วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 22:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 110 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2013, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1375241010-1370203825-o.gif
1375241010-1370203825-o.gif [ 497.16 KiB | เปิดดู 3712 ครั้ง ]
พี่โฮๆๆ เปล่าไม่มีอะไร เรียกเฉยๆ กลัวลืม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2013, 14:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสแสดงอดีตชาติของพระกุณฑธานะ จบลงแล้ว
จึงตรัสกับพระกุณฑธานะนั้นว่า

“ภิกษุ เธออาศัยกรรมลามกนี้ จึงมีเรื่องอันแปลกเช่นนี้แล้ว
บัดนี้ การที่เธอถือทิฏฐิอันลามกเช่นนั้นอีก ไม่สมควร เธออย่ากล่าวอะไรๆ กับภิกษุทั้งหลายอีก

จงเป็นผู้ไม่มีเสียง เช่นกังสดาลอันเขาตัดขอบปากแล้ว
เมื่อทำอย่างนั้น จักเป็นผู้ชื่อว่าบรรลุพระนิพพาน” ดังนี้แล

เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า…
“เธออย่าได้กล่าวคำหยาบกะใครๆ ชนเหล่าอื่นถูกเธอว่าแล้ว จะพึงตอบเธอ
เพราะการกล่าวแข่งขันกันย่อมทำให้เกิดทุกข์ อาชญาตอบพึงถูกต้องเธอ

ผิเธออาจยังตนไม่ให้หวั่นไหวได้ ดังกังสดาลที่ถูกจำกัดแล้วไซร้
เธอนั่นย่อมบรรลุพระนิพพาน การกล่าวแข่งขันโต้ตอบกัน ย่อมไม่มีแก่เธอ.”

ป้าไม่แวะไปกระทู้กินเจบ้างเหรออดีตเจ้าแม่กินเจจะได้สอบถามกันบ้าง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2013, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
walaiporn เขียน:
เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสแสดงอดีตชาติของพระกุณฑธานะ จบลงแล้ว
จึงตรัสกับพระกุณฑธานะนั้นว่า

“ภิกษุ เธออาศัยกรรมลามกนี้ จึงมีเรื่องอันแปลกเช่นนี้แล้ว
บัดนี้ การที่เธอถือทิฏฐิอันลามกเช่นนั้นอีก ไม่สมควร เธออย่ากล่าวอะไรๆ กับภิกษุทั้งหลายอีก

จงเป็นผู้ไม่มีเสียง เช่นกังสดาลอันเขาตัดขอบปากแล้ว
เมื่อทำอย่างนั้น จักเป็นผู้ชื่อว่าบรรลุพระนิพพาน” ดังนี้แล

เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า…
“เธออย่าได้กล่าวคำหยาบกะใครๆ ชนเหล่าอื่นถูกเธอว่าแล้ว จะพึงตอบเธอ
เพราะการกล่าวแข่งขันกันย่อมทำให้เกิดทุกข์ อาชญาตอบพึงถูกต้องเธอ

ผิเธออาจยังตนไม่ให้หวั่นไหวได้ ดังกังสดาลที่ถูกจำกัดแล้วไซร้
เธอนั่นย่อมบรรลุพระนิพพาน การกล่าวแข่งขันโต้ตอบกัน ย่อมไม่มีแก่เธอ.”

ป้าไม่แวะไปกระทู้กินเจบ้างเหรออดีตเจ้าแม่กินเจจะได้สอบถามกันบ้าง



ถ้าแถวๆบ้าน มีคนกินเจกันเยอะ แล้วแม่ศรีภรรยาเราทำอาหารเจเก่ง ฉวยโอกาสเนี่ย ทำอาหารเจขาย น่าจะเข้ากับสถานการณ์ดีนะขอรับ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 04:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เอาอีก เขาเป็นอะไรพี่โฮ :b1:




กรัชกายถามว่าเขาเป็นอะไร .....เขาเป็นพวกเดียร์ถีย์ ที่แอบอ้างเป็นพุทธสาวก

พระพุทธเจ้าให้รู้ทุกข์และรู้เหตุแห่งทุกข์และดับเหตุนั้นเสีย พวกนี้ดันมาสร้างเหตุแห่งทุกข์

เอาผัสสะมาปรุงแต่งจนเหมือนคนบ้า

จะบอกให้ถ้าพี่โฮเป็นเจ้าอาวาส จะสั่งให้มรรคทายกเดินไปตบผู้หญิงที่พร่าม พองยุบๆๆๆๆๆๆ

แล้วไล่ยัยนี้กับพวกสติแตกนุ่งเหลืองออกนอกวัดให้หมด :b32:

ที่พี่โฮบอกว่า .....เรื่องของชาวบ้าน เป็นเพราะพวกนี้ไม่ได้ปฏิบัติตามที่พระพุทธองค์ทรงสอน

เขาให้ใช้คำบริกรรมมาเป็นวิหารธรรม แต่มันดันเอาคำบริกรรมมาเป็นโรงงิ้วตลาดสด

กรัชกายชอบเอาเรื่องของพวกเดียถีร์ มาโปรโมต เท่ากับว่า กรัชกายเป็นเบ๊ของคนพวกนี้

กรัชกายเลิกซะเถอะไอ้นิสัยแบบนี้ เลิกโปรฯแนวทางนอกศาสนา เลิกนิสัยเกรียนกระทู้

เลิกเอาพุทธพจน์มาสร้างคำใหม่ อย่าพยายามสร้างปัญหากับพุทธพจน์ ไปทำความเข้าใจ
กับเนื้อในพุทธวจนะหรือพระธรรมวินัย ......ไม่ใช่มาคอยถามคำศัพท์

การกระทำของกรัชกาย ก็หนีไม่พ้นจากคนพวกนี้ นั้นคือเอา...พุทธพจน์ไปปรุงแต่ง

เอาคำกล่าวของพระพุทธเจ้าไปขยายความ จนความหมายผิดเพี้ยนจากความจริง :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:



http://www.youtube.com/watch?v=ZwH3bCTlzbM

กรัชกายถามว่าเขาเป็นอะไร .....เขาเป็นพวกเดียร์ถีย์ ที่แอบอ้างเป็นพุทธสาวก

พระพุทธเจ้าให้รู้ทุกข์และรู้เหตุแห่งทุกข์และดับเหตุนั้นเสีย พวกนี้ดันมาสร้างเหตุแห่งทุกข์

เอาผัสสะมาปรุงแต่งจนเหมือนคนบ้า

จะบอกให้ถ้าพี่โฮเป็นเจ้าอาวาส จะสั่งให้มรรคทายกเดินไปตบผู้หญิงที่พร่าม พองยุบๆๆๆๆๆๆ

แล้วไล่ยัยนี้กับพวกสติแตกนุ่งเหลืองออกนอกวัดให้หมด :b32:

ที่พี่โฮบอกว่า .....เรื่องของชาวบ้าน เป็นเพราะพวกนี้ไม่ได้ปฏิบัติตามที่พระพุทธองค์ทรงสอน

เขาให้ใช้คำบริกรรมมาเป็นวิหารธรรม แต่มันดันเอาคำบริกรรมมาเป็นโรงงิ้วตลาดสด

กรัชกายชอบเอาเรื่องของพวกเดียถีร์ มาโปรโมต เท่ากับว่า กรัชกายเป็นเบ๊ของคนพวกนี้

กรัชกายเลิกซะเถอะไอ้นิสัยแบบนี้ เลิกโปรฯแนวทางนอกศาสนา เลิกนิสัยเกรียนกระทู้

เลิกเอาพุทธพจน์มาสร้างคำใหม่ อย่าพยายามสร้างปัญหากับพุทธพจน์ ไปทำความเข้าใจ
กับเนื้อในพุทธวจนะหรือพระธรรมวินัย ......ไม่ใช่มาคอยถามคำศัพท์

การกระทำของกรัชกาย ก็หนีไม่พ้นจากคนพวกนี้ นั้นคือเอา...พุทธพจน์ไปปรุงแต่ง

เอาคำกล่าวของพระพุทธเจ้าไปขยายความ จนความหมายผิดเพี้ยนจากความจริง



เอาง่ายๆก่อนเลย "ผัสสะ" ที่ตะเองนำมาพูดบ่อยครั้ง สติอีก สมาธิเป็นต้นอีก แต่ไม่เข้าใจความหมายของเขาเลยสักกะติ๊ดเดียวนะ เป็นคำศัพท์ไหม ตอบนะ ขอร้อง เป้นคำศัพท์ไหม

ถ้าดูคลิปนั้นและที่นำตัวอย่างให้ดูไม่เข้าใจ ก็อย่าพูดเลยครับ เรื่องดูจิตดูใจเเรื่องธรรมะระดับปรมัตถ์ :b1: เหม็นอุจจาระฟัน (ขี้ฟัน) บอกไม่รู้ว่ากี่ครั้งต่อกี่ครั้งแล้ว ไปทำ-พูดเรื่องทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ปล่อยนก ปล่อยปลา ปล่อยเต่า สร้างโบสถ์วิหาร ลานเจดีย์ ปิดทองพระประำจำวัน เลี้ยงอาหารเด็กกำพร้า จะเข้าหน้าหนาวแล้วนำผ้าห่มกันหนาวไปแจกเด็กตามดอยตามป่า เป็นต้นจะดีกว่านะ อ่ะๆๆนี่พูดจริงๆนะทำเป็นเล่นไป ช่วยครูดอยเขาหน่อย คิก ๆๆ

http://www.youtube.com/watch?v=Wc9FtRdyMzU

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 07:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คำพูดทำนองที่พี่โฮยกมาเนี่ยะ กรัชกายเห็นที่เขาถาม-ตอบ กันและกันแล้ว มองเห็นทะลุทั้งกระดาน (ไม่ใช่ตำหนินะ ใครชอบใจอะไรก็ว่ากันไปตามจริตดีกว่าอยู่เปล่าๆ) คือเขาถามว่า ขณะนั้นง่วงแล้วแก้ยังไง? ตอบว่า ....ให้ไปนอนสะให้หายง่วงก่อนแล้วค่อยมาดูจิตใหม่ :b1:

ไม่ได้โม้นะ สำหรับกรัชกายมองออกทั้งกระดาน คือเขามองธรรมชาติคือกายใจนี่้แบบโลกสวย ขยันพูดกันจัง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่หารู้ความยังงั้นคือของกายใจหรือนามรูป หรือของชีวิตหรือของธรรมชาตินี้ไม่

ไอ้นี่ไม่เข้าใจแล้วก็จ้อไปเลยเรื่อย ก็มันเป็นบัญญัติ จะให้เขาพูดอย่างไร
คนที่เขารู้แล้วเห็นแล้ว ก็เอามาพูด ถ้าใครอยากรู้ก็ต้องเขาไปเห็นเอง
ทำให้ได้ ไปให้เห็น แล้วค่อยออกมาโต้แย้งว่าใช่ไม่ใช่อย่างไร

ไม่ใช่ใครเข้าบอกก็ตะบี้ตะบันแกล้งอินโนเซ้นถามดะ
ถ้ากรัชกายใช้สมองคิดตามหลักวิทยาสตร์ก็ได้
ถ้ามีใครเขามาเล่าเรื่องอะไรที่ไปเจอมา แล้วก็มีอีกหลายคนก็เล่าแบบเดียวกัน
กรัชกายไม่คิดที่จะไปดูให้รู้จริงก่อนหรือ มันจะจริงอย่างที่เขาพูดหรือเปล่าเราต้องไปดูเอง
เหตุผลตื้น ตรรกะง่ายๆแค่นี้ยังดันทุรังเถียง



เข้าใจมานานแล้วว่าพี่โฮ จุดประสงค์เพื่อจะสื่อว่า ตนเองบรรลุธรรมแบบที่อุปติสสะบรรลุ เพราะฟังหัวข้อบาลีจากพระอัสสชิดังว่า

"เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุ (มีนิคหิตบน ต. เต่าด้วยพิมพ์ไ่ม่ติด) ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ" คิกๆ คิดๆจะเอาแบบนี้ :b1:



พี่โฮที่เคารพรักขอรับ :b8: :b20:

ธรรมะเป็นไง

"เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุ (มีนิคหิตบน ต. เต่าด้วยพิมพ์ไ่ม่ติด) ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ"

อยากให้ตอบนะ เห็นอ้างบ่อยครั้งเหมือนกัน เป้นไงอ่ะธรรมะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 14:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พี่โฮสะเดาะกุญแจหนีไปอีกแระ ไม่ได้เอาจากที่ไหนมาเลย ที่ตะเองพูดแท้ๆ หรือเ็ป็น "ธรรมะจีบสาว" :b32: เฮ้ออ...จะบ้าตายยย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2013, 11:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กายนี้ เป็น “กรรมเก่า”

ภิกษุทั้งหลาย ! กายนี้ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
และทั้งไม่ใช่ของบุคคลเหล่าอื่น.


ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมเก่า (กาย) นี้ อันเธอทั้งหลาย
พึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น (อภิสงฺขต),

เป็นสิ่งที่ปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น (อภิสญฺเจตยิต),
เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้ (เวทนีย).

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีของกายนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ย่อมทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี
ซึ่ง ปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียว ดังนี้ว่า

“ด้วยอาการอย่างนี้ :
เพราะสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี;
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;
เพราะสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้จึงไม่มี;
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงดับไป :

ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย;
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ;
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป;
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ;
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ;
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา;
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา;
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน;
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ;
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ;
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้น นั่นเทียว,
จึงมีความดับแห่งสังขาร,

เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ; … ฯลฯ …
ฯลฯ … ฯลฯ …

เพราะมีความดับแห่งชาติ นั่นแล ชรามรณะ
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :

ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้ แล.
นิทาน. สํ. ๑๖/๗๗/๑๔๓.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2013, 12:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมเก่าและกรรมใหม่

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่งกรรมทั้งหลาย
ทั้งใหม่และเก่า (นวปุราณกัมม)
กัมมนิโรธ และกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา. ….

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมเก่า (ปุราณกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! จักษุ (ตา) …. โสตะ (หู) …. ฆานะ (จมูก) ….
ชิวหา (ลิ้น) …. กายะ (กาย) …. มนะ (ใจ)

อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นปุราณกัมม (กรรมเก่า)
อภิสังขตะ (อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น)
อภิสัญเจตยิตะ (อันปัจจัย ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น)
เวทนียะ (มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้).
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมเก่า.

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมใหม่ (นวกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลกระทำกรรม
ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในกาลบัดนี้ อันใด,
อันนี้เรียกว่า กรรมใหม่.

ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม)เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลถูกต้องวิมุตติ
เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันใด,
อันนี้เรียกว่า กัมมนิโรธ.

ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทานั้น คือ อริยอัฏฐังคิกมรรค(อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเอง ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ(การทำการงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ) สัมมาสติ(ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา.

ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยประการดังนี้แล (เป็นอันว่า)
กรรมเก่า เราได้แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย กรรมใหม่เราก็แสดงแล้ว,
กัมมนิโรธ เราก็ได้แสดงแล้ว,
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เราก็ได้แสดงแล้ว.


ภิกษุทั้งหลาย ! กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย,
กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.

ภิกษุทั้งหลาย ! นั่นโคนไม้, นั่นเรือนว่าง.
พวกเธอจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท,
อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.
นี้แล เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.

สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๖/๒๒๗-๒๓๑.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2013, 12:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรม

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวซึ่งเจตนา ว่าเป็นกรรม.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุเกิดของกรรมทั้งหลาย ย่อมมี เพราะความเกิดของผัสสะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรม ย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! มรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา.
ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๔/๓๓๔.

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ ....

คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม เพราะว่าบุคคล เจตนาแล้ว
ย่อมกระทำซึ่งกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.


ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลายคือ ผัสสะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมที่ทำสัตว์ ให้เสวยเวทนา
ในนรก มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ ให้เสวยเวทนา ในกำเนิดเดรัจฉาน มีอยู่,
กรรมที่ทำสัตว์ ให้เสวยเวทนา ในเปรตวิสัย มีอยู่,
กรรมที่ทำสัตว์ ให้เสวยเวทนา ในมนุษย์โลก มีอยู่,
กรรมที่ทำสัตว์ ให้เสวยเวทนาในเทวโลก มีอยู่.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลายว่า มีอยู่ ๓ อย่าง คือ
วิบากในทิฏฐธรรม (คือทันควัน)
หรือว่า วิบากในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา)
หรือว่า วิบาก ในอปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก).
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรมทั้งหลาย ย่อมมีเพราะความดับ แห่งผัสสะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! กัม ม นิโ ร ธ ค า มินีป ฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเอง คือ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา;
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-

สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ)
สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใดอริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่ง กรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง นิทานสัมภวะแห่งกรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง เวมัตตตาแห่งกรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง วิบากแห่งกรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธ อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้;
อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้ว่า เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งกรรม.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า
“กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ”
ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.
ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๘,๔๖๓-๔๖๔/๓๓๔.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2013, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


หมือนเด็ก ไม่รู้จักโต

ภิกษุ ท. ! ทารกนั้น ครั้นเจริญวัยขึ้นแล้ว มีอินทรีย์อันเจริญเต็มที่แล้ว
เป็นผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณห้า ให้เขาบำเรออยู่ :

ทางตาด้วยรูป, ทางหูด้วยเสียง, ทางจมูกด้วยกลิ่น,
ทางลิ้นด้วยรส, และทางกายด้วยโผฏฐัพพะ,

ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ที่ยวนตา ยวนใจให้รัก
เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ
และเป็นที่ตั้งแห่งความรัก.

ทารกนั้น ครั้นเห็นรูปด้วยจักษุ เป็นต้นแล้ว
ย่อมกำหนัดยินดี ในรูป เป็นต้น ที่ยั่วยวนให้เกิดความรัก,
ย่อมขัดใจในรูป เป็นต้น อันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความรัก ;

ไม่เป็นผู้ตั้งไว้ซึ่งสติอันเป็นไปในกาย มีใจเป็นอกุศล
ไม่รู้ตามที่เป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลทั้งหลาย.

กุมารน้อยนั้น เมื่อประกอบด้วย ความยินดีและความยินร้ายอยู่เช่นนี้แล้ว,
เสวยเฉพาะซึ่งเวทนาใด ๆ เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม,
เขาย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนานั้น ๆ.

เมื่อเป็นอยู่เช่นนั้น, ความเพลิน(นันทิ) ย่อมบังเกิดขึ้น.
ความเพลินใด ในเวทนาทั้งหลาย มีอยู่,

ความเพลินอันนั้น เป็นอุปาทาน.

เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ;

เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ;

เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม.

ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
- มู. ม. ๑๒/๔๘๗-๔๘๘/๔๕๒-๔๕๓

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2013, 06:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


ปีนี้ทานเจมั้ยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 14:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
มีแต่อุบาย ในการกระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือ การดับเหตุของการเกิด

นี่เป็นอีกหนึ่งในคำสอน อุบายหรือ การคิดพิจรณา เพื่อดับผัสสะ
ที่กำลังจะเป็นเหตุปัจจัย ทำให้เกิด การสร้างเหตุใหม่ ของการเกิดภพชาติปัจจุบัน

[๔๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๔๖๕] พ. เพราะเหตุนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เป็นภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต
อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้

รูปทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง

ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เป็นภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต
อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้

วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯลฯ
(อีก ๒๔ สูตรเหมือนในวรรคที่ ๒)

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 557&Z=5632

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2013, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


วิโมกข์ ๓


วิโมกข์ แปลว่า ความพ้น, ความหลุดพ้นวิเศษ มีความหมายเช่นเดียวกับ วิมุตติ
ใช้หมายถึงพระนิพพานก็ได้


ธรรมอันเป็นประธานแห่งวิโมกข์เป็นไฉน
นิพพานอันเป็นที่ดับ เป็นอารมณ์ของธรรมเหล่านั้น
นี้เป็นธรรมอันเป็นประธานแห่งวิโมกข์ ฯ



สภาวะวิโมกข์ ๓

สุญญตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนัตตา

อนิมิตตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนิจจัง

อัปปณิหิตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ทุกขัง

เป็นคำเรียกของสภาวะ(ไตรลักษณ์) ที่เกิดขึ้น ขณะหยุดสร้างเหตุนอกตัว


สภาวะเหล่านี้ จะเกิดขึ้นได้ ต้องรู้จัก โยนิโสมนสิการ ได้แก่

ขณะที่ผัสสะเกิด สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่างๆนานา

มีสติรู้อยู่ กับสิ่งที่เกิดขึ้น

ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ

ชั่วขณะนั้น สภาวะศิล สมาธิ ปัญญา(ไตรลักษณ์) จะเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย






สภาวะสัมมาสมาธิ(วิปัสสนา)

เมื่อมีสภาวะสัมมาสมาธิเกิดขึ้น สภาวะเหล่านี้เกิดขึ้น เป็นเรื่องปกติ

คือ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ


เพียงแต่ แรกรู้ เหตุของความไม่รู้ที่มีอยู่
สภาวะที่เกิดขึ้น อาจจะดูแปลกประหลาดมหัศจรรย์

แท้จริงแล้ว ยังไม่ใช่สภาวะปัญญา
เป็นความปกติ ของสภาวะที่เกิดขึ้น ในสมาธิเท่านั้นเอง

ที่กล่าวว่า ยังไม่ใช่ปัญญา เพราะ ยังไม่สามารถนำมากระทำ
เพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ได้ (นิพพาน)

มีแต่จะนำไปสร้างเหตุ ของการเกิดภพชาติปัจจุบัน ให้เกิดขึ้นเนืองๆ
เหตุจาก ศรัทธาแรงกล้า(กับสภาวะที่เกิดขึ้น)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2013, 13:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เวทนาหก


ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งเวทนาหกเหล่านี้คือ
เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางตา,
เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางหู,
เวทนาอันเกิดแต่สัมผัสทางจมูก,
เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น,
เวทนา อันเกิดแต่สัมผัส ทางกาย,
และ เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางใจ.

ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า เวทนา.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๓/๑๑๔.






ความหมายของคำว่า “เวทนา”


ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “เวทนา” เพราะอาศัยความหมาย อะไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่รู้สึกได้ มีอยู่ ในสิ่งนั้น

ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า เวทนา.
สิ่งนั้น ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งอะไร ?

สิ่งนั้น ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันเป็นสุขบ้าง,
ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันเป็นทุกข์บ้าง,
และย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง.

ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่รู้สึก ได้มีอยู่ ในสิ่งนั้น
ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า เวทนา.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๕/๑๕๙.




หมายเหตุ:

กิริยาที่รู้สึก หมายถึง ผลของเหตุ(อดีต) ที่ส่งมาให้รับผล คือ
สิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ขณะ โดยอาศัย ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย


หากมีเหตุปัจจัย ต่อสิ่งๆนั้น ย่อมทำให้เกิด ซึ่งความรู้สึกอันเป็นสุขบ้าง,
ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันเป็นทุกข์บ้าง,
หากไม่มีเหตุปัจจัยต่อกัน สิ่งๆนั้น ย่อมทำให้เกิด ซึ่งความรู้สึกอันไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 110 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร