วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 22:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2009, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ย. 2008, 14:42
โพสต์: 121


 ข้อมูลส่วนตัว


:b6: เมื่อวันวานก่อนข้าพเจ้าได้อ่าน เตรียมเสบียง เล่ม 1 ตอนท้ายเล่มเขาเขียนไว้
การสวดมนต์บทอิติปิโส นั้นดีมาก เพราะเป็นการสวดสรรเสริญพระบารมีของพระพุทธเจ้า
ไม่ต้องไปสวดบทอะไรเพื่อให้เราสับสน จริงมัยค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2009, 16:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2009, 10:01
โพสต์: 200

โฮมเพจ: http://www.watpanonvivek.com/
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


maw เขียน:
:b6: เมื่อวันวานก่อนข้าพเจ้าได้อ่าน เตรียมเสบียง เล่ม 1 ตอนท้ายเล่มเขาเขียนไว้
การสวดมนต์บทอิติปิโส นั้นดีมาก เพราะเป็นการสวดสรรเสริญพระบารมีของพระพุทธเจ้า
ไม่ต้องไปสวดบทอะไรเพื่อให้เราสับสน จริงมัยค่ะ


:b8: หากเราสวดบทนี้จนชำนาญแล้วค่อยต่อบทอื่นก็ำไม่เสียหายครับ..มีแต่เรื่องดีเข้าสุ่จิตใจ.. :b1: :b1:

.....................................................
พอใจในสิ่งที่ตนมีตนได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2009, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


maw เขียน:
:b6: เมื่อวันวานก่อนข้าพเจ้าได้อ่าน เตรียมเสบียง เล่ม 1 ตอนท้ายเล่มเขาเขียนไว้
การสวดมนต์บทอิติปิโส นั้นดีมาก เพราะเป็นการสวดสรรเสริญพระบารมีของพระพุทธเจ้า
ไม่ต้องไปสวดบทอะไรเพื่อให้เราสับสน จริงมัยค่ะ

เป็นบท พุทธคุณ ครับ....มี 9 ข้อ ถ้ารู้ความหมายของทั้ง 9 ข้อได้ด้วยก็จะยิ่งดีครับ
(อย่าให้อธิบายนะครับ ขี้เกียจระลึกเพราะมันเยอะมาก ทั้งวันทั้งคืนก็ไม่หมด) :b13: :b13:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2009, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


natdanai เขียน:
maw เขียน:
:b6: เมื่อวันวานก่อนข้าพเจ้าได้อ่าน เตรียมเสบียง เล่ม 1 ตอนท้ายเล่มเขาเขียนไว้
การสวดมนต์บทอิติปิโส นั้นดีมาก เพราะเป็นการสวดสรรเสริญพระบารมีของพระพุทธเจ้า
ไม่ต้องไปสวดบทอะไรเพื่อให้เราสับสน จริงมัยค่ะ

เป็นบท พุทธคุณ ครับ....มี 9 ข้อ ถ้ารู้ความหมายของทั้ง 9 ข้อได้ด้วยก็จะยิ่งดีครับ
(อย่าให้อธิบายนะครับ ขี้เกียจระลึกเพราะมันเยอะมาก ทั้งวันทั้งคืนก็ไม่หมด) :b13: :b13:


ห้วย...

:b13: :b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2009, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอตอบเจ้าของกระทู้ดังนี้

ถาม : สวดมนต์บทอิติปิโสฯ บทเดียวนั้นก็เพียงพอจริงหรือไม่?

ตอบ : ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการสวดมนต์นั้นๆ หากเราสวดมนต์บทอิติปิโสฯ เพื่อให้ระลึกคุณพระพุทธเจ้าเท่านั้น ข้อความดังกล่าวเป็นความจริงได้ เพราะบทนี้สรรเสริญพระพุทธเจ้าโดยตรง แต่หากเราสวดเพื่อขจัดคุณไสย เราอาจจะใช้บทนี้เพียงบทเดียว หรือใช้บทอื่นๆ เพียงบทเดียว หรือใช้หลายๆ บทร่วมกันก็ได้ เช่น อิติปิโสฯ, ธรรมจักร, ชินบัณชร, แผ่เมตตา เป็นต้น ขึ้นอยู่กับว่าใช้บทอะไร แค่ไหนได้ผลทำให้จิตเป็นสมาธิเกิดความสงบสว่างขจัดคุณไสยได้

อนึ่ง โดยชีวิตปกติ เวลาสวดมนต์ ควรสวดมนต์ด้วยจุดมุ่งหมายด้านกุศลเอาไว้ก่อน เช่น เพื่อรักษาคำสอนของพระพุทธเจ้า, เพื่อให้จิตเกิดสมาธิขจัดนิวรณ์, เพื่อแผ่เมตตาให้กับสรรพสัตว์, เพื่อฟังธรรมพร้อมกันไปด้วย เป็นต้น ไม่ควรสวดด้วยจุดมุ่งหมายป้องกันคุณไสย หรือเพื่อความขลัง ศักสิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ การสวดมนต์เพื่อขจัดคุณไสยนี้หากจะใช้ ให้ใช้เมื่อกรณีพิเศษ เพราะไม่ใช่จุดมุ่งหมายของโดยตรงของการสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา ดังนั้นการสวดกรณีแบบนี้ ควรระลึกเอาไว้ว่าเป็นเรื่องการประยุกต์บทสวดมนต์มาใช้ในเฉพาะกรณีนั้นๆ ชั่วคราวเท่านั้น

บทสวดมนต์ต่างๆ ที่มาจากคำสอนของพระพุทธเจ้า ถือว่าดีทั้งนั้น ยิ่งสวดมากได้ ก็ยิ่งดี แต่หากไม่สวดมนต์เลยไม่ดี อย่างน้อยๆ ควรจะสวดสักบทหนึ่ง การสวดมนต์หากเข้าใจความหมายไปด้วย ก็เหมือนได้ฟังธรรม ทวนธรรม ได้สมาธิ ถือเป็นการรักษาคำสอนเอาไว้วิธีการหนึ่ง ที่สำคัญควรนำไปธรรมะในบทสวดไปปฏิบัติตามให้ได้ด้วยจะเกิดประโยชน์สูงสุด

ขอให้เจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2009, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลิงค์นี้มีคำแปลพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ (ทำวัตวเช้า-เย็นแปล)

viewtopic.php?f=28&t=19423

เรื่องของศรัทธาเอาอย่างกันไม่ได้ เราคิดว่าดี เราก็ศรัทธาก็เชื่อต่อสิ่งนั้น แต่คนอื่นเขาว่าไม่ดี เขาก็ไม่ศรัทธาไม่เชื่อตามเรา

คนอื่นว่าดี เขาจึงเชื่อจึงศรัทธา แต่เราเองคิดว่าไม่ดี จึงไม่ศรัทธาตามเขา

เรื่องความเชื่อความศรัทธา ใจเราคิดว่าดีก็ดี จิตก็มั่นต่อสิ่งนั้น เชื่อมั่นสิ่งนั้น เมื่อคิดว่าไม่ดีก็ไม่ดี
จิตก็ไม่มุ่งไม่มั่นต่อสิ่งนั้น
ดังนั้น ศรัทธาจึงเลียนแบบกันไม่ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2009, 00:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเล่าเรียนปริยัติธรรม (นานาชนิด)
คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะเวทัลละ,
เธอใช้เวลาทั้งวันให้เปลืองด้วยการเรียนธรรมนั้น ต้องเริดร้างจากการหลีกเร้น
ไม่ประกอบซึ่งธรรมเป็นเครื่องสงบใจในภายใน.
ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้มากด้วยปริยัติ (นักเรียน) ยังมิใช่ธรรมวิหารี - ผู้อยู่ด้วยธรรม.

อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุแสดงธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมาแก่คนอื่นโดยพิสดาร,
เธอใช้เวลาทั้งวันให้เปลืองไปด้วยการบัญญัติธรรมนั้น ต้องเริดร้างจากการหลีกเร้น
ไม่ประกอบซึ่งธรรมเป็นเครื่องสงบใจในภายใน.
ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการบัญญัติ (นักแต่ง) ยังมิใช่ธรรมวิหารี - ผู้อยู่ด้วยธรรม.

อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมาโดยพิสดาร,
เธอใช้เวลาทั้งวันให้เปลืองไปด้วยการสาธยายนั้น ต้องเริดร้างจากการหลีกเร้น
ไม่ประกอบซึ่งธรรมเป็นเครื่องสงบใจในภายใน.
ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการสวด (นักสวด) ยังมิใช่ธรรมวิหารี - ผู้อยู่ด้วยธรรม.

อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุคิดพล่านไปในธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมา,เธอใช้เวลาทั้งวันให้เปลืองไปด้วยการคิดพล่านในธรรมนั้น
ต้องเริดร้างจากการหลีกเร้น ไม่ประกอบซึ่งธรรมเป็นเครื่องสงบในภายใน.
ภิกษุนี้ เราเรียกว่าผู้มากด้วยการคิด (นักคิด) ยังมิใช่ธรรมวิหารี - ผู้อยู่ด้วยธรรม

--ปญฺจก. อํ. ๒๒/๙๘/๗๓,
------------------------------
ภิกษุ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเล่าเรียนปริยัติธรรม (นานาชนิด) คือ
สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ
แต่เธอไม่รู้ความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา.
ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้มากด้วยปริยัติ (นักเรียน) ยังมิใช่ธรรมวิหารี - ผู้อยู่ด้วยธรรม.

อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุแสดงธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมาแก่คนอื่นโดยพิสดาร,
แต่เธอไม่รู้ความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา.
ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการบัญญัติ (นักแต่ง) ยังมิใช่ธรรมวิหารี- ผู้อยู่ด้วยธรรม.

อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมาโดยพิสดาร,
แต่เธอไม่รู้ความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา.
ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการสวด (นักสวด) ยังมิใช่ธรรมวิหารี - ผู้อยู่ด้วยธรรม.

อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุคิดพล่านไปในธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมา,
แต่เธอไม่รู้ความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา.
ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการคิด (นักคิด) ยิ่งมิใช่ธรรมวิหารี - ผู้อยู่ด้วยธรรม.

--ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๐๐/๗๔, ตรัสแก่ภิกษุรูปหนึ่งผู้ทูลถามเรื่องนี้
-----------------------------
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2009, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โปรดกรุณา อ่านช้าๆ และ อ่านให้หมด
และ คิดพิจารณาไตร่ตรองตามด้วยนะครับ



คุณของการสวดมนต์คือ สวดแล้วรู้เรื่อง - รู้ความหมาย -
ปฏิบัติได้ถูกต้องตามที่สวดนั้น - และสวดด้วยจิตใจอิ่มเย็นโอบอ้อมอารี
เพราะมนต์ทั้งหมดในพระพุทธศาสนาคือคำสอนแม้จะเป็นคำสรรเสริญก็ืคือคำสอน
ถ้าจะสวดเป็นบาลีก็ต้องสวดให้ถูกต้องตามอักขระฐานกรณ์ของภาษาบาลีด้วย

(แต่ต้องเป็นมนต์ที่พระพุทธเจ้าพาทำมาและสอนไว้)

โทษของสวดมนต์คือ สวดแบบไม่รู้เรื่อง - ไม่รู้ความหมาย - ทำไม่ถูกตามที่สวด -
สวดเพื่อให้ขลัง - อ้อนวอน - สวดเสก - เป่าให้ผู้อื่นฉิบหาย หรือ
สวดแล้วรู้เรื่องและเข้าใจอย่างดีแต่ไม่ทำตาม เช่น พระสวดพระวินัยทุุกๆ 15 วัน
แต่ก็ทำผิดพระวินัยมากมาย และโยมสวดประกาศปฏิญาณตนมอบกายถวายชีวิต
นับถือ พุทธ - ธรรม - สงฆ์ เป็นที่พึ่ง แต่ไม่กระทำตามนั้น
ยังไปนับถือสิ่งอื่นเพิ่มอีกเช่น ผี - เทวดา - เครื่องรางของขลัง ฯลฯ

เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมผิดต่อคำสวดที่ตนเองสวดคำพุทธเจ้าสอนอยู่
และโทษย่อมเกิดขึ้นกับตนผู้ไม่ได้ศึกษาพุทธศาสนาให้ดี


สำหรับผู้ชอบสวดมนต์เป็นภาษาบาลี ถ้าไม่รู้เรื่องคือไม่ได้แปล
เมื่อไม่แปลก็ไม่เข้าใจความหมาย เมื่อไม่เข้าใจความหมายของบทสวดมนต์
ถึงแม้จะมีสติกำกับอยู่อย่างดี แต่สตินั้นก็เป็น มิจฉาสติ
แม้กระทั่งมีความเลื่อมใสปลาบปลื้มปิติอยู่ด้วย ก็ยังเป็นความเลื่อมใสปลาบปลื้มปิติที่ผิด

สตินั้นมีอยู่ของมันทุกเมื่ออยู่แล้ว แต่ถ้าไประลึกผิด ก็เป็นสติที่ผิด
ทุกอย่างต้องเข้าใจชัดเจนถูกต้อง จึงจะเป็นสัมมาสติ
จึงจะเป็นสติที่ถูกในความหมายของพระพุทธศาสนา

พุทธเจ้าสอนเอาไว้แล้วว่า ผู้ที่จะเรียนธรรม - วินัยของพระองค์
ต้องเรียนด้วยภาษาที่ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้
ถ้าหากเรียนธรรม - วินัยด้วยภาษาที่ผู้เรียนไม่เข้าใจ
พุทธเจ้าตำหนิเอาไว้แล้วว่าเป็นการ " ปฏิบัติผิด "
การปฏิบัติผิดนี่ต้องได้บาป
ต้องไปรับโทษในนรก - เปรต - สัตว์เดรัจฉาน
เมื่อได้หมุนวนกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง ก็เป็นมนุษย์ที่มีสติ - ปัญญาไม่ดี
เรียนรู้อะไรก็เข้าใจยากมาก เงอะงะๆ เซ่อๆซึมๆ
สาเหตุก็เพราะได้สร้างความงงงวย - งมงาย - ไม่รู้เรื่อง
เหยียบย่ำตัวเองเอาไว้แล้วเรียบร้อยในคราวนี้ด้วยการสวดมนต์คือคำสอนของพระพุทธเจ้าแบบผิดๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2009, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำสั่งพระพุทธเจ้าให้กล่าวธรรม – วินัย ด้วยภาษาที่เข้าใจ (พระไตรปิฎกเล่ม 23 หน้า 329)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น การปรักปรำภาษาชนบทและการล่วงเลยคำพูดสามัญ
นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด


เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์ แต่การไม่ปรักปรำภาษาชนบท
และการไม่ล่วงเลยคำพูดสามัญ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ
ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์

*** คำสอนของพระพุทธเจ้านี้ไม่มีนะ ประเภทเงอะๆงะๆ
สวดแบบไม่รู้เรื่่องแล้วมันจะดีเอง มันจะไปดีได้ยังไงเพราะมันไม่รู้เรื่อง
และถึงรู้เรื่องแต่ไม่ลงมือปฏิบัติ มันก็ยังดีไม่ได้อีก
สวดเฉยๆ แล้วมันจะดี - เจริญเอง คำสอนใครหว่า? พิจารณาซิ พิ - จา - ร - ณา

นะครับท่าน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2009, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจะให้ดีควรสวดบท .."พาหุงฯ" เพิ่มอีกบทหนึ่ง
การสวดพุทธคุณเป็นสวดเพื่อระลึกคุณของพระพุทธเจ้า ถ้าสวดน้อยรอบจิตอาจจะยังไม่ตั้งมั่น
แต่ถ้าสวดหลายรอบจิตถึงจะตั้งมั่นและรวมเข้ากับสติได้ดี หรือจะเรียกว่า."ขลัง" ก็ได้ เมื่อดูแล้ว
ก็เหมือนกับการบริกรรม..."พุทโธ" หรือ"พองหนอ-ยุบหนอ" กลับไปกลับมาจนจิตเป็นสมาธินั่นเอง :b40:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2009, 12:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.พ. 2009, 10:57
โพสต์: 26


 ข้อมูลส่วนตัว


การสวดมนต์ เป็นการ สวดสรรเสริญ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ เเละพระสังฆคุณ เเละเป็นการสาธยายพระธรรมไปในตัว เป็นอีกวิธี ที่จะทำให้จิตเราสงบ ครับ

เราจะสวดกี่บทก็ช่าง ถ้าใจยังคิดโน่น คิดนี่ หวังโน้น หวังนี่ ยังนับว่าไม่ค่อยจะได้อะไรมาก

เเต่ถ้าสวดเพื่อ ทำจิตให้สงบ พิจารณาตามบทสวด ก็จะเกิดปัญญา นั่นเเหละครับ ผลอันดีเยี่ยมของการสวดมนต์

สรุปคือ ไม่ได้อยู่ที่บทสวด เเต่มันอยู่ที่ใจคนสวดครับ

สาธุๆ

.....................................................
ไม่มีใครเก่งเกินกรรม กรรมเท่านั้นตัดสินทุกอย่าง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร