วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 20:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2012, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


การสูญเสียความสามารถในการพูดและการมองเห็น



ในระยะสุดท้ายการพูดและการมองเห็นเป็นอวัยวะรับรู้ความรู้สึกที่จะสูญเสียไป ก่อน ผู้ป่วยจะสูญเสียการสื่อสาร มองสิ่งต่างๆ อย่างไม่มีความหมาย ผู้ดูแลอาจเข้าใจว่าผู้ป่วยไม่รับรู้อะไรแล้ว แต่ความจริงผู้ป่วยบางราย อาจมีประสาทรับฟังทำงานได้อยู่ และสามารถรับรู้สิ่งที่คนรอบข้างพูดคุย การดูแลจึงไม่ควรร้องไห้ หรือพูดคุยในสิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สบายใจ หรือก่อให้เกิดความกังวลหรือความห่วงใย ผู้ดูแลและญาติพี่น้องไม่ควรร้องไห้ฟูมฟาย ควรพูดคุยแต่สิ่งที่ดีๆ เช่น ความดีที่ผู้ป่วยเคยทำ ความรู้สึกดีๆ ที่มีต่อผู้ป่วย



การสูญเสียการได้ยินและประสาทสัมผัส



การได้ยินและประสาทสัมผัสจะเป็นอวัยวะส่วนรับรู้ความรู้สึกที่เสียไปหลังสุด การดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้าย จึงควรเป็นการดูแลผู้ป่วยให้สุขสบาย โดยการใช้สัมผัส การลูบคลำ การนวด เพื่อให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย

อาการสับสนกระสับกระส่าย



อาจเกิดจากสาเหตุหลายอย่าง เช่น ความปวดที่ควบคุมไม่ได้ จึงไม่ควรหยุดยาแก้ปวดทันที กรณีได้ยาแก้ปวดอยู่อาจเพิ่มขนาดให้ผู้ป่วยลดความกระสับกระส่าย แต่อาจมีผลทำให้ผู้ป่วยง่วงซึม การมีปัสสาวะหรืออุจจาระ ซึ่งอาจจำเป็นต้องช่วยสวนปัสสาวะหรืออุจจาระ



บางกรณี อาการกระสับกระส่ายอาจเกิดจากความกลัว หรือยังมีความค้างคาใจที่ยังไม่ได้รับการจัดการ จึงควรพิจารณาถึงสาเหตุให้ถี่ถ้วน และให้การดูแลแก้ไขที่สมควรแก่เหตุ


ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมอาการดังกล่าวได้ แพทย์จึงอาจให้ยาระงับประสาท เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสงบลงเป็นทางเลือกท้ายๆ



อาการอื่นๆ ในผู้ป่วยที่ใกล้จะเสียชีวิต



ในระยะที่ผู้ป่วยสูญเสียความรู้สึกตัวไป จะเริ่มมีอาการหายใจเสียงดัง การกลืนเป็นไปอย่างยากลำบาก คางตกหย่อนลง อาการหายใจเสียงดังมักไม่ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน แต่มักทำให้ผู้ดูแลวิตกกังวล เกรงว่าผู้ป่วยจะทุกข์ทรมาน การดูแลภาวะหายใจเสียงดัง ควรจัดท่านอนตะแคง ซึ่งจะช่วยให้การหายใจเสียงดังลดลง แล้วใช้ผ้าซับน้ำลายหรือเสมหะที่ข้างกระพุ้งแก้ม หรือดูดเสมหะที่อยู่กระพุ้งแก้มออก ไม่จำเป็นต้องดูดเสมหะในลำคอออก เพราะนอกจากจะไม่ช่วยลดอาการแล้ว ยังกลับทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานมากขึ้น



การให้สารน้ำจำนวนมากในระยะสุดท้ายที่การทำงานของไตผู้ป่วยบกพร่อง อาจเป็นผลเสียมากกว่าผลดี โดยเฉพาะการให้น้ำเกลือ อาจทำให้ผู้ป่วยมีภาวะบวมน้ำ และมีเสมหะมากขึ้น การให้น้ำเกลือในผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต จึงเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เป็นต้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2012, 17:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


หลักการดูแลผู้ป่วยในช่วงก่อนเสียชีวิต



ผู้ดูแลควรทราบว่าในระยะดังกล่าว ผู้ป่วยจะมีอาการอะไรบ้าง ซึ่งแพทย์ควรพูดคุยให้ผู้ดูแลและญาติทราบก่อน และมีการวางแผนล่วงหน้าว่าจะจัดการกับอาการดังกล่าวอย่างไร เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ดูแลให้น้อยลง



ควรมีการทบทวนยาต่างๆ ที่ผู้ป่วยใช้ เพราะผู้ป่วยในระยะนี้มีการกลืนลำบาก จึงควรให้ผู้ป่วยได้รับแต่ยาที่ช่วยระงับอาการไม่สุขสบายต่างๆ เท่านั้น ยาที่ไม่จำเป็นในระยะนี้ ได้แก่ยาสำหรับโรคเรื้อรังที่ผู้ป่วยใช้ประจำ เช่น ยาเบาหวาน ยาลดไขมัน ยาลดความดัน วิตามินต่างๆ ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ถ้าผู้ป่วยใช้ยาแก้ปวดอยู่ ไม่ควรจะหยุดยาในทันที แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการปวด แต่ควรลดขนาดยาลง เนื่องจากระยะสุดท้ายการทำงานของไตจะเริ่มเสื่อมถอยลง

ญาติควรปรึกษาหารือร่วมกับแพทย์ในเรื่องการปรับยา รวมถึงการเปลี่ยนรูปแบบการให้ยา เช่น ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถกลืนยาเม็ดได้ ต้องเปลี่ยนเป็นยาน้ำ ยาเหน็บทางทวารหนัก แผ่นปะทางผิวหนัง ยาที่ต้องให้ทางหลอดเลือด ควรเปลี่ยนเป็นให้ทางใต้ผิวหนัง กรณีที่ผู้ป่วยได้น้ำเกลือเข้าเส้น ควรลดปริมาณหรือหยุดให้ พร้อมกับยุติการให้อาหาร หรือน้ำทางสายยาง เนื่องจากไม่ก่อเกิดประโยชน์อีกต่อไป แต่ดูแลเรื่องการขับถ่าย ปัสสาวะและอุจจาระ

การดูแลในช่วงนี้ ควรเป็นการดูแลให้ผู้ป่วยสุขสบาย จึงให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สงบ ดูแลความสะอาดปาก โดยใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำเช็ดทำความสะอาดในปาก ดูแลตาไม่ให้แห้งโดยหยอดน้ำตาเทียมทุกหนึ่งชั่วโมง พลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบาย ทำกายภาพบำบัด นวดแขนขา เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง ลดอาการปวด


การดูแลครอบครัวผู้ป่วย

ช่วงเวลาที่ผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต เป็นช่วงที่วิกฤตสำหรับครอบครัว เนื่องจากต้องเผชิญกับความสูญเสียที่กำลังจะเกิดขึ้น จึงควรมีการดูแลครอบครัวผู้ป่วยด้วยเช่นกันเพื่อให้ผ่านวิกฤตนี้ไปได้



แพทย์ควรต้องสื่อสารอธิบายให้ครอบครัวทราบว่า เวลาเหลือน้อยลงเพียงใดแล้ว ภารกิจต่างๆ ของผู้ป่วยที่ยังค้างคาใจอยู่ ควรดำเนินการให้แล้วเสร็จ ควรให้ข้อมูลแก่ครอบครัว ถึงการเปลี่ยนแปลงและอาการต่างๆ ที่อาจพบในช่วงสุดท้าย รวมถึงแนะนำแนวทางการดูแลด้วย

การประคับประคองด้านจิตใจของครอบครัว เป็นสิ่งที่สำคัญ ควรให้คนในครอบครัวทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแล มีการพูดคุยเพื่อระบายความรู้สึกที่มีอยู่ให้กันและกันฟั


ช่วงสุดท้ายของชีวิต



ช่วงวัน ชั่วโมง นาทีสุดท้ายของชีวิตของผู้ป่วย จะเป็นช่วงที่อยู่ในความทรงจำของครอบครัวไปชั่วชีวิต และการที่ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างไร มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อชีวิตที่เหลืออยู่ ของคนอื่นๆในครอบครัว การดูแลที่มีประสิทธิภาพ ที่เข้าอกเข้าใจและอ่อนโยน โดยคำนึงถึงมิติทางกายภาพและจิตใจอย่างเป็นองค์รวมในช่วงระยะก่อนผู้ป่วย เสียชีวิต จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นที่สุดที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ ป่วยทุกคนไม่ว่าจะเป็นแพทย์พยาบาล ตลอดจนครอบครัวญาติมิตรจะต้องเปิดใจรับฟัง เรียนรู้ และปฏิบัติร่วมกัน


บทสนทนาเรื่อง ภาวะร่างกายและการดูแลในช่วงขณะสุดท้ายของชีวิต

ในการอบรมเผชิญความตายอย่างสงบ

คุณสุรีย์ ลี้มงคล


http://www.idmt.org/index.php?lay=show& ... 2&Ntype=16


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2012, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


น่าอ่านน่ะค่ะ คล้ายๆกับอาการของเรา
ร่างกายไม่รู้สึก แต่จิตยังรู้
จิตยังไปนึกถึงสิ่งที่ทำทุกๆวัน


?ในทางพุทธศาสนา การหมดลมหายใจหรือสมองไม่ทำงาน ถือว่าตายสนิทแล้วหรือยังครับ

พระไพศาล วิสาโล : เป็น แค่ตายทางกาย ในทางพุทธศาสนาเชื่อว่า จิตอาจยังอยู่ บางทีหมดลมแล้ว จิตอาจยังไม่รู้ว่าตายด้วยซ้ำ เราเชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ตายแล้วแต่ไม่รู้ว่าตาย เพราะมันเหมือนกับฝันไป เวลาคุณฝัน คุณไม่รู้หรอกว่าคุณหลับอยู่ คนตายแล้วบางทีเขาเหมือนกับคนฝัน เขาอาจจะเห็นโน่นเห็นนี่ แต่เขานึกว่าไอ้ที่เห็นมันเป็นความฝัน แต่ที่จริงที่เขาเห็นมันไม่ใช่ฝันแล้วนะ คือเห็นจริง ๆ แต่เห็นในภาวะที่จิตออกจากร่างแล้ว
ทางทิเบตพูดเรื่องนี้ไว้ชัดเลยว่า ถึงแม้จะหมดลมแล้ว แต่จิตยังไม่ออกจากร่างทันที ต้องผ่านกระบวนการแตกดับภายใน จนถึงขั้นที่เรียกว่า " แสงกระจ่าง " ถึงตอนนั้นจึงจะตายอย่างแท้จริง แต่ก็มีนักปฏิบัติธรรมจำนวนไม่น้อยที่หมดลมไปแล้วหลายวัน แต่จิตยังไม่แตกดับอย่างถึงที่สุด เพราะจิตยังไม่ออกจากร่าง อย่างนี้เรียกว่าลมหายใจภายในยังไม่หมด แม้ลมหายใจภายนอกจะหมดไปแล้วก็ตาม ในทิเบตเวลามีใครตาย เขาจะไม่แตะหรือเคลื่อนย้ายร่างเลย เพราะไม่ต้องการรบกวนจิตที่กำลังอยู่ในภาวะที่ละเอียดอ่อน มีการปล่อยไว้ถึง ๓ วัน ๗ วัน หรือ ๑๐ วันก็มี ปรากฏว่าร่างไม่เน่าไม่ส่งกลิ่น หมอฝรั่งก็แปลกใจว่าทำไมไม่เน่า ที่ไม่เน่าเพราะยังไม่ตาย ถึงแม้ว่าลมหายใจหมดแล้ว นี่เป็นกรณีนักปฏิบัติธรรม แต่ถ้าไม่ใช่นักปฏิบัติธรรม จิตจะแตกดับและหลุดจากร่างเร็วมาก อย่างไรก็ตาม เวลาใครตายญาติน่าจะปล่อยไว้นิ่ง ๆ สักครึ่งวันหรือหนึ่งคืน แล้วก็ร่วมกันสวดมนต์ภาวนา ทำสมาธิรอบ ๆ เตียงคนตาย ส่งจิตให้เขาได้รับกุศล แผ่เมตตาให้เขาได้รับความสงบเย็น
อย่างกรณี สุภาพร พงศ์พฤกษ์ หลังจากหมดลมแล้ว เพื่อนก็ยังทำสมาธิและตีระฆังให้จิตรับรู้ เพราะตอนมีชีวิตอยู่เขาคุ้นกับเสียงระฆัง ถ้ามีเสียงแบบนี้ช่วย จิตก็จะน้อมไปในทางที่เป็นกุศลได้ง่าย อันนี้เป็นเรื่องที่คนไม่ค่อยได้คิด พอหมดลม ใครต่อใครก็พากันทำโน่นทำนี่กับศพ เตรียมทำความสะอาดศพบ้าง ฉีดน้ำยากันเน่าบ้าง บรรยากาศดูวุ่นวาย ไม่เอื้อต่อความสงบในขั้นสุดท้าย ที่จริงแม้กระทั่งตอนจัดงานศพแล้ว กระบวนการดังกล่าวก็ยังสำคัญอยู่ เพราะจิตก็อาจจะยังรับรู้ได้ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2012, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


? การเจริญสติก็อาจช่วยลดความเจ็บปวดได้หรือ

พระไพศาล วิสาโล : สมัย พุทธกาลมีพระรูปหนึ่งชื่อพระอนุรุทธะ ท่านอาพาธหนัก ต่อมาท่านหายป่วย เพื่อนพระจึงถามว่า ท่านหายได้เพราะอะไร ท่านบอกว่าเพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ คือการมีสติรู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม พูดสั้น ๆ คือรู้เท่าทันในกายและใจ สติช่วยให้เราเห็นความทุกข์ทางกายโดยไม่เข้าไปเป็นผู้ทุกข์ ช่วยประคองใจไม่ให้เข้าไปในความทุกข์ หรือกระสับกระส่ายไปกับกาย พูดง่าย ๆ คือแม้ปวดกาย แต่ไม่ปวดใจ กายกระสับกระส่าย แต่จิตไม่กระสับกระส่าย อันนี้ต้องอาศัยสติ เพราะถ้าเราไม่มีสติ จิตมันก็จะไปจมอยู่กับความทุกข์ทางกาย การมีสมาธิก็ช่วยได้ เช่นขณะที่ร่างกายเราป่วย แต่ว่าเราจดจ่ออยู่กับลมหายใจ จิตก็จะรับรู้ความปวดทางกายน้อยลง ก็เหมือนกับคนที่เล่นไพ่เป็นวันเป็นคืน ทำไมไม่รู้สึกปวดเมื่อย ทั้ง ๆ ที่นั่งพับเพียบติดต่อกันหลายชั่วโมง ก็เพราะใจมีสมาธิอยู่กับไพ่ เช่นเดียวกันเวลาดูบอลกลางแดด แดดร้อน แต่ไม่รู้สึกทุกข์ร้อนอะไรเลย เพราะว่าจิตมันไม่ไปรับรู้ความร้อน แต่ไปจดจ่ออยู่กับนักกีฬาที่กำลังเล่นฟุตบอล การจดจ่อของจิตนี้เราเรียกว่าสมาธิ ซึ่งช่วยลดความเจ็บปวดได้
อีกอย่าง ที่ช่วยได้คือการนึกถึงสิ่งที่ดีงาม เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เรานับถือ อาทิ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือจะนึกถึงความดีที่เคยทำก็ได้ มีอุบาสกคนหนึ่งชื่อทีฆาวุ เกิดป่วยหนัก พระพุทธเจ้าก็แนะให้นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วก็ระลึกถึงศีลว่าได้ทำความดีถึงพร้อมหรือยัง และเมื่อเขารู้สึกมั่นใจในความดีที่ได้ทำแล้ว พระพุทธเจ้าก็แนะต่อไปให้พิจารณาว่าสังขารทั้งหลายทั้งปวงมันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน จุดนี้เป็นการช่วยให้เกิดปัญญาขึ้นมา ถ้าเกิดปัญญาแล้ว ความเจ็บปวดหรือความตายก็มิใช่สิ่งน่ากลัวอีกต่อไป คือความตายมันน่ากลัวเพราะว่าเรายังหลงยึดสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นตัวตน เป็นตัวกูของกู ยึดว่านี่เป็นร่างกายของฉัน บ้านของฉัน คนรักของฉัน เรากลัวว่าเราจะพลัดพรากจากสิ่งเหล่านี้ แต่ถ้าเรามีปัญญาเห็นและตระหนักว่ามันไม่มีอะไรที่น่ายึดถือเป็นตัวตน ใจก็วางสิ่งต่าง ๆ ได้ เมื่อวางได้ ความตายก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวอีกต่อไป ความตายกลับเป็นสิ่งที่ดี คือกลายเป็นตัวเร่งให้เราปล่อยวางเร็วเข้า เพราะขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ ยังสนุกสนานเพลิดเพลิน เราไม่ค่อยปล่อยวางเท่าไหร่ แต่พอเรารู้ว่าความตายจะมาถึงแล้ว ก็จะปล่อยวางได้ง่าย ความตายกลายเป็นตัวเร่งให้เราต้องปล่อยวาง เพราะถ้าไม่ปล่อยวาง ก็จะยิ่งทุกข์ ทางโลกเขาถือว่าความตายเป็นวิกฤต แต่พุทธศาสนาถือว่าความตายเป็นโอกาส โอกาสที่จะหลุดพ้น โอกาสที่จะยกจิตให้สูงขึ้น เริ่มจากการที่จิตมีสติ มีสมาธิ ไปจนถึงการมีปัญญา อันนี้เป็นสิ่งซึ่งควรจะเตรียมตัวทุกคน ถ้าต้องการตายอย่างสงบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2012, 21:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2012, 01:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ได้ความรู้เพิ่มเติมอีกมาก ขอบคุณครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2012, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
? การเจริญสติก็อาจช่วยลดความเจ็บปวดได้หรือ

พระไพศาล วิสาโล : สมัย พุทธกาลมีพระรูปหนึ่งชื่อพระอนุรุทธะ ท่านอาพาธหนัก ต่อมาท่านหายป่วย เพื่อนพระจึงถามว่า ท่านหายได้เพราะอะไร ท่านบอกว่าเพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ คือการมีสติรู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม พูดสั้น ๆ คือรู้เท่าทันในกายและใจ สติช่วยให้เราเห็นความทุกข์ทางกายโดยไม่เข้าไปเป็นผู้ทุกข์ ช่วยประคองใจไม่ให้เข้าไปในความทุกข์ หรือกระสับกระส่ายไปกับกาย พูดง่าย ๆ คือแม้ปวดกาย แต่ไม่ปวดใจ กายกระสับกระส่าย แต่จิตไม่กระสับกระส่าย อันนี้ต้องอาศัยสติ เพราะถ้าเราไม่มีสติ จิตมันก็จะไปจมอยู่กับความทุกข์ทางกาย การมีสมาธิก็ช่วยได้ เช่นขณะที่ร่างกายเราป่วย แต่ว่าเราจดจ่ออยู่กับลมหายใจ จิตก็จะรับรู้ความปวดทางกายน้อยลง ก็เหมือนกับคนที่เล่นไพ่เป็นวันเป็นคืน ทำไมไม่รู้สึกปวดเมื่อย ทั้ง ๆ ที่นั่งพับเพียบติดต่อกันหลายชั่วโมง ก็เพราะใจมีสมาธิอยู่กับไพ่ เช่นเดียวกันเวลาดูบอลกลางแดด แดดร้อน แต่ไม่รู้สึกทุกข์ร้อนอะไรเลย เพราะว่าจิตมันไม่ไปรับรู้ความร้อน แต่ไปจดจ่ออยู่กับนักกีฬาที่กำลังเล่นฟุตบอล การจดจ่อของจิตนี้เราเรียกว่าสมาธิ ซึ่งช่วยลดความเจ็บปวดได้
อีกอย่าง ที่ช่วยได้คือการนึกถึงสิ่งที่ดีงาม เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เรานับถือ อาทิ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือจะนึกถึงความดีที่เคยทำก็ได้ มีอุบาสกคนหนึ่งชื่อทีฆาวุ เกิดป่วยหนัก พระพุทธเจ้าก็แนะให้นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วก็ระลึกถึงศีลว่าได้ทำความดีถึงพร้อมหรือยัง และเมื่อเขารู้สึกมั่นใจในความดีที่ได้ทำแล้ว พระพุทธเจ้าก็แนะต่อไปให้พิจารณาว่าสังขารทั้งหลายทั้งปวงมันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน จุดนี้เป็นการช่วยให้เกิดปัญญาขึ้นมา ถ้าเกิดปัญญาแล้ว ความเจ็บปวดหรือความตายก็มิใช่สิ่งน่ากลัวอีกต่อไป คือความตายมันน่ากลัวเพราะว่าเรายังหลงยึดสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นตัวตน เป็นตัวกูของกู ยึดว่านี่เป็นร่างกายของฉัน บ้านของฉัน คนรักของฉัน เรากลัวว่าเราจะพลัดพรากจากสิ่งเหล่านี้ แต่ถ้าเรามีปัญญาเห็นและตระหนักว่ามันไม่มีอะไรที่น่ายึดถือเป็นตัวตน ใจก็วางสิ่งต่าง ๆ ได้ เมื่อวางได้ ความตายก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวอีกต่อไป ความตายกลับเป็นสิ่งที่ดี คือกลายเป็นตัวเร่งให้เราปล่อยวางเร็วเข้า เพราะขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ ยังสนุกสนานเพลิดเพลิน เราไม่ค่อยปล่อยวางเท่าไหร่ แต่พอเรารู้ว่าความตายจะมาถึงแล้ว ก็จะปล่อยวางได้ง่าย ความตายกลายเป็นตัวเร่งให้เราต้องปล่อยวาง เพราะถ้าไม่ปล่อยวาง ก็จะยิ่งทุกข์ ทางโลกเขาถือว่าความตายเป็นวิกฤต แต่พุทธศาสนาถือว่าความตายเป็นโอกาส โอกาสที่จะหลุดพ้น โอกาสที่จะยกจิตให้สูงขึ้น เริ่มจากการที่จิตมีสติ มีสมาธิ ไปจนถึงการมีปัญญา อันนี้เป็นสิ่งซึ่งควรจะเตรียมตัวทุกคน ถ้าต้องการตายอย่างสงบ

:b8: :b8:
จากประสบการณ์เฉียดตายของเราหลายครั้งหลายคราทั้ง "อุบัติเหตุ" และความเจ็บป่วยที่ต้องผ่าตัดแบบฉุกเฉินและแบบรู้ตัวล่วงหน้า...จริงๆแล้วเราไม่ได้กลัวตายมองให้ลึกๆลงไปถึงรากเหง้าของความกลัว...มันกลัวพลัดพรากจากร่างกายนี้..กลัวการสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รัก น่าพอใจ น่าปรารถนา...
ถ้าไม่มีสิ่งผูดรัดเหล่านี้ มันก็จะไม่มีสิ่งที่ใจไปยึดไว้คือความเข้าไปยึดถือ ตัวเราของเรานั่นเอง
จากประสบการณ์ความเจ็บป่วยทางร่างกาย (ความเสื่อมของสังขาร)มันเป็นอะไรที่ทรมานมาก..ความเจ็บปวดมันยืดเยื้อ..ซ้ำซาก...เราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ความเจ็บปวดนี้จะสิ้นสุดลง...ความฟุ้งซ่านใจจะมีมาก
ดังนั้นคนที่ไม่เคยฝึกการเจริญสติเพื่อกำหนดรู้และ..ปล่อยวางเพื่อละตัวตนแล้ว ..มันยากที่ใจจะสงบ
.."สติ" เป็นสิ่งที่ควรเจริญให้มาก..ถ้าคุณมี "สติ"ปัญญาก็จะตามมา..ในนาทีวิกฤตของชีวิตคุณจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้... :b41:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2012, 22:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริง....คือเราไม่เคยตาย...แค่เปลี่ยนบ้าน...

แต่ที่ทุกข์....เพราะไม่เข้าใจ...ตัวเดียวเอง....

ถ้าจะให้ดีนะ....อย่าไปคิดเอาบ้านใหม่อีก...หากไม่อยากเสียใจอีกครั้ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2012, 00:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นางวิสาขา

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/u ... ika-04.htm

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพารามปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี
ก็สมัยนั้นแล หลานผู้เป็นที่รักที่พอใจของนางวิสาขามิคารมารดาได้สิ้นชีวิตลง ได้ยินว่า เด็กหญิงนั้นสมบูรณ์ด้วยวัตร เลื่อมใสยิ่งในพระศาสนา เป็นผู้ไม่ประมาท ได้กระทำการขวนขวายที่ตนจะพึงทำแก่ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายผู้เข้าไปยังบ้านของอุบาสิกา ทั้งเวลาก่อนอาหารและหลังอาหาร ปฏิบัติคล้อยตามใจของยายตน
ด้วยเหตุนั้น มหาอุบาสิกาชื่อว่าวิสาขา เมื่อออกจากเรือนไปข้างนอก ได้มอบหน้าที่ทั้งหมดแก่เด็กหญิงนั้นนั่นแล แล้วจึงไป และเธอก็มีรูปร่างน่าชมน่าเลื่อมใส ดังนั้น เธอจึงเป็นที่รักที่ชอบใจโดยพิเศษของวิสาขามหาอุบาสิกา เธอถูกโรคครอบงำจึงถึงแก่กรรม.
ลำดับนั้น มหาอุบาสิกาเมื่อไม่อาจจะอดกลั้นความโศก เพราะการตายของหลานได้ จึงเป็นทุกข์เสียใจ ให้คนเอาศพไปเก็บไว้แล้ว
ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมารดามีผ้าเปียก ผมเปียกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับในเวลาเที่ยง ด้วยคิดว่า ไฉนหนอในเวลาเราไปเฝ้าพระศาสดาจะพึงได้ความยินดีแห่งจิต
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะนางวิสาขามิคารมารดาว่า เชิญเถิดนางวิสาขา ท่านมาแต่ไหนหนอ มีผ้าเปียก มีผมเปียก เข้ามา ณ ที่นี้ในเวลาเที่ยง นางวิสาขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หลานของหม่อมฉัน เป็นที่รักที่พอใจ ทำกาละเสียแล้ว เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงมีผ้าเปียกมีผมเปียก เข้ามา ณ ที่นี้ในเวลาเที่ยง เจ้าค่ะ ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงทราบว่า นางวิสาขายินดียิ่งในวัฏฏะ เพื่อจะทรงทำความเศร้าโศกของเธอให้เบาบางลงด้วยอุบาย จึงตรัส
ดูกรนางวิสาขา ท่านปรารถนาบุตรและหลานเท่ามนุษย์ในพระนครสาวัตถีหรือ ฯ
วิสาขา : ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ หม่อมฉันปรารถนาบุตรและหลานเท่ามนุษย์ในพระนครสาวัตถี เจ้าค่ะ ฯ
พระผู้มีพระภาค : ดูกรนางวิสาขา มนุษย์ในพระนครสาวัตถีมากเพียงไร ที่ตายลงทุกวันๆ
วิสาขา : ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มนุษย์ในพระนครสาวัตถี ๑๐ คนบ้าง ๙ คนบ้าง ๘ คนบ้าง ๗ คนบ้าง ๖ คนบ้าง ๕ คนบ้าง ๔ คนบ้าง ๓ คนบ้าง ๒ คนบ้าง๑ คนบ้าง ตายลงทุกวันๆ
พระผู้มีพระภาค : ดูกรนางวิสาขา ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านพึงเป็นผู้มีผ้าเปียกหรือมีผมเปียกเป็นบางครั้งบางคราวหรือหนอ ฯ
อุบาสิกาได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงเกิดความสังเวช ปฏิเสธว่า
วิสาขา : ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่ใช่อย่างนั้น เจ้าค่ะ พอเพียงแล้วด้วยบุตรและหลานมากเพียงนั้นสำหรับหม่อมฉัน ฯ
พระผู้มีพระภาค : ดูกรนางวิสาขา ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑๐๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๙๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๙๐ ผู้ใดมี......... ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑ ผู้ใดไม่มีสิ่งที่รัก ผู้นั้นก็ไม่มีทุกข์
เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่มีความโศก ปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่มีอุปายาส ฯ
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ความโศกก็ดี ความร่ำไรก็ดี ความทุกข์ก็ดี
มากมายหลายอย่างนี้ มีอยู่ในโลก
เพราะอาศัยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก
เมื่อไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก
ความโศก ความร่ำไรและความทุกข์เหล่านี้ย่อมไม่มี
เพราะเหตุนั้นแล ผู้ใดไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักในโลกไหนๆ
ผู้นั้นเป็นผู้มีความสุข ปราศจากความโศก
เพราะเหตุนั้น ผู้ปรารถนาความไม่โศก อันปราศจากกิเลสดุจธุลี
ไม่พึงทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รัก ในโลกไหนๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2012, 00:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระกีสาโคตมีเถรี

http://www.dharma-gateway.com/bhikunee/ ... otamee.htm

สมัยต่อมานางตั้งครรภ์ โดยกาลล่วงไป ๑๐ เดือน นางก็ได้คลอดบุตรคนหนึ่ง ในครั้งนั้นชนทั้งหลายก็ได้ทำความยกย่องนาง ครั้นเมื่อบุตรของนางตั้งอยู่ในวัยพอจะวิ่งไปวิ่งมาเล่นได้ก็มาตายเสีย ความเศร้าโศกก็ได้เกิดขึ้นแก่นาง
นางห้ามพวกชนที่จะนำบุตรนั้นไปเผา เพราะนางไม่เคยเห็นความตาย จึงอุ้มบุตรใส่สะเอวเที่ยวเดินไปตามบ้านเรือนในพระนครแล้วพูดว่า ขอพวกท่านจงให้ยาแก่บุตรของเราด้วยเถิด ดังนี้
ครั้นเมื่อนางเที่ยวถามไปว่า
“ท่านทั้งหลายรู้จักยาเพื่อรักษาบุตรของฉันบ้างไหมหนอ?”
เมื่อนั้นคนทั้งหลายก็พูดกับนางว่า
“แม่ เจ้าเป็นบ้าไปแล้วหรือ? เจ้าเที่ยวถามถึงยาเพื่อรักษาบุตรที่ตายแล้ว.”
พวกคนทั้งหลายต่างก็กระทำการเย้ยหยันว่า ยาสำหรับคนตายแล้ว ท่านเคยเห็นที่ไหนบ้าง แต่นางมิได้เข้าใจความหมายแห่งคำพูดของพวกเขาเลย.
ทีนั้น บุรุษผู้เป็นบัณฑิตคนหนึ่ง เห็นนางแล้วคิดว่า
“หญิงนี้คงจะคลอดบุตรคนแรก ยังไม่เคยเห็นความตาย เราควรเป็นที่พึ่งของหญิงนี้”
จึงกล่าวว่า “แม่ ฉันไม่รู้จักยา แต่ฉันรู้จักคนผู้รู้ยา.”
นางโคตมี: ใครรู้? พ่อ.
บัณฑิต: แม่ พระศาสดาทรงทราบ จงไปทูลถามพระองค์เถิด.
นางกล่าวว่า “พ่อ ฉันจักไป จักทูลถาม พ่อ”
ดังนั้น แล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่สุดข้างหนึ่ง ทูลถามว่า
“ทราบว่า พระองค์ทรงทราบยาเพื่อบุตรของหม่อมฉันหรือ? พระเจ้าข้า.”
พระศาสดา: เออ เรารู้.
นางโคตมี: ได้อะไร? จึงควร.
พระศาสดา: ได้เมล็ดพันธุ์ผักกาดสักหยิบมือหนึ่ง ควร.
นางโคตมี: จักได้ พระเจ้าข้า แต่ได้ในเรือนใคร? จึงควร.
พระศาสดา: บุตรหรือธิดาไร ๆ ในเรือนของผู้ใด ไม่เคยตาย.ได้ในเรือนของผู้นั้น จึงควร.
นางทูลรับว่า “ดีละ พระเจ้าข้า” แล้วถวายบังคมพระศาสดา อุ้มบุตรผู้ตายแล้วเข้าสะเอวแล้วเข้าไปภายในบ้าน ยืนที่ประตูเรือนหลังแรกกล่าวว่า “เมล็ดพันธุ์ผักกาดในเรือนนี้ มีบ้างไหม? ทราบว่านั่นเป็นยาเพื่อบุตรของฉัน.”
เมื่อเขาตอบว่า มี จึงกล่าวว่า
“ถ้าอย่างนั้นจงให้เถิด”
เมื่อคนเหล่านั้นนำเมล็ดพันธุ์ผักกาดมาให้ จึงถามว่า
“ในเรือนนี้ เคยมีบุตรหรือธิดาตายบ้างหรือไม่เล่า? แม่”
เมื่อเขาตอบว่า “พูดอะไรอย่างนั้น? แม่ คนเป็นมีไม่มาก คนตายนั้นแหละมาก” นางจึงกล่าวว่า
“ถ้าอย่างนั้น จงรับเมล็ดพันธุ์ผักกาดของท่านคืนไปเถิด นั่นไม่เป็นยาเพื่อบุตรของฉัน” แล้วได้ให้เมล็ดพันธุ์ผักกาดคืนไป แล้วก็เที่ยวถามโดยทำนองนี้ ตั้งแต่เรือนหลังต้นไปเรื่อย
จนถึงเย็น นางหาเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากเรือนที่ไม่เคยมีบุตรธิดาที่ตายลงไม่ได้แม้แต่หลังหนึ่ง จึงได้คิดว่า “โอ กรรมหนัก เราได้ทำความสำคัญว่า ‘บุตรของเราเท่านั้นที่ตาย ก็ในบ้านทั้งสิ้น คนที่ตายเท่านั้นมากกว่าคนเป็น.”
ดังนี้ จึงได้ความสังเวชใจ แล้วจึงออกไปภายนอกนครนั้นทีเดียว ไปยังป่าช้าผีดิบเอามือจับบุตรแล้วพูดว่า แน่ะลูกน้อย แม่คิดว่าความตายนี้เกิดขึ้นแก่เจ้าเท่านั้น แต่ว่าความตายนี้ ไม่มีแก่เจ้าคนเดียว นี่เป็นธรรมดามีแก่มหาชนทั่วไป ดังนี้แล้ว จึงทิ้งลูก ในป่าช้าผีดิบแล้วกล่าวคาถานี้ว่า :-
ธรรมนี้นี่แหละคือความไม่เที่ยง มิใช่ธรรมของ
ชาวบ้าน มิใช่ธรรมของนิคม ทั้งมิใช่ธรรมสกุล
เดียวด้วย แต่เป็นธรรมของโลกทั้งหมด พร้อมทั้ง
เทวโลก.

เมื่อนางคิดอยู่อย่างนี้ หัวใจที่อ่อนด้วยความรักบุตร ได้ถึงความแข็งแล้ว นางทิ้งบุตรไว้ในป่า ไปยังสำนักพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ได้ยืน ณ ที่สุดข้างหนึ่ง.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะนางว่า
“เธอได้เมล็ดพันธุ์ผักกาดประมาณหยิบมือหนึ่งแล้วหรือ?”
นางโคตมี ไม่ได้ พระเจ้าข้า เพราะในบ้านทั้งสิ้น คนตายนั้นแหละมากกว่าคนเป็น.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะนางว่า
“เธอเข้าใจว่า ‘บุตรของเราเท่านั้นตาย’ ความตายนั่นเป็นธรรมยั่งยืนสำหรับสัตว์ทั้งหลาย ด้วยว่า ปัจจุราชฉุดคร่าสัตว์ทั้งหมด ผู้มีอัธยาศัยยังไม่เต็มเปี่ยมนั่นและลงในสมุทรคืออบาย ดุจห้วงน้ำใหญ่ฉะนั้น”
เมื่อจะทรงแสดงธรรมจึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
“มฤตยู ย่อมพาชนผู้มัวเมาในบุตรและสัตว์
ของเลี้ยง ผู้มีใจซ่นไปในอารมณ์ต่าง ๆ ไป ดุจ
ห้วงน้ำใหญ่ พัดชาวบ้านผู้หลับไหลไปฉะนั้น.

ในกาลจบคาถา นางกีสาโคตมีดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล แม้ชนเหล่าอื่นเป็นมาก บรรลุอริยทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้นดังนี้แล.
นางบวชในพุทธศาสนา
ฝ่ายนางกีสาโคตมีนั้นทูลของบรรพชากะพระศาสดาแล้ว นางทำประทักษิณพระศาสดา ๓ ครั้ง ถวายบังคมแล้วไปยังสำนักภิกษุณี นางได้อุปสมบทแล้วปรากฏชื่อว่า “กิสาโคตมีเถรี.”
วันหนึ่ง นางถึงวาระในโรงอุโบสถ นั่งตามประทีปเห็นเปลวประทีปลุกโพลงขึ้นและหรี่ลง ได้ถือเป็นอารมณ์ว่า
“สัตว์เหล่านี้ก็อย่างนั้นเหมือนกัน เกิดขึ้นและดับไปดังเปลวประทีป ผู้ถึงพระนิพพาน ไม่ปรากฏอย่างนั้น.”
พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฏีนั่นแล ทรงแผ่พระรัศมีไป ดังนั่งตรัสตรงหน้านาง ตรัสว่า
“อย่างนั้นแหละโคตมี สัตว์เหล่านั้น ย่อมเกิดและดับเหมือนเปลวประทีป ถึงพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่ปรากฏอย่างนั้น ความเป็นอยู่แม้เพียงขณะเดียว ของผู้เห็นพระนิพพานประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ของผู้ไม่เห็นพระนิพพานอย่างนั้น”
ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
ก็ผู้ใดไม่เห็นอมตบท พึงมีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี
ชีวิตของผู้เห็นอมตบทเพียงวันเดียว ยังประเสริฐกว่า
ดังนี้.

จบพระคาถา นางก็บรรลุอรหัต เป็นผู้เคร่งครัดยิ่งในการใช้สอยบริขาร ห่มจีวรประกอบด้วยความปอน ๓ อย่างเที่ยวไป
ต่อมาพระศาสดาประทับนั่งในพระเชตวัน เมื่อทรงสถาปนาเหล่าภิกษุณีไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระเถรีนี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่า พวกภิกษุณีสาวิกา ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง แล.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2012, 01:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระปฏาจาราเถรี

http://www.dharma-gateway.com/bhikunee/ ... a-jara.htm

“ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งแก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าข้า เพราะว่าเหยี่ยวเฉี่ยวบุตรคนหนึ่งของหม่อมฉันไป คนหนึ่งถูกน้ำพัดไป สามีตายที่ทางเปลี่ยว มารดาบิดาและพี่ชายถูกเรือนทับตายเขาเผาเชิงตะกอนเดียวกัน.”

พระศาสดาทรงสดับคำของนาง จึงตรัสว่า

“อย่าคิดเลย ปฏาจารา เธอมาอยู่สำนักของผู้สามารถจะเป็นที่พึ่งพำนักอาศัยของเธอได้แล้ว เหมือนอย่างว่า บัดนี้ บุตรคนหนึ่งของเธอถูกเหยี่ยวเฉี่ยวไป คนหนึ่งถูกน้ำพัดไป สามีตายแล้วที่ทางเปลี่ยว มารดาบิดาและพี่ชายถูกเรือนทับฉันใด น้ำตาที่ไหลออกของเธอผู้ร้องไห้อยู่ในสงสารนี้ ในเวลาที่ปิยชนมีบุตรเป็นต้นตาย ยังมากกว่าน้ำแห่งมหาสมุทรทั้ง ๔ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”

ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

“น้ำในสมุทรทั้ง ๔ มีประมาณน้อย น้ำตาของ

คนผู้อันทุกข์ถูกต้องแล้ว เศร้าโศก ไม่ใช่น้อย มาก

กว่าน้ำในมหาสมุทรนั้น เหตุไร เธอจึงประมาทอยู่

เล่า? แม่น้อง.”


เมื่อพระศาสดาตรัส อนมตัคคปริยายสูตร อยู่อย่างนั้น ความโศกในสรีระของนาง ได้ถึงความเบาบางแล้ว.

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทราบที่นางผู้มีความโศกเบาบางแล้ว ทรงเตือนอีก แล้วตรัสว่า

“ปฏาจารา ขึ้นชื่อว่าปิยชนมีบุตรเป็นต้น ไม่อาจเพื่อเป็นที่ต้านทาน เป็นที่พึ่ง หรือเป็นที่ป้องกันของผู้ไปสู่ปรโลกได้;เพราะฉะนั้น บุตรเป็นต้นเหล่านั้นถึงมีอยู่ ก็ชื่อว่าย่อมไม่มีทีเดียว ส่วนบัณฑิตชำระศีลแล้ว ควรชำระทางที่ยังสัตว์ให้ถึงนิพพานของตนเท่านั้น”

เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า:-

“บุตรทั้งหลาย ไม่มีเพื่อต้านทาน บิดาก็ไม่มี

ถึงพวกพ้องก็ไม่มี เมื่อบุคคลถูกความตาย ครอบงำ

แล้ว ความต้านทานในญาติทั้งหลาย ย่อมไม่มี;

บัณฑิตทราบอำนาจประโยชน์นั้นแล้ว สำรวมในศีล

พึงชำระทางไปนิพพานโดยเร็วทีเดียว.”


ในกาลจบเทศนา นางปฏาจาราเผากิเลสมีประมาณเท่าฝุ่นในแผ่นดินใหญ่แล้ว ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ชนแม้เหล่าอื่นเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

นางปฏาจาราทูลขอบวช

ฝ่ายนางปฏาจารานั้นเป็นโสดาบันแล้ว ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา. พระศาสดาทรงส่งนางไปยังสำนักของพวกภิกษุณีให้บรรพชาแล้ว. นางได้อุปสมบทแล้วปรากฏชื่อว่า “ปฏาจารา” เพราะนางกลับความประพฤติได้.

วันหนึ่ง นางกำลังเอาหม้อตักน้ำล้างเท้า เทน้ำลง.น้ำนั้นไหลไปหน่อยหนึ่งแล้วก็ขาด.

ครั้งที่ ๒ น้ำที่นางเทลง ได้ไหลไปไกลกว่านั้น.

ครั้งที่ ๓ น้ำที่เทลง ได้ไหลไปไกลกว่าแม้นั้น ด้วยประการฉะนี้. นางถือเอาน้ำนั้นนั่นแลเป็นอารมณ์ กำหนดวัยทั้ง ๓ แล้ว คิดว่า

“สัตว์เหล่านี้ ตายเสียในปฐมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งแรก

ตายเสียในมัชฌิมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งที่ ๒ ไหลไปไกลกว่านั้น

ตายเสียในปัจฉิมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งที่ ๓ ไหลไปไกลแม้กว่านั้น.”


พระศาสดาประทับในพระคันธกุฎี ทรงแผ่พระรัศมีไป เป็นดังประทับยืนตรัสอยู่เฉพาะหน้าของนาง ตรัสว่า

“ปฏาจารา ข้อนั้นอย่างนั้น ด้วยความเป็นอยู่วันเดียวก็ดี ขณะเดียวก็ดี ของผู้เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์เหล่านั้น ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ของผู้ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์” ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

“ก็ผู้ใด ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม

อยู่พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียว

ของผู้เห็นความเกิดและความเสื่อม ประเสริฐกว่า

ความเป็นอยู่ของผู้นั้น.”


นางครั้นบวชแล้ว ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต เรียนพุทธวจนะ. ท่านเป็นผู้ช่ำชองชำนาญในวินัยปิฏก.

ภายหลัง พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาเหล่าภิกษุณีไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระปฏาจาราเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้ทรงวินัย แล.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2012, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 22:25
โพสต์: 59

แนวปฏิบัติ: รักษาศีลให้แน่นหนามั่นคง
ชื่อเล่น: Soduku
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การที่จะตอบคำถามตามกระทู้คุณฝึกจิตได้ดีว่า "ใกล้ตายต้องทำอย่างไร" อาจต้องมีความรู้เพิ่มว่า "คนเราตายแล้วไปไหน"
Quote Tipitaka:
http://84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=16

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2012, 08:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


hiwichai เขียน:
การที่จะตอบคำถามตามกระทู้คุณฝึกจิตได้ดีว่า "ใกล้ตายต้องทำอย่างไร" อาจต้องมีความรู้เพิ่มว่า "คนเราตายแล้วไปไหน"
Quote Tipitaka:
http://84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=16

:b8:



ผมว่า อย่าคิดเช่นนั้นเลย

คิดให้ได้ว่า ไม่มีเรา ตั้งแต่ก่อนตายดีกว่า หรือ หากรู้สึกว่าใกล้ตายเมื่อไหร่ ก็คิดให้ได้เสียว่า จริงๆแล้ว ไม่มีเราของเรา เลย (เผื่อจะตายเอาจริง) ตายแล้ว อย่่าเหลือเรา ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2012, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 22:25
โพสต์: 59

แนวปฏิบัติ: รักษาศีลให้แน่นหนามั่นคง
ชื่อเล่น: Soduku
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาความเห็นคุณฝึกจิตครับ :b8:

ผมขออนุญาตเสริมความเห็นเพิ่มเติม หากขาดตกบกพร่องกรุณาเมตตาช่วยชี้แนะด้วยนะครับ

ผมเคยได้ยินท่านหลวงตาพระมหาบัวเทศน์บอกให้ลูกศิษย์ฟังเสมอว่า "จิตนี้ไม่มีสูญ" ซึ่งตามโยนิโสฯของผม (เข้าใจเอาเองว่า) น่าจะหมายถึงการที่เรากระทำกรรมใดๆ ไม่ว่าทางกายวาจาใจ ไม่ว่าเป็นกุศล อกุศล ผลหรือวิบากแห่งกรรมนั้นจะติดอยู่กับจิตนี้ตลอดไป ที่เราเรียกว่ากฏแห่งกรรม ไม่ว่าจะกี่ภพกี่ชาติต้องเวียนว่ายตายเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามวิบากกรรมของจิตนั้นซึ่งมีทุกข์ตามติดไปตลอดไม่อาจหลีกหนีพ้น ส่วนผู้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ จิตบริสุทธิ์หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสได้สิ้นเชิง จิตนั้นก็ยังไม่สูญแม้จะละสังขารแล้ว แต่จะอยู่อย่างสุขสงบพ้นจากทุกข์อยู่ในสภาวะนิพพาน ไม่มาเวียนว่ายตายเกิดอีกในวัฏฏะสงสาร

ปัญหา ณ.ขณะนี้มีว่า เราสามารถต้านอาสวะกิเลสและเอาชนะอนุสัยของมันที่ยังนอนเนื่องอยู่ในจิตไปแล้วถึงไหนเริ่มเห็นความปภัสสร และความบริสุทธิ์ ปรากฏขึ้นบ้างแล้วหรือยัง หรือยังประมาทอยู่ "รอเป็นหมูขึ้นเขียงอยู่อีกหรือ" (ตามวลีที่ท่านหลวงตามหาบัวมักเตือนแก่ชาวลูกศิษย์ผู้ศรัทธา)

และขอแบ่งปันธรรมะจากบทความดี ๆ ในหนังสือ
"นิพพาน..ที่นี่..เดี๋ยวนี้" ของสำนักพิมพ์อัมรินทร์ฯ
โดยท่านพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ...สรุปความว่า

คนสมัยนี้ชอบแสวงหาความสุข แต่ไม่พบสักที เพราะไม่รู้จักความสุขที่แท้ รู้จักแต่ความสุขแบบหยาบ ๆ
แต่ได้รับความสุขแบบนี้มากมายเพียงใด ก็ไม่รู้สึกพอใจหรือเต็มอิ่ม เพราะส่วนลึกต้องการความสงบในจิตใจ
ตราบใดที่ไม่พบความสงบเย็นในจิตใจ ก็ไม่หยุดแสวงหา
ดังนั้น จึงควรหันมาให้ความสำคัญกับความสงบทางใจ
โดยเฉพาะความสงบที่เรียกว่านิพพาน

อย่าลืมว่าแม้จะมีทรัพย์อื่นมากเท่าไร แต่เราก็ยังทุกข์ เช่น ลูกตาย คนรักตีจาก ถูกติวิพากษ์วิจารณ์
เพราะเรายังมีความยึดติด ถือมั่นในตัวกูของกู
ต่อเมื่อละความยึดติดถือมั่นในตัวตนได้นั่นแหละ จึงจะได้พบความสงบเย็นอันเป็นความสุขที่แท้ คือนิพพาน


เป็นธรรมดาที่เมื่อพูดคำว่านิพพาน คนฟังอาจตกใจ เพราะรู้สึกว่าไกลตัว เป็นไปไม่ได้ และไม่ใช่สิ่งจำเป็น
แต่พอพูดเรื่องความสุขสงบจากการปล่อยวาง หลายคนอาจจะฉุกคิดว่า
"อืม...อยู่ในวิสัยที่สามารถทำได้นะ"


ชีวิตเราสามารถเข้าถึงความสุขที่ไม่ขึ้นกับสิ่งภายนอก
เราสุขใจได้แม้ภายนอกวุ่นวายแม้ผู้คนรายรอบจะทำตัวไม่น่ารัก
แม้กายเจ็บป่วย แม้การงานจะไม่ประสบความสำเร็จ...แต่เราก็สุขได้

ชีวิตฆราวาสนั้นเหมือนชีวิตในที่โล่ง
ต้องเผชิญกับฝนตก แดดร้อน พายุกระหน่ำ
แต่เราไม่จำเป็นต้องเดือดร้อนเพราะความแปรปรวนเหล่านั้น
ขอเพียงแต่เรามี “ร่ม” กันแดดกันฝน
ฝนตกก็ไม่ต้อง แดดร้อนก็มิอาจแผดเผาได้

“ร่ม” ที่ว่าก็คือร่มแห่งธรรม
ซึ่งสามารถรักษาใจให้สงบเย็นและเป็นสุข
ปลอดพ้นจากการรบกวนของสิ่งรอบตัว
ทำให้เป็นอิสระจากสิ่งภายนอกได้
นั่นเองที่เรียกว่า “นิพพานชั่วขณะ” หรือ “นิพพาน...ที่นี่...เดี๋ยวนี้"

นิพพานชั่วขณะคือ ความสงบเย็นและเป็นอิสระ
ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตเราตั้งแต่วินาทีนี้
โดยไม่ต้องรอนิพพานขั้นสมบูรณ์ที่เกิดจากการดับกิเลสสิ้นเชิง


ชีวิตฆราวาสที่วุ่นวาย รุ่มร้อน เร่งรีบ...
ก็สามารถสงบเย็นและเป็นอิสระ...
สามารถสัมผัสนิพพานชั่วขณะได้


:b8: :b8: :b8:

๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑
ธรรมะใด ๆ ถ้าไม่ทำ... ก็ไร้ค่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2012, 23:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


Soduku เขียน:
ขออนุโมทนาความเห็นคุณฝึกจิตครับ :b8:

ผมขออนุญาตเสริมความเห็นเพิ่มเติม หากขาดตกบกพร่องกรุณาเมตตาช่วยชี้แนะด้วยนะครับ

ผมเคยได้ยินท่านหลวงตาพระมหาบัวเทศน์บอกให้ลูกศิษย์ฟังเสมอว่า "จิตนี้ไม่มีสูญ" ซึ่งตามโยนิโสฯของผม (เข้าใจเอาเองว่า) น่าจะหมายถึงการที่เรากระทำกรรมใดๆ ไม่ว่าทางกายวาจาใจ ไม่ว่าเป็นกุศล อกุศล ผลหรือวิบากแห่งกรรมนั้นจะติดอยู่กับจิตนี้ตลอดไป ที่เราเรียกว่ากฏแห่งกรรม ไม่ว่าจะกี่ภพกี่ชาติต้องเวียนว่ายตายเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามวิบากกรรมของจิตนั้นซึ่งมีทุกข์ตามติดไปตลอดไม่อาจหลีกหนีพ้น ส่วนผู้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ จิตบริสุทธิ์หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสได้สิ้นเชิง จิตนั้นก็ยังไม่สูญแม้จะละสังขารแล้ว แต่จะอยู่อย่างสุขสงบพ้นจากทุกข์อยู่ในสภาวะนิพพาน ไม่มาเวียนว่ายตายเกิดอีกในวัฏฏะสงสาร

ปัญหา ณ.ขณะนี้มีว่า เราสามารถต้านอาสวะกิเลสและเอาชนะอนุสัยของมันที่ยังนอนเนื่องอยู่ในจิตไปแล้วถึงไหนเริ่มเห็นความปภัสสร และความบริสุทธิ์ ปรากฏขึ้นบ้างแล้วหรือยัง หรือยังประมาทอยู่ "รอเป็นหมูขึ้นเขียงอยู่อีกหรือ" (ตามวลีที่ท่านหลวงตามหาบัวมักเตือนแก่ชาวลูกศิษย์ผู้ศรัทธา)

และขอแบ่งปันธรรมะจากบทความดี ๆ ในหนังสือ
"นิพพาน..ที่นี่..เดี๋ยวนี้" ของสำนักพิมพ์อัมรินทร์ฯ
โดยท่านพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ...สรุปความว่า

คนสมัยนี้ชอบแสวงหาความสุข แต่ไม่พบสักที เพราะไม่รู้จักความสุขที่แท้ รู้จักแต่ความสุขแบบหยาบ ๆ
แต่ได้รับความสุขแบบนี้มากมายเพียงใด ก็ไม่รู้สึกพอใจหรือเต็มอิ่ม เพราะส่วนลึกต้องการความสงบในจิตใจ
ตราบใดที่ไม่พบความสงบเย็นในจิตใจ ก็ไม่หยุดแสวงหา
ดังนั้น จึงควรหันมาให้ความสำคัญกับความสงบทางใจ
โดยเฉพาะความสงบที่เรียกว่านิพพาน

อย่าลืมว่าแม้จะมีทรัพย์อื่นมากเท่าไร แต่เราก็ยังทุกข์ เช่น ลูกตาย คนรักตีจาก ถูกติวิพากษ์วิจารณ์
เพราะเรายังมีความยึดติด ถือมั่นในตัวกูของกู
ต่อเมื่อละความยึดติดถือมั่นในตัวตนได้นั่นแหละ จึงจะได้พบความสงบเย็นอันเป็นความสุขที่แท้ คือนิพพาน


เป็นธรรมดาที่เมื่อพูดคำว่านิพพาน คนฟังอาจตกใจ เพราะรู้สึกว่าไกลตัว เป็นไปไม่ได้ และไม่ใช่สิ่งจำเป็น
แต่พอพูดเรื่องความสุขสงบจากการปล่อยวาง หลายคนอาจจะฉุกคิดว่า
"อืม...อยู่ในวิสัยที่สามารถทำได้นะ"


ชีวิตเราสามารถเข้าถึงความสุขที่ไม่ขึ้นกับสิ่งภายนอก
เราสุขใจได้แม้ภายนอกวุ่นวายแม้ผู้คนรายรอบจะทำตัวไม่น่ารัก
แม้กายเจ็บป่วย แม้การงานจะไม่ประสบความสำเร็จ...แต่เราก็สุขได้

ชีวิตฆราวาสนั้นเหมือนชีวิตในที่โล่ง
ต้องเผชิญกับฝนตก แดดร้อน พายุกระหน่ำ
แต่เราไม่จำเป็นต้องเดือดร้อนเพราะความแปรปรวนเหล่านั้น
ขอเพียงแต่เรามี “ร่ม” กันแดดกันฝน
ฝนตกก็ไม่ต้อง แดดร้อนก็มิอาจแผดเผาได้

“ร่ม” ที่ว่าก็คือร่มแห่งธรรม
ซึ่งสามารถรักษาใจให้สงบเย็นและเป็นสุข
ปลอดพ้นจากการรบกวนของสิ่งรอบตัว
ทำให้เป็นอิสระจากสิ่งภายนอกได้
นั่นเองที่เรียกว่า “นิพพานชั่วขณะ” หรือ “นิพพาน...ที่นี่...เดี๋ยวนี้"

นิพพานชั่วขณะคือ ความสงบเย็นและเป็นอิสระ
ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตเราตั้งแต่วินาทีนี้
โดยไม่ต้องรอนิพพานขั้นสมบูรณ์ที่เกิดจากการดับกิเลสสิ้นเชิง


ชีวิตฆราวาสที่วุ่นวาย รุ่มร้อน เร่งรีบ...
ก็สามารถสงบเย็นและเป็นอิสระ...
สามารถสัมผัสนิพพานชั่วขณะได้


:b8: :b8: :b8:

๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑
ธรรมะใด ๆ ถ้าไม่ทำ... ก็ไร้ค่า


ผมกล่าวไม่ได้ว่า จิตนี้ไม่มีสูญ หรือไม่ เพราะยังไม่นิพพาน แต่ที่พอจะเข้าใจ ในสภาวะนิพพาน คือ หากจะเหลือจิต(สมมุติ) แต่จิตก็ไม่ใช่จิต หรือไม่เรียกว่าจิต (วิมุติ) เพราะไม่มี สังขาร ในวิมุตินั้น

ไม่ว่าก่อนตาย หรือ ตายแล้ว ในสภาวะนิพพาน นั้น ไม่มีสังขาร ปรุ่งแต่งเป็นคำใดๆได้อีกแล้ว ส่วนจะยังไงนั้น ก็ไม่อาจคาดเดาได้ ต้องเจอกันเอาเอง ครับ

ท่านต้องแยกการพูดกล่าวของพระอาจารย์ต่างให้ดีนะครับ รวมทั้งในพระไตยปิฏกด้วย เพราะพระท่าน เอาคำในสมมุติ มาพูดถึง ปรมัต หรือ วิมุติ อย่าหลงเข้าใจ ไปอย่างนั้นนะครับ ท่านต้องแยกสมมติ กับ ปรมัต ให้ออกด้วย เพราะคำดหล่านี้ ทำให้ถกเถียงกันมาเยอะแล้วนะครับ เช่นกลุ่มที่ว่า อัตตาเข้านิพพานได้ นะครับ

:b8: ครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร