วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 07:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2008, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ที่เจริญภาวนา โดยใช้วิปัสสนานำหน้า
น่าจะสนใจ พระสูตรนี้ น่ะครับ

สามารถ ใช้ตรวจสอบความก้าวหน้าของการภาวนาของตนเองได้


มีหลักฐานปรากฏในระดับพระสูตร
อีกทั้ง มีผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง ปริยัติ และ ปฏิบัติ กล่าวไว้เช่นกัน



[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อม เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น อย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะ***ความที่จิตมีอารมณ์เดียว***ไม่ฟุ้งซ่านเป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้

วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ



พระไตรปิฎกเล่มที่ 31 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 23
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา

ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา




ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ :09: :09: :09:

สุปฏิปันโน ผู้เชี่ยวชาญในปริยัติ ท่านสรุปไว้ดังนี้


จาก หนังสือ พุทธธรรม หน้า 328


"ข้อที่2 สมถะมีวิปัสสนานำหน้า

ๆลๆ

ขยายความ ตามอรรถกถาว่า ผู้ปฏิบัติยังมิได้ทำสมถะให้เกิดขึ้นเลย แต่มาพิจารณาเห็นแจ้งอุปาทานขันธ์๕ ตามสามัญลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น อันนับว่าเป็นวิปัสสนา

พอวิปัสสนาเต็มเปี่ยมดี จิตก็จะเกิดภาวะมีอารมณ์หนึ่งเดียว(=เป็นสมาธิ)ขึ้น โดยมี***ความปล่อยวาง***ธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเองเป็นอารมณ์ อันนับว่าเป็นสมถะ

เมื่อปฏิบัติโดยวิธีนี้ อริยมรรคก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน


อย่างไรก็ตาม

อรรกถาสรุปว่า

ไม่ว่าจะเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะนำหน้า
หรือ เจริญสมถะโดยมีวิปัสสนานำหน้าก็ตาม
เมื่อถึงขณะที่อริยมรรคเกิดขึ้น ทั้งสมถะและวิปัสสนา จะต้องเกิดขึ้นด้วยกันอย่างควบคู่ เป็นการแน่นอนเสมอไป


ที่เป็นเช่นนี้ เพราะว่าโดยหลักพื้นฐานแล้ว สมถะและวิปัสสนาก็คือองค์ของมรรคนั่นเอง.

วิปัสสนา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสังกัปปะ.
สมถะได้แก่ องค์มรรคที่เหลืออีก6ข้อ.

ซึ่งเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ที่องค์มรรคเหล่านี้ จะต้องเกิดขึ้นพร้อมกัน ในขณะบรรลุอริยภูมิ "






ประกอบกับ หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย :09: :09: :09:

สุปฏิปันโน ผู้เชี่ยวชาญด้านปฏิบัติ ท่านกล่าวไว้เช่นนี้


ถ้าท่านผู้ที่บริกรรมภาวนา จิตมันไม่เคยสงบเป็นสมาธิซักที
จะไปรอให้มันสงบ มันไม่เคยสงบซักที ก็มาพิจารณาซิ
ยกเรื่องอะไรขึ้นมาพิจารณาก็ได้ ซึ่งมันเกี่ยวกับเรื่องธรรมะ

พิจารณาไปจนกระทั่งจิตมันคล่องตัว
พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันนั้นก็ไม่เที่ยง อันนี้ก็เป็นทุกข์ อันนั้นก็เป็นอนัตตา
คิดเอาตามสติปัญญาที่เราจะคิดได้
คิดย้อนกลับไปกลับมา กลับไปกลับมา กลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้

คิดจนกระทั่งมันคล่องตัว จนกระทั่งเราไม่ได้ตั้งใจคิด

จิตมันคิดของมันเอง ซึ่งมันอาจจะเอาเรื่องอื่นมาคิดอยู่ไม่หยุดก็ได้

เมื่อเป็นเช่นนั้น มันก็เข้าลักษณะเหมือนกันกับภาวนา

ถ้าจิตมันคิดของมันเอง สติรู้พร้อมอยู่เอง มันก็ได้วิตก วิจาร
ในเมื่อจิตมีวิตก วิจาร เพราะความคิดอ่านอันนี้
มันก็เกิดมีปีติ มีความสุข มีเอกัคตา
มันจะสงบลงไปเป็น อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ



ผู้ที่เจริญภาวนาโดยใช้วิปัสสนานำหน้า
สามารถตรวจสอบความก้าวหน้าของตนเองได้

โดยดูว่า เมื่อภาวนาไปแล้ว จิตมีอาการปล่อยวางใน รูปนาม ขันธ์ห้า ทั้งหลายไหม?
และ การปล่อยวางในธรรมทั้งหลายนั้น นำไปสู่ เอกัคคตารมณ์(สัมมาสมาธิ) คือ ภาวะที่จิตตั้งมั่นไม่ไหลไปกับอารมณ์ต่างๆไหม

ถ้า จิตบังเกิดเอกัคคตารมณ์ขึ้น มีความเยือกเย็น สงบ ระงับ...ท่านก็มาถูกทางแล้ว

แต่ ถ้า จิตไม่บังเกิดเอกัคคตารมณ์ขึ้นเลย ..ท่านก็ยังมาไม่ถึงจุดหมาย..
หรือ มาผิดทาง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2008, 17:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คห นี้
กล่าวตามแนวทางปัญญาวิมุตแบบของไทย ที่ยืนอยู่นบพื้นฐานของ อริยมรรคสมังคี

จาก พระสูตร

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?st ... yte=109458


[๑๔๗] อริยมรรคสมังคีบุคคล ย่อมเผาสังกิเลสที่ยังไม่เกิด ด้วยโลกุตตรฌานที่เกิดแล้ว

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวโลกุตตรฌานว่าเป็นฌาน

บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์

ถ้าพระโยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้ว ย่อมเห็นแจ้ง ฉันใด
ถ้าเมื่อเห็นแจ้ง ก็พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดี ฉันนั้น

สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วในขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่




จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

ปัญญาวิมุต “ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา”
หมายถึง พระอรหันต์ผู้สำเร็จด้วยบำเพ็ญวิปัสสนาโดยมิได้อรูปสมาบัติมาก่อน


ปัญญาวิมุตอรหันต์ จากที่ท่านเจ้าคุณๆประมวลมานี้
ท่านไม่ได้"อรูปสมาบัติ"(อรูปฌาน) เท่านั้น
หาใช่ว่า ท่านต้องปราศจากรูปสมาบัติ(รูปฌาน) แต่อย่างใด

ด้วยว่า สัมมาสมาธิ ที่ตรัสในสัจจบรรพ มหาสติปัฏฐานสูตร และ มหาจัตตารีสกสูตร ล้วนแต่ตรัสถึง สมาธิ ระดับรูปฌานหนึ่งถึงสี่ อยู่แล้ว



ลองพิจารณาเพิ่มเติมจาก

2.1จาก หนังสือพุทธธรรม

หน้า 331

"....เมื่อผู้เป็นวิปัสสนายานิกเจริญวิปัสสนาต่อๆไป สมาธิก็พลอยได้รับการฝึกอบรมไปด้วย ถึงตอนนี้อาจเจริญวิปัสสนาด้วยอุปจารสมาธิ(สมาธิจวนจะแน่วแน่ หรือ สมาธิจวนจะถึงฌาน)ก็ได้ จนในที่สุดเมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้นก็จะแน่วแน่สนิทเป็นอัปปานาสมาธิ อย่างน้อยถึงระดับปฐมฌาน(ฌานที่1 หรือ รูปฌานที่1)

เป็นอันสอดคล้องกับหลักที่แสดงไว้แล้วว่า ผู้บรรลุอริยภูมิ จะต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาครบทั้งสองทั่วกันทุกบุคคล...."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2008, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เอกัตาจิต ก็ คือ จิตที่ทรงไว้ซึ่งเอกัคตารมณ์


จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

เอกัคคตา ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่สมาธิ
(พจนานุกรมเขียน เอกัคตา);
ดู ฌาน


เอกัคคตาจิต นี่คือ ประโยชน์ที่แท้จริงของสมาธิภาวนา




ในปัจจุบัน

ผมสังเกตุว่า
เวลาผมคุยกับ น้องๆที่ศึกษาธรรม เกี่ยวกับ...ความหมายของคำว่า สัมมาสมาธิ



### ถ้าผมกล่าวว่า

"สัมมาสมาธิ ก็ คือ ความหมายเดียวกันกับ โลกุตรฌาน(ที่มีกำลังเทียบเท่า รูปฌานหนึ่งถึงสี่ แบบที่ตรัสไว้ในสัจจบรรพ มหาสติปัฏฐานสูตร) นั่นเอง"

น้องๆ เขาจะมีท่าทีแบบนี้.... :b6: :b6: :b6:

และ มักจะตามมาด้วยคำถาม ที่ว่า
"สัมมาสมาธิไม่ต้องมีกำลังแห่งสมาธิถึงระดับฌาน ได้ไหม???"



### แต่ ถ้าผมกล่าวว่า

"สัมมาสมาธิ ก็ คือ ความหมายเดียวกับ เอกัคตารมณ์ที่แวดล้อมด้วยองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ด(แบบที่แสดงใน มหาจัตตารีสกสูตร) นั่นเอง"

น้องๆ เขาจะมีท่าทีแบบนี้.... :b20: :b20: :b20:

และ มักไม่มีคำถามใดๆ ตามมาเลย



ทั้งๆที่ ความจริงแล้ว

เอกัคตารมณ์ที่แวดล้อมด้วยองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ด ก็มีความหมายเดียวกันกับ โลกุตรฌาน นั่นเอง!!!


สิ่งนี้ สื่อแสดง ถึงว่า ความเข้าใจในประเด็น อย่างไรคือสัมมาสมาธิ ที่แตกต่างกันนั้น....รากของปัญหา ที่ทำให้เข้าใจไม่ตรงกัน คือ ภาษาที่ใช้

เมื่อ ภาษาที่ใช้ ไม่ตรงกัน เลยเข้าใจไม่ตรงกัน



อนึ่ง

คำว่า ฌาน นั้นเป็นสภาะแห่งจิตที่เป็นสมาธิขั้นแน่วแน่
ปฐมฌาน จะประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์
ยิ่งฌานที่ละเอียด สมาธิมั่นคงมากขึ้นเท่าใด.... อารมณ์ที่หยาบกว่า ก็จะค่อยๆ ลดลงเท่านั้น
จนถึง จตุตฌาน ที่จะมีเพียง เอกัคคตารมณ์ (และ อุเบกขา)

แต่ สิ่งที่ รูปฌานหนึ่งถึงสี่ ต่างก็มีด้วยกันทั้งสิ้น ก็คือ "เอกัคคตารมณ์"

ดังนั้น
ถ้าจะกล่าวว่า สิ่งที่บ่งชี้ถึงว่า จิตนั้น ทรงฌาน หรือ ไม่ทรงฌาน... ก็ดูที่ว่า มีเอกัคคตารมณ์บังเกิดขึ้นในจิตไหม???
ถ้ามี เอกัคคตารมณ์ ก็นับว่าเป็นฌานล่ะ.... ส่วนจะเป็นฌานไหน ก็ขึ้นกับว่ามีองค์ประกอยอื่นๆมากน้อยเท่าใด



ในสมัยพุทธกาล ท่านเรียก ภาวะจิตที่มีเอกัคคตารมณ์ ว่า ฌาน ....

ถ้า ฌาน นั้นๆเป็นผลสืบเนื่องจากสัมมาสติ และ มีสัมมาญาณะเป็นผลสืบเนื่อง ก็จัดว่าเป็น โลกุตรฌาน คือ สัมมาสมาธิในองค์อริยมรรค

ถ้า ฌาน นั้นๆไม่เป็นผลสืบเนื่องจากสัมมาสติ และ ไม่มีสัมมาญาณะเป็นผลสืบเนื่อง ก็จัดว่าเป็น โลกียฌาน



แต่ ในยุคปัจจุบัน ชาวพุทธรุ่นใหม่ในไทย

เมื่อกล่าวถึงคำว่า ฌาน ก็จะนึกถึงแต่ โลกียฌานที่เป็นมิจฉาสมาธิ เช่น ฌานของฤาษีอาฬารดาบส-อุทกดาบส .....เท่านั้น

ครั้น มีการกล่าวว่า "สัมมาสมาธิ ก็ เป็นฌานเหมือนกัน" น่ะ ...แต่เป็นโลกุตรฌาน

ท่าทีก็จะเป็นแบบนี้ :b6: :b6: :b6: ล่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2008, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธวจนะ

“นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส
นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน
ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญาจ นิพฺพานสฺ เสว สนฺติเก

ฌานย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีปัญญา
ปัญญาย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีฌาน
ผู้ที่มีทั้งฌานและปัญญา จึงจะอยู่ใกล้พระนิพพาน.”



นี่ เป็นอีกพระสูตรหนึ่ง

ที่ ชาวพุทธในปัจจุบันบางท่านปารภให้ฟัง
ในทำนองที่ว่า...
" ฌาน....จะไปมีส่วนให้เป็น ผู้อยู่ใกล้พระนิพพาน ได้อย่างไร".... จิตที่ทรงฌานนั้น ต้องไม่สามารถใช้เหตุผลได้ สิ ....ฌานต้องเป็นสิ่งที่ปิดกั้นปัญญา สิ และ ๆลๆ

ความจริงแล้ว พระสูตรนี้ เป็นพระสูตรที่ไพราะ ลึกซึ้งมาก
และ ไม่ต้องกังวล ว่าจะมีการคลาดเคลื่อน ใดๆเลย

เพียงแต่ ชาวพุทธไทยในยุคปัจจุบัน ที่มีอคติ ต่อคำว่า ฌาน ไม่เข้าใจกันเอง

ถ้าจะเข้าใจพระพุทธพจน์นี้ ต้องเปิดใจให้กว้าง สลัดความเชื่อที่จำกัดวง ของ คำว่า ฌาน ไว้เพียง โลกียฌานที่เป็นมิจฉาสมาธิ(แบบของ อาฬารดาบส อุทกดาบส)ออกไปเสียก่อน... แล้ว มองคำว่า ฌาน ในความหมายที่กว้างขึ้น


พระสูตรนี้ แสดงถึงความสัมพันธ์ ของ โลกุตรฌาน(เอกัคคตารมณ์ที่ห้อมล้อมด้วยองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ด) และ ปัญญา เป็นเครื่องส่งเสิมให้ใกล้พระนิพพาน (นิพพานสันติเก)


ฌาน ในอรรถนี้ ย่อมหมายเอา โลกุตรฌาน หรือ สัมมาสมาธิของพระอริยะ แน่นอน...

คำว่า ฌานย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีปัญญา สื่อถึง สัมมาสมาธิของพระอริยะ(โลกุตรฌาน) ต้องมีปัญญาในอริยมรรค(อันได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสังกัปปะ)เป็นเหตุ เป็นองค์ประกอบนำหน้า ดังเช่น ในมหาจัตตารีสกสูตร ที่กล่าวว่า

[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ

เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ฯ



นอกจากนี้ ยังมีพระพุทธพจน์ที่ตรัสถึงว่า สมถะที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ นั้น...ต้องเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง

[๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน?
คือ สมถะและ วิปัสสนา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค


(ปล... ปัญญาอันยิ่ง คือ อธิปัญญา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสังกัปปะ)



ส่วนคำว่า ปัญญาย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีฌาน สื่อถึง ปัญญาที่เป็นอริยผล(สัมมาญาฌะ) ที่สืบเนื่องไปจากสัมมาสมาธิของพระอริยะ(โลกุตรฌาน) นั่นเอง



อนึ่ง ใน อริยมรรคที่มีองค์แปด
สรุป เข้าสู่ ไตรสิกขา ได้ดังนี้

1.อธิปัญญาสิกขา(ปัญญา) ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ

2.อธิศีลสิกขา(ศีล) ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ

3.อธิจิตตสิกขา(สมาธิ) ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ




พึงสังเกตุ... สัมมาสติ ก็คือ หลักธรรมที่เรียกว่า สติปัฏฐาน(อ่านรายละเอียด จาก พุทธธรรม) ก็เป็นองค์มรรคที่ถูกจัดไว้ในหมวดสมาธิ เช่นเดียว กันกับ สัมมาสมาธิ เสียด้วยซ้ำ.

และ สัมมาสติ นี่เองที่คือ ตัวตัดสินว่า ฌานจิตที่บังเกิดขึ้นนั้นจัดเป็น มิจฉาสมาธิ(ขาดสัมมาสติ) หรือ สัมมาสมาธิ(มีสัมมาสติ)

หรือ อาจจะกล่าวให้กระชับได้ว่า
สมาธิ ที่บังเกิดขึ้นในการเจริญภาวนาตามหลักการแห่งสติปัฏฐาน ย่อมนำไปสู่สัมมาสมาธิ ในที่สุด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2008, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีพระสูตร ที่ตรัสถึง


การไม่ทำฌานให้เหินห่าง
ประกอบด้วย วิปัสสนา
พอกพูนสุญญาคาร



[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นโสดาบันเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓ พึงเป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันตรัสรู้เป็นเบื้องหน้าเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วย วิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นพระสกทาคามี เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓ [และ] เพราะราคะ โทสะ โมหะ เป็นสภาพเบาบาง พึงมาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วพึงทำที่สุดทุกข์ได้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วย วิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นอุปปาติกสัตว์ เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงปรินิพพานในพรหมโลกนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วย วิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร

ๆลๆ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎกที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์




อ่านพบคำว่า ฌาน(เฉยๆ) ในพระสูตร เช่นกรณีนี้.....
ก็พึงระลึกได้เลย ว่า ฌานที่พระพุทธเจ้าท่านสอนให้หมั่นกระทำบำเพ็ญนี้ หมายเอา โลกุตรฌาน.... ไม่ใช่ฌานที่เป็นมิจฉาสมาธิแน่นอน

คำว่า ฌาน ในอรรถนี้ สื่อถึง"สัมมาสมาธิ" เช่นกันครับ

"ไม่ทำฌานให้เหินห่าง".... สื่อถึง พึงตั้งใจมั่นชอบเสมอๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2008, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เนื่องจาก สมาชิก มีทั้งที่เพิ่งศึกษา และ ศึกษามาบ้างแล้ว....
มีทั้งที่ชอบอ่านพระสูตร และ ไม่ชอบอ่านพระสูตร

ผมจึงนำ พระพุทธพจน์ดั้งเดิมในพระสูตร
เกี่ยวกับ คำจำกัดความ ของ"สัมมาสมาธิ"มาลงในกระทู้นี้

เผื่อว่าใครยังไม่เคยอ่าน



“สัมมาสมาธิ” คือ อย่างไร?


สัมมาสมาธิ ที่อยู่ในพระสูตรโดยตรง มีกล่าวถึงคุณสมบัติไว้ คือ

1. เป็นสมาธิที่มีกำลังแห่งสมาธิในระดับ รูปฌาน๑ ถึง รูปฌาน๔

จาก http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=10&start_byte=447351

”.....สัมมาสมาธิ เป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ
วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

เธอมี อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส
โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ …..”


มีคนเคยปารภ ในลักษณะที่ว่า พระสูตรนี้ ไม่เห็นมีข้อความในลักษณะที่ว่า"ต้องมีสัมมาสติเป็นเหตุนำ" แห่ง สัมมาสมาธิ เลย ...
ฌาน ในที่นี้ ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นโลกุตรฌานเสียหน่อย ...เห็น ใช้คำว่า ฌาน เฉยๆ
ฌาน ในที่นี้ก็สามารถบับรวมฌานของฤาษีชีไพรทั่วๆไปด้วยสิ???
ฌานของฤาษีชีไพรทั่วๆไป ก็ต้องนับเป็นสัมมาสมาธิ ด้วยสิ???

ความจริงคือ

ต้องไม่ลืมว่า พระสูตรนี้ ตรัสแสดงไว้ใน มหาสติปัฎฐานสี่ (สัจจบรรพ)

กล่าวคือ กำลังตรัสแสดงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานอยู่.... นั่นเอง
และ การภาวนาตามหลักการแห่งสติปัฏฐานนั้น ก็คือ การเจริญสัมมาสตินั่นเอง(อ่าน จากพุทธธรรม)

และ อยากเสนอให้สังเกตุ คำว่า "ภิกษุในธรรมวินัย"...
ซึ่งคำว่า ธรรมวินัย นี้ก็สื่อถึง การเดินตามทางแห่งอริยมรรค...ซึ่ง ก็ต้องมีสัมมาสติเป็นองค์ประกอบแห่งอริยมรรคอยู่แล้ว
ก่อนพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้นั้น ไม่มีฤาษีชีไพรที่ไหน จะสามารถรู้อริยมรรคได้(เว้น พระปัจเจกๆ)

อีกทั้ง ฌานสี่ที่ทรงตรัสว่า "มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่" ก็ชัดเจนอยู่แล้ว ว่า ฌานในที่นี้ ไม่ใช่ ฌานแบบขาดสัมมาสติ เช่นที่ฤาษีชีไพรทั่วๆไป บำเพ็ญกัน

ดังนั้น รูปฌานหนึ่งถึงสี่ ที่กล่าวในพระสูตรนี้ จึงจำกัดเฉพาะ โลกุตรฌาน เท่านั้น


2.สัมมาสมาธิในองค์มรรคนี้ เป็นสมาธิที่มีองค์แห่งอริยมรรคอีก7อย่างแวดล้อม(เป็นบริขาร)

เช่น ที่ทรงแสดงใน มหาจัตตารีสกสูตร

”.....ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิ …..”


(ปล... คำว่า "ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง" ก็คือ "เอกัคคตารมณ์" ... ข้อสุดท้าย ในองค์แห่งฌาน)


ฌานฤาษี (เช่น จาก การเพ่งกสิณ) ถึงแม้นจะมีกำลังแห่งสมาธิในระดับรูปฌาน๑ ถึง รูปฌาน๔ ได้เช่นกัน..... แต่ขาด คุณสมบัติ ตามมหาจัตตารีสกสูตร(ที่สำคัญที่สุด คือ ไม่มีสัมมาสตินำหน้า). จึงไม่จัดเป็นสัมมาสมาธิในอริยมรรค และ ไม่เป็นประโยชน์ต่อการเห็นธรรม.....
เว้นเสียแต่ จะนำฌานนั้นมา เป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนา ดังที่มีพระสูตรแสดงกล่าวเอาไว้ ในฌานสูตร


สัมมาสมาธิ เป็นจุดประชุมขององค์แห่งอริยมรรคทั้งเจ็ด ก่อนที่จะบังเกิดผลเป็น สัมมาญาณะ และ สัมมาวิมุติ

ถ้า ปฏิบัติถูกตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้.... ต่อให้ปฏิบัติแบบแนวทางไหน....สัมมาสมาธิ ก็จะต้องบังเกิดขึ้นแน่นอน.

เพราะ ถ้าหากปราศจาก สัมมาสมาธิ เสียแล้ว มรรคย่อมไม่ครบองค์ประกอบ และมรรคสมังคี ย่อมไม่บังเกิดขึ้น......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2008, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


"ความที่จิตมีอารมณ์เดียว" เรียกว่า เอกัคคตารมณ์

จิตที่มีสภาะเช่นนั้น เรียกว่า เอกัคคตาจิต

ท่านผู้รู้ กล่าวว่า นี่คือ สิ่งที่เป็นประโยชน์ที่แท้จริงของสมถะ



ความจริงแล้ว
ในสมัยพุทธกาล เอกัคคตารมณ์ นั่นก็คือ land markของคำว่า ฌาน ...
เมื่อใดก็ตาม ที่จิตมีเอกัคคตารมณ์....ในสมัยพุทธกาล ท่านเรียก ลักษณะสภาวะจิตเช่นนี้ ว่า ฌาน
อย่างที่กล่าว ใน คห.ข้างต้น


แต่ พอกาลเวลาผ่านไป...
ฌาน เหมือนจะถูกเข้าใจเหลือเพียง ฌานแบบฤาษี เท่านั้น...
ฌานแบบของพระพุทธเจ้า... ฌานที่เรียกว่า สัมมาสมาธิ คนในปัจจุบัน ไม่ค่อยจะเชื่อว่า มีอยู่จริง....

จึงมีคำถามที่ได้ยินกันบ่อยๆว่า
"แล้ว สัมมาสมาธิ ที่ไม่เป็นฌาน ...มีไหม?"

คือ คนถาม ท่านเข้าใจว่า ฌานคือสภาวะที่จิตไม่สามารถพิจารณาธรรม ได้เลย
ดังนั้น เขาจึงถามเช่นนั้น


ทั้งๆ ที่ คำกล่าวว่า สัมมาสมาธิเป็นสมาธิระดับรูปฌาน๑-๔ มีกล่าวในพระสูตรเต็มไปหมด...



เอาเป็นว่า
ผมจะเลี่ยงคำว่า ฌาน ก็แล้วกันน่ะครับ
ขอใช้คำว่า เอกัคคตารมณ์ แทน...
เพราะเคยสนทนากับเพื่อนทางธรรม บางท่าน... แล้ว ทราบมาว่า เขาไม่ค่อยสบายใจกัน

แต่ ในพระสูตร หลายต่อหลายแห่ง...
ตรัส สัมมาสมาธิ เป็น สมาธิระดับฌานรูปฌาน๑-๔ จริงๆ ...ขอยืนยัน



### มาสู่ คำถามสำคัญ

ทำไม เอกัคคตารมณ์ จึงเป็นสิ่งสำคัญ???



เอกัคคตารมณ์ ก็ คือ ภาวะแห่งจิตที่ตั้งมั่น-ไม่ไหลไปกับอารมณ์

อารมณ์ที่น่าพึงพอใจ จิตก็ไม่เป็นไปตาม
อารมณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจ จิตก็ไม่เป็นไปตาม
เป็นจิตที่เป็นกลาง
เป็นจิตที่เป็นหนึ่ง

จิตที่ไม่ไหลไปกับอารมณ์ เป็นจิตที่มีคุณภาพ สามารถพิจารณาสภาวธรรมต่างๆตามที่เป็นจริง



จิตที่ไหลไปกับอารมณ์ เป็นจิตที่ด้อยคุณภาพ
เมื่อประสบอารมณ์ที่น่าพอใจ จิตก็ฟูไปเลย
เมื่อประสบอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ จิตก็แฟบไปเลย
จิต ที่ฟูๆ-แฟบๆ ไม่เป็นกลาง ไม่เป็นหนึ่ง ย่อมไม่สามารถ รู้ตามจริง ในสภาวธรรมต่างๆได้..
ด้วยว่า เป็นจิตที่ประกอบด้วยนิวรณ์ เครื่องขัดขวาง


นี่คือ ความสำคัญของเอกัคคตารมณ์




ส่วนคำถาม ที่ว่า

"แล้ว สัมมาสมาธิ ที่ไม่เป็นฌาน... มีไหม?"

ก็ต้อง พิจารณาดูว่า....

แล้ว จิตที่"ปราศจากเอกัคคตารมณ์"(ไหลไปตามอารมณ์) สมควรถูกเรียกว่า เป็น จิตที่มีสัมมาสมาธิ ไหม???

แล้ว จิตที่"ปราศจากเอกัคคตารมณ์"(ไหลไปตามอารมณ์) สามารถเห็นสภาวธรรมต่างๆตามจริง ได้ไหม???

โดย ต้องไม่ลืมว่า ภาษาที่ใช้ในสมัยพุทธกาลนั้น ... เอกัคคตารมณ์ คือ land mark ของคำว่า ฌาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2008, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เอกัคคตารมณ์ ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงสั่งสอนเอาไว้ เป็นภาวะที่จิตตั้งมั่นไม่ไหลไปตามอารมณ์..... ด้วยเหตุว่ามีสัมมาสติ อันผ่องแผ้ว... จึงเอื้อ ต่อการเห็นแจ้งในธรรมทั้งหลาย

ไม่ใช่ อย่างเดียวกับ ฌานแบบของพระฤาษี ที่ปราศจากสัมมาสติ.....ที่เป็นภพ เป็นชาติ อันประณีต จึงเป็นเหตุให้เคลิบเคลิ้ม หลงติด อยู่กับ ภพ-ชาติ นั้นๆ....แน่นอน

ทั้งนี้เพราะเอกัคคตารมณ์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสในพระสูตรต่างๆนั้น เป็นการปฏิบัติในหลักการแห่งอริยมรรค เช่น ที่ทรงแสดงในมหาจัตตารีสกสูตร.

ในมหาจัตตารีสกสูตรพระองค์ทรงแสดง สัมมาสมาธิ ก็จริง... แต่จะเห็นได้ชัดเจนว่า พระองค์แสดงตั้งแต่ สัมมาทิฏฐิ ยาวไปจนถึง สัมมาวิมุติ. นี่คือว่า สัมมาสมาธินั้น เป็นองค์ธรรมที่เกิดสืบเนื่องมาจาก สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ(อธิปัญญา ในขั้นอริยมรรค) ผ่านขั้นตอนต่างๆ จนนำไปสู่ สัมมาญาณะ(ปัญญาญาณ ในขั้น อริยผล) และ สัมมาวิมุติ(ที่สุด คือ พระนิพพาน).




มีบทความน่าสนใจ จาก พุทธธรรม

ในภาวะแห่งฌานที่ปฏิบัติถูกต้อง เมื่อจิตเป็นสมาธิแน่วแน่แล้ว จิตแนบสนิทกับอารมณ์หนึ่งเดียว สติยิ่งกำหนดชัดเจน ทำให้จิตเหมาะที่จะใช้งานได้ดียิ่งขึ้น
ไม่ใช่เป็นจิตที่เคลิบเคลิ้มเลือนหายหมดความรู้สึก ไม่ใช่อย่างที่ฝรั่งเรียกว่า Trance

โดยเฉพาะฌานที่ 4 จะมีคำแสดงลักษณะว่า “อุเปกขาสติปาริสุทธิ จตุตถชฌาน” แปลว่า จตุตถฌานอันมีอุเบกขาเป็นเครื่องให้สติบริสุทธิ์

และคำสรุปท้ายฌาน 4 เมื่อใช้เพื่อบรรลุวิชชาจะมีว่า “เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้มลทิน ปราศจากสิ่งมัวหมอง นุ่มนวล ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว จึงน้อมจิตนั้นไป (นำเอาจิตไปใช้) เพื่อ....” (เช่น ที.สี.9/132/102 และดาษดื่นในพระไตรปิฎกเกือบทุกเล่ม, คำอธิบายดู อภิ.วิ.35/683/352, วิสุทธิ.1/214)



สมาธิที่พระพุทธองค์ทรงสอนเอาไว้

จึงมิได้เป็นเครื่องปิดกั้นปัญญา... ด้วยเหตุนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร