วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 11:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว




.gif
.gif [ 4.66 KiB | เปิดดู 3401 ครั้ง ]
ความหมายของความเห็นชอบนั้น ถ้าอ่านดูตามคัมภีร์ต่างๆแล้ว มีมากมายเหลือเกิน
ลำพังความหมายที่พระสารีบุตรตอบผู้ที่มาถามท่าน ท่านก็บอกหลายนัยหลายประเด็น
เช่น รู้ธรรมอันกุศลและอกุศล หรือ รู้เหตุการณ์เกิดดับของอาหาร ๔ เป็นต้น
แม้แต่พระพุทธพจน์เองก็บอกความหมายไว้ในพระสูตรหลายๆที่ แต่ถ้าผู้ที่ค้นคว้า
ในพระไตรปิฏกลองพิจารณาแล้ว สุดท้ายจริงๆ คล้ายกับอธิบายเรื่องราวของอริยสัจ
โดยประการต่างๆนั่นเอง เช่นสังยุตตนิกาย นิทานวรรค
ว่าด้วยกัจจานโคตตสูตร
ดูกรกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอาศัยส่วน ๒ อย่าง คือ ความมี ๑ ความไม่มี ๑
ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วความไม่มีในโลก
ย่อมไม่มี เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว
ความมีในโลก ย่อมไม่มีโลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายอุปาทานและอภินิเวส
แต่พระอริยสาวก ย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ซึ่งอุบายและอุปาทานนั้น
อันเป็นอภินิเวสและอนุสัย อันเป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิตว่า อัตตาของเรา ดังนี้
ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่าทุกข์นั่นแหละ เมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับ
ย่อมดับ พระอริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลยด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
กัจจานะจึงชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ

ลองพิจารณาดูซิครับ จะเห็นแบบผมหรือไม่
เพราะฉะนั้นเราจึงสรุปได้ว่าการเห็นอริยสัจ ๔ ก็คือการเห็นที่เรียกว่าสัมมาทิฏฐิตามพุทธประสงค์โดยแท้
ลักษณะการแปลความของคำว่าสัมมาทิฏฐินั้น มีหลายที่แปลตรงตัวว่า “เห็นชอบ” โดยที่ไม่แปลให้เหลือ
ศัพท์ที่แฝงไว้ แปลความแบบเอาความเกินไป บางครั้งการตีความเลยออกจะเพี้ยนไป
ความลึกซึ้งของข้อธรรมเลยพลอยหายไปด้วย สัมมาทิฏฐินั้น น่าจะแปลความได้ว่า “เห็นด้วยปัญญาอันชอบ” เหตุที่น่าจะแปลความได้ดังนี้เพราะถ้าอ่านในพระสุตตันตปิฎกต่างๆจะพบเสมอว่า ด้วยปัญญาอันชอบ
เช่น เมื่อใดเห็นด้วยปัญญาอันชอบแล้วว่าสังขารทั้งหลาย ไม่เทียง ฯลฯ เป็นต้น ในภาษาบาลีจะใช้คำว่า สมฺมปฺปญฺญาย (ด้วยปัญญาอันชอบ) จึงน่าสรุปได้ว่า สัมมาทิฏฐิ หรือความเห็นชอบนั้น ก็คือเห็นด้วย “ปัญญา” อันชอบ นั่นเอง
มีปัญหาอีกว่า “อันชอบ” นั้นเป็นอย่างไร
อย่าไปคิดมากครับ อันชอบ ก็คืออันควร ตรงกับคำว่า ไม่ชอบ ไม่ควร เป็นสำนวนทางภาษา
แต่ถ้ายังไม่จุใจลองอ่านที่พระอรรถกถาจารย์ท่านอธิบายก่อนครับ
ปชานาตีติ ปญฺา ธรรมที่ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่า
ย่อมรู้ทั่ว. ถามว่า ย่อมรู้ทั่วซึ่งอะไร? ตอบว่า ย่อมรู้ทั่วซึ่งอริยสัจทั้งหลาย
โดยนัยมีคำว่า นี้ทุกข์ เป็นต้น แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า ชื่อว่า ปัญญา
เพราะอรรถว่า ย่อมให้รู้ ถามว่า ย่อมให้รู้อะไร? ตอบว่า ย่อมให้รู้
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.

พอถึงตอนนี้ก็พอรู้ได้เลยว่า ปัญญาอันชอบตามพุทธประสงค์นั้นเป็นอย่างไร
นอกจากนั้นแล้วไม่ไช่ปัญญาอันชอบที่จะทำให้หลุดพ้นตามหลักพระศาสนา
ก็เลยเห็นความสำคัญอีกกว่า ความเห็นชอบนี่ไม่ไช่แค่ส่วนหนึ่ง แต่เป็นหลักสำคัญเลยก็ว่าได้
ของแถมวันนี้
สัมมาทิฏฐิเป็นจุดเริ่มต้น
สัมมาทิฏฐิเป็นจุดสุดท้าย
- - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้วยจิตคารวะ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แก้ไขล่าสุดโดย กามโภคี เมื่อ 05 เม.ย. 2009, 15:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

ครูบาร์อาจารย์ก็สอนอย่างนั้นแหละครับ
สัมมาทิฐิคือต้องเป้นผู้ที่บรรลุโสดาบันขึ้นไป จึงจะถือว่ามีสัมมาทิฐิอย่างแท้จริง
เพราะ"ไดเห็น้แจ้งในอริยสัจ"


ส่วนสัมมาทิฐิที่คนเอามาพูดกันทั่วไป มันเป็นสัมมาทิฐิแบบโลก
คือยืมเอาคำไปใช้ เช่นการอธิบายข้อเท็จจริงต่างๆก็ใช้คำว่าสัมมาทิฐิ
อย่างบางคนแสดงความคิดเห็นก็อ้างอิงว่าตนเป้นสัมมาทิฐิ


สัมมาทิฐิคือเห็นแจ้งในอริยสัจ ไม่มากไม่น้อยกว่านี้

ภูมิต่ำกว่าโสดาบัน ครุบาอาจารยืเรียกว่า "สัญญาวิปลาส"
พวกเราทุกคนเนียะแหละที่ภูมิต่ำกว่าโสดาบันนี่แหละครับ เป้นพวกสัญญาวิปลาส
เพราะไม่เห็นจริง ถูกอำพรางครอบงำอยู่ด้วยกิเลสตันหาอุปาทาน นับเป็นมิจฉาทิฐิทั้งหมด

:b8:

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 23:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


คามินธรรม เขียน:
:b8:

ครูบาร์อาจารย์ก็สอนอย่างนั้นแหละครับ
สัมมาทิฐิคือต้องเป้นผู้ที่บรรลุโสดาบันขึ้นไป จึงจะถือว่ามีสัมมาทิฐิอย่างแท้จริง
เพราะ"ไดเห็น้แจ้งในอริยสัจ"
:b8:

ขอบคุณมากครับสำหรับความคิดเห็น เป็นแง่มุมที่สอดคล้องกันอย่างดีตามคัมภีร์
เพราะกล่าวไว้มีสองคือ มีอาสวะเจือปน กับไม่มีอาสวะเจือปน
เหตุที่ผมต้องอ้างตามคัมภีร์มากมายเพราะ
๑.มีผู้มากล่าวอ้างที่บอร์ดนี้อย่างขาดสติ โดยไม่สามารถตักเตือนได้ ก็เลยต้องสร้างทางเลือก
ให้แก่ผู้เข้ามาอ่าน ทั้งที่ผมพอรู้ภูมิหลังผู้มากล่าวอ้าง เลยเลือกที่จะทำแบบนี้ดีกว่าทะเลาะกับเขา
๒.ผมเองยังไม่มีภูมิธรรมสูงมากครับ จำเป็นต้องอาศัยการตีความจากอรรถกถานำหน้าก่อน
๓.บางครั้งผมยิ้มอย่างบันเทิงธรรมเมื่อสิ่งที่ผมประสบจากการปฏิบัติสอดคล้องกันกับคัมภีร์
๔.ยังมีอีกมากครับ

ผมได้อ่านข้อความต่างๆของคุณจากบอร์ด เข้าใจว่าสภาวะคุณดีทีเดียว ไว้มีโอกาสผมจะถามบาง
สภาวะที่ผมสงสัย ต้องขออนุญาตก่อน กลัวจะเข้าใจว่าผมมาลองภูมิ

-----------------------
เอวํ ครวจิตฺเตน วุตฺตานิ.

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2009, 00:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมบังเอิญได้พบคำสอนหลวงพ่อพุทธที่จำแนกมิจฉาทิิฐิ สัมมทิฐิเอาไว้ละเอียด
เป้นประโยชน์ แม้ผมเองก็เข้าใจผิดว่า โสดาบันขึ้นไปก็เป้นสัมมาทิฐิ
ซึ่งความจริงมีรายละเอียดลงไปอีก หลวงพ่อพุธได้อธิบายเอาไว้ละเอียด
จึงขอนำมาแชร์ให้ดูกันครับ

คัดจาก "วิธีทำสมาธิตามแบบพระอาจารย์เสาร์"
พระธรรมเทศนาโดยหลวงพ่อพุธ ฐานิโย
แสดงธรรม ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร กทม.
เมื่อ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๒๔
ข้อความต้นฉบับเต็มดูที่นี่
http://www24.brinkster.com/thaniyo/dhamma/preach31.doc
ต่อไปนี้ขอยกเฉพาะส่วนที่กล่าวถึงสัมมาทิฐิ มิจฉาทิฐิ


===========================
....(มีข้อความก่อนหน้านี้)....


ในหลักคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในเมื่อพระองค์แสดงธรรมโดยมากมักจะมีธรรมเป็นของคู่กัน
เช่น สัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิ หรือ สัมมาทิฏฐิ มิฉฉาทิฏฐิ อะไรทำนองนี้

เรื่องความถูกกับความผิดนั้น พระองค์มักจะยกขึ้นมาแสดงคู่กัน


ดังนั้น ปัญหาเรื่องการทำสมาธิในสมัยปัจจุบันนี้
จะว่าลัทธิของใครถูกของใครผิดจะไม่ขอนำมากล่าว
เรื่องถูกหรือผิดอยู่ในความตั้งใจ หรือเจตนาของผู้ทำ
ถ้าหากบำเพ็ญสมาธิ มุ่งจะให้จิตสงบ ให้มีจิตมั่นคงต่อการทำความดี
และเพื่อจะให้เกิดมีสมาธิ มีสติปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในสภาวธรรมตามความเป็นจริง
เพื่อจะได้เป็นอุบายถ่ายถอนราคะ ความกำหนัดยินดี หรือกิเลส โลภ โกรธ หลง
ให้หมดไปจากจิตใจ โดยไม่ได้มุ่งสิ่งอื่น

นอกจากความบริสุทธิ์และความพ้นทุกข์ จัดว่าได้ชื่อว่าเป็น สัมมาสมาธิ
ความรู้ ความเห็นของท่านเหล่านั้นก็เป็น สัมมาทิฏฐิ

ทีนี้โดยวิสัยของการปฏิบัติ หรือภูมิจิต ภูมิธรรมที่เกิดขึ้นนั้น
ในระดับต้น ๆ นี้ ก็ย่อมมีทั้งผิด ทั้งถูก
แม้แต่ผู้ที่มีภูมิจิตก้าวขึ้นสู่ภูมิของความเป็นพระอริยบุคคลแล้ว
ก็ยังมีความเห็นผิด เห็นถูก ยกเว้นแต่พระอรหันต์จำพวกเดียวเท่านั้น

ผู้ที่สำเร็จ โสดา สกิทาคา อนาคา แต่ยังไม่ได้สำเร็จพระอรหันต์
และทำไมจึงยังไม่สำเร็จพระอรหันต์ ก็เพราะเหตุว่าัสัมมาทิฏฐิในขั้นพระอรหัตตมรรคยังไม่สมบูรณ์ จึงยังข้องอยู่ จึงยังไม่สำเร็จก่อน


เพราะฉะนั้น ความผิด ความถูกนั้น เราอย่าเพิ่งไปด่วนตัดสินว่าใครผิด ใครถูก
เอากันตรงที่ว่า ใครสามารถทำสมาธิจิตลงไปให้สงบลงไปได้แล้ว
สามารถที่จะอ่านจิตใจของตัวเองให้รู้ซึ้งลงไปว่า สภาพจิตของเราเป็นอย่างไร
เรามีกิเลสตัวไหนมาก และควรจะแก้ไขอย่างไร

นี้เป็นจุดแรกที่เราจะต้องอ่านตัวของเราเองให้ออก จะว่าสิ่งอื่นผิด สิ่งอื่นถูก นั้นไม่สำคัญ
แม้ว่าเราจะรู้อะไรผิด อะไรถูก แต่เป็นเรื่องนอกตัว นั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่ว่า
เราอ่านจิตใจของเรา แล้วก็ปรับโทษตัวเอง
แล้วก็ตัดสินตัวเอง ว่าตัวเองผิด ตัวเองถูกนั่นแหละ เป็นเรื่องสำคัญที่สุด

ถ้าหากเราไม่สามารถจะจับจุดนี้ได้ เราจะปฏิบัติ
หรือบำเพ็ญเพียรภาวนาแค่ไหน ก็ไม่มีทางที่จะแก้ไขตัวเองได้

....(มีข้อต่อจากนี้ี้)....

=============================

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2009, 14:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณคุณคามินธรรมมากนะครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2009, 22:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ค. 2008, 21:14
โพสต์: 546


 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาทิฎฐิ เป็นส่วนแรก ของมรรค

คนที่ยังเห็นสรรพสิ่งไม่เป็นทุกข์ ยังยึดมั่นถือมั่น
ยังเห็นผิดเป็นชอบ ยังเห็นว่าที่ตัวทำผิด เป็นเรื่องไม่ผิด
ยังขาดธรรม ในใจ เรียกว่า ยังขาดสัมมาทิฎฐิ

คำว่า ธรรมในใจนี้แหละ ผู้ใดทำให้มีทำให้เกิดแล้ว จะเห็นสรรพสิ่งด้วยสัมมาทิฎฐิทันที
ไม่ต้องคิดอะไรมาก เพราะมันเป็นธรรมที่ออกไปเอง เรียกว่า มหาสติมหาปัญญานั้นแหละ

เมื่อเวลามี อะไรเกิดขึ้นกับจิตนี้ แล้วถ้าผู้มีสัมมาทิฎฐิ จะเห็นระหว่างกุศล และอกุศลทันที
ซึ่งจะนำไปสู่การดำหริไตร่ตรอง ที่จะปัด อกุศลออกเรียกว่า สัมมาสังกัปปะ


ถ้าตราบใด ยังประมาทอยู่ใน วิถีชีวิต ประจำวัน ก็เรียกว่าไม่ใช่ สัมมาทิฎฐิ ของอริยมรรค

ปฏิเวธธรรม จะทำให้เกิดสัมมาิทิฎฐิได้
ลำพังแค่อ่าน และทำความเข้าใจนั้น หมดสิทธิ์ เพราะธรรมเกิดที่ใจภาวนา ไม่ใช่จินตมยปัญญา
เมื่อใจนี้ถูกชำระให้มีสมาธิดีแล้ว กำจัดนิวรณ์แล้ว
จิตนี้ เห็นตามความเป็นจริงในปัจจุบันธรรม ก็เรียกว่า สัมมาทิฎฐิ
เห็นความจริงในวิถีชีวิต ก็เรียกว่า สัมมาทิฎฐิ

ถ้าจิตยังมีนิวรณ์ จะทำให้เกิดสัมมาทิฎฐิเป็นเรื่องยาก ลองเอาไปพิจารณาดู

.....................................................
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณคุณขันธ์มากครับ อีกแง่มุมหนึ่งที่ดีมากๆ :b12: :b13:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร