดแล้วใน ไตรสิกขา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2011, 04:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
คนฉลาดก็จะใช้วิธีที่ลัดสั้นและตรงตามธรรมคือค้นลงไปที่ปัจจุบันอารมณ์นั้นทันที คือนิ่งรู้นิ่งสังเกตไว้ที่ความยินดี เพียงไม่กี่อึดใจเขาก็จะได้เห็นความยินดีนั้นดับลงไปต่อหน้าต่อตา เปลี่ยนเป็นอารมณ์ใหม่อันอื่นขึ้นมาตามกำลังลูกโซ่แห่งอารมณ์ เขาก็จะใช้วิธีการอันเดิมนั้นทำกับทุกอารมณ์ จนไม่มีอารมณ์อันใดให้สังเกตพิจารณาอีกก็เป็นอันจบงานของกลุ่มห่วงโซ่อารมณ์แห่งความยินดีนั้นจบธัมมานุปัสนาสติปัฏฐานในอารมณ์ยินดี ก

เอาอีกแล้ว เอาสมมุติบัญญัติมาเล่น เหมือนพวกเจ้าสำนักที่ชอบสร้างศรัทธาด้วยวิธีนี้
การอธิบายความในเรื่องธรรม มันต้องชี้ให้ชัดลงไปถึงสถาวะอันเป็นปรมัตถ์
คุณโสกะคงเข้าใจว่าเรากำลังประกวดเรียงความกันมั้งครับ

ไอ้วิธีลัดสั้นอะไรของคุณมันไม่มีหรอกนะ การปฏิบัติมันมีวิธีการที่ลงตัวของมันเอง
นิพพาน ไม่ใช่ ชลบุรีถึงจะได้ต้องมี บายพาสมอเตอร์เวย์
สภาวะธรรมสภาวะจิตของคน มันหมุนเปลี่ยนไป
รูปนามขันธ์ห้า มันไม่อยู่นิ่ง ดังนั้นท่านถึงได้มีสติปัสฐานถึงสี่ฐาน
เพื่อให้เหมาะแก่สภาวะที่อยู่ในปัจจุบันนั้นๆ มันไม่เกี่ยวกันเลยกับเรื่อง
ลัดสั้น อย่าจำคำคนอื่นมาพูดแบบขาดความเข้าใจ มันจะทำให้เรา
ดูด้อยลงในทันทีครับ

จะเอาคำพูดของคุณมาพูดให้คุณเข้าใจนะครับ
ไอ้อารมณ์ที่คุณเข้ารู้นิ่งๆ แล้วเห็นมันดับไปนั้นน่ะ เข้าเรียกเห็น ไตรลักษณ์
ความหมายก็คือ เข้าไปรู้ความเป็นอนิจัง ทุกข์และอนัตตา

ส่วนการทำวิปัสนาหรือสติปัฏฐานสี่ มันทำให้เกิดความเป็นกลางของอารมณ์
เห็นความแตกต่างหรือยัง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2011, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
สิ่งที่น่าเป็นห่วงในคำพูดท่อนนี้ของคุณโฮ...อยู่ที่ว่า

ไอ้วิธีนิ่งสังเกตมันเป็นวิธีการของปุถุชนเขาค้นหาปัญญา

ความข้อนี้คุณโฮ..ก็พลาดอีกแล้ว ความสังเกต พิจารณานั้นเป็นตัวปัญญาสัมมาสังกัปปะความดำริชอบนั้นเลยทีเดียว
สังเกต ไม่ใช้ความคิด ...พิจารณาใช้ความคิด ถ้าขาดความสังเกตเสียแล้ววิปัสนาปัญาจักไม่เกิดขึ้นได้ เพราะไม่มีตัวปัญญาที่จะไปค้นหาให้พบเหตุทุกข์ มรรคก็จะไม่เดิน อริยสัจ ก็จะไม่ครบ
:b34: :b34: :b34: :b33:

คุณว่าผมพลาดหรือ เอางี้ดีกว่าว่าผมพลาดหรือเป็นเพราะคุณไม่รู้
ผมจะชี้ให้ดูนะว่า ไม่รู้เรื่องอะไรบ้างและใครน่าห่วงกว่ากัน........
asoka เขียน:
ความข้อนี้คุณโฮ..ก็พลาดอีกแล้ว ความสังเกต พิจารณานั้นเป็นตัวปัญญาสัมมาสังกัปปะความดำริชอบนั้นเลยทีเดียว

ความสังเกตุ พิจารณา ของคนที่เป็นสัมมาทิฐิ เข้าเรียกว่า ธ้มมวิจยะ
เป็นธรรมในโพชชฌงค์ เมื่อใช้ธรรมนี้ประกอบร่วมกับโพชฌงค์ที่เหลือ
ก็จะเกิดเป็นสัมมาสังกัปปะ สัมมาสังกัปปะคือความคิดที่เป็นกลาง
ดังนั้นที่คุณบอกว่า การพิจารณาธรรมเป็นสัมมาสังกัปปะมันผิด

ผมดูคุณตอนนี้เหมือนเป็ดกำลังขันให้เหมือนไก่ :b13:
asoka เขียน:
สังเกต ไม่ใช้ความคิด ...พิจารณาใช้ความคิด ถ้าขาดความสังเกตเสียแล้ววิปัสนาปัญาจักไม่เกิดขึ้นได้ เพราะไม่มีตัวปัญญาที่จะไปค้นหาให้พบเหตุทุกข์ มรรคก็จะไม่เดิน อริยสัจ ก็จะไม่ครบ
:b34: :b34: :b34: :b33:

แล้วผมบอกคุณหรือว่า สังเกตุมันเป็นความคิด คุณก็รู้ว่ามันไม่ใช่ความคิด
แล้วคุณไปเอามันมารวมกับคำว่า พิจารณาทำไม ในเมื่อคุณก็บอกว่า พิจารณา
เป็นความคิด แค่นี้มันก็ชี้ให้เห็นแล้วว่า สิ่งที่คุณพูดมาทั้งหมดคุณยังขาดความเข้าใจ
อันหนึ่งคิด อันหนึ่งไม่คิดเอามารวมกันได้อย่างไร

ทั้งหลายแหล่นี้มันเป็นเพราะ คุณหยิบสมมุติบัญญัติมาใช้ โดยขาดควาเข้าใจ
ในสภาวะที่เป็นปรมัตถ์ มันเลยยิ่งพูดคุณยิ่งหลง

กับคำว่าสังเกตุก็เช่นกัน ถ้าโดยสภาวะแล้ว มันเป็นสติ
มันไม่ใช่การอาการนิ่งๆของจิต ชัดๆลงไปกว่านี้ก็คือ
การมีสติคอบควบคุมให้อยู่ในสภาวะอารมณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้นนั้นๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2011, 11:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b16: ที่คุณโฮ..ตอบมายาวยืดทั้งหมดนั้นจับประเด็นได้ว่าคุณโฮ..ไม่เคยสัมผัสสภาวปรมัตถ์อย่างถูกต้องเพราะแม้แต่ความสังเกตกับพิจารณาคุณก็แยกแยะไม่ถูกแล้ว

สังเกตและพิจารณาเป็นปัญญินทรียเจตสิกมิใช่สตินทรียเจตสิก โดยธรรมเมื่อตาปัญญาสัมมาทิฐิไปเห็น ดูแล้ว ตาปัญญาสัมมาสังกัปปะจะสังเกต พิจารณาต่อทันทีเพื่อค้นหาคำตอบ.............ไว้อ่านต่อนะครับ
:b12: ค ต ยย ผ ฑ ษ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2011, 10:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๑๗๓๕ - ๑๙๗๙. หน้าที่ ๗๔ - ๘๓.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0




เอาใจจรดจ่อปักเพ่งอยู่กับนิวรณ์ห้า เป้นการเจริญ อกุศลฌาน.....อโสกะชอบเจริญนิวรณ์o ชอบเจริญอกุศลฌาน....แบบนี้ไปเป็นหมอผีทำไสยดำได้ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2011, 07:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๑๗๓๕ - ๑๙๗๙. หน้าที่ ๗๔ - ๘๓.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0




เอาใจจรดจ่อปักเพ่งอยู่กับนิวรณ์ห้า เป้นการเจริญ อกุศลฌาน.....อโสกะชอบเจริญนิวรณ์o ชอบเจริญอกุศลฌาน....แบบนี้ไปเป็นหมอผีทำไสยดำได้ :b32:

wink Kiss
จิตตะ ในอิทธิบาท 4 กับ สังเกต ในปัญญามรรค ต่างกันลิบลับมากเลยนะครับ
พึงสังเกต + พิจารณาให้ดีๆครับ
Onion_L Onion_L Onion_L Onion_L


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2011, 23:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


โสกะ.....เฒ่าผู้มีฉันทะ....จิตตะ ในการเจิรญนิวรณ์ :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2011, 09:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับพี่ๆทุกคน ผมเป็นน้องใหม่ที่เว็บบอร์ดนี้ครับ พออ่านกระทู้ของพี่ๆที่สนทนาธรรมกันแล้วผมไม่สบายใจเลยครับ ก็เลยอยากขอพูดอะไรนิดหน่อย...
ไม่ว่าจะเป็นการทำสมาธิหรือทำวิปัสสนา อะไรทำก่อนอะไรทำทีหลังอะไรนำหน้าอะไรตามมา ถ้าองค์ประกอบของ ศีก สมาธิและปัญญาครบ ย่อมเป็นทางเดินที่ถูกและไปสู่เหตุแห่งทุกข์หนทางดับทุกข์และนิพพานได้ครับ...
พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ทรงแสดงหลักธรรมไว้เพียงหนึ่งเดียว แต่แสดงไว้ 84000 พระธรรมขันธ์ แต่ ธรรมทั้งปวงที่ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อจุดหมายปลายทางเดียวเท่านั้นคือนิพพานดับทุกข์สิ้นเชิง...
นั่นหมายความว่าที่ทรงแสดงธรรมไว้มากก็เพราะทรงพิจารณาเห็นแล้วว่าแต่ละบุคคลย่อมมีภูมิวาสนาภูมิจิตภูมิธรรมแตกต่างกันไป ถ้าเป็นสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงประทับอยู่พระองค์ก็จะเป็นผู้เลือกแสดงธรรมที่เหมาะสมกับบุคคลแต่ละคนไปนั่นเองครับ...
การเจริญสมถะกรรมฐานกับวิปัสสนากรรมฐานถ้าเป็นในแนวทางปฏิบัติสายพระป่าแล้วท่านให้ทำควบคู่กันไปครับ อันไหนจะเกิดก่อนเกิดหลังก็ขึ้นอยู่กับภูมิวาสนาของแต่ละคนครับ จะทำสมาธิจนจิตลงสู่ความสงบพักอยู่ในสมาธิจนจิตมีกำลังเต็มที่แล้วถอนออกมาวิปัสสนาก็ได้ หรือจะพิจารณาธรรมก่อนจนจิตค่อยๆลงสู่ความสงบเป็นสมาธิแล้วพักจนจิตมีกำลังเต็มที่แล้วถอนออกมาพิจารณาก็ได้ จะเรียกว่าเป็นแบบ สมาธิอบรมปัญญากับปัญญาอบรมสามธิก็ได้ เพราะผลสุดท้ายแล้วทั้งสมาธิและปัญญามันจะเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน เกิดขึ้นพร้อมๆกัน ตั้งอยู่พร้อมๆกันครับ...
คนที่มีภูมิวาสนาสูงย่อมเป็นไปได้ที่จะเข้าถึงนิพพานด้วยเจริญสมถะเป็นหลักจนเกิดญาณทัสสนะขึ้นมาเป็นลำดับจนถึงอาสวักขยญาณ เรียกว่าสำเร็จอภิญญาทั้ง 6 ครับ จะเรียกว่าสำเร็จแบบเจโตวิมุตติก็ได้ครับ ซึ่งหาได้ยากในยุคปัจจุบัน ผู้ที่มีภูมิวาสนาไม่ค่อยสูงย่อมเข้าถึงนิพพานโดยเจริญสมถะเป็นหลักได้ยากครับ...
ตัวผมเองก็พิจารณาว่าตัวเองเป็นคนที่ภูมิวาสนาตัวเองไม่สูงมาก แนวทางของพระป่าจึงเหมาะกับจริตผมมากกว่า ที่ต้องคอยใช้ปัญญาอบรมจิตให้เกิดสมาธิ จะเรียกว่าเป็นคนประเภท ปฏิบัติลำบากและรู้ได้ช้าก็ได้ครับ ...
สุดท้ายนะครับไม่ว่าจะปฏิบัติในแนวทางใดจะครูบาอาจารย์ท่านใด ถ้าทำแล้วเจริญให้มากขึ้นแล้ว ตัวกิเลส ตัวทิฏฐิ ตัวมานะ ตัวสังขาร อุปทานทั้งหลาย ลงลดไปดับไปเรื่อยๆ ก็แสดงว่ามาถูกทางปฏิบัติได้ถูกหลักกันทั้งนั้นครับ ดังนั้นขอให้พี่ๆลองพิจารณาสังเกตใจของตัวเองดูนะครับว่า ตัวกิเลส ตัวทิฏฐิ ตัวมานะ ตัวสังขาร อุปทานทั้งหลายนั้นยังมีอยู่มากหรือว่าลดลงหรือตัวไหนที่หมดไปแล้ว...ขออนุโมทนาให้ผลบุญจากการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบหนุนนำให้ทุกคนเข้าใกล้นิพพานขึ้นเรื่อยๆนะครับ
ปล. หนทางสู่นิพพานต้องถึงพร้อมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2011, 12:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: ก็รุนแรงตามกิเลส
บางทีก็ต้องตะคอกกิเฝสบ้างแหล ะครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 164 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร