วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 12:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 114 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 12:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 17:04
โพสต์: 133


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
:b8: :b8:
เช่นนั้น เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
เมื่อไหร่ที่ อวิชชาดับ วิชชาเกิด วิสังขารเกิด จิตก็ไม่ใช่จิต ถึงจะเป็นจิต ก็ไม่เรียกว่าจิต
แล้วจะเข้าใจธรรมนี้ (เคยยกมาหลายครั้งแล้วนิ)

ธรรมไม่เจือกับจิต เป็นไฉน?
รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือกับจิต.
จิต จะกล่าวว่าเจือกับจิตก็ไม่ได้ ว่าไม่เจือกับจิตก็ไม่ได้.



ใกล้เคียงบ้างมั้ยไม่รู้นะครับ s002

เมื่อ จิตปรุงแต่ง ด้วยธรรมอันเป็นสิ่งปรุงแต่งคืออริยมรรคมีองค์ 8 อันสมบูรณ์
จิตนั้น เรียกว่า สัมมาญาณะทัสสนะประกอบด้วยวิชชา อวิชชาย่อมดับลง
จิตนั้น บรรลุความหลุดพ้น อันเรียกสภาวะนั้นว่า สัมมาวิมุตติ อันไม่ปรุงแต่งด้วยกิเลสต่อไป
จิตนั้นจึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะความสิ้นเหตุปัจจัยอันก่อให้เกิดอาสวะ เรียกสภาวะนั้นว่า หลุดพ้นด้วยสอุปทิเสสนิพพานธาตุ
เพราะยังมีวิบากแห่งขันธ์เหลืออยู่จิตจึงเพียงดำเนินไปตามวิบากแห่งขันธ์ที่เหลืออยู่ จนกระทั่งหมดอายุขัย
จิตนั้นจึงทำหน้าทีสุดท้ายคือเคลื่อนไปและ ไม่ก่อปฏิสนธิอีกเพราะความสิ้นเหตุปัจจัย คือเคลื่อนไปดับไปด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
จิตจะมีก็ไม่ใช่ จะไม่มีก็ไม่ใช่ เพียงแต่เป็นธรรมธาตุหนึ่งที่ เนื่องด้วยเหตุปัจจัย
.....

จิต จะกล่าวว่าเจือกับจิตก็ไม่ได้ ว่าไม่เจือกับจิตก็ไม่ได้
เพราะจิตเป็นธรรมธาตุที่รู้ แลเนื่องด้วยเหตุปัจจัย
เพราะสังขารเป็นเหตุปัจจัย ความปรากฏแห่งจิตจึงปรากฏ
จึงกล่าวได้ว่า เจือกับจิตก็ไม่ได้ ไม่เจือกับจิตก็ไม่ได้ ...เพราะด้วยเหตุด้วยปัจจัย


:b8: :b8: :b8:

ธรรมหลวงปู่ดุลย์ บางส่วน

จิตนี้ ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง

หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว ก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย จิตนี่แหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้นโดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่กล่าวว่าจิตนั้น มิใช่จิตดังนี้ นั่นแหละ ย่อมหมายถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริงสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ผูกตัดขาดไปแล้ว และพฤติของจิตก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว


:b8: :b8: :b8:


:b8: :b8: :b8: สุดยอดครับท่านทั้งสอง


:b12: ขอคัดลอก ธรรมหลวงปู่ดุลย์ มอบให้เจ้าของกระทู้
ตอกย้ำครับตอกย้ำ ตอกลงไปเลยครับ :b12:

"จิตนี้ ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง
มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก
ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง"


:b42: :b42: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 13:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
เมื่อ จิตปรุงแต่ง ด้วยธรรมอันเป็นสิ่งปรุงแต่งคืออริยมรรคมีองค์ 8 อันสมบูรณ์
จิตนั้น เรียกว่า สัมมาญาณะทัสสนะประกอบด้วยวิชชา อวิชชาย่อมดับลง
จิตนั้น บรรลุความหลุดพ้น อันเรียกสภาวะนั้นว่า
สัมมาวิมุตติ อันไม่ปรุงแต่งด้วยกิเลสต่อไป
จิตนั้นจึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะความสิ้นเหตุปัจจัยอันก่อให้เกิดอาสวะ
เรียกสภาวะนั้นว่า หลุดพ้นด้วยสอุปทิเสสนิพพานธาตุ
เพราะยังมีวิบากแห่งขันธ์เหลืออยู่จิตจึงเพียงดำเนินไปตามวิบากแห่งขันธ์ที่เหลืออยู่ จนกระทั่งหมดอายุขัย
จิตนั้นจึงทำหน้าทีสุดท้ายคือเคลื่อนไปและ ไม่ก่อปฏิสนธิอีกเพราะความสิ้นเหตุปัจจัย
คือเคลื่อนไปดับไปด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ


จิตจะมีก็ไม่ใช่ จะไม่มีก็ไม่ใช่ เพียงแต่เป็นธรรมธาตุหนึ่งที่ เนื่องด้วยเหตุปัจจัย
.....



ขอกระซิบถามหน้าบอร์ดนี่ล่ะ
ท่านเช่นนั้น เห็นนิมิตนี้แล้วรึยัง ... :b10:

(อิอิ ต้องขอหยิบคำว่า นิมิต มาใช้
เพราะ ถ้าไม่เห็นด้วยนิมิตทางใจ ใครจะเอาอะไรไปเห็น...กันล่ะ :b10: :b9: )

ตอบให้เอกอนแอบชื่นใจหน่อยเถอะ...

:b15: :b15: :b15:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 13 ส.ค. 2012, 14:47, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 14:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เมื่อ จิตปรุงแต่ง ด้วยธรรมอันเป็นสิ่งปรุงแต่งคืออริยมรรคมีองค์ 8 อันสมบูรณ์
จิตนั้น เรียกว่า สัมมาญาณะทัสสนะประกอบด้วยวิชชา อวิชชาย่อมดับลง
จิตนั้น บรรลุความหลุดพ้น อันเรียกสภาวะนั้นว่า
สัมมาวิมุตติ อันไม่ปรุงแต่งด้วยกิเลสต่อไป
จิตนั้นจึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะความสิ้นเหตุปัจจัยอันก่อให้เกิดอาสวะ
เรียกสภาวะนั้นว่า หลุดพ้นด้วยสอุปทิเสสนิพพานธาตุ
เพราะยังมีวิบากแห่งขันธ์เหลืออยู่จิตจึงเพียงดำเนินไปตามวิบากแห่งขันธ์ที่เหลืออยู่ จนกระทั่งหมดอายุขัย
จิตนั้นจึงทำหน้าทีสุดท้ายคือเคลื่อนไปและ ไม่ก่อปฏิสนธิอีกเพราะความสิ้นเหตุปัจจัย
คือเคลื่อนไปดับไปด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ


จิตจะมีก็ไม่ใช่ จะไม่มีก็ไม่ใช่ เพียงแต่เป็นธรรมธาตุหนึ่งที่ เนื่องด้วยเหตุปัจจัย
.....



ขอกระซิบถามหน้าบอร์ดนี่ล่ะ
ท่านเช่นนั้น เห็นนิมิตนี้แล้วรึยัง ... :b10:

ตอบให้เอกอนแอบชื่นใจหน่อยเถอะ...

:b15: :b15: :b15:


huh

ว๊า สงสัยเอกอนจะถามคำถามที่ทำให้ท่านเช่นนั้นลำบากที่จะตอบแน่เรย

:b6: :b6:

huh

ก็แบบว่า ก็อยากจะคิดว่าท่านเช่นนั้นไปลอกตำรามาตอบ
เป็นแต่เพียงเข้าใจตามตำรา แล้วก็เอามาคิดตอบไปเรื่อย
แต่ความจริง ไม่ได้เห็นตามนั้น ไม่ได้รู้ตามนั้น

แต่ ... :b6: ... ลอกตำรามันจะชี้สั้น ชัด กระทัดรัด และแจ่มขนาดนี้เชียวหรือ :b9:

:b6: ... มันเป็นเรื่องที่คนเข้าใจแต่เพียงบัญญัติ...
จะสะกัดออกมาได้ด้วยหรือ...ความเห็นประมาณข้างต้นน่ะ

:b32: :b32: :b13: :b13: :b12:

อิอิ ทำยวนท่านเช่นนั้น เด๋วเกรงจะโดน :b34: :b32: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 15:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
.....
ก็แบบว่า ก็อยากจะคิดว่าท่านเช่นนั้นไปลอกตำรามาตอบ
เป็นแต่เพียงเข้าใจตามตำรา แล้วก็เอามาคิดตอบไปเรื่อย
แต่ความจริง ไม่ได้เห็นตามนั้น ไม่ได้รู้ตามนั้น

แต่ ... :b6: ... ลอกตำรามันจะชี้สั้น ชัด กระทัดรัด และแจ่มขนาดนี้เชียวหรือ :b9:

:b6: ... มันเป็นเรื่องที่คนเข้าใจแต่เพียงบัญญัติ...
จะสะกัดออกมาได้ด้วยหรือ...ความเห็นประมาณข้างต้นน่ะ

:b32: :b32: :b13: :b13: :b12:

อิอิ ทำยวนท่านเช่นนั้น เด๋วเกรงจะโดน :b34: :b32: :b4

5:




ชิชะ! มาปรามาสพหูสูตร บาลีสยามรัฐ ปะเดี๋ยวเจองอน :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 16:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
eragon_joe เขียน:
.....
ก็แบบว่า ก็อยากจะคิดว่าท่านเช่นนั้นไปลอกตำรามาตอบ
เป็นแต่เพียงเข้าใจตามตำรา แล้วก็เอามาคิดตอบไปเรื่อย
แต่ความจริง ไม่ได้เห็นตามนั้น ไม่ได้รู้ตามนั้น

แต่ ... :b6: ... ลอกตำรามันจะชี้สั้น ชัด กระทัดรัด และแจ่มขนาดนี้เชียวหรือ :b9:

:b6: ... มันเป็นเรื่องที่คนเข้าใจแต่เพียงบัญญัติ...
จะสะกัดออกมาได้ด้วยหรือ...ความเห็นประมาณข้างต้นน่ะ

:b32: :b32: :b13: :b13: :b12:

อิอิ ทำยวนท่านเช่นนั้น เด๋วเกรงจะโดน :b34: :b32: :b45:




ชิชะ! มาปรามาสพหูสูตร บาลีสยามรัฐ ปะเดี๋ยวเจองอน :b32:

:b10: ไม่อยากจะเชื่อสายตา

:b8: :b8: :b8:

ธรรมจัดสรรจริง ๆ

ท่านโฮฮับ ตอนที่ตอบ รู้สึกว่ามีองค์อะไรแอบมาผ่านร่างรึเปล่า :b32:

:b32: อิอิ คือ อันนี้เอกอนรู้คนเดียวน่ะ
เพราะ ก่อนที่ท่านโฮฮับจะตอบ เอกอนเขียนบางอย่าง
ที่ชี้ไปถึงสิ่งที่ท่านเช่นนั้นตอบ
แต่เอกอนก็ลบออก

แต่สิ่งที่เอกอนเขียนและลบออกนั้น ท่านกลับนำมาเขียน

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 16:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ปลีกวิเวก เขียน:

:b8: สาธุ ค่ะลุงหมาน

โดยส่วนตัวเป็นคนชอบศึกษาเรื่องการทำงานของจิต เป็นเรื่องที่ยาก การทำงานของจิตนี้น่าอัศจรรย์จริงๆ

รบกวนสอบถามลุงหมานหน่อยได้ไหมคะ มันมีเรื่องติดใจอยู่นิดหน่อย แต่ไม่เคยสอบถามใคร...
..คือบางครั้งเวลาจ้องที่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ เช่น อ่านกระทู้ยาวๆ หรือนั่งทำงานหน้าคอมหลายชั่วโมง จะเห็นหน้าจอคอมมันมีอาการสั่นมาก มีแสงสว่างสลับกับสีดำแต่เร็วมาก คือมันไม่ใช่หน้าจอปกติที่เราเคยมองแล้วมีรูปมีสีสวย มันมีอาการสั่นไหวตัวหนังสือก็ไม่ได้เป็นตัวสวย ๆ อย่างนี้มันกระพริบด้วยความเร็วสูง ...
หรือบางครั้งจ้องมองแสงไฟนีออน มันจะกระพริบมืดแล้วสว่าง ด้วยอาการที่รวดเร็วมากลักษณะแสงเหมือนเป็นคลื่นพลังงานที่มีแรงสั่นสะเทือนเกิดขึ้นดับไปด้วยอาการที่รวดเร็ว
หรือบางครั้งตั้งใจฟังเสียงอะไรสักอย่างที่มันดังต่อเนื่องตลอดเวลา พอฟังไปสักพักมันจะมีช่วงที่เสียงมันหยุดแล้วก็ดังขึ้นอีกแต่ว่ามันเร็วมากนะ...
อยากรบกวนสอบถามลุงหมานว่าอาการอย่างนี้คืออะไร...แต่ไม่ได้เป็นตลอดเวลาจะเป็นในช่วงเวลาที่มีสมาธิมากเท่านั้น (หมายถึงว่ารับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนในร่างกายอย่างรวดเร็ว)เราจะไม่รู้สิ่งอื่นใดเลยจะรู้ในสิ่งที่กำลังทำอยู่เท่านั้น...

ขอบคุณลุงหมานที่ตอบค่ะ..แต่ถ้าไม่ทราบก็ไม่เป็นไรค่ะ


ตรงนี้คุณปลีกลองไปเช็ค สภาวะการเข้าไปเห็นสิ่งที่ปรากฎเช่นนั้นให้ละเอียด
ลักษณะการทรงตัวอยู่บนสภาวะนั้น และการสิ้นสุดแห่งสภาวะนั้น
มันมีหลายแง่ที่ปรากฎให้ผู้ปฏิบัติจะได้พอจับมาพิจารณา

เช่นเดียวกับที่เมื่อเราตามรู้ลมหายใจ ทำไมลมหายใจชอบหายไป
และเราก็จะดึงลมหายใจกลับมา และลมหายใจก็คอยแต่จะหายไปอีก
ซึ่งทำให้ผู้ปฏิบัติบางครั้งที่พะวงกับการคอยดึงลมหายใจกลับมา
จะเผชิญกับอาการ ลมหายใจวั๊บ ๆ วูบ ๆ
คือบางทีอาจจะไม่ต้องไปคิดว่ามันเป็นอะไร
การได้เห็นบ่อย ๆ และค่อย ๆ เห็นรายละเอียดเรื่อย ๆ บ่อย ๆ
รู้นั้น มันจะ ปะติดปะต่อเคล้าร่าง
ให้ผู้ตามรู้/พิจารณาอย่างแยบคายอยู่นั้น ได้เข้าใจเอง
ว่ามันเป็น ไตรลักษณ์ที่ปรากฎอยู่กับอะไร

คือ มันเป็นการเข้าไปเห็นไตรลักษณ์แน่นอน แต่มันเป็นการเห็นไตรลักษณ์ของอะไรนั่นล่ะ

นี่คือ คำตอบที่เอกอนพอจะให้ได้แก่ผู้ปฏิบัติที่เราต่างก็กำลังเดินทางอยู่ด้วยกัน/เช่นกัน

:b8: :b8: :b8:

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มังกรน้อย...ซุกซนเช่นเดิม
^ ^....
สิ่งที่ เช่นนั้น แสดง เป็นเพียงความรู้ความเข้าใจ
ยังไม่บรรลุ จ้ะ มังกรน้อย

...
โฮฮับ...ยังเป็นสีสัน ของเว็ปนี้คงเส้นคงวาดี :b1:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 18:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
มังกรน้อย...ซุกซนเช่นเดิม
^ ^....
สิ่งที่ เช่นนั้น แสดง เป็นเพียงความรู้ความเข้าใจ
ยังไม่บรรลุ จ้ะ มังกรน้อย

...


ท่านแสดงความรู้ความเข้าใจออกมาได้อย่างนี้
เอกอนก็

rolleyes rolleyes rolleyes

แล้ว

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


คำถามท่านโฮฮับ
อ้างคำพูด:
แล้วรู้มั้ยว่าทำไมต้องแยก มโนวิญญาณออกต่างหากจาก ปัญจวิญญาณ


ตอบ รู้ครับ เพื่อให้อธิบาย เรื่อง วิถีจิต และ ภวังคจิต ให้ง่ายขึ้น

อ้างคำพูด:
ลำดับการเกิดขึ้นของวิถีจิตทางปัญจทวาร (โดยปกติใน 1 วาระ มี 17 ขณะจิต)

อตีตภวังค์
ภวังคจลนะ
ภวังคุปัจเฉทะ
ปัญจทวาราวัชชนะ ...............คือ มโนธาตุ นี่อาจพิจารณาอารมณ์ทีแรกในธรรมทั้งปวง
ทวิปัญจวิญญาณ
สัมปฏิจฉันนะ ....................คือ มโนธาตุเกิดในลำดับแห่งการเกิดดับแห่งปัญจวิญญาณ
สันตีรณะ
โวฏฐัพพนะ
ชวนะ
ชวนะ
ชวนะ
ชวนะ
ชวนะ
ชวนะ
ชวนะ
ตทาลัมพนะ
ตทาลัมพนะ


จากตัวอย่างที่ผมยกมา เรื่องวิถีจิตทางปัญจทวาร ให้ดูที่ ทวิปัญจวิญญาณ
เป็นการพูด ไม่ชี้เฉพาะ ว่าเป็นวิญญาณใด
ซึ่งอาจเป็นจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานะวิญญาณ หรือวิญญาณอันใดอันอื่น(ยกเว้นมโนวิญญาณ)
ทำให้การพูดนั้นง่ายขึ้น

ถ้าระบุวิญญาณลงไป อาจต้องพูดถึง 5 ครั้งทีเดียว หรือไม่ก็ 10 ครั้งทีเดียว(ทวิปัญจวิญญาณ)

แต่นี่พูด รวมๆ ทีเดียว เป็นการ หมายถึงวิญญาณอันใดอันหนึ่ง ก็ได้ คือเป็นวิถีจิตลำดับนั้นๆ เหมือนกัน

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


วงรอบของการเกิดวิถีจิต คือ
ปัญจทวารวิถี แล้วภวังคจิต แล้ว มโนทวารวิถี แล้วก็ภวังคจิต
เป็นแบบนี้ ไปตลอดวันตลอดคืน

ถ้าพูดให้สั้นลงไปอีกคือ
วิถีจิต เกิดสลับกับภวังคจิต ........... ตลอดวันตลอดคืน

ความรู้สึกตัว เกิดขึ้นได้ เมื่อ มีวิถีจิต สลับกับภวังคจิต อย่างรวดเร็ว

แต่ถ้าภวังคจิต เกิดต่อเนื่องกันนานๆ คนเราก็จะหมดความรู้สึกตัว (คือยามที่หลับสนิทไม่ฝัน)

การที่คนเราไม่มีความรู้สึกตัว ไม่ได้หมายความว่าช่วงนั้น ไม่มีจิต

ถ้าไม่มีจิต หมายความว่า ไม่มีนาม มีแต่รูปอย่างเดียว นอนหลับสนิทอยู่

ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง

ขณะที่ไม่มีความรู้สึกตัวใดๆ เลย ขณะนั้น จิตเกิดดับอยู่ที่หทยวัตถุ กระทำกิจเป็นภวังคจิต

ความรู้สึกตัวว่ามีเรา จึงเป็นสิ่งหลอกลวง
แท้จริง มีสาเหตุมาจากการทำงานของ จิตนั้นเอง
จิตเอง ก็เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ตามเหตุตามปัจจัย

ตามปัจจัย 24 ตามกฏปฏิจสมุปบาท

ความรู้สึกตัว เป็นแค่ผลพวง จากการทำงานเหล่านั้น
ความรู้สึกตัว จึงไม่ได้มีจริงเป็นตัวเป็นตน ยั่งยืน ถาวรแต่ประการใด
เป็นลักษณะผลุบๆ โผล่ๆ คือรู้สึกตัวบ้าง ไม่รู้สึกตัวบ้าง ไปตลอด
ความรู้สึกตัว อาจเรียกขานกันได้ว่า คือ เรา

จิต จึงไม่ใช่ เรา
และ เราก็ไม่ใช่จิต

ความรู้สึกตัว ว่าเรา หลายคนยืนยัน ว่า ไม่ได้เกิดดับถี่ยิบปานนั้น
เช่นพอตื่นขึ้นมาแล้ว ก็รู้สึกตัวตลอด ไม่เห็นมันจะดับไปตอนไหน
คนที่คิดว่า ความรู้สึกตัวคือจิต ก็จะเหมาเอาว่า จิตไม่ได้เกิดดับ
เพราะไป เข้าใจว่า เราคือจิต และจิตคือเรา ............จึงหาว่า จิตไม่เกิดดับ (ว่ากันตามความรุ้สึก)

แต่เพราะ เราไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่เรา
จึงควรที่จะปล่อยให้จิต เป็นไปตามทฤษฏีของมัน
คือ มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ด้วยความรวดเร็ว ยิ่งกว่าธรรมใดๆ

และควรที่จะตระหนักรู้ว่า จิต เป็นขันธ์
พร้อมกันนั้น มีสิ่งที่ประกอบกับจิตอยู่ทุกเมื่อคือ เจตสิก
ซึ่งเจตสิก ก็เป็นขันธ์ อีกเช่นกัน

จิต กับเจตสิก กล่าวรวมๆ กันว่า เป็น นามขันธ์

ในภูมิที่มีขันธ์5 จิตต้องอาศัยรูปเกิดขึ้่นด้วย จะเกิดลอยๆไม่ได้
ถึงแม้รูป จะมีอายุ ยาวนานกว่าจิต ถึง 17 ขณะก็ตาม

ทั้งรูปขันธ์ และนามขันธ์ รวมเรียกว่า ขันธ์5
หรือบางที ก็เรียกกันว่า นามรูป

มีลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป อยู่ตลอดเวลา

ขันธ์5 เมื่อเช้า กับขันธ์5เมื่อสาย จึงไม่ใช่อันเดียวกัน

จิต เมื่อเช้า กับจิตเมื่อสาย จึงไม่ใช่จิตอันเดียวกัน

ลักษณะการดับของขันธ์ คือ อันตรธานไปเลย

อ้างคำพูด:
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ภาค ๑-หน้าที่ 682

อรรถกถาอุทยัพพยญาณนิทเทส

พระโยคาวจรนั้น เมื่อเห็นความเกิดและความเสื่อมของขันธ์ ๕ อย่างนี้

ย่อมรู้อย่างนี้ ว่า การรวมเป็นกองก็ดี การสะสมก็ดี ย่อมไม่มีแก่ขันธ์ที่ยังไม่

เกิดก่อนแต่ขันธ์เหล่านี้เกิด, ชื่อว่าการมา โดยรวมเป็นกอง โดยความ

สะสม ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่เกิดขึ้น, ชื่อว่าการไปสู่ทิศน้อยใหญ่ ย่อมไม่มีแม้

แก่ขันธ์ที่ดับ, ชื่อว่าการตั้งลงโดยรวมเป็นกอง โดยสะสม โดยเก็บไว้ในที่

แห่งหนึ่ง ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่ดับแล้ว. เหมือนนักดีดพิณ เมื่อเขาดีดพิณอยู่

เสียงพิณก็เกิด, มิใช่มีการสะสมไว้ก่อนเกิด, เมื่อเกิดก็ไม่มีการสะสม, การ

ไปสู่ทิศน้อยใหญ่ออกเสียงพิณที่ดับไปก็ไม่มี, ดับแล้วไม่ว่าที่ไหนก็ไม่สะสมตั้ง

ไว้, ที่แท้แล้วพิณก็ดี นักดีดพิณก็ดีอาศัยความพยายามอันเกิดแต่ความ

พยายามของลูกผู้ชายไม่มีแล้วยังมีได้, ครั้นมีแล้วยังเสื่อมได้ฉันใด, ธรรมมีรูป

และไม่มีรูปแม้ทั้งหมดก็ฉันนั้นไม่มีแล้วยังมีได้ ครั้นมีแล้วยังเสื่อมได้ พระ

โยคาวจรย่อมเห็นด้วยประการฉะนี้แล.


.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 21:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
วงรอบของการเกิดวิถีจิต คือ
ปัญจทวารวิถี แล้วภวังคจิต แล้ว มโนทวารวิถี แล้วก็ภวังคจิต
เป็นแบบนี้ ไปตลอดวันตลอดคืน

ถ้าพูดให้สั้นลงไปอีกคือ
วิถีจิต เกิดสลับกับภวังคจิต ........... ตลอดวันตลอดคืน

ความรู้สึกตัว เกิดขึ้นได้ เมื่อ มีวิถีจิต สลับกับภวังคจิต อย่างรวดเร็ว

แต่ถ้าภวังคจิต เกิดต่อเนื่องกันนานๆ คนเราก็จะหมดความรู้สึกตัว (คือยามที่หลับสนิทไม่ฝัน)

การที่คนเราไม่มีความรู้สึกตัว ไม่ได้หมายความว่าช่วงนั้น ไม่มีจิต

ถ้าไม่มีจิต หมายความว่า ไม่มีนาม มีแต่รูปอย่างเดียว นอนหลับสนิทอยู่

ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง

ขณะที่ไม่มีความรู้สึกตัวใดๆ เลย ขณะนั้น จิตเกิดดับอยู่ที่หทยวัตถุ กระทำกิจเป็นภวังคจิต

ความรู้สึกตัวว่ามีเรา จึงเป็นสิ่งหลอกลวง
แท้จริง มีสาเหตุมาจากการทำงานของ จิตนั้นเอง
จิตเอง ก็เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ตามเหตุตามปัจจัย

ตามปัจจัย 24 ตามกฏปฏิจสมุปบาท

ความรู้สึกตัว เป็นแค่ผลพวง จากการทำงานเหล่านั้น
ความรู้สึกตัว จึงไม่ได้มีจริงเป็นตัวเป็นตน ยั่งยืน ถาวรแต่ประการใด
เป็นลักษณะผลุบๆ โผล่ๆ คือรู้สึกตัวบ้าง ไม่รู้สึกตัวบ้าง ไปตลอด
ความรู้สึกตัว อาจเรียกขานกันได้ว่า คือ เรา

จิต จึงไม่ใช่ เรา
และ เราก็ไม่ใช่จิต

ความรู้สึกตัว ว่าเรา หลายคนยืนยัน ว่า ไม่ได้เกิดดับถี่ยิบปานนั้น
เช่นพอตื่นขึ้นมาแล้ว ก็รู้สึกตัวตลอด ไม่เห็นมันจะดับไปตอนไหน
คนที่คิดว่า ความรู้สึกตัวคือจิต ก็จะเหมาเอาว่า จิตไม่ได้เกิดดับ
เพราะไป เข้าใจว่า เราคือจิต และจิตคือเรา ............จึงหาว่า จิตไม่เกิดดับ (ว่ากันตามความรุ้สึก)

แต่เพราะ เราไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่เรา
จึงควรที่จะปล่อยให้จิต เป็นไปตามทฤษฏีของมัน
คือ มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ด้วยความรวดเร็ว ยิ่งกว่าธรรมใดๆ

และควรที่จะตระหนักรู้ว่า จิต เป็นขันธ์
พร้อมกันนั้น มีสิ่งที่ประกอบกับจิตอยู่ทุกเมื่อคือ เจตสิก
ซึ่งเจตสิก ก็เป็นขันธ์ อีกเช่นกัน

จิต กับเจตสิก กล่าวรวมๆ กันว่า เป็น นามขันธ์

ในภูมิที่มีขันธ์5 จิตต้องอาศัยรูปเกิดขึ้่นด้วย จะเกิดลอยๆไม่ได้
ถึงแม้รูป จะมีอายุ ยาวนานกว่าจิต ถึง 17 ขณะก็ตาม

ทั้งรูปขันธ์ และนามขันธ์ รวมเรียกว่า ขันธ์5
หรือบางที ก็เรียกกันว่า นามรูป

มีลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป อยู่ตลอดเวลา

ขันธ์5 เมื่อเช้า กับขันธ์5เมื่อสาย จึงไม่ใช่อันเดียวกัน

จิต เมื่อเช้า กับจิตเมื่อสาย จึงไม่ใช่จิตอันเดียวกัน

ลักษณะการดับของขันธ์ คือ อันตรธานไปเลย

อ้างคำพูด:
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ภาค ๑-หน้าที่ 682

อรรถกถาอุทยัพพยญาณนิทเทส

พระโยคาวจรนั้น เมื่อเห็นความเกิดและความเสื่อมของขันธ์ ๕ อย่างนี้

ย่อมรู้อย่างนี้ ว่า การรวมเป็นกองก็ดี การสะสมก็ดี ย่อมไม่มีแก่ขันธ์ที่ยังไม่

เกิดก่อนแต่ขันธ์เหล่านี้เกิด, ชื่อว่าการมา โดยรวมเป็นกอง โดยความ

สะสม ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่เกิดขึ้น, ชื่อว่าการไปสู่ทิศน้อยใหญ่ ย่อมไม่มีแม้

แก่ขันธ์ที่ดับ, ชื่อว่าการตั้งลงโดยรวมเป็นกอง โดยสะสม โดยเก็บไว้ในที่

แห่งหนึ่ง ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่ดับแล้ว. เหมือนนักดีดพิณ เมื่อเขาดีดพิณอยู่

เสียงพิณก็เกิด, มิใช่มีการสะสมไว้ก่อนเกิด, เมื่อเกิดก็ไม่มีการสะสม, การ

ไปสู่ทิศน้อยใหญ่ออกเสียงพิณที่ดับไปก็ไม่มี, ดับแล้วไม่ว่าที่ไหนก็ไม่สะสมตั้ง

ไว้, ที่แท้แล้วพิณก็ดี นักดีดพิณก็ดีอาศัยความพยายามอันเกิดแต่ความ

พยายามของลูกผู้ชายไม่มีแล้วยังมีได้, ครั้นมีแล้วยังเสื่อมได้ฉันใด, ธรรมมีรูป

และไม่มีรูปแม้ทั้งหมดก็ฉันนั้นไม่มีแล้วยังมีได้ ครั้นมีแล้วยังเสื่อมได้ พระ

โยคาวจรย่อมเห็นด้วยประการฉะนี้แล.



:b8: :b8: :b8:

เช่นเดียวกับไฟต้น ไฟกลาง ก็มิใช่ไฟเดียวกัน
ชาติชรามรณะฯลฯ เกิดทุกขณะจิต (มองในแง่มุม ทุกข์ขณะจิต)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2012, 04:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
โฮฮับ เขียน:
eragon_joe เขียน:
.....
ก็แบบว่า ก็อยากจะคิดว่าท่านเช่นนั้นไปลอกตำรามาตอบ
เป็นแต่เพียงเข้าใจตามตำรา แล้วก็เอามาคิดตอบไปเรื่อย
แต่ความจริง ไม่ได้เห็นตามนั้น ไม่ได้รู้ตามนั้น

แต่ ... :b6: ... ลอกตำรามันจะชี้สั้น ชัด กระทัดรัด และแจ่มขนาดนี้เชียวหรือ :b9:

:b6: ... มันเป็นเรื่องที่คนเข้าใจแต่เพียงบัญญัติ...
จะสะกัดออกมาได้ด้วยหรือ...ความเห็นประมาณข้างต้นน่ะ

:b32: :b32: :b13: :b13: :b12:

อิอิ ทำยวนท่านเช่นนั้น เด๋วเกรงจะโดน :b34: :b32: :b45:




ชิชะ! มาปรามาสพหูสูตร บาลีสยามรัฐ ปะเดี๋ยวเจองอน :b32:

:b10: ไม่อยากจะเชื่อสายตา

:b8: :b8: :b8:

ธรรมจัดสรรจริง ๆ

ท่านโฮฮับ ตอนที่ตอบ รู้สึกว่ามีองค์อะไรแอบมาผ่านร่างรึเปล่า :b32:

:b32: อิอิ คือ อันนี้เอกอนรู้คนเดียวน่ะ
เพราะ ก่อนที่ท่านโฮฮับจะตอบ เอกอนเขียนบางอย่าง
ที่ชี้ไปถึงสิ่งที่ท่านเช่นนั้นตอบ
แต่เอกอนก็ลบออก

แต่สิ่งที่เอกอนเขียนและลบออกนั้น ท่านกลับนำมาเขียน

:b32: :b32: :b32:

คุณเช่นนั้นครับ ผมไม่ได้ว่าคุณนะครับ คำพูดที่ออกจากปากผม
เป็นคำพูดของ คุณเอกอน ผมถูกผีคุณเอกอนสิงคร้าบ :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2012, 04:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
คำถามท่านโฮฮับ
อ้างคำพูด:
แล้วรู้มั้ยว่าทำไมต้องแยก มโนวิญญาณออกต่างหากจาก ปัญจวิญญาณ


ตอบ รู้ครับ เพื่อให้อธิบาย เรื่อง วิถีจิต และ ภวังคจิต ให้ง่ายขึ้น

อ้างคำพูด:
ลำดับการเกิดขึ้นของวิถีจิตทางปัญจทวาร (โดยปกติใน 1 วาระ มี 17 ขณะจิต)

อตีตภวังค์
ภวังคจลนะ
ภวังคุปัจเฉทะ
ปัญจทวาราวัชชนะ ...............คือ มโนธาตุ นี่อาจพิจารณาอารมณ์ทีแรกในธรรมทั้งปวง
ทวิปัญจวิญญาณ
สัมปฏิจฉันนะ ....................คือ มโนธาตุเกิดในลำดับแห่งการเกิดดับแห่งปัญจวิญญาณ
สันตีรณะ
โวฏฐัพพนะ
ชวนะ
ชวนะ
ชวนะ
ชวนะ
ชวนะ
ชวนะ
ชวนะ
ตทาลัมพนะ
ตทาลัมพนะ


จากตัวอย่างที่ผมยกมา เรื่องวิถีจิตทางปัญจทวาร ให้ดูที่ ทวิปัญจวิญญาณ
เป็นการพูด ไม่ชี้เฉพาะ ว่าเป็นวิญญาณใด
ซึ่งอาจเป็นจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานะวิญญาณ หรือวิญญาณอันใดอันอื่น(ยกเว้นมโนวิญญาณ)
ทำให้การพูดนั้นง่ายขึ้น

ถ้าระบุวิญญาณลงไป อาจต้องพูดถึง 5 ครั้งทีเดียว หรือไม่ก็ 10 ครั้งทีเดียว(ทวิปัญจวิญญาณ)

แต่นี่พูด รวมๆ ทีเดียว เป็นการ หมายถึงวิญญาณอันใดอันหนึ่ง ก็ได้ คือเป็นวิถีจิตลำดับนั้นๆ เหมือนกัน

พูดเข้าใจยากครับ เอางี้ครับ ผมจะดึงคำถามมาให้มันกระชับขึ้น
มโนวิญญาณ มีวิถีจิตมั้ยครับ และ มโนวิญญาณมันแตกต่างจากภวังคจิตอย่างไรครับ

แนะนำครับอยากให้คุณดูลงไปถึง เหตุปัจจัยของมโนวิญญาณ จะได้รู้ว่าเหตุปัจจัยที่ว่า
มันมีสองเหตุครับ เน้นลงไปที่จิตหรือกระบวนการขันธ์ห้าเลยครับ อย่าไปดูปริยัติมันจะทำให้
สับสน :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2012, 05:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ยามที่จิต มิได้เกิดขึ้น รับรู้อารมณ์ทางทวารทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขณะนั้นจิตเป็นภวังค์ เรียกว่ามโนวิญญาณครับผม
มโนวิญญาณจึงมีหลายดวง
มโนวิญญาณจึงเกิดขึ้นได้โดยไม่อาศัยมโนทวารก็ได้
จิตทั้งหมด ลบด้วย ทวิปัญจวิญญาณ ลบด้วย มโนธาตุ3 ที่เหลือทั้งหมดคือ มโนวิญญาณครับผม
จิตที่มิใช่วิถีจิต(ไม่อาศัยทวารใดเลย)ทั้งหมด จึงเป็นมโนวิญญาณทั้งหมด
จิตที่เป็นวิถีจิต ยกเว้นทวิปัญจวิญญาณ และ มโนธาตุ3 แล้ว ทึ่เหลือคือ มโนวิญญาณทั้งหมดครับผม
จุติจิต ก็เป็นมโนวิญญาณ
ปฏิสนธิจิต ก็เป็นมโนวิญญาณ
ภวังคจิตทุกดวงก็เป็นมโนวิญญาณ

มโนทวาราวัชชนะจิต ก็เป็นมโนวิญญาณ
สันตีระนะจิต ก็เป็นมโนวิญญาณ
โวฏฐัพนะจิต ก็เป็นมโนวิญญาณ
ชวนะจิต เป็นมโนวิญญาณ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2012, 11:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
ยามที่จิต มิได้เกิดขึ้น รับรู้อารมณ์ทางทวารทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขณะนั้นจิตเป็นภวังค์ เรียกว่ามโนวิญญาณครับผม
มโนวิญญาณจึงมีหลายดวง
มโนวิญญาณจึงเกิดขึ้นได้โดยไม่อาศัยมโนทวารก็ได้
จิตทั้งหมด ลบด้วย ทวิปัญจวิญญาณ ลบด้วย มโนธาตุ3 ที่เหลือทั้งหมดคือ มโนวิญญาณครับผม
จิตที่มิใช่วิถีจิต(ไม่อาศัยทวารใดเลย)ทั้งหมด จึงเป็นมโนวิญญาณทั้งหมด
จิตที่เป็นวิถีจิต ยกเว้นทวิปัญจวิญญาณ และ มโนธาตุ3 แล้ว ทึ่เหลือคือ มโนวิญญาณทั้งหมดครับผม
จุติจิต ก็เป็นมโนวิญญาณ
ปฏิสนธิจิต ก็เป็นมโนวิญญาณ
ภวังคจิตทุกดวงก็เป็นมโนวิญญาณ

มโนทวาราวัชชนะจิต ก็เป็นมโนวิญญาณ
สันตีระนะจิต ก็เป็นมโนวิญญาณ
โวฏฐัพนะจิต ก็เป็นมโนวิญญาณ
ชวนะจิต เป็นมโนวิญญาณ

ผมขอแสดงความเห็นนะครับ อาจจะมีแย้งบ้างก็อย่าถือสานะครับ
govit2552 เขียน:
ยามที่จิต มิได้เกิดขึ้น รับรู้อารมณ์ทางทวารทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขณะนั้นจิตเป็นภวังค์ เรียกว่ามโนวิญญาณครับผม

ผมว่าที่จริงแล้ว จิตที่ไม่รับรู้อารมณ์ทางทวารทั้งหก น่าจะเรียกว่า มโนนะครับ
ไม่ใช่มโนวิญญาณ เรียกมโนวิญญาณไม่ได้เพราะ อายตนะภายในที่เรียกว่าใจ ยังไม่ได้
ไปรับรู้ธัมมารมณ์หรืออายตนะภายนอกครับ มันไม่มีวิถีจิตจึงเรียกว่าภวังคจิต
มโนวิญญาณมีวิถีจิตนะครับ

สรุปคือ ทวารทั้งหกปิดแต่ยังมีมโนอยู่และมโนนั้นก็คือภวังคจิต
govit2552 เขียน:
มโนวิญญาณจึงมีหลายดวง
มโนวิญญาณจึงเกิดขึ้นได้โดยไม่อาศัยมโนทวารก็ได้

ว่าด้วยกฎแห่งไตรลักษณ์ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป
มโนวิญญาณหรือจิตตัวรู้มีดวงเดียว แต่เกิดดับได้เรื่อยครับ ส่วนมโนหรือจิต มีหลายลักษณะ
แต่ก็เกิดดับที่ละลักษณะหรือที่ละดวงครับ

มโนวิญญาณจะเกิดได้ต้องอาศัยมโนทวารและธัมมารมธ์
ถ้าไม่มีธัมมารมธ์มีแต่มโนทวาร เรียกว่า"มโน"
govit2552 เขียน:
จิตที่มิใช่วิถีจิต(ไม่อาศัยทวารใดเลย)ทั้งหมด จึงเป็นมโนวิญญาณทั้งหมด
จิตที่เป็นวิถีจิต ยกเว้นทวิปัญจวิญญาณ และ มโนธาตุ3 แล้ว ทึ่เหลือคือ มโนวิญญาณทั้งหมดครับผม

จิตที่มีวิญญาณขันธ์ คือเกิดผัสสะระหว่างทวารทั้งหกและอายตนะภายนอกทั้งหก
ย่อมต้องเกิดวิถีจิต จิตที่ไม่มีวิญญาณขันธ์ย่อมต้องมีมโน เพื่อจุติและปฏิสนธิ์
สืบภพแห่งจิต ลักษณะนี้เรียกภวังคจิต


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 114 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร