วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 22:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2009, 00:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม (สายเกิด)
เพราะ มี อวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขาร
เพราะ มี สังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
เพราะ มี วิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นาม-รูป
เพราะ มี นาม-รูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
เพราะ มี สฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ
เพราะ มี ผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา
เพราะ มี เวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา
เพราะ มี ตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน
เพราะ มี อุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ
เพราะ มี ภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ
เพราะ มี ชาติ เป็นปัจจัย จึงมี ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

ปฏิโลม (สายดับ)
เพราะ อวิชชา ดับ สังขาร จึงดับ
เพราะ สังขาร ดับ วิญญาณ จึงดับ
เพราะ วิญญาณ ดับ นามรูป จึงดับ
เพราะ นามรูป ดับ สฬายตนะ จึงดับ
เพราะ สฬายตนะ ดับ ผัสสะ จึงดับ
เพราะ ผัสสะ ดับ เวทนา จึงดับ
เพราะ เวทนา ดับ ตัณหา จึงดับ
เพราะ ตัณหา ดับ อุปาทาน จึงดับ
เพราะ อุปาทาน ดับ ภพ จึงดับ
เพราะ ภพ ดับ ชาติ จึงดับ
เพราะ ชาติ ดับ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

***********************************************
ปฏิจจสมุปบาท (สายเกิดอกุศลธรรม)
เพราะมี อวิชชา เป็นปัจจัยจึงมี สังขาร เพราะมี สังขาร เป็นปัจจัยจึงมี วิญญาณ เพราะมี วิญญาณ เป็นปัจจัยจึงมี นาม-รูป เพราะมี นาม-รูป เป็นปัจจัยจึงมี สฬายตนะ เพราะมี สฬายตนะ เป็นปัจจัยจึงมี ผัสสะ เพราะมี ผัสสะ เป็นปัจจัยจึงมี เวทนา เพราะมี เวทนา เป็นปัจจัยจึงมี ตัณหา เพราะมี ตัณหา เป็นปัจจัยจึงมี การแสวงหา เพราะมี การแสวงหา เป็นปัจจัยจึงมี ลาภ เพราะมี ลาภ เป็นปัจจัยจึงมี การตกลงใจ เพราะ มี การตกลงใจ เป็นปัจจัยจึงมี การรักใคร่พึงใจ เพราะมี การรักใคร่พึงใจ เป็นปัจจัยจึงมี การพะวง เพราะมีการพะวง เป็นปัจจัยจึงมี ความยึดถือ เพราะมี ความยึดถือ เป็นปัจจัยจึงมี ความตระหนี่ เพราะมี ความตระหนี่ เป็นปัจจัยจึงมี การป้องกัน เพราะมี การป้องกัน เป็นปัจจัยจึงมี เรื่องในการป้องกันขึ้น อกุศลธรรมอันชั่วช้าลามก คือการถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่า มึง มึง การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จ ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้แล
อธิบายศัพท์
อวิชชา คือ ความไม่รู้ มี 8 อย่าง ดั้งนี้ ไม่รู้ในอริยสัจ 4 ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ทั้งใน อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต และ ไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทธรรม
สังขาร คือ ตัวปรุงแต่งให้เกิด = เจตนา 29 (อกุศลเจตสิก 12 มหากุศลเจตสิก 8 มหัคคตจิต 9 ) อสังขารมี 1 คือ มรรค 8
วิญญาณ คือ เกิดในปฏิสนธิกาล = ปฏิสนธิจิต 19 ( สันตีรณ 2 มหากุศลวิบาก 8 มหัคคต 9 )
ทุคติบุคคล = อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก 1 = อบายภูมิ 4
อเหตุกบุคคล = อุเบกขาสันตีรณกุสลวิบาก 1 = มนุษย์ และ เทวดาชั้นต่ำ
ทวิเหตุกบุคคล = มหาวิบากญาณวิปปยุตต 4 = มนุษย์ และ เทวดาไม่มีปัญญา
ติเหตุกบุคคล = มหาวิบากญาณสัมปยุตต 4 = มนุษย์ และ เทวดามีปัญญา
รูปาวจรวิบาก 5 = รูปพรหมในรูปภูมิ
อรูปาวจรวิบาก 4 = รูปพรหมในรูปภูมิ
เกิดในปวัตติกาล = โลกียวิบากจิต 32 ( อเหตุกวิบาก 15 มหาวิบาก 8 มหัคคตวิบาก 9 )
อเหตุกวิบาก 15 คือ อกุสลวิบาก 7 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมปฏิฉันนะ สันตีรณะ
กุสลวิบาก 7 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมปฏิฉันนะ สันตีรณะ ( อุ และ โสม )
มหาวิบากจิต 8 = ภวังคจิต
รูปาวจรวิบาก 5 = อเหตุกกุสลวิบาก 5 = ตา หู สัมปฏิฉันนะ สันตีรณะ ภวังคจิต
รูปาวจรวิบาก 4 = ภวังคจิต
เกิดเฉพาะปวัตติกาล 13 ดวง ทวิปัญจวิญญาณ 10 สัมปฏิฉันนะ 2 โสม.สันตีรณะ 1
นาม-รูป หมายถึง มหาภูตรูป คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม นาม คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
และ นาม มีลักษณะน้อมนำไปสู่อารมณ์ = โลกียวิบากจิต 32 รูป มีลักษณะแตกดับสลาย = กัมมชรูป
สฬายตนะ คือ อายตนะทั้ง6อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ เป็นเครื่องต่อบ่อเกิดแห่ง จิต เจตสิก วิถีจิต = โลกียวิบากจิต 32
จักขุสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี จักขวายตนะ
โสตสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี โสตายตนะ
ฆานสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี ฆานายตนะ
ชิวหาสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี ชิวหายตนะ
กายสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี กายายตนะ
มโนสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี มนายตนะ
ผัสสะ คือ การกระทบ เป็นที่ธรรมชาติที่กระทบอารมณ์ ผัสสะเจตสิก = โลกียวิบากจิต 32 เป็นที่ธรรมทั้ง 3 ประการมาประชุมร่วมพร้อมกัน
จักขุสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี จักขุปสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ
โสตสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี โสตปสาท สัททารมณ์ โสตวิญญาณ
ฆานสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี ฆานปสาท คันธารมณ์ ฆานวิญญาณ
ชิวหาสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี ชิวหาปสาท รสารมณ์ ชิวหาวิญญาณ
กายสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี กายปสาท โผฏฐัพพารมณ์ กายวิญญาณ
มโนสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี ภวังคจิต ธัมมารมณ์ มโนวิญญาณ
เวทนา คือ สุข ทุกข์ เฉยๆ เป็นธรรมชาติที่เสวยอารมณ์ = เวทนาเจตสิก = โลกียวิบากจิต 32 เวทนาเป็นปัจจุบันธรรมของผัสสะ ได้แก่ เวทนา 6
จักขุสัมผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด จักขุสัมผัสสชาเวทนา = อุเบกขาเวทนา
โสตสัมผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด โสตสัมผัสสชาเวทนา = อุเบกขาเวทนา
ฆานสัมผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด ฆานสัมผัสสชาเวทนา = อุเบกขาเวทนา
ชิวหาสัมผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา = อุเบกขาเวทนา
กายสัมผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด กายสัมผัสสชาเวทนา = อิฏฐโผฏฐัพพารมณ์ = สุขเวทนา อนิฏฐโผฏฐัพพารมณ์ = ทุกขเวทนา
มโนสัมผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด มโนสัมผัสสชาเวทนา อิฏฐารมณ์ = โสมนัสเวทนา อนิฏฐารมณ์ = โทมนัสเวทนา มัชฌัตตารมณ์ = อุเบกขาเวทนา
ตัณหา คือ กามตัณหา คือ เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์ 6 ที่เกี่ยวกับกามคุณ ภวตัณหา คือ ความยินดีติดใจในภพ มีความเห็นว่าเที่ยง เป็น สัสสตทิฏฐิ วิภวตัณหา คือ เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์ 6 มีความเห็นว่าเป็นสูญ เป็น อุจเฉกทิฏฐิ ตรงกันข้ามกับกามตัญหา
อุปาทาน คือ เป็นธรรมชาติที่ติดใจยึดมั่นในอารมณ์ เป็นปัจจุบันธรรมของ ตัณหา ได้แก่ อุปาทาน 4
กามุปาทาน เป็นความติดใจยึดมั่นในวัตถุกามทั้ง 6 = โลภเจตสิก
ทิฏฐุปาทาน เป็นความติดใจยึดมั่นในการเห็นผิด = ทิฏฐิเจตสิก
สิลพัตตุปาทาน เป็นความติดใจยึดมั่นในการปฏิบัติที่ผิด = สีลัพพตทิฏฐิ
อัตตวาทุปาทาน เป็นความติดใจยึดมั่นในขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวตนเป็นเราเป็นของเรา = สักกายทิฏฐิ
ภพ คือ ที่อยู่ของหมู่สัตว์ เป็นธรรมชาติที่มีความเป็นกรรม เป็นปัจจุบันธรรมของ อุปาทาน ได้แก่ ภพ 2 กัมมภพ = เจตนา 29 การทำบาป บำเพ็ญบุญ มีความเป็นกรรม อุปปัตติภพ โลกียวิบากวิญญาณ 32 มีความเป็นผลของกรรม ( ชาติ ) แบ่งเป็น 3 กามภพ ได้แก่ กามภูมิ 11 อันมี อบายภูมิ 4 มนุสภูมิ 1 เทวภูมิ 6 รูปภพ ได้แก่ รูปภูมิ 16 คือ รูปพรหม 16 ชั้น อรูปภพ ได้แก่ อรูปภูมิ 4 คือ อรูปพรหม 4 ภพ 3 โดย ขันธ์ 3 ปัญจโวการภพ ได้แก่ ภพที่มีขันธ์ 5 คือ กามภูมิ 11 รูปภูมิ 15 จตุโวการภพ ได้แก่ ภพที่มีขันธ์ 4 คือ อรูปภูมิ 4 เอกโวการภพ ได้แก่ ภพที่มีขันธ์เดียว คือ อสัญญสัตตภูมิ 1 ภพ 3 แบ่งโดยสัญญา 3 สัญญีภพ คือ สัตว์ที่มีนามขันธ์ ได้แก่ กามภูมิ 11 รูปภูมิ 15 อรูปภูมิ 3 อสัญญีภพ คือ สัตว์ที่ไม่มีนามขันธ์ ได้แก่ อสัญญสัตตภูมิ เนวสัญญีนาสัญญีภพ คือ สัตว์ที่มีนามขันธ์ก็ไม่ใช่สัตว์ที่ไม่มีนามขันธ์ก็ไม่ใช่ ได้แก่ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
ชาติ คือ ความเกิด เป็นธรรมชาติที่มีความเป็นผลกรรม เป็นธรรมชาติที่ทำให้สังขารธรรมปรากฏ เป็นการเกิดครั้งแรกในภพนั้นๆ อุปาทานขณะ เป็นปัจจุบันธรรมของ ภพ ได้แก่ ชาติ 3 คือ ปฎิสนธิชาติ = ปฏิสนธิจิต 19 เจตสิก 35 และ กัมมชรูป ที่ปรากฏในปฎิสนธิกาล สันตติชาติ = การสืบของ จิต เจตสิก รูป ทั้งหมด ในปวัตติกาล ขณิกชาติ = การเกิดขึ้นขณะหนึ่งๆของ จิต เจตสิก มี 3 อนุขณะรูปมี 51 อนุขณะ
ชรา คือ ความแก่ เป็นความเก่าแก่เสื่อมโทรมของวิบากนามขันธ์ 4 และ กัมชรูป = ฐิติขณะ
อัปปฏิจฉันนชรา เป็นความชราที่เปิดเผยเห็นด้วยนัตย์ตา ได้แก่ รูปชรา...ปากฎชรา
ปฏิจฉันนชรา เป็นความชราที่ปดปิดไม่เปิดเผย ได้แก่ นามชรา...อปากฎชรา
มรณะ คือ ความตาย เป็นอาการที่ดับไปของวิบากนามขันธ์ 4 และ กัมชรูป = ภังคขณะ
รูปมรณะ คือ ความดับไปของรูป = ภังคขณะ ได้แก่ สมมติมรณะ คนตาย
นามมรณะ คือ ความดับไปของนามขันธ์ 4 = ภังคขณะ ได้แก่ การดับของ จิต เจตสิก
ชรา และ มรณะ เป็นปัจจุบันธรรมของ ชาติ โสกะ คือ ความโศกเศร้า
ปริเทวะ คือ ความร่ำไห้คร่ำครวญ
ทุกข์ คือ ความทุกข์กาย
โทมนัส คือ ความทุกข์ใจ
อุปายาส คือ ความคับแค้นใจ

***********************************************

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2009, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำไมคุณถึงไม่เอาความหมาย ของปฏิจจสมุปบาท
ตามถ้อยคำตรัสจากพระโอษถ์ของพระพุทธเจ้าโดยตรงมานำเสนอหละ

เพราะที่คุณนำมาแสดงเป็นปฏิจจสมุปบาทที่พระพุทธเจ้าไม่ได้แสดง
แต่เป็นการอธิบายขึ้นมาเองของ อรรถกถาจารย์

ถ้าหากเป็นปฏิจจสมุปบาทที่พระพุทธองค์ค้นพบ และที่พระพุทธองค์แสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย

อวิชชา...............คือความไม่รู้ในอริยสัจจ์

สังขาร.............คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร

วิญญาณ...........ได้แก่ วิญญาณรู้ ทางอายตน6

นามรูป............นามได้แก่ สัญญา เวทนา เจตนา ผัสสะ มนสิการ
รูปก็คือร่างกายอันประกอบจากมหาภูตรูป อุปาทายรูปถึงพร้อมด้วยระบบประสาท

สฬายตนะ..........คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ผัสสะ..............คือการกระทบถึง ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

เวทนา..............คือการเสวยความรู้สึกสุขทุกข์และอทุกขมสุขผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ตัณหา.............คือตัณหา ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

อุปาทาน..........คืออุปาทาน4 ได้แก่ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน
สีลพัตตุปาทาน และอัตตวาทุปทาน

ภพ..............คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ

ชาติ............คือการเกิด การได้มาซึ่งขันธ์ทั้งหลาย การก้าวลงสู่ครรภ์

ปฏิจจสมุปบาท ตามความหมายอย่างนี้จึงเป็นของแท้ที่ตรัสโดยตรงจากพระพุทธเจ้า
แต่เพราะความเป็นสิ่งลึกละเอียด และคิดพิจารณาเพื่อเชื่อมโยงให้เกิดความลงตัวได้ยาก
อรรถกถา จึงไปแปลงถ้อยคำตรัสของพระพุทธเจ้า ไปเปลี่ยนแปลงเบี่ยงเบนบาลี
จนออกมาเป็นอย่างที่เจ้าของกระทู้นำมาเสนอ

เพราะปฏิจจสมุปบาทตามความหมายอย่างนี้ แม้แต่นักคิดใหม่ๆสมัครเล่น
ก็สามารถเข้าใจได้ ไม่ได้มีความลึกซึ้งอะไรที่ตรงไหน เพราะมันเป็นแค่วิสัยคิด


ปฏิจจสมุปบาทเป็นสิ่งที่รวบรวมความรู้ทั้งหมดของพุทธศาสนา
เมื่อเข้าถึงญาณทัสสนะในชั้นปฏิจจสมุปบาทได้บุคคลนั้นอย่างต่ำคือโสดาบัน
แต่ถ้ากำลังความถึงพร้อมแห่งอินทรีย์มีพลังพอเพียง การได้รู้แจ้งต่อห่วงโซ่ปฏิจจสมุปบาท
สามารถทำให้บุคคลนั้น สิ้นอาสวะได้

แต่ถ้าเข้าใจปฏิจจสมุปบาทตามความหมายที่อรรถกถา นำมาแสดง
ต่อให้รู้แจ่มแจ้งตามนั้นอย่างไร ก็ไม่มีผลทำให้บุคคลบรรลุถึงคุณธรรมใดๆเลย
มีเพียงสัญญา ที่เกิดจากการคิด การอ่าน และการท่องจำ ไม่มีการเข้าถึงตัวสภาวะ


หากคุณเป็นนักศึกษาในธรรมจริง ผ่านไตรปิฏกมาจริงคุณย่อมทราบดีว่า
ปฏิจจสมุปบาทที่ตรัสจากพระโอษถ์ของพระองค์โดยตรงนั้นเป็นอย่างไร
หากคุณอยากจะนำมาแสดง ควรนำมาแสดงให้ครบน่าจะดูงามกว่า


:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2009, 14:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


บัวศกล เขียน:
ทำไมคุณถึงไม่เอาความหมาย ของปฏิจจสมุปบาท
ตามถ้อยคำตรัสจากพระโอษถ์ของพระพุทธเจ้าโดยตรงมานำเสนอหละ

เพราะที่คุณนำมาแสดงเป็นปฏิจจสมุปบาทที่พระพุทธเจ้าไม่ได้แสดง
แต่เป็นการอธิบายขึ้นมาเองของ อรรถกถาจารย์

ถ้าหากเป็นปฏิจจสมุปบาทที่พระพุทธองค์ค้นพบ และที่พระพุทธองค์แสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย

อวิชชา...............คือความไม่รู้ในอริยสัจจ์

สังขาร.............คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร

วิญญาณ...........ได้แก่ วิญญาณรู้ ทางอายตน6

นามรูป............นามได้แก่ สัญญา เวทนา เจตนา ผัสสะ มนสิการ
รูปก็คือร่างกายอันประกอบจากมหาภูตรูป อุปาทายรูปถึงพร้อมด้วยระบบประสาท

สฬายตนะ..........คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ผัสสะ..............คือการกระทบถึง ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

เวทนา..............คือการเสวยความรู้สึกสุขทุกข์และอทุกขมสุขผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ตัณหา.............คือตัณหา ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

อุปาทาน..........คืออุปาทาน4 ได้แก่ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน
สีลพัตตุปาทาน และอัตตวาทุปทาน

ภพ..............คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ

ชาติ............คือการเกิด การได้มาซึ่งขันธ์ทั้งหลาย การก้าวลงสู่ครรภ์

ปฏิจจสมุปบาท ตามความหมายอย่างนี้จึงเป็นของแท้ที่ตรัสโดยตรงจากพระพุทธเจ้า
แต่เพราะความเป็นสิ่งลึกละเอียด และคิดพิจารณาเพื่อเชื่อมโยงให้เกิดความลงตัวได้ยาก
อรรถกถา จึงไปแปลงถ้อยคำตรัสของพระพุทธเจ้า ไปเปลี่ยนแปลงเบี่ยงเบนบาลี
จนออกมาเป็นอย่างที่เจ้าของกระทู้นำมาเสนอ

เพราะปฏิจจสมุปบาทตามความหมายอย่างนี้ แม้แต่นักคิดใหม่ๆสมัครเล่น
ก็สามารถเข้าใจได้ ไม่ได้มีความลึกซึ้งอะไรที่ตรงไหน เพราะมันเป็นแค่วิสัยคิด


ปฏิจจสมุปบาทเป็นสิ่งที่รวบรวมความรู้ทั้งหมดของพุทธศาสนา
เมื่อเข้าถึงญาณทัสสนะในชั้นปฏิจจสมุปบาทได้บุคคลนั้นอย่างต่ำคือโสดาบัน
แต่ถ้ากำลังความถึงพร้อมแห่งอินทรีย์มีพลังพอเพียง การได้รู้แจ้งต่อห่วงโซ่ปฏิจจสมุปบาท
สามารถทำให้บุคคลนั้น สิ้นอาสวะได้

แต่ถ้าเข้าใจปฏิจจสมุปบาทตามความหมายที่อรรถกถา นำมาแสดง
ต่อให้รู้แจ่มแจ้งตามนั้นอย่างไร ก็ไม่มีผลทำให้บุคคลบรรลุถึงคุณธรรมใดๆเลย
มีเพียงสัญญา ที่เกิดจากการคิด การอ่าน และการท่องจำ ไม่มีการเข้าถึงตัวสภาวะ


หากคุณเป็นนักศึกษาในธรรมจริง ผ่านไตรปิฏกมาจริงคุณย่อมทราบดีว่า
ปฏิจจสมุปบาทที่ตรัสจากพระโอษถ์ของพระองค์โดยตรงนั้นเป็นอย่างไร
หากคุณอยากจะนำมาแสดง ควรนำมาแสดงให้ครบน่าจะดูงามกว่า


:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:



แค่ที่ปฎิบัติแล้วก็ออกมาแบบนี้นะงับ ท่านบัวศกล ไม่ใช่อรรถคาถาล

อย่างเดียวนะงับ แล้วที่ท่านบัวศกลยกมายังไม่สามารถอธิบายบางอย่างได้นะงับ

เช่นการเกิดเป็นต้นนะงับ

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2009, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมยังไม่ได้อธิบายอะไรเลยครับ

แค่ยกปฏิจจสมุปบาท อีกสูตรหนึ่งซึ่งตรัสจากพระโอษถ์โดยตรง
มาวางเรียงให้ดูแค่นั้นเองครับ

และผมก็แค่จำมาอย่างคร่าวๆ หากจะเป็นเนื้อความที่ครบถ้วน
คงต้องนำมาใหม่จากไตรปิฎก

แค่อยากให้คุณนำเสนอให้ครบทั้งสองแง่ ก็แค่นั้นครับ

ส่วนใครจะถอดรหัสปฏิจจสมุปบาทออกมาอย่างไร
เข้าใจยังไง ผมไม่ขอวิพากวิจารณ์

มีความสุขในธรรมครับ

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 02:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


บัวศกล เขียน:
ผมยังไม่ได้อธิบายอะไรเลยครับ

แค่ยกปฏิจจสมุปบาท อีกสูตรหนึ่งซึ่งตรัสจากพระโอษถ์โดยตรง
มาวางเรียงให้ดูแค่นั้นเองครับ

และผมก็แค่จำมาอย่างคร่าวๆ หากจะเป็นเนื้อความที่ครบถ้วน
คงต้องนำมาใหม่จากไตรปิฎก

แค่อยากให้คุณนำเสนอให้ครบทั้งสองแง่ ก็แค่นั้นครับ

ส่วนใครจะถอดรหัสปฏิจจสมุปบาทออกมาอย่างไร
เข้าใจยังไง ผมไม่ขอวิพากวิจารณ์

มีความสุขในธรรมครับ

:b8: :b8: :b8:


สาธุงับ

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบ คุณ ผู้เป็นตัวแทน คุณพลศักดิ์ ครับ

ผมทิ้งตำราไปนานมากเวลาเอาบัญญัติจากตำรามาเรียบเรียงก็ยังรู้สึกติดๆขัดๆ
รู้ตัวอยู่ว่าไม่ค่อยสมประกอบเท่าไร

แต่ที่คุณถามว่า นามรูปคือ ขันธ์ทั้ง5ใช่ใหม และผมแสดงไปอย่างไม่เข้าใจใช่ไหม

ขอตอบว่า..........หากว่าโดยตามสภาพที่พระพุทธองค์ทรงแยกแยะอย่างรัดกุม
ท่านจะแสดงไว้ว่า นามรูป และวิญญาณเป็นคนละส่วนกัน

นามรูปในที่นี้ ท่านหมายถึง รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
และสังขารขันธ์เท่านั้น ไม่นับรวมกับวิญญาณขันธ์

ถึงไม่นับวิญญาณขันธ์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของนามรูป
แต่เมื่อมีนามรูปเมื่อนั้น ก็จะเป็นปัจจัยให้ วิญญาณขันธ์ ก่อเกิดขึ้นมา
มีขึ้นมาพร้อมด้วยกับนามรูป โดยวิญญาณขันธ์จะอาศัยนามรูปเป็นอารมณ์สำหรับการตั้งอยู่

ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในเรื่อง เหตุปัจจัยในการเกิดขันธ์ว่า
วิญญาณขันธ์มี เพราะมีนามรูป

ซึ่งนามรูปในที่นี้ ก็หมายถึง ขันธ์4ขันธ์นั่นเอง

บางครั้งพระองค์ทรงแสดงการเกิดขึ้นของวิญญาณขันธ์ไว้ว่า

เพราะมีรูปขันธ์ จึงมีวิญญาณ
เพราะมีเวทนาขันธ์ จึงมีวิญญาณ
เพราะมีสัญญาขันธ์ จึงมีวิญญาณ
เพราะมีสังขารขันธ์ จึงมีวิญญาณ

วิญญาณขันธ์ต้องอาศัย นามรูป หรือขันธ์อีก4ขันธ์ในการตั้งอยู่ในการมีอยู่

ถ้าขันธ์ใดขันธ์หนึ่งยังมี วิญญาณขันธ์ก็ยังมีอยู่
แต่ถ้าขันธ์ทั้ง4 ดับสนิท วิญญาณก็จะดับสนิทตามไปด้วย

ดังนั้นวิญญาณกับนามรูป จึงเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่กัน แต่แยกกันเป็นคนละส่วน
เมื่อใดมีวิญญาณ เมื่อนั้นมีนามรูป
เมื่อใดมีนามรูปเมื่อนั้นมีวิญญาณ

อุปมาเหมือนไม้อ้อสองท่อน ตั้งพิงกันอยู่
หากท่อนใดท่อนหนึ่งล้มไปอีกท่อนหนึ่งก็จะล้มตาม ไม่สามารถตั้งอยู่ได้

วิญญาณกับนามรูปจึงมีอยู่เหมือนการพิงกันอยู่
ถ้าตัวหนึ่งดับ ตัวหนึ่งก็จะดับ
ถ้าตัวหนึ่งมี ตัวหนึ่งก็จะมี

ดังนั้นเมื่อใดก็ตามมีนามรูป ซึ่งหมายถึงขันธ์4ขันธ์
เมื่อนั้นก็จะมีวิญญาณขันธ์ อยู่ในที่นั้นด้วยเป็นขันธ์ที่5

จะบอกว่านามรูปหมายถึงขันธ์ทั้ง5 หากกล่าวอย่างนี้ย่อมไม่ถูกไม่ตรงตามสภาพที่เป็นจริง
แต่ที่ใดก็ตามมีนามรููปที่นั้นก็จะมีขันธ์ครบ5ขันธ์ เพราะวิญญาณขันธ์ย่อมมีอยู่คู่กับขันธ์ทั้ง4
อยู่เสมอ

ถ้าจะกล่าวกันในภาษาที่เข้าใจแบบรวบรัด เวลากล่าวถึงนามรูป
ก็จะหมายเอาถึงขันธ์ทั้ง5 ไปเลย

แต่ถ้าจะกล่าวให้ถูกตรงตามสภาพ นามรูปจะหมายถึงแค่4ขันธ์เท่านั้น

สิ่งที่ผมอธิายหากท่านสนใจจริง จะลองไปค้นคว้าพระไตรปิฎกเพิ่มเติม
ในส่วนที่กล่าวเกี่ยวกับวิญญาณ และนามรูป

ท่านก็จะพบว่า ทุกถ้อยคำกล่าวของผม ก็มาจากตำรา
และไม่มีส่วนที่ขัดแย้งกับ หลักวิชาการเลย


ผมอธิบายคร่าวๆได้เท่านี้ และวิญญาณธาตุกับวิญญาณขันธ์
ตามความเข้าใจส่วนตัวของผม คือคนละตัวกัน

วิญญาณขันธ์ก่อเกิดขึ้นมา จากวิญญาณธาตุ

วิญญาณขันธ์คือสิ่งปรุงแต่ง ที่เกิดดับตามปัจจัย ซึ่งเรียกกันว่าจิต
แต่วิญญาณธาตุ คือธาตุที่ทรงตัวอยู่แล้ว ตามธรรมชาติ

และวิญญาณธาตุก็ไม่ใช่จิต ไม่ใช่นิพพาน ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนใดๆ
แต่เป็นธาตุธรรมชาติธรรมดา ที่ทรงตัวอยู่ในธรรมชาติ เช่นดินน้ำไฟลมทั้งหลาย

เมื่อถึงจุดที่ดินน้ำไฟลม ผ่านการไหลเวียนปรุงแต่ง ก่อเกิดเป็นกลุ่มสังขารธรรม
ที่มีความสมดุลเหมาะสม เมื่อนั้น วิญญาณธาตูที่มีอยู่ทรงอยู่อย่างเร้นลับ
ก็จะอาศัยรูปที่เหมาะสมนั้น แสดงสภาพปรากฏออกมา เป็นวิญญาณขันธ์
หรือเป็นจิต เป็นตัวรู้ เป็นสภาพรู้

ผ่านวิวัฒนาการมาอีก สภาพรู้หรือจิต ก็จะเริ่มแตกตัวเป็นเจตสิก
และอาศัยเจตสิกตั้งอยู่


สรุปว่า พอเท่านี้ดีกว่า ถ้าจะอธิบายก็คงจะยาว
และมันไม่ใช่สิ่งที่ใครจะมาเชื่อตามได้ง่ายๆ
ผมคงต้องถนอมตนเองไว้แต่เพียงพองามคงเหมาะกว่า

จบไว้ห้วนๆเท่านี้ครับ

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 20:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


apisit555 เขียน:
กระผมขอรบกวนถามพี่บัวศกลและพี่ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ ด้วยข้อธรรมที่พี่พลศักดิ์(สมาชิกที่โดนไล่ออกจากเว็บโดยไม่มีเหตุผล)เคยชี้แนะ:

สังขาร>วิญญาณ>นามรูป

เพราะ มี สังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
เพราะ มี วิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นาม-รูป


1. วิญญาณที่มาจากสังขาร กับวิญญาณที่อยู่ในนาม-รูป มันไปคนละอันกันใช่ไหม?2. วิญญาณที่มาจากสังขาร เป็นเหตุ วิญญาณที่อยู่ในนาม-รูป เป็นผล ไม่ใช่หรือครับ?


นางสาว สมสี แสนสดใส ไปแต่งงานกับนาย สมศักดิ์ สุขสมหวัง
แล้วได้ชื่อใหม่ในทะเบียนราษฏ์ว่า..นาง สมสี สุขสมหวัง

นางสาว สมสี แสนสดใส กับ นาง สมสี สุขสมหวัง ก็คนๆ เดียวกัน เปลี่ยนแค่สถานะจากโสดเป็นไม่โสดนะ

ตอบ..1 . เป็นอันเดียวกัน แต่ไม่อาจบอกได้ว่า ยังเป็นเหมือนเดิม
ตอบ..2..จะว่าอย่างนั้นก็ได้ หรือไม่ว่า..ก็ได้

( เอ๋..จะเรียก..ส..ใส่..เกือก..อะเปล่านี้..เขาไม่ได้ถามดันมาตอบ..อิ..อิ..อิ)


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 14 ก.ค. 2009, 21:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 21:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คุญ บัวศกล ครับ เจ้า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในขันธ์ 5 นี้มันเป็นสภาวะ เป็นอาการ เป็นคุณสมบัติของจิต ของใจ หรือจะเรียกอีกอย่างว่า.วิญญาณ ( จาก สังขาร ) หรือ จะเรียกว่า จิตอวิชชา ก็ยังได้..( เพราะมันแต่งงานหลายทีนะครับ)

จะผิดถูกอย่างไร ก็ขอให้คิดว่า..แลกเปลี่ยนความคิดเห็นนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


apisit555 เขียน:
กระผมขอรบกวนถามพี่บัวศกลและพี่ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ ด้วยข้อธรรมที่พี่พลศักดิ์(สมาชิกที่โดนไล่ออกจากเว็บโดยไม่มีเหตุผล)เคยชี้แนะ:

สังขาร>วิญญาณ>นามรูป

เพราะ มี สังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
เพราะ มี วิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นาม-รูป


1. วิญญาณที่มาจากสังขาร กับวิญญาณที่อยู่ในนาม-รูป มันไปคนละอันกันใช่ไหม?2. วิญญาณที่มาจากสังขาร เป็นเหตุ วิญญาณที่อยู่ในนาม-รูป เป็นผล ไม่ใช่หรือครับ?

แล้วที่พี่บัวศกลเขียนว่า:
นามรูป............นามได้แก่ สัญญา เวทนา เจตนา ผัสสะ มนสิการ
รูปก็คือร่างกายอันประกอบจากมหาภูตรูป อุปาทายรูปถึงพร้อมด้วยระบบประสาท


นามรูป หมายถึง ขันธ์ทั้ง๕ (รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์)ไม่ใช่หรือครับ คุณพี่บัวศกลเขียนอะไรลงไปแบบไม่เข้าใจใช่ไหมครับ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้อรรถาธิบายไว้ว่า:

"...ขันธ์ ๕ นี้ เป็น ๒ คือ รูป ก็เป็น รูป (ส่วน) เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็น นาม แต่เรียกกลับกันว่านามรูป "

ผมเชื่อพี่พลศักดิ์ว่า วิญญาณที่มาจากสังขาร (วิญญาณที่เป็นเหตุ) คือ วิญญาณธาตุ วิญญาณที่อยู่ในนาม-รูป (วิญญาณที่เป็นผล) คือ วิญญาณขันธ์




ผมมาตอบเหตุผลที่คุณพลศักดิ์ ถูกห้ามใช้ชื่อนั้นนะงับ
อ้างคำพูด:
กระผมขอรบกวนถามพี่บัวศกลและพี่ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ ด้วยข้อธรรมที่พี่พลศักดิ์(สมาชิกที่โดนไล่ออกจากเว็บโดยไม่มีเหตุผล)


คุณพลศักดิ์ และ อีกร่างที่อวตาลมานะงับ

กระทำความผิดคือ บิดเบือนคำสอนของพระพุทธองค์ และ หบหลู่พระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


apisit555 เขียน:
พี่ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ !!!


พี่พลศักดิ์เขาไปที่ชอบๆแล้วครับ ผมชื่ออภิสิทธิ์ ไม่ใช่พลศักดิ์ ผมขอหลักฐานด้วยว่า กระทำความผิด(ของพี่พลศักดิ์)คือ บิดเบือนคำสอนของพระพุทธองค์ และ หบหลู่พระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า ผมไม่เคยเห็นพี่เขาทำอย่างนั้นเลย หบหลู่แปลว่าอะไรครับ?



ทวนไปดูเรื่อยๆนะงับ แล้วจะรู้เอง เม็ลดพืชแห่งพลศักดิ์

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบน้องชายคุณพลศักดิ์

ที่คุณกล่าวตีความเรื่อง วิญญาณทำให้เกิดนามรูป
นามรูปทำให้เกิดวิญญาณ

แล้วไปคิดเอาเองว่า วิญญาณที่พระพุทธองค์ตรัสต้องเป็นคนละตัวกัน
คนละความหมายกัน

นั่นเพราะคุณ คิดเอาเอง และเพราะคุณยังไม่รู้จักธรรมชาติแท้ของวิญญาณจริง
หากพระพุทธองค์จะหมายถึงวิญญาณคนละตัวกัน ท่านก็จะต้องแจกแจงให้ชัดเจน
อยู่แล้ว และพระพุทธองค์ก็ทรงแสดงไว้อย่างชัดเจนเพียงแง่เดียวว่า
วิญญาณที่ท่านหมายถึงคือ วิญญาณทางอายตนะ6เท่านั้น ไม่มีแง่อื่นเลย

สำหรับวิญญาณตามความหมายของคุณ ที่หมายถึงตัววิญญาณที่เที่ยว
เข้าท้องคนโน้น เวียนเกิดเเป็นคนนี้ วิญญาณส่วนนี้ผมก็เคยอธิบายไปแล้ว
ว่ามันคือกลุ่มขันธ์ทั้ง4ขันธ์ ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ตัวเดียว เป็นกลุ่มพลังงานตกค้าง
ที่ยังดับไม่สนิทเพราะมีอุปาทานอยู่

หากคุณจะหมายถึงวิญญาณที่คงรูปลักษณ์อย่างโอปาติกะ หรือเป็นกายทิพย์
หรือเป็นรูปถอด หรืออทิสมานกายอะไรก็เถอะ สิ่งนี้ก็คือสิ่งเดียวกัน
เป็นกลุ่มพลังงานตกค้าง ที่ยังคงสภาพของขันธ์4ขันธ์คือ สัญญา เวทนา สังขาร วิญญาณ
เอาไว้อยู่ โดยขันธ์ทั้ง4 มีการทำงานเกิดดับ เหมือนเดิมเช่นคนมีชีวิต
ต่างแค่เพียงว่าไม่มีร่างกาย อันเป็นกายเนื้อเป็นที่ตั้งอาศัย
แต่ถึงไม่มีกายเนื้อ จิตที่ยังไม่ดับสนิทนี้ ก็ยังจะมีรูปถอด หรือรูปที่เกิดจากกรรมตกแต่ง
เกิดจากสัญญาประกอบสร้าง เป็นที่ตั้งอาศัยของขันธ์ทั้ง4

แต่จิตบางดวงที่มีความเบาบางมาก มีภูมิจิตที่สูงมาก เขาจะคงอยู่
โดยความเป็นกลุ่มพลังงานตกค้าง คงฐานะความตนไว้ โดยไม่มีรูปถอด
มีเพียงสัญญาอย่างเบาบางว่าเป็นตน เป็นที่ตั้งอาศัยของวิญญาณขันธ์
และคงสภาพการเป็นกลุ่มพลังงานตกค้างไว้ จนกว่ารอบแห่งการเกิดใหม่จะมาถึง


ผมว่าคุณกำลังเข้าใจ วิญญาณธาตุคลาดเคลื่อน

คุณกำลังเข้าใจว่า ดวงวิญญาณอันประกอบด้วยขันธ์4ขันธ์ คือวิญญาณธาตุ
ซึ่งจริงแล้วมันคือกลุ่มสังขารธรรมที่ยังคงความเป็นขันธ์ไว้ทั้ง4ขันธ์


ผมคงพอสมควรกับการอธิบาย ไม่รู้ว่าผมจะเหนื่อยเปล่าอีกรึเปล่า
คงพอควรเท่านี้ครับ


:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 21:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เหนื่อยเปล่า.แน่ ๆ ครับ..ถ้ายังพยายามจะทำให้เชื่อ..

ไม่เหนื่อยแน่..ถ้าจะปล่อย..ให้เขาเป็นวิญญาณอย่างที่เขาชอบ..เชื่อมัย..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การตัดสังสารวัฏ ดูตรงปฏิจสมุปบาท ตัดตรงวงล้อนี่แหละ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้าว.........ผมก็บอกว่า วิญญาณธาตุ เป็นคนละตัวกับวิญญาณขันธ์
ท่านไม่ได้อ่านเหรอ หรืออ่านข้ามไป

แต่วิญญาณธาตุของคุณ กับวิญญาณธาตุตามความเข้าใจของผม มันเป็นคนละอย่างกัน
ไอ้ที่แย้งกันอยู่เนี่ย เพราะเข้าใจวิญญาณธาตุไปคนละอย่าง


และคำว่าวิญญาณธาตุเนี่ย พระพุทธองค์ก็กล่าวไว้ สอง ประเภท คือ

ยามท่านต้องการแสดงภาวะที่ว่างจากอุปาทานในขันธ์5 ท่านก็จะกล่าวถึงขันธ์5ว่าเป็นธาตุ
และว่าสิ่งทั้งปวงเป็นธาตุไปหมด

อย่างรูปขันธ์ ก็เรียกรูปธาตู เวทนาขันธ์ ก็เป็นเวทนาธาตุ
สัญญาธาตุ สังขารธาตุ และเรียกวิญญาณขันธ์ว่า วิญญาณธาตุ

ยามที่พระองค์จะแสดง ถึงองประกอบของชีวิต ท่านก็จะแสดง
ถึงส่วนประกอบว่ามาจากธาตุอะไรบ้าง

ซึ่งก็ได้แก่ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศธาตุ และวิญญาณธาตุ
ซึ่งวิญญาณธาตุ ในที่นี้ย่อมไม่ใช่หมายถึง วิญญาณขันธ์

แม้จะเรียกเป็นคำเรียกเดียวกัน ว่าวิญญาณธาตุ แต่ก็ต้องดูองค์ประกอบของประโยคด้วย
ว่าท่านหมายถึงวิญญาณธาตุตามแง่มุมไหน

คำว่าธาตุ จะสามารถเอาไปใช้เรียกได้กับทุกสิ่ง เพื่อให้เห็นว่าสิ่งนั้นเป็นธรรมชาติล้วนๆ
ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา ใช้เรียกได้กับทุกสิ่ง ตั้งแต่ขี้ฝุ่นยันพระนิพพาน

จะเรียกอายตนภายใน ภายนอกเป็นธาตุก็ได้ เรียกผัสสะเป็นธาตุก็ได้
เรียกกิเลสเป็นธาตุก็ได้ เรียกสังขารทั้งปวงเป็นธาตุก็ได้ เรียกอสังขตะเป็นธาตุก็ได้


สรุปว่า คุณกับผมเข้าใจ วิญญาณธาตุไปคนละอย่างกัน
และผมก็แค่เคยอ่านพระไตรปิฎกมา โดยไม่คิดอยากจะไปนั่งจำ ว่าอะไรอยู่หน้าไหน

แต่ถ้าท่านเป็นเซียนไตรปิฎกจริง คุณก็คงไม่มากล่าวว่าผม มานอกตำรา
และไม่ต้องให้ผมเอาตำรามายัน เพราะสิ่งที่ผมกล่าวก็ล้วนต้องเคยผ่านตาคุณมาแล้วทั้งนั้น
นอกซะจากคุณจะ ตามืดบอด


ไหนคุณลองอธิบายมาทีละตัวให้ชัดๆซิ ว่า

วิญญาณขันธ์ คืออย่างไร เกิดยังไง ดับอย่างไร

วิญญาณธาตุ คืออย่างไร เกิดอย่างไรดับอย่างไร

วิญญาณปฏิสนธิ คืออย่างไร เกิดอย่างไร ดับอย่างไร


อ้อ........หากคุณกำลังเข้าใจว่าผมลอกมาจากหลวงพ่อพุทธทาส
คุณก็กำลังเข้าใจผมผิดซะแล้ว และท่านก็ไม่ได้กล่าวผิดเรื่องวิญญาณทางอายตนะ6
ซึ่งในระบบปฏิจจสมุปบาท พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
วิญญาณที่เกิดเพราะมีสังขารสามเป็นปัจจัย ก็ได้แก่ วิญญาณทางอายตนะทั้ง6
ไม่มีกล่าวถึงวิญญาณ ในแง่อื่นเลย


จะรอคำตอบครับ ............ขอบคุณครับ

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กราบขอประทานโทษท่านบัวศกลครับ

ผมถือวิสาสะนำความคิดเห็นของท่านไปลงที่ whatamiครับ

เป็นต้นเหตุทำให้ท่านถูกล่วงเกิน

ความจริงก็นำไปจากลานธรรมจักร์นี่แหละครับ

และคิดว่าถ้าเข้ามาที่เวปลานธรรมจักร์จะเข้ามาบอกกล่าวขออนุญาต

แต่เกิดเหตุการณ์เสียก่อน

ที่ผมนำไปลงก็เพื่อให้ownerboadที่นั่นซึ่งมีมิจฉาทิฐิสุดโต่งอีกขั้วหนึ่งได้อ่าน

เผื่ออาจจะดวงตาเห็นธรรมบ้าง

เป็นการสร้างกุศล

เป็นการทำผิดต่อท่านบัวศกลจริงๆ


ฝากถึงคุณพลศักดิ์ วังวิวัฒน์

ถ้าคุณอยากด่าใคร

ด่าผมดีกว่า

ด่าไปเลย

ด่าให้สุดๆไปเลยอย่างที่คุณอยากด่า

แต่อย่าไปรบกวนการสนทนาธรรมของผู้อื่น


การกระทำของคุณนับวันจะถลำลึก ไร้สติลงไปทุกวัน

ไม่ใช่เรื่องดีเรื่องน่าอภิรมย์เลยที่คุณประพฤติเช่นนี้

คุณเที่ยวด่ากราดคนอื่นไปทั่ว

พอaminเขาไล่คุณออกคุณก็ไปกล่าวหาว่าเขาเป็นมาร


ผมว่าคุณพอได้แล้ว

เลยสนุกแบบเสียสติได้แล้ว

มันมากเกินไปแล้ว


คุณด่าผมๆยังไม่เสียใจอะไร

เท่ากับผมเป็นต้นเหตุให้ผู้บริสุทธิ์ที่ผมเองก็นับถือในคุณธรรมของท่านต้องมาประสพกับความเสียจริต

ของคุณ


อนาถใจจริงๆ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร